สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ (กะเหรี่ยง),โพล่ง โผล่ง โพล่ว ซู (กะเหรี่ยง),ประเพณี,สิ่งแวดล้อม,อุทัยธานี
Author จันทบูรณ์ สุทธิ
Title กะเหรี่ยง : ชีวิต จารีตประเพณี สิ่งแวดล้อม
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity โพล่ง โผล่ง โผล่ว ซู กะเหรี่ยง, ปกาเกอะญอ, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 30 Year 2539
Source สถาบันวิจัยชาวเขา กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
Abstract

กะเหรี่ยงเป็นเผ่าชนที่อาศัยอยู่กับป่ามาแต่ดั้งเดิม พวกเขามีความสัมพันธ์กับป่าและมีความสัมพันธ์กับป่าอย่างลึกซึ้งแนบแน่น หลักฐานดังกล่าวปรากฎให้เห็นในพิธีกรรมตามจารีตคติความเชื่อ ประเพณี การสร้างบ้าน ป่าชุมชน และการทำกิน การเกษตรแบบไร่หมุนเวียน (Cyclical Bush Fallow Cultivation) ของพวกเขาไม่ได้ทำให้ป่าไม้และความหลากทางชีวภาพสูญเสียไปสิ้นเชิงแต่เป็นการพักตัวชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น พวกเขามีส่วนร่วมในการการจัดการทรัพยากรโดยชุมชนและครัวเรือน ภายใต้กฎ ระเบียบ ข้อห้าม ข้อนิยมและจารีตประเพณี

Focus

ศึกษาการปรับตัวกับป่า ของกะเหรี่ยง โดยการพัฒนาวิธีการทำกิน แนวความคิด ประเพณี คติความเชื่อ พิธีกรรม และฯลฯ เพื่อให้สอดคล้องกับการอาศัยอยู่ร่วมกันกับป่า (หน้า 2)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

กะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในบริเวณจังหวัดอุทัยธานี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ (หน้า 1 - 8 )

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

ใช้ข้อมูลจาก Tribal Population Summary in Thailand, Tribal Research Institute, 1995 (หน้า 1 )

History of the Group and Community

ไม่มีข้อมูล

Settlement Pattern

กะเหรี่ยงนิยมสร้างบ้านด้วยไม่ไผ่เป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ โดยไม้จริงนิยมนำมาเป็นเสาบ้าน ที่เป็นเช่นนี้เพราะพวกเขาไม่รู้จักวิธีการใช้เลื่อยและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่สามารถแปรรูปให้เป็น ไม้แป้น ไม้เสา ไม้ขื่อและฯลฯในการสร้างบ้าน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้พวกเขาไม่นิยมสร้างบ้านด้วยไม้จริง นอกจากนี้ กะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ใน อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง ให้ข้อมูลว่าในทัศนะของกะเหรี่ยงพวกเขารู้สึกว่าบ้านที่เป็นไม้จริงทั้งหมดนั้นมีลักษณะเหมือนกับ "โลงศพ" ที่คนไทยใช้ใส่ศพ ดังนั้น จึงไม่เป็นมงคลสำหรับกะเหรี่ยงที่จะนอนอยู่ในโลงศพ แต่ต่อมาเมื่อได้มีการพัฒนาชาวเขาคติความเชื่อแบบนี้ค่อยๆ จางหายไป วัสดุสำหรับมุงหลังคา ตามปกติพวกเขาจะใช้หญ้าคา (Cogon Grass = Imperata) ที่ขึ้นอยู่ในไร่ และใบพลวง (Dipterocarpus tuberculatus Roxb.) คนเมืองเรียก "ไม้ตึง" เรียกใบของมันว่า "ใบตองตึง" (หน้า 3- 4)

Demography

จาก Tribal Population Summary in Thailand, Tribal Research Institute, 1995 กะเหรี่ยงมีจำนวนประชากรรวมกันประมาณ 321,900 คนจากจำนวนประชากรชาวเขาทั้งหมดที่มีอยู่ 694,720 คน (หน้า 1 ) บ้านผาหมอน ต.บ้านหลวง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ในเดือนธันวาคมปี พ.ศ.2535 มีประชากรซึ่งเป็นกะเหรี่ยงสะกอ 57 หลังคาเรือน รวม 364 คน (หน้า 16) ตารางที่ 1 แสดงจำนวนประชากรชาวเขา จ.เชียงใหม่ ตาก แม่ฮ่องสอน ปีพ.ศ. 2529 จำนวนประชากรชาวเขาทั้งประเทศ 530,299 คน ประชากรชาวเขาจ.เชียงใหม่ ตาก แม่ฮ่องสอน 288,844 คน ประชากรกะเหรี่ยง 201,520 คน ตารางที่ 2 แสดงจำนวนประชากรชาวเขาเชียงราย ลำปาง พะเยา น่าน ลำพูน แพร่ อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร อุทัยธานีและนครสวรรค์ ปี พ.ศ.2539 จำนวนประชากรชาวเขา 14 จังหวัด 217,795 คน ประชากรกะเหรี่ยง 40,969 คน (หน้า 17 - 18, 24 - 25)

Economy

เศรษฐกิจของชุมชนกะเหรี่ยงพึ่งหาอาศัยป่าเกือบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นพืชอาหาร วัสดุสร้างบ้าน เครื่องใช้ในครัวเรือน การเกษตร เครื่องดนตรี และพืชสมุนไพร การเก็บหาของป่าและล่าสัตว์เพื่อนำไปแลกเปลี่ยนกับคนไทยพื้นราบ ตลอดจนเป็น "แหล่งรายได้เงินสด" โดยผลผลิตของป่าถูกนำมาจำหน่ายเป็นรายได้เสริมแก่ครอบครัว (หน้า 11-14)

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

ในพิธีกรรมตามคติความเชื่อ ตามตำนานกล่าวถึงกะเหรี่ยงในภาคเหนือบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำของจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน และ จ.ลำปางร่วมกันกับลัวะ มาตั้งแต่รัชสมัยพระนางจามเทวีได้ก่อตั้ง "อาณาจักรหิรัญภุญชัย" ประมาณหนึ่งพันปีก่อนร่วมกับเผ่าไต - ไท ประมาณกว่า 700 ปี ตั้งแต่สมัยพญามังรายผู้ก่อสร้างเมืองเชียงรายและเชียงใหม่ มีส่วนทำให้กะเหรี่ยงเปลี่ยนแปลงการใช้สัตว์ป่าเซ่นสรวงในพิธีกรรมมาเป็นสัตว์เลี้ยงแทน และกะเหรี่ยงยังใช้สัตว์ป่าเป็นเครื่องบรรณาการให้แก่เจ้าผู้ปกครองภาคเหนือในอดีต (หน้า 2, 13)

Belief System

กะเหรี่ยงมีการนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และคติความเชื่อตามจารีตประเพณี โดยพวกเขาเชื่อว่าพื้นที่ทำกินของพวกเขาเป็นของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ การเข้าไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่แต่ละครั้งจำเป็นต้องประกอบพิธีขอจากเจ้าของพื้นที่เพื่อขอความคุ้มครอง และการปกป้องจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การประกอบพิธีกรรมเซ่นสังเวยสิ่งศักดิ์สิทธิ์และวิญญาณของบรรพบุรุษ โดยใช้ปลาเกล็ดขาวตามธรรมชาติ ที่ผู้ประกอบพิธีต้องหามาเองและการเลี้ยงผีโดยใช้สัตว์ป่า เช่นอ้น ซึ่งมีข้อห้ามหลายประการที่ต้องถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ในหมู่บ้านกะเหรี่ยง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ จากประสบการณ์ของบรรพบุรุษในอดีต มีการห้ามทำการเกษตรในพื้นที่ภูเขาด้านทิศตะวันออกมีความลาดชันและหันหน้าไปทางทิศตะวันตก เพราะจะไม่ได้ผลผลิต ประเพณีการนำรกของทารกที่เกิดใหม่ ใส่กระบอกไม้ไผ่ไปผูกหรือวางพิงกับต้นไม้รอบ ๆ ชุมชน เพื่อให้ทารากเจ้าของรกมีการเจริญเติบโตเร็ว แข็งแรง แข็งแกร่งเฉกเช่นต้นไม้และเป็นบุคคลที่มีเพื่อนมาก และห้ามมีการตัดฟันต้นไม้นั้นตลอดไป ผู้ฝ่าฝืนจะต้องนำไก่ 2 ตัวต่อรก 1 กระบอก มาฆ่าเพื่อเซ่นไหว้เป็นการขอขมาและเรียกขวัญสำหรับผู้เคยผูกมัดหรือวางกระบอกรกที่ตั้นไม้นั้น กะเหรี่ยง จ.อุทัยธานีมีพิธีสืบชะตาหรือ "ดุคล้อง" คือการนำไม้จริงหรือไม้ไผ่ ยาวประมาณ 2-3 เมตรมาวางค้ำต้นไม้ใหญ่ใกล้ ๆ หมู่บ้านเพื่อมิให้มีการตัดฟันต้นไม้นี้ การลำดับรอบเดือนตามจารีตประเพณี โดยใช้ชื่อดอกพลับพลึงป่าหรือ "เดญ่า" เพื่อใช้ในการลำดับเดือนตามจันทรคติ นอกจานี้ยังใช้ชื่อไร่หมุนเวียนช่วยในการจดจำเรื่องราวต่างในครอบครัว เช่น การแต่งงาน การเกิด การตาย เป็นต้น (หน้า 1, 8 - 10)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

กะเหรี่ยงมีการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพร จากไม้ยืนต้น ไม้ล้มลุก เถาวัลย์ พืชชั้นต่ำบางชนิด มาหลายชั่วอายุคน โดยถูกใช้เป็นสมุนไพรยากลางบ้านเพื่อบำบัดรักษาความเจ็บป่วยของบุคคลในชุมชน

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

กะเหรี่ยงนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์และคติความเชื่อตามจารีตประเพณี ไทย และเป็นเผ่าชนที่อาศัยอยู่กับป่ามาแต่ดั้งเดิม พวกเขามีความสัมพันธ์กับป่าและมีความสัมพันธ์กับป่าอย่างลึกซึ้งแนบแน่น หลักฐานดังกล่าวปรากฎให้เห็นในพิธีกรรมตามจารีตคติความเชื่อ ประเพณี การสร้างบ้าน ป่าชุมชน การทำกิน (หน้า1 - 8, 22) ในด้านความสัมพันธ์ของกะเหรี่ยงกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่น งานวิจัยชิ้นนี้ไม่ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนหรือตั้งเป็นหัวข้อเฉพาะ แต่ระบุไว้ว่าตามตำนานกล่าวถึงกะเหรี่ยงในภาคเหนือบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำของจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน และ จ.ลำปางร่วมกันกับลัวะ มาตั้งแต่รัชสมัยพระนางจามเทวีได้ก่อตั้ง "อาณาจักรหิรัญภุญชัย" ประมาณหนึ่งพันปีก่อนร่วมกับเผ่าไต - ไท ประมาณกว่า 700 ปี ตั้งแต่สมัยพญามังรายผู้ก่อสร้างเมืองเชียงรายและเชียงใหม่ มีส่วนทำให้กะเหรี่ยงเปลี่ยนแปลงการใช้สัตว์ป่าเซ่นสรวงในพิธีกรรมมาเป็นสัตว์เลี้ยงแทน และกะเหรี่ยงยังใช้สัตว์ป่าเป็นเครื่องบรรณาการให้แก่เจ้าผู้ปกครองภาคเหนือในอดีต (หน้า 2,13 ) ในด้านเศรษฐกิจมีการเก็บหาของป่าและล่าสัตว์เพื่อนำไปแลกเปลี่ยนกับคนไทยพื้นราบ เป็น "แหล่งรายได้เงินสด" โดยผลผลิตของป่าถูกนำมาจำหน่ายเป็นรายได้เสริมแก่ครอบครัว (หน้า 13-14)

Social Cultural and Identity Change

กะเหรี่ยงยังเป็นกลุ่มที่มีความสัมพันธ์กับป่าและมีความสัมพันธ์กับป่าอย่างลึกซึ้งแนบแน่น มีการปรับตัวทางด้านสังคม วัฒนธรรมพิธีกรรมตามจารีตคติความเชื่อ ประเพณี การสร้างบ้าน ป่าชุมชน และการทำกิน ตลอดการส่วนร่วมในการการจัดการทรัพยากรโดยชุมชนและครัวเรือนภายใต้กฎ ระเบียบ ข้อห้าม ข้อนิยมและจารีตประเพณี (หน้า 14-15, 22-23)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ตารางที่ 1 แสดงจำนวนประชากรชาวเขา จังหวัดเชียงใหม่ ตาก แม่ฮ่องสอน ตารางที่ 2 แสดงจำนวนประชากรชาวเขาจังหวัดเชียงราย ลำปาง พะเยา น่าน ลำพูน แพร่ อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร อุทัยธานีและนครสวรรค์ ปีพ.ศ.2539 ตารางที่ 3 แสดงพื้นที่ป่าไม้ จังหวัดเชียงใหม่ ตาก แม่ฮ่องสอน ปี พ.ศ. 2504 - 2528 ตารางที่ 4 แสดงพื้นที่ป่าไม้จังหวัดเชียงราย ลำปาง พะเยา น่าน ลำพูน แพร่ อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร อุทัยธานีและนครสวรรค์ ปีพ.ศ. 2504 - 2528 (หน้า 24 - 28) ภาคผนวก การใช้ประโยชน์จากพืช บ้านลัวะป่าแป๋ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน (หน้า 29 - 30)

Text Analyst ธิกานต์ ศรีนารา Date of Report 05 ก.ย. 2555
TAG ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ (กะเหรี่ยง), โพล่ง โผล่ง โพล่ว ซู (กะเหรี่ยง), ประเพณี, สิ่งแวดล้อม, อุทัยธานี, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง