สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ความหลากหลายทางวัฒนธรรม, อัตลักษณ์, ชาติพันธุ์,กูย กวย, คนอีสาน ลาวอีสาน, ตึ่งนั้ง คนจีน (หมายถึง ไทย-จีนเชื้อสายแต้จิ๋ว), ม้ง, ยวน คนเมือง, ลื้อ
Author Keyes,Charles F.
Title Cultural Diversity and National Identity in Thailand
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity ไทลื้อ ลื้อ ไตลื้อ, ไทยวน ยวน ยวนสีคิ้ว คนเมือง, ม้ง, จีน จีนแต้จิ๋ว จีนฮกเกี้ยน จีนไหหลำ ไหหนำ จีนกวางตุ้ง จีนแคะ, กูย กุย กวย โกย โก็ย, Language and Linguistic Affiliations -
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 35 Year 2540
Source Michael E.Brown Sumit Ganguly,editors. “Cultural Diversity and National Identity in Thailand” in Government Policies and Ethnic Relations in Asia and the Pacific CSIA Studies in International Security, 1997.
Abstract

งานศึกษาเรื่องนี้อธิบายประเด็นเรื่องความหลากหลายทางวัฒนธรรมในประเทศไทยและอัตลักษณ์ของไทย ซึ่งให้ข้อมูลตั้งแต่สภาวะความหลากหลายทางวัฒนธรรมซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยก่อนที่ตะวันตกจะเข้ามาในอาณาจักรสยาม ช่วงรัชกาลที่ 1- รัชกาล7   งานศึกษาแบ่งชาติพันธุ์ในประเทศไทยโดยดูที่ภาษาที่ใช้ มีการอธิบายถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของแต่ละชาติพันธุ์โดยภาพรวม
 
นอกจากนั้นงานศึกษาอธิบายถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมหลังจากประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยพูดถึงอิทธิพลจากตะวันตกที่เข้ามามีบทบาทและความเป็นมาของลัทธิชาตินิยมของไทย
 
นอกจากนี้ งานศึกษาได้กล่าวถึงรากฐานและการปลูกฝังชาตินิยมไทย และการทำให้ลัทธิชาตินิยมไทยแพร่หลายซึ่งเป็นผลมาจากการใช้นโยบายของรัฐ มีการอธิบายเกี่ยวกับปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้นกับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ไม่จะเป็นผู้คนที่อยู่บริเวณภาคเหนือและภาคอีสานของไทย ชาวเขา ชาวไทยมุสลิม ชาวไทยเชื้อสายจีน
 
 
งานศึกษายังให้ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายที่เปลี่ยนไปในการรับผู้ลี้ภัยและผู้อพยพเข้ามาในประเทศ  และจบด้วยประเด็นการรื้อฟื้นความหลากหลายทางวัฒนธรรมของประเทศไทยที่ถูกกลืนไปกับโลกาภิวัตน์ที่ถาโถมเข้ามาซึ่งทำให้มุมมองที่มีต่อวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาติพันธุ์ในไทยเปลี่ยนไป

Focus

ให้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ไทยในเรื่องความหลากหลายของชาติพันธุ์ตั้งแต่สมัยที่ไทยยังเป็นสยามไปจนถึงการสถาปนาชาติไทย พร้อมกับอธิบายปัจจัยต่างๆที่มีผลให้ประชากรที่มีความแตกต่างทางชาติพันธุ์สามารถอยู่ร่วมกันภายใต้              อัตลักษณ์ความเป็นชาติไทยได้จนถึงทุกวันนี้

Theoretical Issues

ไม่ปรากฏ

Language and Linguistic Affiliations

ความหลากหลายทางเชื้อชาติของประชากรไทยได้ถูกจำแนกตามความแตกต่างของภาษาท้องถิ่นที่ใช้ ประชากรที่อาศัยอยู่บริเวณอาณาจักรสยามในช่วงปลายศตวรรษที่19ส่วนใหญ่พูดภาษาที่จัดอยู่ในกลุ่มภาษาไตซึ่งประกอบไปด้วยมากกว่า 20ภาษา มีรูปแบบการสะกดคำที่พัฒนามาจากอาณาจักรใกล้เคียงซึ่งส่วนมากใช้ในเอกสารทางพุทธศาสนาและใช้ในราชการ และบางส่วนใช้ในกวีนิพนธ์และงานวรรณคดีอื่นๆ
 
ประชากรที่พูดภาษาไตแบ่งได้3กลุ่มหลัก โดยแบ่งตามวิธีการเขียนทางภาษาที่สำคัญ ได้แก่ ชาวสยาม ชาวลาว ชาวยวน
นักภาษาศาสตร์ระบุว่าชาวสยามในยุคศตวรรษที่19ประกอบไปด้วยประชากรที่พูดภาษาแตกต่างกันไปซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาษาที่จัดอยู่ในภาษาไทยภาคกลางและภาษาไทยภาคใต้ แม้ว่าจะใช้ภาษาไม่เหมือนกัน ประชากรเหล่านี้ต่างมองว่าตนเป็นกลุ่มเดียวกันเนื่องจากการใช้ตัวอักษรร่วมกันในเอกสารทางพุทธศาสนา
 
ชาวลาวเป็นกลุ่มคนพูดภาษาตระกูลไตแต่อยู่ในภาคเหนือและภาคอีสานของสยาม ซึ่งปัจจุบันบางส่วนคือภาคเหนือและภาคอีสานของไทย
 
 
ส่วนชาวยวนเป็นกลุ่มคนพูดภาษาตระกูลไตเรียกตนเองว่าคนเมืองอาศัยอยู่ในพื้นที่ทางภาคเหนือของประเทศไทย
 
 
สำหรับประชากรที่อาศัยในประเทศไทยแต่ไม่ได้พูดภาษาตระกูลไตเป็นภาษาแม่ประกอบไปด้วยประชากรที่พูดภาษาในตระกูลออสโตรเอเชียติกประมาณร้อยละ4-5ของประชากร ซึ่งได้แก่  ภาษาเขมรและภาษากุยเป็นส่วนใหญ่
 
นอกจากนั้นยังมีประชากรมุสลิมที่อาศัยในพื้นที่ที่เป็นของมาเลเซียในปัจจุบัน      เกดะห์ กลันตัน ตรังกานู เประ ปัตตานี และพื้นที่ชายแดนของปัตตานีซึ่งเป็นภาคใต้ของไทยในปัจจุบัน  
 
ประชากรซึ่งอาศัยในพื้นที่ประเทศไทยอีกกลุ่มที่ไม่ได้พูดภาษาตระกูลไตได้แก่ ชาวเขา ซึ่งพูดภาษากะเหรี่ยงและภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก และประชากรที่พูดภาษาทิเบตโตเบอร์มาน อันได้แก่ อาข่า ลาหู่ ลีซู

Study Period (Data Collection)

ไม่ปรากฏ

History of the Group and Community

งานศึกษาให้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นความหลากหลายของวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ในประเทศไทยโดยเริ่มจากอาณาจักรสยามในสมัยรัชกาลที่1ซึ่งได้ทรงสถาปณาราชวงศ์จักรีและย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงเทพฯความหลากหลายของวัฒนธรรมในพื้นที่ประเทศไทยเป็นผลมาจากการปกครองสมัยรัชกาลที่1-3ซึ่งมีการขยายอำนาจไปยังพื้นที่ที่เป็นภาคเหนือของไทยในปัจจุบัน  ลาว,ส่วนใต้สุดของยูนนาน,รัฐสุลต่านปัตตานี,เกดะห์,กลันตัน และตรังกานูในมาเลเซีย และอาณาจักรเขมร แต่ทว่าในปลายศตวรรษที่19ไปจนถึงต้นศตวรรษที่21 อาณาจักรสยามจำต้องสละพื้นที่บางส่วนให้อังกฤษและฝรั่งเศส พื้นที่ประเทศไทยในปัจจุบันจึงยังคงมีร่องรอยวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆอยู่

Settlement Pattern

ไม่ปรากฏ

Demography

ไม่ปรากฏ

Economy

ไม่ปรากฏ

Social Organization

ไม่ปรากฏ

Political Organization

หนึ่งในกระบวนการสร้างชาตินิยมความเป็นไทยที่สำคัญ คือ การออกกฏหมายในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ผู้อพยพทุกคนที่ต้องการได้สัญชาติไทยละทิ้งความจงรักภักดีต่อรัฐอื่นๆ และยอมอยู่ใต้การปกครองของพระมหากษัตริย์ไทยโดยสมบูรณ์
เพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่นให้กับประเทศและขจัดความต้องการแยกตัวเป็นอิสระจากไทยของชาวอีสานในช่วงปี1954จอมพลสฤทธิ์ ธนะรัชต์ มีการบังคับใช้แผนพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย โดยเน้นพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคดังกล่าว
เดิมทีรัฐบาลไทยมีนโยบายที่ไม่เอื้อต่อการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มชาวเขา มีการจัดกลุ่มชาวเขาว่าเป็นผู้อพยพเข้ามาประเทศไทยอย่างผิดกฎหมาย ในช่วงกลางทศวรรษ1960รัฐบาลได้ใช้กำลังทหารจัดการกับชุมชนชาวเขาและมีเงื่อนไขว่าจะให้ความช่วยเหลือกับชุมชนชาวเขาที่ไม่ได้สนับสนุนลัทธิคอมมิวนิสต์ การกระทำดังกล่าวได้ส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลและชุมชนชาวเขาย่ำแย่ลง ชุมชนชาวเขาหันไปสนับสนุนลัทธิคอมมิวนิสต์มากขึ้นและรัฐบาลปฏิเสธไม่อนุญาตให้ชาวเขาเป็นผู้พำนักอาศัยถาวรในประเทศไทย
 
ต่อมาภาพลักษณ์และสถานะของชาวเขาได้เปลี่ยนไป หลังจากที่รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนให้ชาวเขาเลิกปลูกฝิ่นและทำไร่เลื่อนลอยผ่านทางการสร้างงานให้กับชาวเขาผ่านโครงการหลวง
 
สำหรับชาวไทยมุสลิมในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ประมาณช่วงทศวรรษ1980รัฐบาลมีนโยบายผ่อนปรนต่อความคิดที่จะแยกตัวเป็นอิสระจากไทยของชาวไทยมุสลิมซึ่งรุนแรงมากในปัตตานี มีการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ที่เป็นชาวไทยมาเลย์เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ดังกล่าว และมีการรับสมัครชาวไทยมาเลย์เข้าเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยพรรคประชาธิปัตย์
 
ในส่วนของชาวไทยเชื้อสายจีน นโยบายกีดกันโรงเรียนที่ใช้ภาษาจีนในการสอนและนโยบายการรับผู้อพยพเข้าประเทศที่เข้มงวดขึ้นทำให้ชาวไทยเชื้อสายจีนรับเอาอัตลักษณ์ความเป็นไทยมาผสมผสานกับวัฒนธรรมของตนอย่างเป็นไปด้วยดี

Belief System

ไม่ปรากฏ

Education and Socialization

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวมีการออกแผนการศึกษาภาคบังคับที่กีดกันมิให้มีการสอนนักเรียนด้วยภาษาอื่นนอกเหนือจากภาษาไทย เพื่อต่อสู้กับลัทธิชาตินิยมจีนและสร้างความมั่นคงให้กับชาตินิยมไทย
 
ต่อมาในหลังจากประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครอง รัฐบาลทหารซึ่งปกครองระหว่าง1932-1950ได้เข้ามามีบทบาทในเรื่องการศึกษาภาคบังคับของเด็กไทยซึ่งมีผลให้ภาษาไทยกลายเป็นภาษาประจำชาติอย่างแท้จริง
 
ยิ่งไปกว่านั้นการศึกษายังช่วยส่งเสริมอัตลักษณ์และชาตินิยมไทยในพื้นที่ห่างไกล การจัดตั้งโรงเรียนในพื้นที่ชุมชนชาวเขาส่งผลให้จำนวนชาวเขาที่สามารถอ่านเขียนภาษาไทยได้และนับถือศาสนาพุทธเพิ่มจำนวนขึ้น
 
แต่ในทางกลับกันการจัดตั้งโรงเรียนในพื้นที่ชายแดนภาคใต้เพื่อให้การศึกษาเป็นภาษาไทยไม่มีบทบาทมากนักในการสร้างความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกันกับชาวไทยมุสลิมในชายแดนภาคใต้เห็นได้จากการที่พื้นที่ดังกล่าวเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่เด็กเข้ารับการศึกษาน้อยที่สุด

Health and Medicine

ไม่ปรากฏ

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่ปรากฏ

Folklore

ไม่ปรากฏ

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

หลังจากรัฐได้ใช้นโยบายชาตินิยมเพื่อสร้างความเป็นอัตลักษณ์และความเป็นปึกแผ่นให้แก่ประเทศ ก่อให้เกิดลัทธิภูมิภาคนิยมในชาวไทยในพื้นที่ภาคอีสานและภาคเหนือที่เดิมทีมีเชื้อสายลาว ความสัมพันธ์กับชาวไทยในพื้นที่ดังกล่าวเป็นไปด้วยดีแม้ว่าอาจมีข้อขัดแย้งเกิดขึ้นบ้าง แต่รัฐบาลก็สามารถคลี่คลายและถนอมความสัมพันธ์ด้วยนโยบายต่างๆ
 
สำหรับชาวไทยมุสลิมในพื้นที่ภาคใต้ สิ่งที่แบ่งแยกคนกลุ่มนี้ออกจากคนส่วนใหญ่คือศาสนาอิสลามที่เป็นอัตลักษณ์ไม่ใช่ชาติพันธุ์ที่แตกต่าง รัฐบาลรับมือกับความต้องการแยกตัวเป็นอิสระด้วยนโยบายโอนอ่อนผ่อนปรน
 
สำหรับชาวไทยเชื้อสายจีน คนกลุ่มนี้เข้ามามีบทบาทในเศรษฐกิจการเมืองไทยอย่างมาก มีการปรับตัวผสมผสานวัฒนธรรมไทยกับจีนอย่างลงตัว นโยบายที่รัฐใช้กับคนกลุ่มนี้ไม่ได้มุ่งโจมตีแต่พยายามรวมวัฒนธรรมของชาวไทยเชื้อสายจีนเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของความหลากหลายทางวัฒนธรรมของไทย

Social Cultural and Identity Change

ตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่1950เป็นต้นมา มีการอพยพของชาวไทยในพื้นที่ชนบทเข้าสู่เมืองอย่างต่อเนื่องอันเป็นผลมาจากการเติบโตของเศรษฐกิจและภาคอุตสาหกรรมที่ขยายตัว วัฒนธรรมเมืองของชนชั้นกลางแพร่หลายไปทั่วเป็นผลมาจากโลกาภิวัตน์ซึ่งถูกถ่ายทอดผ่านสื่อต่างๆ ศาสนาพุทธมีความหลากหลายมากขึ้นแบ่งออกเป็นความเชื่อที่แตกต่างกันไป วัฒนธรรมสมัยก่อนที่เคยถูกมองว่าล้าหลังกลับมาได้รับความสนใจจากคนทั่วไป

Other Issues

ไม่ปรากฏ

Map/Illustration

Thailand, Ethnic and Ethno regional Composition of Thailand,

Text Analyst ภัสสรา ไวยมุกข์ Date of Report 05 ม.ค. 2566
TAG ความหลากหลายทางวัฒนธรรม, อัตลักษณ์, ชาติพันธุ์, กูย กวย, คนอีสาน ลาวอีสาน, ตึ่งนั้ง คนจีน (หมายถึง ไทย-จีนเชื้อสายแต้จิ๋ว), ม้ง, ยวน คนเมือง, ลื้อ, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง