สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ไทใหญ่,ฉาน,การประท้วง,การเมือง,การจัดการทรัพยากร,แม่ฮ่องสอน
Author Tannenbaum, Nicola
Title การประท้วง การบวชต้นไม้ : การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของชุมชนชาวฉาน
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity ไทใหญ่ ไต คนไต, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 19 Year 2543
Source Ethnology vol.39 no 2 ,The University of Pittsburgh.,p.109-127.
Abstract

จากบริบทประวัติศาสตร์การเมืองของไทย ที่มีเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครอง มีการนองเลือดหลายต่อหลายครั้ง การเรียกร้องต่อสู้ดังกล่าวแพร่หลายลงสู่ระดับรากหญ้า ทำให้ประชาธิปไตยเบ่งบานมากขึ้น เมื่อวิธีคิดประชาธิปไตยเติบโตในพื้นที่ชนบทหรือในกลุ่มชนกลุ่มน้อย นำมาซึ่งการเรียกร้อง การแสดงออกทางการเมือง เช่น การประท้วง การบวชต้นไม้ ซึ่งเป็นพิธีกรรมทางการเมืองที่มีผลนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของชุมชน การประท้วงเรียกร้องทำให้ชาวบ้านเข้าถึงอำนาจรัฐมากขึ้น เข้าถึงสิทธิความเป็นพลเมืองมากขึ้น ในขณะเดียวกันการบวชต้นไม้กลายเป็นพิธีกรรมที่แสดงตัวตน การเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นไทย เป็นพุทธ เป็นชุมชนในรัฐชาติไทยผ่านการบวชต้นไม้ถวายแก่ในหลวง

Focus

เน้นการศึกษาความสำเร็จในการประท้วงทางการเมืองของหมู่บ้านชาวฉานแห่งหนึ่งในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของไทย และการบวชต้นไม้ของชุมชนเพื่อป้องกันป่าจากการพัฒนา (หน้า 109)

Theoretical Issues

ผู้ศึกษาได้อธิบายการประท้วงทางการเมืองและการบวชต้นไม้ของชุมชนชาวฉานในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของไทยว่า เป็นกระบวนการทางสังคมที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องความสัมพันธ์ทางการเมืองศาสนา และเศรษฐกิจ เพราะแต่เดิมชนบทไทยขาดสิทธิในการเรียกร้อง แต่จากบริบททางประวัติศาสตร์การเมืองของไทย ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองนำมาสู่ระบอบประชาธิปไตยที่แพร่กระจายสู่พื้นที่ชนบทมากขึ้น การรับรู้ข่าวสาร การเคลื่อนไหวทางการเมืองทำให้มิติเรื่องการเมืองของชาวบ้านเปลี่ยนไป เกิดรูปแบบพิธีกรรมทางการเมืองใหม่ ชาวบ้านเรียกร้องสิทธิผ่านพิธีกรรมทางการเมืองอย่างการประท้วง คัดค้าน การบวชต้นไม้ ที่ทำให้ความสัมพันธ์ของชุมชนกับอำนาจรัฐเปลี่ยนไป ในขณะเดียวกันชาวบ้านในชุมชนต้องปรับตัวต่อบริบททางการเมืองใหม่ ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การรับการศึกษาในระบบสมัยใหม่ โดยที่พิธีกรรมทางการเมืองทั้งการประท้วง การบวชต้นไม้เป็นการแสดงตัวตนการเป็นพลเมืองไทย เป็นส่วนหนึ่งของรัฐชาติไทย (หน้า 123)

Ethnic Group in the Focus

กลุ่มชาติพันธุ์ ที่ "Thongmakhsan" ซึ่งอยู่ในบริเวณทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไทย (หน้า 110)

Language and Linguistic Affiliations

ไม่ได้ระบุไว้ชัดเจน แต่จากบริบทตีความได้ว่า ชาวฉานที่ "Thongmakhsan" อาจจะมีที่พูดภาษาไทยภาคกลางไม่ได้อย่างผู้ใหญ่บ้านคนก่อน

Study Period (Data Collection)

ผู้ศึกษาได้ศึกษาเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ทางการเมืองตั้งแต่ ปี ค.ศ.1932 ซึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในประเทศไทย จนถึงเหตุการณ์ทางการเมืองช่วงปี ค.ศ.1973 - 1976 และช่วงเวลายุค 1990 (1990-1999) (หน้า 112)

History of the Group and Community

ไม่มีข้อมูล

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

จากสถานการณ์ทางการเมืองของสหภาพพม่าประกอบกับการก่อสร้างบ่อเหมือง ทำให้ชาวฉานในชุมชนชาวฉานบ้าน "Thongmakhsan" เพิ่มมากขึ้นมีครัวเรือนประมาณ 65 ครัวเรือน (เป็นผู้อาศัยถูกกฎหมาย 250 คน) เพราะว่านักธุรกิจได้ว่าจ้างผู้ลี้ภัยมาจากรัฐฉาน (หน้า 110-111)

Economy

ทำการเกษตร เก็บของป่าและรับจ้างทำเหมือง

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

มีความขัดแย้งเกิดขึ้นในหมู่บ้านในปี ค.ศ.1996 โดยเกิดจากการก่อสร้างบ่อเหมืองของนักธุรกิจ ที่ผู้ใหญ่บ้านยินยอมให้ทำ แต่บ่อเหมืองจะทำให้น้ำในแหล่งน้ำของชาวบ้านเต็มไปด้วยฝุ่น ไม่สามารถนำมาบริโภคได้ ความขัดแย้งดังกล่าวนำไปสู่การเรียกร้องประท้วงต่อเจ้าหน้าที่ทางราชการของจังหวัด มีการเรียกร้องให้สภาจังหวัดตัดสินใจความขัดแย้ง มีการทำโปสเตอร์ ล่าลายเซ็นเรียกร้องคัดค้าน โดยการนำของชาวบ้านหนุ่มสาว คนที่มีการศึกษา องค์กรเอกชนเข้าร่วมประท้วง ชาวบ้านเรียนรู้การประท้วงจากสื่อต่าง ๆ มีการจัดอบรมเพิ่มทักษะ โดยมีจุดประสงค์ในการสร้างเครือข่ายชุมชน ในการจัดอบรมเน้นหนักเรื่องเหตุการณ์ต่าง ๆ ในประเทศไทย โอกาสในการเป็นพลเมือง การมีส่วนร่วมของคนไทย แม้ว่าพวกเขาจะเป็นชนกลุ่มน้อยก็ตาม การจัดอบรมนี้ทำให้ชาวบ้านกับรัฐมีความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนไป มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกันมากขึ้น ผ่านการจัดอบรมจากเจ้าหน้าที่รัฐ เช่น ปศุสัตว์ สุขภาพอนามัย ในขณะเดียวกัน การเมืองท้องถิ่นก็มีการเปลี่ยนแปลง นักการเมืองรุ่นใหม่ได้รับการยอมรับ สนับสนุนให้เข้ามาทำงานแทนนักการเมืองรุ่นเก่าโดยผ่านพิธีกรรมทางกาเมืองระบอบประชาธิปไตย ซึ่งคือการเลือกตั้ง คนหนุ่มสาวที่มีแนวคิดเรื่องประชาธิปไตย เป็นคนสนับสนุนการประท้วงคัดค้านจะเป็นคนที่ชาวบ้านเลือกเข้ามาเป็นผู้แทนของตน นอกจากการประท้วงแล้ว การบวชต้นไม้ก็เป็นพิธีกรรมทางการเมืองอย่างหนึ่ง การบวชต้นไม้เกิดจากควาามต้องการที่จะให้พระสงฆ์ไปพัฒนาพื้นที่ยากจน ปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต และทำให้คนกลุ่มที่อยู่ห่างไกลกลายเป็นคนไทย ดังนั้น การบวชต้นไม้ซึ่งอาจมองว่าเป็นพิธีกรรมทางศาสนาพุทธก็มีนัยยะของความเป็นพิธีกรรมทางการเมืองซ่อนอยู่ เช่น การเกี่ยวพันกับการเฉลิมฉลองครบระยะสองร้อยปีของราชวงศ์จักรี ในปี ค.ศ.1982 การบวชต้นไม้จึงเป็นพิธีรักษาป่า ที่เกิดขึ้นทั้งที่พื้นที่ราบและพื้นที่สูง การบวชต้นไม้ของคนที่ราบเพื่อแสดงความเป็นชาวพุทธและความเป็นเจ้าของประเทศ เจ้าของทรัพยากร ในขณะที่ คนบนที่สูงไม่ใช่ชาวพุทธแต่การบวชต้นไม้เป็นส่วนหนึ่งของการคัดค้านการสร้างท่อก๊าวยาดานา (Yadana) ที่เป็นการซื้อก๊าซธรรมชาติจากพม่ามายังไทย ซึ่งต้องตัดต้นไม้จำนวนมาก แม้ว่าการบวชต้นไม้จะเป็นรูปแบบหนึ่งของการจัดการทรัพยากรบนพื้นฐานพุทธศาสนา แต่ในทางปฏิบัติกลับถูกมองว่าเป็นการกระทำที่เป็นคอมมิวนิสต์ พระนักกิจกรรมบางคนถูกจับกุม แต่ต่อมาการบวชต้นไม้ก็ได้รับการยอมรับ โดยมีทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมงานด้วย เช่น มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแม่ฮ่องสอน คณะกรรมการพัฒนาบนที่สูง ไทย-เยอรมัน องค์กรเอกชน องค์กรรัฐ (หน้า 110-111, 114-116, 118, 120)

Belief System

การบวชต้นไม้เป็นการจัดการโดยพระ เป็นส่วนหนึ่งของการประท้วงคัดค้านความทันสมัย ทุนนิยม และการพัฒนาที่จะทำลายคุณค่าของขนบประเพณีและวิถีชีวิตของชาวบ้าน การบวชต้นไม้จึงเป็นยุทธศาสตร์และการเคลื่อนไหวอนุรักษ์ป่า โดยพระเพื่อต้องการที่จะเพิ่มทรัพยากรของพื้นที่ชนบทและระบบนิเวศบนพื้นฐานพุทธศาสนา พิธีกรรมมีการสวดและผูกผ้าเหลืองรอบต้นไม้ เหมือนพระสงฆ์ ดังนั้น ชาวบ้านจึงดูแลต้นไม้ประหนึ่งว่าเป็นพระสงฆ์ การบวชต้นไม้เริ่มต้นจาการทำกองกฐินที่วัดในหมู่บ้าน มีการสวดบูชาแสดงความเคารพภูติผี ด้วยการจุดเทียน ธูปบูชาพระรัตนตรัย โดยชุมชนชาวฉานมีพิธีกรรมหลัก 3 พิธีคือ 1. พิธีที่วัดพุทธ บูชาเสาเมือง (the Lord of the Land - Tsao Muong) ซึ่งเป็นหัวใจของหมู่บ้าน ซึ่งจะมีการฉลองอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี พิธีนี้เป็นการแสดงตัวตนของชุมชนในฐานะเมืองเล็กๆ ครัวเรือนแต่ละครัวเรือนจะนำตะกร้าใส่ข้าวที่สีแล้ว น้ำมันตะเกียง ไม้ขีดไฟ ตาเหลว (taa liaw) เพื่อนำไปบูชาหัวใจหมู่บ้าน 2. พิธีสร้างขอบเขตของครัวเรือนและที่นา ที่อยู่อาศัยและคอกเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเป็นพิธีที่แสดงความเป็นอิสระทางการปกครอง 3. พิธีฉลองการบวชต้นไม้จัดบนเหตุผลที่ต่างกัน หนึ่งในสาเหตุคือเพื่อแสดงความเป็นชาติทางการเมือง เป็นพลเมืองไทยและความเป็นพุทธศาสนิกชน บ่งบอกความเป็นชุมชน พิธีกรรมนี้เกิดจากภายนอก โดยการนำมาของพระสงฆ์ผู้ที่จะเข้าร่วมต้องเป็นคนในหมู่บ้านที่อาศัยมายาวนาน ผู้ลี้ภัยจากรัฐฉานไม่ได้เข้าร่วมพิธีกรรมด้วย (หน้า 109, 116-117, 120-122)

Education and Socialization

มีการเคลื่อนไหวของวัฒนธรรมชุมชน โดยเน้นที่ภูมิปัญญาชาวบ้านเพื่อนำมาใช้สร้างชุมชนและแก้ปัญหา นอกจากการศึกษานอกระบบแล้ว การศึกษาในระบบโรงเรียนจัดตั้งขึ้นกลางยุค 60 มีการสอนภาษาไทย ภาษาประจำชาติ แต่ต้องปิดไปเนื่องจากมีเด็กน้อย เด็ก ๆ จึงเรียนที่โรงเรียนในตัวเมืองแม่ฮ่องสอน ซึ่งมีการสอนภาษาไทยภาคกลาง โดยการเพิ่มขึ้นของความรู้เป็นส่วนหนึ่งของการเป็นสังคมรัฐชาติ ที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวอย่างที่ปรากฎเช่นการประท้วง และการบวชต้นไม้ (หน้า 117, 122)

Health and Medicine

ในพิธีกรรมเลี้ยงผีเมืองจะมีการต้มเหล้าซึ่งชาวบ้านจะถือว่าเหล้าเป็นยาไม่ทำให้เมา นอกจากนี้ในป่าชุมชนยังมีพันธุ์พืชหลายชนิดที่เป็นยาสมุนไพร (หน้า 119, 121)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

หมู่บ้านชาวฉานไม่ได้เป็นหมู่บ้านเดียวที่มีการเปลี่ยนแปลงในโครงร่างการเมือง กะเหรี่ยงก็มีการเรียกร้องที่จะป้องกันสิ่งแวดล้อมตามแนวทางขนบธรรมเนียมกะเหรี่ยงเช่นกัน เหมือนกับเมี่ยนในพะเยา (หน้า 123)

Social Cultural and Identity Change

การเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองการปกครองส่วนกลาง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการเมืองท้องถิ่น เริ่มจากชาวบ้านเลือกพ่อหลวงบ้าน จากที่แต่เดิมมาจากการเลือกจากเจ้าหน้าที่อำเภอ ชาวบ้านเลือกผู้แทนสภาผู้แทนจังหวัดซึ่งจากเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาที่เป็นการศึกษาสมัยใหม่ การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ที่มีการเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเรื่องประชาธิปไตยผ่านสื่อ ผ่านเหตุการณ์ทางการเมืองต่าง ๆ ทำให้ชาวบ้านหนุ่มสาวเข้ามามีบทบาททางการเมืองมากขึ้น (หน้า 112-113)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst อินทิรา วิทยสมบูรณ์ Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG ไทใหญ่, ฉาน, การประท้วง, การเมือง, การจัดการทรัพยากร, แม่ฮ่องสอน, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง