สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject เยาวชนชนกลุ่มน้อย , การเมือง, พม่า
Author นฐพร องค์วิศิษฐ์
Title ความคิดทางการเมืองของเยาวชนชนกลุ่มน้อยจากพม่าในประเทศไทย
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity มอญ รมัน รามัญ, ไทใหญ่ ไต คนไต, ดาราอาง ดาระอางแดง รูไม ปะเล รูจิง ตะอาง, กะแย กะยา บเว, กะยัน แลเคอ, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
(เอกสารฉบับเต็ม)
Total Pages 158 Year 2547
Source หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภูมิภาคศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract

วิทยานิพนธ์นี้เป็นการทำความเข้าใจความคิดทางการเมืองของเยาวชนชนกลุ่มน้อยจากประเทศพม่าที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ในฐานะที่เยาวชนกลุ่มนี้เป็นผลพวงของความขัดแย้งทาง
การเมืองและความแตกต่างทางชาติพันธุ์ในประเทศพม่า 

จากการศึกษาพบว่าความคิดทางการเมืองของยาวชนชนกลุ่มน้อยจากพม่า เกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขหลายประการ ได้แก่
1) เงื่อนไขทางการเมือง เพราะเยาวชนเหล่านี้เกิดและเติบโตท่ามกลางความขัดแย้งและสภาพสงครามกลางเมืองของประเทศพม่า
2) เงื่อนไขด้านชาติพันธุ์ คือความแตกต่างทางชาติพันธุ์เป็นปัญหารากเหง้าของพม่ามานับศตวรรษและพัฒนาเป็นความเกลียดชังและการเลือกปฏิบัติกับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ 
3) เงื่อนไขทางเศรษฐกิจและสังคมของรัฐบาลที่แสดงออกมาในรูปแบบของการกดขี่ เช่น การบังคับใช้แรงงาน การขูดรีดผลผลิต การห้ามการเรียนการสอนในภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ เป็นต้น 

เยาวชนชนกลุ่มน้อยเหล่านี้ได้มีการหล่อหลอมทางความคิด  โดยเริ่มจากการเกิดคำถามจากภาพความกดขี่ที่ได้รับจากทหารพม่าและพยายามแสวงหาคำตอบจากนั้นได้เข้าร่วมกลุ่มการเคลื่อนไหวทางการเมือง
    
ในระดับสังคม พบว่าเยาวชนชนกลุ่มน้อยได้รับการซึมซับเรื่องการเมืองผ่านสิ่งแวดล้อมทางการเมืองของประเทศพม่า เช่น การถูกกดขี่และการเลือกปฏิบัติ ทำให้เยาวชนเกิดความรู้สึกที่ต่อต้านกับรัฐบาลพม่า ส่วนในระดับปัจเจก พบว่าเยาวชนชนกลุ่มน้อยแต่ละคนจะมีความแตกต่างกันในเรื่องประวัติความเป็นมาและประสบการณ์ชีวิต เช่น ชาติพันธุ์ การศึกษา และการทำงาน แต่เยาวชนกลุ่มนี้ก็ได้แสดงเห็นถึงสิ่งที่เหมือนกัน คือเป็นคนรุ่นใหม่ที่พร้อมสำหับการเปลี่ยนแปลงและการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิและความเท่าเทียมกัน  ต้องการเห็นความสงบสุขของประเทศพม่า  แสวงหาความร่วมมือและความสามัคคีในกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ  

Focus

ความคิดเรื่องการเมืองของกลุ่มเยาวชนชนกลุ่มน้อยพม่าในประเทศไทย

Theoretical Issues

- แนวคิดและทฤษฎีการเมืองและการเรียนรู้ทางการเมือง
- แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับชนกลุ่มน้อย
- แนวคิดและทฤษฎีการศึกษาประวัติชีวิต
- ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องเรื่องความเป็นมาและความขัดแย้งทางชาติพันธุ์  รวมถึงสถานภาพของผู้อพยพจากพม่าและผลกระทบต่อประเทศไทย

Ethnic Group in the Focus

ชนกลุ่มน้อยจากพม่าในประเทศไทย  ได้แก่
- กะเหรี่ยง (Karen)
- มอญ (Mon)
- อาระกัน (Arakan)
- คะเรนนี (Karenni)
- คะฉิ่น (Kachin)
- ไทยใหญ่ (Tai Yai)
- คะยาน(Kayan)
- ปะหล่อง (Palaung)

Language and Linguistic Affiliations

การใช้ภาษาของชนกลุ่มน้อยในค่ายผู้ลี้ภัยกะเหรี่ยง ใช้ภาษากะเหรี่ยงเป็นภาษากลางทั้งพูดและเขียน และมีการสอนเพิ่มในภาษาอังกฤษ ภาษาพม่า ภาษาไทย แต่ในค่ายผู้ลี้ภัยชาวคะเรนนี ไม่มีการเรียนการสอนภาษาไทย ส่วนค่ายผู้ลี้ภัยที่มีประชากรหลากหลาย จะใช้ภาษาพม่าเป็นภาษากลางทั้งพูดและเขียน และตำราเรียนจะเป็นภาษาอังกฤษ

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

ในการศึกษาครั้งนี้ ได้ปรากฏประวัติการต่อสู้ของกลุ่มชนกลุ่มน้อยในพม่า ดังนี้

1) กะเหรี่ยง (Karen) เป็นกลุ่มแรกที่ต้อสู้กับรัฐบาลพม่าเนื่องจากไม่ได้ร่วมลงนามในสัญญาปางหลวง และรัฐบาลพม่าไม่นับหมู่บ้านกะเหรี่ยงอยู่ในการปกครอง ชาวกะเหรี่ยงก็เรียกร้องสิทธิในการปกครองตนเองและรวมตัวกันจัดตั้งองค์กรเพื่อปลุกจิตสำนึกให้รักเผ่าพันธุ์ เช่น KNA, , BKNA , KNU  จนกระทั้งปี ค.ศ.1995 เกิดความแตกแยกและสู้รบกันเองระหว่าง DKBA กับ KNU ที่มีฐานอยู่ที่ค่ายมาเนอร์ปลอว์ ชายแดนไทย-พม่า อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน แตก จึงมีผู้ลี้ภัยชาวกะเหรี่ยงอพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยโดยเฉพาะชายแดนจังหวัดแม่ฮ่องสอน และตาก

2) มอญ (Mon) เริ่มต้นเคลื่อนไหวช่วงปี ค.ศ.1947 และต่อมาก็มารวมกันกับกลุ่มกะเหรี่ยงเพื่อต่อต้านกับรัฐบาลพม่า  เพื่อต้องการแยกตัวเป็นอิสระจากพม่าร่วมมือกับกลุ่มกะเหรี่ยงและพรรคคอมมิวนิสต์พม่าในปี ค.ศ.1957 และปี.ค.ศ.1958 มีการตั้งกลุ่มชื่อ พรรคมอญใหญ่และมีกองกำลัง MNDO

3) อาระกัน (Arakan)หรือชาวยะไข่ อาศัยอยู่ทางชายฝั่งทิศตะวันตกของพม่า  หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุด ช่วงเวลาเดียวกับชาวมอญ มีการเรียกร้องให้ดินแดนอารกันแยกตนเป็นอิสระ แต่รัฐบาลพม่าไม่ให้ความสนใจและปฏิเสธกลุ่มอารกันไม่ให้เข้าร่วมการทำสนธิสัญญาปางหลวง

4) คะเรนนี (Karenni)คะยาห์หรือกะเหรี่ยงแดง  เมื่อพม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษเดือนมกราคม ค.ศ.1948 รัฐคะเรนนีได้ถูกรวมเข้าไว้ในสหภาพพม่า จึงเริ่มมีการต่อต้านโดยจัดตั้งกองทัพแห่งชาติชาวคะเรนหรือ KNA จนเกิดการสู้รบและความขัดแย้งกันเรื่อยมา

5) คะฉิ่น (Kachin) อพยพเข้ามาพม่าราวศตวรรษที่ 16 อาศัยอยู่บริเวณรัฐคะฉิ่น ทางทิศเหนือติดกับชายแดนจีน คะฉิ่นเข้าร่วมสนธิสัญญาปางหลวงในปี ค.ศ.1947 กลายเป็นรัฐหนึ่งในสหภาพพม่า แต่พม่าพยายามแทรกแซงการบริหารงานของรัฐ จึงเกิดกลุ่มองค์กรคะฉิ่นอิสระ (KIO) เพื่อต่อต้านรัฐบาลพม่า แต่ได้มีการลงนามในข้อตกลงหยุดยิงในปี ค.ศ.1994 เพื่อแลกกับการพัฒนารัฐ และการเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิยังคงดำเนินอยู่

6) ไทยใหญ่ (Thai Yai) หรือฉาน อยู่บริเวณที่ราบสูงฉาน ทิศตะวันออกของพม่า อพยพมาจากทางตอนใต้ของจีนเมื่อประมาณศตวรรษที่ 7 ต่อมาปี ค.ศ.1958 ซึ่งเป็นปีที่สิบของสนธิสัญญาปางหลวง รัฐบาลพม่าไม่ยอมให้อิสระและพยายามครอบครองรัฐฉาน จึงเกิดการรวมกลุ่มเพื่อต่อสู้กับพม่า ซึ่งปัจจุบันมี 2 องค์กร คือ องค์กรรัฐฉาน (SSO) เคลื่อนไหวเรื่องรัฐฉานระดับนานาชาติ และพรรคสันนิบาตประชาธิปไตย (SSNLD) เคลื่อนไหวตามรัฐธรรมนูญพม่าเพื่อต่อสู้ทางการเมืองและเรียกร้องสิทธิชาวไทยใหญ่

7) คะยาน (Kayan) ในปี ค.ศ.1964 ชาวคะยานเคลื่อนไหวต่อต้านพม่าในบริเวณทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐฉาน ต่อมากลุ่มนักศึกษาชาวคะยานได้ก่อตั้งกลุ่ม (KNLP) วันที่ 8 ส.ค. 1994 เกิดขึ้นเป็นพรรคเพื่อเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิ แม้ว่าจะลงนามในข้อตกลงหยุดยิงกับรัฐบาลพม่าในปี ค.ศ.1944 แล้วก็ตาม

8) ปะหล่อง (Palaung) หรือ ดาระอั้ง อาศัยอยู่ในรัฐฉาน ชาวปะหล่องเรียกร้องสิทธิ การแยกดินแดน และการปกครองรูปแบบสหสัมพันธ์ แต่ไม่ได้รับการตอบรับจึงเกิดการรวมกลุ่มกันขึ้น (PSLO/PSLP) เพื่อป้องกันตนเองจากการถูกบังคับไปเป็นทหาร แม้ปัจจุบันได้ลงนามในข้อตกลงหยุดยิงกับรัฐบาลพม่า แต่การเคลื่อนไหวให้ได้มาซึ่งสิทธิของชาวปะหล่องก็ยังคงดำเนินอย่างต่อเนื่อง

Settlement Pattern

ไม่ระบุ

Demography

ไม่มีข้อมูล

Economy

ไม่มีข้อมูล

Social Organization

ในค่ายผู้ลี้ภัยจะมีทั้ง ค่ายผู้ลี้ภัยชาวกะเหรี่ยง ค่ายผู้ลี้ภัยชาวคะเรนนี และค่ายผู้ลี้ภัยที่มีประชาชนหลากหลายชาติพันธุ์ซึ่งอพยพมาจากรัฐเดียวกัน เช่น ค่ายผู้ลี้ภัยชาวคะเรนนี ประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น กะเหรี่ยง คะยาน ปะโอ คะเรนนี ฯลฯ

Political Organization

การอาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยเป็นลักษณะการจำกัดอิสรภาพในการดำเนินชีวิตภายใต้กฎระเบียบที่เคร่งครัด ไม่สามารถเดินทางเข้าออกได้หากไม่มีความจำเป็นเพียงพอ แต่มีเสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร มีสิทธิแสดงความคิดเห็นทางการเมือง และได้รับโอกาสทางการศึกษาภายในค่ายผู้ลี้ภัย ซึ่งจะมีการคัดเลือกคณะกรรมการจากสมาชิกเพื่อทำหน้าที่ประสานหน่วยงานภายนอกและดูแลความเรียบร้อยของผู้ลี้ภัย 

Belief System

ไม่มีข้อมูล

Education and Socialization

เยาวชนชนกลุ่มน้อยเรียนรู้ความคิดทางการเมืองผ่านกระบวนการหล่อหลอมของสถาบันต่างๆ ได้แก่ โรงเรียนในค่ายผู้ลี้ภัย การทำงาน การร่วมกิจกรรม และการเข้าอบรมจากองค์กรทาง
การเมือง และองค์กรเอกชนต่างๆ กล่าวคือ

1) โรงเรียนในค่ายผู้ลี้ภัยตามแนวชายแดนประเทศไทย  มีระบบการเรียนการสอนที่หล่อหลอมความคิดเกี่ยวกับ ความเป็นชาติแบบใหม่ ที่แตกต่างจากความเป็นชาติในพม่า และเนื้อหา
การเรียนที่มีอิทธิพลทางความคิดทางการเมืองจะปรากฏในรายวิชาภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์

2) การเข้าร่วมพรรค/องค์กรทางการเมือง เป็นการเรียนรู้ที่เข้มข้นมากเพราะมีเป้าหมายและการปฏิบัติงานที่ชัดเจน คือ การปลดปล่อยชาติและประชาชน จากการปกครองโดยรัฐบาลทหารพม่า  ซึ่งการเข้าร่วมกิจกรรมทำให้เยาวชนมีอุดมการณ์ชาตินิยม เพราะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่รัฐบาลพม่าใช้ความรุนแรง กดขี่ชนกลุ่มน้อย ทั้งในเชิงนโยบายการกระทำ  

3) การร่วมกิจกรรม หรือร่วมทำงานกับองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) ที่เน้นเรื่องการเคลื่อนไหวทางการเมือง เรียกร้องสิทธิการมีส่วนร่วมทางการเมือง เพื่อมุ่งหวังการเปลี่ยนแปลงทาง
การเมืองในระยะยาว  ซึ่งเยาวชนชนกลุ่มน้อยมีส่วนร่วมในกิจกรรม 2 ลักษณะ คือ เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆ ที่องค์กรจัดขึ้น  และการเป็นอาสาสมัคร หรือเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน

Health and Medicine

ภายในค่ายผู้ลี้ภัยจะมีสถานพยาบาลให้บริการ ซึ่งผู้ทำหน้าที่ให้บริการดูแลรักษาพยาบาลขั้นพื้นฐาน ก็คือผู้ลี้ภัยที่เรียนจบหลักสูตรสาธารณสุขมูลฐาน (Medoc School)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

การธำรงวัฒนธรรมและความเป็นชาติของชนกลุ่มน้อยจากพม่าในสังคมไทย คือ การใช้ภาษากลางในระบบการเรียนการสอน เช่น ค่ายผู้ลี้ภัยกะเหรี่ยง ใช้ภาษากะเหรี่ยงเป็นภาษากลาง
ทั้งการพูดและการเขียน รวมทั้งใช้ตัวอักษรกะเหรี่ยงในแบบเรียน  ส่วนในในค่ายผู้ลี้ภัยที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ก็จะใช้ภาษาพม่าเป็นภาษากลางทั้งภาษาพูดและเขียน

Social Cultural and Identity Change

เยาวชนชนกลุ่มน้อยที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ในช่วงเหตุการณ์ปี ค.ศ.1988  เยาวชนส่วนใหญ่มีอายุน้อยที่จะเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง แต่การมีส่วนรู้เห็นหรือเป็นส่วนหนึ่งในประวัติศาสตร์จึงมีอิทธิพลทางความคิดทางการเมือง  ซึ่งการเข้ามาในประเทศไทยของเยาวชน เพื่อหลบหนีการสู้รบและกลายมาเป็นผู้ลี้ภัย บางคนหนีจากการถูกละเมิดสิทธิ ไม่ว่าจะเป็นการบังคับใช้แรงงาน บังคับย้ายถิ่น และการถูกเกณฑ์ไปเป็นทหาร บางคนรู้สึกทนไม่ไหวกับสภาพสังคมที่มีแต่การกดขี่และเลือกปฏิบัติในฐานะที่พวกเขาเป็นชนกลุ่มน้อย รวมทั้งการถูกปิดกั้นเสรีภาพทางการเมือง เมื่อเข้ามาอยู่ในประเทศไทยชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก  โดยเฉพาะการได้มีโอกาสทางการศึกษามากขึ้น มีอิสรภาพและเสรีภาพในการดำเนินชีวิตและการแสดงออกทางการเมือง 

Other Issues

ความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ 
- การถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนของกลุ่มชนกลุ่มน้อยจากพม่า

Text Analyst ปิ่นอนงค์ หะกาศ Date of Report 21 ก.พ. 2565
TAG เยาวชนชนกลุ่มน้อย, การเมือง, พม่า, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง