สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ (กะเหรี่ยง),สังคมวัฒนธรรม,แม่ฮ่องสอน
Author เมืองพล เมฆเมืองทอง
Title กะเหรี่ยงที่บ้านเลโคะ ตำบลแม่ยวม อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
Document Type ปริญญานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ปกาเกอะญอ, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 70 Year 2518
Source สาระนิพนธ์ประกาศนียบัตรชั้นสูงบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Abstract

เน้นการศึกษาเชิงชาติพันธุ์วรรณนาโดยบรรยายถึงประวัติความเป็นมา ลักษณะทางกายภาพของกะเหรี่ยง สภาพทางการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม รวมถึงการศึกษา ซึ่งกะเหรี่ยงที่หมู่บ้านเลโคะนี้พึ่งจะได้รับความช่วยเหลือเป็นครั้งแรก เพื่อทำความเข้าใจสภาพทางสังคมและวัฒนธรรมของชุมชน และยังทำให้ทราบถึงปัญหาต่างๆในหมู่บ้านแห่งนี้ โดยพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้น ได้แก่ ปัญหาด้านการเมือง อันมีสาเหตุมาจากความห่างไกลของพื้นที่เกินกว่าที่เจ้าหน้าที่จะดูแลได้ทั่วถึง นอกจากนี้กองกำลังที่ไม่เพียงพอจึงไม่สามารถอยู่ประจำการณ์ได้ ปัญหาด้านอนามัย พบว่า กะเหรี่ยงมีสุขภาพไม่แข็งแรง เจ็บป่วยบ่อยมีสาเหตุมาจากการกินอาหารไม่ถูกสุขลักษณะ นอนในที่อากาศไม่บริสุทธิ์ ไม่รักษาความสะอาดและต้องเข้าป่า ออกไร่นาบ่อยครั้ง มักได้รับบาดแผลหรือแมลงสัตว์กัดต่อย ปัญหาด้านการทำมาหากิน พบว่า ที่ดินไม่พอทำกิน ส่งผลให้มีผลผลิตต่ำ ไม่พอแก่ความต้องการ นอกจากการทำนาทำไร่และรับจ้างที่เหมืองแร่แล้วก็ไม่มีอาชีพเสริมอื่น ๆ อีก เมื่อเสร็จจากงานประจำจึงเกิดปัญหาว่างงาน

Focus

เป็นการศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณีตามแบบฉบับของกะเหรี่ยงบ้านเลโคะแห่งนี้ เช่น ผู้หญิงเท่านั้นที่จะมีการแต่งกายแบบเดิมอยู่ ส่วนผู้ชายกลับแต่งตัวตามอย่างคนเมืองทั้งสิ้น นอกจากนี้ ยังศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขให้หมู่บ้านดีขึ้นในทุก ๆ ทาง

Theoretical Issues

ผู้วิจัยไม่ได้กล่าวถึง แนวคิดและทฤษฎีใดๆ ที่ใช้ในการศึกษา ซึ่งผู้วิเคราะห์เห็นว่าเป็นการศึกษาในลักษณะชาติพันธุ์วรรณนา ของกะเหรี่ยงแห่งนี้ เพื่อให้ทราบถึงลักษณะทางวัฒนธรรมทั่วไปของกะเหรี่ยงท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในขณะนั้น

Ethnic Group in the Focus

ผู้วิจัยทำการเก็บข้อมูลจากกะเหรี่ยงสะกอที่หมู่บ้านเลโคะ ต.แม่ยวม อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ชาวบ้านเรียกตัวเองว่ายางบ้านหรือยางขาว (หน้า 31)

Language and Linguistic Affiliations

ชาวบ้านพูดภาษากะเหรี่ยงสะกอ และสามารถพูดและฟังภาษากะเหรี่ยงอื่น ๆ ได้ นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ภาษาไทยภาคเหนือหรืออู้คำเมืองได้ แม้ภาษาไทยภาคกลางก็มีคนพูดได้ (หน้า 46)

Study Period (Data Collection)

ผู้ศึกษาทำการเก็บข้อมูลในช่วง เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2517 ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2518 (หน้า คำนำ)

History of the Group and Community

บ้านเลโคะอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลราว 800-900 เมตร เมื่อ 20 ปีที่แล้วสถานที่นั้นคือ ยอดเขา ทั้งสูงและชัน มีหินก้อนใหญ่ใกล้ๆ หมู่บ้านมีรูปร่างคล้ายหัวคน ชาวบ้านเลยขนานนามบ้านตัวเองว่า "เลโคะ" (เล = หน้าผา โคะ = หัวแปลได้ความว่า บ้านหัวผา) แรกเริ่มมีประชากรไม่หนาแน่น ต่อมาเมื่อลูกหลานกะเหรี่ยง เกิดมากันมากที่ทำกินบริเวณนั้นไม่พอทำกินและอยู่อาศัย จึงพากันอพยพลงมาอยู่ที่ที่ต่ำกว่าเดิม แต่อยู่ไม่ห่างจากที่เดิมมากนัก บางกลุ่มก็แยกออกไปตั้งหมู่บ้านใหม่ทำให้พวกที่อพยพมาอยู่ที่ใหม่จำนวนประชากรไม่มากเกินไป ต่ำลงมาจากเดิม ตั้งรกรากทำมาหากินอยู่ 4 ปีเต็มจึงย้ายที่อีกครั้งเป็นครั้งที่ 3 จนอยู่กระทั่งในปัจจุบัน ซึ่งเป็นที่ราบทำเลดี เพราะสามารถอยู่รวมกันได้หลายครอบครัวและมีลำธารไหลผ่านหมู่บ้านตลอดปี และยังเป็นจุกศูนย์กลางของหมู่บ้านอื่น (หน้า 31-32)

Settlement Pattern

บ้านในหมู่บ้านส่วนใหญ่สร้างด้วยไม้ไผ่ หลังคามุงด้วยใบหวาย ใบคา หรือ ใบพลวงอยู่ ส่วนการสร้างเสา พื้น ฝา บันได เพดานทั้งหมดนี้ล้วนสร้างจากไม้ไผ่ทั้งสิ้น ส่วนภาชนะเครื่องใช้ เช่น กระบุง ตะกร้า กระบอกน้ำ ธนู ฯลฯ ยังทำด้วยไม้ไผ่เช่นกัน บางบ้านก็มีเตียงที่ทำมาจากไม้ไผ่ด้วย กระเหรี่ยงมักสร้างฝาตัวหลังคาสูง มีเตาไฟอยู่ตรงกลาง ส่วนใหญ่ก็มีห้องเดียว มีประตูเข้าทางเดียวจึงทำให้ห้องมืดไม่ถูกลักษณะ (หน้า 34-35)

Demography

บ้านเลโคะมี 44 หลังคาเรือนมีประชากรรวม ราว 260 คนโดยแบ่งเป็น ชาย 120 คน และหญิง 140 คน ซึ่งตั้งบนที่ราบทิศตะวันออกและทิศตะวันตกมีภูเขาสูง ส่วนทิศเหนือและทิศใต้มีช่องว่างระหว่างภูเขาทั้ง 2 ทิศ การทีมีครัวเรือนถึง 44 หลังคาเรือน ถือเป็นการผิดกฎจึงจำเป็นลดลงให้เหลือไม่เกิน 30 หลังคาตามความเชื่อแต่บรรพบุรุษ ดังนั้นเลโคะจึงแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ เลโคะเหนือ(16 หลังคาเรือน) และเลโคะใต้ (28 หลังคาเรือน) (หน้า 32, 39-40)

Economy

กะเหรี่ยงบ้านเลโคะทำไร่เลื่อนลอย แต่เป็นแบบปักหลักที่เดิมเป็นเวลานานๆ มีความสามารถในการอนุรักษ์ดิน มีการทำนาทั้งในแบบที่ลุ่มและแบบขั้นบันไดและนาไร่ที่ทำตามสันเขาด้วย โดยผลผลิตข้าวที่มักเก็บไว้กินเองในครัวเรือน ส่วนรายได้ของกะเหรี่ยงขึ้นอยู่กับ -- เลี้ยงสัตว์ ได้แก่ หมูที่เลี้ยงไว้ ส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็ก มีราคาตัวละ 400-700 บาท ใช้เวลาเลี้ยง 3 ปีขึ้นไปกว่าจะขายหรือฆ่าขายได้, วัวส่วนใหญ่เป็นการเลี้ยงไว้เพื่อใช้งาน ไถนาเป็นส่วนใหญ่เช่นเดียวกับควาย ส่วนไก่ชาวบ้านเลี้ยงไว้เพื่อขายบ้าง กินเองบ้างแต่มักฆ่าเพื่อเซ่นผี นอกจากนี้สัตว์เลี้ยงอื่นๆ ที่พบ ได้แก่ เป็ด หมา และช้างซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงถึงการมีฐานะที่ดี โดยกะเหรี่ยงจะใช้ประโยชน์ทางรับจ้างลากซุง บรรทุกแร่ที่เหมือง - เกษตรกรรม นอกจากข้าวซึ่งเป็นผลผลิตและเก็บไว้กินแล้ว ยังมีรายได้จากพืชอื่นๆ เช่น ข้าวโพด, งา, แตง, ฟัก, อ้อย, กล้วย, ฟักทอง, มะละกอ, ส้มโอ, และฝรั่ง - รายได้จากป่า ซึ่งในอดีตละแวกนั้นพบเสือบ่อยๆ กะเหรี่ยงจึงมักล่าเสือเพื่อเอาหนังไปขาย สัตว์อื่น เช่น เก้ง กวาง เม่น ค่าง ชะนี ซึ่งล่าเป็นประจำจากป่าใกล้ๆ นอกจากนี้ของป่าอื่นๆ เช่น กล้วยไม้ วาน สมุนไพร - รายได้จากการรับจ้าง เป็นการรับจ้างทำงานในเหมืองแร่แม่มาลา ซึ่งห่างจากเลโคะประมาณ 7 กม. บางคนทำงานมานานจนได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเรื่อยๆ ถึงระดับหัวหน้าคนงานก็มี (หน้า 40-44)

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

ถือระบบการปกครองในระบบอาวุโส เนื่องจากลัทธิความเชื่อประจำเผ่า และเป็นที่เคารพนับถือไว้วางใจหรือมีญาติพี่น้องมาก คือ หมอผี และหัวหน้าหมู่บ้านซึ่งเรียกว่า ผู้ใหญ่บ้านพ่อหลวงหรือแก่บ้าน นี้ปัจจุบันได้แต่งตั้งจากกำนันหรือทางอำเภอ ในแต่ละเดือนผู้ใหญ่บ้านมีหน้าที่ประชุมและแจ้งให้ลูกบ้านทราบ แม้ว่าผู้ใหญ่บ้านจะไปประชุม แต่ไม่เคยเรียกลูกบ้านประชุมเลย ลูกบ้านเองก็ไม่สนใจ (หน้า 39)

Belief System

-ศาสนา ชาวเลโคะนับถือศาสนาพุทธ แต่ในขณะเดียวกันก็นับถือผีด้วย มีกะเหรี่ยงเพียงคนเดียวที่นับถือศาสนาคริสต์ จากการสอบถามและสังเกตของผู้วิจัยเห็นว่า ชาวเลโคะนับถือผีมากกว่าจะนับถือศาสนาพุทธ (หน้า 40) - ความเชื่อ ผีที่กะเหรี่ยงนับถืออยู่มีหลากหลาย เช่น ผีบ้านผีเรือน ผีภูเขา ผีน้ำ ผีบก ผีสวน ผีฟ้า เป็นต้น โดยที่ผู้วิจัยได้รับประสบการณ์เกี่ยวกับการเซ่นไหว้ผี 2 อย่าง คือ ผีตามทางเดินและผีตามลำธาร ซึ่งจะเซ่นด้วยแกลบ ขนนก ข้าวสุก ปุยฝ้าย เศษผ้า ไข่ไก่ แต่ผีลำธารต้องมีต้มแกงที่เป็นเนื้อสัตว์เพิ่มเติมขึ้นมา การเซ่นไหว้นี้ก็เพื่อให้ความคุ้มครองป้องกันอันตรายมาากว่าเพื่อเรื่องอื่น นอกจากนี้ยังมีความเชื่ออื่น ๆ เช่น ฤกษ์ยาม (หน้า 49-50)

Education and Socialization

บ้านเลโคะยังไม่เคยมีโรงเรียนและไม่มีครูสอนหนังสือไทยมีแต่สอนภาษากะเหรี่ยงกันเอง แม้ว่าจะมีโครงการจากกองร้อย ตชด. ก็ไม่ได้รับความสนใจจากเจ้าหนาที่ในการเข้าไปสอนหนังสือ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลและกันดาร ทั้งนี้กำลังตำรวจยังไม่เพียงพอซึ่งต้องประจำเวรอยู่ตามชายแดน จนกระทั่งปี 2517 ทางโครงการของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดส่งอาสาสมัครมาเป็นครูสอนหนังสือ โดยทำงานประสานกับตำรวจชายแดนอาสาสมัคร โดยผู้วิจัยเริ่มจากการสำรวจจำนวนนักเรียนแล้วขึ้นทะเบียนนักเรียน 20 คน การสอนในระยะแรกยากลำบากเนื่องจากพูดภาษากะเหรี่ยงไม่ได้ และนักเรียนก็พูดฟังภาษาไทยไม่ได้จึงต้องใช้ล่ามช่วยระยะหนึ่ง ระยะต่อมา ผู้วิจัยก็สามารถสอนให้เด็กนักเรียนกะเหรี่ยงสามารถอ่านและเขียนภาษาไทยได้ โดยไม่ได้เน้นการพูดเท่าใดนัก หลังจากผู้วิจัยเดินทางกลับ ก็ยังมีเจ้าหน้าที่อำเภอแม่เสรียงถูกส่งขึ้นไปเป็นครูสอนต่อโดยเริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2518 (หน้า 35-38)

Health and Medicine

ชีวิตประจำวันของชาวเลโคะ เริ่มตั้งแต่เช้าตรู่ เริ่มจากหุงหาอาหาร ผู้ใหญ่จะออกไปทำไร่ทำนากัน ส่วนเด็กมีหน้าที่เลี้ยงน้องอยู่กับคนแก่ ในตอนเช้ากะเหรี่ยงจะขับถ่ายที่ป่ารอบๆบ้าน บางคนจะไปปล่อยในป่าที่ใกล้ๆไร่นาของตน อาหารของกะเหรี่ยงมื้อเช้าและมื้อกลางวันคล้ายๆ กัน คือไม่พิถีพิถัน โดยเฉพาะตอนเช้ากินข้าวกับน้ำพริก ตอนกลางวันอาจมีผักเพิ่มเติม ตอนบ่ายผู้หญิงจะกลับบ้านก่อนเพื่อเตรียมหุงหาอาหาร จนหลัง 4 โมงเย็นกะเหรี่ยงจะลงอาบน้ำที่ลำธารใกล้หมู่บ้าน โดยปกติแล้วกะเหรี่ยงจะไม่อาบน้ำกันทุกวันแต่ค่อนข้างบ่อยกว่าชาวเขาเผ่าอื่นๆ เวลาประมาณ 2 ทุ่ม เด็กๆ จะนอนหลับกันหมดแต่ผู้ใหญ่ หรือหนุ่มสาวยังนั่งคุยกันจนถึงเวลานอนราว 4 ทุ่ม จากการศึกษาผู้วิจัย พบปัญหาอนามัยว่า กะเหรี่ยงกินอาหารไม่ถูกสุขลักษณะ, นอนในที่อากาศไม่บริสุทธิ์, ไม่ค่อยรักษาความสะอาดตั้งแต่เสื้อผ้าที่มักสวมใส่อยู่ชุดเดียวเป็นเดือน, บ้านเรือนสกปรกรวมถึงภาชนะเครื่องใช้ต่างๆ ด้วย, แผลที่เกิดจากการเข้าป่าทั้งแมลงสัตว์กัดต่อย จนเกิดเป็นแผลเน่าเปื่อย เด็กหลายคนมือเป็นหิดและหูด - การรักษา เนื่องจากภายในหมู่บ้านไม่มีหมอประจำหมู่บ้าน จึงมีหมอจากจังหวัดและอำเภอขึ้นไปให้การรักษาปีละครั้ง ดังนั้น การรักษาพยาบาลจึงต้องหาซื้อยามาไว้ใช้ ด้วย (หน้า 57-60, 62)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

กะเหรี่ยงเลโคะจะแต่งกายตามแบบฉบับของกะเหรี่ยงสะกอ โดยผู้หญิงจะเคร่งครัด คือ สาวโสดจะสวมกระโปรงสีขาวยาวลงไปถึงข้อเท้า บางคนทอเป็นเส้นสีแดงเล็ก ๆ รอบ ๆ ตะโพก และกลาง ๆ ขาแบบเสื้อคล้ายกระสอบ แขนสั้น คอเป็นรูปสามเหลี่ยม ชุดที่สวมนี้เป็นชุดที่กะเหรี่ยงทอด้วยมือของตนเอง ส่วนผู้หญิงที่แต่งงานแล้วจะสวมเสื้อใช้สีดำเป็นพื้นกับผ้าถุงอีกตัวหนึ่ง ผ้าถุงจะมีสีดำ สีแดงและหรือสีขาว ผู้ชายจะสวมกางเกงขายาวแบบจีนกับเสื้อสีแดงยกดอกพู่เป็นตอน ๆ แต่ส่วนใหญ่นิยมแต่งแบบสมัยนิยมอย่างคนพื้นราบ ทั้งหญิงและชายนิยมเจาะหูรูใหญ่ เพื่อใส่หรือห้อยปุยฝ้ายซึ่งย้อมสีต่าง ๆ ผู้หญิงทั้งโสดและแต่งงานแล้วมักไว้ผมยาวจึงต้องทำการเก็บผมด้วยการมวยเกล้าขึ้นไป และยังใช้ผ้าคาดศรีษะซึ่งนิยมใช้สีขาว นอกจากนี้ กะเหรี่ยงยังนิยมสักตามร่างกายทั้งเพื่อความสวยงามและเพื่อป้องกันสัตว์ร้าย ผู้หญิงจะสักเล็กน้อยตามแขนและขา ส่วนผู้ชายจะสักมากกว่าทั้งแขนขา และตั้งแต่เอวลงมาจนถึงหัวเข่า แต่กะเหรี่ยงรุ่นไม่ไม่นิยมที่จะสัก (หน้า 33-34)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ตามนิสัยของชาวบ้านที่นี่นิยมติดต่อเยี่ยมเยียนญาติพี่น้อง มีการติดต่อนำของไปขายหรือไปซื้อที่ตลาดตามความจำเป็น มีบางคนนอกจากจะไปรับจ้างทำงานที่เหมืองแร่แล้ว ก็ยังไปรับจ้างทำงานกันต่างเผ่า กะเหรี่ยงเลโคะใช้วิทยุเป็นเครื่องมือในการรับรู้ข่าวสารสังคมภายนอก การติดต่อกับหน่วยงานของรัฐ - ปัจจุบันมีเจ้าหน้าที่จากศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา กรมประชาสงเคราะห์ประจำแม่เหาะ อ.แม่สะเรียง นาน ๆ ครั้งจึงจะขึ้นไปสำรวจที เพื่อศึกษาวิจัยและเตรียมให้ความช่วยเหลือในด้านการพัฒนา อีกหน่วยงานหนึ่ง คือ หน่วยมาเลเรียอาจเข้ามา 1 หรือ 2 ปีต่อครั้ง หน่วยราชการอื่นๆ เช่น ตำรวจตระเวนชายแดน, กรมการปกครอง, หรือแม้กระทั่งนักศึกษา การติดต่อกับชุมชนอื่น -กะเหรี่ยงเลโคะชอบที่จะอยู่สันโดษแสวงหาความสุขไปวันๆ ไม่มีปัญหาด้านการเมืองเหมือนเผ่าอื่น เพื่อนบ้านของชาวเลโคะมีหลายหมู่บ้านรายล้อมมีเกี่ยวดองเป็นญาติกัน และเป็นกะเหรี่ยงสะกอเหมือนกัน มีขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อและการนับถือศาสนาเหมือนกัน โดยหมู่บ้านเหล่านี้ ได้แก่ หมู่บ้านน้ำออกฮู (น้ำออกรู) อยู่ทางทิศเหนือของเลโคะ, หมู่บ้านปอยู่ทางทิศเหนือของเลโคะเช่นกัน แต่อยู่ไกลกว่า, หมู่บ้านแม่มาลาหลวง อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของบ้านเลโคะ, หมู่บ้านกรอโคะ อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของบ้านเลโคะ นอกจากนี้ยังมีหมู่บ้านบริวารอื่นอีก ได้แก่ หมู่บ้านเหมืองแร่แม่มาลา, หมู่บ้านทิอิลือ และหมู่บ้านห้วยไซยง เนื่องจากหมู่บ้านบริวารเหล่านี้อยู่ห่างจากเลโคะออกไปไกลๆ และไม่สามารถจะติดต่อกับที่ใดได้นอกจากหมู่บ้านบริวารด้วยกัน ดังนั้นจึงจำเป็นตองพึ่งพาอาศัยทางอำเภอหรือพึ่งพาอาศัยเหมืองแร่แม่มาลา หมู่บ้านเหล่านี้จะต้องผ่านหมู่บ้านเลโคะ ซึ่งถือเป็นจุดศูนย์กลางที่ต้องเดินทางผ่านก่อนที่จะติดต่อกับทางอำเภอแม่สะเรียงหรือเหมืองแร่ได้ (หน้า 51-55)

Social Cultural and Identity Change

การเปลี่ยนแปลงทางภาษา - จากการที่ผู้ชายกะเหรี่ยงได้ออกไปรับจ้างทำงานในเหมืองแร่ ทำให้กะเหรี่ยงทั้งเด็กและผู้หญิงสามารถพูดและฟังภาษาไทยได้ (หน้า 44)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

แผนที่แสดงที่ตั้งอำเภอและตำบลใน จ.แม่ฮ่องสอน (หลังหน้าสารบัญ)

Text Analyst ศรายุทธ โรจน์รัตนรักษ์ Date of Report 22 ก.ย. 2555
TAG ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ (กะเหรี่ยง), สังคมวัฒนธรรม, แม่ฮ่องสอน, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง