สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ออแรนายู มลายูมุสลิม มุสลิมมลายู,มุสลิม,ครอบครัว,การดูแลเด็ก,ปัตตานี
Author Jampaklay, Aree
Title Care and Protection of Children Among Thai Muslim Families
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity มลายู ออแฆนายู มลายูมุสลิม ไทยมุสลิม, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเนเชี่ยน
Location of
Documents
หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ Total Pages 63 Year 2542
Source Institute for Population and Social Research Mahidol University
Abstract

1. ศึกษาการดูแลและคุ้มครองเด็กในครอบครัวไทยมุสลิมในด้านโครงสร้างครอบครัว และการจัดการที่อยู่ของเด็ก 2. ศึกษาโอกาสทางการศึกษาของเด็กไทยมุสลิม โดยเน้นด้านความแตกต่างทางเพศ สาเหตุที่ไม่ได้เรียน และการใช้ชีวิตหลังจากเรียนจบ โดยเฉพาะเด็กผู้หญิง
3. ประเมินว่าภูมิหลังทางครอบครัวมีอิทธิพลต่อโอกาสทางการศึกษาของเด็กหรือไม่
4. สำรวจชีวิตของเด็กไทยมุสลิมหลังจากเรียนจบหรือออกจากโรงเรียน โดยเฉพาะด้านโอกาสทางอาชีพของทั้งเด็กชายและหญิง (หน้า 3) พบว่า เด็กส่วนใหญ่จะอยู่กับทั้งพ่อและแม่ แต่ในกรณีที่พ่อแม่แยกกันอยู่หรือหย่ากัน อำนาจการตัดสินใจว่าจะให้เด็กอยู่กับใครเป็นของพ่อแม่ (แม้ว่าเด็กอายุมากกว่า 7 ขวบจะสามารถตัดสินใจได้เอง) และส่วนใหญ่ผู้ที่เลี้ยงดูเด็กคือแม่ ด้านโอกาสทางการศึกษาพบว่าเด็กจำนวน 1 ใน 8 ไม่ได้เข้าโรงเรียน เด็กชนบทมีโอกาสเรียนน้อยกว่าเด็กในเมืองมาก และเด็กที่พ่อแม่แยกทางกันจะมีโอกาสเรียนหนังสือน้อยกว่าเด็กที่พ่อแม่อยู่ด้วยกัน ด้านโอกาสทางอาชีพ พบว่า เด็กชายมีโอกาสได้ทำงานมากกว่าเด็กหญิง เด็กผู้หญิงส่วนใหญ่เมื่อไม่ได้เรียนต่อชั้นมัธยมก็จะอยู่กับบ้านโดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในชนบท เด็กผู้หญิงในเมืองมีโอกาสหางานทำมากกว่า แต่งานที่ได้ส่วนใหญ่ก็จะเป็นงานที่เสี่ยงหรือเป็นงานที่ไม่อยากทำ (หน้า 57-58)

ผลการศึกษาชี้ว่าเด็กชนบทควรได้รับการเอาใจใส่มากกว่านี้ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านโอกาสทางการศึกษาและการจัดการเรื่องที่อยู่ ที่น่าสนใจก็คือไม่มีความแตกต่างกันระหว่างเพศในด้านโอกาสทางการศึกษา นอกจากนี้ผลการศึกษายังแสดงให้เห็นว่าครอบครัวมีผลในแง่บวกกับการศึกษาของเด็ก แต่รายจ่ายด้านการศึกษาและการสูญเสียรายได้จากการใช้เวลาไปเรียน รวมทั้งความเสี่ยงต่อการซึมซับวัฒนธรรม อาจจะเป็นปัจจัยที่จำกัดการศึกษาของเด็ก (หน้า II)

Focus

การดูแลเด็กของมุสลิม

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ไทยมุสลิม

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

ไม่มีข้อมูล

Settlement Pattern

พบว่าคนในชนบทอพยพมาทำงานในเมืองมากกว่าที่คนในเมืองอพยพออกไปชนบท และเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้พ่อแม่ของเด็กไม่ได้อยู่ด้วยกัน หรือหย่าร้างกัน ซึ่งก็ส่งผลกระทบให้เด็กไม่ได้อยู่กับพ่อหรือแม่ หรือทั้งพ่อทั้งแม่

Demography

เก็บข้อมูลจากเด็กที่เป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,479 คน จาก 500 ครัวเรือน แบ่งเป็นเขตเมือง (เขตเทศบาล) 100 ครัวเรือน และเขตชนบท 400 ครัวเรือน โดยวิธีการสุ่ม กลุ่มตัวอย่างอยู่ในช่วงอายุ 6-18 ปี (หน้า 10,12)

Economy

เมื่อไม่มีโอกาสเรียนต่อชั้นมัธยม เด็กชายส่วนใหญ่จะทำงานด้านบริการหรืออาชีพด้านเกษตรกรรมโดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในชนบท ส่วนเด็กหญิงจะทำงานบ้านอยู่กับบ้าน เด็กหญิงในเมืองมีโอกาสทำงานมากกว่า แต่ส่วนใหญ่ก็เป็นงานที่ไม่ต้องการทักษะ ซึ่งทำให้มีความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ระหว่างเด็กที่มีงานทำกับเด็กที่ไม่มีงานทำ (อยู่กับบ้าน) ค่อนข้างสูงรายได้ส่วนใหญ่ที่ได้มา ส่วนใหญ่เด็กจะเก็บไว้ใช้ส่วนตัว และจุนเจือครอบครัว (หน้า 50-56)

Social Organization

ครอบครัวส่วนใหญ่เป็นครอบครัวเดี่ยวที่พ่อแม่อยู่ด้วยกันซึ่งจะเห็นได้ในเขตเมืองมากกว่าชนบท และส่วนมากจะมีปู่ย่าหรือตายายอาศัยอยู่ด้วย (หน้า 14) ส่วนครอบครัวที่พ่อแม่แยกกันอยู่นั้นมีจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 5 คือพ่อแม่แต่งงานกันแต่แยกกันอยู่ร้อยละ 1.1 และหย่าร้างร้อยละ 3.8 โดยครอบครัวดังกล่าวเกือบทั้งหมดอาศัยอยู่ในเขตชนบท สาเหตุหลักที่ทำให้พ่อแม่ต้องแยกกันอยู่ก็เพราะพ่อต้องเข้ามาทำงานในเขตเมือง (เขตเทศบาล) นอกจากนี้ยังพบว่า ในกรณีที่พ่อแม่หย่าร้างกัน พบว่าฝ่ายพ่อจะแต่งงานใหม่ ส่วนแม่จะยังคงสภาพความเป็นหม้าย แสดงว่าพ่อหม้ายมีแนวโน้มจะแต่งงานใหม่มากกว่าแม่หม้าย และทั้งพ่อหม้ายและแม่หม้ายก็มักจะมีลูกกับคู่สมรสใหม่ ในกรณีของเด็กที่พ่อหรือแม่เสียชีวิต พบว่าเด็กเกือบทุกคนเสียพ่อหรือแม่ไปเมื่อยังเล็กมาก คืออายุยังไม่ถึง 4 ขวบ และพบว่าพ่อหรือแม่เด็กที่ยังมีชีวิตก็จะไม่แต่งงานใหม่ (หน้า 17-21)

Political Organization

ตามประเพณีไทย ถือว่าผู้ที่มีอาวุโสสูงสุดคือผู้นำของบ้าน จึงถือว่าปู่หรือตา (หรือย่าหรือยาย) เป็นผู้นำของครอบครัว แม้จะไม่มีบทบาทในบ้านมากนัก (หน้า 14)

Belief System

ไม่มีข้อมูล

Education and Socialization

ในด้านการจัดการที่อยู่ของเด็ก สามารถแบ่งออกเป็นประเด็นต่าง ๆ ได้ดังนี้ - ประสบการณ์ของเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปีที่เคยแยกกันอยู่กับแม่ พบว่า เด็กมุสลิมที่เป็นกลุ่มตัวอย่างประมาณร้อยละ 9 เคยแยกกันอยู่กับแม่อย่างน้อย 1 เดือน ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่น้อยเมื่อเทียบกับร้อยละของการสำรวจผู้หญิงที่เคยแต่งงานในตัวเมือง กรุงเทพฯ ที่พบว่า เด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ขวบเคยแยกกันอยู่กับแม่อย่างน้อยหนึ่งเดือนถึงร้อยละ 16 ส่วนสาเหตุที่ทำให้ต้องอยู่ห่างกันนั้นก็เนื่องจากการที่แม่ต้องทำงาน ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือแม่ที่อยู่ในชนบท และระยะเวลาที่ต้องอยู่ห่างกันโดยเฉลี่ยอยู่ที่ราว 2 ปีครึ่ง - ที่อยู่ในปัจจุบันของเด็ก ข้อมูลในส่วนนี้หมายถึงในกรณีที่เด็กไม่ได้อาศัยอยู่ที่บ้าน ซึ่งพบว่ามีเด็กเพียงจำนวนไม่กี่คนที่ไม่ได้อาศัยอยู่ที่บ้าน และเด็กในชนบทไม่ได้อาศัยมากกว่าเด็กในเขตเมือง (เทศบาล) ส่วนสาเหตุที่ทำให้ไม่ได้อยู่บ้านก็คือต้องมาทำงาน ต่างจากเด็กในเขตเทศบาลที่จากบ้านมาเพราะมาเรียนหนังสือ - ผู้ที่เด็กอาศัยอยู่ด้วย แม้เด็กส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่กับทั้งพ่อและแม่ แต่ในกรณีของเด็กที่อยู่กับพ่อหรือแม่เพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็พบว่ามีอยู่ร้อยละ 8 และเด็กจะแยกกันอยู่กับพ่อมากกว่าแม่เป็น 2 เท่า - ส่วนเด็กที่ไม่ได้อยู่กับทั้งพ่อและแม่ ในชนบทจะพบเด็กในกรณีเช่นนี้มากกว่าในเขตเมือง (เทศบาล) เนื่องจากคนในชนบทอพยพไปอยู่นอกพื้นที่มากกว่าคนในเขตเมือง และเด็กจำนวนนี้โดยมากจะถูกทิ้งให้อยูกับตายายหรือญาติทางฝ่ายแม่มากกว่าฝ่ายพ่อ ซึ่งสอดคล้องกับหลักคำสอนของอิสลามที่ให้สิทธิ์การดูแลเด็กกับฝ่ายแม่มากกว่าฝ่ายพ่อในกรณีที่เกิดการหย่าร้าง (หน้า 22-29) ความคาดหวังทางการศึกษาของเด็ก : พบว่าเด็กส่วนใหญ่คาดว่าจะได้เรียนถึงระดับมัธยม แต่ทั้งนี้ภูมิหลังก็มีผลต่อการศึกษาของเด็ก ทั้งทางด้านเพศ สถานภาพสมรสของพ่อแม่ ที่อยู่ของเด็ก หรือประเภทของครอบครัว แต่มีเด็กจำนวนมากที่ไม่เคยได้เข้าโรงเรียนโดยมีสาเหตุหลาย ๆ ประการ และเด็กที่ไม่ได้เรียนหนังสือส่วนใหญ่จะไม่ได้ประกอบอาชีพ โดยเฉพาะเด็กหญิงในชนบท จึงไม่มีรายได้ ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ต่างจากเด็กที่มีอาชีพค่อนข้างมาก (หน้า 31-49)

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst ดวงรัตน์ เรืองพงษ์ดิษฐ์ Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG ออแรนายู มลายูมุสลิม มุสลิมมลายู, มุสลิม, ครอบครัว, การดูแลเด็ก, ปัตตานี, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง