สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject โพล่ง โผล่ง โพล่ว ซู (กะเหรี่ยง),คุณภาพชีวิต,การมีส่วนร่วม,กาญจนบุรี,ราชบุรี
Author นงกาญจน์ บูรณรักษ์
Title คุณภาพชีวิตและการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติของชาวกะเหรี่ยง ในจังหวัดกาญจนบุรีและราชบุรี ภายใต้โครงการของกรมประชาสงเคราะห์
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity โพล่ง โผล่ง โผล่ว ซู กะเหรี่ยง, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
(เอกสารฉบับเต็ม)
Total Pages 178 Year 2531
Source ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Abstract

งานวิจัยนี้ เป็นการศึกษาเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกับระดับคุณภาพชีวิตของกะเหรี่ยงในจังหวัดกาญจนบุรีและราชบุรี ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระดับคุณภาพชีวิตของกะเหรี่ยง รวมทั้งปัญหาและความต้องการในด้านการประกอบอาชีพการเกษตรและด้านสังคม โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 160 ราย ผลการวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติมีความสัมพันธ์กับระดับคุณภาพชีวิตของกะเหรี่ยง ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ ได้แก่ จำนวนที่ดินทำกิน ระดับการศึกษา ความถี่ในการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล และความถี่ในการรับข่าวสารด้านการเกษตรและการดำรงชีพ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระดับคุณภาพชีวิต คือ จำนวนที่ดินทำกินและรายได้เฉลี่ยต่อปี ปัญหาและความต้องการที่สอดคล้องกัน คือ ปัญหาผลผลิตออกสู่ตลาดไม่ได้ เพราะเส้นทางคมนาคมไม่ดี และมีความต้องการปรับปรุงเส้นทางลำลองเข้าหมู่บ้าน ตลอดจนสาธารณูปโภค เช่น สะพาน บ่อน้ำ เป็นต้น แผนงานพัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา ควรมีแผนแม่บทที่แน่นอนในด้านการปฏิบัติงาน ก็ควรลดรูปจาหน่วยเคลื่อนที่เป็นเขตพื้นที่ พร้อมทั้งให้กะเหรี่ยงเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาด้วย

Focus

มุ่งเน้นศึกษาในเรื่องการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติของกะเหรี่ยง ที่มีต่อโครงการพัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา ของกรมประชาสงเคราะห์ โดยเน้นศึกษาเปรียบเทียบในหมู่บ้านหลักและหมู่บ้านบริวารของ จ.กาญจนบุรี และราชบุรี ยังศึกษาถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ ทั้งยังเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตของกะเหรี่ยงระหว่างหมู่บ้านหลักและหมู่บ้านบริวารในทั้ง 2 จังหวัด และความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกับระดับคุณภาพชีวิตของกะเหรี่ยงรวมทั้งความสัมพันธ์ของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระดับคุณภาพชีวิต ตลอดจนปัญหาและความต้องการของกะเหรี่ยงในด้านการประกอบอาชีพและด้านสังคม

Theoretical Issues

ผู้วิจัยได้ใช้แนวคิดเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต โดยมีเครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งได้แบ่งเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน เป็น 8 ประการ อันเป็นที่ยอมรับ นอกจากนี้ยังได้ใช้แนวคิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนา รวมถึงกลไกในการพัฒนาหมู่บ้าน จากผลการศึกษาพบว่า กะเหรี่ยงในหมู่บ้านหลักทั้งใน จ.กาญจนบุรีและราชบุรี มีส่วนร่วมในการปฏิบัติไม่แตกต่างกัน แต่ในหมู่บ้านบริวารของทั้ง 2 จังหวัดมีความแตกต่างกัน โดยที่หมู่บ้านบริวารต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการปฏิบัติอยู่ในระดับต่ำ ยกเว้นที่หมู่บ้านเกริงกาเวียที่อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อเปรียบเทียบระหว่างหมู่บ้านหลักกับหมู่บ้านบริวารในแต่ละจังหวัดมีความแตกต่างกัน โดยที่หมู่บ้านหลักจะมีส่วนร่วมที่อยู่ในระดับปานกลาง ในขณะที่หมู่บ้านบริวารจะมีส่วนร่วมในระดับต่ำ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติของกะเหรี่ยง ได้แก่ จำนวนที่ดินทำกิน ความถี่ในการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล และความถี่ในการรับข่าวสารด้านการเกษตรและการดำรงชีพ อันเป็นไปในทิศทางบวก ในทางกลับกันปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงลบ ได้แก่ ระดับการศึกษา แต่ เพศ อายุ และความถี่ในการติดต่อกับชุมชนเมืองพบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วม การมีส่วนร่วมในการปฏิบัตินี้เองทำให้มีผลต่อระดับคุณภาพชีวิตของกะเหรี่ยงทั้งใน จ.กาญจนบุรีและราชบุรี อันมีความคล้ายคลึงกัน และยังรวมไปถึงปัจจัยทางเศรษฐกิจ ได้แก่ จำนวนที่ดินทำกินและรายได้เฉลี่ยต่อปีที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับระดับคุณภาพชีวิตด้วย

Ethnic Group in the Focus

กะเหรี่ยงโปว์

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

ไม่มี

History of the Group and Community

ไม่ได้กล่าวถึงความเป็นมาของชุมชน มีแต่เพียงประวัติความเป็นมาของกะเหรี่ยงโปว์ ไว้ว่า ถิ่นฐานเดิมอยู่ในประเทศพม่า เนื่องจากความกดดันทางการเมือง ซึ่งมีความขัดแย้งกับพม่า เพราะกะเหรี่ยงต้องการเป็นรัฐอิสระ แต่พม่าจะให้อยู่ภายใต้การปกครอง ดังนั้น จึงเกิดการสู้รบกันบ่อยครั้งกับรัฐบาลพม่า สมัยที่พม่าตกอยู่ภายใต้ปการปกครองของอังกฤษมีฝรั่งคนหนึ่งได้เขียนไว้ว่า "เมื่อปี พ.ศ. 2318 ขบถพม่า (สมัยพวกมอญหรืออาณาจักรมอญอยู่ในพม่า) ภายใต้การนำของพระเจ้าอลองพญาได้พิชิตอาณาจักรมอญ กะเหรี่ยงและมอญได้รับความกดขี่อย่างหนัก กะเหรี่ยงรู้สึกว่าตนได้รับความกดขี่และปราศจากความคุ้มครอง อีกทั้งถูกบังคบให้เสียภาษีรายตัว โดยให้จ่ายด้วยของป่าแทนการรับใช้ชนเผ่าพม่า ด้วยเหตุนี้กะเหรี่ยงบางกลุ่มจึงอพยพเข้ามาสู่สยาม" (หน้า 15-16)

Settlement Pattern

การกระจายตัวของกะเหรี่ยงในประเทศไทยอยู่มากทางทิศตะวันตก คือ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน อุทัยธานี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ กะเหรี่ยงส่วนหนึ่งอาศัยอยู่บนภูเขาและมีบ้างตามพื้นราบ ทั้งกะเหรี่ยงสะกอและกะเหรี่ยงโปจะไม่อาศัยอยู่รวมกัน ดังนั้น หมู่บ้านแม้จะอยู่ติดกันแต่จะแยกกันเป็นกลุ่ม และยังตั้งหมู่บ้านอย่างถาวร เช่น บางหมู่บ้านอยู่ได้นาน 200 ปี เพราะความสามารถในการอนุรักษ์ดินและทำนาขั้นบันไดตามไหล่เขา (หน้า 16)

Demography

กะเหรี่ยงโปที่อาศัยอยู่ใน จ.กาญจนบุรี และ ราชบุรี รวมทั้งสิ้น 13 หมู่บ้านหลัก 59 หมู่บ้านบริวาร มีประชากร 2,021 ครอบครัว (หน้า 4)

Economy

ลักษณะเศรษฐกิจโดยทั่วไปของกะเหรี่ยงเป็น "แบบยังชีพ" หมายถึง ทำเพื่อการบริโภคเท่านั้น ได้แก่ การปลูกข้าวไร่เป็นหลักและการทำนาตามขั้นบันไดตามหุบเขา นอกจากนั้น ยังปลูกผักต่าง ๆ หลายชนิดในไร่ข้าว เพื่อบริโภคในครอบครัวแบบที่เรียกว่า ไร่หมุนเวียน คือ ทำแล้วพักทิ้งไว้ 3-5 ปี ก็จะกลับไปทำใหม่เวียนอย่างนี้ตลอดไป กะเหรี่ยงนับว่าเป็นพวกที่มีความสามารถในการอนุรักษ์ดิน เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียคุณภาพของดินและเป็นพวกที่อยู่อย่างถาวร นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงสัตว์ต่างๆ เช่น ช้าง วัว ควาย หมู ไก่ โดยเฉพาะไก่และหมูซึ่งใช้ในพิธีกรรมต่าง ๆ และยังเป็นนักล่าสัตว์ป่าเพื่อการบริโภคและนำของป่าไปขาย (หน้า 18) กะเหรี่ยงใน 2 จังหวัดนี้ส่วนใหญ่มีการประกอบอาชีพหลัก คือ การเกษตรกรรม โดยพืชที่ปลูกสำคัญได้แก่ ข้าวไร่ ละหุ่ง ข้าวโพด ถั่ว ผัก โดยที่ผลผลิตที่ได้ส่วนใหญ่ โดยเฉพาะข้าวอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำเฉลี่ยแล้วได้เพียง 28.84 ถังต่อไร่ นอกจากนี้ยังมีการเลี้ยงสัตว์แต่เป็นส่วนน้อย ส่วนอาชีพรองได้แก่ การหาของป่า ล่าสัตว์ และรับจ้าง ซึ่งของป่าที่หาได้ คือ น้ำผึ้ง หน่อไม้ เปลือกไม้ และหวาย โดยชาวบ้านมีรายได้เฉลี่ย 4,549.06 บาทต่อปี (จากตารางที่ 1 หน้า 105-110) ปัญหาด้านการประกอบอาชีพเกษตรกรรมของกะเหรี่ยง ก็คือ ปัญหาผลผลิตออกสู่ตลาดไม่ได้ เพราะเส้นทางคมนาคมไม่ดี จึงมีความต้องการในการปรับปรุงเส้นทางลำเลียงเข้าสู่หมู่บ้าน (หน้า 78-79)

Social Organization

การจัดระเบียบการปกครองเป็นหมู่บ้าน ซึ่งมีหลักสำคัญ คือ หน่วยอิสระในการประกอบพิธีกรรมของตนหรือของหมู่บ้านนั้น จะมีหัวหน้าฝ่ายชายซึ่งมีตำแหน่ง "หมอผี" เพียงคนเดียวเป็นผู้ทำพิธี และมีการแบ่งอาณาเขตของหมู่บ้าน การไปมาหาสู่กันระหว่างหมู่บ้านจะเดินด้วยเท้า คนในหมู่บ้านหนึ่งจะไปทำกินในเขตอีกหมู่บ้านหนึ่งไม่ได้ นอกจากการทำนาเท่านั้น (หน้า 16-17) กะเหรี่ยงจำนวนมากถึง 102 คนที่ไม่ได้เรียนหนังสือ ซึ่งมีเพียง 5 คนเท่านั้นที่เรียนสูงกว่า ป.4 จากจำนวน 160 คน (จากตารางผนวกที่ 1 หน้า 102)

Political Organization

อำนาจในการปกครองจากทางราชการได้มีการแต่งตั้ง กำนัน ผู้ใหญ่บ้านหรือผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ถ้าเป็นหมู่บ้านห่างไกล การคมนาคมลำบาก อำนาจต่าง ๆ จะอยู่ที่กลุ่มผู้อาวุโส และหมอผีประจำหมู่บ้านมากกว่า เพราะชาวบ้านต่างยอมรับและปฏิบัติการต่าง ๆ ตามประเพณี (หน้า 17)

Belief System

กะเหรี่ยงโปว์ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ บางคนก็นับถือศาสนาพุทธรวมกับการนับถือผี นอกจากนี้ยังมีผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์อีกด้วย การนับถือผี กะเหรี่ยงโปว์ให้ความสำคัญมาก ผีที่นับถือได้แก่ ผีเจ้าที่และผีต่างๆ ที่สถิตอยู่ตามป่า เขา ลำน้ำ ในไร่ และผีประจำหมู่บ้าน พิธีที่กะเหรี่ยงโปว์ถือว่ามีความสำคัญมาก ก็คือ พิธีเกี่ยวกับการเกษตร เพราะเชื่อว่าผลผลิตจะได้ดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับการช่วยเหลือของผี พิธีทางการเกษตรจะเริ่มตั้งแต่การถากถางไร่จนถึงการเก็บเกี่ยวเข้ายุ้งฉาง นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อเกี่ยวกับ "ขวัญ" ประจำตัวของแต่ละคน ซึ่งประกอบด้วย 33 ขวัญ อยู่ตามส่วนต่างของร่างกาย หากขวัญหนีออกไปจะทำให้คนนั้นเกิดเจ็บป่วย และขวัญจะละทิ้งไปก็ต่อเมื่อคนนั้นตายไป (หน้า 18-19, ตารางผนวกที่ 1หน้า 103)

Education and Socialization

ไม่ระบุรายละเอียด

Health and Medicine

กะเหรี่ยงในหมู่บ้านหลักและบริวารของทั้ง 2 จังหวัดต่างก็มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพที่สอดคล้องกัน คือ การมีสุขภาพที่ไม่ดี มีโรคภัยไข้เจ็บบ่อย รวมถึงขาดแคลนเครื่องอุปโภคและบริโภคด้วย ดังนั้น จึงมีความต้องการในการจัดตั้งกองทุนยาและเวชภัณฑ์ และต้องการให้มีสาธารณูปโภคเป็นสำคัญ เช่น สะพาน บ่อน้ำ ถนน เป็นต้น (จากตารางผนวกที่ 9-10 หน้า 140-144)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ชาวบ้านส่วนใหญ่มีการติดต่อกับชุมชนอื่นประมาณ 1-3 ครั้งต่อเดือน นอกจากนี้ก็มีการติดต่อกับหน่วยราชการเกือบทุกครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 99.38 จากประชากรที่สอบถาม 160 คน (หน้า 111)

Social Cultural and Identity Change

ไม่ได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงใด ๆ มีเพียงแต่ลักษณะเด่นของกะเหรี่ยงที่ไม่เหมือนกับชาวเขาเผ่าอื่น ๆ คือ การตั้งหมู่บ้านอย่างถาวรเป็นหลักแหล่ง (หน้า 16)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ตารางผนวกที่ 1 ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะพื้นฐานทั่วไปทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม หน้า 102, ตารางผนวกที่ 7-8 ลำดับและความถี่ที่ระบุของปัญหาและความต้องการด้านการประกอบอาชีพการเกษตร หน้า 136-139, ตารางผนวกที่ 9-10 ลำดับและความถี่ที่ระบุของปัญหาและความต้องการด้านสังคม หน้า 140-144.

Text Analyst ศรายุทธ โรจน์รัตรักษ์ Date of Report 30 มิ.ย 2560
TAG โพล่ง โผล่ง โพล่ว ซู (กะเหรี่ยง), คุณภาพชีวิต, การมีส่วนร่วม, กาญจนบุรี, ราชบุรี, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง