สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject กะเหรี่ยงสกอร์,ศาสนา,การถือผีบรรพบุรุษ,เชียงใหม่
Author Buadang, Kwanchewan (ขวัญชีวัน บัวแดง)
Title Buddhism, Christianity and the Ancestors.
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity ปกาเกอะญอ, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 312 Year 2546
Source Buddhism, Christianity and the Ancestors.Publish with the support of the Toyota Foundation, Sprint, Chiang Mai, Thailand.
Abstract

วิทยานิพนธ์เล่มนี้นำเสนอ การศึกษาด้านศาสนา ความเชื่อ และรูปแบบปฎิบัติดั้งเดิมของกลุ่มกะเหรี่ยง 5 หมู่บ้าน ในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ รวมถึงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มกะเหรี่ยงกับศาสนาคริสต์ ประวัติศาตร์การเผยแพร่ศาสนาคริสต์ทั้งในประเทศไทยและประเทศพม่า และ ความสัมพันธ์ของกะเหรี่ยงกับศาสนาพุทธ กรณีครูบา และการเคลื่อนไหวของโครงการพระธรรมจาริกโดยเน้นประเด็นของการต่อรองความหมายทางศาสนาของกลุ่มกะเหรี่ยงในชุมชน (หน้า 25-26)

Focus

ศึกษา แบบวิธีปฏิบัติทางศาสนา พิธีกรรม และประเพณีต่าง ๆ และการแสดงออกทางจิตวิญญาณโดยสังเกตุพฤติกรรมของผู้มีส่วนร่วมกลุ่มคนพิเศษและเรียนรู้ประสบการณ์ของพวกเขา (หน้า 14) รวมถึงศึกษาความสัมพันธ์กับผู้คนในชุมชนที่นับถือศาสนาแตกต่างกันและเน้นการศึกษาหน้าที่ของพิธีกรรมซึ่งอาจจะมีความสัมพันธ์กับตำนาน และความเชื่อในเรื่องของกำเนิดมนุษย์ และพฤติกรรมต่างๆ (หน้า 15)

Theoretical Issues

ผู้เขียนวิทยานิพนธ์มีความเห็นสอดคล้องกับแนวคิดของ Bourdieu (1997:114), ในแง่ที่ว่า การทำความเข้าใจรูปแบบปฎิบัติทางพิธีกรรมไม่สามารถเข้าใจได้จากการแปลความหมายของสัญลักษณ์ ที่มีอยู่ในพิธีกรรมเท่านั้น แต่มีความจำเป็นที่จะต้องเข้าใจถึงความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในสภาพการณ์จริงที่ก่อกำเนิดเป็นต้นตอของพิธีกรรมเหล่านี้ รวมถึงการเข้าใจหน้าที่และความหมายที่ใช้กันภายในกลุ่ม (หน้า 14) เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจ-สังคม และการเมือง มีการเปลี่ยนแปลง ผู้คนมีทางเลือกหลากหลายในการแสดงออก ความหลากหลายที่เกิดขึ้นก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ภายในครอบครัวและกลุ่มสังคม สำหรับกลุ่มกะเหรี่ยงที่ผู้เขียนวิทยานิพนธ์ทำการศึกษา ในชุมชนนี้การต่อรองท่ามกลางผู้ปฏิบัติพิธีกรรมในแต่ละศาสนา ความเชื่อ ทำให้คำนิยามความหมาย และรูปแบบปฏิบัติเพิ่มขึ้น (หน้า 15)

Ethnic Group in the Focus

กะเหรี่ยงสกอร์ทางภาคเหนือของประเทศไทย

Language and Linguistic Affiliations

กลุ่มชนกะเหรี่ยงใช้คำกะเหรี่ยงและคำเมือง (ภาษาของคนเมืองซึ่งคือ กลุ่มคนที่อาศัยในภาคเหนือของประเทศไทย) (หน้า XVI-XX)

Study Period (Data Collection)

ค.ศ. 1998-1999

History of the Group and Community

กะเหรี่ยงอาศัยอยู่บนพื้นที่หุบเขา,ภูเขา บริเวณชายแดนพม่า-ไทย คำเรียกชื่อกลุ่มว่ากะเหรี่ยงนี้ปรากฎในช่วงศตวรรษที่ 19 ซึ่งไม่ถูกใช้โดยกลุ่มกะเหรี่ยงแต่เดิม (หน้า 2) กลุ่มกะเหรี่ยงที่ผู้เขียนวิทยานิพนธ์ทำการศึกษาไม่ปรากฏแน่ชัดว่าเกิดขึ้นมานานเท่าไรเนื่องจากไม่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร สำหรับกลุ่มกะเหรี่ยงทางภาคเหนือของไทยได้สร้างประวัติศาสตร์ความเป็นมาภายใต้การสนับสนุนของ NGO โดยกล่าวถึงกะเหรี่ยงคือกลุ่มคนดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ทางภาคเหนือของไทยก่อนลัวะ ตามเรื่องราวเหล่านี้ดินแดนแห่งนี้เป็นของกะเหรี่ยงก่อนที่จะถูกยึดครองโดยคนเมือง (หน้า 4) สำหรับงานศึกษาชุมชน ผู้เขียนวิทยานิพนธ์ศึกษา กลุ่มกะเหรี่ยง 5 หมู่บ้าน แม่ลา (Mae la), แม่มูขี่ (Mae Mu Khi), ปาแขม (Pa khaem),ห้วยสาน (Hui San) และห้วยโป (Hui Poo) อ. แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ประเทศไทย (หน้า 17)

Settlement Pattern

การตั้งถิ่นฐานของกะเหรี่ยงจะอาศัยอยู่ในบริเวณหุบเขา และภูเขา (หน้า 2) การสร้างบ้านเรือนแบบดั้งเดิมสร้างด้วยไม้ไผ่ มีเพียง 1 ห้องภายในมีสถานที่สำหรับประกอบอาหารภายในมุมหนึ่งของห้องและเป็นที่เดียวกันสำหรับให้ ผีบรรพบุรุษ (Au Khae) ในบางครอบครัวจะมีการสร้างบ้านใหญ่ถาวรด้วยไม้และแยกครัวออกจากตัวบ้าน (หน้า 75)

Demography

ไม่มีข้อมูล

Economy

ในอดีตระบบเศรษฐกิจของชาวเขาผูกพันกับการขายฝิ่น จนกระทั่งมีการจัดตั้งโครงการพัฒนาบนพื้นที่สูงจากรัฐโดยการสนับสนุนขององค์กรสหประชาชาติ และชาติตะวันตก เพื่อเปลี่ยนพื้นที่ปลูกฝิ่นให้กลายเป็นพื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจ ส่งผลให้ประชากรมีรายได้มีการศึกษาและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน เมล็ดพันธุ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้ต้องใช้ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพราคาผลผลิตที่ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับการรับซื้อของพ่อค้าคนกลางทำให้เกิดการกู้เงินและเป็นหนี้สิน ส่งผลให้ต้องออกไปทำงานภายนอกชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มผู้หญิงซึ่งบ่อยครั้งต้องทำงานขายบริการ (หน้า 13-14)

Social Organization

การนับถือผีบรรพบุรุษเป็นรูปแบบของการจัดระเบียบทางสังคมของกลุ่มกะเหรี่ยง โดยกล่าวคือบุคคลที่นับถือผีเดียวกันไม่สามารถแต่งงานกันได้ และเมื่อลูกชายแต่งงานจะต้องออกจากบ้านเพื่อสร้างบ้านเรือนของตนเนื่องจากภรรยานับถือผีต่างกันกับครอบครัว การถือผีกลายเป็นการสร้างระเบียบข้อห้ามให้กลุ่มกะเหรี่ยงปฏิบัติตาม (หน้า 74-75) นอกจากความเชื่อดั้งเดิม การเข้ามาของรัฐในการจัดระบบหมู่บ้านถึงกัน จัดตั้งผู้นำหมู่บ้าน (หน้า 9) และการกำหนดถิ่นที่อยู่อาศัยเพื่อป้องกันการบุกรุกป่าของกรมป่าไม้ได้กลายเป็นการจัดระเบียบทางสังคมแบบใหม่ที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางสังคมและเกิดการตั้งถิ่นฐานถาวรขึ้น (หน้า 11)

Political Organization

รัฐบาล มีบทบาทสำคัญในการเข้ามาพัฒนาและจัดรูปแบบการสร้างหมู่บ้าน ภายใต้โครงการหมู่บ้านถึงกันและจัดให้มีการเลือกตั้ง หัวหน้าหมู่บ้าน และ ผู้ช่วย 2 คน ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้จะเป็นผู้รับนโยบายการบริหารจากรัฐและประสานความร่วมมือให้คนในชุมชนให้ความร่วมมือ (หน้า 8) นอกจากนี้ ยังมีการเคลื่อนไหวทางการเมืองจากกลุ่ม NGOs ซึ่งได้เข้ามาทำงานพัฒนากลุ่มกะเหรี่ยงและกลุ่มชาวเขาตามพื้นที่ต่าง ๆ (หน้า 1)

Belief System

ความเชื่อดั้งเดิมของกะเหรี่ยงมีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ตามแบบปฎิบัติดั้งเดิม รวมถึงการรับเอาศาสนาในระยะเวลาต่อมา ซึ่งอาจกล่าวได้ถึงความเชื่อหลักได้ดังต่อไปนี้ - การแต่งตั้งผู้นำหมู่บ้าน (He Kho) เพื่อเป็นผู้นำในการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ และผู้เป็นหัวหน้าจะได้รับการสืบทอดผ่านลูกชาย หัวหน้าจะต้องเป็นผู้มีพฤติกรรมดีแต่ไม่จำเป็นต้องมีฐานะร่ำรวย หัวหน้าหมู่บ้าน (He Kho) ในชุมชนได้ขาดหายไปและไม่มีผู้รับปฎิบัติ ปัจจุบันมีเหลืออยู่ในไม่กี่ชุมชน ในชุมชนที่ผู้วิจัยศึกษาไม่มีหัวหน้าหมู่บ้านมากว่า 50 ปีแล้ว เนื่องจากไม่มีผู้ยอมรับสืบทอด (หน้า 33) - ผู้เฒ่าผู้แก่ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพิธีกรรม (Sub Pga) มาจากครอบครัวที่มีความรู้ด้านพิธีกรรม รวมถึงต้องเป็นผู้ที่แต่งงานแล้ว จะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายก็ได้ มีหน้าที่ดูแลด้านพิธีกรรมในหมู่บ้าน เป็นที่ปรึกษาของคนในชุมชนและรักษาผู้ที่เจ็บป่วย ทั้งการใช้สมุนไพรและการทำพิธีกรรม (หน้า 37) การเชื่อในเรื่องเหนือธรรมชาติซึ่งผูกร้อยเรื่องราวกับตำนานความเชื่อในกำเนิดมนุษย์ เทพารักษ์ เจ้าแห่งสายน้ำ ซึ่งเปรียบเสมือนเทพเจ้าที่ทุกคนต้องให้ความเคารพ ถ้าหากไม่เคารพอาจทำให้เกิดปัญหาภายในหมู่บ้าน ซึ่งถ้าเกิดขึ้นจะมีการทำพีธีขอขมาต่อไป (หน้า 48) - ความเชื่อเรื่องขวัญในร่างกายของมนุษย์ ถ้าขวัญออกจากร่างกายจะต้องทำพิธีเพื่อเรียกขวัญกลับเข้าที่ ถ้ากะเหรี่ยงไปตายที่อื่นไม่ใช่บ้านของตน ศพของเขาจะถูกทำพิธีเพื่อเรียกวิญญาณกลับสู่หมู่บ้าน เรียกพิธีนี้ว่า K' la Kho Thi (หน้า 63-64) - การนับถือผีบรรพบุรุษ (Au Khae) ถือว่าเป็นศาสนาความเชื่อดั้งเดิมของกะเหรี่ยง อยู่ในวิถีชีวิตประจำวันก่อนการเข้ามาของศาสนาพุทธและศาสนาคริสต์ จะมีการถือผีตามมารดา ลูกสาวสามารถอยู่อาศัยในบ้านได้เมื่อแต่งงานแล้ว แต่ลูกชายต้องออกจากบ้านเนื่องจากภรรยาใหม่ไม่ได้นับถือผีเดียวกันถ้าอยู่ด้วยกันอาจจะเกิดปัญหาได้ (หน้า 73-74) - การกระทำพิธีขอขมาต่อเทพเจ้า เช่น การใช้น้ำในการทำการเกษตรกรรม เทพผู้ดูแลพื้นที่นา และรวมถึงการกระทำพิธีขอขมาต่อเทพเจ้าทั้งหลายที่อยู่ในป่าและภูเขา (หน้า 99) - พ่อมดแม่มด เป็นสิ่งหนึ่งที่มีอยู่ในสังคมกะเหรี่ยงอย่างยาวนาน การเชื่อถือว่าคนบางคนในกลุ่มเป็นพ่อมดแม่มดมีอำนาจทำให้บุคคลอื่นเกิดความเจ็บป่วยและอาจจะถึงตายได้ และมีกะเหรี่ยงในหมู่บ้านที่เชื่อถืออำนาจของคนทรงเจ้าซึ่งเป็นพวกคนเมืองเช่นกัน (หน้า 175) - การนับถือศาสนาคริสต์ ในปี ค.ศ.1998 มี 35 ครัวเรือนใน 5 หมู่บ้าน นับถือศาสนาคริสต์ แม้ว่าจะเปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริตส์แต่ในบางครอบครัวก็ยังมีความเชื่อในเรื่องของผีบรรพบุรุษอยู่ (หน้า 203) - ศาสนาพุทธ ซึ่งอาจแบ่งได้เป็นสองกลุ่มหลักคือ กลุ่มโครงการพระธรรมจาริกซึ่งเกิดขึ้นจากรัฐในการต้องการให้กลุ่มชาวเขาหันมานับถือศาสนาพุทธ และกลุ่มนับถือครูบาซึ่งมีลักษณะเป็นพุทธแบบดั้งเดิมของชุมชนทางภาคเหนือ การนับถือครูบาเป็นความศรัทธาที่เกิดขึ้นต่อตัวผู้นำคือครูบาซึ่งกะเหรี่ยงเชื่อว่าเป็นเหมือนเทพเจ้าในความเชื่อดั้งเดิมของพวกเขา (หน้า 233-247)

Education and Socialization

ไม่ระบุรายละเอียดชัดเจน

Health and Medicine

ผู้เชี่ยวชาญทางพิธีกรรม (Sub pga) จะรักษาผู้เจ็บป่วยในหมู่บ้านด้วยยาสมุนไพรและการรักษาทางพิธีกรรม (หน้า 37) และมีการรักษาแบบสมัยใหม่ในโรงพยาบาลในท้องถิ่นเช่นเดียวกัน (หน้า 127)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ผู้หญิงกะเหรี่ยงจะแต่งชุดขาวเมื่อแต่งงานแล้วจะใส่ชุดสีได้ พร้อมทั้งมีกระโปรงในแบบที่แสดงให้เห็นเด่นชัดว่าแต่งงานแล้ว (หน้า 160) ภาพการแต่งกาย (หน้า 135) และเครื่องประดับที่ใช้ในการพิธีกรรม (หน้า 115)

Folklore

ตำนานเกี่ยวกับ Ywa เทพเจ้าสูงสุดผู้สร้างมนุษย์และวัฒนธรรมของมนุษย์ เรื่องราวของ Ywa มีอยู่มากมาย เช่นเรื่อง The Golden Book, Ywa Mue Kawli and Whisky, Ywa, Mue Kawli and Funereal adn Ywa, Mua Kawli and Rice (หน้า 48-55) ตำนานเกี่ยวกับไก่ (หน้า 50)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

กลุ่มกะเหรี่ยงมีความสัมพันธ์กับคนเมืองในพื้นที่ใกล้เคียง มีการแลกเปลี่ยนผลผลิตทางการเกษตร งานหัตถกรรม ยา และอื่น ๆ ความสัมพันธ์ในช่วงที่มีการปลูกฝิ่น (ปี 1950-1970) คนเมืองที่ร่ำรวยได้ว่าจ้าง กะเหรี่ยงสำหรับทำงานในไร่ฝิ่น และในช่วงเวลาเดียวกัน กะเหรี่ยงที่ร่ำรวยได้ว่าจ้างคนเมืองสำหรับทำงานในนาแบบขั้นบันได ความสัมพันธ์สร้างให้เกิดความใกล้ชิด และเกิดการแต่งงานระหว่างกะเหรี่ยงและคนเมือง การตั้งถิ่นฐานภายหลังการแต่งงานมีทั้งสามีคนเมืองเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านกะเหรี่ยงและภรรยากะเหรี่ยงไปอาศัยในหมู่บ้านคนเมือง (หน้า 20)

Social Cultural and Identity Change

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการอธิบายการเปลี่ยนแปลงทางด้านความเชื่อและศาสนาเป็นหลัก โดยการเปลี่ยนจากรูปแบบดั้งเดิมไปสู่ความเป็นสมัยใหม่ (Modern Orientation) ซึ่งกล่าวได้ว่าในช่วงก่อนปี ค.ศ.1950 กะเหรี่ยงยังคงรูปแบบปฏิบัติแบบดั้งเดิมและในช่วง ปี ค.ศ.1950-1970 เป็นช่วงสำคัญที่การนับถือผู้นำหมู่บ้าน (He Kho) และ การถือผีบรรพบุรุษ (Au Khae) ได้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงและถูกยกเลิก บางครอบครัวเปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์ และภายหลังปี ค.ศ.1980 การนับถือศาสนาศริสต์ได้เพิ่มขึ้นในหลายครอบครัว และมีบางส่วนเปลี่ยนไปนับถือพุทธศาสนา อย่างไรก็ตาม ความเชื่อดั้งเดิมยังคงได้รับการปฎิบัติและนับถือไปด้วยกัน (หน้า 283) อาจจะกล่าวได้ว่าการนับถือศาสนาของกลุ่มกะเหรี่ยงได้เป็นการต่อรองในการนับถือทั้งรูปแบบดั้งเดิมและรูปแบบใหม่ให้สอดคล้องกับแนวคิดและวิถีชีวิต (หน้า 283)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ภาพการแต่งกาย (หน้า 135) ภาพเครื่องประดับที่ใช้ในการพิธีกรรม (หน้า 115)

Text Analyst ชัชฏาวรรณ แก้วทะพยา Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG กะเหรี่ยงสกอร์, ศาสนา, การถือผีบรรพบุรุษ, เชียงใหม่, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง