สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ปะโอ,โพล่ง โผล่ง โพล่ว ซู กะเหรี่ยง, ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ กะเหรี่ยง, ผู้อพยพ,สตรี, สาธารณสุข, การสืบพันธุ์ ,ค่ายอพยพ
Author Saowaphak Suksinchai
Title การแท้งบุตรในหมู่อพยพ - กรณีศึกษาของสตรีกะเหรี่ยงในจังหวัดตาก
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity โพล่ง โผล่ง โผล่ว ซู กะเหรี่ยง, ปะโอ, ปกาเกอะญอ, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน) Total Pages 62 Year 2542
Source Master of Arts (Population and Reproductive Health Research) Faculty of Graduate Studies Mahidol University
Abstract

งานวิจัยชิ้นนี้แสดงให้เห็นว่าจากในตัวแปรอิสระทั้ง 6 อย่าง ตัวแปร 3 อย่างที่มีผลต่ออัตราการแท้งลูกของผู้อพยพสตรีชาวกะเหรี่ยงอย่างมาก ได้แก่ 1) ขนาดครอบครัว 2) ปัญหาสุขภาพ และ 3) สถานการณ์ทำงาน ส่วนตัวแปรอีก 3 อย่างคือ การศึกษา จำนวนการสูบบุหรี่ และระยะเวลาการอยู่ ไม่มีผลกระทบมากนัก   ผู้หญิงที่มีครอบครัวเล็กๆ ผู้หญิงที่มีปัญหาสุขภาพโดยเฉพาะมีอาการปวดตัว และผู้หญิงที่ทำงานไปด้วย จะมีอัตราการแท้งลูกสูงกว่า

ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยนี้ก็คือควรมีการปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของผู้อพยพสตรีชาวกะเหรี่ยงซึ่งจะช่วยลดโอกาสการแท้งบุตรลง   ควรมีการให้การศึกษาด้านการเจริญพันธุ์และมีการให้บริการทางการแพทย์อย่างเหมาะสมแก่สตรีในวัยเจริญพันธุ์   ควรมีการให้โอกาสทางอาชีพแก่สตรีเหล่านี้ เพื่อพวกเธอจะได้มีกิจกรรมที่สร้างสรรค์และสามารถตอบสนองความต้องการในการปรับปรุงโภชนาการได้   ควรมีการจัดโครงการให้ข้อมูล การศึกษา และการสื่อสาร แก่สตรีในวัยเจริญพันธุ์ โดยเฉพาะความรู้เรื่องการเจริญพันธุ์และส่งเสริมการเลิกบุหรี่ (หน้า iv, 60-66)

Focus

ผู้เขียนมุ่งศึกษาผลกระทบต่อการเจริญพันธุ์โดยเฉพาะกับการแท้งบุตร
จากปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการอพยพและพฤติกรรมความเสี่ยงของผู้อพยพสตรีชาวกะเหรี่ยงที่อยู่ในค่ายลี้ภัยในประเทศไทย 

Theoretical Issues

ผู้เขียนได้ทบทวนวรรณกรรมในหัวข้อการแท้งบุตร ซึ่งมีการศึกษาปัจจัยทั้งในเชิงวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ รวมทั้งพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมของผู้อพยพสตรีที่มีผลต่อการแท้งบุตร   และผู้เขียนได้สรุปตัวแปรอิสระที่จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์ศึกษา ได้แก่ 1. ลักษณะทางสังคม-ประชากร [การศึกษา ขนาดครอบครัว และสถานะทำงาน] 2. การอพยพ [ระยะเวลาที่อยู่ในศูนย์อพยพ] 3. ปัญหาสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยง [การสูบบุหรี่ของสตรี] (หน้า 27)
 
          ผู้เขียนได้ตั้งสมมติฐานในการศึกษาไว้ 6 ข้อ ได้แก่
1.         ยิ่งมีการศึกษาสูง อัตราการแท้งบุตรในหมู่ผู้อพยพสตรีชาวกะเหรี่ยงก็ยิ่งน้อยลง
2.         ขนาดครอบครัวของสตรีชาวกะเหรี่ยงมีผลกระทบต่ออัตราการแท้งบุตร
3.         สตรีชาวกะเหรี่ยงที่ทำงานมีอัตราการแท้งบุตรสูงกว่าสตรีกะเหรี่ยงที่ไม่ได้ทำงาน
4.         ระยะเวลาการอยู่อาศัยในศูนย์อพยพของสตรีกะเหรี่ยงมีผลต่ออัตราการแท้งบุตร
5.         ปัญหาทางสุขภาพของสตรีชาวกะเหรี่ยงมีผลต่ออัตราการแท้งบุตร
6.         ยิ่งสตรีชาวกะเหรี่ยงสูบบุหรี่จัดเท่าไร ก็ยิ่งมีอัตราการแท้งบุตรสูงขึ้น(หน้า 29)

Ethnic Group in the Focus

ตามประวัติศาสตร์ชาวกะเหรี่ยงเป็นชาวเขาที่อยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์สายทิเบต-พม่า ส่วนใหญ่อยู่อาศัยบนภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ของพม่า ชาวกะเหรี่ยงมีการแบ่งแยกออกเป็นหลายกลุ่ม เป็นชาติพันธุ์ที่รักสงบ ขยัน และซื่อสัตย์ (หน้า 6)   ชาวกะเหรี่ยงมีรัฐกะเหรี่ยงอยู่ในพม่า โดยมีเมืองหลวงชื่อพะปุน (หน้า 5)

Language and Linguistic Affiliations

-

Study Period (Data Collection)

เดือน พ.ค. - มิ.ย. ปี พ.ศ. 2542

History of the Group and Community

 ในสหภาพพม่าเก่า รัฐกะเหรี่ยงและรัฐคะยาได้ก่อตั้งขึ้นตามแนวเขาตะนาวศรี อยู่ทางตะวันออกของอาณาจักรตองอู และอยู่ทางตอนใต้ของแม่น้ำสาละวิน นอกจากนี้มีชาวกะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ตามเนินเขาพะโคระหว่างแม่น้ำอิระวดีกับสาละวิน และในบริเวณลุ่มน้ำของสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิระวดี   ไม่ค่อยมีใครรู้ประวัติของชาติพันธุ์กะเหรี่ยงก่อนศตวรรษที่19 เป็นไปได้ว่าชาวกะเหรี่ยงเป็นชาวเขากลุ่มแรกๆที่ย้ายเข้ามาอยู่ในอาณาจักรพม่าในช่วงปลายสหัสวรรษแรก  (หน้า 5-6)
 
 ตามประวัติศาสตร์ชาวกะเหรี่ยงเป็นชาวเขาที่อยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์สายทิเบต-พม่า ส่วนใหญ่อยู่อาศัยบนภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ของพม่า (หน้า 6)

Settlement Pattern

ชาวกะเหรี่ยงเป็นชาวเขา ถูกพบอยู่ตามพื้นที่ชายแดนที่เป็นเนินเขาบนฝั่งตะวันออกของพม่าและฝั่งตะวันตกของไทยจากเมืองตองยีในตอนเหนือยาวเรื่อยไปตามแนวเทือกเขาตะนาวศรีของพม่าลงไปจนเกือบถึงคอคอดกระ (หน้า 5)
         
ค่ายผู้อพยพชาวพม่าจะตั้งอยู่ตามแนวชายแดนไทย-พม่า โดยมีค่ายผู้อพยพกะเหรี่ยงบนฝั่งพม่า 1 แห่ง และบนฝั่งไทย 9 แห่ง (หน้า 6)    

Demography

ในรัฐกะเหรี่ยงในประเทศพม่า มีประชากรราว 2.2 ล้านคน และมีประชากรกะเหรี่ยงในไทยอีกราว 2.4 แสนคน (หน้า 5)
 
มีชาวกะเหรี่ยงอยู่ในศูนย์ผู้อพยพแม่ลาราว 31,000 คน และในศูนย์ห้วยกะโหลกอีกเกือบ 10,000 คน (หน้า 31)
         
ขนาดครอบครัวของผู้อพยพชาวกะเหรี่ยงจัดว่าค่อนข้างใหญ่โดยมีค่าเฉลี่ยคือ “ครอบครัวละ 5.7 คน” เทียบกับของไทย 4 คน โดยจากผลสำรวจผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีสมาชิกในครอบครัว 4-6 คน   และผู้อพยพสตรีกะเหรี่ยงมีอัตราการเจริญพันธุ์สูงโดยส่วนใหญ่มีบุตรเฉลี่ย 3.3 คน (หน้า 41, 61)
 
 ผู้อพยพชาวกะเหรี่ยงมีระยะเวลาอาศัยอยู่ในค่ายอพยพแตกต่างกันไปตั้งแต่ 1-30 ปี (หน้า 61)

Economy

ชาวกะเหรี่ยงในหมู่บ้านส่วนใหญ่ยังชีพด้วยการทำเกษตรกรรม ชาวเขากะเหรี่ยงทำไร่เลื่อนลอยโดยปลูกข้าวเป็นหลัก มีการเพาะปลูกพืชผลชนิดอื่นบ้างไว้สำหรับการบริโภคในครัวเรือน   ชาวกะเหรี่ยงต่างจากชาวเขาเผ่าอื่นๆตรงที่ไม่ปลูกฝิ่น (หน้า 6) 

Social Organization

ครอบครัวชาวกะเหรี่ยงจำนวนมากเป็นครอบครัวขนาดใหญ่ สมาชิกในครอบครัวจะช่วยเหลือเลี้ยงดูลูกหลาน (หน้า 46)
  จากการวิจัยพบว่าสตรีผู้อพยพชาวกะเหรี่ยงมีฐานะความเป็นอยู่ย่ำแย่ ผู้หญิงส่วนใหญ่ไม่เคยไปโรงเรียน ภาวะด้อยการศึกษามีส่วนทำให้สตรีกะเหรี่ยงมีบุตรเยอะ แต่ในทางกลับกัน สตรีกะเหรี่ยงที่มีการศึกษาก็ไม่สามารถใช้ความรู้ในการประกอบอาชีพได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากข้อจำกัดที่ไม่สามารถออกไปทำงานนอกค่ายได้ (หน้า 57) 

Political Organization

ชาวกะเหรี่ยงมีรัฐกะเหรี่ยงอยู่ในพม่า โดยมีเมืองหลวงชื่อพะปุน (หน้า 5)รัฐบาลทหารพม่าเป็นศัตรูทางการเมืองของรัฐกะเหรี่ยง พม่าดำเนินการกดดันชนกลุ่มน้อยรวมทั้งชาวกะเหรี่ยงอย่างต่อเนื่องตลอด 3 ทศวรรษ (หน้า 4)
รัฐบาลไทยให้การช่วยเหลือบรรเทาทุกข์แก่ผู้ลี้ภัยชาวกะเหรี่ยงภายใต้หลักสิทธิมนุษยชน โดยทางการของกะเหรี่ยงได้จัดตั้งคณะกรรมการผู้ลี้ภัยชาวกะเหรี่ยง (KRC) ขึ้นมาทำหน้าที่ควบคุมดูแลผู้อพยพชาวกะเหรี่ยง (หน้า 9) 

Belief System

ผู้หญิงกะเหรี่ยงในชุมชนวิจัยกว่าครึ่งนับถือศาสนาคริสต์ [52 เปอร์เซ็นต์] ตามด้วยพุทธ [40 เปอร์เซ็นต์] มุสลิมและศาสนาอื่นๆ [8 เปอร์เซ็นต์] (หน้า 39) 

Education and Socialization

ในชุมชนผู้อพยพชาวกะเหรี่ยงมีโรงเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงมัธยม มีโรงเรียนอนุบาล 3 แห่ง และโรงเรียนมัธยม 1 แห่งในศูนย์ห้วยกะโหลก   ที่ศูนย์แม่ลาซึ่งเป็นศูนย์ที่ใหญ่ที่สุดมีโรงเรียนอนุบาล 14 แห่ง, ประถม 13 แห่ง, มัธยมต้น 3 แห่ง, มัธยมปลาย 4 แห่ง และมหาวิทยาลัย 1 แห่ง มีเอ็นจีโอคอยให้ความช่วยเหลือเรื่องอุปกรณ์การศึกษา สร้างโรงเรียนร่วมกับคุณครูที่สอนเด็กๆในค่าย (หน้า 10)
 
จากผลวิจัยในชุมชนผู้อพยพกะเหรี่ยง พบว่าชาวกะเหรี่ยงส่วนใหญ่ขาดการศึกษา โดยสตรีกะเหรี่ยงที่มีสามีแล้ว 56 เปอร์เซ็นต์ไม่ได้เรียนหนังสือ ขณะที่ฝ่ายสามี(ชาย)ไม่ได้เรียนหนังสือ 39 เปอร์เซ็นต์ (หน้า 39)

Health and Medicine

มีโรงพยาบาล 3 แห่งและคลินิก 2 แห่งในศูนย์แม่ลา และโรงพยาบาล 1 แห่งกับคลินิก 1 แห่งในศูนย์ห้วยกะโหลก โดยได้รับการอุปถัมภ์จาก MSF [หน่วยแพทย์ไร้พรมแดน] (หน้า 9)
 
 ในปี 1994 WCRWC ลงพื้นที่และพบว่าผู้อพยพสตรีและเด็กตามแนวชายแดนไทย-พม่าต้องเผชิญกับภยันตรายจากโรค “มาลาเรีย” ที่รักษาได้ยากขึ้นเพราะมีการดื้อยา (หน้า 21)
 
ผลวิจัยจากวิทยานิพนธ์พบว่าสตรีกะเหรี่ยง 3 ใน 4 เคยมีปัญหาทางสุขภาพอย่างน้อย 1 อย่าง เช่น โรคมาลาเรีย โรคอ่อนเพลีย อาการปวดตัว (หน้า 43, 61)   และพบว่าหญิงครึ่งหนึ่งชอบสูบบุหรี่ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุอย่างหนึ่งที่นำไปสู่การเจ็บป่วยและการแท้งลูก (หน้า 43, 61)  
 
ตามผลวิจัยโรคมาลาเรียและอาการปวดตัวมีผลกระทบต่อการแท้งบุตรในหมู่สตรีผู้อพยพชาวกะเหรี่ยง (หน้า 53, 64)
 
จากการสังเกตระหว่างการวิจัยพบว่าสตรีกะเหรี่ยงต้องแบกน้ำ อาหาร และของบริจาคมาจากที่ไกลๆ ซึ่งอาจเป็นต้นเหตุของอาการเจ็บตัว (หน้า 64)และคู่สามีภรรยาหลายคู่ไม่ได้ไปรับยาคุมกำเนิดทั้งที่มีแจกให้ฟรีในคลินิกศูนย์  ทำให้เกิดการตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์ซึ่งจะนำไปสู่การตั้งครรภ์ที่ไม่สมบูรณ์และการแท้งลูก (หน้า 65)
 
สตรีกะเหรี่ยงที่ไปทำงานนอกหมู่บ้านมีโอกาสแท้งลูกสูง เนื่องจากเป็นงานกรรมกรแบกหามที่มีผลกระทบทั้งทางร่างกายและจิตใจ (หน้า 65)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มี

Folklore

ไม่มี

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

“พม่า” ภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหาร มีการปราบปรามกดขี่ชนกลุ่มน้อยมาตลอด 3 ทศวรรษหลัง ก่อให้เกิดสงครามโดยเฉพาะตามแนวชายแดน ทำให้ชนกลุ่มน้อยจำนวนมากรวมทั้ง “ชาวกะเหรี่ยง” ต้องอพยพมาอยู่ในประเทศไทย (หน้า 4) 

Social Cultural and Identity Change

ไม่มี

Critic Issues

ไม่มี

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

-        ตารางสถิติประชากรผู้ลี้ภัยชาวกะเหรี่ยงในศูนย์ ปี พ.ศ. 2542 (หน้า 7)
-        แผนที่ที่ตั้งศูนย์ผู้อพยพตามแนวชายแดนไทย-พม่า พร้อมสถิติประชากร (หน้า 8)
-        แผนผังโครงสร้างการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ผู้พลัดถิ่นในประเทศไทย (หน้า 11)
-        แผนผังกรอบแนวคิดในการวิจัยเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อการแท้งลูก (หน้า 28)
-        ตารางแสดงภูมิหลังทางสังคมและเศรษฐกิจของผู้อพยพสตรีชาวกะเหรี่ยงในจังหวัดตาก ปี พ.ศ. 2542 (หน้า 40, 42)
-        ตารางแสดงปัจจัยที่เกี่ยวข้องและปัญหาสุขภาพ (หน้า 44)
-        ตารางแสดงปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจที่มีผลต่อการแท้งบุตร (หน้า 47)
-        ตารางแสดงปัจจัยด้านสุขภาพที่มีผลต่อการแท้งบุตร (หน้า 49)
-        ตารางแสดงปัจจัยพฤติกรรมเสี่ยงที่มีผลต่อการแท้งบุตร (หน้า 50)
-        ตารางสรุปผลการวิเคราะห์ถดถอยที่มีตัวแปรอิสระ ในอัตราการแท้งบุตร (หน้า 56)
-        รูปภาพแหล่งวิจัย ศูนย์ผู้อพยพชาวกะเหรี่ยง (หน้า 76-78)
 

Text Analyst อัลเบอท ปอทเจส Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG ปะโอ, โพล่ง โผล่ง โพล่ว ซู กะเหรี่ยง, ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ กะเหรี่ยง, ผู้อพยพ, สตรี, สาธารณสุข, การสืบพันธุ์ ค่ายอพยพ, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง