สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject พวน ไทยพวน ไทพวน,การผสมกลมกลืน,วัฒนธรรม,หาดเสี้ยว,สุโขทัย
Author ประจักษ์ เข็มมุกด์
Title การผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมของพวนกับวัฒนธรรมไทย ศึกษากรณีชาวพวน ในตำบลหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ไทยพวน ไทพวน คนพวน, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Total Pages 87 Year 2521
Source สาขาพัฒนาสังคม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Abstract

การศึกษาถึงวัฒนธรรมดั้งเดิมของพวนและวัฒนธรรมของพวนที่ถูกผสมกลมกลืนโดยวัฒนธรรมไทย ตลอดจนความคิดเห็นของพวนที่มีต่อวัฒนธรรมที่ถูกผสมกลมกลืน และปัจจัยบางประการที่ช่วยให้การผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมของพวนได้ดีขึ้น วิ ธีการศึกษาผู้วิจัยได้กระทำโดยการสัมภาษณ์ด้วยตนเองทั้งหมด จำนวนประชากรที่ศึกษาจำนวน 255 คน จากจำนวนประชากรทั้งหมด 5,000 คน ในตำบลหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ส่วนผลการวิจัยพบว่า การศึกษาสูงถูกผสมกลมกลืนได้ง่ายกว่าผู้มีการศึกษาต่ำ ผู้ที่พูดภาษาไทยได้ดีจะถูกผสมกลมกลืนได้ง่ายกว่าผู้ที่พูดภาษาไทยไม่ค่อยดี ผู้ที่ยึดมั่นในประเพณีมากถูกผสมกลมกลืนได้น้อยกว่าผู้ที่ยึดมั่นในประเพณีน้อย ส่วนปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนการถูกผสมกลมกลืนได้ง่ายขึ้น ได้แก่ การอ่านหนังสือพิมพ์ การฟังวิทยุ การมีปฏิสัมพันธ์กับสังคมภายนอก

Focus

บรรยายถึงลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรม รวมทั้งปัจจัยบางประการที่ทำให้เกิดการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมของพวน อันเป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของสังคมพวน (หน้า 4)

Theoretical Issues

ผู้วิจัยใช้ทฤษฎีการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม เพื่อวิเคราะห์ถึงกระบวนการที่ทำให้ชนกลุ่มน้อยที่มีความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรมประเพณีของชนกลุ่มต่าง ๆ ที่อยู่ในบริเวณเดียวกันหรืออยู่ในสังคมเดียวกันมีความเป็นอันหนึ่งเดียวกัน ยอมรับในวัฒนธรรมเดียวกัน และทำให้ความแตกต่างทางวัฒนธรรมนั้นหมดไป (หน้า 10) ผลการวิจัยพบว่า คนพวนรับรู้เรื่องราวความเป็นมาของพวน และวัฒนธรรมพวนบางอย่างมาจากการบอกเล่าของผู้ใหญ่ ประเพณีที่ยังถือปฏิบัติอยู่เป็นส่วนมากหรือยังถือปฏิบัติกันอยู่บ้าง เช่น ประเพณีกำฟ้า ส่วนมากยังปฏิบัติกันอยู่ ประเพณีการถามห่อยาเมื่อแต่งงานยังคงมีปฏิบัติกันอยู่บ้าง แต่ส่วนใหญ่ไม่ปฏิบัติกันแล้ว ประเพณีการหยักสาว พวนส่วนใหญ่มีความรู้และเคยปฏิบัติมาแล้ว ส่วนการเยาส่วนใหญ่ยังมีความเชื่ออยู่ การลงข่วงและการอาบน้ำก่อนกาก็ยังมีการปฏิบัติอยู่ แต่สำหรับคำกล่าวที่ว่า การแต่งงานแบบต่าวหรือปิ้นจะทำให้ชีวิตไม่มีความสุข อายุจะสั้น มีผู้เห็นไม่ถูกต้องไม่เป็นจริงมากกว่าผู้ที่เห็นว่าถูกต้องเป็นจริง (หน้า 82-83) ความรักในคนเชื้อชาติพวนด้วยกัน ยังคงเหนียวแน่น แต่ถ้าถูกแบ่งแยกโดยคำพูด เช่น ถูกเรียกว่า ลาว หรือ ลาวพวน เป็นต้น ส่วนใหญ่จะไม่พอใจ พวนเกือบทั้งหมดใช้ภาษาไทยได้ในระดับที่เข้าใจได้เป็นอย่างดี แต่ใช้ภาษาพวนในชีวิตประจำวัน และส่วนใหญ่จะไม่พอใจถ้าคนพวนด้วยกันมาพูดภาษาไทยด้วย คนพวนจะใช้ภาษาไทยต่อเมื่อมีการติดต่อสื่อสารกับคนไทยอื่น ๆ ที่ไม่ใช่พวน ปัจจุบันภาษาพวนยังเป็นที่ยอมรับในสังคมพวนหาดเสี้ยวอยู่ ยังใช้ติดต่อกันในชีวิตประจำวัน (หน้า 83) จากการวิจัยพบว่า คนพวนที่สามารถใช้ภาษาไทยได้ดี มีแนวโน้มที่จะละทิ้งวัฒนธรรมดั้งเดิมของพวนมากกว่าคนพวนที่ใช้ภาษาไทยไม่ได้ดี คนพวนที่ใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวัน หรือใช้ภาษาไทยและภาษาพวนเท่าเทียมกัน มีการปฏิบัติตามประเพณีดั้งเดิมน้อยกว่าผู้ที่ใช้ภาษาพวนในชีวิตประจำวัน แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่ใช้ภาษาไทยหรือใช้ทั้งภาษาไทยและภาษาพวนในชีวิตประจำวัน มีโอกาสที่จะถูกผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมมากกว่าผู้ที่ใช้ภาษาพวนประจำวัน สุดท้ายคือระดับการศึกษา ระดับการศึกษามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับการปฏิบัติตามประเพณีต่าง ๆ และมีส่วนทำให้มีการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมได้ กล่าวคือ ผู้มีระดับการศึกษาสูงมีแนวโน้มที่จะละทิ้งไม่เชื่อถือ ไม่ปฏิบัติตามวัฒนธรรมดั้งเดิมของพวนมากกว่าผู้ที่มีการศึกษาระดับต่ำ หรือไม่มีการศึกษา และในขณะเดียวกันก็จะมีการยอมรับวัฒนธรรมใหม่ หรือวัฒนธรรมไทยมาใช้ในการดำเนินชีวิตแทน ปัจจัยบางประการที่ทำให้เกิดการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมของพวนเร็วขึ้น คือ การชอบอ่านหนังสือพิมพ์และฟังวิทยุ โดยเฉพาะข่าวสารเหตุการณ์บ้านเมือง และเกือบทั้งหมดเคยเดินทางออกนอกเขตอำเภอ และเคยไปกรุงเทพฯ มาแล้ว (หน้า 84 -85)

Ethnic Group in the Focus

พวนในตำบลหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย (หน้า 28) จำนวน 255 คน เป็นชาย 122 คน และหญิง 133 คน อายุต่ำสุด 20 ปี สูงสุด 94 ปี แต่กลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุดคือช่วงอายุ 30-34 ปี ส่วนใหญ่เป็นชาวหาดเสี้ยวโดยกำเนิด (หน้า 82)

Language and Linguistic Affiliations

ผู้วิจัยเสนอว่า ส่วนใหญ่ (90%) มีความเห็นว่าตนเอง พูดภาษาไทยได้ ในระดับปานกลางค่อนข้างดีและดีมาก จึงนับว่าพวนมีความสามารถในการพูดภาษาไทยได้อย่างดี (หน้า 45) ปัจจุบันพวนยังเห็นว่าภาษาพวนมีความจำเป็นและใช้ในการติดต่อสื่อสารในหมู่พวนด้วยกันถึงร้อยละ 65.5 ของประชากรทั้งหมด แต่พวนจะรู้สึกไม่พอใจถ้าพวนใช้ภาษาไทยกับพวนด้วยกัน (หน้า 46)

Study Period (Data Collection)

ผู้วิจัยใช้ช่วงเวลาในการเก็บข้อมูล จำนวน 77 วัน (หน้า 24)

History of the Group and Community

พวน มีถิ่นฐานเดิมอยู่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ในบริเวณเมืองซำเหนือ เมืองเชียงขวาง และเมืองพวนในประเทศลาว ต่อมาได้อพยพเข้ามาสู่ประเทศไทยด้วยเหตุหลายประการคือ หนีภัยสงคราม ถูกกวาดต้อนมาเป็นเชลย ถูกชักจูงเข้ามาด้วยความสมัครใจ ปัจจุบันจึงมีพวนในบริเวณต่าง ๆ ของประเทศ (หน้า 25) พวนในตำบลหาดเสี้ยวอพยพมาจากถิ่นเดิมเหมือนพวน กลุ่มอื่น จากการสันนิฐานว่าเป็นการอพยพมาด้วยความสมัครใจ ทั้งนี้เพราะจากประวัติศาสตร์ของไทยไม่มีการกล่าถึงพวนหาดเสี้ยวเหมือนกับพวนในเขตอื่น ๆ นอกจากนี้ พวนหาดเสี้ยวยังรู้จักเส้นทางจากหาดเสี้ยวถึงเมืองเชียงขวางและมีการติดต่อไปมาหาสู่ญาติทางเมืองพวนเสมอ เมื่อประมาณ 30-40 ปีมาแล้ว ตามเส้นทางดังกล่าว ซึ่งผ่านทางจังหวัดอุตรดิตถ์ แพร่ และน่าน จะมีพวนอยู่เป็นแห่ง ๆ ปีที่อพยพมานั้นไม่ทราบแน่นนอน เพราะไม่มีการบันทึกหรือหลักฐาน แต่ประมาณว่าจะอยู่ในสมัยรัชกาลที่ 3 และต้องก่อนปี พ.ศ. 2387 อย่างแน่นนอนทั้งนี้เพราะในปี พ.ศ. 2387 นั้นชาวบ้านได้มาอยู่ร่วมกันอย่างเป็นปึกแผ่นและได้สร้างโบสถ์เสร็จเรียบร้อย ทำการฉลองวัดและโบสถ์ ในปี พ.ศ.2387 ดังปรากฏในแผ่นศิลาจารึกของวัดที่ติดอยู่ผนังของโบสถ์วัดหาดเสี้ยวจนถึงปัจจุบัน การอพยพอาจจะก่อนนี้สักระยะ อาจะ 4-5 ปีก่อนมีการสร้างโบสถ์ก็ได้ (หน้า 26)

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

จำนวนประชากรทั้งหมดตามสำเนาทะเบียนบ้านเมื่อ พ.ศ.2520 มีจำนวน 6,398 คน แต่จำนวนประชากรที่มีอยู่จริงประมาณ 4,000 คนนอกจากนั้นเป็นผู้ที่ไปประกอบอาชีพหรือไปอาศัยอยู่ในถิ่นอื่นโดยมิได้โอนย้ายหลักฐานและชื่อจากภูมิลำเนาเดิมไปด้วย (หน้า 23)

Economy

ไม่มีข้อมูล

Social Organization

การต่าวหรือปิ้น คือความเชื่อเกี่ยวกับข้อห้ามมิให้แต่งงานในหมู่ญาติพี่น้อง การลงข่วง คือการเตรียมเส้นด้ายเพื่อนำไปใช้ในการทอผ้าของสาว ๆ ซึ่งจะมานั่งทำรอบ ๆ กองไฟในบริเวณลานดินในหมู่บ้าน ขั้นตอนการทำปุยฝ้ายให้เป็นเส้นด้ายมีสำดับแตกต่างกับออกไป เรียกตามภาษาพวนคือ ตูนฝ้าย ยิงฝ้าย ล้อมฝ้าย เข็นฝ้าย กว้างฝ้าย กวักฝ้าย และปั่นหลอด การหยักสาว คือวิธีการไปพูดคุยหรือเกี้ยวพาราสีหญิงสาวที่ตนเองพอใจหรือรักใคร่ที่บ้านของฝ่ายสาว หนุ่มที่หมายตาสาวคนใหนจะเข้าไปคุยในช่วงที่ลงข่วงโดยจะถามว่าหญิงสาวนอนอยู่ส่วนใหนของบ้าน เมื่อเลิกจาการลงข่วงขึ้นไปนอนชายหนุ่มก็จะตามไป หนุ่มก็จะเอาไม้เส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 1 ซม.ยาวประมาณ 1 เมตร แหย่ไปตามร่องกระดานไปจนถูกตัวหญิงสาว เมื่อหญิงสาวถูกหยักจนตื่นแล้วก็จะจับดูที่แส้ ถ้าเป็นชายคนที่ถูกใจก็สามารถจะคุยกันได้ บริเวณฝาบ้าน ไม่มีโอกาสถูกตัวกันและไม่เห็นหน้า ถ้าหญิงสาวไม่พึงพอใจในชายหนุ่มก็จะไม่ลุกขึ้นมาคุยด้วย ชายหนุ่มก็จะไปหยักสาวบ้านอื่นแทน การถามห่อยา คือการแจกจ่ายห่อยาฉุนหรือยาเส้นไปยังหมู่ญาติมิตรทั้งหลายเพื่อบอกกล่าวให้รู้ถึงกำหนดการแต่งงานของหนุ่มสาว เมื่อรับห่อยาแล้วก็จะต้องตอบห่อยาโดยอาจเป็นเกลือ พริก หรือของกินอื่นก็ได้ เป็นการทราบข่าวการมงคล

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

ประเพณีกำฟ้า คือ ประเพณีการหยุดหรือการละเว้นไม่กระทำในสิ่งต้องห้ามอันได้แก่การทำงานทุกชนิด ยกเว้นการประกอบอาหารและทำความสะอาดบ้านเรือนในวันที่กำหนด คือวันขึ้น 3 ค่ำ 9 ค่ำและ 14 ค่ำ เดือน 3 ของทุก ๆ ปีรวม 3 วัน ในทางปฏิบัติการกำฟ้าที่บ้านหาดเสี้ยวเมื่อถึงวันงานชาวบ้านทุกคนจะหยุดพักผ่อนจากการทำงาน คนเฒ่าคนแก่จะพักผ่อนอยู่ในบ้านและคอยเสียงฟ้าร้องและมักจะร้องในวันนั้นว่าร้องทางทิศใด ฟ้าร้องแต่ละทิศจะเป็นการทำนายว่าฤดูการทำนาปีนั้นจะเป็นอย่างไร ส่วนหนุ่มสาวก็จะมีการละเล่นพื้นเมือง "ไม้หึ่ง" โดยมีขนมเป็นรางวัล ส่วนในเวลากลางคืนจะมีการเล่นทรงเจ้าเข้าผี ได้แก่ผีนางกวัก ผีนางเด้ง ผีนางสาก มีการ "เสียแสงฟืนแสงไฟ" คือการนำเอาฟืนดุ้นสุดท้ายที่ใช้ในการหุงต้มอาหารในวันนั้นและยังมีไฟอยู่ไปดับที่แม่น้ำหรือทางสามแพร่ง แล้วโยนทิ้งไว้ที่นั้น พิธีกรรมการเยา คือพิธีกรรมเกี่ยวกับการรักษาคนไข้อย่างหนึ่งของพวน การรักษาจะเป็นการสอบถามต่อเทวดาผู้รู้ชะตาของมนุษย์และรู้วิธีการรักษาไข้ เรียกว่า หมอเทวดาหลวง โดยการถามในลักษณะว่า "คนไข้หมดอายุไขหรือยัง ถ้ายังรักษาหายหรือไม่ ถ้าหายเทวดาต้องการอะไรเป็นเครื่องเซ่นเป็นการตอบแทน การถามจะใช้การร่ายมนต์ประกอบกับการเสี่ยงข้าวสารบนไข่และดาบ ผู้ทำพิธีเรียกว่าหมอเยา ปัจจุบัน ในหาดเสี้ยวเหลือเพียงคนเดียว ภายหลังการทำพิธีเสร็จหมอเยาจะบอกให้ทราบได้ว่าคนไข้จะรอดตายหรือจะตาย ประเพณีอาบน้ำก่อนกา คือประเพณีการอาบน้ำที่แม่น้ำในเวลาเช้าตรู่ของวันมหาสงกรานต์ วันที่ 13 เมษายนของทุกปี เชื่อว่าจะเป็นการขับไล่โรคภัยไข้เจ็บ สิ่งเลวร้ายต่างๆ ที่ผ่านมาในปีเก่า

Education and Socialization

ในตำบลหาดเสี้ยวมีโรงเรียนทั้งหมด 5 โรงเรียน โดยแยกเป็นโรงเรียน ระดับมัธยมศึกษา 1 โรงเรียน โรงเรียนระดับประถมศึกษา 3 โรงเรียน และโรงเรียนระดับอนุบาล 1 โรงเรียน(หน้า 27)

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

แผนที่อำเภอศรีสัชชนาลัย จังหวัดสุโขทัย (ส่วนบทคัดย่อ หน้า 11) ตารางแสดงประชากร (หน้า 28 -51) ตารางปัจจัยบางประการที่ทำให้การถูกผสมกลมกลืนเป็นไปได้ง่ายขึ้น(หน้า 52-56)

Text Analyst ชัยวัฒน์ โพธิกุล Date of Report 27 ก.ย. 2555
TAG พวน ไทยพวน ไทพวน, การผสมกลมกลืน, วัฒนธรรม, หาดเสี้ยว, สุโขทัย, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง