สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject โซ่ ทะวืง,ไทยลาว, วิถีชีวิต,ประมง, นครพนม
Author สุรัตน์ วรางรัตน์
Title วัฒนธรรมการประกอบอาชีพประมง ลำน้ำสงครามของกลุ่มชาติพันธุ์ไทโซ่บ้านปากอูน ไทลาวบ้านปากยาม อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity โซ่ ทะวืง, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 101 หน้า Year 2538
Source ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏสกลนคร
Abstract

การศึกษาความแตกต่างของกลุ่มชาติพันธุ์ในการประกอบอาชีพประมงในลำน้ำสงครามนั้นแบ่งออกเป็น 3 ช่วงเวลา ดังนี้
  
กลุ่มไทโซ่บ้านปากอูน
ช่วงที่1 (พ.ศ. 2436-2495) มีการจับปลาโดยอาศัยเครื่องมือจับปลาอย่างง่ายๆ เช่น แห เบ็ด เผือก โทง มีการแลกเปลี่ยนปลาร้า ปลาย่างกับข้าวเปลือก ต่อมาได้เรียนรู้การหาปลาด้วยเรือแนบจากชาวญวน (หน้า 96)
  
ช่วงที่2 (พ.ศ. 2495-2520) มีการพัฒนาเครื่องมือจับปลา เช่น สะดุ้ง ซ้อน เสริมด้วยแพไม้ไผ่ เรือแจว ต่อมามีการติดเครื่องยนต์กับเรือหาปลา ราวปี พ.ศ. 2495  ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการหาปลามากขึ้น  มีการใช้ไนล่อนแทนการใช้เส้นใยป่านหรือด้ายตราสมอ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านวัสดุและเครื่องยนต์นี้ต้องอาศัยเงินทุน ชาวไทโซ่ซึ่งไม่กล้าเสี่ยงลงทุนจึงไม่ประสบความสำเร็จเท่าไทลาว ไทญ้อ  (หน้า 97)
  
ช่วงที่ 3 (พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน) มีการเปลี่ยนแปลงเครื่องมือจับปลาเป็นเครื่องมือที่สามารถจับปลาได้ครั้งละมากๆ เช่น โต่ง และดางกัด ซึ่งมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ชาวไทโซ่ไม่กล้าลงทุน และในช่วงนี้จึงมีชาวไทโซ่อพยพออกจากบ้านปากอูนเป็นระยะๆ (หน้า 97-98)
  
กลุ่มไทลาวบ้านปากยาม
ช่วงที่ 1 (พ.ศ. 2447-2500) มีการจับปลาโดยใช้เครื่องมืออย่างง่ายๆ เช่น เบ็ด แห โทง มอง ภายหลังรับอิทธิพลเรือแนบมาจากญวน มีการค้าขายข้าวเปลือกกับโรงสีไฟในเมืองหนองคาย นครพนม (หน้า 98-99)
  
ช่วงที่ 2 (พ.ศ. 2500-2513) เริ่มใช้เครื่องยนต์ติดเรือหาปลา มีการใช้ไนล่อนผลิตมองกวาดแทนเส้นใยป่าน ภายหลังรถยนต์มีบทบาทในการขนข้าวเปลือก ปลาร้า ทำให้การใช้เรือกระแซงหมดไป (หน้า 99-100)

ช่วงที่ 3 (พ.ศ. 2513- ปัจจุบัน) โต่งเข้ามามีบทบาทในการจับปลาถึงแม้จะมีราคาสูง นอกจากโต่งแล้วยังมีการลงกัด ซึ่งมีการพัฒนาจากไม้ไผ่เป็นตาข่ายไนล่อน ทำให้จับปลาได้ง่ายขึ้น (หน้า 100)
  
จากการศึกษาพบว่าชาวไทลาวมีความอดทน กล้าเสี่ยงจึงทำให้ประสบความสำเร็จในการจับปลาในลำน้ำสงคราม (หน้า 100) แตกต่างจากชาวไทโซ่บ้านปากอูนที่ไม่กล้าเสี่ยง ความอดทนต่ำ จึงทำให้ชาวไทโซ่ส่วนใหญ่อพยพออกจากพื้นที่กลับไปหาพื้นที่ทำนาซึ่งมีความถนัดมากกว่า (หน้า 98)

Focus

ศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถในการประกอบอาชีพประมงในลำน้ำสงครามของชนกลุ่มชาติพันธุ์ไทโซ่และกลุ่มไทลาว บ้านปากอูน หมู่ 4 และบ้านปากยาม อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม (หน้า 1)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ไทโซ่ บ้านปากอูนและไทลาว บ้านปากยาม อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม (หน้า 1)

Language and Linguistic Affiliations

ไม่ปรากฏ

Study Period (Data Collection)

1 ปีงบประมาณ พ.ศ.2538 (หน้า 4)

History of the Group and Community

หมู่บ้านปากอูนตั้งเป็นชุมชนโดยกลุ่มชาวโซ่ราวปี พ.ศ. 2436 โดยครอบครัวของนายอินธิสิทธิ์และนายลา ซึ่งอพยพมาจากวังขอนสัก (ริมห้วยอูน) เห็นความอุดสมบูรณ์ของพื้นที่บริเวณนี้ จึงได้มีการชักชวนชาวโซ่ในหมู่บ้านใกล้เคียงให้เข้ามาอยู่อาศัย (หน้า 24) ต่อมาภายหลังชาวโซ่บางส่วนได้มีการอพยพออกจากพื้นที่ตามคำแนะนำของพระครูปริยัติ เนื่องจากพื้นที่นี้เหมาะแก่การจับปลามากกว่าทำนาซึ่งชาวโซ่ไม่ถนัด (หน้า 28-29)


มีการสันนิษฐานว่าบ้านปากยามเริ่มตั้งในช่วงรัชกาลที่ 7 ซึ่งโปรดเกล้าให้พระสุนทรราชวงศา เกลี้ยกล่อมผู้คนฝั่งซ้ายของลำน้ำโขงให้มาตั้งรกรากที่ฝั่งขวา ซึ่งได้มีกลุ่มไทญ้อ อพยพมา แม้เจ้าอนุวงค์จะกวาดต้อนผู้คนกลับเวียงจันทร์ แต่ได้มีกลุ่มไทโย้ยจากเมืองต่างๆอพยพมาทำมาหากินจำนวนมากหลังปี พ.ศ. 2380 (หน้า 47-48) ถึงกระนั้นบ้านปากยามได้ทิ้งร้างไปราว 150 ปี จนพ.ศ. 2447 จึงได้มีการอพยพมาตั้งบ้านเรือนอีกครั้ง โดยครอบครัวของนายบุญมีและนางลอง ซึ่งเป็นชาวลาวบ้านท่าขาม แขวงสุวรรณเขต ซึ่งอพยพมาหาพื้นที่ทำกิน (หน้า 49)

Settlement Pattern

ไม่ปรากฏ

Demography

บ้านปากอูนมีประชากร 4 เผ่า คือ เผ่าโซ่ เผ่าญ้อ ไทลาว และ กะเลิง สถิติประชากรมีดังนี้

ครัวเรือน 583 ครัวเรือน  ประชากรทั้งหมด 3,856 คน ประกอบด้วย ชาย 1,851 คน และ หญิง 2,005 คน (หน้า 22)

Economy

ลำน้ำสงครามซึ่งมีความยาว 420 กิโลเมตร เกิดจากการรวมตัวของลำน้ำจากเทือกเขาที่ไม่สูงมากหลายแห่งและรับน้ำจากลำห้วยต่างๆ (หน้า 5) เป็นแหล่งทรัพยากรที่สำคัญในการปลูกข้าวอายุสั้นตามพื้นที่โคกดอนและการจับปลา รวมไปถึงการนำปลามาทำปลาแห้ง ปลาร้าในฤดูน้ำลดจะมีความอุดมสมบูรณ์มาก มีการปลูกข้าวนาปรัง ปลูกพืชผัก เช่น ปอ ยาสูบ รวมไปถึงการทำเกลือ (หน้า 9) และเนื่องจากตลอดลำน้ำสงครามมีสภาพเป็นป่าบุ่ง ป่าป่าทามซึ่งเป็นแหล่งวางไข่และฟักตัวอ่อน ทำให้เป็นแหล่งน้ำที่มีปลาชุกชุม (หน้า 12) ตลอดจนการที่ลำน้ำสงครามมีระดับน้ำไม่คงที่แปรตามฤดูกาล จึงทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กซึ่งเป็นอาหารของปลา (หน้า 13)

 เครื่องมือจับปลาสำคัญๆ ของชาวไทโซ่หมู่บ้านปากอูน ได้แก่
1)เบ็ดทำจากตะปูงอปลาย ใช้เหยื่อเป็นผลไม้ป่า ส่วนใหญ่เป็นหมากไม้ที่แก่จนสุก หรือสัตว์ต่างๆ เช่น หอยเจี้ย ปู กบ เขียด ปลากลีก ปลากดตัวเล็ก ไส้เดือน ตะขาบ เป็นต้น ตลอดจนหยื่อประดิษฐ์จากหนังหมู ไส้สัตว์ ไขสัตว์ หรือปลาเน่าแช่น้ำยา (หน้า30-31)

2)โทงลักษณะคล้ายขวดปากบาน นิยมวางตอนกลางคืน โดยผูกกับหลัก ใส่เหยื่อเช่นมดแดง ข้าวเหนียวย่างไฟคลุกส่าเหล้า (หน้า31)

3)เผียกเป็นเครื่องมือล้อมปลา ทำจากไม้ไผ่ผ่าซีก ผูกด้วยเถาเครือไม้และหวายเส้นเล็กๆล้อมปลาโดยกั้นขวางลำห้วย หรือใช้ล้อมห้วย หนองบึง เป็นระยะๆเพื่อให้สะดวกต่อการหว่านแห่จับปลา (หน้า32)

4)มองหรือตาข่ายตาห่าง ทำจากป่าน ด้านบนใช้ผักตบชวาเป็นทุ่นลอย ส่วนด้านล่างถ่วงด้วยตะกั่วหรือก้อนหิน ใช้จับปลาตัวใหญ่ (หน้า33)

5)แนบเป็นเรือสองลำแนบติดกัน แต่เนื่องจากต้องใช้หาปลาในเวลากลางคืนและช่วงน้ำลดเข้าสู่ฤดูหนาว จึงไม่เป็นที่นิยมนัก (หน้า34)

6)ซ้อนเป็นผืนตาข่าย ปากเป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ก้นถุงลึก 4 เมตร ด้ามเป็นไม้ไผ่ ใช้ตักปลาขนาดเล็ก (หน้า34)

7)สะดุ้งหรือยอใหญ่ มีราคาแพง ซึ่งชาวประมงบ้านปากอูนนิยมซื้อดางหรือตาข่ายมาใช้ทำแผ่นสะดุ้งแทนการซื้อผืนสะดุ้งซึ่งมีราคาแพง (หน้า36)

8)มองกวาดหรืออวนลาก การลากอาจใช้เรือพายหรือเรือยนต์ ใช้จับปลาในฤดูน้ำลด (หน้า36-37)

9)โต่งหรือโพงพางมีประสิทธิภาพในการจับปลามากที่สุด คือ สะดวก จับปลาได้มาก ใช้ระยะเวลาสั้น อีกทั้งไม่ยุ่งยากในการจ้างแรงงาน (หน้า40-41) โดยมีการนำปลาที่จับได้บางส่วนมาแลกข้าวเปลือก (หน้า 32)
  

บ้านปากยามมีการปลูกข้าว ใช้ทั้งเพื่อยังชีพและแลกเปลี่ยนสินค้าต่างๆ เช่น ปลา หม้อ ไห พริกแห้ง กับหมู่บ้านอื่นๆ (หน้า 50) ต่อมาได้มีกิจการค้าข้าว ในตอนแรกมีการบรรทุกข้าวโดยใช้เรือกระแซง ภายหลังพัฒนาเป็นเรือกลไฟเข้ามารับข้าว ซึ่งในที่สุดกิจการค้าข้าวหมดไปเนื่องจากการมีโรงสีไฟเกิดขึ้น (หน้า 53) สำหรับการจับปลาเนื่องจากบ้านปากยามมีพื้นที่ติดลำน้ำถึง 3 ด้านจึงมีปลาชุกชุม ดังนั้นส่วนใหญ่แล้วจึงมีการจับปลาไว้บริโภค และแปรรูปเป็นปลาร้า ปลาย่าง เพื่อแลกข้าวเปลือก ข้าวสาร ตลอดจนเกิดกิจการค้าปลาร้าขึ้น มีการนำไปขายในพื้นที่ต่างๆ  (หน้า 54-55) พัฒนาการของเรือทำให้ประสิทธิภาพการหาปลาของชาวบ้านดีมากขึ้น (หน้า56)


สำหรับเรือที่ใช้ในบ้านปากยามมีดังนี้

1)เรือโขลนหรือเรือคอ เป็นเรือขุดขนาดใหญ่ใช้บรรทุกสินค้า

2)เรือกระแซงเป็นเรือบรรทุกขนาดใหญ่ บรรทุกข้าวเปลือกไปขายโรงสีข้าวในเมืองนครพนมและหนองคาย (หน้า 57)

3)เรือไฟหรือเรือกลไฟ  ใช้ความร้อนจากฟืนเผาน้ำเป็นไอน้ำ รับสินค้าและผู้โดยสารจากหมู่บ้านต่างๆไปยังปากน้ำไชยบุรี (หน้า 58)

4)เรือยนต์ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงขับเคลื่อน รายได้หลักของเรือชนิดนี้มาจากการขนส่งผู้โดยสาร (หน้า 59)


อย่างไรก็ตามเกวียนยังคงเป็นพาหนะหลักในการขนส่งสินค้าระหว่างหมู่บ้าน (หน้า 59)

สำหรับพัฒนาการการจับปลาของบ้านปากยามนั้น สามารถแบ่งออกเป็น 3 ยุค ดังนี้

1)ยุคแรกเริ่ม มีการใช้แหสานจากใยต้นป่านเป็นเครื่องมือจับปลา และเปลี่ยนมาเป็นแหไนล่อน ต่อมาการใช้แหลดลงเนื่องจากมีเครื่องมืออื่นๆเข้ามาแทนที่ นอกจากนี้ชาวไทลาวมีการใช้เบ็ดชนิดต่างๆร่วมถึงการคิดค้นสูตรเหยื่อเทียมขึ้นมาใช้  (หน้า 61-62) ส่วนเรือนั้นมีการใช้เรือแนบซึ่งคาดว่าได้รับอิทธิพลจากชาวญวนมาใช้หาปลาในลำน้ำ (หน้า 64)

2)ยุคการใช้เครื่องยนต์ ราวพ.ศ.2500 เริ่มมีการใช้เครื่องยนต์ในการประมง มีการใช้มองกวาดหรืออวนลากจับปลาในหน้าแล้ง (หน้า 65-66) สะดุ้งเป็นเครื่องมือหาปลาอีกชนิดหนึ่งที่ปัจจุบันยังคงใช้กันอยู่ (หน้า 69) ซ้อนซึ่งเป็นเครื่องมือหาปลาที่คาดว่าดัดแปลงมาจากยอ ชาวไทลาวมีการใช้ซ้อนติดกับเรือยนต์ ทำให้ผืนตาข่ายขยายใหญ่มากขึ้น(หน้า 70)

3)ยุคปัจจุบัน มีการใช้โต่งหรือโพงพางซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่นำมาจากภาคใต้ในการหาปลา นอกจากนี้ยังมีการกัดปลาหรือสกลัดปลาโดยใช้เฝียกหรือหางแดกั้นทางไหลของน้ำ (หน้า 77)

Social Organization

ไม่ปรากฏ

Political Organization

ไม่ปรากฏ

Belief System

ไม่ปรากฏ

Education and Socialization

ไม่ปรากฏ

Health and Medicine

ไม่ปรากฏ

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่ปรากฏ

Folklore

บ้านปากยามแต่ก่อนเรียกว่าบ้านเสาหลักดิน ที่เป็นชื่อนี้เนื่องจากหมู่บ้านตั้งอยู่ระหว่างเขตแดนเมืองสกลนครกับเมืองนครพนม ซึ่งได้เกิดปัญหาเรื่องกรรมสิทธิ์ขึ้น เจ้าเมืองทั้งสองจึงพิธีเสี่ยงทายเผาหลักไม้ที่ปักดิน ผลเสี่ยงทายคือหลักไม้ของเมืองสกลนครไม่ติดไฟ จึงตั้งชื่อหมู่บ้านว่า บ้านเสาหลักดิน (หน้า 47)
  
ตำนานพงศาวดารเมืองแถงกล่าวว่า คนโซ่เป็นพี่ชายคนโตที่ออกจากน้ำเต้าจึงเปื้อนควันไฟที่เกิดจากการเจาะรูน้ำเต้า เมื่อถึงหนองฮก หนองไฮ ผู้น้องได้อาบน้ำแต่ผู้พี่ซึ่งเป็นไทโซ่ไม่อาบ ดังนั้นชาวไทโซ่จึงมีผิวคล้ำกว่าชาวผู้ไทย (หน้า 83)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไทโซ่ในทัศนะของไทลาวนั้น เห็นว่าไทโซ่กลุ่มที่ยังยึดอาชีพจับปลา ไม่อพยพออกจากหมู่บ้านเป็นกลุ่มที่สนใจและมีความสามารถในการจับปลาสูง (หน้า 82)
 ไทโซ่ในทัศนคติของไทญ้อนั้น เห็นว่า ไทโซ่ส่วนใหญ่ไม่ชอบทำงานหนัก ขาดประสบการณ์การจับปลาและทำอาหารปลา (หน้า 83)
  
ไทลาวในทัศนคติของผู้ไทยนั้น เห็นว่าแม้จะมีหลากหลายนามสกุล แต่มีความสามัคคีกัน (หน้า 89) ใจกว้าง ไม่อิจฉาริษยา (หน้า 90)
  
ไทลาวในทัศนคติของไทญ้อนั้น เห็นว่าเป็นคนตรงไปตรงมา (หน้า 90) มีระเบียบ และชำนาญการจับปลามากกว่าไทญ้อ (หน้า 91)
  
ไทลาวในทัศนคติไทโย้ยนั้น เห็นว่า ไทลาวเรียนรู้อุปกรณ์หาปลาใหม่ๆได้เร็ว (หน้า 92)

Social Cultural and Identity Change

ไม่ปรากฏ

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มีข้อมูล

Text Analyst อภิรัตน์ ศุภธนาทรัพย์ Date of Report 04 เม.ย 2556
TAG โซ่ ทะวืง, ไทยลาว, วิถีชีวิต, ประมง, นครพนม, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง