สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject กูย บรู โซ่ ภาษา สุรินทร์ อุบลราชธานี สกลนคร
Author เอกวิทย์ จิโนวัฒน์
Title ศึกษาเปรียบเทียบการสร้างคำในภาษากูย บรู และโซ่
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity บรู, โส้ โทรฺ, กูย กุย กวย โกย โก็ย, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน) Total Pages 121 Year 2526
Source บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract

งานวิจัยนี้เป็นงานศึกษาวิจัยวิธีการสร้างคำในภาษากูย (ส่วย) บรูและโซ่ โดยศึกษา กูย ที่บ้านลังแก ตำบลแตล อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์  ,บรู บ้านเวินบึก  ตำบลโขงเจียม  อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี และโซ่ บ้านโพธิไพศาล ตำบลโพธิไพศาล อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร ซึ่งจากการศึกษาพบว่า  ภาษากูย บรู และโซ่ มีการสร้างคำที่เหมือนกันและแตกต่างกัน ทั้ง 3 ภาษา  มีการสร้างคำเหมือนกัน 2 ประเภทได้แก่ การสร้างคำโดยการเติมหน่วยศัพท์การซ้ำคำ แต่ภาษากูยจะมีการสร้างคำซึ่งต่างออกไป โดยจะมีการสร้างคำจากการเปลี่ยนลักษณะน้ำเสียงเพิ่มอีกด้วย สำหรับการสร้างคำโดยการเติมหน่วยศัพท์ใน 3 ภาษา มีเหมือนกัน 4 ประเภทได้แก่ การเติมหน่วยศัพท์เพื่อเปลี่ยนคำกริยาให้เป็นคำนาม การเติมหน่วยศัพท์เพื่อสร้างคำนามใหม่ การเติมหน่วยศัพท์เพื่อเปลี่ยนคำนามให้เป็นคำกริยาและการเติมหน่วยศัพท์เพื่อสร้างคำกริยาใหม่ ส่วนการซ้ำคำมีการซ้ำเสียงอย่างสมบูรณ์และการซ้ำเสียงบางส่วน เมื่อเปรียบเทียบการสร้างคำพบว่าภาษาบรูกับภาษาโซ่ มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดทางด้านเชื้อสายมากกว่าภาษากูยกับบรู หรือกูยกับโซ่  

Focus

ศึกษาวิธีการสร้างคำ จำแนกประเภทของหน่วยเติมศัพท์ และการซ้ำคำที่มีบทบาทในการสร้างคำ  เปรียบเทียบวิธีการสร้างคำ โดยเฉพาะด้านความเหมือนและความคล้ายคลึงกันในภาษากูย(ส่วย) บรูและโซ่ (หน้า 2) ศึกษาภาษากูย (ส่วย) ที่บ้านสังแก ตำบลแตล อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ภาษาบรูที่บ้านเวินบึก ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี และภาษาโซ่ที่บ้านโพธิไพศาล ตำบลโพธิไพศาล อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

กูย เป็นชื่อที่คนกูยเรียกตนเอง หมายถึง “คน”  นอกจากนี้คนกูยยังเรียกตนเองที่เพี้ยนเสียงแตกต่างกันเช่น  กวย  โกย  ส่วนคนไทยจะเรียก “กูย” ว่า “ส่วย” ที่เรียกกันเช่นนี้ เนื่องมาจากในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.2367-2394) ได้สำรวจประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อเก็บภาษี คนกูยจึงต้องส่งส่วยด้วย กูยที่เดินทางไปส่งส่วยจึงถูก เรียกว่า “ส่วย” ซึ่งเป็นที่มาของการที่คนไทยเรียกคนกูยว่า”ส่วย”(หน้า 28)
 
บรูบ้านเวินบึก ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี  เป็น”ข่า” กลุ่มหนึ่ง เวลาเรียกตนเองจะเรียกว่า “บรู” กลุ่มนี้มีบรรพบุรุษที่อพยพมาจากประเทศลาวมาอยู่ในพื้นที่ศึกษาเมื่อประมาณ 70-80 ที่ผ่านมา (หน้า 45)
 
โซ่ “คนโซ่”หรือ “ข่ากระโซ่” เป็นข่าพวกหนึ่ง มีถิ่นฐานอยู่บริเวณฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงแถบจังหวัด คำม่วน ท่าแขก และสุวรรณเขตในปัจจุบัน แต่สันนิษฐานว่าเดิมตั้งรกรากอยู่เมืองมหาชัยกองแก้ว เมืองอู่  เมืองวัง  เมืองย้ำ เมืองบก เมืองสูง ในเขตประเทศลาวก่อนที่จะอพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.2367-2394) เมื่อไทยยกกองทัพไปตีกรุงเวียงจันทน์ เมื่อ พ.ศ.2471 (หน้า 72) และได้กวาดต้อนผู้คนจากเมืองมหาชัยกองแก้วเป็นจำนวนมาก ให้มาอยู่ที่เมืองนครพนมและนครราชสีมา (หน้า 73) 

Language and Linguistic Affiliations

การสร้างคำในภาษากูย           
           จากการศึกษาเรื่องการสร้างคำในภาษากูยของกูยบ้านลังแก ตำบลแตล อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ (หน้า 4) พบว่า มีการสร้างคำดังนี้
1)         การเติมหน่วยศัพท์ แบ่งออกเป็น 8 วิธีคือ (หน้า 110)
1.1     เติมหน่วยศัพท์เพื่อเปลี่ยนคำกริยาให้เป็นคำนาม ได้แก่  เติมหน่วยศัพท์เพื่อเปลี่ยนคำกริยาแสดงอาการให้เป็นคำนาม ที่มีความหมายเป็นเครื่องมือ อุปกรณ์ เช่นการเติมหน่วยหน้าศัพท์ n-  การเติมหน่วยกลางศัพท์ –an- (หน้า 33,110)  เติมหน่วยศัพท์เพื่อเปลี่ยนคำกริยาแสดงสภาพให้เป็นคำนาม ที่มีความหมายเป็นลักษณะของสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากการกระทำกริยานั้นสิ้นสุดลง ได้แก่หน่วยหน้าศัพท์ ba- (หน้า 34,110)  เติมหน่วยศัพท์เพื่อเปลี่ยนคำกริยาแสดงสภาพให้เป็นคำนามแสดงคุณสมบัติทางกลิ่นและรสได้แก่หน่วยหน้าศัพท์ ca- (หน้า 34,110)
1.2     เติมหน่วยศัพท์เพื่อทำให้คำนามสามัญเป็นคำนามใหม่  ที่ความหมายคล้ายกับคำนามเดิม ได้แก่หน่วยหน้าศัพท์ ra- n- และหน่วยกลางศัพท์ –am- (หน้า 35,110)
1.3     เติมหน่วยศัพท์เพื่อทำให้คำแยกประเภทเป็นคำแยกประเภทที่มีความหมายเป็นการแบ่งส่วนหรือการแจงนับ ได้แก่หน่วยหน้าศัพท์ n- (หน้า 36,111)
1.4     เติมหน่วยศัพท์เพื่อทำให้คำบ่งชี้ที่มีหน้าที่ขยายคำนามเป็นคำบ่งชี้ที่มีความหมายแสดงการบ่งเวลา ได้แก่การเติมหน่วยหน้าศัพท์ ra- (หน้า 36,111)
1.5     เติมหน่วยศัพท์เพื่อทำให้คำบอกระยะเวลาที่ไม่แน่นอนเป็นคำบอกเวลาที่แน่นอน  ได้แก่การเติมหน่วยหน้าศัพท์ ra- (หน้า 37,111)
1.6     เติมหน่วยศัพท์เพื่อทำให้คำนามสามัญเป็นคำนามที่มีความหมายชี้เฉพาะกับการบอกทิศทาง คือเติมหน่วยหน้าศัพท์ N- (m-) (หน้า 37,111)
1.7     เติมหน่วยศัพท์เพื่อเปลี่ยนคำนามที่มีความหมายเป็นเครื่องมือ อุปกรณ์เป็นคำกริยาแสดงอาการ  ได้แก่การเติมหน่วยหน้าศัพท์ ra- (หน้า 38,111)
1.8     เติมหน่วยหน้าศัพท์เพื่อสร้างคำกริยาใหม่ (หน้า 39,111) ได้แก่ เติมหน่วยศัพท์เพื่อทำให้คำกริยาแสดงสภาพเป็นคำกริยาการีต หน่วยเติมศัพท์ที่มีหน้าที่นี้คือ หน่วยศัพท์ N-  (หน้า 39,111) เติมหน่วยศัพท์เพื่อทำให้คำกริยาแสดงอาการเป็นคำกริยาแสดงอาการที่มีความหมายเป็นการแสดงการกระทำซ้ำๆ ได้แก่การเติมหน่วยหน้าศัพท์ n- (หน้า 39,111) เติมหน่วยศัพท์เพื่อทำให้คำกริยาแสดงอาการเป็นคำกริยาแสดงสภาพ หน่วยเติมศัพท์ที่ทำหน้าที่นี้คือ n- (หน้า 40, 111)  เติมหน่วยศัพท์เพื่อทำให้คำกริยาการีตเป็นคำแสดงสภาพอันเป็นผลที่เกิดจากการทำกริยาสิ้นสุดลง หน่วยเติมศัพท์ที่ทำหน้าที่นี้ได้แก่ หน่วยหน้าศัพท์ n- และหน่วยกลางศัพท์ –r- (หน้า 40, 111)
                1.9  เติมหน่วยศัพท์เพื่อทำให้คำขยายกริยาเป็นคำกริยาแสดงสภาพ หน่วยเติมศัพท์ที่มีหน้าที่นี้คือหน่วยกลางศัพ์ –an- (หน้า 41,111)
2)         การซ้ำคำ  มี 5 วิธีได้แก่ การเลียนเสียงธรรมชาติซึ่งเป็นการซ้ำเสียงอย่างสมบูรณ์และเป็นการซ้ำเสียงเพียงบางส่วนเพื่อให้มีความหมายเป็นจุดกำเนินของเสียงหรือเครื่องดนตรี (หน้า 42,112) การซ้ำเสียงอย่างสมบูรณ์ เพื่อทำให้หน่วยคำไม่อิสระกลายเป็นคำนามที่มีความหมายเป็นพืชผัก (หน้า 42,112) การซ้ำเสียงกลางศัพท์เพื่อทำให้หน่วยคำไม่อิสระกลายเป็นคำกริยาการีต (หน้า 42,112)  การซ้ำเสียงที่มีหน้าที่นี้คือ เพื่อทำให้หน่วยคำไม่อิสระกลายเป็นคำกริยาแสดงสภาพ (หน้า 43,112)  การซ้ำเสียงอย่างสมบูรณ์บ่งชี้เพื่อทำให้หน่วยคำไม่อิสระกลายเป็นคำขยายกริยา (หน้า 43, 112)
3)         การเปลี่ยนลักษณะน้ำเสียง ได้แก่  การเปลี่ยนลักษณะน้ำเสียงต่ำ-ทุ้ม ให้เป็นลักษณะน้ำเสียงธรรมดาเพื่อทำให้คำกริยาเป็นคำนาม และการเปลี่ยนลักษณะน้ำเสียง ต่ำ-ทุ้ม ให้เป็นลักษณะน้ำเสียงธรรมดา เพื่อทำให้เป็นคำกริยาแยกประเภท (หน้า 44,112)
 
การสร้างคำในภาษาบรู             
           จากการศึกษาการสร้างคำในภาษาบรู ของคนบรูบ้านเวินบึก ตำบลโขงเจียม  อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี (หน้า 4) พบว่ามีการสร้างคำ 2 แบบคือ (หน้า 112)
1)         การเติมหน่วยศัพท์  มีทั้งหมด 5 วิธี (หน้า 112)
1.1     เติมหน่วยศัพท์เพื่อเปลี่ยนคำกริยาให้เป็นคำนาม (หน้า 50,113)ได้แก่ เติมหน่วยศัพท์เพื่อเปลี่ยนคำกริยาแสดงอาการให้เป็นคำนามที่มีความหมายเป็นเครื่องมือ อุปกรณ์ (หน้า 50,113) และเติมหน่วยศัพท์เพื่อเปลี่ยนคำกริยาแสดงอาการให้เป็นคำนามที่มีความหมายเป็นผลที่เกิดขึ้นหลังจากการแสดงกริยาสิ้นสุดลง (หน้า 52,113)
1.2     เติมหน่วยศัพท์เพื่อทำให้คำนามสามัญเป็นคำนามใหม่ที่มีความหมายคล้ายคลึงกับรากศัพท์นั้น ได้แก่หน่วยศัพท์หน้าศัพท์ ra- sa- และหน่วยกลางศัพ์ –a- (หน้า 53,113)
1.3     เติมหน่วยศัพท์เพื่อทำให้คำบ่งชี้ เป็นคำบ่งชี้ที่ทำหน้าที่ประกอบคำนาม หน่วยเติมศัพท์ทำหน้าที่นี้ ได้แก่ หน่วยหน้าศัพท์ ?a- (หน้า 55,113)
1.4     เติมหน่วยศัพท์เพื่อเปลี่ยนคำนามเป็นคำกริยา (หน้า 56,113) เติมหน่วยศัพท์เพื่อเปลี่ยนคำนาม เป็นคำกริยาแสดงอาการ หน่วยศัพท์ที่ทำหน้าที่นี้ หน่วยหน้าศัพท์ ka-~ku- (หน้า 56,113) เติมหน่วยศัพท์เพื่อเปลี่ยนคำนามสามัญ เป็นคำกริยาแสดงอาการ หน่วยเติมศัพท์ที่มีหน้าที่นี้คือ หน่วยกลางศัพท์   –a- (หน้า 56,113)
1.5     เติมหน่วยศัพท์เพื่อสร้างคำกริยาใหม่ (หน้า 57,113) ได้แก่ เติมหน่วยศัพท์เพื่อทำให้คำกริยาแสดงสภาพ คำกริยาแสดงประสบการณ์และคำกริยาแสดงอาการ  เป็นคำกริยาการีต หน่วยเติมศัพท์ที่มีหน้าที่นี้คือ หน่วยหน้าศัพท์  pa-   sa-   ka-  ku- และ maN- (หน้า 57,113)  เติมหน่วยศัพท์เพื่อทำให้คำกริยาแสดงอาการเป็นคำกริยาแสดงอาการที่ทำให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์ หน่วยเติมศัพท์ที่มีหน้าที่นี้คือ หน่วยหน้าศัพท์ sa- (หน้า 61,113) เติมหน่วยศัพท์เพื่อทำให้คำกริยาแสดงอาการเป็นคำกริยาที่เป็นสาเหตุให้เปลี่ยนแปลง (หน้า 61,114) เติมหน่วยศัพ์เพื่อทำให้คำกริยาแสดงอาการที่มีความหมายเป็นการกระทำซ้ำๆ หลายครั้ง (หน้า 63,114)  เติมหน่วยศัพ์เพื่อทำให้คำกริยาแสดงอาการเป็นคำกริยาแสดงอาการที่แสดงกริยาร่วมกันอย่างตั้งใจ  หน่วยเติมศัพท์ที่ทำหน้าที่นี้ได้แก่ n- (หน้า 65,114) เติมหน่วยศัพท์เพื่อทำให้คำกริยาแสดงอาการเป็นคำกริยาแสดงอาการที่แสดงการกระทำโต้ตอบกันหรือร่วมกัน หน่วยเติมศัพท์ที่มีหน้าที่นี้ได้แก่ หน่วยหน้าศัพท์ ra-  (หน้า 65,114) เติมหน่วยศัพท์เพื่อทำให้คำกริยา ที่เป็นเหตุให้เปลี่ยนแปลงเป็นคำกริยาที่มีจุดหมายในการกระทำ หน่วยเติมศัพท์ที่มีหน้าที่นี้คือ หน่วยหน้าศัพท์ pha- (หน้า 66,114) เติมหน่วยศัพ์เพื่อทำให้คำกริยาแสดงอาการเป็นคำกริยาแสดงอาการที่มีความหมายแสดงการกระทำซึ่งก่อให้เกิดความรำคาญ หน่วยเติมศัพท์ที่มีหน้าที่นี้คือ หน่วยหน้าศัพท์ ta- (หน้า 67,114) เติมหน่วยศัพ์เพื่อทำให้คำกริยาแสดงอาการเป็นคำกริยาแสดงอาการที่มีขบวนการในการกระทำซับซ้อน หน่วยเติมศัพท์ที่มีหน้าที่นี้คือ หน่วยกลางศัพท์ –al- (หน้า 68,114) เติมหน่วยศัพ์เพื่อทำให้คำกริยาแสดง สภาพ เป็นคำกริยาแสดงสภาพที่เป็นผลเนื่องจากการกระทำบางอย่าง หน่วยเติมศัพท์ที่มีหน้าที่นี้คือ หน่วยหน้าศัพท์ ta- (หน้า 68,114) เติมหน่วยศัพ์เพื่อทำให้คำกริยาแสดงอาการเป็นคำกริยาแสดงสภาพ หน่วยเติมศัพท์ที่มีหน้าที่นี้ได้แก่ หน่วยหน้าศัพท์ ra- (หน้า 68,114) เติมหน่วยศัพท์เพื่อทำให้คำกริยาแสดงอาการเป็นคำกริยาแสดงอาการที่มีความหมายเป็นการกระทำด้วยตนเอง หน่วยเติมศัพท์ที่มีหน้าที่นี้คือ หน่วยหน้าศัพท์ dan- (หน้า 69,114)  
 
2)         การซ้ำคำ แบ่งเป็นวิธีต่างๆ ดังนี้  การซ้ำเสียงอย่างสมบูรณ์ เพื่อทำให้หน่วยคำไม่อิสระกลายเป็นคำขยายกริยา (หน้า 69,115) การซ้ำเสียงบางส่วน เพื่อทำให้หน่วยคำไม่อิสระกลายเป็นคำกริยาแสดงอาการ (หน้า 70,115) การซ้ำความหมาย เพื่อให้มีความหมายกว้างออกไปจากเดิม (หน้า 71,115)
 
การสร้างคำในภาษาโซ่            
           จากการศึกษาการสร้างคำในภาษาโซ่ ของคนโซ่บ้านโพธิไพศาล ตำบลโพธิไพศาล อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร (หน้า 4) พบว่า มีการสร้างคำ 2 แบบคือ
1)         การเติมหน่วยศัพท์ มี 6 วิธีได้แก่ (หน้า 115)
1.1     การเติมหน่วยศัพท์เพื่อเปลี่ยนคำกริยาเป็นคำนาม ได้แก่ เติมหน่วยศัพท์เพื่อเปลี่ยนคำกริยาแสดงอาการเป็นคำนามที่มีความหมายเป็น เครื่องมือ  อุปกรณ์  หน่วยเติมศัพท์ที่มีหน้าที่นี้คือ หน่วยหน้าศัพท์ ma-   la-  ra-  ran-   N-  sa-  ?a-  และหน่วยกลางศัพท์ –an- (หน้า 77,115)  เติมหน่วยศัพท์เพื่อเปลี่ยนคำกริยาแสดงอาการเป็นคำนามที่มีความหมายเป็นผลอันเกิดจากการกระทำกริยานั้นสิ้นสุดลง หน่วยเติมศัพท์ที่มีหน้าที่นี้คือ หน่วยหน้าศัพท์ ma-  ta-  pa-  sa-  ra-  ka-  ?a-  N- กับหน่วยกลางศัพท์ –in- (หน้า 79,115)
1.2     เติมหน่วยศัพท์เพื่อสร้างคำนามใหม่  ได้แก่ เติมหน่วยศัพท์เพื่อทำให้คำนามสามัญ เป็นคำนามใหม่ซึ่งมีความหมายเกี่ยวข้องกับรากศัพท์นั้น หน่วยเติมศัพท์ที่มีหน้าที่นี้คือ หน่วยหน้าศัพท์ N- (หน้า 82,115)  เติมหน่วยศัพท์เพื่อทำให้คำนามสามัญเป็นคำนามใหม่ที่มีความหมายคล้ายกับคำนามสามัญ หน่วยเติมศัพท์ที่มีหน้าที่นี้คือ หน่วยหน้าศัพท์ N- ra- la- ku- กับ ?a- (หน้า 82,116)
1.3     เติมหน่วยศัพท์เพื่อทำให้คำบ่งชี้เป็นคำกำหนดประเภท ได้แก่เติมหน่วยศัพท์เพื่อทำให้คำบ่งชี้ มีความหมายเป็นคำกำหนดสิ่งของหรือลักษณะการกระทำ หน่วยเติมศัพท์ที่มีหน้าที่นี้คือ หน่วยหน้าศัพท์ sa- kha-~ha-กับ ?a- (หน้า 84,116) เติมหน่วยศัพท์เพื่อทำให้คำบ่งชี้ มีความหมายเป็นการบอกระยะกลายเป็นคำกำหนดเวลาที่แน่นอน ได้แก่  หน่วยหน้าศัพท์ ?a- (หน้า 86,116)
1.4     เติมหน่วยศัพท์เพื่อเปลี่ยนคำกริยาให้เป็นคำแยกประเภท หน่วยศัพท์ที่มีหน้าที่นี้ได้แก่ หน่วยหน้าศัพท์ ra- กับหน่วยกลางศัพท์ –an- (หน้า 116)
1.5     เติมหน่วยศัพท์เพื่อเปลี่ยนคำนามให้เป็นคำกริยา ได้แก่เติมหน่วยศัพท์เพื่อเปลี่ยนคำนามให้เป็นคำกริยาการีต หน่วยเติมศัพท์ที่มีหน้าที่นี้คือ หน่วยหน้าศัพท์ pa- กับ ?a- (หน้า 86,116)
1.6     เติมหน่วยศัพท์เพื่อสร้างกริยาใหม่ ได้แก่
              เติมหน่วยศัพท์เพื่อทำให้คำกริยาแสดงสภาพและคำกริยาแสดงประสบการณ์ เป็นคำกริยาการีต หน่วยเติมศัพท์ที่มีหน้าที่นี้คือ หน่วยหน้าศัพท์ pa-  ta-  ra- กับ ?a-  (หน้า 87,116)  เติมหน่วยศัพท์เพื่อทำให้คำกริยาแสดงอาการ เป็นคำกริยาที่ทำให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์ หน่วยเติมศัพท์ที่มีหน้าที่นี้คือ หน่วยหน้าศัพท์  ?a-  (หน้า 89,116) เติมหน่วยศัพท์เพื่อทำให้คำกริยาแสดงอาการ เป็นคำกริยาที่เป็นสาเหตุให้เปลี่ยนแปลง หน่วยเติมศัพท์ที่มีหน้าที่นี้คือ หน่วยหน้าศัพท์  ?a-  (หน้า 89,116) เติมหน่วยศัพท์เพื่อทำให้คำกริยาแสดงอาการ เป็นคำกริยาที่มีความหมายเป็นการกระทำที่เสแสร้ง หน่วยเติมศัพท์ที่มีหน้าที่นี้คือ หน่วยหน้าศัพท์  ta- (หน้า 90,117) เติมหน่วยศัพท์เพื่อทำให้คำกริยาแสดงอาการ มีความหมายเป็นคำกริยาแสดงสภาพที่แสดงผลอันเกิดจากการแสดงกริยานั้นสิ้นสุดลง หน่วยเติมศัพท์ที่มีหน้าที่นี้คือ หน่วยหน้าศัพท์ la-  ra- (หน้า 90,117) เติมหน่วยศัพท์เพื่อทำให้คำกริยาแสดงอาการ มีความหมายเป็นการกระทำร่วมกันหรือโต้ตอบกัน หน่วยเติมศัพท์ที่มีหน้าที่นี้คือ หน่วยหน้าศัพท์  ra- (หน้า 91,117) เติมหน่วยศัพท์เพื่อทำให้คำกริยาแสดงอาการ มีความหมายเป็นการกระทำซ้ำๆหลายครั้ง หน้าที่นี้หน่วยเติมศัพท์ที่มีหน้าที่นี้คือ หน่วยหน้าศัพท์ ci-  ku- และ N (หน้า 92,117) เติมหน่วยศัพท์เพื่อทำให้คำกริยาแสดงอาการ มีความหมายเป็นการกระทำที่ไร้เป้าหมาย หน่วยเติมศัพท์ที่มีหน้าที่นี้คือ หน่วยหน้าศัพท์ ku-  และเติมหน่วยศัพท์เพื่อทำให้คำกริยาแสดงอาการ มีความหมายเป็นคำสั่งให้ทำกริยา หน่วยเติมศัพท์ที่มีหน้าที่นี้คือ หน่วยหน้าศัพท์ ci-  ha- (หน้า 94,117)
 
2)         การซ้ำคำ  มี 3 วิธีดังต่อไปนี้
2.1     ซ้ำเสียงอย่างสมบูรณ์  เพื่อทำให้หน่วยคำไม่อิสระกลายเป็นคำขยายคำกริยาแสดงอาการ (หน้า 95,117) เพื่อทำให้หน่วยคำไม่อิสระกลายเป็นคำขยายคำกริยาแสดงสภาพ และเพื่อทำให้หน่วยคำไม่อิสระกลายเป็นคำขยายคำนาม (หน้า 95,117)
2.2     ซ้ำเสียงบางส่วน ได้แก่ ซ้ำพยางค์รอง และซ้ำเสียงพยัญชนะต้นกับพยัญชนะท้าย หรือการซ้ำเสียงแต่เฉพาะพยัญชนะต้นกับพยัญชนะท้าย เพื่อทำให้หน่วยคำไม่อิสระเป็นคำขยายคำกริยาแสดงสภาพ (หน้า 96,118)  ซ้ำเสียงสระกับพยัญชนะท้าย เพื่อทำให้หน่วยคำไม่อิสระกลายเป็นคำขยายคำกริยาแสดงสภาพ (หน้า 96,118) ซ้ำเสียงพยัญชนะต้นกับพยัญชนะท้าย เพื่อทำให้หน่วยคำไม่อิสระกลายเป็นคำขยายคำนาม และซ้ำเสียงพยัญชนะต้น เพื่อทำให้หน่วยคำไม่อิสระเป็นคำซ้อน (หน้า 96,118)
2.3     การซ้ำความหมายเพื่อทำให้หน่วยคำอิสระมีความหมายเหมือนเดิม แต่มีเสียงและจังหวะไพเราะขึ้น (หน้า 97,118)

Study Period (Data Collection)

ไม่ได้ระบุ

History of the Group and Community

ความเป็นมาของกูย
         เมื่อก่อนคนกูยตั้งบ้านเรือนอยู่ที่แขวงอัตตะบือ  จำปาศักดิ์  สาระวัน ทางตอนใต้ประเทศลาว ภายหลังได้อพยพข้ามแม่น้ำโขงมาอยู่ในเขตประเทศไทยเช่น จังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ อุบลราชธานี เป็นต้น  (หน้า 28) สำหรับกูยในจังหวัดสุรินทร์นั้นอพยพมาจากเมืองแสนแปหรือแสนปางและอัตตะบือ มาอยู่จังหวัดสุรินทร์ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.2199-2231) กระทั่งถึงสมัยกรุงธนบุรี เมื่อครั้งตั้งเมืองสุรินทร์เมื่อก่อนมีคนกูยอยู่เป็นส่วนใหญ่ มีคนเขมรปนอยู่บ้าง แต่เนื่องด้วยอิทธิพลทางวัฒนธรรมของเขมรเหนือกว่ากูย และกูยสามารถผสมกลมกลืนกับเขมรได้อย่างรวดเร็ว คนไทยจึงเรียกคนเขมรที่เข้ามาอยู่ใหม่ในบริเวณนี้และคนกูยกลายเป็นคนเขมรว่า “เขมรสูง” ส่วนคนเขมรในกัมพูชาเรียกว่า “เขมรต่ำ” ที่เรียกเช่นนี้อาจจะเรียกตามภูมิประเทศเนื่องจากพื้นที่ประเทศไทยนั้นสูงกว่าประเทศกัมพูชา  ทุกวันนี้คนกูยได้กลายเป็นคนไทยเกือบทั้งหมดแล้วแต่ยังมีกลุ่มคนกูยจำนวนเล็กน้อยที่ยังรักษาวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมของตนไว้ (หน้า 29)
 
ความเป็นมาของบรู
            บรูบ้านเวินบึก ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ได้อพยพมาจากประเทศลาว เมื่อ 70-80 ที่ผ่านมา เมื่อก่อนอยู่ในเขตภูเขาทางตอนเหนือของลาว ภายหลังได้อพยพลงมาทางตอนใต้ของประเทศลาว (หน้า 45) หลังจากที่มาอยู่ในแขวงสุวรรณเขต เมื่อลาวตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส คนบรูทนการกดขี่การใช้แรงงานของฝรั่งเศสไม่ไหวจึงอพยพข้ามแม่น้ำโขงมาอยู่ในเขตประเทศไทย โดยมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านเวินบึก ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ทำการศึกษาในครั้งนี้ (หน้า 46)
 
ความเป็นมาของโซ่
               แต่เดิมตั้งรกรากอยู่เมืองมหาชัยกองแก้ว เมืองอู่  เมืองวัง  และเมืองอื่นๆ ในประเทศลาว สาเหตุที่อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเนื่องจากในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.2367-2394) กองทัพไทยได้เข้าตีกรุงเวียงจันทน์ เพื่อปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ เมื่อ พ.ศ.2471และติดตามเจ้าอนุวงศ์ไปถึงเมืองมหาชัยกองแก้วซึ่งเป็นที่ซ่อนตัว (หน้า 72) หลังจากปราบปรามกบฏเจ้าอนุวงศ์ได้สำเร็จ กองทัพไทยก็ได้กวาดต้อนผู้คนจากเมืองมหาชัยกองแก้วให้มาอยู่ที่เมืองนครพนมและนครราชสีมา (หน้า 73)  ต่อมาในภายหลังจึงกระจายไปอยู่หลายพื้นที่ อาทิเช่น จังหวัดสกลนคร อยู่ที่อำเภอกุสุมาลย์  พรรณานิคม อำเภอเมือง และอำเภอส่องดาว (หน้า 73) จังหวัดนครพนม ที่อำเภอท่าอุเทน  ศรีสงคราม บ้านแพงและอื่นๆ จังหวัดมุกดาหาร อยู่อำเภอเมือง คำชะอี ดอนตาล ดงหลวง จังหวัดกาฬสินธุ์ อยู่ที่อำเภอเขาวง กุฉินารายณ์ และสมเด็จ  จังหวัดหนองคาย อยู่ที่อำเภอโซ่พิสัย ฯลฯ  (หน้า 74)
              สำหรับโซ่ที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในจังหวัดสกลนคร มีมากในอำเภอกุสุมาลย์ แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ  คือ กลุ่มที่ 1 อพยพยมาจากเมืองอู่ ประเทศลาว เข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในเมืองเก่า ต่อมาอพยพมาอยู่ที่ตำบลกุสุมาลย์ อำเภอกุสุมาลย์ในปัจจุบัน กลุ่มที่ 2 อพยพมาจากเมืองกะแดงแกงเล็ก ในเขตเมืองมหาชัยกองแก้ว ประเทศลาว แล้วอพยพมาอยู่แถบเมืองนาบน ซึ่งปัจจุบันคือ ตำบลโพธิไพศาล อำเถอสุกุมาลย์ (งานวิจัยชิ้นนี้ศึกษาภาษาโซ่ในกลุ่มนี้คือ บ้านโพธิไพศาล ตำบลโพธิไพศ าล อำเถอสุกุมาลย์) (หน้า 73)

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

กูย - ไม่มีข้อมูล
 
บรู มีคนบรูอยู่ที่บ้านเวินบึก ตำบลบ้านเวินบึก อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี  จำนวน 300 คน  และอยู่ในค่ายอพยพคนลาวในจังหวัดอุบลราชธานีอีก 30 คน  (หน้า 46)
 
โซ่  -ไม่มีข็อมูล

Economy

ไม่มีข้อมูล

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

กูย  - ไม่ไม่มีข็อมูล
 
ศาสนาและความเชื่อของบรู        
            จากการศึกษาพบว่า คนบรูบ้านเวินบึก อพยพมาจากประเทศลาวเมื่อ ประมาณ 70-80 ปีก่อน ในอดีตคนบรูตั้งที่อยู่ในเขตภูเขาทางตอนเหนือของลาว ขณะนั้นคนบรูนับถือผีเจียวซึ่งเป็นผีประจำเผ่า ภายหลังคนบรูได้อพยพลงมาทางตอนใต้ของประเทศลาวได้เดินทางข้ามแม่น้ำหลายแห่ง ในภายหลังคนบรูได้เลิกนับถือผีเจียวเพราะเชื่อว่าผีเจียวไม่สามารถตามพวกตนมาได้ (หน้า 45) หลังจากที่มาอยู่ในพื้นที่แขวงสุวรรณเขต เมื่อลาวตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส คนบรูทนการกดขี่การใช้แรงงานและการเก็บภาษีของฝรั่งเศสไม่ไหวจึงอพยพข้ามแม่น้ำโขงเข้ามาอยู่ในเขตประเทศไทย โดยมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านเวินบึก ต่อมาได้เกิดความแตกแยกเมื่อคนบรูกลุ่มหนึ่งได้เปลี่ยนไปนับถือศาสนาพุทธ และกลุ่มที่นับถือผีได้แยกตัวออกไปตั้งหมู่บ้านอยู่ที่บ้านหินตก ภายหลังทางการจึงให้คนบรูมาอยู่รวมกันที่บ้านเวินบึกอีกครั้งหนึ่ง  แต่ก็ยังมีความแตกต่างทางความเชื่อดังนั้นจึงแยกเป็นกลุ่มบ้านเหนือกับกลุ่มบ้านใต้ที่ยังนับถือผีประจำตระกูลอยู่เช่นเดิม (ดูที่หน้า 46)
 
โซ่  - ไม่มีข็อมูล

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มี

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ตาราง การสร้างคำในภาษากูย บรู และโซ่ (หน้า 98)  หน่วยเติมศัพท์ในภาษากูย บรู และโซ่ที่ปฏิภาคกันทางด้านหน้าที่ (หน้า 99)  หน่วยเติมศัพท์ที่ปฏิภาคหน้าที่กันในภาษากูยกับบรูและบรูกับโซ่ (หน้า 102)   แสดงหน่วยเติมศัพท์ที่มีใช้ในแต่ละภาษา (หน้า 103-106) การสร้างคำโดยการซ้ำคำในภาษากูย บรู และโซ่ (หน้า 107) 

Text Analyst ภูมิชาย คชมิตร Date of Report 23 ก.พ. 2558
TAG กูย บรู โซ่ ภาษา สุรินทร์ อุบลราชธานี สกลนคร, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง