สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject พวน,เศรษฐกิจ,สังคม,การเปลี่ยนแปลง,สุพรรณบุรี
Author Sotesiri, Roj
Title The Study of Puan Community, Pho Si Village, Tambon Bang Pla Ma, Suphan Buri
Document Type หนังสือ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity ไทยพวน ไทพวน คนพวน, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ Total Pages 64 Year 2525
Source สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (The Office of the National Culture Commission Ministry of Education)
Abstract

พวนในหมู่บ้านโพธิ์ศรี ตำบลบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรีนั้นต่างจากพวนในเมืองพวนหรือเมืองเชียงของ ประเทศลาวซึ่งเป็นที่ดอน จังหวัดสุพรรณบุรีเป็นพื้นที่ลุ่ม ทำให้พวนที่หมู่บ้านนี้ไม่สามารถจะรักษากิจกรรมที่มีมาแต่ปู่ย่าตายาย เช่น การทอผ้า ไว้ได้ แต่การทอผ้าก็ยังมีบทบาทสำคัญทางจิตใจของพวน และเมื่อต้องอยู่อย่างกระจัดกระจายในที่ต่าง ๆ ทำให้พวนต้องพยายามดิ้นรนด้วยการทำงานอย่างหนัก เศรษฐกิจเริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำรงชีวิตของพวน ความมั่งคั่งร่ำรวยกลายมาเป็นสิ่งสำคัญของพวน ฐานะทางการเงินกลายมาเป็นตัวแบ่งชนชั้นทางสังคมซึ่งต่างจากในอดีตที่ใช้ตำแหน่งหน้าที่เป็นตัวแบ่ง และความทันสมัยที่เข้ามาในหมู่บ้านมากขึ้น ทำให้คนในหมู่บ้านเริ่มอยู่กันแบบตัวใครตัวมันมากขึ้น (หน้า 8-10)

Focus

ความเป็นอยู่และประเพณีพวน

Theoretical Issues

ความทันสมัยที่เข้ามาในหมู่บ้านทำให้พวนบ้านโพธิ์ศรีเกิดความแตกต่างทางเศรษฐกิจจนก่อตัวเป็นชนชั้น แต่ระบบความเชื่อของลาวพวนยังคงดำรงอยู่ (ดู Abstract ประกอบ)

Ethnic Group in the Focus

พวนในหมู่บ้านโพธิ์ศรี (Pho Si Village) ตำบลบางปลาม้า สุพรรณบุรี

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

วันที่ 7-13 มีนาคม พ.ศ. 2516

History of the Group and Community

จาก ชุมนุมพงศาวดาร ฉบับที่ 41 และ 46 ในอดีต เมืองพวนตั้งอยู่ใกล้เคียงดินแดนของเวียงจันทร์ และทางตะวันออกบางส่วนอยู่ติดกับเวียดนาม และเนื่องจากภูมิประเทศตั้งอยู่ระหว่างสยามและเวียดนาม บางครั้งจึงถูกใช้เป็นสนามในการรบ เหตุนี้เอง พวนบางส่วนจึงอพยพมาทางใต้และมาหยุดอยู่ที่หนองคาย ต่อมาในปี ค.ศ. 1833 เขมรพยายามจะตีเอาเวียงจันทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้ทัพบกทัพเรือไปตีเขมรและเวียดนาม ทัพบกซึ่งเดินทัพผ่านทางเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือได้รับคำสั่งให้บังคับหรือเกลี้ยกล่อมให้ชาวบ้านในเวียงจันทร์และรัฐอื่น ๆ ในลาวให้ย้ายมาอยู่ในสยาม เพื่อกันไม่ให้คนเหล่านี้ส่งเสบียงให้กับศัตรูได้ ใน ลพบุรีที่น่ารู้ โดยหวน พินธุพันธ์ (Huan Phinthuphan) อ้างว่าในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าอนุได้คิดแข็งข้อกับสยามเป็นสถานการณ์ที่ทำให้พวนต้องละทิ้งบ้านเกิดคือ หัวพัน ทั้งห้า ทั้งหก (Huapan Tangha Tanghok) มาอยู่ที่บ้านหมี่ (Ban Mi) บ้านทับคล้อ (Ban Tab Khlo) ทุ่งบ้านโพธิ์ (Thung Ban Pho) และพิษณุโลก ในหนังสือ เรื่องเล่าจากเมืองไทย เขียนโดย สิงห์ศักดิ์ สายปัญญา (ค.ศ. 1964) กล่าวถึงพวนว่าเดิมอยู่ที่เมืองพวน เชียงของ ซำเหนือ ซำใต้ สิบสองปันนา สิบสองจุไทย เมื่อถูกรุกรานจากฮ่อ (Hos) จึงต้องย้ายมาทางใต้ จนถึงหนองคาย ปราจีนบุรี นครนายก สระบุรี ลพบุรี นครสวรรค์ พิษณุโลกและสุพรรณบุรี บางคนอพยพมาตั้งแต่สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี และมีอีกจำนวนหนึ่งอพยพมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้สเจ้าอยู่หัว พวนที่มาทางลพบุรีเดินทางแยกต่อไปยังสุพรรณบุรี และราชบุรี ที่สุพรรณบุรี พวนเริ่มมาตั้งถิ่นฐานที่เขาห้อง (Kao Hong) เมื่อประมาณ ปี ค.ศ. 1874 โดยมีหัวหน้าคณะคือ ขุนคำแหง (Khun Kamhaeng) และนางตุ่น (Nang Tun) หลังจากนั้นประชากรก็เริ่มมากขึ้น คนในหมู่บ้านจึงขยับขยายไปอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง เช่น หมู่บ้านโพธิ์ศรี หมู่บ้านโคกเมือง หมู่บ้านมะขามล้อม ดังที่เป็นในปัจจุบัน (หน้า 1-3)

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

240 ครอบครัว (ครอบครัวกลุ่มตัวอย่าง 83 ครอบครัว) (คำนำหน้าที่ 2)

Economy

ผลิตผลสำคัญ ของจังหวัดได้แก่ข้าว มันสำปะหลัง น้ำตาล และปลาน้ำจืด (หน้า 7) จังหวัดสุพรรณบุรีตั้งอยู่ในพื้นที่ลุ่ม ดินอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเพาะปลูกและทำการประมงน้ำจืด มีแม่น้ำท่าจีนไหลผ่าน แม่น้ำตอนที่ไหลผ่านจังหวัดเรียกว่าแม่น้ำสุพรรณ ซึ่งถือว่าเป็นสายเลือดใหญ่ของจังหวัด และนอกจากนั้นสุพรรณบุรียังมีโครงการชลประทานต่าง ๆ ในจังหวัดถึง 6 โครงการ (หน้า 5-7) แต่ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับหมู่บ้าน

Social Organization

การแต่งงาน การเลือกคู่ครองของพวนมี 3 แบบ คือ 1) พ่อแม่เลือกคู่ให้และจัดงานแต่งงานให้ 2) หนุ่มสาวเลือกคู่กันเองและพ่อแม่จัดงานแต่งงานให้ 3) หนุ่มสาวหนีตามกันไป คู่สามีภรรยาส่วนใหญ่จะเลือกคู่ครองกันเอง และมักจะเลือกคู่ครองที่เป็นพวนด้วยกัน และคู่สามีภรรยาส่วนใหญ่จะไม่ได้หมั้นกันก่อนแต่ง เมื่อแต่งงานกันแล้ว คู่สามีภรรยาส่วนใหญ่จะไปอยู่กับฝ่ายหญิง และเมื่อพิจารณาด้านระยะเวลาที่อยู่กับพ่อแม่ก็พบว่าคู่สามีภรรยาส่วนใหญ่จะอยู่กับพ่อแม่เพียงชั่วคราว และย้ายออกไปตั้งครอบครัวของตัวเองในที่สุด (หน้า 15-18) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างคน 2 รุ่น คือ 1) ช่วงอายุ 35-50 ปี และ 2) ช่วงอายุ 55 ปีขึ้นไป ก็พบว่าแทบจะไม่มีความแตกต่างกันทั้งด้านการหมั้นหมาย การเลือกที่อยู่หลังแต่งงาน ระยะเวลาก่อนแยกเรือน (หน้า 18-20) และเมื่อนำกลุ่มอายุทั้งสามกลุ่ม คือ 1) 18-30 ปี 2) 35-50 ปี และ 3) 55 ปีขึ้นไป มาเปรียบเทียบกัน ก็ยังพบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน นั่นคือ 3 รุ่นที่ผ่านมายังไม่มีความเปลี่ยนแปลงในด้านการแต่งงานของพวน (หน้า 21-27) ในด้านทัศนคติเกี่ยวกับการแต่งงานพบว่าชาวหมู่บ้านคิดว่าเป็นเรื่องเหมาะสมที่ผู้ชายจะแต่งงานใหม่ แต่ไม่เหมาะสมสำหรับผู้หญิง และส่วนใหญ่คิดว่าควรจะมีผัวเดียวเมียเดียว และยังถือว่าความบริสุทธิ์ของผู้หญิงเป็นสิ่งสำคัญ (หน้า 27)

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

ศาสนาพุทธ ความเชื่อทางศาสนาของชาวบ้านมีการผสมผสานระหว่างพุทธกับพราหมณ์ เทวดา และวิญญาณ จึงทำความเข้าใจได้ยาก ซึ่งปัญหานี้ก็พบได้กับชาวพุทธโดยทั่วไป ซึ่งความเชื่อของชาวหมู่บ้านแบ่งออกได้ ดังนี้ - การบวช ผู้ชายในหมู่บ้านจำนวนมากเคยบวชเรียนมาแล้ว บางคนเคยเพียงแต่บวชเณร และอีกส่วนหนึ่งบวชเป็นเณรและเป็นพระ - ความเชื่อเรื่องวิญญาณ ชาวบ้านที่ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่คือ 38 คนจากจำนวนทั้งหมด 83 คนเชื่อว่าเมื่อหมดลมหายใจแล้ว ก็ยังจะมีส่วนที่เรียกว่าวิญญาณวนเวียนอยู่ต่อไป มี 24 คน ไม่เชื่อ และ 21 คนไม่ทราบ - ความเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดและกฎแห่งกรรม ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ คือ 70 คนจาก 83 คน เชื่อในเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด มีเพียง 11 คนที่ไม่เชื่อ และมี 2 คนที่ไม่ทราบ ซึ่งความเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดกับกฎแห่งกรรมนั้นสอดคล้องกัน - การเปลี่ยนแปลงโชคชะตาหรือทำให้โชคชะตาดีขึ้น ชาวบ้านจำนวน 25 คนเชื่อว่าโชคชะตาเป็นเรื่องที่เปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงโชคชะตานั้นสามารถทำได้โดยการทำพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น ทำพิธีขับไล่โชคร้าย พิธีต่ออายุ ทำบุญ บนบานเทวดา หรือทำงานเพื่อให้ตัวเองอยู่รอด - การทำบุญและสิ่งที่คาดหวังจากการทำบุญ ชาวบ้านเชื่อว่าการทำบุญแต่ละแบบจะทำให้ได้ผลบุญมากน้อยต่างกันไป ส่วนสิ่งที่คาดหวังจากการทำบุญ ส่วนใหญ่ชาวบ้านจะอธิษฐานให้สมหวังทั้งในชาตินี้และชาติหน้า หรืออาจอธิษฐานเฉพาะเจาะจงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ขอให้หายป่วย ขอให้เดินทางปลอดภัย เป็นต้น - บาป ตามความเห็นของชาวบ้าน สิ่งที่เป็นบาปได้แก่ การฆ่า การลักขโมย การตัดเศียรพระพุทธรูป การทำร้ายพระสงฆ์หรือพ่อแม่ และการเป็นชู้ ความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ - เทวดา คนในหมู่บ้านนี้ไม่สามารถแยกศาสนาพุทธออกจากศาสนาพราหมณ์ได้ นอกจากชาวบ้านจะบูชาพระรัตนตรัยแล้ว ยังบูชาเทวดาอีกด้วย มีเพียง 3 คนเท่านั้นที่บอกได้ว่าพระอินทร์และพระพรหมณ์เป็นพระเจ้าในศาสนาพราหมณ์ - สิ่งศักดิ์สิทธิ์และวิญญาณผู้คุ้มครองอื่น ๆ ก) วิญญาณหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่น ๆ ที่คอยปกปักรักษาคนในหมู่บ้าน เช่น พระภูมิ เจ้าที่ เจ้าพ่อใหญ่ ผีบ้านผีเรือน และผีปู่ย่าตายาย ข) วิญญาณธรรมชาติ เช่น เจ้าป่า เจ้าทุ่ง ผีนา นางไม้ แม่โพสพ แม่พระธรณี แม่พระคงคา นางตะเคียน นางตะนี สิ่งศักดิ์สิทธิ์และวิญญาณต่าง ๆ เหล่านี้มีหน้าที่แตกต่างกันไป และจะต้องได้รับการเคารพ หากลบหลู่ดูหมิ่นหรือไม่เคารพ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็จะลงโทษในรูปแบบแตกต่างกันไป (หน้า 35-45) ความเชื่อเรื่องฤกษ์ยาม โชคชะตา และหมอ ชาวหมู่บ้านส่วนใหญ่เชื่อเรื่องฤกษ์ยาม ในการทำพิธีสำคัญ ๆ เช่น แต่งงาน งานบวช ลงเสาเอกในการสร้างบ้าน งานศพ เป็นต้น และเชื่อเรื่องโชคชะตา นอกจากนี้ยังเชื่อเรื่องผู้เชี่ยวชาญเรื่องจิตวิญญาณ หรือที่เรียกว่า "หมอ" ซึ่งหมอนี้ยังสามารถรักษาโรคเจ็บป่วยทางกายได้อีกด้วย (หน้า 46-48)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ชาวบ้านเชื่อว่าผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิญญาณ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "หมอ" สามารถรักษาอาการป่วยหลาย ๆ แบบได้ เช่น การถูกผีเข้า เวียนหัว ปวดหัว ป่วยไม่ทราบสาเหตุ ปวดตามเนื้อตัว ปวดท้อง ความวิตกกังวล ไข้ ปวดหู ปวดตา ฯลฯ นอกจากหมอดังกล่าวนี้แล้ว ชาวบ้านยังรับการรักษาจากคนจากร้านขายยา โรงพยาบาล พระ และคลินิกอีกด้วย (หน้า 47-48)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ค่านิยมทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไปทำให้การแบ่งชนชั้นในหมู่บ้านเปลี่ยนแปลง จากเดิมที่แบ่งจากสถานภาพทางสังคม ก็กลายเป็นใช้ฐานะทางเศรษฐกิจเป็นตัวแบ่ง เมื่อความเจริญเข้ามาในหมู่บ้านมากขึ้น มีน้ำประปา ไฟฟ้า และมีถนนซึ่งนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น รถไถนา หรือโรงสีข้าวเข้ามา ก็ทำให้ความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกันของคนในหมู่บ้านค่อย ๆ ลดน้อยลง กลับเปลี่ยนเป็นความสัมพันธ์เชิงธุรกิจเข้ามาแทน เศรษฐกิจในหมู่บ้านอิงอยู่กับตลาดในอำเภอเมืองสุพรรณบุรีมากขึ้น พิธีกรรมที่เกี่ยวกับควายหมดไป เพราะมีรถไถนาเข้ามาแทน แต่สิ่งหนึ่งที่พวนในหมู่บ้านยังคงมีอยู่อย่างเหนียวแน่น คือความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์และสิ่งเหนือธรรมชาติต่าง ๆ (หน้า 10-17)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

พิธีสำคัญต่าง ๆ ของพวน (หน้า 49-64) - พิธีแต่งงาน มีพิธีคล้ายคนไทยทั่วไป มีการสู่ขอฝ่ายหญิงในช่วงเย็นก่อนวันงาน 1 วัน วันงานจริงมีเลี้ยงพระในตอนเช้า จากนั้นเป็นการรดน้ำสังข์ มีรายละเอียดที่ต่างออกไปเล็กน้อย เช่น เจ้าบ่าวจะเปลี่ยนเสื้อผ้าหลังรดน้ำสังข์ มีการล้างเท้าเจ้าบ่าวในการกั้นประตูเงินประตูทองในช่วงบ่าย เป็นต้น เดือนที่เหมาะกับการแต่งงาน คือทุกเดือนตามจันทรคติยกเว้นเดือนแปด เชื่อว่าจะทำให้ชีวิตคู่ไม่มีความสุข เดือนยี่ก็ไม่เป็นที่นิยม เพราะยังอยู่ในฤดูเก็บเกี่ยว เดือนเก้าแม้จะเป็นเดือนคี่ แต่ชาวบ้านเชื่อว่าจะนำความสุขและความมั่งคั่งมาให้คู่บ่าวสาว (หน้า 49-52) - พิธีสักการะเจ้าพ่อใหญ่ ชาวบ้านเคารพนับถือเจ้าพ่อใหญ่และเจ้าพ่อบ้านมาก เนื่องจากชาวบ้านเชื่อว่าเจ้าพ่อช่วยคุ้มครองชาวบ้านให้พ้นจากภัยอันตรายต่าง ๆ และรักษาผู้ที่ถูกคุณไสย หรือเจ็บไข้ได้ป่วยให้หายได้ หากมีใครลบหลู่เจ้าพ่อ ก็จะต้องเจ็บป่วย และจะหายต่อเมื่อมาขอขมาเจ้าพ่อเท่านั้น การสักการะเจ้าพ่อจึงเป็นงานใหญ่ประจำปี มีการเลี้ยงพระ ซึ่งของที่นำมาเลี้ยงพระและคนในหมู่บ้านคือข้าวทิพย์ หรือชาวบ้านเรียกว่าขนมสาภี (Sapi sweet) (หน้า 52-57) - พิธีเตรียมขนมสาภี (ข้าวทิพย์) ขนมสาภีที่ใช้เพื่อสักการะเจ้าพ่อใหญ่จะต้องใช้เป็นจำนวนมาก จึงต้องมีการเตรียมการล่วงหน้า ชาวบ้านจะมาร่วมกันทำขนมสาภีในสถานที่เดียวกัน มีการบวงสรวงเทวดาก่อนเริ่มทำขนม ส่วนผสมของขนมมีแป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว น้ำตาลปีบ กะทิและกะปิ รากต้นไม้ เช่น รากต้นทองพันช่าง และพืชอื่น ๆ ที่ไม่ขมหรือเป็นพิษ ใบหญ้านาง ต้นกำยานดินทั้งต้น และใบเตย ผู้ทำพิธีกวนข้าวทิพย์จะต้องเป็นหญิงพรหมจรรย์ที่ยังไม่ถึงวัยมีประจำเดือน 3 คน แต่งกายด้วยชุดขาว ในวันพิธี เมื่อเสร็จพิธีทางศาสนาแล้ว เด็กสาวทั้งสามคนจะเริ่มกวนส่วนผสมในกะทะทุกใบพอเป็นพิธี จากนั้นผู้ใหญ่ในที่นั้นจะรับหน้าที่กวนข้าวต่อไป (หน้า 57-59) - พิธีสู่ขวัญผู้น้อย (รับขวัญเด็กทารก) เป็นพิธีที่จัดให้เด็กทารกและแม่เด็กเมื่อเด็กอายุครบ 1 เดือน และถือเป็นการสิ้นสุดการอยู่ไฟของแม่เด็ก การนับวันจะนับตั้งแต่วันที่เด็กเกิดจนครบ 28 วัน แต่ห้ามจัดในวันขึ้นหรือแรม 12 ค่ำ หรือวันสุดท้ายของเดือน และจะนับ "กำ" คือวันที่แม่เริ่มอยู่ไฟ และ "คาย" คือวันสิ้นสุดการอยู่ไฟด้วย หากวัน "คาย" ตรงกับวันขึ้นหรือแรม 12 ค่ำ แม่ก็จะออกจากอยู่ไฟไม่ได้ ในวันงานจะมีการให้ของขวัญแม่และเด็ก จากนั้นหมอพรจะจัดที่นั่งให้แม่และเด็กตามทิศที่เหมาะสม หมอพรจะพรมเหล้าให้แม่และเด็ก ให้แม่ดื่มเหล้าเล็กน้อย และแตะเหล้าที่ปากเด็กเป็นการเอาเคล็ดให้เด็กแข็งแรง แล้วปู่ย่าจะให้ทองเด็ก จากนั้นหมอพรและผู้ใหญ่จะผูกด้ายที่ข้อมือเด็ก ผู้ผูกด้ายจะให้เงิน 1, 2 หรือ 5 บาทเป็นค่ากำไลข้อมือเด็ก เสร็จแล้วมีงานเลี้ยงพิธีเต็มรูปแบบนี้จะจัดให้ลูกคนแรกเท่านั้น พิธีการต่าง ๆ จะลดทอนลงเมื่อถึงคราวของลูกคนต่อ ๆ ไป (หน้า 59-63) - พิธีกำฟ้า จะถูกจัดขึ้นหลังจากเก็บเกี่ยวพืชผลเสร็จ มีการกำหนดวันจัดที่แน่นอน ที่หมู่บ้านนี้จะจัดในวันขึ้น 3 ค่ำเดือน 3 ในวันนี้ ห้ามคนในหมู่บ้านทำงานตั้งแต่เวลาอาทิตย์ขึ้นถึงอาทิตย์ตก ระหว่างวันนี้ห้ามส่งเสียงดัง เพราะเชื่อกันว่าจะทำให้เกิดฟ้าแลบฟ้าร้อง มีการเลี้ยงพระด้วยข้าวหลาม จากนั้นอีก 7 วันจะมีการสังเกตกำฟ้าอีกครั้งในเวลา 11.00 น. และ 5 วันหลังจากนั้นจะมีการถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์ในตอนเช้า แล้วชาวบ้านจะดับคบไฟด้วยการโยนลงไปในแม่น้ำลำคลองเป็นการสิ้นสุดพิธีกำฟ้า หมู่บ้านใดที่ไม่มีกำหนดวันจัดพิธีแน่นอน หากไม่มีฟ้าแลบฟ้าร้องในช่วงข้างขึ้นเดือน 3 ผู้ใหญ่บ้านจะประกาศวันทำพิธีกำฟ้าในวันใดวันหนึ่งของช่วงข้างขึ้นเดือน 4 (หน้า 63-64)

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst ดวงรัตน์ เรืองพงษ์ดิษฐ์ Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG พวน, เศรษฐกิจ, สังคม, การเปลี่ยนแปลง, สุพรรณบุรี, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง