สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ไทยยวน พิธีกรรม ประเพณี นครปฐม
Author อำพร ขุนเนียม
Title พิธีกรรมและประเพณีของชาวไทยยวนบ้านท่าเสา อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ไทยวน ยวน ยวนสีคิ้ว คนเมือง, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 134 Year 2546
Source บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏนครปฐม
Abstract

ประเพณีและพิธีกรรมของชาวไทยยวนบ้านท่าเสา มีอิทธิพลดั้งเดิมมาจากการนับถือผีผสานกับความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของคนในชุมชน สังคมอยู่อย่างสงบสุขด้วยความเคารพยำเกรง ความกตัญญูกตเวทีตลอดจนความสามัคคีระหว่างคนในชุมชนที่เกิดขึ้นผ่านการปฏิบัติยึดถือประเพณีแต่โบราณ สำหรับการเปลี่ยนแปลงพิธีกรรมของชาวไทยยวนนั้นเกิดจากคน 3 กลุ่มคือ กลุ่มวัยชราซึ่งรักษาประเพณี พิธีกรรมดั้งเดิมเริ่มลงบทบาทลง กลุ่มวัยกลางคนที่เริ่มเปิดรับการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมเข้ามามีบทบาทแทนที่ และกลุ่มวัยรุ่นที่มีแนวคิดเปลี่ยนแปลงไป ไม่เห็นความสำคัญของประเพณี พิธีกรรมดั้งเดิมของชุมชน สิ่งเหล่านี้เกิดจากปัจจัยต่างๆทั้งทางด้านภูมิศาสตร์ ด้านชีวภาพ ด้านเศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ทำให้เกิดการเปิดรับแนวคิดและพฤติกรรมใหม่เข้ามาในชุมชน เกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรมขึ้น สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบทั้งในด้านบวกและด้านลบ กล่าวคือ การลดขั้นตอนต่างๆ เป็นการเอื้ออำนวยให้คงรักษาเอกลักษณ์ประเพณี พิธีกรรมต่างๆไว้ อีกนัยหนึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ตลอดจนการเลือนหายไปของพิธีกรรม ประเพณีบางอย่างที่สั่งสมมาแต่ครั้งอดีต อย่างไรก็ตามความกตัญญู และการรู้ถึงบทบาทหน้าที่ของตนของคนในชุมชน ก่อให้เกิดสังคมที่เข้มแข็งในการรักษาวัฒนธรรมของตนท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของสังคมภายนอก(หน้า 122-124)

Focus

ศึกษาพิธีกรรมและประเพณีที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตตลอดจนผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของพิธีกรรมและประเพณีต่อชาวไทยยวนบ้านท่าเสา (หน้า 6)

Theoretical Issues

ผู้วิจัยอาศัยทฤษฎีการผสมผสานทางวัฒนธรรมเป็นกรอบเพื่อศึกษาคุณค่าพิธีกรรม ประเพณีและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงต่อการดำเนินชีวิตของชาวไทยยวน เนื่องจากชาวไทยยวน บ้านท่าเสามีการอพยพเคลื่อนย้ายถิ่นฐานตลอดจนมีการรับเอาวัฒนธรรมภายนอกในสังคมแห่งใหม่เข้ามาผสมผสานวัฒนธรรมเดิมที่สืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษ (หน้า10)

Ethnic Group in the Focus

ชาวไทยยวน หมู่บ้านท่าเสา อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม (หน้า 10)

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาพูดของชาวไทยยวนคล้ายภาษาเหนือ แตกต่างตรงที่คำลงท้าย ซึ่งทำให้ภาษาพูดไทยยวนห้วนกว่าภาษาไทยเหนือ  (หน้า 33, 35)

Study Period (Data Collection)

ไม่พบข้อมูล

History of the Group and Community

การอพยพของชาวไทยยวนในภาคกลางมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ครั้นสมัยรัชกาลที่ 1 ได้โปรดเกล้าให้กวาดต้อนชาวเมืองเชียงแสนส่วนหนึ่งลงมาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนที่จังหวัดสระบุรีและราชบุรี ประมาณปีพ.ศ.2400 เนื่องจากปัญหาน้ำท่วม และปัญหาไม่มีที่ดินทำการเกษตรจึงได้มีการอพยพจากอำเภอบางกระโด และคูบัว จังหวัดราชบุรีมาตั้งถิ่นฐานบริเวณนี้ ในระยะแรกมีการประกอบอาชีพตัดไม้ทำเสาเรือนส่งขายจึงได้ชื่อว่าหมู่บ้านท่าเสา  (หน้า 27-28)

Settlement Pattern

ไม่พบข้อมูล

Demography

บ้านท่าเสา หมู่ 7 และหมู่ 11 มีครัวเรือนทั้งสิ้น 148 หลังคาเรือน จำนวนประชากรทั้งหมด 671 คน แยกออกเป็นชายจำนวน 316 คนและหญิง 355 คน (หน้า 38) โดยประชากรส่วนใหญ่ร้อยละ 54.10 อายุ 18 - 50 ปีซึ่งอยู่ในวัยทำงาน รองลงมาคือ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 12.3 และ 6-12 ปี ร้อยละ 7.30 (หน้า 39)

Economy

อาชีพระยะแรกหลังการอพยพตั้งถิ่นฐานบริเวณท่าเสาคือการตัดไม้ทำเสาเรือนส่งจำหน่ายยังจังหวัดสุพรรณบุรีและจังหวัดอ่างทอง (หน้า 28) หลังจากป่าไม้ลดจำนวนลง มีพื้นที่เปิดโล่ง จึงมีการเพาะปลูกควบคู่ไปกับการเลี้ยงสัตว์ (หน้า 29) ปัจจุบันเนื่องจากประสบปัญหาขาดแคลนน้ำในการเพาะปลูก รวมไปถึงการศึกษาที่สูงขึ้น จึงทำให้มีการเปลี่ยนอาชีพจากทำนาเป็นอาชีพอื่นๆ เช่น รับจ้าง เลี้ยงกุ้งกุลาดำ ค้าขาย รับราชการ และทำไร่อ้อย (หน้า 40) อย่างไรก็ตาม การทำไร่ ทำนา และเลี้ยงสัตว์ยังคงเป็นอาชีพหลักของคนในชุมชน (หน้า 46)

แหล่งน้ำที่สำคัญในชุมชนสำหรับอุปโภคได้แก่ บ่อน้ำวัดท่าเสา บ่อน้ำโรงเรียนวัดท่าเสา และสระเก่าท่าเสา ส่วนน้ำสำหรับบริโภคนั้นชาวบ้านแต่ละครอบครัวรองน้ำฝนใส่ตุ่มขนาดใหญ่เก็บไว้ใช้ดื่มกินตลอดปี ต่อมามีแหล่งน้ำเพิ่มขึ้นจากคลองชลประทานสำหรับใช้ในการเกษตรและบ่อบาดาลใช้เป็นน้ำประปาของชุมชน (หน้า 43)

Social Organization

ครอบครัวของชาวไทยยวนบ้านท่าเสามีลักษณะเป็นครอบครัวขยาย ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น มีการแต่งลูกสะใภ้เข้าบ้านฝ่ายชาย หรืออาจแต่งเขยเข้าบ้านฝ่ายหญิงกรณีเป็นลูกสาวคนเล็ก และมีการแยกออกไปตั้งครอบครัวเดี่ยวในบริเวณใกล้เคียง เมื่อพ่อแม่เสียชีวิตจะมีการแบ่งมรดกอย่างเท่าเทียมกันหรือบุตรชายได้รับมรดกมากกว่าบุตรสาว และในกรณีที่บุตรอยู่เลี้ยงดูพ่อแม่จะได้รับมากกว่าบุตรคนอื่นๆ (หน้า 32)
สำหรับการแต่งงานนั้น ชาวไทยยวนบ้านท่าเสานิยมแต่งงานกันเอง เนื่องจากความใกล้ชิดสนิทสนมกันระหว่างครอบครัว ฝ่ายชายเป็นผู้นำครอบครัว ยึดคติผัวเดียวเมียเดียว และไม่มีปัญหาการหย่าร้าง (หน้า 33)
การแต่งงานของชาวยวนบ้านท่าเสาคล้ายคลึงกับคนไทยภาคกลาง มีขั้นตอนดังนี้
1) การสู่ขอ กระทำโดยเฒ่าแก่ฝ่ายชายนำพานใส่หมากพลูไปเจรจาสู่ขอ 3 ครั้ง เพื่อเปิดโอกาสถามความสมัครใจของฝ่ายหญิง และเพื่อการตัดสินใจเรียกค่าสินสอดทองหมั้น  (หน้า 95)
2) การกำหนดสินสอดทองหมั้น ซึ่งพิจารณาตามฐานะฝ่ายชายและหญิง ลักษณะสินสอดทองหมั้นส่วนใหญ่จะคล้ายคลึงกัน คือ ประกอบด้วย ทองคำ เงิน ผ้าไหว้ ผ้าไหว้ผีบรรพบุรุษ ขนมขันหมากและขนมจันอับ โดยนิยมเรียกเป็นเลขคู่ตามคติความเชื่อว่าชีวิตคู่ยืนยาว ไม่แตกแยก (หน้า 96-97)
3) การหมั้นหมายและแต่งงาน ชาวยวนไม่นิยมหมั้นหมายยาวนานข้ามปีเพราะเชื่อว่าจะเป็นสาเหตุให้ไม่ได้แต่งงานกันจึงนิยมกำหนดวันหมั้นและวันแต่งงานวันเดียวกัน โดยฤกษ์ดีมักเป็นเดือนคู่ข้างขึ้น ยกเว้นเดือนเข้าพรรษา (หน้า 97)
4) การไหว้ญาติผู้ใหญ่ ญาติผู้ใหญ่ร่วมยินดีด้วยการผูกสายสินจน์ข้อมือ และมอบเงินแก่คู่บ่าวสาว โดยมีการมอบของไหว้กลับเพื่อตอบแทนน้ำใจ (หน้า 97)
5) การไหว้ผีบรรพบุรุษ ทำหลังไหว้ญาติผู้ใหญ่เสร็จแล้ว เป็นการบอกกล่าวแก่ผีปู่ย่า โดยมีเครื่องเซ่นไหว้ เป็นหมู ไก่ ขนมไหว้ผี และมะพร้าวอ่อน (หน้า 97-98)
6) การเลี้ยงผีปู่ย่า  โดยส่วนใหญ่จะทำหลังงานแต่งหนึ่งสัปดาห์ มักไม่เกินหนึ่งเดือน ถือเป็นการเสร็จสิ้นพิธีแต่งงานอย่างสมบูรณ์ (หน้า 98)

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

ชาวไทยยวนบ้านท่าเสานับถือศาสนาพุทธ (หน้า 30)
พิธีกรรมที่มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตชาวไทยยวนบ้านท่าเสา ได้แก่
1) พิธีกรรมการเลี้ยงผีปู่ย่า  เนื่องจากอิทธิพลการนับถือผี โดยเฉพาะผีบรรพบุรุษ ชาวไทยยวนเชื่อว่าตนสืบเชื้อสายมาจากปู่แสนย่าแสนไส้ บรรพบุรุษที่ตายแล้วจะยังคงปกป้องและควบคุมพฤติกรรมของลูกหลานภายในครอบครัว ดังนั้นจึงมีส่วนจัดระเบียบทางสังคมไปด้วย ผีประจำตระกูลจะมีการสืบทอดกันทางฝ่ายหญิง เรียกกลุ่มเครือญาติเดียวกันว่า ผีเดียวกัน โดยมีการตั้งหอผีไว้ที่บ้านต้นกระกูล ประกอบด้วย หิ้งผีปู่ย่าหรือที่สถิตวิญญาณผีย่าตั้งอยู่บริเวณหัวนอนหรือเสาเอกของเรือน และหอผีปู่ย่าตั้งอยู่นอกเรือน เป็นที่สถิตวิญญาณผีปู่ ซึ่งเชื่อว่าเป็นการแยกกันดูแลลูกหลานทั้งนอกบ้านในบ้าน (หน้า 49-51) เมื่อมีการผิดผีชาวไทยยวนจะประกอบพิธีกรรมเลี้ยงผีปู่ย่า ซึ่งเป็นการจัดสำรับคาวหวานเซ่นไหว้ เพื่อขอขมาดวงวิญญาณผีปู่ย่า นอกจากนี้ยังมีการเลี้ยงผีในวันสำคัญต่างๆ รวมไปถึงงานมงคล ตลอดขนการแก้บนเมื่อหายเจ็บป่วย การเลี้ยงผีกระทำในสองระดับคือ ระดับครอบครัว และระดับกลุ่มเครือญาติหรือการเลี้ยงปาง ในระดับนี้มีการประกอบพิธีทุกๆ 3 ปีซึ่งพิธีกรรมนี้ทำได้เฉพาะ 3 วัน ซึ่งถือว่าเป็นวันปล่อยผีเท่านั้น มีขั้นตอนการประกอบพิธีเหมือนการเลี้ยงผีปู่ย่าทั่วไป แต่ต่างตรงที่ให้ความสำคัญลูกหลานผู้ชายมากขึ้น อีกทั้งเป็นการรวมญาติ อาหารที่นำมาเซ่นไหว้จึงมีปริมาณมากกว่า (หน้า 53-54, 61)
2) พิธีกรรมการทำบุญกลางบ้าน เป็นการเซ่นไหว้ผีหมู่บ้านและสะเดาะเคราะห์สืบชะตาหมู่บ้าน เกิดจากการผสมผสานความเชื่อ 3 เรื่อง ได้แก่ ความเชื่อเรื่องการรับถือผีหมู่บ้าน ความเชื่อทางศาสนา และความเชื่อทางไสยศาสตร์เกี่ยวกับลางบอกเหตุ นิยมประกอบพิธีหลังสงกรานต์หรือช่วงต้นฤดูฝนในวันข้างขึ้นซึ่งเป็นวันมงคล (หน้า 62-64) การประกอบพิธีกรรมแบ่งเป็น 2 วัน ในวันแรกเป็นการจัดเตรียมสถานที่ในช่วงเช้าและมีการสวดมนต์ในช่วงเย็น มีการปั้นตุ๊กตาดินเหนียวเป็นตัวแทนสมาชิกในครอบครัว ตลอดจนสัตว์เลี้ยงและสิ่งของมีค่า เพื่อให้ยมทูตพาตุ๊กตาเหล่านี้ไปแทน (หน้า 64) ในวันที่สอง พระสงฆ์เจริญพุทธมนต์และเทศนาเรื่องการทำบุญต่อชะตา ชาวบ้านถวายภัตตาคารเช้าและเพลแก่พระสงฆ์และร่วมรับประทานอาหาร มีพิธีส่งกบาลหรือนำวัวไปปล่อย เป็นการนำตุ๊กตาดินเหนียววางรวมไว้บริเวณทางสามแพร่งและบอกกล่าวสื่อสารกับ ยมฑูตเพื่อให้ชาวบ้านแคล้วคลาดจากโรคภัยไข้เจ็บ (หน้า 66)
3) พิธีกรรมการรับเลี้ยงผีปอบและปล่อยปอบ เกิดจากความเชื่อเรื่องผีร้ายและไสยศาสตร์เครื่องรางของขลัง ชาวยวนมีความเชื่อเรื่องผีปอบที่สิงอยู่ในร่างผู้อื่น กินตับไตไส้พุงจนเสียชีวิตในที่สุด ซึ่งหมอผีจะขับไล่ปอบ โดยใส่หนังวัวแดงไว้ใต้หมอน หรือสวมคอ (หน้า 67) สำหรับการรับเลี้ยงปอบเพื่อไม่ให้สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่นนั้น ญาติที่น้องร่วมสายเลือดเป็นผู้เซ่นไหว้ด้วยกล้วยหวีงามและไก่ นอกจากนี้ยังมีผู้หวังทรัพย์สินทำการเซ่นไหว้วิญญาณปอบบริเวณทางสามแพร่ง ด้วยเชื่อว่าปอบจะให้คุณแก่ตน (หน้า 70) ส่วนการปล่อยปอบนั้นจะกระทำโดยทิ้งของมีค่าไว้บริเวณทางสามแพร่ง เพื่อให้ปอบดูแลทรัพย์สินนั้นๆ (หน้า 71)
ประเพณีที่สำคัญของชาวไทยยวนบ้านท่าเสา ได้แก่
1) ประเพณีสงกรานต์และงานนมัสการประจำปีหลวงปู่ว่อง อังกุโร จัดขึ้นทุกวันที่ 13-17 เมษายนของทุกปี เป็นประเพณีที่สืบทอดมาจากความเชื่อในพุทธศาสนา และความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์เครื่องรางของขลัง ซึ่งชาวไทยยวนบ้านท่าเสาศรัทธาในพระพุทธศานาเป็นอย่างมากโดยเฉพาะหลวงปู่ ว่อง อังกุโร อดีตเจ้าอาวาส จึงได้จัดงานทำบุญ งานนมัสการหลวงปู่ว่อง อังกุโร พิธีสรงน้ำพระวัดท่าเสา ตลอดจนการรดน้ำขอพรผู้สูงอายุ (หน้า 77, 79-80)
2)ประเพณีการบวช กระทำกัน 3 วันคือ วันเริ่มงาน วันรับนาค และวันบวช ประเพณีนี้เป็นการผสมผสานด้านวัฒนธรรมเดิมของชาวยวนเข้ากับวัฒนธรรมภาคกลาง (หน้า 82-83) โดยคงเอกลักษณ์ไว้ เช่น การแห่นาคบนม้าไม่ไผ่จำลอง (หน้า 84) และการนันนาการจากการรำหน้าจบวนแห่และการเต้นโยกม้าของผู้แบกม้าตามจังหวะ ดนตรี (หน้า 86)
3) ประเพณีคนเฒ่าเข้าวัดจำศีล เป็นการเข้าวัดรักษาศีล 8 ของผู้สูงอายุในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา (หน้า 88)
4) ประเพณีงานศพ ชาวยวนมีการแบ่งคนตายเป็น 2 ประเภทคือ ตายในบ้าน กับตายนอกบ้าน ซึ่งจะมีการตั้งศพต่างกัน กล่าวคือ ตายในบ้านจะตั้งศพไว้ในบ้าน ส่วนตายนอกบ้านจะตั้งศพไว้ที่วัด (หน้า 91) ชาวยวนจะมีการบอกหนทางแก่ผู้ป่วยที่ใกล้สิ้นใจ กล่าวคือ ญาติจะจัดเตรียมดอกไม้ ธูปเทียนใส่ลงกรวยใบตองวางลงในมือผู้ป่วยจัดเตรียมกระเป๋าเสื้อผ้าของผู้ ป่วยพร้อมทั้งเงิน ด้วยหวังให้ผู้ป่วยมีติดตัวไว้ใช้ภพหน้า พร้อมทั้งนิมนต์พระสงฆ์เพื่อให้ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย นอกจากนี้ชาวยวนยังเชื่อว่าการตายในช่วงก่อนเที่ยงวันถือว่ามีบุญ ผู้ตายสามารถมองเห็นหนทางไปปรโลกได้สะดวก สำหรับขั้นตอนอื่นๆ จะมีความคล้ายคลึงกับประเพณีของภาคกลางทั่วไป มีการตั้งสวดอภิธรรมศพ การบวชหน้าไฟ การเผาศพนั้นแต่เดิมเผาในบริเวณที่ดินของตนเนื่องจากไม่มีเมรุเผาศพ การร่วมพิธีเผาศพนิยมนำกิ่งทับทิมติดตัวไปด้วยเพื่อป้องกันวิญญาณร้าย และเมื่อเก็บกระดูกแล้วจะทำบุญตวยขอนคือนิมนต์พระสวดมนต์เย็นที่บ้าน หลังจากนั้นเมื่อครบ 100 วัน ญาติจะทำบุญและสร้างหอเสื้อหอผ้าเพื่ออุทิศแก่ผู้ตาย โดยบรรจุของกินของใช้ต่างๆลงในบ้านจำลองเพื่อให้ผู้ตายติดตัวไปใช้ได้ โดยก่อนเริ่มงานจะมีการทำพิธีขึ้นต๊าวตังสี่ เพื่อขอความคุ้มครองให้งานดำเนินไปอย่างเรียบร้อย (หน้า 91-93)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

การเปลี่ยนแปลงพิธีกรรมและประเพณีของชาวไทยยวนบ้านท่าเสานั้นเกิดผ่านจากกลุ่มคน 3 กลุ่มคือ กลุ่มวัยชราซึ่งรักษาประเพณีดั้งเดิมไว้นั้นเริ่มมีบทบาทลดลง แทนที่ด้วยกลุ่มวัยกลางคนซึ่งเริ่มปรับเปลี่ยนพิธีกรรมประเพณีบางอย่างตามยุคสมัย รวมไปถึงกลุ่มวัยรุ่นซึ่งเป็นกลุ่มที่มองไม่เห็นความสำคัญของพิธีกรรมความเชื่อดั้งเดิม (หน้า 109)
สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงพิธีกรรมและประเพณีเป็นผลมาจากปัจจัยต่างๆดังนี้
1)ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การมีคลองชลประทานเป็นแหล่งน้ำทำการเกษตร ทำให้พิธีแห่นางแมว และทำบุญกลางทุ่นนาลดบทบาทลง (หน้า 110)
2) ปัจจัยทางชีวภาพ มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงน้อยกว่าปัจจัยอื่น เนื่องจากคนในชุมชนส่วนใหญ่เป็นชาวยวน คนภายนอกเข้ามาอาศัยอยู่น้อย ดังนั้นตัวแปรด้านกลุ่มชาติพันธุ์ต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมจึงมีบทบาทน้อยมาก (หน้า 111)
3) ปัจจัยทางเศรษฐกิจ เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมชาวยวน เช่น ประเพณีกวนกระยาสารทในเทศกาลสารท ซึ่งต้องอาศัยวัสดุอุปกรณ์นั้นเริ่มลดลง ชาวบ้านส่วนใหญ่นิยมเปลี่ยนมาซื้อจากพ่อค้าแม่ค้าแทนการกวนกระยาสารทและแจกจ่ายกันเอง (หน้า 111) นอกจากนี้ปัจจัยเศรษฐกิจภายนอกมีส่วนเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตชาวยวน กล่าวคือ ชาวบ้านเริ่มปลูกข้าวเพื่อการค้าแทนการบริโภคในครัวเรือน ทำให้การตำข้าวลดบทบาทลง วิถีชีวิตการพบปะของหนุ่มสาวขณะตำข้าวซึ่งอยู่ในการดูแลของผู้ปกครองเริ่มเปลี่ยนไป (หน้า 112)
4) ปัจจัยทางวัฒนธรรม วัยรุ่นเริ่มไม่เห็นความสำคัญของประเพณีดั้งเดิม ตลอดจนการขาดผู้เชี่ยวชาญในการประกอบพิธี และความเบื่อหน่ายจำเจ ส่งผลให้พิธีกรรมบางอย่างมีขั้นตอนรวบรัดมากขึ้น ตลอดจนถูกละเลยและยกเลิกไปในที่สุด เช่น การตั้งศาลพระภูมิที่ต้องอาศัยบุคคลภายนอกเนื่องจากขาดผู้เชี่ยวชาญภายในหมู่บ้าน ขั้นตอนอันเป็นเอกลักษณ์ของชาวไทยยวนจึงเปลี่ยนแปลงไป (หน้า 112-113)
5) การติดต่อกับคนต่างสังคม ทั้งจากระบบการศึกษาที่สูงขึ้น ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงสู่สังคมเมือง ตลอดจนอารายธรรมตะวันตกและการผสานวัฒนธรรมเข้ากับชุมชนรอบข้าง ทำให้มีการรับแนวคิดตลอดจนพฤติกรรมใหม่ๆเข้ามาในชุมชนบ้านท่าเสา เช่น การไม่นิยมพูดภาษายวนในกลุ่มวัยรุ่น (หน้า 114) ประเพณีดั้งเดิม อาทิ การทำบุญกลางทุ่ง การแห่นางแมว และกิจกรรมบางอย่างในประเพณีสงกรานต์เริ่มขาดหายไป (หน้า 115) ความเชื่อเรื่องผี การเซ่นไหว้ผีของวัยรุ่นเริ่มลดลง (หน้า 117) เป็นต้น

Other Issues

การคมนาคมในหมู่บ้านท่าเสานั้น แต่เดิมเป็นถนนดินหรือทางเกวียน ต่อมาเปลี่ยนเป็นถนนลาดยางทำให้ติดต่อเดินทางกับจังหวัดใกล้เคียงได้สะดวกมากขึ้น หมู่บ้านมีระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ไฟฟ้า น้ำประปา อย่างทั่วถึง (หน้า 42)

Map/Illustration

ผู้เขียนได้ใช้รูปภาพเพื่อแสดงพิธีกรรมประเพณี เช่น การทำพิธีเซ่นไหว้ผีปู่ย่า การทำพิธีส่งกบาล การทำพิธีขึ้นต๊าวตังสี่ เป็นต้น (หน้า 58, 66, 94) ตลอดจนใช้ตารางอธิบายคุณค่า การเปลี่ยนแปลงพิธีกรรม และประเพณีของชาวไทยยวนบ้านท่าเสา (หน้า 104, 119)

Text Analyst อภิรัตน์ ศุภธนาทรัพย์ Date of Report 23 ก.พ. 2558
TAG ไทยยวน, พิธีกรรม, ประเพณี, นครปฐม, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง