สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ไทยใหญ่,วัฒนธรรม,ประเพณี,ตาก
Author ธีระ ภักดี
Title โครงการสำรวจวัฒนธรรมและประเพณีต่างๆ ของไทยใหญ่ในเขา อ.แม่สอด จ.ตาก
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ไทใหญ่ ไต คนไต, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ห้องสมุดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Total Pages 29 Year 2528
Source กำแพงเพชร : วิทยาลัยครูกำแพงเพชร
Abstract

ผู้เขียนได้พยายามนำเสนอเกี่ยวกับประเพณีของไทยใหญ่ที่อยู่ในเขตอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยสัมภาษณ์จากผู้รู้ 5 ท่านและเข้าร่วมกิจกรรมในประเพณีต่างๆ ซึ่งมีประเพณีต่างๆ ที่จัดได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ 1. ประเพณีเกี่ยวกับวงจร/วัฏจักรชีวิต เช่น ประเพณีการเกิด ประเพณีการสู่ขอ ประเพณีการแต่งงาน ประเพณีการครองเรือน 2. ประเพณีเกี่ยวกับความเชื่อต่าง ๆ เช่น ประเพณีการรักษาพยาบาล ประเพณีกั่นตอ ประเพณีการเข้าหว่า ประเพณีอุปปะตะก่า ประเพณีกวนข้าวหย่ากุ ประเพณีเผาศพเจ้าอาวาส ประเพณีการบวช ประเพณีรับซางจ่าน ประเพณีเนคป่านเซคาน ประเพณีใส่ข้าวพระพุทธ ประเพณีแห่กถิ่ง

Focus

พรรณนาประเพณีต่าง ๆ ของไทยใหญ่ที่มีภูมิลำเนาในเขต อ.แม่สอด จ.ตาก (ในหน้าที่อธิบายโครงการวิจัยไม่มีเลขหมาย)

Theoretical Issues

ผู้เขียนต้องการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับประเพณีวัฒนธรรมและความเชื่อของไทยใหญ่ใน อ.แม่สอด จ. ตาก เพื่อให้ผู้สนใจและอนุชนรุ่นหลังได้รู้จักและ/หรือใช้เป็นแนวทางในการศึกษาค้นคว้าวิจัยซึ่งผู้เขียนไม่ได้ระบุว่าใช้แนวคิดทฤษฎีอะไรเป็นกรอบหรือหลักในการจัดระเบียบข้อมูล (ในหน้าที่อธิบายโครงการวิจัยไม่มีเลขหมาย)

Ethnic Group in the Focus

ไทยใหญ่ใน อ.แม่สอด จ.ตาก (ในหน้าที่อธิบายโครงการวิจัยไม่มีเลขหมาย)

Language and Linguistic Affiliations

ผู้เขียนไม่ได้ระบุลักษณะของภาษาที่ใช้ กล่าวแต่เพียงว่ามีความคล้ายคลึงกับพม่า (หน้า 4)

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

ผู้เขียนไม่ได้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของชุมชนที่ทำการศึกษา กล่าวแต่เพียงประวัติความเป็นมาของอำเภอแม่สอดว่าเมื่อประมาณ 120 ปีที่ล่วงมาบริเวณอำเภอแม่สอดปัจจุบันมีกะเหรี่ยงมาตั้งภูมิลำเนาอยู่ เรียกชื่อหมู่บ้านว่า "พะเน่อเก่" ต่อมามีคนไทยจากจังหวัดต่าง ๆ ในภาคเหนืออพยพเข้ามาในบริเวณนี้เพิ่มขึ้น กะเหรี่ยงจึงอพยพไปอยู่ที่อื่น เพราะไม่ชอบปะปนอยู่กับชนเผ่าอื่นนาน ส่วนชื่ออำเภอ "แม่สอด" นั้นสันนิษฐานไว้ 2 ประการคือ ประการแรกอำเภอแม่สอดเป็นเมืองเดียวกันกับ "เมืองฉอด" ซึ่งตั้งประชิดชายแดนราชอาณาจักรสุโขทัย คำว่า "เมืองฉอด" นานเข้าอาจเพี้ยนกลายมาเป็นแม่สอดก็เป็นได้ และประการที่สองอาจจะมาจากชื่อของลำห้วยแม่สอดที่ไหลผ่านหมู่บ้านตำบลนี้ (หน้า 2)

Settlement Pattern

ไม่ได้กล่าวถึงแบบแผนการตั้งถิ่นฐานของชุมชนที่ศึกษา

Demography

ไม่ได้ระบุจำนวนประชากรไทยใหญ่ที่ศึกษา ระบุแต่เพียงจำนวนประชากรของอำเภอแม่สอดทั้งหมด 70,961 คน เป็นชาย 36,324 คน และเป็นหญิง 34,633 คน (หน้า 3)

Economy

เนื่องจากผู้เขียนมีความมุ่งหมายที่ทำการสำรวจประเพณีวัฒนธรรมต่าง ๆ ของไทยใหญ่ จึงมิได้กล่าวถึงระบบเศรษฐกิจแต่อย่างใด

Social Organization

ผู้เขียนไม่ได้กล่าวถึงโครงสร้างทางสังคมไว้อย่างชัดเจน แต่มีการกล่าวถึงไว้ในประเพณีต่าง ๆ คือ - ประเพณีการสู่ขอ จะกระทำ 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 ไปพูดทาบทามก่อน ครั้งที่ 2 อาจจะต่อรอง ครั้งที่ 3 ก็จะต่อรองนัดวันจัดงานทำพิธีแต่งงาน (หน้า 6) - ประเพณีการแต่งงาน หรือที่เรียกว่า มิงกราฮอง มีลักษณะเหมือนกับของไทยเรา มีเรียกร้องสินสอดซึ่งส่วนมากจะมีทองหมั้นเงินจำนวนหนึ่งห่อด้วยผ้าสีชมพู กำหนดวันดีที่เป็นศิริมงคลโดยไม่นิยมแต่งงานในเดือนเข้าพรรษาหรือเดือนคี่ มีเลี้ยงพระตอนเช้าซึ่งมากน้อยเท่าไรแล้วแต่กำลังเงิน แต่ที่สำคัญจะมี "กะเดาะปอย" ถวายพระ หลังจากนั้นจึงเชิญคนเฒ่าคนแก่ทั้งสองฝ่ายมาทำพิธีมัดมือให้ศีลให้พรให้คู่บ่าวสาวขอขมาพ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ เมื่อถึงเวลาส่งตัวมีการกั้นประตูเงิน ประตูทอง ประตูเพชรเป็นอันเสร็จพิธีต่อจากนั้นไม่มีกฎเกณฑ์ห้ามอะไรอีก คู่บ่าวสาวจะออกจากห้องหอไปทำงานอะไรก็ได้ตามสะดวกและเมื่อแต่งงานแล้วคู่บ่าวสาวจะอยู่บ้านเจ้าสาวก็ได้หรืออยู่บ้านเจ้าบ่าวก็ได้แล้วแต่ความสะดวก ถ้ามีฐานะก็ปลูกสร้างเรือนหอเอง (หน้า 6-7) - ประเพณีการครองเรือน การอยู่รวมบ้านเดียวกับผู้ใหญ่ ผู้มีอายุน้อยจะต้องยำเกรงให้ความเคารพนับถือ เวลาจะรับประทานอาหารก็จะต้องตักแบ่งเตรียมไว้ก่อนแล้วผู้มีอายุน้อยกว่าจึงจะรับประทานได้ จะออกจากบ้านไปไหนจะต้องขออนุญาต หรือบอกกล่าวทุกครั้ง เมื่อผู้ใหญ่สั่งสอนว่ากล่าวตักเตือนสิ่งใดต้องรับฟัง (หน้า 7) - ประเพณีกั่นต่อ เป็นประเพณีการขอขมาลาโทษหรือการแสดงคารวะต่อผู้ใหญ่ มีความคล้ายคลึงกับการรดน้ำดำหัวของคนไทยภาคเหนือ ซึ่งกระทำปีละครั้งในวันสงกรานต์เพื่อเป็นการแสดงความเคารพแก่ญาติผู้ใหญ่และผู้อาวุโสในหมู่บ้าน โดยลูกหลานจะพากันนำดอกไม้ธูปเทียนไปกราบไหว้ญาติผู้ใหญ่ที่ตนเคารพ (หน้า 8) ซึ่งประเพณีดังกล่าวน่าจะเป็นการบอกกล่าวและ สั่งสอนเด็กรุ่นหลังให้มีความเคารพ มีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่ในชุมชน

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

ผู้เขียนไม่ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนแต่มีการสอดแทรกไว้ในเนื้อหาของประเพณีต่าง ๆ เช่น ประเพณีการเกิด ในขณะตั้งครรภ์ ห้ามอาบน้ำยามพระอาทิตย์โพล้เพล้ ห้ามขอน้ำดื่มจากคนอื่นเพราะเชื่อว่าเวลาคลอดจะแฝดน้ำคือในท้องจะมีน้ำมากผิดปกติ และคลอดยาก เมื่อคลอดแล้วห้ามมารดาถูกน้ำฝน เพราะจะทำให้เป็นอัมพาต เมื่อคลอดแล้วจะมีการเข้าเส้า (คือพิธีการเข้ากระโจม) เพื่อให้สิ่งสกปรกออกมากับเหงื่อ ถ้าเด็กใหม่ร้องไห้งอแงไม่ดูดนม พ่อจะให้คนที่มีความรู้ทางไสยศาสตร์ทำพิธีห่วงข้าว เวลาเด็กเกิดใหม่ได้ประมาณ 1 เดือนจะมีการโกนผมไฟ มีการเลี้ยงอาหารพระ (หน้า 5) ประเพณีการเข้าหว่า หรือประเพณีการเข้าพรรษา (หน้า 9) พิธีกวนข้าวหย่ากุ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ทำมะแน" เป็นการสะเดาะเคราะห์ และทำบุญ (หน้า 10) ประเพณีเผาศพเจ้าอาวาส หรือปอยล้อ คือ การทำบุญศพของพระภิกษุที่มรณภาพ (หน้า 11) ประเพณีการบวช ไทยใหญ่เรียกว่า "ข่ามส่าง หรือข่ามจาง" (หน้า 13) ประเพณีเนคป่านเซคาน หรือตลาดสวรรค์ เป็นประเพณีที่จัดขึ้นในเวลากลางคืนเพื่อน้อมรำลึกแด่องค์สัมมาสัมพุทธเจ้าในวันเพ็ญเดือน 12 โดยไทยใหญ่จะช่วยกันเย็บผ้าทิพย์ หรือ "ปะโตสังการ" ห่มองค์เจดีย์เล็ก-องค์เจดีย์ใหญ่ พระพุทธรูปต่าง ๆ ครบทั่ววัด และเลี้ยงอาหารผู้ที่เข้ามาชมตลาดสวรรค์ (หน้า16-17) ประเพณีใส่ข้าวพระพุทธ เป็นการส่งเสริมให้ประชาชนใส่บาตร อาหารที่ถวายพระพุทธจะลาแล้วนำอาหารมาแจกจ่ายให้เด็กยากจน (หน้า 18) จากประเพณีดังกล่าวทำให้ทราบว่าไทยใหญ่นับถือพุทธศาสนาเป็นหลัก ขณะเดียวกันก็มีการนับถือผีและมีความเชื่อทางไสยศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้อง

Education and Socialization

ไม่ระบุชัดเจน

Health and Medicine

ปรากฏอยู่ในประเพณีการรักษาพยาบาลที่เมื่อมีผู้เจ็บป่วยมักหารากไม้ ใบไม้มาต้มดื่ม หรือไม่ก็นำมาบด มาทาตามแผลตามตัว บางคนก็ไปหาพระช่วยรดน้ำมนต์ ดื่มน้ำมนต์ ตรวจดวงชะตา จุดเทียนสะเดาะเคราะห์ จุดเทียนต่ออายุ เมื่อเวลาเด็กปวดท้อง ก็จะเอาปูเลย (ไพล) สารปู (ว่านน้ำ) มาบดทาที่ท้อง หรือปวดมากๆ ก็ให้กินเม็ดมะนาวถือว่าแก้ความดันไปด้วย เมื่อเป็นหวัดคัดจมูกก็ให้เอาน้ำตบกระหม่อมตอนเช้าขณะที่ล้างหน้า จากวิธีการเหล่านี้ทำให้ทราบว่าไทยใหญ่มีวิธีการรักษาและป้องกันโรคภัยไข้เจ็บที่แตกต่างไปจากไทยส่วนกลาง (หน้า 8)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ผู้เขียนได้กล่าวไว้ในประเพณีการแสดงละครของพม่า ซึ่งส่วนมากรับอิทธิพลมาจากการแสดงของไทยโบราณ และคนพม่าจะเรียกว่า "โยเดียอะก้า" หมายถึงละครแบบอยุธยา ใช้ในการต้อนรับแขกเมือง ต่อมาการรำพื้นเมืองและการรำสากลเข้ามาแทรกปะปนจึงเรียกว่า การรำประยุกต์หรือบอง ส่งอะก้า, อะหล่องอะห้า, มองโซ, บาป้ามะเต่งยูอะก้า "โด่งอะก้า" หมายถึง การแสดงของกะเหรี่ยง (หน้า 20-21) นอกจากนี้ ยังมีการรำของเงี้ยวและรำพื้นเมืองของแม่สอดสมัยโบราณ และการรำพม่าโบราณที่มีเฉพาะเสียงดนตรีไม่มีเนื้อร้อง จะรำในงาน เช่น การเลี้ยงข้าวซางจ่าม การเต้นรอด (หน้า 25-26)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Text Analyst เสาวลักษณ์ กุศลทรามาส Date of Report 26 ก.ค. 2548
TAG ไทยใหญ่, วัฒนธรรม, ประเพณี, ตาก, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง