สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject คนยวน ,คติความเชื่อ, พิธีกรรม, ศาลแม่นางตะเคียน, สระบุรี
Author จริน โพลงเงิน
Title ประเพณีพิธีกรรมของชาวยวนบ้านเสาไห้ ตำบลเสาไห้ อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ไทยวน ยวน ยวนสีคิ้ว คนเมือง, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน) Total Pages 197 Year 2540
Source วิทยานิพนธ์ตามหลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยคดีศึกษา(เน้นมนุษยศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Abstract

เนื้อหาของงานกล่าวถึงการศึกษาเรื่ององค์ประกอบและขั้นตอนและความเชื่อเกี่ยวกับพิธีเซ่นไหว้ศาลแม่นางตะเคียน ของคนยวนบ้านเสาไห้ ตำบลเสาไห้ อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ซึ่งจากการศึกษาพบว่าคนยวนจะทำพิธีเซ่นไหว้แม่นางตะเคียนเป็นประจำทุกวันที่ 23 เมษายน ของทุกปีการทำพิธีเซ่นไหว้ก็เพื่อขอบคุณแม่นางตะเคียนที่ช่วยคุ้มครองคนยวนบ้านเสาไห้ ให้ชีวิตอยู่เย็นเป็นสุข และขอบคุณที่ช่วยเหลือให้ได้ในสิ่งที่บนเอาไว้ สำหรับเรื่องที่บนส่วนมากจะเป็นการขอให้มีโชคลาภ ขอให้หายจากการเป็นไข้ไม่สบาย ขอให้สอบได้และการบนเมื่อจะไปเกณฑ์ทหาร สำหรับขั้นตอนการทำพิธีนั้นคนยวนจะจัดเครื่องบูชาและครื่องบวงสรวงไว้สำหรับแม่นางตะเคียนและสัมพะเวสีเสมอเพื่อให้เกิดความครบสมบูรณ์ในการทำพิธีสำหรับสิ่งของที่นำมาทำพิธีนั้นมีความแตกต่างกันเนื่องจากคนยวนเชื่อว่าแม่นางตะเคียนณเป็นดวงวิญาณของเทพดังนั้นจึงไม่ถวายเหล้าหรือเนื้อสัตว์แต่วิญญาณของสัมพะเวสีเป็นผีดังนั้นจึงถวายเหล้าและเนื้อสัตว์เพื่อให้เห็นความแตกต่างกัน และแสดงความขอบคุณที่ช่วยดูแลคนยวนให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุขและแสดงถึงความสามัคคีของคนยวนในความศรัทธาที่มีต่อแม่นางตะเคียน 

Focus

เพื่อศึกษาองค์ประกอบ ขั้นตอนของพิธีกรรม และศึกษาคติความเชื่อเกี่ยวกับพิธีกรรมบวงสรวงศาลแม่นางตะเคียน กับวิถีชีวิตของชาวยวนบ้านเสาไห้  ตำบลเสาไห้ อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี (หน้า 5)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

คนยวนในงานวิจัยผู้เขียนเรียก “ชาวยวน” คือคนไทยล้านนาที่ย้ายที่อยู่มาตั้งรกรากอยู่ที่ อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี (หน้า 8)

Language and Linguistic Affiliations

ชาวยวนบ้านเสาไห้มีสำเนียงการพูดและภาษาเหมือนกับคนไทยที่อยู่ในภาคเหนือ (หน้า 8) นอกจากนี้คนยวนบ้านเสาไห้ยังมีผู้พูดภาษาไทยสำเนียงกรุงเทพฯและสำเนียงอีสานอีกด้วย (หน้า 60)

Study Period (Data Collection)

ระยะเวลาการค้นคว้าเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ.2540 (หน้า 6)

History of the Group and Community

ประวัติบ้านเสาไห้
           หมู่บ้านแห่งนี้ตั้งเมื่อ พ.ศ.2442 เมื่อก่อนมีชื่อว่าบ้านไผ่ล้อมน้อย ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็นบ้านเสาไห้ (หน้า 46) เพราะนำชื่อมาจากเรื่องที่ว่ามีเสาร้องไห้ เสาที่ว่านี้เป็นเสาตะเคียนทอง ยาว 13 เมตร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.75 เมตร เสานี้ร้องไห้เสียใจเนื่องจากไม่ได้ถูกเลือกให้สร้างเป็นเสาเอกของปราสาทราชวังที่ประทับของเชื้อพระวงศ์พระองค์หนึ่งในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ นางตะเคียนที่อยู่ในเสาได้ร้องไห้แล้วลอยทวนน้ำจนชาวบ้านที่อยู่บริเวณนั้นได้ยินเสียงร้องไห้คร่ำครวญดังกล่าว กระทั่งเสาตะเคียนท่อนนั้นได้ลอยมาจมที่แม่น้ำป่าสักไม่ไกลจากที่ว่าการอำเภอเสาไห้ในทุกวันนี้ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 50 เมตร (หน้า 47)
 
ประวัติคนยวนบ้านเสาไห้
           เมื่อ พ.ศ.2347 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ไปตีเชียงแสน ได้รับชัยชนะจึงอพยพคนเชียงแสน 23,000 ครอบครัว (แต่เจ้าพระยาทิพากรวงศ์. 2526 : 184 บอกว่า 23,000 คน) ไปอยู่พื้นที่อื่นๆ 5 แห่ง ได้แก่ที่ เชียงใหม่ นครลำปาง เมืองน่าน เมืองเวียงจันทน์ และส่วนหนึ่งถวายมากรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านเรือนที่จังหวัดสระบุรี ในอำเภอเสาไห้ปัจจุบัน และที่อำเภอคูบัว จังหวัดราชบุรี คนเหล่านี้เรียกตัวเองว่า “คนไทยยวน” ซึ่งหมายถึงชาวเมืองโยนกเดิม (ตรี อมาตยกุล. 2513 : 49-57) (หน้า 10-11) หรือเรียกตัวเองว่า “คนยวน” (หน้า 57) คนยวนรุ่นแรกที่อพยพมาที่สระบุรี อำเภอเสาไห้ปัจจุบัน ตั้งบ้านเรือนอยู่สองฝั่งแม่น้ำป่าสัก บางหมู่บ้านก็ตั้งชื่อตามชื่อถิ่นเดิมของตน เช่น เดิมเป็นชาวพะเยาว์ เรียกว่า บ้านพะเยาว์ เป็นต้น บางหมู่บ้านเรียกชื่อตามชื่อหัวหน้ากลุ่ม เช่น บ้านเจ้าฟ้า และบ้านสิบโต๊ะ (พิเนตร น้อยพุทธา. 2539 :  27-28) (หน้า 57-58) ปู้เจ้าฟ้า และปู้สิบโต๊ะ (ปู่หนานโต๊ะ) เป็นคนยวนรุ่นแรกที่อพยพมาจากเชียงแสน ที่คนยวนปัจจุบันจำได้มาจนถึงทุกวันนี้ (หน้า 58)

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

             บ้านเสาไห้ มี 364 ครอบครัว ประชากรทั้งหมด 1,301 คน  แบ่งเป็น 3 หมู่ ได้แก่
หมู่ 3 มี 118 ครอบครัว ประชากร 564 คน เป็นผู้ชาย 280 คน และผู้หญิง 284 คน 
หมู่ 4 มี 76 ครอบครัว มีประชากรทั้งหมด 235 คน ผู้ชาย 109 คน และผู้หญิง 126 คน
หมู่ 5 มี 170 ครอบครัว  ประชากร 502 คน ผู้ชาย 259 คนและผู้หญิง 243 คน (หน้า 50) 

Economy

เศรษฐกิจ
           คนยวนบ้านเสาไห้ส่วนมากทำอาชีพเกษตรกรรมเช่น ทำสวน ทำไร่ เช่นปลูกข้าวโพด ปลูกอ้อย ซึ่งส่วนใหญ่มีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อ (หน้า 55) นอกจากนี้ยังทำอุตสาหกรรมในครัวเรือนเป็นรายได้เสริมหล่อเลี้ยงครอบครัว เช่น ทำข้าวตอก ข้าวเม่า ขายอีกด้วย ส่วนใหญ่นำออกไปจำหน่ายเอง (หน้า 56) 

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

การปกครอง
            มี 3 หมู่บ้าน ประกอบด้วย หมู่ 3 กับหมู่ 4 มีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้นำ หมู่ละ 1 คน ส่วนหมู่ 5 มีกำนันเป็นผู้นำ (หน้า 50)

Belief System

ศาสนาและความเชื่อของชาวยวนบ้านเสาไห้
           คนยวนบ้านเสาไห้นับถือศาสนาพุทธและมีความเชื่อเรื่องผี (หน้า 60) คำว่า “ผี” คนยวนหมายถึงวิญญาณของผู้ที่ตายไปแล้วมาแสดงให้เห็นในลักษณะต่างๆ กัน ผีที่คนยวนเชื่อถือประกอบด้วยผีชนิดต่างๆ ดังต่อไปนี้  (หน้า 69)
           ผีเรือนเรียกว่า “ผีปู่ย่า” หรือ “ผีรักษา” คือวิญญาณของบรรพบุรุษในตระกูลที่เสียชีวิตไปแล้ว คนยวนจะเชิญมาไว้ที่บ้านเพื่อคุ้มครองดูแลลูกหลานให้มีชีวิตเจริญก้าวหน้ามีความสุข  การทำพิธีเลี้ยงผีเรือนมักจะทำช่วงสงกรานต์  เมื่อลูกหลานแต่งงาน หรือเจ็บป่วยไม่สบายก็จะทำพิธีเลี้ยงผีเรือน ทั้งนี้ผีเรือนซึ่งเป็นผีปู่ผีย่ามีทั้งคุณและโทษถ้าหากลูกหลานทำให้โกรธเคืองก็อาจทำให้ลูกหลานไม่สบาย วิธีแก้ไขก็คือต้องทำพิธีเซ่นไหว้ขอขมา (หน้า 70)
         บ้านคนยวนจะมีหิ้งผีปู่ย่าติดไว้ที่ฝาสูง บางบ้านก็ตั้งเป็นศาลในบริเวณบ้านคล้ายกับศาลพระภูมิ เมื่อลูกหลานแยกเรือนไป บางครอบครัวก็จะแยกผีไปอยู่ที่เรือนของตน แต่ส่วนมากตระกูลหนึ่ง มักจะมีผีปู่ย่าไว้ที่บ้านหลังใดหลังหนึ่งเท่านั้น เมื่อจะเซ่นไหว้จะฆ่าหมูเป็นๆ ที่หน้าศาล บางบ้านใช้ควายเข้าตู้(ควายที่มีเขาสั้นๆ เพียงหู ถือว่าอุบาท) มาฆ่าเซ่นที่หน้าศาล (หน้า 70)
          ผีประจำหมู่บ้าน คนยวนจะสร้างศาลไว้ในหมู่บ้าน (หน้า 70)เพื่อให้เป็นที่อยู่กับวิญญาณของผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว ผีประจำหมู่บ้านอาจให้ทั้งคุณและโทษ การทำพิธีเซ่นไหว้จะจัดในวันสงกรานต์ สิ่งของที่นำมาไหว้จะประกอบด้วยอาหารคาว หวานและเหล้า (หน้า 71)
          แม่นางธรณีคือเทพประจำพื้นดิน การเซ่นไหว้บูชา เมื่อถึงวันพระ ในช่วงเช้าชาวยวน จะเซ่นไหว้โดยนำข้าวสุกปากหม้อคลุกเคล้ากับน้ำตาล วางไว้เป็นกองบนใบตอง จำนวน 5 กอง ถวายแม่นางธรณี  เพื่อขอให้ปกปักรักษาให้โชคดีมีสุข  กรณีจะเดินทางไกลชาวยวนก็จะขอให้แม่นางธรณีคุ้มครอง คือเมื่อเดินมาถึงบันไดขั้นสุดท้ายก็จะกลั้นหายใจแล้วก็หยิบดินวางบนหัว 3 ก้อน ด้วยเชื่อว่าแม่นางธรณีจะดูแลให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ  (หน้า 71)
          ผีประจำวัดคือผีที่อยู่ที่วัดมี 3 อย่างได้แก่ ผีเสื้อวัด เปรต และผีในป่าช้า  ในจำนวนผีประจำวัด ผีเสื้อวัดจะมีศักดิ์ศรีสูงที่สุด คนยวนจะตั้งศาลไว้ใต้ต้นโพธิ์ในบริเวณวัด (หน้า 71)
          ผีประจำท้องนาหรือ”เสื้อนา” การเซ่นไหว้จะจัดในเดือนหกของทุกปีที่นาของแต่ละครอบครัว ส่วนของเซ่นจะเป็นขนมบัวลอย (หน้า 71)
            ผีที่อยู่ในตัวคน หรือ “ผีปอบ” มีทั้งผู้หญิงผู้ชาย ต้นเหตุที่ทำให้กลายเป็นปอบ คนยวนเชื่อว่าผีปู่ย่าไม่พอใจ (หน้า 71) ที่ลูกหลานไม่ดูแลจึงเข้ามาสิง นอกจากนี้ยังติดต่อกันโดยทางการแต่งงานหากแต่งกับคนที่เป็นปอบก็อาจจะเป็นตามไปด้วย และติดต่อทางกรรมพันธุ์หากพ่อแม่เป็นปอบก็จะตกทอดไปถึงลูกหลานซึ่งจะมีคนใดคนหนึ่งสืบทอดต่อจากบรรพบุรุษ (หน้า 72)
          ผีที่มาตามคำขอคือผีที่มีคุณได้แก่ผีเจ้าพ่อ ผีเจ้าแม่ โดยจะมาเข้าทรงผ่านร่างทรง ซึ่งก่อนที่จะต้องยกขันครูกล่าวคำอันเชิญซะก่อน เจ้าจึงจะเข้าร่างทรงที่ทำพิธีอันเชิญในครั้งนั้น (หน้า 72)
 
 แม่นางตะเคียนกับคนยวนบ้านเสาไห้
            จากการศึกษาระบุว่า คนยวนมีความเชื่อว่าวิญญาณของแม่นางตะเคียนนั้นศักดิ์สิทธิ์ หากมีเรื่องเดือดร้อนไม่สบายใจก็จะทำพิธีเซ่นไหว้ขอให้แม่นางตะเคียนช่วยเหลือ  ซึ่งนอกจากการทำพิธีเซ่นไหว้ประจำปี คนยวนก็จะทำพิธีบนและแก้บน  สำหรับการบนที่ประสบผลสำเร็จนั้นมี 4อย่างด้วยกันได้แก่ การขอโชคลาภ ขอให้หายจากการเป็นไข้ไม่สบาย  ขอให้สอบได้  กับการบนตอนไปเกณฑ์ทหาร  การบนจะแต่งขัน 5ไปบนที่ศาลแม่นางตะเคียนที่วัดสูงหรือไม่ก็บนผ่านร่างทรง  ถ้าแม่นางตะเคียนบันดาลให้ได้ในสิ่งที่ต้องการตามที่บนไว้ คนที่บนก็จะไปทำพิธีแก้บน (หน้า 154) สำหรับการแก้บนก็จะแต่งขัน 5พร้อมด้วยสิ่งของที่บนไว้ไปแก้บนที่ศาลแม่นางตะเคียน สำหรับความเชื่อของคนยวนถ้าบนสิ่งใดไว้ก็ต้องทำตามนั้นถ้าหากไม่ทำก็เชื่อว่าแม่นางตะเคียนจะโกรธเคืองดลบันดาลให้ได้รับความเดือดเนื้อร้อนใจ  (หน้า 155)
 
พิธีเซ่นไหว้ศาลแม่นางตะเคียน 
           การทำพิธีเซ่นไหว้ศาลแม่นางตะเคียนของคนยวนบ้านเสาไห้จะจัดทุกวันที่ 23 เมษายน ของทุกปี (หน้า 60,168) จากการศึกษาพบว่า ความเชื่อเกี่ยวกับองค์ประกอบของพิธีกรรม แบ่งออกเป็น 4 องค์ประกอบได้แก่ (หน้า 158)
           ความเชื่อของบุคคลที่เข้าร่วมพิธีกรรม  โดยแบ่งออกเป็นข้อต่างๆ คือ 
ความเชื่อที่มีต่อร่างทรง โดยเชื่อว่าร่างทรงนั้นสามารถอัญเชิญแม่นางตะเคียนให้มาเข้าทรงเพื่อช่วยเหลือคนที่เดือดร้อน สำหรับคนที่เดือดร้อนก็จะแต่งขัน 5 เพื่อมาเซ่นไหว้แม่นางตะเคียน สำหรับเรื่องที่ขอส่วนใหญ่ผู้เขียนบอกว่า จะเป็นเรื่องเข้าทรงหาคนหายกับหาสิ่งของที่หาย (หน้า 143)
         ความเชื่อของผู้ที่เข้าร่วมพิธีกรรม คนยวนบ้านเสาไห้มีความเชื่อที่สืบทอดกันมาว่า (หน้า 143) แม่นางตะเคียนมีจริง โดยจะช่วยเหลือชาวยวนผ่านร่างทรง แม่นางตะเคียนเป็นรุกขเทวดาที่ศักดิ์สิทธิ์สามารถให้คุณให้โทษ มีหน้าที่คอยดูแลให้คนยวนมีแต่ความสุขความเจริญ (หน้า 144) การทำพิธีเซ่นไหว้จึงเป็นประเพณีที่ทำกันมาทุกปีกระทั่งจนถึงทุกวันนี้ (หน้า 145)
           ความเชื่อของคนที่มาแก้บน ก็เพื่อขอบคุณแม่นางตะเคียนหลังจากประสบผลสำเร็จถึงสิ่งที่ได้บนเอาไว้ ซึ่งถ้าหากไม่แก้บนเหมือนกับที่สัญญาก็อาจทำให้แม่นางตะเคียนโกรธและทำให้คนที่บนแต่ไม่แก้บนเหมือนที่สัญญาอาจเดือดร้อน (หน้า 145)
            สำหรับความเชื่อเกี่ยวกับวัตถุและสิ่งของที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรม ได้แบ่งอุปกรณ์ต่างๆดังนี้ เครื่องบูชาประกอบด้วยเครื่องบูชาแม่นางตะเคียนเป็นเครื่องบูชาสำหรับเทพได้แก่ ธูป 6 ดอก เทียน 1 คู่ ชุดบายสี 16 ชั้น จำนวน 2 ชุด และน้ำหอม กับเครื่องบูชาสัมพเวสีเป็นเครื่องบูชาภูตผี ธูป เทียน ดอกไม้ บายสีปากชามซ้าย-ขวา ข้าวปากหม้อ และไข่ต้ม (หน้า 146) และเครื่องบวงสรวง ประกอบด้วยเครื่องบวงสรวงแม่นางตะเคียนอาหารเจ ผลไม้ น้ำดื่มสะอาด ผ้าแพร 3 สี กับเครื่องบวงสรวงสัมพเวสี ข้าว อาหารคาว หัวหมู ไก่ต้มสุก ของหวาน มะพร้าวอ่อน กล้วยน้ำว้า ขนมต้มแดงต้มขาว เครื่องดื่มเป็นเหล้าขาว 2 ขวด ทั้งหมดใช้อย่างละ 2 ชุด (หน้า 147)สำหรับภาชนะที่ใช้ใส่เครื่องบูชาและเครื่องบวงสรวงแม่นางตะเคียน และภาชนะที่ใช้ใส่เครื่องบูชาและเครื่องบวงสรวงสัมมพเวจะแตกต่างกันเนื่องจากคนยวนเชื่อว่าสัมพเวสีเป็นวิญญาณเร่ร่อน มีศักดิ์ต่ำกว่ารุกขเทวดา ภาชนะที่ใช้จึงเป็นภาชนะธรรมดาไม่พิถีพิถัน แต่การจัดเครื่องบูชาและเครื่องบวงสรวงสัมพเวสีจะเป็น 2 ชุดเสมอ ส่วนของแม่นางตะเคียนจะใช้พานทองและพานเงินเป็นภาชนะใส่เครื่องบูชาและเครื่องบวงสรวง (หน้า 148-149)
           ความเชื่อเกี่ยวกับสถานที่ประกอบพิธี  พิธีจะจัดภายในศาลแม่นางตะเคียน เพื่อบูชาแม่นางตะเคียนและญาติมิตร ส่วนข้างศาลจะทำพิธีเซ่นไหว้ผีไร้ญาติ ที่คอยดูแลอารักขาแม่นางตะเคียน (หน้า 149)
           ความเชื่อเกี่ยวกับวันและเวลาในการประกอบพิธีกรรม  วันจัดพิธีในวันที่ 23 เมษายนของทุกปี การประกอบพิธีจะทำช่วงเช้าก่อนเที่ยง (หน้า 150,161)
           ขั้นตอนในการประกอบพิธีกรรมแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนได้แก่ ความเชื่อเกี่ยวกับขั้นตอนวางแผนในการประกอบพิธีกรรม  ได้แก่ขั้นวางแผนในการประกอบพิธีกรรมของเจ้าพิธี(หน้า 151) กับขั้นวางแผนในการประกอบพิธีกรรมของคนยวนบ้านเสาไห้ (หน้า 151-152,161) และความเชื่อเกี่ยวกับขั้นดำเนินงาน (หน้า 161) มี 4 ขั้นตอนคือ
           ขั้นรวมพลัง คนยวนจะมารวมตัวกันที่วัดสูงเพื่อเตรียมงานและแสดงให้เห็นถึงความสามัคคีในการเตรียมงานประกอบพิธีเซ่นไหว้แม่นางตะเคียน (หน้า 152)
           ขั้นจัดขบวนแห่ คือการแห่ขบวนเครื่องบูชาและบวงสรวงที่จะนำไปถวายแม่นางตะเคียนโดยจะแห่รอบศาลที่ตั้งของเสาไม้ตะเคียนเป็นจำนวน 9 รอบ เพื่อแสดงถึงความพร้อมเพรียงและความศรัทธาของคนยวนบ้านเสาไห้ที่มีแต่แม่นางตะเคียน (หน้า 153)
          
ขั้นถวายผ้าป่า การทอดผ้าป่าถวายวัดสูงเนื่องจากเชื่อว่าเป็นการทำบุญให้แม่นางตะเคียนและญาติๆเพื่อขอให้ดูแลรักษาคนยวนบ้านเสาไห้ต่อไป (หน้า 153)
          
ขั้นกระทำพิธีบวงสรวง เครื่องบูชาและเครื่องบวงสรวงแม่นางตะเคียนและสัมพะเวสีมีความแตกต่างกัน เพราะดวงวิญญาณของแม่นางตะเคียนเป็นเทพดังนั้นสิ่งของที่นำมาถวายจึงไม่ใช้เหล้าและเนื้อสัตว์ สำหรับสัมพะเวสีเป็นวิญญาณจะเซ่นไหว้ด้วยเหล้าและเนื้อสัตว์ การถวายสิ่งของที่ไม่เหมือนกันเพื่อให้เห็นถึงความต่างนั่นเอง (หน้า 153,162) 

Education and Socialization

สถานศึกษา          
            หมู่บ้านเสาไห้มีโรงเรียนหนึ่งแห่งชื่อโรงเรียนวัดสูง (สูงสง่าวิทยาคาร) เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียนจำนวน 553 คน และครู อีก 20 คน (หน้า 51) 

Health and Medicine

สถานรักษาพยาบาล
          ชาวบ้านเสาไห้ไปรับการรักษาและบริการด้านสุขภาพอนามัยที่โรงพยาบาลชุมชนเสาไห้ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 10 เตียง (หน้า 54)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

การละเล่นที่สนุกสนานคือ ชักเย่อ โดยเอาหนังมาดึงกัน ใครแพ้จะถูกปรับให้ฟ้อนให้ดู ฝ่ายชนะจะเป่าแคน หรือปรมมือให้จังหวะ การละเล่นในปีใหม่ ตรุษสงกรานต์จะมี ชักเย่อ มอญซ่อนผ้า ไม้อื่อหรือไม้หึ่ง ทรงเจ้าเข้าผีแม่ศรี ผีกะลา และมีการทรงปู่เจ้าที่ศาลเจ้า (หน้า 59-60)

Folklore

การละเล่นที่สนุกสนานคือ ชักเย่อ โดยเอาหนังมาดึงกัน ใครแพ้จะถูกปรับให้ฟ้อนให้ดู ฝ่ายชนะจะเป่าแคน หรือปรมมือให้จังหวะ การละเล่นในปีใหม่ ตรุษสงกรานต์จะมี ชักเย่อ มอญซ่อนผ้า ไม้อื่อหรือไม้หึ่ง ทรงเจ้าเข้าผีแม่ศรี ผีกะลา และมีการทรงปู่เจ้าที่ศาลเจ้า (หน้า 59-60)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

คนยวนบ้านเสาไห้ เรียกตัวเองว่า “คนยวน” (หน้า 57) หรือ “คนไทยยวน” (หน้า 11)

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

องค์ประกอบและขั้นตอนของพิธีเซ่นไหว้ศาลแม่นางตะเคียนประกอบด้วย
          1) คนที่เข้าร่วมพิธีได้แก่ เจ้าพิธีคือนายเผ่า จันทร์ประสิทธิ์ซึ่งเป็นผู้นำในการนำเสาไม้ตะเคียนขึ้นจากแม่น้ำป่าสัก (หน้า 76 ภาพหน้า 79) ร่างทรง คือผู้เป็นตัวกลางในการติดต่อระหว่างดวงวิญญาณของแม่นางตะเคียนกับชาวบ้าน ร่างทรงต้องเป็นคนที่วิญญาณเลือก ในบ้านเสาไห้มีร่างทรงเก่าที่เลิกทำหน้าที่ไปแล้ว 3 คน (หน้า 80) และร่างทรงคนปัจจุบันเป็นหญิงชื่อนางภัชราภรณ์ ศรีประเสริฐ อายุ 40 ปี (หน้า 81 ภาพร่างทรงหน้า 81-83) และคนที่เข้าร่วมพิธีได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ชาวยวนบ้านเสาไห้ โดยทั่วไป(หน้า 86)
บทบาทของร่างทรงในสังคมบ้านเสาไห้
           ความเชื่อของคนยวนบ้านเสาไห้ ทำให้ร่างทรงมีบทบาท 3 อย่างด้วยกันคือ 1) บทบาทในฐานะแม่นางตะเคียนซึ่งคนยวนเชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์สามารถให้ทั้งคุณและโทษถ้ามีเรื่องเดือดร้อนก็จะมาทำพิธีขอให้แม่นางตะเคียนช่วยเหลือ   2) บทบาทในฐานะที่เป็นสื่อกลางการติดต่อระหว่างคนยวนกับแม่นางตะเคียน ซึ่งคนยวนเชื่อว่าถ้าแม่นางตะเคียนจะบอกสิ่งใดก็จะบอกผ่านร่างทรง  (หน้า 85)  3) บทบาทในฐานะที่เป็นตัวเองเหมือนกับคนยวนบ้านเสาไห้คนอื่นๆ ที่มีความเป็นอยู่แบบช่วยเหลือเกื้อกูลกัน (หน้า 86)
          2) วัตถุสิ่งของที่ใช้ในพิธี ประกอบด้วยเครื่องบูชา เครื่องบวงสรวงกับภาชนะใส่เครื่องบูชาและเครื่องบวงสรวง สำหรับเครื่องบูชาแบ่งเป็น 2 อย่างคือ เครื่องบูชาแม่นางตะเคียน  ได้แก่ ธูป 16 ดอก เทียน 1 คู่ ชุดบายศรี 16 ชั้น ทำด้วยใบกล้วยแต่ละชั้นจะใส่ดอกไม้ 3 อย่างเช่น ดอกมะลิ ดอกซ่อนกลิ่น ดอกดาวเรือง และน้ำหอม (หน้า 87,158ภาพหน้า 88,89) ส่วนเครื่องบูชาสัมพเวสีจะใช้ ธูป 1 ดอก เทียน 1 คู่ ดอกไม้(ดอกลั่นทมหรือดอกจำปาสีขาวหรือสีเหลือง) บายศรีปากชามซ้าย-ขวา ข้าวปากหม้อ และไข่ต้ม (หน้า 89,158 ภาพบายศรีปากชาม หน้า 92) ส่วนเครื่องบวงสรวงแม่นางตะเคียนได้แก่ เครื่องดื่ม ผลไม้กับผ้าแพร(หน้า 95) สำหรับเครื่องบวงสรวงสัมพเวสี จะเป็นข้าว เหล้าขาว 2 ขวด อาหารคาวจะเป็นหัวหมูวางซ้าย ขวา(ภาพหน้า 100) ไก่ต้ม 2 ตัว ผลไม้จะเป็นมะพร้าว กล้วยน้ำว้า  ขนมต้มแดงต้มขาวอย่างละถ้วย (หน้า 98,99,159 ภาพหน้า 99-103)  ส่วนภาชนะใส่เครื่องบูชากับเครื่องบวงสรวงแม่นางตะเคียน จะใช้พานเงินพานทอง 2 พาน  แก้วน้ำ ถาดโลหะ พานเงิน 2 ใบ (ภาพหน้า 104-108) สำหรับเครื่องบูชากับเครื่องบวงสรวงสัมพเวสีจะใส่แก้วน้ำ  ขวดเหล้า  ถ้วย  จานโลหะและถาดโลหะ เป็นต้น (หน้า 159 เรื่องและภาพ109-113,หน้า 146-149)
          3) สถานที่ประกอบพิธี คือภายในบริเวณศาลแม่นางตะเคียนในนี้จะทำพิธีเซ่นไหว้แม่นางตะเคียนและรุกขเทวดาญาติพี่น้องของแม่นางตะเคียน คือแม่นางลั่นทมกับแม่นางแสงจันทร์กับจัดพิธีที่บริเวณข้างศาล จะทำพิธีเซ่นไหว้สัมพเวสีที่อยู่บริเวณวัดสูง (หน้า 159 ภาพหน้า 114-116)
          4) เวลาทำพิธี ไม่กำหนดเวลาที่ชัดเจนแต่จะอยู่ในช่วงเช้าก่อนถึงเที่ยงวัน (หน้า 117,160)
                ส่วนขั้นตอนของพิธีกรรมประกอบด้วยขั้นวางแผน โดยจะจัดเตรียมสิ่งต่างๆ ได้แก่ การเตรียมเครื่องบูชากับเครื่องบวงสรวง  การเตรียมกองผ้าป่า(หน้า 118) และเตรียมวงกลองยาว(หน้า 118) ส่วนขั้นดำเนินการประกอบด้วย  ขั้นรวมพลัง (หน้า 119) ขั้นจัดขบวนแห่ (หน้า 121) ขั้นถวายผ้าป่า  (หน้า 122) และขั้นประกอบพิธีบวงสรวง (หน้า 122-126,160)

Map/Illustration

แผนที่จังหวัดสระบุรี (หน้า 42) อำเภอเสาไห้ (หน้า 45)
แผนผัง บ้านเสาไห้ (หน้า 49)
ภาพที่ว่าการอำเภอเสาไห้ (หน้า 46) ทางเข้าหมู่บ้านเสาไห้ (หน้า 48) โรงเรียนวัดสูง (หน้า 51) วัดสูง (หน้า 52) วัดเสาไห้ (หน้า 53) โรงพยาบาลเสาไห้ (หน้า 54) นาข้าว(หน้า 55) การทอผ้า (หน้า 56) เสาไม้ตะเคียน (หน้า 75)  เจ้าพิธี,ผู้ฝันถึงเสาไห้ (หน้า 79) ผู้ให้ข้อมูล (หน้า 81-83) เครื่องบูชาแม่นางตะเคียน,บายศรี 16 ชั้น (หน้า 88)น้ำอบไทย(หน้า 89) เครื่องบูชา สัมพเวสี (หน้า 90-94) น้ำดื่ม ผลไม้ ผ้าแพร 3 สีเครื่องบวงสรวงแม่นางตะเคียน (หน้า 95-97) เครื่องเซ่นไหว้สัมพเวสี (หน้า98-103,109-113) เครื่องเซ่นไหว้แม่นางตะเคียน(หน้า 104-108,114-125) การเซ่นไหว้สัมพเวสี (หน้า 126

Text Analyst ภูมิชาย คชมิตร Date of Report 20 ส.ค. 2556
TAG คนยวน, คติความเชื่อ, พิธีกรรม, ศาลแม่นางตะเคียน, สระบุรี, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง