สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject กะเหรี่ยงคอยาว, กะยัน,ปะด่อง,แม่ฮ่องสอน
Author วรศักดิ์ พานทอง
Title กระบวนการจัดการของภาครัฐต่อหมู่บ้านกะเหรี่ยงคอยาวในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity กะยัน แลเคอ, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
(เอกสารฉบับเต็ม)
Total Pages 78 Year 2554
Source กระบวนการจัดการของภาครัฐต่อหมู่บ้านกะเหรี่ยงคอยาวในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน,รายงานการค้นคว้าแบบอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ,บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 78 หน้า
Abstract

การขยายตัวของชุมชนและประชากรกะเหรี่ยงคอยาวที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีสาเหตุสำคัญจาก 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจการเมืองของประเทศพม่า และปัจจัยด้านนโยบายด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดแม่ฮ่องสอนที่นำชาวกะเหรี่ยงคอยาวมาเป็นสัญลักษณ์การท่องเที่ยวของจังหวัด  (หน้า ง-จ,64-65 )
 
อย่างไรก็ดี ระบบการจัดการของรัฐต่อชุมชนกะเหรี่ยงคอยาวในฐานะผู้ลี้ภัยสงครามยังขาดประสิทธิภาพในการใช้เครื่องมือและกลไกการบริหารจัดการที่สอดคล้องกับสภาพการณ์จริงในพื้นที่ โดยเฉพาะผลการดำเนินโครงการ “หมู่บ้านอนุรักษ์วิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง(ปะด่อง) เพื่อความมั่นคงจังหวัดแม่ฮ่องสอน” (หน้า 65-70) ซึ่งผู้ศึกษาให้ข้อเสนอแนะว่า ภาครัฐควรทำการศึกษาและเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหากะเหรี่ยงคอยาวอย่างจริงจัง รวมถึงต้องมีการกำหนดนโยบาย และผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน มีการบังคับใช้กฎหมายและ
กฎระเบียบอื่นๆ อย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม (หน้า 70-74)

Focus

ศึกษาสถานการณ์ของชุมชนกะเหรี่ยงคอยาวในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนที่เป็นความเปลี่ยนแปลงด้านวิถีชีวิตอันเนื่องมาจากผลการดำเนินนโยบายจัดการชุมชนกะเหรี่ยงคอยาว โดยศึกษาจากพัฒนาการของกระบวนการจัดการของรัฐต่อชุมชนกะเหรี่ยงคอยาวที่เกิดขึ้นในพื้นที่ พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางจัดการชุมชนกะเหรี่ยงคอยาวให้แก่หน่วยงานภาครัฐ(หน้า 4)

Theoretical Issues

เสนอแนวคิดเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติเพื่อสะท้อนถึงกระบวนการการจัดการของภาครัฐต่อหมู่บ้านกะเหรี่ยงคอยาวที่เน้นมิติด้านความมั่นคง (หน้า 6-9,14-18) เชื่อมโยงผลการศึกษาปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น กระบวนการเคลื่อนย้ายแรงงานจากพม่าสู่แม่ฮ่องสอน (หน้า 10-12) แนวทางนโยบายในการแก้ไขปัญหาการอพยพย้ายถิ่นของชาวเขา (หน้า 13-14) ประกอบผลการศึกษาที่เกี่ยวข้องเพื่อวิเคราะห์กระบวนการจัดการของรัฐต่อชุมชนกะเหรี่ยงคอยาวในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน (หน้า 3, 21)

Ethnic Group in the Focus

กะเหรี่ยงคอยาว (The long necks) หรือ กะยัน (Kayan)หรือ ปะด่อง (Pa-daung)(หน้า 1,5)

Language and Linguistic Affiliations

-ไม่ปรากฏ-

Study Period (Data Collection)

ศึกษาวิเคราะห์กระบวนการจัดการของภาครัฐต่อหมู่บ้านกะเหรี่ยงคอยาวในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2553 

History of the Group and Community

ราวปี พ.ศ. 2527 ชาวกะยัน(กะเหรี่ยงคอยาว) และกลุ่มคะยา(กะเหรี่ยงแดง) ในรัฐคะยาประเทศพม่า ถูกกองกำลังพรรคก้าวหน้าแห่งชาติคะเรนนีกวาดล้างจึงอพยพหนีมายังฝั่งประเทศไทยซึ่งอยู่ตรงข้ามในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน (หน้า 2,14,24)  หลังจาก พ.ศ. 2527 ชาวกะยันได้กระจายตัวไปตั้งถิ่นฐานตามชายแดนอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ซึ่งกลุ่มใหญ่จะอาศัยอยู่ร่วมกับชาวคะยา
 
ต่อมาราวปี พ.ศ.2528-2529  มีบริษัทนำเที่ยวได้นำนักท่องเที่ยวเดินทางมาชมกะเหรี่ยงคอยาว กลุ่มที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านน้ำเพียงดิน ต.ผาบ่อง ใกล้เขตชายแดนไทย โดยชาวกะเหรี่ยงคอยาวจะได้รับค่าตอบแทนจากการเข้าชม ประกอบกับช่วงเวลาดังกล่าวทางจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีนโยบายเปิดเมืองแม่ฮ่องสอนเป็นเมืองท่องเที่ยว ทำให้ชาวกะเหรี่ยงคอยาวบางส่วนเริ่มย้ายไปตั้งถิ่นฐานบริเวณหมู่บ้านน้ำเพียงดินมากขึ้น ช่วงปี พ.ศ.2549 ทางจังหวัดจึงทำการย้ายชาวกะเหรี่ยงคอยาวมาอยู่บริเวณหมู่บ้านห้วยปูแกง ต.ผาบ่อง อ.เมือง จัดตั้งชุมชนใหม่เป็นหมู่บ้านใหม่ในสอยและหมู่บ้านห้วยเสือเฒ่าในปัจจุบัน (หน้า 24-25,29-30,59-61)
 
นับตั้งแต่ช่วงเวลาที่ดำเนินโครงการอพยพย้ายหมู่บ้านกะเหรี่ยงคอยาว ดังกล่าว จวบจนปี พ.ศ. 2551 ชาวกะเหรี่ยงคอยาวเกิดภาวะความเป็นอยู่ที่ยากลำบากมากขึ้นเนื่องจากขาดรายได้จากการท่องเที่ยว และภาครัฐเองก็ไม่ได้จัดงบประมาณช่วยเหลือตามที่ชาวกะเหรี่ยงคอยาวเข้าใจ (หน้า 31)

Settlement Pattern

-ไม่ปรากฏ-

Demography

ข้อมูลสำรวจปี 2550 โดยที่ทำการปกครองอำเภอแม่ฮ่องสอน ระบุประชากร 3 หมู่บ้านกะเหรี่ยงคอยาว มีทั้งสิ้น 571 คน  124 ครัวเรือน ประกอบด้วยบ้านใหม่ในสอย ต.ปางหมู อ.เมือง มี 48 ครัวเรือน จำนวนประชากร 243 คน บ้านห้วยเสือเฒ่า ต.ผาบ่อง อ.เมือง มี 26 ครัวเรือน จำนวนประชากร 124 คน และ บ้านห้วยปูแกง (ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านห้วยเดื่อ) ต.ผาบ่อง อ.เมือง มี 50 ครัวเรือน จำนวนประชากร 204 คน (หน้า 26,41)

การขยายตัวเพิ่มขึ้นของประชากรและครัวเรือนชาวกะเหรี่ยงมีทั้งจากการให้กำเนิดบุตร การอพยพเข้ามาเพิ่มเติมและลักลอบเข้าประเทศไทย โดยที่ชาวกะเหรี่ยงคอยาวทั้งฝั่งไทยและพม่าเดินทางไปมาหาสู่ระหว่างกันอยู่เป็นประจำ (หน้า 29-31) 

Economy

ชาวกะเหรี่ยงคอยาวในพม่ามีอาชีพหลักทำนาแบบขั้นบันไดและทำไร่หมุนเวียน ปลูกพืชผักอื่นๆ เช่น ข้าวโพด เผือก ถั่ว ยาสูบ  ผัก และเลี้ยงสัตว์ โดยผู้หญิงกะเหรี่ยงคอยาวจะมีบทบาทสำคัญในการแลกเปลี่ยนผลผลิตและการค้าขาย ส่วนชายชาวกะเหรี่ยงคอยาวจะทำการเกษตร หาของป่า และมีความสามารถในการล่าสัตว์

ในระยะแรกหลังจากอพยพลี้ภัยสงครามเข้ามาในประเทศไทย ความเป็นอยู่ในพื้นที่บริเวณชายแดนจังหวัดแม่ฮ่องสอนไม่ได้มีความแตกต่างจากชีวิตในฝั่งพม่ามากนัก แต่ 1-2 ปีต่อมา เกิดความเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตโดยเฉพาะด้านการทำมาหากิน เนื่องจากหน่วยงานราชการและผู้ประกอบการมองเห็นช่องทางที่จะใช้ลักษณะประเพณี วัฒนธรรมของชาวกะเหรี่ยงคอยาวที่
โดดเด่นกว่ากลุ่มชาติพันธุ์อื่นในพื้นที่เป็นสิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยว ทำให้ชาวกะเหรี่ยงคอยาวได้รับค่าตอบแทนในการเข้าเยี่ยมชมและมีรายได้เพิ่มจากการขายของที่ระลึก (หน้า 26-27)

Social Organization

-ไม่ปรากฏ-

Political Organization

-ไม่ปรากฏ-

Belief System

พิธีกรรมสวมใส่ห่วงคอทองเหลืองของสาวชาวกะเหรี่ยงคอยาวจะเริ่มต้นตั้งแต่อายุประมาณ 5-9 ปี และต้องเป็นเด็กหญิงที่เกิดวันเพ็ญในวันพุธโดยสืบเชื้อสายชาวกะเหรี่ยงคอยาวที่บริสุทธิ์เท่านั้น หมอผีประจำเผ่าจะเป็นผู้หาฤกษ์ยามเพื่อสวมใส่ห่วงคอให้ ต่อมาหญิงชาวกะเหรี่ยงคอยาวนิยมสวมห่วงคอเกือบทั้งหมด ไม่ว่าจะเกิดวันใด

ความเจริญก้าวหน้าของโลกปัจจุบันและอิทธิพลของศาสนาคริสต์ทำให้หญิงชาวกะเหรี่ยงคอยาวที่นับถือคริสต์จะไม่ใส่ห่วงคอ กรณีการใส่ห่วงคอของหญิงชาวกะเหรี่ยงในประเทศไทยที่ยังนิยมให้ลูกสาวใส่ห่วงทองเหลืองตั้งแต่เป็นเด็ก ผู้ศึกษาเห็นว่าเป็นผลมาจากธุรกิจการท่องเที่ยวที่นำเอาวัฒนธรรมมาเป็นสินค้า (หน้า 27-28)

Education and Socialization

-ไม่ปรากฏ-

Health and Medicine

-ไม่ปรากฏ-

Art and Crafts (including Clothing Costume)

-ไม่ปรากฏ-

Folklore

-ไม่ปรากฏ-

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

กะยัน(Kayan) เป็นชื่อกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งในประเทศเมียนม่าร์ซึ่งมีจำนวนหลายกลุ่ม ส่วน ปะด่อง (Pa-daung) เป็นชื่อที่ชาวพม่าใช้เรียกชาวกะยัน สำหรับคนไทยรู้จักในชื่อ กะเหรี่ยงคอยาว (The long necks) ซึ่งเป็นชื่อที่ชาวกะยันไม่ชอบให้เรียก ปัจจุบันในประเทศไทยสามารถพบเห็นชาวกะเหรี่ยงคอยาวในหลายพื้นที่ เช่นภาคเหนือที่จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ในภาคใต้ที่จังหวัดภูเก็ต หรือพัทยา (หน้า 23-24)

Social Cultural and Identity Change

-ไม่ปรากฏ-

Critic Issues

-ไม่ปรากฏ-

Other Issues

1. อธิบายกระบวนการจัดการของรัฐต่อชุมชนกะเหรี่ยงคอยาวที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนโดยเน้นกล่าวถึงมาตรการนโยบาย กฎ ระเบียบสำหรับผู้หนีภัยการสู้รบ และบทบาทของหน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง (หน้า 32-38) ประกอบการให้ข้อสังเกตการปฏิบัติงานของหน่วยงานรัฐที่มีอำนาจบริหารจัดการชุมชนเผ่ากะเหรี่ยงคอยาว (ปะด่อง)ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน กับนโยบายด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดซึ่งใช้อัตลักษณ์ที่โดดเด่นของชาวกะเหรี่ยงคอยาวดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยว (หน้า 39-44)
 
2. วิเคราะห์บทบาทของหน่วยงานรัฐในการจัดการชุมชนกะเหรี่ยงคอยาวในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตามนโยบายเปิดจังหวัดแม่ฮ่องสอนให้เป็นเมืองท่องเที่ยวที่เริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2528 ที่เป็นผลกระทบต่อเนื่องนับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งหมู่บ้านกะเหรี่ยงคอยาวในลักษณะเพื่อหาผลประโยชน์ด้านการท่องเที่ยว (ในช่วงปี พ.ศ. 2534) ตลอดจนการรวมหมู่บ้านชาวกะเหรี่ยงเข้าไว้ด้วยกันในโครงการ“หมู่บ้านอนุรักษ์วิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง (ปะด่อง) เพื่อความมั่นคง จังหวัดแม่ฮ่องสอน” ในปีพ.ศ. 2549- ปัจจุบัน (พ.ศ. 2553) จากสภาพการณ์เหล่านี้ นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตประเพณีของชาวกะเหรี่ยงคอยาวในประเทศไทย เกี่ยวเนื่องประเด็นความมั่นคงของชาติ ขบวนการค้ามนุษย์ และประเด็นข้อกล่าวหาขององค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศต่อกระบวนการจัดการผู้ลี้ภัยชาวกะเหรี่ยงคอยาวของรัฐไทยว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจในลักษณะสวนสัตว์มนุษย์ (หน้า 44-63)

Text Analyst นพรัตน์ พาทีทิน Date of Report 28 มิ.ย 2560
TAG กะเหรี่ยงคอยาว, กะยัน, ปะด่อง, แม่ฮ่องสอน, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง