สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject กะเลิง, วิถีชีวิต, สังคม, เศรษฐกิจ,บ้านบัว, สกลนคร
Author สุรัตน์ วรางค์รัตน์ ธวัชชัย กุณวงษ์ ศิริพร อินธิแสง
Title กะเลิงบ้านบัว
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity กะเลิง, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) Total Pages 36 หน้า Year 2531
Source ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมวิทยาวิทยาลัยครูสกลนคร
Abstract

งานเขียนกล่าวถึงสภาพความเป็นอยู่สังคม เศรษฐกิจ ของกะเลิงบ้านบัว ตำบลกุดบาก อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร ซึ่งแต่เดิมตั้งรกรากอยู่ในประเทศลาวซึ่งได้อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเช่นจังหวัดสกลนคร นครพนม และมุกดาหาร เมื่อประมาณ 150 ปีที่แล้ว โดยอพยพมาเป็นจำนวนมากในสมัยรัชกาลที่ 3 ครั้งปราบปรามศึกเจ้าอนุวงศ์และเมื่อครั้งปราบปราบศึกฮ่อในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงมีกะเลิงได้อพยพหนีภัยสงครามเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ซึ่งจากการศึกษาระบุว่าสภาพสังคมเศรษฐกิจของกะเลิงเปลี่ยนไปจากอดีตเนื่องจากกะเลิงมีประชากรมากขึ้นประกอบกับทางการเข้มงวดเรื่องการตัดไม้ในเขตวนอุทยานแห่งชาติ จึงทำให้การหาของป่าและล่าสัตว์ที่กะเลิงเคยทำมาแต่เดิมทำไม่ได้ เนื่องจากป่าไม้ขาดความอุดมสมบูรณ์ดังนั้นจึงทำให้กะเลิงบ้านบัวต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพสังคมปัจจุบันที่ต้องใช้เงินซื้อหาแทนวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนสิ่งของระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ในหมู่บ้านต่างๆ เหมือนเช่นที่เคยทำเมื่อในอดีต

Focus

ศึกษาประวัติความเป็นมาของกะเลิงบ้านบัว การเลือกหลักแหล่งที่ทำกิน การประกอบอาชีพ วัฒนธรรม ศาสนา ความเชื่อ และภาษา (หน้า 2)การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรฐกิจของกะเล่งบ้านบัว (หน้า 10)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

กะเลิง คือกลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง ได้แก่ จังหวัดสกลนคร นครพนม และมุกดาหาร ในงานเขียนได้อ้างคำของเชเฟอร์(Schafer) ว่ากะเลิงมีชื่อเรียกในที่ต่างๆ ไม่เหมือนกันเช่น ในภาษาจีนจะเขียนว่า คุณ-ลุน(K” un-lun) หรือ กุรุง(kurung) และต่อมาเพี้ยนเสียงเป็นคำว่า “กะลุง” (klung)ในภาษาจาม ตัวอย่างเช่นชื่อของกษัตริย์โปกะลุง (pokloung) ซึ่งเชเฟอร์คาดการณ์ว่า หลังจากที่คนเขมรได้เข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ทางภาคเหนือของเวียดนามก็ยืมคำนี้มาจากพวกจามซึ่งบริเวณที่คนกะเลิงอยู่ก็อยู่ใกล้กับเมืองเง่อานในพื้นที่เทือกเขาอาก ทางทิศตะวันตก (หน้า 2) ผู้เขียนได้กล่าวถึงหลักฐานการสำรวจของ รอ.เดอมาเกลฟ หัวหน้าคณะสำรวจดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงที่ร่วมกับ ม.ปาวี ว่า กะเลิงอยู่เป็นจำนวนมากที่ลุ่มน้ำตะโปน กับต้นน้ำเซบังเหียน โดยยกตัวอย่างให้เห็นว่า หมู่บ้านเล ตง (Le” Ton) เป็นหมู่บ้านที่ยังไม่พัฒนา คนที่อยู่เป็นคนป่ามีลักษณะใสซื่อ (หน้า 2)

Language and Linguistic Affiliations

ภาษากะเลิง จากการสันนิษฐานของ เจมส์ อาร์ เชมเบอร์แลน นักมานุษยวิทายาภาษาศาสตร์ ระบุว่า เมื่อก่อนนี้กะเลิงมีภาษาพูดอยู่ในตระกูลมอญ-เขมร ภายหลังเมื่อย้ายที่อยู่มาอยู่พื้นราบรวมอยู่กับชาติพันธุ์พันธุ์อื่นๆ โย้ย ย้อ นอกจากนี้ยังรับวัฒนธรรมภาษาพูดมาจากกลุ่มไท –ลาว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดนี้ได้เกิดขึ้นมานานแล้วก่อนที่กะเลิงจะอพยพมาอยู่ที่ฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร นครพนม และมุกดาหาร เป็นต้น (หน้า 4)

History of the Group and Community

ประวัติของหมู่บ้านบัว แต่เดิมกะเลิงตั้งรกรากอยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง โดยได้อพยพข้ามแม่น้ำโขงมาหลายครั้งด้วยกัน นับจากการทำสงครามปราบเจ้าอนุวงศ์ในสมัยรัชการที่ 3 ต่อมากะเลิงได้อพยพมาเป็นจำนวนมากในสมัยรัชการที่ 5 ในการปราบปรามจีนฮ่อ ที่ยกกองกำลังมาตีบ้านเมืองในเขตสิบสองจุไท เมื่อ พ.ศ.2416 กลุ่มฮ่อได้ยกกำลังมาตีเมืองเชียงขวาง โดยได้ตั้งกองกำลังอยู่ที่ทุ่งเชียงคำเพื่อเตรียมไปตีหัวเมืองที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ได้แก่เมืองหลวงพระบาง ซึ่งในสมัยนั้นอยู่ในการปกครองของไทย การปราบปรามฮ่อของทางการไทยได้ดำเนินไปหลายครั้งด้วยกัน เช่น ในพ.ศ. 2418, 2426, 2428, และ 2430 ตามลำดับ ซึ่งจากการปราบปรามฮ่อ กลุ่มกะเลิงก็ได้มีการอพยพติดตามแม่ทัพมาอยู่ตามเมืองต่างๆ ในเวลานั้นกะเลิงได้มาตั้งหมู่บ้านใกล้ตัวเมืองสกลนคร ไม่ว่าจะเป็นบ้านโพนงาม บ้านนายก (หน้า 3) สำหรับการตั้งบ้านบัว คาดว่าเป็นหมู่บ้านที่อพยพมาเมื่อ 150 ปีที่ผ่านมา โดยได้อยกตัวมาจากบ้านนายก นามน ที่อยู่ในพื้นที่อำเภอเมืองสกลนคร ซึ่งในเวลานั้นมีนายราชเสนา กับนางวงค์ศรีแก้ว นำครอบครัวมาตั้งหมู่บ้านอยู่ที่ริมฝั่งห้วยทรายซึ่งคาดว่าบริเวณนี้มีพวกข่ามาอยู่ก้อนแล้ว เนื่องจากมีคนพบไหกระดูกที่อยู่ในบริเวณวัด (หน้า 5) หลังจากนั้นต่อมาเมื่อมีคนมาอยู่ในบ้านบัวมากขึ้น พ.ศ.2470 พ่อจารย์คาน ที่เป็นผู้ใหญ่บ้านในสมัยนั้น จึงได้ขอให้กะเลิงทั้งนามสกุลราชเสนา และวงค์ศรีแก้ว ได้เปลี่ยนมาใช้นามสกุล กุดวงศ์แก้ว ให้เป็นนามสกุลเดียวกันเพื่อความแน่นแฟ้นและเอกลักษณ์ของคนกะเลิงบ้านบัว (หน้า 3)

Settlement Pattern

สภาพบ้านเรือนของกะเลิงในอดีต งานเขียนกล่าวถึงการสำรวจของ รอ.เดอมาเกลฟ หัวหน้าคณะสำรวจดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ระบุถึงสภาพบ้านเรือนของกะเลิงในอดีตว่า กะเลิงอยู่เป็นจำนวนมากที่ลุ่มน้ำตะโปน กับต้นน้ำเซบังเหียน โดยยกตัวอย่างให้เห็นว่า หมู่บ้านเล ตง (Le” Ton) เป็นหมู่บ้านที่ยังไม่พัฒนา ส่วนกะเลิงที่อยู่บ้านท่าชา (Ta-Tcha) ที่นี่มีความอุดมสมบูรณ์เหมือนกับบ้านท่าเรียบ(Ta-Riep) ที่นี่ปลูกบ้านหลังใหญ่โตมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย และสร้างรั้วรอบหมู่บ้านเพื่อป้องกันอันตรายต่างๆ และหมู่บ้านริมน้ำตะโปน ได้ปลูกไม้ยืนต้น ปลูกผลไม้ ต้นหมาก และพืชผักสวนครัว การเลี้ยงชีพช่วงน้ำลดก็จะปลูกฝ้าย ยาสูบ ต้นหม่อน และอื่นๆ (หน้า 2) บ้าน บ้านของกะเลิงประกอบด้วย 2 ส่วนคือส่วนที่เป็นที่นอน โดยจะกั้นเป็นห้องขนาดเล็กซึ่งเรียกว่า “ส่วม” หรือ “ซ่วม” โดยจะแบ่งเป็นห้องนอนของพ่อแม่ 1 ห้องส่วนห้องนอนของลูกเขยก็จะกั้นอีก 1 ห้องและอีกส่วนจะเปิดโล่ง ในส่วนนี้ในบางครั้งก็ใช้เป็นที่นอนและเป็นทางผ่านหน้าห้อง “ซ่วม”ในส่วนที่เป็นห้องโล่ง ด้านซ้ายมือหากเดินเข้ามาในบริเวณตัวบ้านก็ถือว่าเป็นมุมผีเนือน (แจ) โดยจะทำเป็นหิ้งบูชาผี พ่อ-แม่ ในวันธรรมสวนะ โดยการจัดขัน 5 ขัน 8 และในกรณีลูกหลานจะแต่งงาน อย่างไรก็ดีในบริเวณหิ้งบูชาผีเรือนจะให้เฉพาะลูกหลานแท้ๆนอนได้เท่านั้น ส่วนคนนอกครอบครัวจะไม่ให้เข้าพื้นที่ตรงนี้ เพราะถือว่าจะเป็นการ “ขลำ” (สิ่งต้องห้าม) ถ้าไม่เชื่อคนในครอบครัวจะเจ็บไข้ได้ป้วยได้รับความเดือดร้อน ฯลฯ (หน้า 16)

Demography

บ้านบัว มีประชากร 455 ครอบครัว ส่วนใหญ่เป็นชาติพันธุ์กะเลิงกว่า 90 % นอกจากนี้ก็ประกอบด้วย ผู้ไทย และไทลาว (หน้า 26)

Economy

เศรษฐกิจ กะเลิงบ้านบัวมีอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักและหาของป่า 1) การหาของป่า ในช่วงเช้าจะเป็นช่วงทำนา เพาะปลูก ในช่วงบ่ายจะออกไปหาพืชผักผลไม้ในป่าบริเวณเทือกเขาภูพานทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของหมู่บ้านเพื่อนำมาเป็นอาหาร ซึ่งได้แก่ พืชป่าต่างๆ เช่น หวาย หน่อไม้ ผักเลา ผักหวาน ดอกระเจียว เห็ด ฯลฯ สมุนไพร น้ำผึ้ง หรือสัตว์อื่นๆ เช่น กระรอก กระแต หากมีการหาได้มากก็จะมีการแลกเปลี่ยนในหมู่บ้าน (หน้า 6) 2) การล่าสัตว์ สัตว์ป่าที่เริ่มเป็นที่นิยมเมื่อ 50-60 ปีที่ผ่านมาได้แก่ วัวป่า ควายป่า กวาง ฟาน(เก้ง) และหมูป่า โดยมีการนัดหมายล่าเป็นหมู่คณะ ประกอบไปด้วยผู้คนหลายวัย ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ การไล่สัตว์เรียกว่า “เปาะ” หรือ “เปยเปาะ” โดยมีความเชื่อว่าจะต้องพูดคำหยาบ คำลามกเพื่อให้ผีป่าพอใจ อำนวยความสะดวกในการล่าสัตว์ เมื่อได้สัตว์มาแล้วจะมีการแบ่งปันกัน (หน้า 6-7) 3) การเพาะปลูก - ข้าวไร่ นิยมปลูกในเดือน 5-6 มี 2 ชนิดคือ ข้าวฮูดและข้าฮ้าว กรรมวิธีการเพาะปลูกคือ เดือน 3-4 เป็นช่วงเตรียมพื้นที่โดยเป็นป่าเชิงเขา ใช้ “หมากจิ้ก” เพื่องัดรากไม้และสิ่งกีดขวาง จากนั้นขุดหลุม ยอดเมล็ดข้าว กลบหลุม รอจนกว่าข้าวสุกจึงเก็บเกี่ยว - ข้าวนาหว่าน มีหลายพันธุ์ ข้าวหนอนนา ข้าวหางฮี ข้าวกาบยาง ข้าวขี้ตมหลวง ข้าวเหลืองแก้ว ข้าวดอญวน ข้าวงาช้าง เป็นต้น นิยมปลูกเมื่อหยอดเมล็ดข้าวไร่เสร็จแล้ว ยังคงใช้เครื่องมืออุปกรณ์แบบพื้นบ้าน ในเวลาว่างจากการทำงานในไร่นาก็จะทำเครื่องจักสาน เช่น กระบุง กะติ๊บข้าว กะด้ง ฯลฯ (หน้า 7-8) - พริกและฝ้าย เป็นพืชที่ปลูกเพื่อเพิ่มรายได้นอกเหนือจากการปลูกข้าว เริ่มปลูกในช่วงฝนตกหลังจากไถนาหว่านกล้า จะเก็บเกี่ยวหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวเรียบร้อยแล้ว แล้วจึงนำผลผลิตมาทอเป็นเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ส่วนที่เหลือจะนำไปแลกเปลี่ยนสินค้าที่จำเป็นซึ่งจะมีกลุ่มชาติพันธุ์อื่น 4) การแลกเปลี่ยนผลผลิต ชาวกะเลิงบ้านบัวไม่นิยมนำข้าวไปขายเนื่องจากต้องสะสมไว้รับประทานตลอดทั้งปี และใช้ในการทำบุญ สิ่งที่นิยมนำไปแลกเปลี่ยนกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่นคือพริกและฝ้าย โดยมีการซื้อขายแบบดั้งเดิมซึ่งเป็นลักษณะพึ่งพามากกว่าหาผลกำไร และผ่านระบบเครือญาติที่เรียกว่า “เสี่ยว” เช่น ไทย้อ ไทลาว ที่อยู่บ้านสามผง บ้านดงน้อย อำเภอศรีสงคราม นำปลาแดก ปลาย่าง มาแลกพริก นอกจากนี้ก็มีกลุ่มไทย้อ ผู้ไทย บ้านม่ว บ้านขมิ้น บ้านเชียงเครือ นำเครื่องปั้นดินเผามาแลกเปลี่ยนสินค้า เป็นต้น ซึ่งการแลกเปลี่ยนสินค้าด้วยกองเกวียนนี้ใช้เวลานาน ทำให้กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆได้ติดต่อพบปะพูดคุยทำให้เกิดความสนิทสนม เป็นเพื่อนกัน บางส่วนในกลุ่มคนหนุ่มสาวบชางส่วนก็แต่งงานกันก็มี (หน้า 8-9) 5) การเปลี่ยนแปลงการเพาะปลูก เมื่อชาวบ้านหาทางออกในการเพิ่มรายได้ควบคู่กับการปลูกข้าว ทำให้มีการนำพืชชนิดต่างๆ มาทดลองปลูกในพื้นที่ได้แก่ ฝ้ายพันธุ์ ได้มีการนำเข้ามาสู่หมู่บ้านในปี พ.ศ.2505 จาก จ.เลย แต่ก็ประสบปัญหาโรคและแมลงรบกวน ปอ ได้มีการนำเมล็ดจากอ.บัวขาว จ.กาฬสินธุ์ มาทดลองปลูก ในปี พ.ศ.2508 โดยเริ่มมีการจ้างค่าแรงวันละ 5 บาท แต่ด้วยค่าลงทุนที่สูง จึงประสบปัญหาขาดทุน มันสำปะหลัง เริ่มปลูกในหมู่บ้านบัว ในพ.ศ. 2513 โดยเริ่มปลูกเพียง 4 ครอบครัว เมื่อราคามันสำปะหลังราคาสูงขึ้น ชาวบ้านจึงได้เริ่มสนใจปลูกมันสำปะหลังเพิ่มขึ้น เกิดการลงทุนไถ่พื้นที่ พรวนดิน จ้างคนด้ายหญ้า เร่งหาแหล่งเงินกู้ต่างๆ จึงเกิดการเปิดสหกรณ์การเกษตรที่อ.กุดบากเพื่อให้กู้เงินในดอกเบี้ยต่ำ แม้มันสำปะหลังจะสร้างรายได้แก่ชาวบ้านดีกว่าพืชชนิดอื่นๆ แต่ก็ได้ส่งผลกระทบหลายด้านเช่น ทำให้ดินเสื่อมสภาพ ทำลายพืชที่เป็นอาหารตามธรรมชาติ เสี่ยงต่อการประสบภาวะขาดทุน (หน้า 11-13)

Social Organization

การแต่งงาน หนุ่มสาวกะเลิงในอดีตจะมีโอกาสเกี้ยวพาราสีกันในช่วง ประเพณีลงข่วง ในเดือนอ้าย เดือนยี่ ซึ่งในตอนกลางคืนหนุมกะเลิงจะเป่าแคนไปจีบสาว บางครั้งก็จะร้องผญาเพื่อถามความในใจกับหญิงคนรัก นอกจากนี้หนุ่มสาวจะมีโอกาสพบกันช่วงไปเลี้ยงควายที่ทุ่งนา รวมทั้งตอนไปอาบน้ำที่หนองน้ำเป็นต้น (หน้า 26) เมื่อหนุ่มสาวตกลงใจที่จะแต่งงานกัน ฝ่ายชายก็จะให้หมอสื่อไปสู่ขอเพื่อตกลงค่าสินสอดและกำหนดวันแต่งงาน โดยเจ้าบ่าวจะเตรียมค่าไขคำปาก ซึ่งประกอบด้วย เหล้า 1 ไหล และเงินให้กับหมอสื่อ เมื่อตกลงกันเรียบร้อยแล้ว พ่อ แม่ของเจ้าสาวก็จะทำพิธีบอกผีเรือนว่าลูกสาวจะแต่งงานมีคู่ครอง สำหรับสิ่งของที่ใช้ในการประกอบพิธีได้แก่ ไข่ต้ม 1 ตัว เหล้า 1 ขวด ยาสูบ 2 มวน หมาก 2 คำ (หน้า 27) สำหรับการแต่งงานกะเลิงชอบจัดพิธีใกล้กับวันสู่ขอคือจะไปขอตอนเย็นวันรุ่งขึ้นก็จะจัดพิธีแต่งงาน สำหรับการทำพิธีก็จะเป็นหน้าที่ของหมอสูตร ในวันแต่งงานเจ้าบ่าวจะเคลื่อนขบวนไปบ้านเจ้าสาว โดยเจ้าบ่าวจะรำไปบ้านเจ้าสาวหรือเรียกว่า “รำเปิดประตูหลวง” ต่อมาก็จะเดินเหยียบหินลับมีดที่คลุมด้วยใบตอง ซึ่งกะเลิงเชื่อว่าจะทำให้เจ้าบ่าวมีภาวะความเป็นผู้นำดูแลครอบครัวให้มีความสุข จากนั้นก็จะล้างเท้าให้เจ้าบ่าวด้วยน้ำอบแล้วก็ขึ้นบ้านเพื่อทำพิธีสู่ขวัญ นอกจากนี้ก็ต้องจัดคายพิธี เพื่อเลี้ยงผีเรือน พิธีนี้จะเป็นหน้าที่ของญาติผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงหรือเรียกว่า “จุ้มผี” สิ่งของที่นำมาประกอบพิธีได้แก่ หมู่ 1 ตัว ไก้ 6 ตัว เหล้า 6 ไห กรณีที่ฝ่ายชายอยากให้เจ้าสาวมาอยู่ที่บ้านตน ก็จะเพิ่มหมูอีก 1 ตัว อย่างไรก็ดีจากการศึกษาพบว่าโดยมากแล้วกะเลิงมักจะแต่งงานกับคนในหมู่บ้านด้วยกันเพราะได้รู้จักนิสัยใจคอกัน ประกอบกับกะเลิงไม่ค่อยได้เดินทางไปทำงานนอกบ้านและมีความผูกพันกับบ้านเกิด ส่วนคนที่แต่งงานกับคนภายนอกหมู่บ้านก็มีจำนวนน้อยคือมีจำนวน 19 คน จากจำนวนประชากรทั้งหมด 455 หลังคาเรือน (หน้า 27)

Political Organization

ผู้นำชุมชน นับตั้งแต่กะเลิงมาตั้งรกรากที่บ้านบัวนั้น เมื่อก่อนมีการปกครองโดยผู้อาวุโส หรือ “สถาบันผู้เฒ่า” ได้แก่ผู้หลักผู้ใหญ่ที่มีความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรมและเป็นผู้ที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ (หน้า 24) จะคอยตัดสินและไกล่เกลี่ยถ้าหากมีคนในหมู่บ้านมีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งไม่ลงรอยกัน โดยผู้สูงอายุทั้งหลายจะเกลี้ยกล่อม ให้เลิกบาดหมางกันและให้มาสามัคคีกันเช่นเดิม (หน้า 25) สำหรับผู้นำอย่างเป็นทางการนำโดยผู้ใหญ่บ้านหรือพ่อบ้าน มีขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชการที่ 6 ใน พ.ศ.2465 ผู้ใหญ่บ้านมีหน้าที่ติดต่อประสานงานกับทางการและประชุมประจำเดือน สำหรับการเลือกผู้ใหญ่บ้านในสมัยแรกจะเป็นมติของชาวบ้านที่จะเลือกคนที่มีคุณธรรมมาเป็นผู้นำของหมู่บ้าน กระทั่งถึงผู้ใหญ่บ้านคนที่ 11 กะเลิงบ้านบัวจึงได้คัดเลือกผู้นำหมู่บ้านแบบเลือกตั้งเป็นครั้งแรก (หน้า 25) อย่างไรก็ตามหากกะเลิงในหมู่บ้านมีเรื่องราวไม่ใหญ่โตก็จะให้ผู้อาวุโสไกล่เกลี่ยให้เพราะหากมีเรื่องแล้วไปแจ้งผู้ใหญ่บ้านเรื่องบางอย่างที่ร้ายแรงผู้ใหญ่บ้านก็จะมอบให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสอบสวนซึ่งกะเลิงเห็นว่าเป็นเรื่องเสียเวลาและเสียดายเงินทองหากมีเรื่องจนถึงโรงพัก ดังนั้นถ้าหากมีปัญหาทะเลาะเบาะแว้งเล็กๆน้อยๆ ก็จะให้ผู้สูงอายุไกล่เกลี่ยให้เหมือนเช่นในอดีตที่เคยทำมา(หน้า 26)

Belief System

ความเชื่อเรื่อง ผี กะเลิงบ้านบัวนับถือศาสนาพุทธและนับถือผี สำหรับผีที่นับถือ ประกอบด้วยผี เรือน ได้แก่วิญญาณของพ่อ แม่หรือบรรพบุรุษที่เสียชีวิตไปแล้วที่มีหน้าที่ปกป้องดูแลลูกหลานในครัวเรือนให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข (หน้า 16)นอกจากนี้ ยังมีผีตาแฮก คือผีที่เฝ้าไร่นา ช่วยคุ้มครองพืชผลที่ปลูกให้ได้ผลผลิตเป็นจำนวนมาก การทำพิธีจะทำก่อนทำนา โดยจะทำพิธีเซ่นไหว้ด้วยสิ่งของต่างๆ เช่น พาหวาน 100 พา ควายนา(คือปูนา) 1 คู่ หมาก 2 คำ ยา 2 มวน เทียน 1 คู่การเซ่นไหว้ก็เพื่อให้ การทำนาได้ผลผลิตจำนวนมากและทำให้วัวควายไม่ป่วยไข้ หลังจากเซ่นไหว้ผีตาแฮกแล้วก็จะนำกล้าปักลงในนา โดยจะแบ่งกล้าเป็น 7 กอ และขณะปักก็จะขอให้มีความโชคดีในชีวิตและการงาน การบูชาผีตาแฮก จะทำอรกครั้งหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตเรียบร้อยแล้ว สำหรับสิ่งของที่นำมาเซ่นไหว้นั้นประกอบด้วย เหล้า 1 ไห ไก่ 1 ตัว พาหวาน 100 พา เทียน 1 คู่ และอกไม้ 1 คู่ ผีป่าผีภู คือ ผีที่ปกปักรักษาป่ไม้ สัตว์ป่าและพืชสมุนไพรต่างๆ ให้คงความอุดมสมบูรณ์สำหรับการหาอยู่หากินของกะเลิงบ้านบัว ทั้งนี้การจะทำไร่ถางป่ากะเลิงจะบอกกล่าวกับผีป่าผีภูก่อนจึงจะทำไร่ได้ (หน้า 17) สำหรับการทำพิธีเซ่นไหว้ผีป่าผีภู กะเลิงจะทำในช่วงเดือน 6 ต้นฤดูฝน โดยผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านจะพาลูกๆ หลานๆ ไปทำพิธีเซ่นไหว้ผีป่าผีภูที่ดูแลต้นน้ำลำห้วยทรายที่มีต้นน้ำที่ภูถ้ำพระซึ่งอยู่ไกลจากบ้านบัวเพียง 3 กิโลเมตร สำหรับสิ่งของที่นำมาเซ่นไหว้ได้แก่ อาหารคาวหวาน โดยจะตั้งคายขัน 5 ขัน 8 มาทำพิธี (หน้า 18) ผีปู่ตา คือผีที่ทำหน้าที่รักษาป่าไม้ของหมู่บ้านให้คงความอุดมสมบูรณ์ซึ่งตามความเชื่อและประสบการณ์ของกะเลิงเชื่อว่าถ้าใครไปตัดต้นไม้ใกล้กับศาลปู่ตาก็จะทำให้ได้รับความเดือดร้อน เจ็บไข้ไม่สบาย เป็นต้น (หน้า 18) สำหรับการทำพิธีเลี้ยงผีปู้ตาจะทำในวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ในวันนี้จะจัดเตรียมอาหารคาว หวาน และสิ่งของต่างๆ ได้แก่ ไก่ต้ม 1 ตัว ไข่ 1 ฟอง เหล้า 1 ไห เทียน 1 คู่ ดอกไม้ 1 คู่ ข้าว 1 กนะติ๊บ เพื่อถวายผีปู่ตา หลังจากถวายแล้วก็จะรับประทานอาหาร ดื่มเหล้า เต้นรำอย่างเบิกบานใจ สำหรับการทำพิธีจะให้เฒ่าจ้ำเป็นผู้นำด้านพิธีกรรมเพื่อบอกกล่าวให้ผีปู่ตาช่วยดูแลคนในหมู่บ้านให้อยู่เย็นเป็นสุข มีฝนเพียงพอสำหรับการทำนาและขอให้วัวควายไม่เจ็บป่วยในหน้าทำนาอีกด้วย สำหรับคนที่จะมาทำหน้าที่เป็นจ้ำติดต่อกับผีปู้ตานั้น จะทำการสืบทอดติดต่อผ่านสายตระกูลจากป฿ย่าจนถึงรุ่นลูกหลาน เว้นแต่บางครั้งที่ต้องมีการเปลี่ยนจ้ำคนใหม่ ดังนั้นปู่ตาก็จะส่งสัญญาณเพื่อเตือนให้หาจ้ำคนใหม่ที่เหมาะสมมาแทนคนเดิมฯลฯ (หน้า 19) ประเพณีการทำบุญ กะเลิงบ้านบัวปฏิบัติตามความเชื่อของศาสนาพุทธ โดยจะปฏิบัติตามฮีตสิบสอง และสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายายซึ่งพิธีกรรมในงานบุญฮีตสิบสองที่กะเลิงถือปฏิบัติมีดังนี้ (หน้า 21) การทำบุญข้าวกรรมในเดือนอ้าย, ทำบุญกองข้าวในเดือนยี่, บุญข้าวจี่ในเดือน 3 ,บุญพระเวศสันดร เดือน 4, บุญสรงน้ำพระและขอพรพระในเดือน 5,บุญบั้งไฟ เดือน 6, บุญชำระบ้านในเดือน 7,บุญเข้าพรรษาในเดือน 8, บุญข้าวประดับดิน เดือน 9, บุญข้าวสาก เดือน 10, บุญออกพนนษาเดือน 11 และบุญกฐินในเดือน 12 (หน้า 21) ในหมู่บ้านบัวมีวัดหนึ่งแห่ง ซึ่งกะเลิงจะมาทำบุญประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่นงานบุญเทศน์มหาชาติชาติในเดือน 4 หนุ่มสาวจะมาช่วยงานด้วยความพร้อมเพรียง นอกจากนี้ก็จะถือโอกาสจีบสาวที่มาเที่ยวงาน สำหรับผู้สูงอายุก็จะฟังเทศน์พระเวศสันดร (หน้า 22)

Education and Socialization

ในการศึกษาไม่ได้กล่าวถึงการเรียนของกะเลิงโดยตรงแต่บอกผ่านความคิดเห็นที่กะเลิงมองตนเองว่าเป็น “ไทภูหูสั้น” คือเป็นผู้ที่มีความรู้น้อย เนื่องจากกะเลิงไม่สนใจการเปลี่ยนแปลงของสังคม จึงทำให้ปรับตัวไม่ทันกับความทันสมัยต่างๆ การหาของป่าเหมือนแต่ก่อนก็หายากเพราะป่าหมดความอุดมสมบูรณ์ดังนั้น การกินอยู่จึงต้องใช้เงินซื้อทุกอย่าง เป็นต้น (หน้า 29)

Health and Medicine

ความเชื่อและการรักษาการเจ็บป่วย กะเลิงเชื่อว่าการเจ็บป่วยเกิดจากการกระทำของผีและเกิดจากโรคร้าย จึงทำให้ป่วยไข้ การรักษาจะมีทั้งแบบพื้นบ้านและการักษาแบบการแพทย์แผนปัจจุบัน สำหรับการรักษาการเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการกระทำของผีนั้นจะให้แม่หมอ หรือแม่ครู(หรือรู้จักในชื่อ ”หมอเยา” หรือ “ หมอเหยา”)สำหรับคนที่มาเป็นแม่ครูนั้นโดยมากจะเคยป้วยหนักมาก่อน เมื่อแม่ครูมารักษา หลังจากหายป่วยแล้ว ก็จะรับเอาผีเข้ามาในร่างกาย แล้วก็จะกลายเป็นลูกศิษย์ของแม่ครู ครั้นแม่ครูเสียชีวิตแล้ว ลูกศิษย์ก็จะทำหน้าที่เป็นแม่ครูรักษาผู้ป่วยต่อไป (หน้า 20) สำหรับผีที่เข้ามาอยู่ในร่างของแม่ครูก็คือผีฟ้า ซึ่งเป็นผีที่มีอิทธิฤทธิ์มากจึงสามารถต่อสู้หรือตกลงกับผีที่อยู่ในร่างคนป่วยให้ออกไปได้ นอกจากนี้ผีที่เข้าร่างยังประกอบด้วยผีน้ำคือผีที่อยู่กับหนองน้ำหรือลำธาร ดังนั้นในแต่ละปีแม่ครูจะจัดพิธีเลี้ยงผีน้ำเป็นประจำ โดยจะนำภาชนะใส่น้ำเพื่อให้ผีน้ำที่อยู่ในร่างทรงของแม่ครูได้เล่นน้ำอย่างเบิกบานใจด้วย บางครั้งก็จะทำเรือหยอกกล้วยลอยลงแม่น้ำเมื่อทำพิธีเรียบร้อยแล้ว (หน้า 21) ส่วนของปฏิบัติของแม่ครู(หมอเยา) ต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดคือไม่กินเนื้อสัตว์ต้องห้ามเช่น ช้าง ม้า เสือ ลิง หมา งู ฯลฯ ไม่กินอาหารในงานที่จัดงานศพและไม่รับคายพิธีเกิน 1 ชุด ส่วนเงินในคายพิธีถูกกำหนดไว้ที่ 1.25 บาท(หนึ่งบาทยี่สิบห้าสตางค์) ซึ่งไม่สามารถเรียกร้องได้มากกว่านี้ นอกจากคนป่วยที่รักษาหายแล้วจะตอบแทน เช่นมอบเงิน หรือซิ่น ไหม ฝ้าย ให้แก่แม่ครูแต่ก็เป็นมูลค่าไม่มากเพราะถือว่าเป็นสินน้ำใจเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น (หน้า 21)

Folklore

ตำนานน้ำเต้าปุง กะเลิงคือข่าโซ่ที่เกิดมาจากน้ำเต้าปุง ซึ่งตามตำนานน้ำเต้าปุง หรือพงศาวดารเมืองแถง ระบุว่า ชาติพันธุ์ที่อยู่บริเวณภูมิภาคลุ่มน้ำโขงนั้นเกิดมาจากลูกน้ำเต้ายักษ์ คนที่ออกมาคนแรกคือกะเลิงหรือข่าโซ่ โดยใช้เหล็กเผาไฟเจาะรูออกมา ดังนั้นผิวจึงคล้ำไม่ชวนมอง ส่วนคนที่ออกมาท้ายสุดเป็นน้องสุดท้องคือผู้ไทยซึ่งมีผิวพรรณผุดผาดตา เนื่องจากไม่ถูกเขม่าไฟ สำหรับกะเลิงหรือข่าโซ่ถือว่าเป็นพี่หรืออ้าย(อ้ายกก)ของพี่น้องชาติพันธุ์ต่างๆ ที่เกิดมาจากน้ำเต้าปุงเหมือนกัน(หน้า 26) ผญา เป็นคำร้องโต้ตอบกันระหว่างหนุม สาวกะเลิง เพื่อบอกความในใจของตนกับหญิงที่ตนหมายปองการร้องผญาจะร้องแล้วแต่โอกาสจะเหมาะสมเช่น ในอดีตกลุ่มกองเกวียนที่เดินทางไปแลกเปลี่ยนสินค้า ในช่วงกลางคืนหนุ่มสาวที่มากับกองเกวียนก็จะมาเกี้ยวพาราสีโต้ตอบกันเพื่อแสดงถึงเชาว์ปัญญาว่ามีความสามารถในการร้องผญาสักแค่ไหน (หน้า 9) ส่วนอีกช่วงคือช่วงประเพณีลงข่วง ในเดือนอ้าย เดือนยี่ ซึ่งในตอนกลางคืนหนุมกะเลิงจะเป่าแคนไปจีบสาว บางครั้งก็จะร้องผญาเพื่อถามความในใจกับหญิงคนรัก หากหนุ่มสาวคู่ใดชอบพอกันผู้ชายก็จะให้ผู้หลักผู้ใหญ่ไปสู่ขอหญิงคนรักเพื่อแต่งงานอยู่กินฉันสามีภรรยาต่อไป (ดูที่หน้า 26)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

กะเลิงในมุมมองของชาติพันธุ์อื่น ในงานเขียนได้กล่าวถึงกลุ่มกะเลิงและผู้ไทยที่อยู่ในหมู่บ้านบัว ซึ่งกลุ่มผู้ไทยมีครอบครัวที่มีฐานะของหมู่บ้านเนื่องจากมีความขยันและรู้จักทำการค้า มีที่ดินมากและร่ำรวยจากการปลูกพืชเศรษฐกิจ ซึ่งในมุมมองของผู้ไทยแล้ว มองว่ากะเลิงเตี้ยและผิวคล้ำกว่าผู้ไทย คนกะเลิงเป็นคนใสซื้อไม่ค่อยทันคน ขาดความกระตืนรือร้น มีความสนุกสนานครื้นเครง ชอบเข้าป่าล่าสัตว์ ส่วนผู้หญิงกะเลิงขี้อาย กะเลิงมีความเชื่อเรื่องผีจะทำอะไรก็ทำพิธีเซ่นไหว้บอกกล่าวผี (หน้า 28) ส่วนกะเลิงมองผู้ไทยในหมู่บ้านบัวว่า เป็นคนมีปัญญาฉลาดเฉลียวหัวการค้าเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจเช่นเป็นเจ้าของรถโดยสาร เป็นผู้นำในการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ (หน้า 28) รู้จักประหยัดอดออมรู้คุณค่าเงินทอง (หน้า 29)

Social Cultural and Identity Change

การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในบ้านบัวก็คือการเพิ่มของประชากรและความเข้มงวดเรื่องระเบียบการตัดไม้ในเขตวนอุทยานแห่งชาติ (หน้า 10) ดังนั้นจึงทำให้ความเป็นอยู่ของกะเลิงบ้านบัวเปลี่ยนไป คือกะเลิง เลิกล่าสัตว์แบบเปยเปาะ เมื่อ พ.ศ.2525 เพราะการไปแบบหมู่คณะไม่คุ้มกับเวลาที่เสียไป ส่วนการปลูกพริกเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าเหมือนในอดีตก็เปลี่ยนมาปลูกพอใช้ปรุงอาหารในครัวเรือน เท่านั้น ฯลฯ (หน้า 11 ) ส่วนการรักษาแบบพื้นบ้านด้วยสมุนไพรนั้นได้ลดจำนวนลงเนื่องจากกะเลิงเชื่อว่าสภาพความเป็นอยู่ในปัจจุบันได้รับสารเคมีจากอาหารและการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงานในไร่นา (หน้า 32)ดังนั้นจึงเปลี่ยนมารักษาด้วยวิธีการรักษาการแพทย์แผนปัจจุบันโดยไปรักษาที่โรงพยาบาลและคลินิคซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายราคาแพง ฯลฯ (หน้า 33)

Critic Issues

ไม่มี

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

แผนที่ อำเภอกุดบาก (หน้า ก) แหล่งทรัพยากรหมู่บ้าน (หน้า ข) แผนผัง หมู่บ้านบัว (หน้า ค) ตาราง 1.1-1.5 ตระกูลกุดวงศ์แก้ว, ตระกูลบริรักษ์ ,ตระกูลพรมหากุล,ตระกูลก้องเวหา,ตระกูลซองศิริ ตระกูลจูมสีสิงห์ (ภาคผนวก)

Text Analyst ภูมิชาย คชมิตร Date of Report 04 เม.ย 2556
TAG กะเลิง, วิถีชีวิต, สังคม, เศรษฐกิจ, บ้านบัว, สกลนคร, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง