สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject โส้ โซร ซี,เครือญาติ, สุขอนามัย, ส้วม, บ้านโพธิไพศาล, สกลนคร
Author พจนา มณีรัตน์
Title ความสัมพันธ์ของเครือญาติกับพฤติกรรมการใช้ส้วมของชาวโส้ : กรณีศึกษา บ้านโพธิไพศาล อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity โส้ โทรฺ, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
(เอกสารฉบับเต็ม)
(เอกสารฉบับเต็ม)
Total Pages 98 หน้า Year 2537
Source บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract

การศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ของเครือญาติกับพฤติกรรมการใช้ส้วมของชาวโส้ ได้ดำเนินการศึกษา ณ บ้านโพธิไพศาล หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 4 อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นชุมชนเก่าแก่ กว่าร้อยปี ในสมัยก่อนไม่ค่อยได้มีการติดต่อกับชุมชนอื่น เพราะมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์พอที่จะยังชีพอยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่งคนอื่น กระทั่งมีการคมนาคมที่สะดวกจึงได้มีการติดต่อกับสังคมภายนอก คนในหมู่บ้านเริ่มออกไปติดต่อ ทำงานนอกหมู่บ้านมากขึ้นเป็นลำดับ จากการที่ได้ติดต่อกับชุมชนภายนอก มีการนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามา ซึ่งหมายถึงส้วม อนึ่ง ประชากรที่อยู่ในชุมชนทั้งสองนี้เป็นเครือญาติเดียวกันในความหมายของความเป็นญาติทางสายโลหิต ทางด้านการแต่งงาน และการเป็นเพื่อนบ้านในชุมชนเดียวกัน เสมือนหนึ่งเป็นญาติกัน จากการศึกษาพบว่า ความเป็นเครือญาติมีส่วนสัมพันธ์กับการใช้ส้วม กล่าวคือ เมื่อคนในเครือญาติเดียวกันนำส้วมมาใช้ คนอื่นๆในกลุ่มก็เริ่มใช้ตาม แต่ก็ยังมีปัจจัยอื่นๆที่มีความสัมพันธ์กับการใช้ส้วมอีก คือ ความเป็นเพื่อนบ้านอยู่ใกล้เคียงกัน อยู่ในอาณาบริเวณเดียวกัน มีการร่วมมือกัน ช่วยเหลือกัน เช่น การก่อสร้างส้วมรวมทั้งการอาศัยใช้ส้วมร่วมกันเมื่อตนเองยังไม่มี นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น คือ ด้านการศึกษา อายุ เพศ เศรษฐกิจ(รายได้) การติดต่อกับสังคมภายนอก ก็มีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการยอมรับการใช้ส้วม กล่าวคือ ถ้ามีการศึกษาสูง รายได้ดี มีการติดต่อกับสังคมภายนอก ก็จะมีผลทำให้รับการใช้ส้วมได้ง่าย ส่วนเรื่องอายุ พบว่า คนอายุน้อยรับการใช้ส้วมได้เร็ว ขณะที่ผู้สูงอายุรับการใช้ส้วมช้าที่สุด ยกเว้นเมื่อมีความจำเป็นจริงๆ เช่น เมื่อมีอาการเจ็บป่วย เป็นต้น (บทคัดย่อ)

Focus

ศึกษาความสัมพันธ์ของเครือญาติที่มีผลต่อพฤติกรรมการยอมรับและไม่ยอมรับการใช้ส้วมราดน้ำตามสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมของหมู่บ้าน (หน้า 5)

Theoretical Issues

ไม่ระบุ

Language and Linguistic Affiliations

ไม่ระบุ

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

ประวัติการอพยพถิ่นฐาน บรรพบุรุษของชาวบ้านโพธิศาล เป็นชาวโส้ที่ถูกกวาดต้อนและอพยพมาจากเมืองมหาชัยกองแก้ว ประเทศลาว มาตั้งบ้านเรือนแถบจังหวัดมุกดาหาร ต่อมาอพยพไปบริเวณตำบลดงหลวง อำเภอนาแก และสุดท้ายมาอยู่รวมกันที่บ้านเมืองเก่า เมื่อประชากรเพิ่มและประสบกับความอดอยาก ในเวลาต่อมาจึงพากันอพยพไปที่แห่งใหม่ ประชากรส่วนหนึ่งไปอยู่ที่เมืองกุสุมาลย์มณฑลโดยมีหลวงอรัญอา สาเป็นเจ้าเมือง ขณะที่ประชากรส่วนหนึ่งยังอยู่ที่เดิม และบางส่วนย้ายไปที่กุดเขางัว (หน้า 20, 23) ในอดีตบ้านโพธิศาลมีฐานะเป็นเมืองชื่อว่า “เมืองโพธิไพศาลนิคม” ได้รับการยกฐานะมาจากบ้านนานโพธิในแขวงเมืองสกลนคร เมื่อปีพ.ศ.2419 มีพระไพศาลสิมานุรักษ์ซึ่งเป็นคนโส้เป็นเจ้าเมือง ต่อมาเมื่อมีประชากรมากขึ้น ก็มีการย้ายครอบครัวไปยังหมู่บ้านอื่น ได้แก่ โนนคำ โพนแพง ห้อยกอก กุดฮู หนองเค็ม และกุดสะกอย (หน้า 23-24) อย่างไรก็ดี ต่อมาภายหลังเมื่อมีการปรับปรุงรูปแบบการปกครองหัวเมืองในสมัยรัชกาลที่ 6 พ.ศ.2457 เมืองกุสุมาลย์มณฑล โพธิไพศาลนิคม ได้ถูกลดฐานะลงเป็นเพียงตำบล แต่ต่อมากุสุมาลย์ได้เป็นกิ่งอำเภอ ใน พ.ศ.2505 และได้เป็นอำเภอเมื่อ พ.ศ.2510 ส่วนเมืองโพธิไพศาลนิคมก็คงเป็นตำบลขึ้นอยู่กับอำเภอกุสุมาลย์จนปัจจุบันและได้มีผู้ปกครองซึ่งสืบเชื้อสายมาจากเจ้าเมืองคนเดิม (หน้า 20-24)

Settlement Pattern

ลักษณะบ้าน ตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นกลุ่มตระกูล อยู่เรียงรายไปตามสองฝั่งถนนภายในหมู่บ้าน (หน้า 28) ส่วนใหญ่เป็นบ้านไม้ยกใต้ถุนสูงประมาณ 1.5-2 เมตร ทางทิศเหนือชั้นบนเป็นห้องยาวเฉลี่ย 4-6 เมตร แบ่งพื้นที่ใช้สอยเป็นห้องนอน ห้องผีบรรพบุรุษ ห้องครัว ห้องพักผ่อน มีประตูเข้าออก 2-3 ประตู มีหน้าต่าง 2 ด้าน ทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ทุกบ้านจะมีฉางข้าว ใต้ถุนบ้านเป็นที่เก็บสัตว์เลี้ยงในตอนเย็น เช่น วัว ควาย เก็บฟืน บ้างก็ใช้สำหรับเป็นที่ทอผ้า ทอเสื่อ ในอดีตบ้านโส้หลังคามุงจาก ฝาบ้านสานขัดด้วยใบไม้ (หน้า 50)

Demography

ประชากรบ้านโพธิศาล หมู่ 3 และหมู่ 9 มีทั้งหมด 288 ครัวเรือน รวม 2,017 คน จำแนกเป็นชาย 1,006 คน และหญิง 1,011 คน หมู่ที่ 3 มีประชากรจำนวน 234 ครัวเรือน รวม 1,349 คน จำแนกเป็นชาย 674 คน หญิง 702 คน หมู่ที่ 4 มีประชากร 74 ครัวเรือน รวม 668 คน จำแนกเป็น ชาย 359 คน และหญิง 309 คน (หน้า18-19,29)

Economy

อาชีพส่วนใหญ่ของคนในหมู่บ้านคือ เกษตรกรรม ทำนา เป็นอาชีพหลัก นิยมปลูกข้าวเหนียวพันธุ์พื้นเมือง ระหว่างรอการเก็บเกี่ยวข้าวจะมีการเลี้ยงหมู วัว และควาย เป็นต้น ภายหลังการเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จชาวบ้านบางครอบครัวจะปลูกมะเขือเทศผลใหญ่ หรือปลูกคอสมอส(ลักษณะคล้ายดาวกระจาย แต่ต่างกันที่สีของดอก)เพื่อขายเมล็ด โดยชาวบ้านจะซื้อพันธุ์จากบริษัทที่มาเสนอขายผ่านทางเกษตรตำบล ในระหว่างการปลูก บริษัทจะส่งเจ้าหน้าที่มาดูแลและให้คำแนะนำแก่ชาวบ้าน เมื่อได้ผลผลิต บริษัทจะมารับซื้อ เมล็ดมะเขือเทศ ราคากิโลกรัมละ 1,800 บาท ส่วนเมล็ดคอสมอส กิโลกรัมละ 75 บาท นอกจากอาชีพการเกษตรดังกล่าวแล้วบางครอบครัวยังมีอาชีพรองลงมาคือ รับจ้างรายวัน อาชีพค้าขาย รับราชการ และทอผ้า จากการสำรวจครัวเรือนตัวอย่างพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 77 มีอาชีพการเกษตร รองลงมาคือ งานรับจ้าง ร้อยละ 20 นอกจากนี้มีอาชีพค้าขาย 2 ราย และรับราชการครู 1 ราย ครัวเรือนตัวอย่างร้อยละ 42 มีรายได้จากการรับราชการและขายข้าวเปลือก มีรายได้มากกว่า 5,000 บาทขึ้นไป ร้อยละ 40 มีรายได้ต่ำกว่า 4,000 บาท (หน้า 40-43)

Social Organization

ครอบครัว ระบบครอบครัวของโส้เริ่มด้วยการเป็นครอบครัวเดี่ยว เมื่อมีบุตรโตขึ้นเป็นหนุ่มสาว บุตรบางคนก็นำสามีหรือภรรยาเข้ามาอยู่ร่วมด้วย จึงกลายเป็นครอบครัวขยาย บางคู่เมื่อแยกครอบครัวออกมา ส่วนใหญ่ก็นิยมปลูกบ้านอยู่บริเวณใกล้เคียงกับบ้านของบิดามารดาของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง (หน้า 49) สำหรับการแบ่งงานภายในครอบครัวโส้นั้น มิได้ระบุชัดเจนว่าผู้หญิงต้องอยู่ดูแลบ้าน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขภายในแต่ละครอบครัว โดยปกติผู้ชายซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครัวจะเป็นหลักในการออกไปทำไร่ ทำนา หรือใช้แรงงานนอกบ้าน (หน้า 44) เครือญาติ การสืบเชื้อสายของโส้จะอยู่ข้างบิดา ลูกสะใภ้ที่เข้ามาอยู่บ้านฝ่ายชาย มีการเปลี่ยนนามสกุล และต้องจ้ำเข้านับถือผีบรรพบุรุษของฝ่ายชาย โส้มักแต่งงานกับคนภายในหมู่บ้านและเป็นระบบผัวเดียวเมียเดียว (หน้า 65) ลักษณะเครือญาติของคนในชุมชนโส้มีทั้ง เครือญาติทางสายโลหิต เครือญาติโดยการแต่งงาน ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “ดองกัน” และเครือญาติร่วมชุมชนเดียวกัน มีความรู้สึกผูกพันนับถือและปฏิบัติต่อกันเสมือนญาติ ทั้งนี้เครือญาติทางสายโลหิตจะเป็นกลุ่มแรกที่เป็นแหล่งให้ความช่วยเหลือและแหล่งแรงงานพื้นฐาน ซึ่งมีเงื่อนไขตอบแทนน้อยที่สุด ส่วนเครือญาติโดยการแต่งงานแม้จะเป็นแหล่งใช้ในการศึกษานี้ ผู้เขียนแสดงความสัมพันธ์ของเครือญาติจากนามสกุลของคนในชุมชน ผู้เขียนพบว่าในหมู่บ้านมีนาสกุล 5 นามสกุลที่เป็นลูกหลานสืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษที่อพยพมาจากเมืองมหาชัยกองแก้ว ได้แก่ ฮาดปากดี รูวันมอม ลือวันคำ มุงแสน รันพิศาล ในหมู่บ้านมีสมาชิกที่ใช้นามสกุลทั้งห้านี้มากที่สุด และเป็นกลุ่มที่มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติโดยการแต่งงาน (หน้า 66-68)

Political Organization

ผู้ปกครอง ในอดีตบ้านโพธิไพศาลมีฐานะเป็นเมืองมีเจ้าเมืองปกครอง และต่อมาในปี พ.ศ. 2505 เมืองถูกลดฐานะเป็นตำบลโพธิไพศาล แต่ผู้ปกครองชุมชนก็ยังคงสืบเชื้อสายมาจากพระไพศาลสีมานุรักษ์เจ้าเมืองคนแรก มีรายชื่อเรียงลำดับดังนี้ พระบุรีสีมานุรักษ์ พระพิสิทธิ์ รันพิศาล พระศรีทา รันพิศาล พระสุวรรณสาน รันชิตโคตร พระอินทะปัญญา รันชิตโคตร พระบุรีรักษ์ มุงแสน รายกอ รันพิศาล นายโกม รมจันทร์อินทร์ นายเลียน โลนิกิจ นายเวียง รูวันมัน กำนันคนปัจจุบัน (หน้า 20,22)

Belief System

ความเชื่อเรื่องผี แม้ชาวบ้านโพธิศาลจะนับถือและประกอบศาสนกิจตามหลักพุทธศาสนา ทั้งในหมู่บ้านยังมีวัดหนึ่งแห่งคือ วัดกลางวิทยา แต่ชาวบ้านก็ยังคงความเชื่อ “ผี” ซึ่งเป็นความเชื่อดั้งเดิมอยู่ ได้แก่ 1)ผีมเหศักดิ์ ซึ่งเป็นเจ้าผีที่สถิต ณ ต้นไม้ใหญ่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้าน และเป็นที่ตั้งศาลผีบรรพบุรุษ โส้เชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองให้อยู่ดีมีสุข ในช่วงเดือน 4 (มีนาคม-เมษายน)หลังการเก็บเกี่ยวข้าวของทุกปี จะมีการเก็บรวบรวมเงินในหมู่บ้านเพื่อซื้อของสำหรับเซ่นผีบรรพบุรุษ โดยมีเจ้าจ้ำ หรือในภาษาโส้ เรียกว่า “เนือยเยียง” ผู้ดูแลศาลมเหศักดิ์ เป็นผู้นำประกอบพิธีกรรม 2) ผีบรรพบุรุษ หมายถึงผีปู่ย่าของตระกูลใดตระกูลหนึ่ง โส้จะนับถือผีบรรพบุรุษข้างฝ่ายพ่อ เมื่อลูกชายมีภรรยา ภรรยาจะต้องจ้ำเข้านับถือผีฝ่ายสามี โดยโส้จะประกอบพิธี “อะปรางดง” ที่ห้องผีปู่ย่าหรือผีบรรพบุรุษปีละครั้ง ในช่วงเวลาที่ต้นข้าวในนาตั้งท้องเป็นข้าวใหม่เพื่อให้ผีบรรพบุรุษที่อยู่ในบ้านกินข้าวใหม่ 3)ผีนา ซึ่งเป็นผีที่อยู่ตามท้องทุ่ง ชาวบ้านเชื่อว่าถ้าได้บอกกล่าวหรือทำพิธีถูกต้องแล้ว ผีนาจะช่วยคุ้มครองให้ต้นข้าวหรือแม่โพสพอุดมสมบูรณ์ โดยโส้จะปลูกศาลเล็กๆ ขึ้นตามตันนาเพื่อเป็นที่บูชาผีนา โดยใช้ข้าวปากหม้อที่หุงสุกใหม่ๆ มาไว้ที่ศาลแล้วกล่าวคำพูดที่เป็นสิริมงคล เช่น ขอให้ข้าวอุดมสมบูรณ์ เป็นต้น (หน้า 56-58)

Education and Socialization

บ้านโพธิไพศาล มีโรงเรียนประถมศึกษา 1 แห่ง คือ โรงเรียนไพศาลวิทยา ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 500 เมตร ปีการศึกษา 2536 มีนักเรียนชั้นเด็กเล็กถึงประถมศึกษาปีที่ 6 รวม 388 คน มีนายชัยศรี อุปฌาย์ เป็นอาจารย์ใหญ่ นอกจากนี้ยังมีเยาวชนที่จบการศึกษาระดับอนุปริญญาแล้วรวม 7 คน เป็นครู 5 คน ภารโรง 1 คน และสาธารณสุข 1 คน และมีเยาวชนจำนวน 13 คนที่ศึกษาต่อในขั้นอุดมศึกษา กลุ่มประชากรตัวอย่างร้อยละ 73 มีความสามารถอ่านและเขียนภาษาไทยได้ โดยหญิงชาวโส้ร้อยละ 10 อ่านได้แต่เขียนภาษาไทยไม่ได้ และร้อยละ 7 ที่อ่านและเขียนภาษาไทยไม่ได้ (หน้า 30-33)

Health and Medicine

การเจ็บป่วย ชาวบ้านรักษาอาการเจ็บป่วยทั้งแบบแพทย์พื้นบ้านและแบบแพทย์แผนปัจจุบัน เมื่อเจ็บป่วยชาวบ้านจะรักษาด้วยวิธีพื้นบ้านที่เรียกว่า “เหยา” ก่อน โดยหมอเหยาในหมู่บ้าน ถ้าหมอเหยารักษาคนใดหาย คนนั้นจะถูกเรียกว่า “ลูกแก้ว” ซึ่งในเดือน 4(มีนาคม) ของทุกปี ลูกแก้วทุกคนจะมาทำพิธีเลี้ยงผีร่วมกัน ชาวบ้านจะไปโรงพยาบาลก็ต่อเมื่ออาการป่วยหนัก และเมื่อกลับมาพักฟื้นที่บ้าน หมดพื้นบ้านก็จะลงเลขมนต์ที่ประตูห้องนอนผู้ป่วย (หน้า 58, 62, 80) สุขอนามัย หมู่บ้านมีหน่วยงานต่างๆ ดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยหลายโครงการเช่น โครงการส้วมราดน้ำ โครงการบ่อบาดาลน้ำโยก โครงการโอ่งน้ำ โครงการเหล่านี้ส่วนใหญ่ประสบผลสำเร็จและมีการทำอย่างต่อเนื่อง (หน้า 79-81) จากการศึกษาการใช้ส้วมของประชากรกลุ่มตัวอย่างบ้านโพธิศาลทั้งสองหมุ่บ้านพบว่า หมู่ละ 50 คน รวม100 ครัวเรือน พบว่าพฤติกรรมการใช้ส้วมราดน้ำมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงจากการที่เคยขับถ่ายตามธรรมชาติมาใช้ส้วมมากขึ้น เนื่องจากมีการใช้ส้วมราดน้ำคิดเป็น ร้อยละ 52 มีส้วมแต่ไม่ใช้ ร้อยละ 25 และนำส้วมมาใช้อย่างอื่น ร้อยละ 23 โดยสามารถจำแนกเป็นหมู่ได้ว่า ประชากรหมู่ที่3 ใช้ส้วมแบบราดน้ำ 27 ครัวเรือน มีแต่ไม่ใช้ 13 ครัวเรือน และใช้ส้วมทำประโยชน์อื่น 10 ครัวเรือน ส่วนประชากรหมู่ที่ 4 ใช้ส้วมแบบราดน้ำ 25 ครัวเรือน มีแต่ไม่ใช้ 12 ครัวเรือน และใช้ส้วมทำประโยชน์อื่น 13 (หน้า 29-30) สวนแหล่งน้ำดื่มน้ำใช้และแหล่งน้ำทางการเกษตร จากการศึกษาพบว่า ชาวบ้านนิยมดื่มน้ำฝน โดยร้อยละ 70.14 ของหลังคาเรือนในหมู่บ้านมีโอ่งขนาดใหญ่สำหรับเก็บน้ำสำหรับดื่ม เมื่อถึงฤดูที่ขาดแคลนน้ำฝนจะใช้น้ำดื่มจากบ่อที่อยู่นอกหมู่บ้าน สำหรับน้ำใช้ในครัวเรือน จะใช้น้ำจากบ่อโยกบ่อธรรมชาติ สระ และบ่อที่ขุดขึ้นเอง นอกจากนี้เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.2534 กรมโยธาธิการได้ดำเนินการสร้างระบบประปาประจำหมู่บ้าน โดยการสูบน้ำจากสระต่อขึ้นถังสูง สำหรับแหล่งน้ำสำหรับการเกษตรนั้น มี 3 แหล่ง คือ น้ำฝน อ่างกุดน้ำใส และอ่างห้วยหินกอง (หน้า 35-38) ความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการใช้และการสร้างส้วม ผู้ชายที่ถือเครื่องรางของขลังบางคน จะไม่ถ่ายอุจจาระให้สัตว์กิน ในอดีตชาวบ้านเชื่อว่าไม้บางชนิดไม่ควรนำมาสร้างบ้านและสร้างส้วม เช่น ไม้พยุง เพราะเชื่อว่าเป็นไม้ที่ดูดเลือดคน ไม้ตะเคียน เชื่อว่ามีผีสิง ถ้าผู้ใดนำไม้เหล่านี้มาใช้อาจเกิดภัยพิบัติต่างๆ เช่น เจ็บป่วย หรือไฟไหม้บ้าน เป็นต้น นอกจากนี้ โดยปกติ โส้ไม่มีการสร้างส้วมไว้กลางเสาเอกของบ้าน หรือห้องผี ชาวบ้านบางคน ก่อนสร้างส้วมบริเวณใดจะต้องบอกเจ้าที่ก่อน เพราะกลัวว่าจะผิดผี หากสร้างส้วมฝ่าฝืนความเชื่อ ส้วมก็จะถูกปล่อยทิ้งร้างโดยไม่ใช้ในการขับถ่าย แต่จะถูกใช้ประโยชน์อย่างอื่น เช่น เก็บของ หรือใส่ฟางสำหรับเลี้ยงสัตว์ (หน้า 63) ความเชื่อเกี่ยวกับการตาย 1) ถ้าตายนอกบ้านด้วยอุบัติเหตุ เรียกว่าตายโหง จะถูกนำศพไปฝัง(อยู่คนละที่กับการเผา) จะฝังรวมกับญาติที่ตายประเภทเดียวกัน ซึ่งแต่ละตระกูลจะมีที่ฝังของตน 2) ถ้าตายด้วยโรคบ้า ไม่ว่าในเวลาใดก็ตาม ชาวบ้านจะไม่เก็บศพไว้ จะนำศพผู้ตายห่อผ้าไปฝังทันที โดยไม่มีการประกอบพิธีใดๆ 3) ถ้ามีคนตายในบ้าน เจ้าของบ้านหรือลูกหลานจะนำศพใส่โลงไม้ มีการประกอบพิธีที่บ้าน โดยนิมนต์พระสงฆ์มาสวดในตอนเย็น เมื่อถึงกำหนดเผา จะตกแต่งโลงศพด้วยกระดาษสีดำ สีทองตัดแต่งเป็นลวดลายต่างๆ แห่ไปยังป่าช้าที่เผาของตระกูลตนเอง ก่อนเผาจะจะนิมนต์พระมาสวด และที่สำคัญคือ การตัดญาติจากคนที่ตายให้พนจากโลก หรือที่เรียกว่า การตัดออกจากคนเป็น การเผาศพจะไม่ให้เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีร่วมพิธี ส่วนคนแก่มักจะถือมีดมาร่วมพิธีด้วย เพราะเชื่อว่าผีจะไม่ตาม ผู้ร่วมพิธีเผาศพ ก่อนกลับบ้านต้องไปรดน้ำมนต์ที่งานศพก่อน เป็นต้น (หน้า 63) การคลอดบุตร ในอดีต เมื่อหญิงตั้งครรภ์ จะนิยมกินยาพื้นบ้าน และทำคลอดเองหรืออาจจะเป็น พ่อ แม่ หรือญาติพี่น้องที่มาดูแล จากนั้นก็จะอยู่ไฟโดยการนอนแคร่ไม้ไผ่ที่ใต้แคร่ก่อไฟ เพื่อให้แผลแห้ง และให้มดลูกเข้าอู่ตามวิธีแผนโบราณ ปัจจุบันส่วนใหญ่จะไปคลอดที่โรงพยาบาลในอำเภอ (หน้า 62)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่ระบุ

Folklore

ไม่ระบุ

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่ระบุ

Social Cultural and Identity Change

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ส้วม จากการศึกษาผู้เขียนเห็นว่าเครือญาติมีผลต่อการเปลี่ยนแปลง การช่วยเหลือด้านแรงงานและการเงิน ทำให้ชาวบ้านสามารถสร้างส้วมได้ ขณะที่การพึ่งพาอาศัยกันในหมู่เครือญาติที่ตั้งบ้านใกล้เคียงกันเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มมีส้วมอย่างน้อย 3 หลัง ก็ช่วยให้บ้านที่มีฐานะยากจนสามารถใช้ส้วมของญาติพี่น้องได้ (หน้า 91-92, 98)

Critic Issues

ไม่ระบุ

Other Issues

ไม่ระบุ

Map/Illustration

ตาราง - จำนวนประชากรของหมู่บ้านจำแนกตามเพศ (หน้า 29) - แสดงจำนวนประชากรกลุ่มตัวอย่างในการใช้ส้วม(หน้า 29) - ความสามารถในการอ่าน-เขียนภาษาไทย(หน้า 33) - จำนวนครัวเรือนตัวอย่างจำแนกจากอาชีพหลัก(หน้า 42) - กิจกรรม ประเพณี ในรอบปีของชาวโส้(หน้า 45) - แสดงการมีและไม่มีส้วมตามกลุ่มสายตระกูลต่างๆมนชุมชน(หน้า 67) - แสดงการพัฒนาด้านสาธารณูปโภคในหมู่บ้าน(หน้า 81) - แสดงจำนวนประชากรตัวอย่าง (หน้า 108) - แสดงอายุของประชากรตัวอย่างที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้และไม่ใช้ส้วม(หน้า 108) - แสดงเพศที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้และไม่ใช้ส้วม(หน้า 109) - แสดงระดับการศึกษาที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้และไม่ใช้ส้วม(หน้า 110) ภาพ - เส้นทางเข้าหมู่บ้าน(หน้า 27) - บ้านโส้ในอดีต(หน้า 52) - บ้านโส้ในปัจจุบัน(หน้า 52) - ฉางข้าวที่อยู่ติดกับตัวบ้าน(หน้า 53) - ห้องผีบรรพบุรุษ (หน้า 54) - ดอนมเหศักดิ์ (หน้า 59) - การตัดคนตายออกจากญาติพี่น้อง (หน้า 64) - การเผาศพของชาวโส้ (หน้า 64) - ส้วมที่มีฝาขัดด้วยไม้ไผ่ (หน้า 85) - ส้วมที่มีฝาเป็นไม้ ประตูยก (หน้า 85) - ส้วมชาวโส้อีกลักษณะหนึ่ง (หน้า 86) - ท้องทุ่งที่ยังมีป่าละเมาะล้อมรอบ (หน้า 103) - นำน้ำจากน้ำโยกไปใช้ในครัวเรือน (หน้า 105) - สถานีอนามัยประจำหมู่บ้าน (หน้า 106) แผนภูมิ - แสดงการขยายตัวของหมู่บ้านโพธิไพศาล (หน้า 24) - ขั้นตอนการดำเนินการจัหาส้วมเข้ามาในหมู่บ้าน (หน้า 82)

Text Analyst สุวิทย์ เลิศวิมลศักดิ์ Date of Report 28 มิ.ย 2560
TAG โส้ โซร ซี, เครือญาติ, สุขอนามัย, ส้วม, บ้านโพธิไพศาล, สกลนคร, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง