สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ กะเหรี่ยง, โพล่ง โผล่ง โพล่ว ซู กะเหรี่ยง,อาข่า, มลาบรี มราบรี,ลาหู่ ลาฮู,ลีซู,เมี่ยน อิวเมี่ยน,ม้ง,การใช้ไม้ฟืน,เชียงใหม่,เชียงราย,แม่ฮ่องสอน,น่าน
Author สมาน รวยสูงเนิน
Title การสำรวจการใช้ไม้ฟืนของชาวเขาเผ่าต่างๆ
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity อ่าข่า, ลีซู, ลาหู่ ลาหู่ ละหู่ ลาฮู, มละบริ ยุมบรี มลาบรี มละบริ มลา มละ, ม้ง, โพล่ง โผล่ง โผล่ว ซู กะเหรี่ยง, ปกาเกอะญอ, Language and Linguistic Affiliations ไม่ระบุ
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 63 Year 2523
Source ฝ่ายวิจัย กองอนุรักษ์ต้นน้ำ กรมป่าไม้
Abstract

ศึกษาการใช้ไม้ฟืนของชาวเขากลุ่มต่างๆ เช่น กะเหรี่ยง อีก้อ มูเซอ ลีซอเย้า ม้ง(แม้ว) ที่อยู่ในจังหวัดต่างๆ เช่น เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน น่าน พบว่าในหนึ่งปีชาวเขาหมู่บ้านกรณีศึกษา มีการใช้ไม้ฟืนเฉลี่ย 38.262 ลบ.ม./ครอบครัว/ปี ซึ่งไม้ที่นำมาทำฟืนเป็นไม้ที่อยู่ป่าต้นน้ำ จากการศึกษาคณะผู้วิจัยเห็นว่าเป็นการใช้ไม้ฟืนของชาวเขานั้นมีจำนวนมาก ทำให้กระทบต่อป่าต้นน้ำ ดังนั้นควรสนับสนุนให้ชาวเขาปลูกไม้โตเร็ว เพื่อนำมาทำฟืนและทดแทนต้นไม้ในป่าเขาอันเป็นป่าต้นน้ำ

Focus

สำรวจการใช้ไม้ฟืนของชาวเขาเพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการแก้ไขปัญหาการตัดต้นไม้ในพื้นที่ป่าที่เป็นแหล่งต้นน้ำ

Theoretical Issues

ไม่มีข้อมูล

Ethnic Group in the Focus

กะเหรี่ยง มีชื่อเรียกหลายชื่อ พม่าเรียกว่า “กะยิ่น” คนไทยในรัฐฉาน ประเทศพม่า และภาคเหนือของไทยเรียกว่า “ยาง” ในภาคกลางของไทยเรียกว่า “กะเหรี่ยง” กะเหรี่ยงเป็นชาติพันธุ์ที่อยู่ในตระกูล ธิเบต-พม่า (Tibeto Burma) แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยต่างๆ ดังนี้ 1) กะเหรี่ยงสะกอ 2) กะเหรี่ยงโปว์ 3) กะเหรี่ยงตองสูหรือพะโอ 4) กะเหรี่ยงบเว

สำหรับจำนวนประชากรกลุ่มกะเหรี่ยงสะกอมีจำนวนมากเป็นอันดับหนึ่ง คิดเป็น 63.5 %

อันดับสอง กะเหรี่ยงโปว์ ส่วนกะเหรี่ยงตองสู และบเว คิดเป็น 2.6 % (หน้า 2)

 อีก้อ แบ่งเป็นกลุ่มย่อยดังนี้ ปุลี ยึเชะ นาดี มาเว อาเข่อ ยึเยาะ อีก้อเรียกตัวเองว่า “อาข่า”(AKHA) ส่วนคนไทยกับพม่าจะเรียกหลายชื่อ เช่น “อีก้อ”บางครั้งก็เรียก “ก้อ” และ ”ข่าก้อ” (หน้า 11-12)

มูเซอ (Lahu) สืบเชื้อสายมาจากธิเบต-พม่า บางครั้งก็สันนิษฐานว่ามีเชื้อสายของกลุ่มโล-โล คนจีนเรียกมูเซอว่า Lo Hei หรือ La Heir ซึ่งคำว่า Lahu คาดว่าเพี้ยนเสียงมาจากคำว่า La Hei หรือ La Heir (หน้า 18) มูเซออยู่ในหลายพื้นที่ เช่น แคว้นยูนนาน ประเทศจีน ในประเทศพม่า ภาคเหนือของไทย และจังหวัดน้ำทาประเทศลาว มูเซอแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยได้ 23 กลุ่ม ได้แก่ ลาฮูไกสี, ลาฮูนะ(มูเซอดำ) ลาฮูคะคา, ลาฮูอาแล, ลาฮูนะเพ, ลาฮูปานาย, ลาฮูละฮู, ลาฮูลอเม ลาฮูนะเมียว, ลาฮูอะคออะก่า, ลาฮูชีนะเกียว, ลาฮูชีบาเกียว, ลาฮูชีบาลา, ลาฮูมือคิน, ลาฮูบาฟา, ลาฮูลาบา, ลาฮูพู, ลาฮูอาพูบีลี, ลาฮูญี(มูเซอแดง) ลาฮูกูเลา, ลาฮูวียะ, ลาฮูฮูสี, ลาฮูเชเล่ (หน้า 18-19)

สำหรับมูเซอที่อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทย ซึ่งแต่เดิมมาจากประเทศพม่ากับประเทศลาว เมื่อ 50 ปีที่ผ่านมา แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ มูเซอดำ (ลาฮูนะ Lahu Na) อยู่ในเชียงราย เชียงใหม่และตาก กับ มูเซอแดง(ลาฮูญี Lahu Nyi) อยู่ในเชียงราย เชียงใหม่ ตาก และแม่ฮ่องสอน และอีกกลุ่มที่เข้ามาภายหลัง คือ มูเซอเชเช่(ลาฮูเชเล่ Lahu Shohleh) กับมูเซอญี(ลาฮูญี Lahu Shi) (หน้า 19)

ลีซอ เมื่อเรียกตนเองจะเรียกว่า ลีซู ”Lisu” คนไทยเรียกว่า ลีซอ ส่วนคนจีนเรียกว่า Lisu, Lisaw, Li-shaw, Lishaw และในพม่าเรียกลีซอว่า Yaw yin,Yawyen Yaoyen (หน้า 28) ลีซอแบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อย ได้แก่ ลีซอลาย กับลีซอดำ ลีซอในไทยเป็นลีซอลาย สำหรับกลุ่มลีซอดำจะอยู่ในพม่า จีน อินเดีย (หน้า 30)

เย้า แต่เดิมตั้งรกรากอยู่มณฑลกวางสี มณฑลยูนนาน ภายหลังจึงย้ายเข้ามาอยู่ในพื้นที่เวียดนาม ลาว และไทย สันนิษฐานว่ามีการอพยพครั้งแรกเมื่อคริสตศักราชที่ 13 ส่วนเย้าที่อยู่ในประเทศไทย ส่วนใหญ่ย้ายมาจากจังหวัดน้ำทา ประเทศลาว โดยเข้ามาอยู่ ในเขตจังหวัดน่าน และเชียงราย (หน้า 37)

ม้ง(แม้ว) อยู่ในกลุ่ม จีน-ธิเบต เมื่อก่อนตั้งที่อยู่อาศัยอยู่มณฑลไกวเจา ฮุนนำ ยูนนาน ประเทศจีน ม้งในประเทศไทยมี 3 กลุ่ม คือ ม้งขาว ม้งน้ำเงิน และม้งกัวม์บา และกลุ่ม ม้งน้ำเงินมีกลุ่มย่อยคือ ม้งดอก ม้งดำ กับม้งลาย (หน้า 45,46)

Language and Linguistic Affiliations

กะเหรี่ยง พื้นฐานทางภาษายังไม่ทราบที่มาอย่างชัดเจนบางครั้งก็คาดว่ามาจากตระกูลภาษาจีน – ธิเบต บ้างก็แสดงความคิดเห็นว่าใกล้เคียงกับแขนงภาษาของธิเบต - พม่า การสื่อสารในแต่ละกลุ่มนั้นกะเหรี่ยงสะกอส่วนใหญ่พูดภาษาไทยเหนือ ภาษากะเหรี่ยงโปว์ใกล้เคียงกับภาษากะเหรี่ยงสะกอ แต่สื่อสารกันไม่รู้เรื่อง

ส่วนภาษากะเหรี่ยงบเว ก็ใกล้เคียงกับภาษากะเหรี่ยงสะกอ นอกจากนี้ยังพูดภาษาฉานและภาษาพม่า ในกลุ่มกะเหรี่ยงตองสู พูดภาษาฉานกับภาษาพม่า (หน้า 3)

อีก้อ ภาษาพูดของอีก้ออยู่ในตระกูลภาษา ธิเบต-พม่า สาขา โลโล-พม่า ภาษาพูดออกเสียงพยางค์เดียว พยัญชนะตัวสุดท้ายออกเสียงค่อนข้างยาว ได้รับอิทธิพลทางภาษามาจากภาษาอื่นๆ เช่น จีน พม่า ไทยใหญ่ ไทยภาคเหนือ เป็นต้น อีก้อมีแต่ภาษาพูด ยกเว้นกลุ่มอีก้อขาวที่อยู่ในประเทศพม่า มีภาษาเขียนเป็นของตนเองเนื่องจากได้ศึกษาการเขียวตัวอักษรจากมิชชันนารี (หน้า 11)

มูเซอ มีภาษาพูดเป็นภาษาธิเบโต เบอมันสำเนียงพยางค์เดียว (หน้า 20) ลีซอ อยู่ในกลุ่มภาษาธิเบต-พม่า ไม่มีตัวอักษรเป็นของตนเอง ต่อมาคณะมิชชันนารีได้ใช้ตัวอักษรโรมันมาเขียนเป็นภาษาลีซอ ส่วนในไทยยังไม่เคยนำมาเป็นตัวเขียน (หน้า 30)

เย้า -ไม่มีข้อมูล ม้ง(แม้ว) ไม่มีข้อมูลชัดเจนเรื่องภาษาพูด โดยจะพูดหลายภาษาอาทิ จีน ลาว ไทยภาคเหนือ ม้งทั้ง 3 กลุ่มมีภาษาพูดที่ใกล้เคียงกัน แต่ไม่มีตัวอักษรเป็นของตัวเอง (หน้า 46)

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุเวลา

History of the Group and Community

กะเหรี่ยง นักประวัติศาสตร์คาดว่าเมื่อก่อนนี้ตั้งที่อยู่อาศัยอยู่ทางทิศตะวันออกของธิเบต ภายหลังจึงอพยพมาอยู่ในประเทศจีนเมื่อ 733 ปี ก่อนพุทธศักราช คนจีนเรียกกะเหรี่ยงว่า “ชนชาติโจว” กระทั่งถึงราชวงศ์จิ๋นของจีน กะเหรี่ยงถูกจีนโจมตี จึงอพยพมาจามลำน้ำแยงซีเกียงและสู้รบกับชนชาติไทยอีกครั้ง จึงได้อพยพมาตามแม่น้ำโขง และ แม่น้ำสาละวิน ในประเทศพม่า

กะเหรี่ยงเข้ามาอยู่ในพื้นที่ประเทศไทยนานมาแล้ว ก่อนที่ไทยจะย้ายมาอยู่บริเวณนี้แต่กะเหรี่ยงเข้ามาอยู่จำนวนไม่มาก กะเหรี่ยงอพยพเข้ามาอยู่ในไทยเป็นจำนวนมาในช่วงที่พระเจ้าอลองพญาหรือ “อ่องเจยะ” สู้รบกับมอญ จึงทำให้กะเหรี่ยงอพยพเข้าเขตประเทศไทยเพราะหวั่นเกรงภัยอันตราย (หน้า 1) ใน พ.ศ.2428 กะเหรี่ยงได้อพยพเข้าสู่ประเทศไทยอีกครั้งเมื่อกองทัพอังกฤษเข้าครอบครองภาคเหนือของพม่า สำหรับการอพยพเข้ามาอยู่ในไทยของกะเหรี่ยงนั้นเข้ามามากตามลำดับในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 (หน้า 1)


อีก้อ ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าอีก้ออพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ตอนไหนแต่จากรายงานของศูนย์วิจัยชาวเขาที่ระบุตามคำพูดของอีก้อผู้สูงายุว่า อีก้อเข้ามาอยู่ในประเทศไทยครั้งแรกใน พ.ศ.2458 หลังจากนั้นเป็นต้นมาก็โยกย้ายที่อยู่เข้ามาเรื่อยๆ โดยจะเข้ามาอยู่เช่น จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ และลำปาง สำหรับอีก้อส่วนใหญ่คาดว่าแต่เดิมอยู่ในแคว้นเชียงตุง ประเทศพม่า (หน้า 12-13)

มูเซอ เมื่อก่อนตั้งที่อยู่อาศัยอยู่ในธิเบต เมื่อจีนรุกรานจึงอพยพลงทางตอนใต้ในช่วงประมาณ ค.ศ.1880-1890 โดยมาอยู่บริเวณแนวเขตแดนพม่ากับจีนและด้านทิศตะวันออกของมณฑลยูนนาน ประเทศจีนและทางตอนเหนือของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (หน้า 18)

ลีซอ เมื่อก่อนนี้ตั้งที่อยู่อาศัยอยู่ต้นแม่น้ำสาละวิน แม่น้ำโขง กับด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ลีซอในประเทศไทยส่วนใหญ่อพยพมาจาก เชียงตุง กับเมืองปั่น ประเทศพม่า (หน้า 28)

เย้า -ไม่มี

ม้ง(แม้ว) -ไม่มี

Settlement Pattern

บ้านกะเหรี่ยง บ้านมีทั้งใช้ไม้ไผ่และไม้จริง สำหรับบ้านไม้ไผ่หลังมุงด้วยไม้ไผ่หลังคาแบบนี้จะเรียกว่า “โขน” บ้านบางหลังจะนำไม้จริงมาทำเสา ส่วนไม้ไผ่จะนำมาทำไม้ฟากปูพื้น ฝา ประตูและอื่นๆ บ้านเรือนบางหลังจะมุงด้วย ใบคา ใบพลวง ใบหวาย หลังคาสูงตั้งเตาไฟอยู่กลางตัวบ้าน (หน้า 3) สำหรับบ้านไม้ถาวรจะกั้นฝาด้วยไม้และมุงด้วยสังกะสี ใต้ถุนจะทำที่เก็บฟืน รั้วบ้านกั้นด้วยไม้ไผ่ (ภาพบ้านหน้า 5-8)

บ้านอีก้อ บ้านสร้างแบบยกพื้น ฝาเป็นไม้ไผ่หรือไม้จริง หลังคามุงหญ้าคา เนื้อที่ใช้สอยภายในบ้าน จะแบ่งเนี้อที่ไว้ทำงานและเป็นที่พักของแขกที่มาเยี่ยม กับเนื้อที่ที่จัดไว้เป็นที่นอนของสมาชิกครอบครัว ส่วนที่เป็นเสาเอกก็จะทำหิ้งไว้บูชาผีเรือน สำหรับเตาไฟมี 2 อย่างคือเตาที่ใช้ทำอาหารในครอบครัว และอีกเตาจะใช้เวลาทำอาหารเลี้ยงผีบ้าน ส่วนบริเวณชายคาที่คลุมพื้นลงมา จะเป็นที่ตั้งครกตำข้าว นอกจากบ้านหลังใหญ่แล้วก็จะสร้างบ้านหลังเล็กๆ ไว้กับบ้านหลังใหญ่ เพื่อเป็นที่อยู่ของลูกชายและลูกสะใภ้ที่แต่งงานใหม่โดยจะแยกให้อยู่ต่างหากเพื่อความเป็นส่วนตัว (หน้า 14)

บ้านมูเซอ บ้านยกพื้นสูง ฝาทำด้วยไม้ไผ่หลังคามุงแฝก ประตูบ้านสูงถึงหลังคาทำด้วยไม้ไผ่หรือไม้กระดาน เปิดปิดทางไประเบียง ตั้งเตาไฟไว้กลางบ้าน ฝาผนังทางด้านซ้ายมือจะทำหิ้งผีเรือน (หน้า 22)

บ้านลีซอ การสร้างมี 2 อย่างคือ สร้างแบบติดพื้นดินและแบบยกพื้น ฝาบ้านเป็นไม้ไผ่ขัดแตะพื้นบ้านเป็นฟากไม้ไผ่ ประตูมีหนึ่งประตูอยู่ทางหน้าบ้าน ภายในบ้านจะมีเตาไฟ 2 เตา ถัดจากบริเวณเตาไฟจะเป็นที่นั่งพักผ่อนและต้อนรับแขก โดยจะทำเป็นแคร่ไม้สูงจากพื้นดิน 1 ถึง 2 ศอก สำหรับห้องถ้าในบ้านมีสมาชิกมากก็จะมีห้องเยอะ ส่วนครอบครัวเล็กๆ จะมี ห้องเจ้าบ้าน ห้องรับแขก และห้องลูก (หน้า 31)

บ้านเย้า ปลูกบ้านค้อมพื้นดิน หันหน้าบ้านไปทางทิศตะวันออก ตัวบ้านเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หลังคามุงด้วยหญ้าคาบางครั้งก็มุงด้วยใบหวาย ฝาบ้านกั้นเป็นแนวตั้งทำด้วยไม้ไผ่ขัดแตะ หรือฟางผสมดินทำเป็นกำแพง จำนวนห้องขึ้นอยู่กับจำนวนคนในบ้าน ถ้าคนมากจำนวนห้องก็มีหลายห้องด้านหลังบ้านจะเป็นประตู และบริเวณหลังบ้านปลูกพืชผักสวนครัว (หน้า 39-40 ภาพหน้า 41)

บ้านม้ง(แม้ว) สร้างบ้านคลุมพื้นดิน บริเวณที่นอนจะยกสูงขึ้น ฝาบ้านเป็นไม้ฟากทำเป็นแนวตั้ง หลังคามุงด้วยไม้ไผ่ผ่าซีก,ใบคาหรือใบก้อ ในตัวบ้านจะมีเตาไฟเพื่อผิงและต้มน้ำชา (หน้า 46)

Demography

กะเหรี่ยง ใน 7 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ กำแพงเพชร เชียงใหม่ ตาก แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปางและลำพูน มีจำนวนประชากรกะเหรี่ยงทั้งหมด 15,669 คน มีจำนวนครัวเรือน 28,699 ครัวเรือน และจำนวนหมู่บ้าน 1,339 หมู่บ้าน (ข้อมูล พ.ศ.2514 - 2515,หน้า 2 )

อีก้อ มีการสำรวจจำนวนประชากรของอีก้อในประเทศต่างๆ ในแต่ละช่วงปีดังนี้ ในประเทศจีน มณฑลยูนนาน มี 48,700 คน อยู่ในลาว 2,500 (พ.ศ.2481) อยู่ในแคว้นเชียงตุง ประเทศพม่า 40,000 คน (พ.ศ.2474) และในประเทศไทยมีอีก้อ 25,000 คน (พ.ศ.2504, หน้า 11)

มูเซอ ประชากรมูเซอในจังหวัดต่างๆ เช่นเชียงราย เชียงใหม่ ตากและแม่ฮ่องสอน มีประชากรทั้งหมด 10,591 คน 1,684 หลังคาเรือน 85 หมู่บ้าน (หน้า 20)

ลีซอ ใน 6 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ตาก เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร มีประชากรลีซอ 10,857 คน 1,707 หลังคาเรือน 67 หมู่บ้าน (หน้า 29)



ม้ง(แม้ว) มีประชากรรวมทั้งหมด 45,800 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มต่างๆ คือ ม้งดำ 26,400 คน ม้งขาว 19,200 คน และม้งกัวม์บา 200 คน (หน้า 45-48)16,119 คน (ค.ศ.1968) โดยอยู่ในเชียงรายมากที่สุด 14,712 คน (ตารางหน้า 38)

Economy

การใช้ไม้ฟืนของชาวเขาเผ่าต่างๆ จากการศึกษาเรื่องการใช้ฟืนของชาวเขากลุ่มต่างๆ พบว่ามีการใช้ฟืนดังนี้ กะเหรี่ยง ในหมู่บ้านกรณีศึกษา 3 หมู่บ้าน ในจังหวัดเชียงราย พบว่าหนึ่งครอบครัวมีปริมาณการใช้ฟืนเฉลี่ยอย่างต่ำ 20.512 ลูกบาศก์เมตรต่อปี ไม้ที่ตัด เช่น ตะแบก ยาง กระบก (หน้า 48-49)

อีก้อ 3 หมู่บ้านในจังหวัดเชียงราย พบว่าหนึ่งครอบครัวมีปริมาณการใช้ไม้ฟืนเฉลี่ยอย่างต่ำ 29.993 ลูกบาศก์เมตรต่อปี ไม้ที่ใช้ เช่น ตะแบก เต็ง รัง และอื่นๆ (หน้า 48-49)

มูเซอ 2 หมู่บ้าน ในจังหวัดเชียงราย พบว่าหนึ่งครอบครัวมีการใช้ไม้ฟืนเฉลี่ยอย่างต่ำ 39.639 ลูกบาศก์เมตรต่อปี ไม้ที่ใช้เช่น สัก ตะแบก หว้า และอื่นๆ (หน้า 48-49)

ลีซอ 3 หมู่บ้าน ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนและเชียงใหม่ พบว่าหนึ่งครอบครัวมีปริมาณการใช้ไม้ฟืนเฉลี่ยอย่างต่ำ 472.175 ลูกบาศก์เมตรต่อปี ไม้ที่ใช้ เช่น ทะโล้ ไม้สัก และอื่นๆ (หน้า 48-49)

เย้า 2 หมู่บ้านในจังหวัดเชียงราย พบว่าหนึ่งครอบครัวมีปริมาณการใช้ไม้ฟืนเฉลี่ยอย่างต่ำ 53.762 ลูกบาศก์เมตรต่อปี ไม้ที่ตัดเช่น หว้า ประดู่ ขนุน และอื่นๆ (หน้า 48-49)

ม้ง 1 หมู่บ้านในจังหวัดน่าน พบว่าหนึ่งครอบครัวมีปริมาณการใช้ไม้ฟืนเฉลี่ยอย่างต่ำ 43.50 ลูกบาศก์เมตรต่อปี ไม้ที่ใช้เช่น กาดแดงและอื่นๆ (หน้า 48-49) การใช้ฟืนของกะเหรี่ยงอีก้อ มูเซอ ลีซอ เย้า ม้ง ที่อยู่ในจังหวัดต่างๆ เช่น เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน น่าน

จากการศึกษาพบว่าหนึ่งครอบครัวมีปริมาณการใช้ไม้ฟืนเฉลี่ยอย่างต่ำ 38.262 ลูกบาศก์เมตรต่อปี ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงมากโดยเฉพาะป่าอันเป็นแหล่งต้นน้ำ ในงานเขียนระบุว่าควรที่จะให้ชาวเขาปลูกพืชไม้โตเร็วเพื่อนำมาทำ ฟืน เพื่อทดแทนต้นไม้แหล่งต้นน้ำในป่าเขา (หน้า 63)

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

ไม่มีข้อมูล

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

กะเหรี่ยง ตามรายงานและความเห็นของนักวิจัยบ้านกะเหรี่ยงมีความเป็นอยู่ที่ไม่ถูกหลักอนามัย เครื่องใช้ต่างๆ และอุปกรณ์ทำครัวมีความสะอาดไม่เพียงพอ หากเกิดโรคจึงติดต่อกันอย่างรวดเร็ว (หน้า 3)

อีก้อ -ไม่มีข้อมูล

มูเซอ ส่วนมากจะเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ เช่น มาลาเรีย พยาธิ และอื่นๆ (หน้า 21)

ลีซอ -ไม่มีข้อมูล

เย้า บริเวณบ้านไม่ค่อยสะอาด บ้านบางหลังไม่ทำคอกเลี้ยงสัตว์ เช่น เลี้ยงหมู่จะปล่อยทำให้บริเวณบ้านไม่สะอาด (หน้า 40)

ม้ง(แม้ว) สุขภาพแข็งแรง และไม่กินหมาก นิยมดื่มชา (หน้า 45)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

กะเหรี่ยง หญิงสาว สวมชุดยาวคลุมถึงข้อเท้า สีขาว บริเวณคอเสื้อ ชายกระโปรงและแขนเสื้อประดับด้วยริ้วผ้าสีต่างๆ คอเสื้อผ่าเป็นรูปตัววี(V) ชุดทำงานเก็บฟืนหญิงกะเหรี่ยงจะแต่งตัวเหมือนชุดคนพื้นเมืองทั่วไปคือสวมเสื้อแขนยาว นุ่งผ้าถุง คลุมหัวด้วยผ้า

อีก้อ ไม่มีข้อมูล

มูเซอ ผู้หญิง สวมเสื้อผ้าหลายสี บริเวณเสื้อด้านหน้าตกแต่งด้วยแผ่นเงินทรงกลม ตรงชายเสื้อกับขอบกระโปรงจะนำผ้าสีดำ ขาวและสีอื่นๆ มาประดับเป็นพื้นเสื้อกระดุมเป็นเงิน กระโปรงเป็นลายเส้นตามขวาง ประดับด้วยห่วงคอเงิน กำไลเงิน เป็นต้น ผู้ชาย นุ่งกางเกงทรงหลวมๆ ขายาวเลยหัวเข่า เสื้อสีดำ หน้าแข้งพันผ้า โพกหัวด้วยผ้าสีดำ (หน้า 21)


ลีซอลาย ผู้ชาย สวมกางเกงตัวหลวมๆ ยาวถึงหน้าแข้ง ส่วนมากจะเป็นสีฟ้า สีเขียว ส่วนผู้สูงอายุชอบใส่สีดำ สวมเสื้อแขนยางสีดำตกแต่งด้วยโลหะสีขาวทรงกลม ประดับทางด้านหน้าและด้านหลังของเสื้อ เสื้อแขนยาวจะสวมเมื่องานงานสำคัญเช่นวันปีใหม่ ส่วนหนุ่มๆ จะใส่ไปจีบสาว การแต่งกายในชีวตประจำวันจะสวมเสื้อเชิ๊ต พันหน้าแข้งด้วยผ้าดำ ใส่รองเท้ายาว มักโพกหัวด้วยผ้าสีขาว (หน้า 30) ผู้หญิง จะแต่งตัวคล้ายกันทุกวัย โดยจะสวมกางเกงสีดำ ยาวเลยหัวเขาแล้วสวมเสื้อคลุมสีฟ้า บางครั้งก็สีเขียวคลุมยาวจนถึงหน้าแข้ง เสื้อด้านข้างตั้งแต่เอวลงมาจะผ่ายาว เสื้อแขนยาวปกคอประดับด้วยผ้าสีดำบริเวณหน้าอกจะประดับด้วยแถบผ้าขนาดเล็ก คาดเอวด้วยผ้าสีดำขนาดใหญ่แล้วเหน็บปลายไว้ทางด้านหลัง ชอบโพกหัวด้วยผ้า และพันผ้าที่หน้าแข้ง เมื่อมีงานสำคัญจะประดับเสื้อด้วยกระดุมเงิน (หน้า 30)

เย้า - ไม่มีข้อมูล ม้ง(แม้ว) -ไม่มีข้อมูล

Folklore

กะเหรี่ยง -ไม่มีข้อมูล

อีก้อ เชื่อว่าอีก้อกลุ่มต่างๆ สืบเชื้อสายมาจากพี่น้อง 7 คนหรือ 9 คน ที่เกิดจากแม่คนเดียวกัน ในภายหลังเมื่อโตขึ้น พี่น้องทั้งหลายจึงแยกย้ายกันไปสร้างครอบครัวจนมีลูกหลานมาจนถึงปัจจุบัน (หน้า 11)

มูเซอ -ไม่มีข้อมูล

ลีซอ -ไม่มีข้อมูล

เย้า -ไม่มีข้อมูล

ม้ง(แม้ว) -ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มีข้อมูล

Map/Illustration

ตาราง จำนวนประชากรกะเหรี่ยงใน 7 จังหวัดภาคเหนือของประเทศไทย พ.ศ.2514-2515 (หน้า 2) จำนวนประชากรของมูเซอใน 4 จังหวัดภาคเหนือของประเทศไทย (หน้า 20) ประชากรลีซอใน 6 จังหวัดภาคเหนือ (หน้า 29) ประชากรเย้าในจังหวัดเชียงรายและพะเยา, เชียงใหม่ (หน้า 38,39) ประชากรแม้ว (หน้า 46) การใช้ฟืนของชาวเขาเผ่าต่างๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน และน่าน (หน้า 48) ภาพ การใช้ฟืนของกะเหรี่ยง ภาพ 1-12 (หน้า 4-10) การใช้ฟืนของอีก้อ ภาพ 13-20 (หน้า 15-17) การใช้ฟืนของมูเซอ ภาพ 21-30 (หน้า 23-27) การใช้ฟืนของลีซอ ภาพ 31-38 (หน้า 32-36) การใช้ฟืนของเย้า ภาพ 39-46 (หน้า 41-44) การปลูกป่าฟืนในพื้นที่ต้นน้ำลำธาร ภาพที่ 46-62 (หน้า 51-60) การปลูกป่าฟืนของโรงบ่มใบยาสูบ ภาพ 63-66 (หน้า 61-62)

Text Analyst ภูมิชาย คชมิตร Date of Report 09 พ.ค. 2556
TAG ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ กะเหรี่ยง, โพล่ง โผล่ง โพล่ว ซู กะเหรี่ยง, อาข่า, มลาบรี มราบรี, ลาหู่ ลาฮู, ลีซู, เมี่ยน อิวเมี่ยน, ม้ง, การใช้ไม้ฟืน, เชียงใหม่, เชียงราย, แม่ฮ่องสอน, น่าน, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง