สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject คะยัน กะจ๊าง กะเหรี่ยงคอยาว (ปาดอง) ลักษณะใบหน้า ลักษณะฟัน ห่วงทองเหลือง แม่ฮ่องสอน
Author ดลใจ ชวนะภูธร
Title Facial and Dental Characteristics of Padaung Women Wearing Brass Neck-Coils (Long-Neck Karen) in Mae Hong Son Province, Thailand
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity กะยัน แลเคอ, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร  Total Pages 77 Year 2546
Source วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาทันตกรรมจัดฟัน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Abstract

เป็นการศึกษาลักษณะใบหน้าและฟันของผู้หญิงชนเผ่ากะเหรี่ยงคอยาวที่มีการสวมใส่ห่วงคอทองเหลืองเป็นประจำในจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยใช้การเปรียบเทียบรูปหน้าและฟันจากการวัดรูปหน้า การถ่ายรูปหน้าตรงและด้านข้าง และการวัดลักษณะของฟันระหว่างผู้หญิงกะเหรี่ยงคอยาวที่สวมใส่ห่วงคอทองเหลืองกับผู้หญิงเผ่ากะเหรี่ยงแดงที่ไม่มีการใส่ห่วงคอทองเหลืองในกลุ่มอายุ 5-15 ปี และ 15 ปีขึ้นไป เพื่อสังเกตความแตกต่างและผลกระทบของการใส่ห่วงคอทองเหลืองที่อาจจะมีผลต่อการเจริญของกระดูก Mandible ซึ่งรวมถึงโครงสร้างระหว่างกระดูก Maxilla และ Mandible และโครงสร้างที่เกี่ยวข้อง

ผลการศึกษาพบว่าการใส่ห่วงคอทองเหลืองมีผลทำให้เกิดความแตกต่างของรูปหน้าและฟันระหว่างกลุ่มตัวอย่างทั้งสอง เช่น ผู้หญิงที่ใส่ห่วงคอทองเหลืองจะสามารถอ้าปากได้กว้างน้อยกว่า ส่วนล่างของใบหน้าสั้นกว่า ความกว้างของแนวโค้งระหว่างฟันเขี้ยวล่างมีความแคบกว่า กลุ่มที่ไม่มีการใส่ห่วงคอทองเหลืองเป็นต้น
จากการศึกษาดังกล่าวสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในทางคลินิกได้ว่า การใช้อุปกรณ์ที่เพิ่มแรงกดให้กับขอบล่างของกระดูก Mandible อาจจะเป็นแนวทางการรักษาที่เป็นไปได้สำหรับบางกรณีที่มีการเจริญเติบโตทางแนวตั้งที่โดดเด่น


การสวมใส่ห่วงคอทองเหลืองของผู้หญิงปาดอง ทำให้เกิดความแตกต่างของรูปหน้าและฟันในหลายประการ เพราะห่วงคอทองเหลืองจะไปเพิ่มแรงกดให้กับกระดูกซี่โครงและขอบล่างของกระดูก Mandible ซึ่งการเริ่มใส่ในช่วงที่ยังมีการเจริญเติบโตของกระดูก Mandible ทำให้การเจริญที่เกิดขึ้นนั้นแปลกไปจากการเจริญของคนที่ไม่ได้ใส่ห่วงคอทองเหลือง

Focus

เน้นศึกษาลักษณะใบหน้าและฟันของผู้หญิงชนเผ่ากะเหรี่ยงคอยาวที่มีการสวมใส่ห่วงคอทองเหลืองเป็นประจำในจังหวัดแม่ฮ่องสอน

Theoretical Issues

ใช้การศึกษารูปหน้าและฟันจากการวัดรูปหน้า การถ่ายรูปหน้าตรงและด้านข้าง และการวัดลักษณะของฟัน เพื่อสังเกตผลกระทบของการใส่ห่วงคอทองเหลืองที่อาจจะมีผลต่อการเจริญของกระดูก Mandible ซึ่งรวมถึงโครงสร้างระหว่างกระดูก Maxilla และ Mandible และโครงสร้างที่เกี่ยวข้อง
ใช้หลักการทางสถิติ เพื่อบ่งบอกถึงความแตกต่างที่เกิดขึ้นว่าแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่

Ethnic Group in the Focus

คะยัน หรือที่รู้จักในชื่อกะเหรี่ยงคอยาว

Language and Linguistic Affiliations

-

Study Period (Data Collection)

-

History of the Group and Community

กะเหรี่ยงคอยาวเป็นกลุ่มย่อยของเผ่ากะเหรี่ยงแดงซึ่งอาศัยอยู่บริเวณชายแดนของรัฐคะยา ประเทศพม่าที่ติดกับภาคเหนือของประเทศไทย โดยในประเทศไทย มีกะเหรี่ยงคอยาวจำนวนหนึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

Settlement Pattern

-

Demography

-

Economy

-

Social Organization

-

Political Organization

-

Belief System

บางคนเชื่อว่าการใส่ห่วงคอทองเหลืองจะเป็นสัญลักษณ์ของความร่ำรวยและสถานะต่อความเชื่อของชนเผ่า

Education and Socialization

-

Health and Medicine

-

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ผู้หญิงปาดองจะต้องเริ่มใส่ห่วงคอทองเหลือง เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณเศษหนึ่งส่วนสามนิ้ว รอบคอของตนเองในช่วงต่างๆของชีวิต โดยจะเริ่มใส่ครั้งแรกเมื่ออายุ 5-9ปี ห่วงหนักประมาณ 2.5 กิโลกรัม ความยาวประมาณ 9ห่วง ซึ่งจำนวนห่วงจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในเวลาต่อมา ปกติแล้วจะมีการเปลี่ยนขนาดและเพิ่มความยาวของห่วงคอทองเหลืองทุกๆ 4 ปี เฉลี่ยคนละ 9 ครั้งในชีวิต โดยจะมีการเปลี่ยนห่วงคอทองเหลืองครั้งสุดท้าเมื่ออายุประมาณ 45 ปี สวมห่วงที่หนักประมาณ 13-15 กิโลกรัม และอาจสูงถึง 32 ห่วง

Folklore

ตำนานของการใส่ห่วงคอทองเหลือง

- เชื่อว่าเมื่อนานมาแล้ววิญญาณชั่วร้ายได้เกิดความโกรธแค้นต่อเหล่ามนุษย์ จึงส่งเสือจำนวนมากมายเพื่อจับกินผู้หญิง เนื่องจากกลัวว่าผู้หญิงจะถูกจับกิน บรรพบุรุษจึงเสนอให้ผู้หญิงทั้งหมดใส่ห่วงคอทองเหลืองเพื่อป้องกันตนเอง

- เชื่อว่าเกิดจากการที่มังกรคอยาวแสนสวยตัวหนึ่งถูกสายลมทำให้ท้อง และเกิดเป็นชาวเผ่าปาดอง (กะเหรี่ยงคอยาว) คนแรก

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

-

Social Cultural and Identity Change

-

Critic Issues

-

Other Issues

-

Map/Illustration

ภาพ x-ray ของหญิงปาดองอายุ 43 ปีที่สวมห่วงคอทองเหลือง, ภาพลักษณะการถ่ายรูปและจุดที่ใช้ในการวัดรูปหน้าเพื่อใช้ในการศึกษาทั้งหน้าตรงและด้านข้าง (ขวา)

Text Analyst กรกนก ศฤงคารีเศรษฐ์ Date of Report 08 มิ.ย 2562
TAG คะยัน กะจ๊าง กะเหรี่ยงคอยาว (ปาดอง) ลักษณะใบหน้า ลักษณะฟัน ห่วงทองเหลือง แม่ฮ่องสอน, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง