สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ (กะเหรี่ยง),ความเชื่อ,การเคลื่อนไหวทางศาสนา,การช่วงชิงพื้นที่,อัตลักษณ์,ภาคเหนือ
Author Buadang, Kwanchewan (ขวัญชีวัน บัวแดง)
Title Khuba Movements and the Karen in Northern Thailand : Negotiating Sacred Space and Identity
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity ปกาเกอะญอ, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 23 Year 2545
Source เอกสารประกอบการสัมมนาระดับนานาชาติ เรื่อง
Abstract

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการอธิบายถึงการเข้าร่วมของกะเหรี่ยงและชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ ทางภาคเหนือของประเทศไทยในกระบวนการเคลื่อนไหวทางศาสนาหรือกระบวนการเคลื่อนไหวครูบา และการสร้างสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นเครื่องหมายของการต่อต้านอำนาจส่วนกลาง ทั้งที่เป็นรัฐและองค์กรสงฆ์ กระบวนการเคลื่อนไหวครูบานี้ก็เพื่อการสร้างศาสนสถานและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชน โดยมีกะเหรี่ยงและชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ ที่มีความเลื่อมใสศรัทธาต่อตัวครูบาจนทำให้เกิดการขยายตัวของความเคลื่อนไหวดังกล่าว ซึ่งจัดประเภทอัตลักษณ์ของกะเหรี่ยงที่เข้าร่วมในกระบวนการนี้ได้ 3 ลักษณะ คือ 1.กะเหรี่ยงที่อยู่บริเวณชายขอบของความเคลื่อนไหว 2.กะเหรี่ยงที่อยู่ระหว่างขอบเขตกับศูนย์กลางความเคลื่อนไหว 3.กะเหรี่ยงที่อยู่ศูนย์กลางของความเคลื่อนไหว นอกจากนี้องค์ประกอบสำคัญในการเชื่อมโยงการสร้างศาสนสถานตามพื้นที่ต่าง ๆ มี 4 อย่าง ได้แก่ 1.คนเหล่านี้มีความเชื่อร่วมกันเกี่ยวกับดินแดนทางศาสนา จากการที่มีการผลิตซ้ำในตำนานต่างๆ และซากศาสนสถานที่ปรากฏ ซึ่งมีนัยของพื้นที่ที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่ยังคงต่อรองกันอยู่ในเรื่องเกี่ยวกับพิธีกรรมและการปฏิบัติในชีวิตประจำวัน 2.ผู้เข้าร่วมและสานุศิษย์ต่างก็มีความเชื่อว่าการสร้างสังคมขึ้นมาใหม่นั้นจะต้องเกิดขึ้นจริงไม่ใช่เพียงแต่จินตนาการเท่านั้น อันเป็นสังคมที่มีเขตแดนและอัตลักษณ์ที่มีคนเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งด้วย 3.กิจกรรมที่เกิดขึ้นทำให้เกิดสังคมที่เหมือนเป็นศูนย์ของความหลากหลายทางวัฒนธรรมและผู้คนที่ดี ไม่เห็นแก่ตัว และยอมสละตนเองเพื่อสังคมที่สงบสุข 4.แม้ในสังคมยุคสมัยใหม่ความเชื่อเกี่ยวกับต้นบุญหรือการทำบุญก็ยังคงแผ่เข้าไปในสังคมทุกชนชั้น เป็นความเชื่อที่ได้รับการอุปถัมภ์และการสนับสนุนพระป่าและครูบา โดยผู้คนที่มีการศึกษา มีถิ่นฐานในเมือง มีความร่ำรวยจากภาคธุรกิจรวมทั้งชาวเกษตรกรและชนกลุ่มน้อยด้วย

Focus

ศึกษากระบวนการความเคลื่อนไหวของครูบาและสานุศิษย์ที่เป็นกะเหรี่ยง ซึ่งมีความเชื่อความศรัทธาต่อครูบาและการสร้างศาสนสถานต่าง ๆ ซึ่งเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ (หน้า 3)

Theoretical Issues

ผู้วิจัยได้ใช้แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการเคลื่อนไหวทางศาสนา หรือที่เรียกว่า "กระบวนการเคลื่อนไหวครูบา" ซึ่งเกิดขึ้นในภาคเหนือหลายครั้ง และมีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ ความศรัทธาในตัวครูบาว่า เป็นผู้มีบุญ มีความศักดิสิทธิ์ตามแนวคิด "ต้นบุญ" การสร้างหรือปฏิสังขรณ์วัดและพระธาตุ อันถือเป็นพื้นที่ที่ศักดิสิทธิ์ในหลาย ๆ แห่ง เช่น พระธาตุดอยสุเทพ และการที่มีสานุศิษย์ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หรือชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ รวมทั้งกะเหรี่ยงด้วย ได้เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก (หน้า 4-5) ผู้เขียนได้อธิบายการเข้ามามีส่วนร่วมของกะเหรี่ยงว่า ครูบา ได้รับการยกย่องนับถือมากกว่า เพราะเป็นพระแห่งป่าและขุนเขา สามารถสร้างสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในดินแดนที่ห่างไกลทุรกันดาร ที่ถือเป็นพื้นที่ของคนชายขอบ ครูบายังถือว่ามีอำนาจเหนือกว่าผีกะเหรี่ยง ซึ่งจำกัดอยู่กับพื้นที่ การที่กะเหรี่ยงได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการสร้างสถานที่ศักดิสิทธ์ดังกล่าว คือ การได้มีส่วนร่วมกับ "สังคมในฝัน" ที่คนต่างกลุ่มได้มาทำบุญร่วมกัน (หน้า 11-12) ผู้มีส่วนร่วมในการสร้างบุญ จะนิยามตนเองเข้ากับการเป็นสมาชิกของชุมชนศาสนา ซึ่งสร้างสังคมที่รุ่งเรืองและถูกต้องเที่ยงธรรม ซึ่งต่างไปจากโลกของชุมชนศาสนาที่ถูกควบคุมโดยองค์กรสงฆ์ส่วนกลาง เป็นชุมชนที่อยู่นอกเหนืออำนาจของรัฐและองค์กรสงฆ์ส่วนกลาง (หน้า 13)

Ethnic Group in the Focus

กะเหรี่ยงในแถบภาคเหนือของประเทศไทย ที่ร่วมการจาริกแสวงบุญและกิจกรรมการสร้าง ซึ่งเป็นกะเหรี่ยงมีสถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของชุมชน อันเป็นผู้เชี่ยวชาญทางศาสนาและเป็นผู้ที่คนให้ความเคารพสูง (หน้า 2)

Language and Linguistic Affiliations

กล่าวถึงตำราตัวอักษรที่ใช้ในตำราพระพุทธศาสนาที่เป็นที่รู้จักกันดี หรือที่เรียกว่า ตำนานมูลศาสน์ (Tamnan Mulsasna) ซึ่งเขียนเป็นอักษรยวน (Yuen) อันเชื่อมโยงถึงพระพุทธศาสนาในล้านนา เกี่ยวกับการกำเนิดของพระพุทธศาสนา โดยใช้เพื่อการเทศนา (หน้า 6)

Study Period (Data Collection)

เริ่มศึกษาตั้งแต่ทำวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท ในปี พ.ศ.2530 เรื่อยมา จนได้ศึกษาอีกครั้งเมื่อทำวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกเกี่ยวกับ ข้อปฏิบัติทางศาสนาของกะเหรี่ยง ในปี พ.ศ.2544

History of the Group and Community

ไม่มีข้อมูล

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

ไม่มีข้อมูล

Economy

ไม่มีข้อมูล

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

โดยประเพณีของกะเหรี่ยงที่มีผู้นำหมู่บ้าน (เรียกว่า he kho) ที่คอยปกปักษ์ดูแลสภาพแวดล้อม ก็คือ ผีแห่งผืนดินและน้ำ (Kaw Ka Cha and Thee Ka Cha หรือ Lord of land and water) จะเป็นผู้นำที่ป้องกันชีวิตและทรัพย์สินของของสมาชิกในชุมชน และขอพรจากผีให้มีความเจริญรุ่งเรืองด้วยเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติตามจารีต (หน้า 11)

Belief System

กระบวนการเคลื่อนไหวครูบา เป็นกระบวนการเคลื่อนไหวทางศาสนาในการสร้างและปฏิสังขรณ์ศาสนสถานหลายๆ แห่งในพื้นที่ต่างๆ โดยมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ ประการแรกคือ ความเชื่อที่ว่า ครูบา ก็คือ "ต้นบุญ" เป็นผู้เผยแพร่ศาสนาและให้ประชาชนได้ร่วมกันสร้างบุญกุศล เพื่อสร้างชุมชนที่ดีงามเพื่อรอการกลับมาเกิดใหม่ของพระศรีอาริยเมตตรัย ประการที่สองคือ การสร้างและการบูรณะศาสนสถานต่าง ๆ ทำให้ครูบายิ่งมีชื่อเสียงมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการขยายพื้นที่กิจกรรมดังกล่าวกว้างออกไปมาก เช่น การสร้างถนนเส้นทางยาว 12 กม.สู่วัดพระธาตุดอยสุเทพของครูบาศรีวิชัย ประการสุดท้ายคือ จำนวนสานุศิษย์มาจากชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ ที่เข้าร่วมในกระบวนการนี้มีเป็นจำนวนมาก อันเนื่องจากการมีความศรัทธาว่าเป็นผู้ที่มีบุญญาธิการ บารมี (หน้า 3-5) ด้วยลักษณะของกระบวนการเคลื่อนไหวครูบานี้ จึงทำให้กะเหรี่ยงเข้าร่วมในกระบวนการดังกล่าว และยังถือเป็นข้อปฏิบัติที่สืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษ นอกจากนี้ ครูบายังต่างจากพระอื่น ๆ ตรงที่เป็นพระของชาวป่าชาวเขาอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นชาวเขาเผ่าใดก็ตาม ทั้ง ๆ ที่ไม่รู้จักกันมาก่อน แต่ก็ยึดติดอยู่กับกระบวนการนี้ บางคนอาจจะเพียงบริจาคปัจจัยต่าง ๆ ที่จำเป็นในการก่อสร้าง เช่น อาหาร หรือวัสดุก่อสร้าง แต่สำหรับกะเหรี่ยงแล้วจะลงแรงอยู่เสมอ (หน้า 11-12) กะเหรี่ยงยังเชื่อกันอีกว่า ครูบา เป็นผู้ที่มีอำนาจเหนือผีบรรพบุรุษหรือผีที่เชื่อกันในท้องถิ่น เพราะครูบาได้สร้างบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่จาการสร้างและบูรณะศาสนสถานต่าง ๆ อันเกี่ยวโยงกับตำนานของกษัตริย์กะเหรี่ยงและการประพาสของพระพุทธเจ้า (หน้า 11) นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อเกี่ยวกับการสักการะพระบรมธาตุ ตามปีนักษัตร เช่น ปีชวดควรสักการะพระธาตุจอมทอง (จ.เชียงใหม่) ปีฉลูควรสักการะพระธาตุลำปางหลวง (จ.ลำปาง) เป็นต้น ซึ่งศาสนสถานต่างอยู่ครอบคลุมทางภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือในประเทศไทย ทั้งในประเทศพม่า และอินเดียหรือแม้แต่ที่ไม่ใช่ภูมิโลก (หน้า 8)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ในพิธีฉลองการสรงน้ำของครูบาลา (La) มีกะเหรี่ยงหลายพันคนที่ร่วมในพิธีนี้ในชุดประจำเผ่าที่มาจากหมู่บ้านต่าง ๆ ซึ่งจะมีการสร้างเจดีย์ชั่วคราวที่ทำจากไม้ไผ่แล้วตกแต่งด้วยเสื้อผ้า กระโปรง ผ้าโพกหัว และย่าม ก่อนพิธีสรงน้ำจะเริ่ม กะเหรี่ยงก็จะเดินล้อมรอบ ๆ วัด พร้อมกับร้องเพลงประจำเผ่า (เพลง "tha") (หน้า 14)

Folklore

ตำนานเกี่ยวกับการเสด็จประพาสเยือนตามดินแดนต่าง ๆ ขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า และมีเรื่องราวของพระองค์กับชาวบ้าน จึงเป็นที่มาของชื่อศาสนสถานต่าง ๆ เช่น ตำนานพระธาตุลำปางหลวง จ.ลำปาง ซึ่งพระองค์ได้ทรงมอบพระเกศาธาตุและพระบรมสารีริกธาตุแก่ลัวะ ที่ชื่อ Ai Khon หลังจากที่พระองค์นิพพาน เนื่องจากลัวะคนนี้ได้เห็นพระองค์จึงเข้ามาเติมน้ำผึ้งในกะบอกน้ำ และได้ถวายมะพร้าว 4 ลูกแด่พระองค์ เป็นต้น (หน้า 7) นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงตำราทางศาสนา เช่น ตำนานโยนกโลก (Yonok Lok) ซึ่งเป็นตำราใบลาน (palm scripts) ที่เกี่ยวกับความสำคัญของพระยาธรรม อันมีลักษณะคล้ายกับครูบาศรีวิชัยและครูบาเขาพิ (Khao Pi) และตำนานเกี่ยวกับพระยาธรรมที่กล่าวถึงความไม่เป็นธรรมของผู้ปกครองนครล้านนา โดยมีพระยาธรรมเป็นผู้ช่วยเหลือจากการร้องของของอินทรา (Indra) (หน้า 9)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ได้กล่าวถึงการที่ครูบาศรีวิชัยได้รับการอุปถัมภ์จากราชวงศ์ นักธุรกิจ นักการเมืองทางภาคเหนือ ด้วยความศรัทธาที่มีต่อท่านจึงเกิดการบูรณะและสร้างอุโบสถที่วัดพระสิงห์ หรือที่วัดสวนดอก ในการสร้างที่บรรจุพระธาตุของบรมวงศานุวงศ์ในอดีต นอกจากนี้ กลุ่มคนเหล่านี้ยังช่วยในการเจรจากับรัฐ Sangha เพื่อสร้างศาสนสถานจนเสร็จ ในปรากฏการณ์ของชาวเมืองแถบภาคกลางที่ร่ำรวยได้อุปถัมภ์พระป่าหรือพระของท้องถิ่นหรือของชนกลุ่มน้อยด้วยการนำมาซึ่งทรัพยากรต่างๆ ที่มากมายเพื่อการก่อสร้างศาสนสถาน จนสามารถทำได้เสร็จในระยะเวลาอันสั้น อันเนื่องด้วยเหตุผล 2 ประการ วิถีชีวิตในสังคมสมัยใหม่แต่กลับมีความรู้สึกเสื่อมถอยทางคุณธรรมและศีลธรรม อันนำมาซึ่งปัญหาต่าง ๆ ผนวกกับการสื่อสารและการคมนาคมที่ทันสมัย ข่าวเกี่ยวกับพระที่ประพฤติดีหรือไม่ดีแพร่ไปอย่างรวดเร็ว คนเหล่านี้จึงต้องการมาจาริกแสวงบุญกับพระที่อยู่ในถิ่นห่างไกลได้อย่างง่ายดาย (หน้า 15-18)

Social Cultural and Identity Change

กะเหรี่ยงที่ร่วมในความเคลื่อนไหวดังกล่าว มีการเปลี่ยนแปลงทางศาสนา กล่าวคือ กะเหรี่ยงมีการนิยามตนเองเข้ากับการเป็นสมาชิกกลุ่มทางศาสนา โดยจัดประเภทได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.กะเหรี่ยงที่อยู่บริเวณชายขอบของความเคลื่อนไหว จะมีการเข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆ ที่อยู่ใกล้หมู่บ้านแบบนาน ๆ ที และยังคงปฏิบัติตามจารีตประเพณีเป็นส่วนใหญ่ 2.กะเหรี่ยงที่อยู่ระหว่างขอบเขตกับศูนย์กลางความเคลื่อนไหว จะมีการเข้าร่วมที่บ่อยครั้งกว่าไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดก็ตาม และปฏิบัติตนตามแนวพุทธศาสนิกชนเมื่อพักอาศัยอยู่ในบริเวณวัด แต่เมื่อกลับไปยู่บ้านก็จะทำตามจารีตประเพณีเช่นเดิม 3.กะเหรี่ยงที่อยู่ศูนย์กลางของความเคลื่อนไหว จะย้ายที่อยู่มาใกล้กับบริเวณวัดหรือกุฎิของครูบา หลังจากที่ติดตามการสร้างมาหลายแห่ง กลุ่มนี้จะเลิกการประพฤติปฏิบัติตามจารีต โดยหันมาปฏิบัติตามแนวทางศาสนาพุทธ รวมทั้งลดพิธีกรรมการเซ่นไหว้ด้วยเนื้อสัตว์ เปลี่ยนมาเป็นการเซ่นไหว้ด้วยข้าวและขนมหวานแทนเท่านั้น ระดับของการนิยามตนเองเป็นสมาชิกใหม่ทางศาสนาจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับการแยกตนเองจากการนับถือผีและชุมชนได้เพียงใด ดังที่ผู้วิจัยได้พบในปี ค.ศ.1987 กะเหรี่ยงที่วัดผาน้ำ (Pha Nam) ต้องการจะเลิกการนับถือผี โดยที่ผู้หญิงที่เป็นคนโตของสายตระกูลฝ่ายแม่ ซึ่งเป็นครอบครัวที่ตั้งถิ่นฐานก่อนนั้นจะต้องทำหน้าที่ในการประกอบพิธีกรรมเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษแทนสมาชิกทั้งหมด จึงส่งผลกระทบโดยตรงต่อการปฏิบัติของครัวเรือนอื่นด้วยที่อยู่ในสายเลือดทางฝ่ายแม่เดียวกัน (หน้า 14-15)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst ศรายุทธ โรจน์รัตรักษ์ Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ (กะเหรี่ยง), ความเชื่อ, การเคลื่อนไหวทางศาสนา, การช่วงชิงพื้นที่, อัตลักษณ์, ภาคเหนือ, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง