สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ออแรนายู มลายูมุสลิม มุสลิมมลายู,มลายูมุสลิม,ความรุนแรง,การจัดการความจริง,ปัตตานี
Author ชัยวัฒน์ สถาอานันท์
Title ความรุนแรงกับการจัดการ
Document Type หนังสือ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity มลายู ออแฆนายู มลายูมุสลิม ไทยมุสลิม, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเนเชี่ยน
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 232 Year 2545
Source ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ มูลนิธิเพื่อการศึกษาประชาธิปไตยและการพัฒนา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Abstract

วิธีวิทยาดวงตาค้างคาว ช่วยให้เห็นแบบของการบอกความจริงเกี่ยวกับความรุนแรงในความสัมพันธ์ระหว่างปัตตานีกับสยาม หรือรัฐไทยอันแตกต่างกัน เมื่อรัฐปรารถนาจะเห็นบูรณาการ แต่ภาคส่วนต่างๆ ในสังคมไม่เห็นพ้องด้วยเนื่องจากความเป็นตัวตนที่ต่างกันออกไป นับเนื่องให้บูรณาการด้วยการบังคับ ไม่อยู่บนฐานของความจริงในความหมายที่เป็นความหลากหลายแตกต่างกันของชุมชนในสังคม ความรุนแรงหลากกรณีจึงเกิดขึ้น จนกระทั่ง พ.ศ. 2542 เกิดนโยบายความมั่นคงแห่งชาติเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งผลให้อาณาบริเวณวัฒนธรรมปัตตานีถูกมองใหม่ โดยเริ่มยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่ดำรงอยู่และหาหนทางให้เกิดการธำรงอัตลักษณ์ในทำนองว่าอยู่อย่างมุสลิมในสังคมไทย แต่อย่างไรก็ตามความรุนแรงก็ยังเกิดขึ้นอยู่ หากสามารถมองเป็นภาพสะท้อนการทำงานของสังคมไทยได้ การทำความเข้าใจความรุนแรง จึงเท่ากับพยายามเข้าใจความสลับซับซ้อนของสังคมไทยผ่านรูปแบบการจัดการความจริงรูปแบบต่างๆ ตลอดจนเห็นความจริงที่พร่าเลือนในบริบทของประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ประวัติศาสตร์ความลวง" (น.230)

Focus

ผู้เขียนมุ่งเน้นที่จะชี้ให้เห็นประเด็นที่ว่าเมื่อเกิดกรณีความรุนแรงขึ้นแล้ว "ความจริง" เกี่ยวกับกรณีนั้น ๆ ถูกจัดการอย่างไร ในบริบทของสังคมการเมืองปัตตานีนี้ มลายูมุสลิมจะดำรงตนผ่านอดีตอันรุนแรงไปได้อย่างไร (น.4) ทั้งนี้ผู้เขียนยังสนใจที่จะแสดงให้เห็นว่าวิธีการที่สังคม "จัดการ" กับความจริงนั้น อาจเป็นผลจากความสามารถในการจัดการ, เทคโนโลยีแห่งอำนาจในการจัดการ และลักษณะตัวปรากฏการณ์ที่จะถูกจัดการ (น.2) ทั้งนี้ผู้เขียนได้อาศัยการวิเคราะห์การ "จัดการ" ความจริงในสังคมไทย ในปรากฎการณ์ที่เกี่ยวกับสถานการณ์ชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะปัตตานีในรอบกึ่งศตวรรษ

Theoretical Issues

ผู้เขียนต้องการจะอธิบายให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะปรากฎการณ์ (ที่จะถูกจัดการ), ความสามารถในการจัดการ และเทคโนโลยีแห่งอำนาจในการจัดการ กับวิธีการที่สังคม "จัดการ" กับความจริง โดยเป็นลักษณะปรากฎการณ์ที่อยู่ในขอบข่ายของความรุนแรง ในความหมายที่ว่าเป็นการทำร้ายกันระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ ทั้งทางร่างกาย จิตใจ ศักดิ์ศรี หรือตัวตน ที่จะส่งผลต่อ "วิธีการจัดการความจริง" ในสังคมนั้น "ความจริง" ในงานนี้ตรงกับ "Truth" ซึ่งความสำคัญนั้นไม่ได้อยู่ที่ "facts" หรือสิ่งที่ผูกโยงกับประสาทสัมผัสเพียงเท่านั้น หากยังอยู่ที่ว่าความจริงนั้นปรากฎสู่การรับรู้ของสาธารณชนอย่างไร เพราะในทางทฤษฎี "ความจริง" จะปรากฎผ่านสื่อกลาง หรือตัวแทน ซึ่งจากแนวคิดของ Arendt "ความจริง" จะถูกผลิตโดยมนุษย์ (ในสังคมต่างๆ) และจากทัศนะของ Foucault "ความจริง" ก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับอำนาจ และเมื่อพิจารณาโดยอาศัยความคิดของ Gadamar การเปิดโปง "ความจริง" ก็หมายความว่าเปิดเผยความจริงส่วนหนึ่ง และปิดบังส่วนอื่นไว้ ในการพิจารณาความสัมพันธ์ดังกล่าว ในกรณีของปัตตานีผู้เขียนได้ใช้วิธีวิทยาที่เรียกว่า "ดวงตาค้างคาว" ซึ่งหมายความว่าได้อาศัย "ดวงตา" (มุมมอง) ของผู้วิจัยซึ่งให้ความสนใจ "ความรุนแรง" ได้ส่งสัญญาณออกไปยังกรณีศึกษาซึ่งก็สะท้อนกลับมาหาผู้วิจัยเปรียบเสมือนค้างคาวที่ "ตาบอด" แต่อาศัยสัญญาณส่งออกไปกระทบสิ่งต่าง ๆ และส่งสัญญาณกลับมายังค้างคาว ทำให้ค้างคาวบินต่อไปได้ แม้ว่าจะไม่ถึงกับมั่นใจนัก ผู้วิจัยเองก็อาจจะตาบอดด้วยอคติต่าง ๆ ก็จะต้องไม่มั่นใจกับผลการวิจัยจนเกินไป และพยายามสร้างกรอบการวิจัยให้ชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะการเลือกกรณีศึกษาที่เกี่ยวกับปัตตานี (น. 13-33)

Ethnic Group in the Focus

มลายูมุสลิมหรือไทยมุสลิม

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

พ.ศ. 2491 - พ.ศ. 2520

History of the Group and Community

ปัตตานีถูกผนวกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมสยามเมื่อปี พ.ศ. 2445 ในระยะหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง ระบอบอาณานิคมที่อังกฤษเป็นเจ้าอ่อนกำลังลง พร้อมกับความเข้มแข็งของขบวนการกู้ชาติต่าง ๆ ที่ประกาศเอกราช รวมทั้งในคาบสมุทรมลายู ในแง่สภาวะทางการเมืองของไทยก็เปลี่ยนแปลงจาก "ยุคเผด็จการ" ใต้อำนาจจอมพล ป. พิบูลสงคราม สู่ "ยุคประชาธิปไตยเบ่งบาน" หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 แล้วถึง "ยุคมืด" ของรัฐบาลเผด็จการพลเรือนหลังเหตุการณ์นองเลือดโหดร้าย 6 ตุลาคม 2519 ก่อนจะมาถึงยุคที่เรียกว่า "ประชาธิปไตยครึ่งใบ" ซึ่งประชาชนมีสิทธิเสรีภาพมากขึ้น เมื่อประกอบกับจินตนาการสาธารณะ ที่ปรากฏผ่านข่าวสารความเห็นต่าง ๆ จึงทำให้ดูเหมือนว่า "ปัตตานีจะสัมพันธ์กับสังคมไทยผ่านความรุนแรง" การจัดการความจริงในกรณีความรุนแรงเหล่านี้ ในช่วงเวลายาวนานราวครึ่งศตวรรษ ภายใต้บริบททางการเมืองต่าง ๆ ที่แปรเปลี่ยนไป ทำให้ผู้เขียนมองในฐานะเป็นภาพสะท้อนการจัดการความจริงในสังคมไทย (น.31)

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

ไม่มีข้อมูล

Economy

ไม่มีข้อมูล

Social Organization

เอกลักษณ์ของคน "ไทยมุสลิม" ที่เด่นชัดอย่างหนึ่งคือ ความใกล้ชิดของสังคมมุสลิมผ่านเครือข่ายทางศาสนา ผู้คนในแถบปัตตานีจึงอาจมีชีวิตประจำวันใน 4 สถานะคือ ในฐานะเป็นศาสนิกภายใต้กรอบปฏิบัติทางศาสนา เป็นทายาททางชาติพันธุ์ภายใต้อิทธิพลทางประเพณีวัฒนธรรมของตน เป็นพลเมืองของประเทศไทยใต้กฎหมายไทย และเป็นพลโลกที่ต้องเผชิญกับวัฒนธรรมตามสมัยนิยม (น. 56)

Political Organization

หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ระบอบอำนาจทหารนิยมอย่างเด็ดขาดยุติลง พบว่ารัฐบาลตระหนักในสภาพเฉพาะของจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามภูมิหลังทางวัฒนธรรมประเพณีและศาสนา จึงได้ใช้นโยบายพิเศษในพื้นที่ดังกล่าว รวมทั้งใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาสและสตูล แต่ปัญหาอยู่ที่รัฐบาลในบางยุคสมัยกระทำการประหนึ่งบีบบังคับคนไทยมุสลิมโดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างทางด้านสังคมวัฒนธรรม ความไม่พอใจในหมู่ประชาชนจึงบังเกิดขึ้น ยิ่งกว่านั้นข้าราชการซึ่งเป็นกลไกของรัฐก็เป็นปัญหาและอุปสรรคสำคัญในการดำเนินนโยบายของรัฐให้บรรลุสู่เป้าหมาย สมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2481-2487 ได้ออกรัฐนิยมฉบับแรกที่ว่าด้วย "ใช้ชื่อประเทศ ประชาชน และสัญชาติ" ได้เปลี่ยนชื่อประเทศสยามเป็น ประเทศไทย กำหนดให้เรียกคนสยามว่า คนไทย เพื่อเน้นความถูกต้องตามเชื้อชาติ แนวคิดชาตินิยมดังนี้ สื่อให้เห็นการใช้อำนาจรัฐกำหนดทิศทางวัฒนธรรม และปริมณฑลทางอัตลักษณ์ของพลเมืองในประเทศ รัฐนิยมที่สร้างความไม่พอใจให้กับมลายูมุสลิมคือ 3 ฉบับที่ว่าด้วยการเรียกชื่อชาวไทย ภาษาและหนังสือไทยกับหน้าที่พลเมืองดี และการแต่งกายของประชาชนชาวไทย (น. 112)

Belief System

ไม่มีข้อมูล

Education and Socialization

ไม่ระบุชัดเจน

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ความเป็นศาสนิกที่เคร่งครัดต่อกรอบปฏิบัติของศาสนาอิสลาม สะท้อนผ่านเอกลักษณ์ทางประเพณีและวัฒนธรรม จนเห็นได้ถึงความเป็นชาติพันธุ์มุสลิม (น. 56)

Social Cultural and Identity Change

ผู้เขียนเสนอ "มายาการแห่งอัตลักษณ์" อันหมายถึงการใช้ลักษณะพิเศษเฉพาะของตน หรือกลุ่มของตนมาแยกพวกตนออกจากผู้อื่น และสถาปนาความสัมพันธ์ให้ผู้อื่นกลายเป็นอะไรบางอย่างที่ด้อยกว่าต่ำต้อยกว่า กระทั่งกลายเป็นวัตถุที่สามารถทุบทำลายหรือใช้ความรุนแรงด้วยได้ (น.224) ดังในสมัยจอมพล ป. ที่มลายูมุสลิมถูกห้ามไม่ให้แต่งกายตามวัฒนธรรมมลายู ห้ามไม่ให้ตั้งชื่อมลายู ห้ามพูดภาษามลายู และห้ามนับถือศาสนาอิสลามจนเป็นศาสนาที่ต้องห้ามไม่ได้รับการส่งเสริม ชาวมลายูที่อำเภอสายบุรีถูกบังคับให้ไหว้พระพุทธรูป ในจังหวัดสตูลมีหนังสือราชการขอความร่วมมือจากพ่อค้าให้งดนำผ้าโสร่งมาขาย ในปัตตานีใครนุ่งโสร่งหรือแต่งกายตามประเพณีเดิมจะไม่ได้รับความสะดวกในการติดต่อกับราชการ ตลอดจนอาจรุนแรงถึงขั้นทำร้ายทุบตีดึงมาโรงพัก ผู้หญิงมุสลิมที่แต่งกายด้วยเสื้อแขนยาวและคลุมหัวเคยถูกตำรวจถีบและทุบตีด้วยด้ามปืนขณะจ่ายตลาด ในทำนองเดียวกับที่ต่อมาเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2490 หะยีสุหลงได้ยื่นคำขอ 7 ประการเกี่ยวกับศาสนาอิสลามและสิทธิของมลายูมุสลิม ต่อรัฐบาล เพื่อเรียกร้องอิสระ ให้ความสำคัญกับการปกครองที่สะท้อนอัตลักษณ์ท้องถิ่นทั้งด้านการศึกษา การคลัง การศาล รวมทั้งภาษา แต่ท้ายสุดหะยีสุหลงถูกพิพากษาว่าผิดตามกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 104 ฐานกบฏในราชอาณาจักร(น.113-118)

Critic Issues

เมื่อเกิดความรุนแรงขึ้น ความจริงมักถูกจัดการผ่านเงื่อนไขของอำนาจ ให้เผยบางส่วนของความเป็นจริง ในขณะที่อีกหลายส่วนถูกบิดเบือนไป หากแต่ในพื้นที่ดังเช่นนวนิยายกลับเป็นพื้นที่ที่ผู้เขียนมองว่าปลอดภัยในการเสนอความจริง ทั้งนี้เพราะเป็นเรื่องแต่ง (fiction) ที่ถูกมองว่าไม่จริงอยู่แล้วเป็นธรรมดา ทำให้อาจบอกกล่าวเรื่องราวที่เป็นจริงเท่าที่ตนรู้ได้มากกว่าเรื่องที่ถูกมองว่าจริงตั้งแต่ต้น แม้จะทำให้สมจริงเพียงไร ก็ยังปลอดภัยอยู่ได้ในความเป็นเรื่องแต่ง และดังนั้นในสภาพที่ความเป็นจริงเกี่ยวกับปัญหาภาคใต้สลับซับซ้อน ผูกพันผลประโยชน์ คดโกงของผู้คนหลายฝ่าย มีการใช้อำนาจรังแกผู้คนจนไม่กล้าพูดความจริง เรื่องแต่งอย่างนวนิยายซือโก๊ะแซกอ กลับเข้าใกล้ความจริงเกี่ยวกับความรุนแรงที่เกิดขึ้นมากกว่าสถาบันผลิตความจริงอย่างอื่น ทั้งนี้ขนบของการแต่งนวนิยายคือการใช้จินตนาการจึงน่าจะมีพื้นที่ในการบอกความจริงที่อาจรบกวนการทำงานปรกติของสังคมการเมืองได้ (น. 228)

Other Issues

ไม่มี

Text Analyst เปรมปรีดา ปราโมช ณ อยุธยา Date of Report 09 พ.ค. 2556
TAG ออแรนายู มลายูมุสลิม มุสลิมมลายู, มลายูมุสลิม, ความรุนแรง, การจัดการความจริง, ปัตตานี, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง