สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject คะแมร์ลือ, การดูแลสุขภาพ , ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Author ทักษิณา ไกรราช, อุสา กลิ่นหอม, จารุวรรณ ธรรมวัฒน์
Title The Dynamics of Health care of the Thai-Khmer Ethnic Group in Northeast Thailand
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity ขแมร์ลือ คะแมร คนไทยเชื้อสายเขมร เขมรถิ่นไทย, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ทักษิณา ไกรราช, อุสา กลิ่นหอม และจารุวรรณ ธรรมวัฒน์.  “The Dynamics of Health care of the Thai-Khmer Ethnic Group in Northeast Thailand” วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา.  ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : 75-88;  Total Pages 13 Year 2549
Source ทักษิณา ไกรราช, อุสา กลิ่นหอม และจารุวรรณ ธรรมวัฒน์. “The Dynamics of Health care of the Thai-Khmer Ethnic Group in Northeast Thailand” วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา. ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : 75-88;
Abstract

บทความนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของแนวความคิดทางสุขภาพของกลุ่ม ชาติพันธุ์ไทย – เขมรที่อาศัยอยู่ในภาคอีสานของประเทศไทย โดยใช้การศึกษาทั้งจากการอ่านบทความและการลงพื้นที่สัมภาษณ์และสังเกตการณ์ในชุมชน

พบว่ากลุ่มชาติพันธุ์ไทย – เขมรมีแนวความคิดความเชื่อของตนเองที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างการนับถือวิญญาณ ศาสนาพุทธและ ศาสนาพราหมณ์ และมีผู้รักษาอาการเจ็บป่วยในท้องถิ่น แต่เมื่อมีการพัฒนาให้เกิดความทันสมัย แนวความคิดเกี่ยวกับสุขภาพเปลี่ยนแปลงไป เช่น นิยามของสุขภาพ ความเชื่อของสาเหตุการเกิดโรคและการปฏิบัติในการดูแลสุขภาพ ทำให้จากเดิมที่จะไปรักษากับผู้รักษาในชุมชน ชาวบ้านก็ปรับมาเลือกการรักษาที่ผสมผสานกันระหว่างโรงพยาบาลกับผู้รักษาในชุมชน

Focus

เน้นการศึกษาเรื่องการเปลี่ยนแปลงของความคิดและแนวทางในการดูแลรักษาสุขภาพของกลุ่มชาติพันธุ์ไทย – เขมรที่อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

Theoretical Issues

ใช้การศึกษาบทความ เอกสาร, การสัมภาษณ์ผู้คนภายในชุมชนเช่นผู้สูงอายุ คนทั่วไป กลุ่มแม่บ้าน หมอพื้นเมือง เป็นต้น และการลงพื้นที่เพื่อสังเกตการณ์และเก็บข้อมูล เพื่ออธิบายถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับการดูแลรักษาสุขภาพ

Ethnic Group in the Focus

คะแมร์ลือ(กลุ่มชาติพันธุ์ไทย – เขมร)

Study Period (Data Collection)

ตุลาคม 2546 – เมษายน 2549

History of the Group and Community

ไม่มีข้อมูล

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

กลุ่มชาติพันธุ์ไทย – เขมร มีจำนวนประชากรมากที่สุดในบริเวณภาคอีสานตอนล่าง

Economy

กลุ่มชาติพันธุ์ไทย – เขมรส่วนใหญ่รับประทานผักตามฤดูและตามธาตุของแต่ละคน
พบว่าผู้ชายวัยทำงานและที่มีอายุมักจะรับประทานยาสมุนไพรบางอย่างเพื่อปรับธาตุต่างๆในร่างกายให้สมดุลและไม่เกิด “tuea tasai”

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

ผสมผสานระหว่างการนับถือวิญญาณ ศาสนาพุทธ และศาสนาพราหมณ์
เชื่อว่ามีดวงวิญญาณอยู่รอบๆ ซึ่งมี 2 ประเภท คือดีและไม่ดี
 
ดวงวิญญาณที่ดีจะลงโทษผู้ที่ทำผิดขนบธรรมเนียมประเพณี และดวงวิญญาณที่ไม่ดีจะทำร้ายคนที่ดวงวิญญาณนั้นไม่พอใจ รวมถึงดวงวิญญาณอาจออกจากร่างกายในขณะที่เกิดอาการเจ็บป่วย
 
กลุ่มชาติพันธุ์ไทย – เขมรมีความเชื่อในเรื่องมนต์ดำและไสยศาสตร์ ซึ่งต้องใช้ผู้รักษาที่เรียกว่า “Mo mamuat”
เชื่อในเรื่องโชคชะตา ดวงดาวและโหราศาสตร์ คือโชคชะตาขึ้นกับดวงดาวบนท้องฟ้า การจะเสริมโชคชะตานั้น ต้องใช้ “Mo brahmin” เป็นผู้กระทำ
 
ความเชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาตินั้นทำให้ประชากรกลุ่มชาติพันธุ์ไทย – เขมรสรรหาวิธีการต่างๆเพื่อให้ตัวเองปลอดภัย เช่น มีการทำพิธีป้องกันให้เด็กแรกเกิด การเป็นผู้ติดตามและรับใช้ของ “mo mamuat” เป็นต้น
 
ถ้าเกิดว่าอาการเจ็บป่วยต่างๆไม่สามารถหายได้โดยหมอท้องถิ่น ชาวบ้านจะเชื่อในเรื่องของชาตินี้ ชาติหน้า และกฎแห่งกรรมตามหลักศาสนาพุทธ

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

เชื่อว่าร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ถ้าเกิดว่าธาตุใดขาดสมดุลไปก็จะส่งผลต่อสุขภาพ สำหรับผู้ที่เข้าใจถึงเรื่องเหล่านี้ลึกซึ้งมักจะเป็นผู้เฒ่าในหมู่บ้าน และผู้รักษาในท้องถิ่น หมอท้องถิ่นที่รักษาเกี่ยวกับสมุนไพรและอาหาร เรียกว่า “motnam”ซึ่งเชื่อว่าร่างกายประกอบด้วยเลือด ของเหลว อากาศ
เลือดมีคุณสมบัติเป็นสารร้อน และอากาศเป็นสารเย็น ซึ่งภาวะร้อน – เย็นเป็นสิ่งที่สำคัญเพราะว่าโรคต่างๆ สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ โรคทางอากาศ และโรคทางเลือดซึ่งสามารถก่อให้เกิดโรคอื่นตามมาได้
โรคทางเลือดมักจะมีอาการแสดงคือสัมผัสร่างกายแล้วรู้สึกร้อน มีไข้ ต้องรักษาด้วยยาขนานเย็น
โรคที่เกี่ยวกับอากาศมักจะแสดงอาการคือสัมผัสร่างกายแล้วเย็น ต้องใช้ยาขนานร้อนรักษา
หลักการร้อน – เย็นที่ใช้สิ่งตรงข้ามกันรักษา ตรงกับหลักหยิน – หยางของแพทย์แผนจีน
กลุ่มชาติพันธุ์ไทย – เขมรให้ความสำคัญกับโรคที่เกี่ยวกับอากาศเป็นอันดับแรก อันดับที่สองจึงเป็นโรคทางเลือด
โรคที่เกี่ยวกับทางอากาศรวมถึงกลุ่ม “tuea” ซึ่งแบ่งได้เป็น 5 กลุ่ม คือ “tuea chamnaei” เกิดจากการกินอาหารที่ไม่เหมาะสม
“tuea kaloen” เกิดจากกลิ่นที่ไม่เหมาะสม
“tuea tasai” เกิดจากกล้ามเนื้อและข้อไม่เหมาะสม
“tuea ansoem” เกิดจากการสัมผัสน้ำค้างและ
“tuea tamnek” เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์หลังคลอด โรคส่วนใหญ่มักจะพบในกลุ่มผู้หญิงเพิ่งคลอด และผู้หญิงมีอายุ
ความเชื่อว่าสิ่งแวดล้อมภายนอกมีผลต่อสุขภาพเช่นกัน เช่น อาหาร อากาศ อารมณ์และอายุ
ผู้หญิงหลังคลอดเชื่อว่าจะเสียเลือดและน้ำมากจึงต้องมีการเพิ่มธาตุไฟ โดยการทำ “nophloeng” คือการนอนใกล้ไฟ ดื่มและอาบน้ำ ด้วยน้ำที่ต้มกับสมุนไพรที่ร้อนหรือเผ็ด เพื่อช่วยเพิ่มความร้อนในร่างกายให้กลับมาสู่ระดับปกติ ถ้าไม่ทำผู้หญิงคนนั้นจะเกิดอาการเจ็บป่วยตลอดชีวิต หมอท้องถิ่นที่ดูแลเรื่องการคลอดและหลังคลอดเรียกว่า “chamop buran”เชื่อว่าร่างกายประกอบด้วย 19 ขวัญ อยู่ทั่วร่างกาย โดยขวัญที่สำคัญที่สุดอยู่ที่ศีรษะ เรียกว่าขวัญหัว เพราะฉะนั้นหัวจึงเป็นส่วนที่สูงและสำคัญที่สุด ซึ่งมีการกระทำต้องห้ามที่อาจจะก่อให้เกิดการเจ็บป่วยได้
เชื่อใน “ครูกำเนิด” คือร่างกายเป็นที่อยู่ของเทพเจ้าตั้งแต่เกิด โดยเฉพาะส่วนศีรษะ การจับหัวกันเล่นอาจส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวอย่างรุนแรง ถ้าเกิดว่าจิตวิญญาณของผู้ใดเกิดสูญหายไป ก็จะทำให้เจ้าของเกิดอาการเจ็บป่วย
สามารถแบ่งอาการเจ็บป่วยออกได้เป็น 5 ประเภท คือ 1. เกิดจากการเสียจิตวิญญาณ 2. เกิดการการกระทำที่ไปละเมิดประเพณี 3. เกิดจากมนต์ดำและไสยศาสตร์ 4. เกิดจากโชคไม่ดี 5. เกิดการกรรมเก่า

หลังจากการเข้ามาของวัฒนธรรมสมัยใหม่ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดและความเชื่อเกี่ยวกับสุขภาพ คือแต่ก่อนจะขึ้นอยู่กับผู้รักษาในท้องถิ่นเท่านั้น แต่หลังจากการเข้ามาของความเจริญทำให้มีการสร้างสุขศาลา และสถานีอนามัยขึ้น การสาธารณสุขแบบใหม่อธิบายว่าโรคต่างๆ เกิดจากเชื้อโรค และนำหลักการทางชีวการแพทย์เข้ามาอธิบายถึงอวัยวะ และร่างกาย
เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดเรื่องสุขภาพจาก 3 ปัจจัย คือ
1. ความแข็งแรงของร่างกาย
2. ฐานะทางเศรษฐกิจ
3. การเข้าถึงทรัพยากร มีการเปลี่ยนแปลงมากมายเช่นความถี่ในการไปพบแพทย์ที่เพิ่มมากขึ้น เพราะในอดีตจะไปพบเมื่อมีอาการหนัก แต่ในปัจจุบันแม้มีอาการไข้ก็ต้องไปพบแพทย์ หรือการบังคับฝากครรภ์และต้องคลอดที่โรงพยาบาลเป็นต้น
 
นอกจากนี้ยังพบโรคใหม่เกิดขึ้น เช่นโรคที่เกิดจากการใช้สารเคมี ยาปราบศัตรูพืช ปุ๋ยเคมี, โรคที่เกิดจากการรับประทานที่เปลี่ยนไป เช่น เบาหวาน โรคที่เกิดจากการมีถนนและโครงสร้างพื้นฐานที่เพิ่มขึ้น เช่น อุบัติเหตุทางถนนเกิดขึ้น โรคทางจิต เช่น เกิดความเครียดโรคเอดส์ เป็นต้น
 
การตัดสินใจเข้ารับการรักษากับที่ใดนั้นขึ้นกับระดับความรุนแรงของอาการเป็นหลัก คือรักษาด้วยตนเองก่อน จากนั้นจึงไปปรึกษาหมอท้องถิ่น ถ้าเกิดว่าโรคน่าจะเกิดจากสิ่งเหนือธรรมชาติ ชาวบ้านก็จะไปปรึกษาผู้รักษาในชุมชน แต่ถ้าโรคน่าจะเกิดว่าโรคชนิดใหม่ ชาวบ้านจะไปรับการรักษาจากโรงพยาบาล ถ้าเกิดมีอาการของโรคเรื้อรังก็จะกลับมาหาผู้รักษาในชุมชนอีกครั้ง บางคนอาจใช้การรักษาทั้ง 2 แบบควบคู่กันไป หรืออาจจะรักษาแต่ละแบบในช่วงเวลาที่ต่างกัน ขอแค่เพียงจะหายจากอาการเจ็บป่วย

Art and Crafts (including Clothing Costume)

เด็กหลายคนในกลุ่มชาติพันธุ์ไทย – เขมร จะไว้ผมเป็นจุกโมลีด้านบน และโกนผมที่เหลือ ซึ่งเหมือนกับเทพในศาสนาฮินดู

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Map/Illustration

แผนภาพแสดงบริเวณของวัฒนธรรมการรักษาของกลุ่มชาติพันธุ์ไทย – เขมรในจังหวัดสุรินทร์, รูปภาพแสดงเด็กชาติพันธุ์ไทย – เขมรไว้ผมจุกโมลีเหมือนของศาสนาพราหมณ์, รูปภาพแสดงการประกอบพิธีกรรม “liak”, แผนภาพแสดงแนวความคิดเกี่ยวกับสมดุลของร่างกาย, แผนภาพแสดงแนวความคิดเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดโรคหลังจากการเข้ามาของความเจริญและการแพทย์สมัยใหม่

Text Analyst กรกนก ศฤงคารีเศรษฐ์ Date of Report 08 มิ.ย 2562
TAG คะแมร์ลื, การดูแลสุขภาพ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง