สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject การธำรงเอกลักษณ์,การปฏิวัติ,ชายแดนภาคใต้
Author Mcvey, Ruth
Title Identity and Rebellion among Southern Thai Muslims
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity มลายู ออแฆนายู มลายูมุสลิม ไทยมุสลิม, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเนเชี่ยน
Location of
Documents
หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ Total Pages 16 Year 2532
Source The Muslims of Thailand.,The Catholic Press, Ran
Abstract

มีเนื้อหาครอบคลุมถึงสถานการณ์ทางการเมืองตั้งแต่ในอดีตแสดงให้เห็นถึงปัญหา และการเคลื่อนไหวของมุสลิมเพื่อพยายามเรียกร้องอิสรภาพในการปกครอง มีความพยายามสร้างระบบการศึกษาขึ้นมาเองเพื่อแสดงเอกลักษณ์และปฏิเสธการรวมกับรัฐ รวมทั้งปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างชนทั้ง 2 กลุ่ม แนวทางการการแก้ไข และการปฏิบัติทั้งของรัฐบาลไทยและของกลุ่มชนชั้นนำของมุสลิมเพื่อนำไปสู่ทางออกที่ดี ป้องกันการเกิดเหตุการณ์ไม่สงบขึ้นอีกในชายแดนภาคใต้

Focus

ผู้เขียนพยายามอธิบายถึงสถานการณ์ทางการเมืองในช่วงก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ของกลุ่มมุสลิม 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สถานการณ์และเงื่อนไขการต่อต้านรัฐของมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะปัตตานี ยะลา นราธิวาส ในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

มุสลิมใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้

Language and Linguistic Affiliations

ประชากรมุสลิมในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาสพูดภาษามาเลย์ ส่วนที่สตูลส่วนใหญ่มักพูดภาษาไทย

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

กล่าวถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชุมชนตั้งแต่เกิดกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส เกิดการเสียพื้นที่ชายแดนที่เป็นส่วนของประเทศมาเลเซียไป แต่ส่วนพื้นที่ปัตตานีอันรวมถึงพื้นที่ที่เป็นจังหวัดยะลา นราธิวาสในปัจจุบันยังคงเป็นของไทย ทำให้เกิดการพยายามเรียกร้องอิสรภาพขึ้นเรื่อยมาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 (น.34-35)

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

ไม่มีข้อมูล

Economy

ส่วนใหญ่ทำการเกษตร และทำสวนยางพารา แต่ตั้งแต่สมัยค.ศ.1950 ระบบเศรษฐกิจมีความเจริญเติบโตมาก มีการสร้างถนน การปลูกพืชเศรษฐกิจยางพารา ทำให้การดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงในชนบทเป็นไปไม่ได้อีกต่อไป การที่ต้องติดต่อสื่อสารกับเมืองและรัฐมากขึ้นทำให้มุสลิมเริ่มเห็นปัญหาในเรื่องของภาษาที่ไม่สามารถพูดไทยได้ เห็นความจำเป็นที่จะต้องปรับตัวมากขึ้น(น.39-40)

Social Organization

ผู้เขียนไม่ได้กล่าวถึงสภาพครอบครัวไว้ แต่ได้กล่าวถึงสถาบันทางสังคมที่สำคัญคือ สถาบันการศึกษาว่าในชุมชนมุสลิมนี้มีโรงเรียนศาสนาเป็นของตนเอง ทั้งนี้เป็นวิธีการหนึ่งที่จะป้องกันไม่ให้เด็กเข้าเรียนโรงเรียนทั่วไปที่สอนบนพื้นฐานทางศาสนา และประวัติศาสตร์ของชาติไทย และแสดงถึงการขึ้นตรงต่อรัฐไทยด้วย (น.37)

Political Organization

แต่เดิมนั้น 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้นี้ปกครองกันเอง แต่ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการขยายอำนาจของรัฐออกไปมากขึ้น ผู้ปกครองของมุสลิมเหล่านั้นต้องขึ้นตรงกับรัฐบาลในกรุงเทพฯ ทำให้เกิดการประท้วงขึ้นเพื่อเรียกร้องต้องการเป็นรัฐอิสระ ในปี 1947 มีความพยายามจะรวม 4 จังหวัดชายแดนนี้ให้เป็น 1 ภูมิภาค ปกครองโดยคนในพื้นที่ที่เลือกกันเอง มีอำนาจเต็มที่แทนข้าราชการของรัฐไทย สนับสนุนโดยสภาอิสลาม ปกครองโดยกฎหมายมุสลิม มีศาลของตนเอง และให้ภาษามาเลย์เป็นภาษาราชการและเป็นภาษาที่ใช้สอนในโรงเรียน (น.40) อย่างไรก็ตาม ในสภาพที่เป็นอยู่นั้น ผู้เขียนกล่าวว่าผู้ที่มีอำนาจน่าจะเป็นผู้นำทางศาสนา เพราะมีผู้ไว้วางใจมาก หรือ เป็นพวกคนหัวกะทิของสังคมทั้งหลาย (น.42) และในที่สุดแล้วเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่สงบมากขึ้น มุสลิมเหล่านี้ก็หันมาต้องการความปลอดภัยและการได้รับการบริการจากรัฐบาล

Belief System

ไม่มีข้อมูล

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยโดยเฉพาะระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับมุสลิมนั้นส่วนใหญ่จะประสบปัญหาเรื่องการสื่อสาร เพราะมุสลิมจะพูดได้แต่ภาษามาเลย์เท่านั้น ประกอบกับความคิดอคติว่าคนไทยคือคนพุทธเท่านั้น จึงมักปฏิบัติต่อมุสลิมอย่างไม่เท่าเทียมนัก มุสลิมจึงคิดว่าหากรวมกับไทยแล้วตนก็จะต้องเสียเปรียบ ไม่ได้รับความยุติธรรมเท่าที่ควร ก่อให้เกิดความไม่พอใจ เกิดความไม่สงบอยู่เรื่อยมา นอกจากนี้มุสลิมยังมีการเปิดโรงเรียนสอนศาสนาระบบ pondok เองเพื่อป้องกันไม่ให้มุสลิมออกนอกศาสนาและหันมาเรียนและขึ้นตรงต่อไทย (น.44-45)

Social Cultural and Identity Change

มุสลิมเริ่มเล็งเห็นความจำเป็นของภาษาไทยและการติดต่อกับรัฐมากขึ้น เนื่องจากสภาวะทางเศรษฐกิจทำให้พวกเขาเริ่มตระหนักว่าเขาไม่สามารถใช้ชีวิตอยู่อย่างขาดการติดต่อกับภายนอกได้อีกต่อไป

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst นาถศิริ โกมลพันธุ์ Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG การธำรงเอกลักษณ์, การปฏิวัติ, ชายแดนภาคใต้, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง