สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject พวน ไทยพวน ไทพวน,โลกทัศน์,เพลงกล่อมเด็ก,สิงห์บุรี
Author อุบลทิพย์ จันทรเนตร
Title ความสัมพันธ์ระหว่างเพลงกล่อมเด็กกับโลกทัศน์ของลาวพวน : กรณีศึกษา หมู่บ้านวัดกุฎีทอง จังหวัดสิงห์บุรี
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ไทยพวน ไทพวน คนพวน, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 183 Year 2537
Source วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปริญญาสังคมวิทยามหาบัณฑิต ภาควิชาสังคมวิทยามานุษยวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract

วิทยานิพนธ์นี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาโลกทัศน์ของชนชาติลาวพวนในหมู่บ้านวัดกุฎีทอง จังหวัดสิงห์บุรี จากการศึกษาพบว่า ความหมายในคำไทยและคำลาวในเพลงกล่อมเด็กสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของโลกทัศน์ในด้านต่างๆ ซึ่งสามารถวิเคราะห์ได้จากการเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนของคำร้องในเพลง จากคำร้องในเพลงกล่อมเด็กพบว่า คำที่คนลาวพวนจำเป็นต้องใช้เพื่อสื่อการแสดงออกในวิถีชีวิตของคนไทยเป็นคำไทยส่วนใหญ่และปรากฏในบริบทที่อ้างสถานที่ การขอร้องขอห้าม และกิจวัตรประจำวัน ฯลฯ เมื่อเวลาผ่านไปคำไทยได้เข้ามาแทรกคำลาวและค่อยๆ มีบริบทที่เปลี่ยนไป คือมีคำไทยเข้ามามากขึ้น โดยแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะได้แก่ 1. ระหว่างหนุ่มสาวในบริบทของความรัก 2. ระหว่างสมาชิกในครอบครัวในบริบทของการเลี้ยงดูบุตร 3. ระหว่างสมาชิกในชุมชนในบริบทของความสัมพันธ์ประจำวัน 4. ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติในบริบทการใช้ทรัพยากร

Focus

วิเคราะห์เพลงกล่อมเด็กในส่วนคำ วลี และประโยค ที่ใช้ร้องกันภายในหมู่บ้าน และตีความเพื่อที่จะเข้าใจโลกทัศน์ของลาวพวน(หน้า 9)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ลาวพวน (หน้า 6)

Language and Linguistic Affiliations

ปัจจุบัน จะใช้คำไทยมีคำลาวปนบ้าง ซึ่งผู้เขียนได้สันนิษฐานว่าอัตราส่วนของคำลาวกับคำไทยในเพลงจะชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของความคิดโลกทัศน์ของลาวพวนในชุมชนที่ศึกษา (หน้า 112)

Study Period (Data Collection)

เดือนมกราคม 2535 ถึงเดือน พฤษภาคม 2536

History of the Group and Community

คำว่าพวนคือคำที่ใช้เรียกคนเชื้อชาติไทยเผ่าหนึ่ง ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมและภาษาพูดเป็นเอกลักษณ์ของตนชาวพวนได้อพยพมาอยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ ในแถบภาคกลางรวม 12 จังหวัด ได้แก่ แพร่ สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร สระบุรี นครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ลพบุรีและสิงห์บุรี นอกจากนี้ ยังพบว่าพวนอาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกด้วย ถิ่นฐานดั้งเดิมของชาวพวนนั้นอยู่ที่แขวงเชียงขวางหรือนครเชียงขวางซึ่งเป็นเมืองสำคัญของพวน ปัจจุบันเมียงเชียงขวางนี้เป็นเมืองสำคัญของประเทศลาว ห่างจากเวียงจันทน์ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ 70-80 กิโลเมตร (หน้า 29) เนื่องจากนครเชียงขวางนี้ตั้งอยู่บนที่ราบสูงจึงไม่เหมาะแก่การประกอบอาชีพที่พวนถนัดคือ การทำนาดำหรือนาลุ่ม และเป็นทางผ่านศึกของลาว ทำให้ลาวพวนไม่สามารถอยู่ที่นี่ได้ บางกลุ่มจึงอพยพมาทางตะวันตกของเชียงขวาง ซึ่งพวกที่อพยพมานี้ยังคงมีความผูกพันทางเครือญาติกับพวกที่อยู่ถิ่นเดิมไว้ได้อย่างเหนียวแน่น (หน้า 30+แผนที่หน้า 31) การอพยพมานั้นอาจแบ่งออกได้เป็น 3 ทางคือ - กลุ่มที่ 1 มาตั้งถิ่นที่เมืองพรหม (ต.บางน้ำเชี่ยว อ.พรหมบุรี สิงห์บุรี) และบางกลุ่มอพยพมาที่ อ.บ้านหมี่ ลพบุรี - กลุ่มที่ 2 มาตั้งถิ่นฐานที่อ.หาดเสี้ยว สุโขทัย - กลุ่มที่ 3 มาตั้งถิ่นฐานที่หลายอำเภอในนครนายก และปราจีนบุรี สำหรับชาวพวนที่บ้านกุฎีทอง เป็นพวนที่อพยพมาจากเมืองเชียงขวางและเมืองสุยในสมัย ร.3 สาเหตุเพราะหนีพวกฮ่อข้ามแม่น้ำโขงมาหมายพึ่งพระบรมโพธิสมภาร เมื่อมาถึงแม่น้ำเจ้าพระยาก็ได้ล่องแพมาถึง ต.บางน้ำเชี่ยว อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี และพวนนี้มีความรู้สึกว่าตนเองเป็นคน ไทย จึงเรียกตัวเองว่าไทยพวนมาจนถึงทุกวันนี้ (หน้า 32-33)

Settlement Pattern

พื้นที่ทั้งหมดจะใช้ในการปลูกสร้างที่อยู่อาศัยและเป็นพื้นที่ทำการเกษตรกรรมทั้งหมด มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านด้านตะวันตกของหมู่บ้าน ภายในหมู่บ้านยังมีคลองชลประทานเพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งด้วย(หน้า 20)

Demography

ในหมู่บ้านกุฎีทองประกอบด้วยชาวพวน 247 หลังคาเรือน 250 ครอบครัว มีประชากรทั้งสิ้น 935 คน ชาย 418 คนหญิง 517 คน (หน้า 20)

Economy

อาชีพที่สำคัญของสมาชิกในหมู่บ้านนี้ได้แก่ เกษตรกรรม ได้แก่ ทำไร่, ทำสวน, เลี้ยงสัตว์ และ ประมง- รับจ้าง โดยมากจะเป็นรับจ้างตัดหญ้า ทำงานบ้าน นวดแผนโบราณ และเลี้ยงเด็ก ค้าขาย มี 2 ประเภทคือ ร้านขายของกับแผงลอย-รถเข็น ซึ่งเจ้าของร้านขายของจะเป็นคนจีน ส่วนรถเข็นหรือแผงลอยนั้นจะเป็นคนพวน (หน้า 21-23)

Social Organization

ในสังคมลาวพวน วัฒนธรรมและวิถีชาวบ้านได้กำหนดให้สตรีเป็นแกนกลางของครอบครัว เมื่อชายหญิงแต่งงานกันแล้ว ฝ่ายชายต้องมาอยู่บ้านของฝ่ายหญิง เมื่อมีลูก หน้าที่เลี้ยงนั้นจะเป็นของยาย เพราะยายออกไปทำงานนอกบ้านไม่ไหว จึงคอยช่วยดูแลหลานและช่วยเหลืองานเล็ก ๆ น้อย ๆ (หน้า 111) และการอยู่ท่ามกลางญาติพี่น้องทำให้ผู้หญิงมีปราการป้องกันการทำตามอำเภอใจของสามี เพราะมีสมัครพรรคพวกคอยสนับสนุนให้กำลังใจ และให้ความช่วยเหลือในยามต้องการ หน้าที่หลักของผู้หญิงพวนจะเน้นที่ภาระของการเป็นแม่มากกว่าการปฏิบัติเอาใจสามี โครงสร้างของระบบเครือญาติ และการที่ผู้หญิงมีบทบาทสำคัญทางเศรษฐกิจทำให้ฐานะทางสังคมของผู้หญิงพวนนั้นทัดเทียมเพศชาย เพราะผู้หญิงพวนนั้นเป็นทั้งผู้ทำมาหาเลี้ยงครอบครัวและเป็นแม่ไปพร้อมกัน แต่บทบาทของภรรยานั้น จะต้องมาก่อนการเป็นแม่ ดังนั้น การเป็นภรรยาที่ดีจะต้องมีความเป็นแม่บ้านแม่เรือน รู้จักปรนนิบัติเอาใจสามี สิ่งที่หญิงดีควรหลีกเลี่ยงมากที่สุดคือ การเป็นม่ายสามีทิ้ง เพราะจะเป็นการประจานตัวเองว่าไม่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการเป็นภรรยา อย่างไรก็ตาม ข้อกำหนดทางเพศระหว่างหญิงชายนั้นไม่เท่าเทียมกัน (หน้า 152) หญิงนั้นจะต้องซื่อสัตย์ต่อสามีทั้งก่อนและหลังแต่งงาน ส่วนสามีจะไปมีหญิงอื่นไม่ว่าจะหญิงบริการขาประจำ นางบำเรอ หรือภรรยาอื่นทำได้โดยกฎหมายและสังคมทั่วไปถือเป็นเรื่องปกติธรรมดา ถือว่าผู้ชายไม่เสียหายที่จะมีความสัมพันธ์ทางเพศกับหญิงอื่นแม้จะมีภรรยาแล้ว (หน้า 153) สำหรับบทบาทของลูกนั้น ลูกคือแรงงานในไร่นาที่จะบ่งเบาภาระการงานของพ่อแม่ เป็นหลักประกันของความอยู่รอดของพ่อแม่ในยามชรา เมื่อถึงวัยอันควรลูกชายจะบวชเรียนเพื่อทดแทนพระคุณพ่อแม่ เมื่อมีลูกนั้น สังคมพวนถือว่าเด็กเป็นภาระร่วมกันของครอบครัว นำมาซึ่งความสุขและความสมบูรณ์ของชีวิต ในเนื้อเพลงกล่อมเด็กส่วนใหญ่จะกล่าวถึงแม่มากกว่าเพราะแม่จะใกล้ชิดลูกมากกว่าพ่อ มีบางเพลงที่มีกล่าวถึงพ่อบ้างแต่ไม่มากนัก ในกรณีที่พ่อแม่เลี้ยงดูลูกไม่ได้ก็จะให้ญาติผู้ใหญ่นั้นดูแทน (หน้า153) คนพวนนั้นให้ความสำคัญกับเครือญาติอย่างมาก มีการเยี่ยมเยือนและไปมาหาสู่ญาติพี่น้องเสมอ เมื่อมีเรื่องเดือดร้อนจะช่วยเหลือกันในระหว่างเครือญาติ (หน้า 143)

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

พวนมีความเชื่อเรื่องและพิธีกรรมที่มีรากฐานมาจากศาสนาพุทธและนับถือผี ประกอบเข้าด้วยกัน คือ - ศาสนาพุทธ ในหมู่บ้านมีวัดประจำศาสนาพุทธ 2 วัด คือวัดกุฎีทอง และวัดอุตตมะพิชัย เพราะชาวบ้านมีความเชื่อมั่นในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก (หน้า 26) และวัดมีบทบาทที่สำคัญคือเป็นศูนย์กลางในการรวมคนภายในหมู่บ้าน (หน้า 27) - ความเชื่อเรื่องผี ชาวบ้านกุฎีทองมีความเชื่อในเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธ์ และถือว่าสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติจะมีวิญญาณสิงอยู่ ปรากฏการณ์บางอย่างเกิดขึ้นเป็นการกระทำของวิญญาณและสิ่งศักดิ์สิทธ์เหล่านั้น หรือที่เรียกว่าผี ทั้งยังสามารถบันดาลให้เกิดความเป็นไปต่าง ๆ ได้ จึงต้องปฏิบัติตนให้ถูกต้องเพื่อให้ผีมีความเมตตา ซึ่งเป็นความเชื่อในแบบ Animism (หน้า 27) และยังคงมีพิธีกรรมที่เกี่ยวกับผีอยู่จนปัจจุบัน

Education and Socialization

ภายในหมู่บ้านกุฎีทองนั้นมีโรงเรียนอยู่ 2 แห่ง คือโรงเรียนวัดกุฎีทองเปิดสอนตั้งแต่ชั้นเด็กเล็กถึงประถมศึกษาปีที่ 6 และโรงเรียนนาคประดิษฐ์วิทยาซึ่งเป็นโรงเรียนราษฎร์ เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (หน้า 24) การศึกษาของประชากรส่วนใหญ่ที่อยู่ในวัยทำงานนั้นจะจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีบางส่วนเป็นผู้สูงอายุไม่ได้รับการศึกษา ส่วนเด็กรุ่นใหม่จะมีการศึกษาในระดับประถม 6 ซึ่งเป็นการศึกษาภาคบังคับ ส่วนน้อยที่ได้ศึกษาต่อในระดับมัธยม 6 ในโรงเรียนประจำจังหวัด และศึกษาต่อในกรุงเทพฯ คนที่มีโอกาสศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษามักเป็นลาวพวนที่มีฐานะดีเท่านั้น แต่บุคคลเหล่านี้มักไม่กลับมาอยู่ในหมู่บ้านแต่จะไปทำงานในท้องถิ่นอื่น (หน้า 25)

Health and Medicine

ภายในหมู่บ้านมีการรักษาทั้งแบบแผนปัจจุบันและแผนโบราณ คือมีสถานีอนามัยประจำตำบล 1 แห่ง มีแพทย์ประจำตำบล 1 คน และการรักษาแบบแผนโบราณนั้นเป็นการรักษาแบบไสยศาสตร์ โดยลาวพวนเชื่อว่าการเจ็บป่วยนั้นเกิดจากการกระทำของผี ต้องทำพิธีเจรจากับผีและเซ่นสรวงเพื่อให้ผีร้ายออกจากร่างผู้ป่วย ซึ่งการรักษาแบบนี้ยังทำอยู่ทั่วไปในหมู่บ้านควบคู่ไปกับการรักษาแผนใหม่ ชาวบ้านมักเชื่อว่า การรักษาแบบนี้มีโอกาสหายมากกว่า เพราะเคยมีคนไปรักษาที่โรงพยาบาลแล้วไม่หาย แต่มารักษาแบบนี้แล้วสามารถมีชีวิตอยู่ต่อได้หลายปี (หน้า 26)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

งานวิจัยชิ้นนี้ ได้กล่าวเน้นถึงเพลงกล่อมเด็กในสังคมของลาวพวน โดยผู้วิจัยได้วิเคราะห์สิ่งที่สะท้อนความคิดอารมณ์ความรู้สึกที่มีต่อธรรมชาติ (หน้า 34) และมนุษย์ (หน้า 72) ด้านธรรมชาตินั้นได้แสดงให้เห็นถึงความเป็นเผ่าพันธุ์ที่รักสงบ มีชีวิตผูกพันกับธรรมชาติมาช้านานจนถือได้ว่าธรรมชาติเป็นหนึ่งของชีวิตไปแล้ว ซึ่งจะเป็นการเปรียบเทียบอารมณ์ความรู้สึกของตนกันสิ่งที่อยู่ในธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ พืชหรือดวงจันทร์(หน้า 69-71) สำหรับด้านความสัมพันธ์ของมนุษย์นั้น ได้แบ่งออกเป็นหลายกลุ่ม ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูก, ยายกับหลาน, สามีกับภรรยา, และหนุ่มกับสาว (หน้า 110-111) และความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับชุมชน (หน้า 144) ผู้วิจัยได้วิเคราะห์เพลงกล่อมเด็กของลาวพวน และพิจารณาถึงอัตราส่วนระหว่างคำไทยและคำลาวที่มีอยู่ในแต่ละเพลงเพื่อพิจารณาถึงการผสมกลมกลืนกับคนไทยในด้านต่าง ๆ และการเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ของลาวพวน (หน้า 112) ผู้วิจัยเชื่อว่า สามารถวิเคราะห์ได้จากในเพลงลาว ซึ่งมีคำไทยปนอยู่ในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน และสามารถสะท้อนความแตกต่างของโลกทัศน์ที่เปลี่ยนไปได้ด้วย และในเพลงกล่อมเด็กที่ไม่มีคำลาวปนอยู่นั้นผู้วิจัยได้ตั้งข้อสมมติฐานว่าเป็นบทเพลงที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่ลาวพวนได้ผสมผสานโลกทัศน์ที่เป็นไทยมากขึ้นจนถึงระดับที่ไม่มีคำลาวปนในการร้อง (หน้า 119)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

จากการที่ศาสนาพุทธเข้ามาได้ทำให้เกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรม คือเข้ามาผสมผสานกับความเชื่อเรื่องผีแบบเดิม มิได้นำไปทดแทนของเดิม และปฏิบัติตนตามความเชื่อทั้งสองแบบนี้โดยหลีกเลี่ยงไม่ให้ขัดแย้ง และเลือกปฏิบัติตนตามความเหมาะสมของสภาพความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจและโอกาสต่าง ๆ (หน้า 27)

Social Cultural and Identity Change

ผู้วิจัยได้มีสมมติฐานว่าเมื่อลาวพวนเข้ามาอยู่ในเมืองไทย มีการผสมกลมกลืนกับคนไทยในด้านต่าง ๆ แล้ว โลกทัศน์หรือความคิดของลาวพวนจะเปลี่ยนแปลงไป อัตราส่วนที่เปลี่ยนแปลงนั้นจะสะท้อนความคิดโลกทัศน์ของลาวพวนในชุมชนที่ศึกษา (หน้า 112)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

แผนที่แสดง ต.บางน้ำเชี่ยว อ.พรหมบุรี สิงห์บุรี (หน้า 18) แผนที่แสดงลักษณะการตั้งบ้านเรือนของหมู่บ้าน(หน้า 19)

Text Analyst พิมพ์ชนก พงษ์เกษตร์กรรม์ Date of Report 27 ก.ย. 2555
TAG พวน ไทยพวน ไพวน, โลกทัศน์, เพลงกล่อมเด็ก, สิงห์บุรี, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง