สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject อินตา,ปะโอ,ไต,การเมือง,สังคม,เศรษฐกิจ,ความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์,เมืองยองห้วย,รัฐฉาน,พม่า
Author ภูมิพัฒน์ เชติยานนท์
Title ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์แห่งลุ่มทะเลสาบรัฐฉาน
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ปะโอ, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 214 Year 2546
Source หลักสูตรสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต(มานุษยวิทยา) คณะสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Abstract

งานเขียนกล่าวถึงสภาพสังคม เศรษฐกิจการเมืองของชาติพันธุ์ต่างๆ ที่อยู่ในเมืองยองห้วย รัฐฉาน ประเทศพม่า ซึ่งประกอบด้วยชาติพันธุ์อันหลากหลาย ซึ่งเมืองนี้แต่เดิมมีเจ้าฟ้า ชาวไต เป็นผู้นำ ต่อมาหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในพม่า เมื่ออำนาจการปกครองตกอยู่ในการดูแลของรัฐบาลพม่า ทำให้บทบาทของชาวไตลดความสำคัญลง ในบางด้าน เป็นผลให้ อินตาและปะโอขึ้นมามีบทบาทสำคัญในด้านเศรษฐกิจการท่องเที่ยว หลังจากที่รัฐบาลพม่าส่งเสริม ปีการท่องเที่ยวในประเทศ เมื่อ ค.ศ.1996 จึงทำให้เมืองยองห้วย-รอบทะเลสาบอินเล มีการพัฒนาในด้านต่างๆ เช่น โรงแรมที่พัก ร้านขายสินค้า ร้านอาหาร ถนนหนทาง การติดต่อสื่อสาร เรือบริการนักท่องเที่ยวในทะเลสาบอินเล และอื่นๆ

Focus

ศึกษาสถานการณ์ทางชาติพันธุ์ ภายใต้เงื่อนไขการอยู่ร่วมกันของกลุ่มชาติพันธุ์แห่งเมืองยองห้วย และปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ กลวิธีและกระบวนการที่แต่ละกลุ่มชาติพันธุ์นำมาใช้ในการสร้าง และนิยามอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของตน เพื่อต่อรองกับการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันทั้งในทางสังคมและวัฒนธรรมและนำข้อสรุปที่ได้จากการทำงานภาคสนามมาสร้างบทสนทนากับทฤษฎีและจัดระเบียบทฤษฎี (หน้า 22)

Theoretical Issues

ไม่มีข้อมูล

Ethnic Group in the Focus

ไต พม่าเรียกว่า "ฉาน" นักประวัติศาสตร์จีนระบุว่า กลุ่มชาติพันธุ์ไตมีบรรพบุรุษที่ตั้งรกรากอยู่ตอนใต้ของประเทศจีนว่า "ไป่เยว่" หรือ "เยว่ร้อยเผ่า" ต่อมาได้อพยพที่อยู่ไปอยู่ตามที่ต่างๆ เนื่องจากเกิดสงคราม ส่วนในประเทศพม่าอาณาจักรของคนไตได้ปรากฏขึ้นครั้งแรกช่วงสมัยอาณาจักรพุกาม โดยระบุว่าอาณาจักรของคนไตหลายแห่งอยู่ขั้วอำนาจเดียวกับอาณาจักรน่านเจ้า (ค.ศ.650-1300) ในยุคนั้นอาณาจักรของคนไตเป็นรัฐกันชนของอาณาจักรที่เรืองอำนาจ เช่น อาณาจักรน่านเจ้า อาณาจักรพุกาม ประเทศจีน (หน้า 9) อินตา ชื่อชาติพันธุ์ "อินตา" ในภาษาพม่ามีที่มาจากคำว่า "อิน" แปลว่า "ทะเลสาบ" กับคำว่า "ตา" แปลว่า "ลูกชาย" เมื่อนำคำมารวมกันจึงหมายถึง "ลูกชายแห่งทะเลสาบ" สันนิษฐานว่าบรรพบุรุษของอินตา เป็นชาวทะเว ที่ เคยตั้งรกรากอยู่ที่เมืองทะวาย ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของเมืองตะนาวศรี โดยในครั้งแรกอินตา 2 ครอบครัวได้อพยพมา อยู่ที่เมืองยองห้วยครั้งแรกเมื่อ ค.ศ.1359 โดยเจ้าฟ้าชาวไต ได้ยกที่ดินติดทะเลสาบอินเลให้สร้างบ้านเรือน ต่อมา มีครอบครัวอินตาอพยพเข้ามาอยู่เป็นจำนวนมาก ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 เพราะหลบหนีการทำสงครามในช่วงนั้นระหว่างไทยและพม่า อินตาเสมือนเป็นสัญลักษณ์ของทะเลสาบอินเล เพราะอินตาใช้ชีวิตอยู่ในทะเลสาบ และมีเอกลักษณ์ที่โดเด่นคือ ใช้เท้าพายเรือ (หน้า 14,55) ปะโอ มีชื่อเรียกเป็นภาษาพม่าว่า "ตองตู" แปลว่า "คนที่อาศัยอยู่ทางตอนใต้" และ "คนภูเขา" เมื่อก่อนนี้ปะโอตั้งที่อยู่อาศัยอยู่ที่เมืองตะโทง ซึ่งเคยเป็นเมืองที่มีความสำคัญของอาณาจักรมอญ เมืองนี้อยู่กึ่งกลางระหว่างเมืองพะโคกับเมืองเมาะตะมะในรัฐมอญในทุกวันนี้ สำหรับการอพยพมาอยู่ที่เมืองยองห้วย ยังไม่มีความชัดเจนว่าปะโอย้ายมาอยู่ที่เมืองยองห้วยในช่วงไหน แต่ว่ากันว่าปะโอมาตั้งรกรากอยู่ที่รัฐฉานทางตอนใต้มาเนิ่นนาน สำหรับคำเรียกปะโอในรัฐฉานจะเรียกว่า "ฉาน-ตองตู" ทุกวันนี้ปะโอแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มปะโอขาว คือ กลุ่มที่ทำสนธิสัญญาหยุดยิงกับรัฐบาลพม่าใน .1992 และกลุ่มปะโอแดง คือ กลุ่มต่อต้านฝ่ายรัฐบาลพม่า (หน้า 14) ข้อมูลทางวิชาการส่วนใหญ่จัดให้ปะโอ เป็นกลุ่มย่อยในกลุ่มกะเหรี่ยงโปว (หน้า 70) ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่มได้แก่ กะเหรี่ยงโปว และ เตาตู (ปะโอ) กะเหรี่ยงโปวจะอยู่บริเวณริมฝั่งทะเลจากอาระข่านจนถึงมะเกว ปะโอจะตั้งบ้านเรือนอยู่ทางตอนเหนือของพม่าตั้งแต่ตะโทงกระทั่งถึงเมืองตองยี (หน้า 71)

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาอินตา อยู่ในตระกูลภาษา ทิเบต-พม่าลักษณะเด่นคือได้ดัดแปลงภาษาพม่า และภาษากลุ่มชาติพันธุ์อื่นมาปรับใช้เป็นสำเนียงภาษาของตนเอง เช่น ภาษาอินตากับภาษาพม่า จะมีรูปประโยคและไวยากรณ์เหมือนกัน ยกเว้นแต่สำเนียงที่ไม่เหมือนกัน ตัวอย่างเสียง "ต" ในภาษาพม่าภาษาอินตา ออกเสียงเป็น "ซ" เช่นในภาษาพม่าคำว่า "ลูก" พม่าเรียกว่า "ต้าตะมี่" อินตาจะออกเสียงว่า "ซ่าซะมี่" (หน้า 59) ส่วนข้อแตกต่างอื่นเช่น ตัวสระ "ย่ะเย็ด ย่ะปิน" ในภาษาพม่าหากนำมาใช้เสียง "ก" จะเปลี่ยนเป็นเสียง "จ" ส่วนในภาษาอินตาเมื่อใส่สระนี้ลงไปจะทำให้เสียง "ก" เพิ่มเสียง "ละ" มาต่อท้าย เช่น คำว่า "ตก" ภาษาพม่าออกเสียงว่า "จ้า" ภาษาอินตาออกเสียงว่า "กะล่า" คำว่า "อีกา" พม่าออกเสียงว่า "จีกาน" อินตาออกเสียงว่า "กะลีกาน" ฯลฯ เสียงที่สะกดด้วย "จี" จะใช้เสียง "ออง" ดังตัวอย่าง คำว่า "โรงเรียน" ภาษาพม่าออกเสียงว่า "เจียาว" อินตาออกเสียงว่า "เจียอง" "ข้าว" พม่าออกเสียงว่า "ทะมิน" ภาษาอินตาออกเสียงว่า "ทะมอง" เสียง "หย" ในภาษาพม่าเปลี่ยนเป็นเสียง "หว" ในภาษาอินตา อาทิเช่น "ฝนตก" พม่าออกเสียงว่า "โม้วหยั่ว" อินตาออกเสียง "โหม่วหวั่ว" "หู" พม่าออกเสียงว่า "น้าย้วย" อินตาออกเสียงว่า "นาเว่ะ" สระเสียง "ไอ๊ท์" ในภาษาพม่าก็เปลี่ยนเป็นเสียง "เอ๊ะ" ในภาษาอินตาเช่น คำว่า "ชอบ" พม่าออกเสียงว่า "จ๊ท์" ภาษาอินตาออกเสียงว่า "เจ๊ะ" "ก่อสร้าง" พม่าออกเสียงว่า "ไซ๊ท์ทู" อินตาออกเสียงว่า "เซ๊ะทู" (หน้า 60) ส่วนภาษาอื่นๆ ที่อินตานำมาใช้ ได้แก่ ความหมาย ภาษาอินตา ภาษาเตาโย ภาษาพม่า แม่ มุ่ย มุ่ย อาเม พ่อ โดวผ่ะ โดวผ่ะ อาเพ ย่า,ยาย โดวเป่า โดวเผ่า อาพัว ปู่,ตา โดวโผ่ว โดวโผ่ว อาโพว (ฯลฯ ดูตัวอย่างภาษาอินตาทั้งหมด หน้า 60,61) ภาษาปะโอ อยู่ในตระกูลภาษา ไต-กะได ภาษาปะโอ แบ่งวรรณยุกต์เป็น 3 ระดับเช่นเดียวกับภาษาพม่า ส่วนรูปแบบของ ไวยกรณ์จะเป็นแบบเดียวกับภาษาอังกฤษและไต โดยจะเรียงประโยคจาก ประธาน-กริยา-กรรม ภาษาปะโอเป็นภาษาที่ใช้ศัพท์พยางค์เดียว (Monosyllabic) มีความหมายในตัวเอง ส่วนตัวอักษรปะโอได้พัฒนา มาจากตัวอักษรของมอญโดยได้นำมาประยุกต์ให้เข้ากับการออกเสียงและการสะกดตามแบบของปะโอ (หน้า 76)

Study Period (Data Collection)

ผู้เขียนไม่ได้ระบุเวลาอย่างแน่ชัด เพียงแต่บอกว่าอยู่ในพื้นที่ศึกษาในประเทศพม่า เป็นเวลา 28 วัน (หน้า 21)

History of the Group and Community

ประวัติศาสตร์พม่า ประกอบด้วย 3 ช่วงเวลาที่สำคัญคือ สมัยก่อนอาณานิคม ค.ศ.1044-1826 แบ่งย่อยออกเป็น 3 ยุค คือ จักรวรรดิพม่าครั้งที่ 1 ในสมัยอาณาจักรพุกาม ค.ศ.1044-1287 อาณาจักรของชาติพันธุ์พม่าแห่งนี้ตั้งอยู่เมืองพุกาม ก่อตั้งโดยพระเจ้าอโนรธา( ค.ศ.1044-1077) จักรวรรดิพม่าครั้งที่ 2 อยู่ในสมัยราชวงศ์ตองอู ค.ศ.1486-1752 มีกษัตริย์ที่สำคัญคือ พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ (ค.ศ.1531-1551)และพระเจ้าบุเรงนอง (ค.ศ.1551-1581) มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองพะโค "Bago" หรือ หงสาวดี (หน้า 2) จักรวรรดิพม่าครั้งที่ 3 สมัยราชวงศ์คอนบอง ค.ศ.1752-1885 มีกษัตริย์ที่สำคัญคือ พระเจ้าอลองพญา (ค.ศ.1752-1760) เป็นยุคที่พม่าประสบความสำเร็จในการรวมชาติ โดยมีชัยเหนืออาณาจักรอื่น เช่น มอญ ยะไข่ ไต (หน้า 3) สมัยอาณานิคม ค.ศ.1826-1947 อังกฤษยึดพม่าเป็นอาณานิคม และโค่นล้มพระเจ้าธีบอ (ค.ศ.1878-1885) กษัตริย์องค์สุดท้ายของพม่าแห่งเมืองมัณฑะเลย์ เมื่อ ค.ศ.1885 โดยใช้นโยบายแบ่งแยกแล้วปกครอง แบ่งพม่าออกเป็นสองส่วน คือ กลุ่มที่เป็นพม่าแท้อยู่ตอนกลางของประเทศให้อยู่ในส่วนหนึ่งของรัฐบาลอาณานิคมที่อินเดีย และส่วนที่สองที่เป็นชนกลุ่มน้อยต่างๆ ให้เป็นอาณานิคมของอังกฤษโดยตรงขึ้นกับกระทรวงอาณานิคมของอังกฤษ กรุงลอนดอน (หน้า 2,4) สมัยหลังอาณานิคม ค.ศ.1948-ปัจจุบัน คือยุคที่เป็นเอกราชจากอังกฤษแบ่งเป็น 3 ช่วงเวลา คือ สมัยนายพลออง ซาน (ค.ศ.1947) เป็นเวลาที่รัฐบาลพม่าทำข้อตกลงปางโหลงเพื่อปรองดองกับชนกลุ่มน้อย ได้ตกลงกับรัฐของชนกลุ่มน้อย ว่าสามารถแยกตัวเป็นอิสระได้ใน 10 ปีข้างหน้า เพื่อให้พม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษ สมัยอู นุ (ค.ศ.1948-1962) หลังจากการลอบสังหารนายพล ออง ซาน อู นุ ต้องการรวมชาติพม่าให้เป็นหนึ่งเดียวและไม่ทำตามข้อตกลงปางโหลงที่จะให้รัฐของชน กลุ่มน้อยเป็นอิสระภายใน 10 ปี เหตุการณ์นี้ทำให้เกิดสงครามกลางเมืองในพม่า (หน้า 7) สมัยนายพลเน วิน (ค.ศ.1962-1988) จากภาวะสงครามกลางเมือง นายพลเน วิน ได้ก่อการรัฐประหาร ในวันที่ 2 มีนาคม ค.ศ.1962 การเจรจากับชนกลุ่มน้อยประสบความล้มเหลว รัฐบาลนายพลเนวินใช้นโยบายปราบปรามชนกลุ่มน้อย ด้วยกำลังทหาร (หน้า 7)

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

ประชากรเมืองยองห้วย ประกอบด้วยหลายชาติพันธุ์มีประชากร 400,000 คน (หน้า 25) ประชากรปะโอในพม่ามี 4 ล้านคนส่วนมากอยู่ในรัฐฉาน (หน้า 71) ส่วนกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่อยู่ในพม่านั้นคิดเป็นเปอร์เซนต์ได้ดังนี้ พม่า 68 % ไต 9 % กะเหรี่ยง 7 % อาระข่าน 4 % ชิน 4 % อินเดีย 2 % และอื่นๆ 5 % (หน้า 10)

Economy

ระบบเศรษฐกิจของเมืองยองห้วย อาชีพหลักของคนเมืองยองห้วย คือ การทำการเกษตร เนื่องจากมีพื้นที่เพาะปลูกมากมาย เช่น ที่ดินในที่ราบลุ่ม ที่ราบระหว่างหุบเขา บนพื้นที่สูง บนเกาะลอยน้ำในทะเลสาบอินเล สำหรับเกาะลอยน้ำนั้นทำจากสาหร่ายนำมาซ้อนทับกันเป็นจำนวนมากจนลอยน้ำได้เนิ่นนานหลายปี (ขึ้นกับปริมาณความแน่นหนาของสาหร่าย เกาะบางเกาะถ้าทำหนา 15 ฟุตก็สามารถลอยน้ำได้นานถึง 15 ปี) บนเกาะสามารถทำประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ใช้เป็นที่ปลูกพืชผัก เกาะลอยน้ำเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของทะเลสาบอินเล เมืองยองห้วย ที่เป็นจุดที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจ และสามารถขายโดยอัตราการขายพื้นที่บนเกาะลอยน้ำจะขายตารางวาละ 5,000 จ๊าด ถ้าหากมีคนซื้อหลังจากตกลงซื้อขายกันแล้วก็จะเลื่อยเกาะตามขนาดที่ซื้อแล้วลากด้วยเรือแล้วนำไปใช้งาน (หน้า 91,ภาพเกาะลอยน้ำ หน้า 94) สำหรับพืชที่ปลูกบนเกาะลอยน้ำมีหลายชนิด เช่น มะเขือเทศ พริก มะเขือ เป็นต้น ส่วนพืชที่ปลูกในบริเวณรอบทะเลสาบอินเล ได้แก่ ข้าว ข้าวสาลี ถั่วลิสง งา ดอกทานตะวัน อ้อย ฯลฯ (หน้า 92,93) ในส่วนของการท่องเที่ยวเมืองยองห้วยนั้น เริ่มขึ้นเมื่อ ค.ศ.1996 อันเป็นปีการท่องเที่ยวพม่า สำหรับจุดมุ่งหมายของการจัดปีการท่องเที่ยวของรัฐบาลก็เพื่อเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจ วัฒนธรรม รักษาและฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณี ปรับปรุงระบบขนส่งมวลชน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในเมืองยองห้วยและทะเลสาบอินเล จากการสนับสนุนด้านการท่องเที่ยวของรัฐบาลพม่า ทำให้เกิดการตื่นตัวด้านธุรกิจเช่นมีการเปิดตัวของโรงแรมขนาดใหญ่หลายแห่ง และธุรกิจการเช่าเรือ ที่มีเจ้าของเรือรวมตัวกันในเรื่องให้บริการกับนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมทะเลสายอินเล (หน้า 109-123) เศรษฐกิจของอินตา อาชีพหลักของอินตา คือ การทำประมง การจับปลาจะหาเพื่อบริโภคในครอบครัวและขายเป็นรายได้ สำหรับอาหารที่ทำจากเนื้อปลา ได้แก่ ปลาซ่ม โดยจะนำปลามาหมักกับข้าวแดงเป็นเวลา 2 วัน และอื่นๆ (หน้า 97 อุปกรณ์จับปลา หน้า 98) เศรษฐกิจของปะโอ อาชีพหลักของปะโอ คือ เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ เช่น หมูและวัว ปะโอ ไม่เก่งเรื่องทำการประมง ดังนั้นการทำประมงจึงเป็นอาชีพเฉพาะกลุ่มอินตา ซึ่งการมีความชำนาญในอาชีพที่แตกต่างกันจึงทำมีการแลกเปลี่ยนสินค้าต่างๆ ในกลุ่มอินตา ไต และปะโอ (หน้า 78)

Social Organization

สังคมเมืองยองห้วย สภาพสังคมของเมืองยองห้วยได้เกิดการเปลี่ยนแปลง นับตั้งแต่พม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษ และในปี ค.ศ.1962 เมื่อนายพลเนวิน ปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ทางการเมืองครั้งสำคัญทั้งสองครั้งของพม่านั้น สังคมเมืองยองห้วย ซึ่งแต่เดิมนั้นมีชาวไตเป็นฝ่ายปกครองเพียงกลุ่มเดียว ภายหลังได้เปลี่ยนมาเป็นสังคมแบบพหุสังคมซึ่งชาติพันธุ์อินตากับปะโอ ต่างมีอำนาจบทบาทเท่ากับหรือมากกว่าชาวไต ในหลายๆ ด้านเช่นด้านสังคมและเศรษฐกิจและอื่นๆ (หน้า 15)

Political Organization

ระบบการปกครองของเมืองยองห้วย ยองห้วยมีฐานะเป็นอำเภอที่ขึ้นกับจังหวัดตองยี อำเภอยองห้วยประกอบด้วย 3 ตำบลได้แก่ ตำบลญองชเว หรือ "ยองห้วย" ตำบลน้ำปัน ตำบลสามกา ส่วนของตำบลยองห้วยมี 12 กลุ่มหมู่บ้านคือ ยองห้วย ตี้ล่อ เต่าเฉ่ ไม้เต้า แลมเมาเกว๋ไต๊ น้ำซาย หยั่วต่า เค่าได้ไต ลิงกินไต จุนจีไต เมนซาไต เต่าโบวจี ส่วนตำบลน้ำปั่นมี 16 หมู่บ้านและตำบลสามกา มี 9 หมู่บ้าน ภายหลังที่สิ้นอำนาจเจ้าฟ้า รัฐบาลได้จัดระบบเมือง การปกครองอำนาจศูนย์กลางอยู่ที่เมืองยางกง (หน้า 86) เมื่อ ค.ศ.1962 หลังมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ศูนย์การปกครองขึ้นกับรัฐบาลทหารพม่า เมืองยางกง โดยมีชื่อว่า State Peace and Develop Council (SPDC) โดยมีการแบ่งการปกครองออกเป็น State Peace and Develop Council ปกครองในส่วนกลางปกครองดูแลทั่วประเทศพม่า District Peace and Develop Council สภาปกครองระดับจังหวัด เช่นจังหวัดเชียงตุง ผู้ที่ทำหน้าที่ในตำแหน่งนี้เป็นทหารยศนายพันสังกัดกองกำลังทหารภาคตะวันออก Township Peace and Develop Council คือสภาดูแลระดับอำเภอ เช่นเมืองยองห้วยผู้ดำรงสูงสุดในสภาเป็นเจ้าหน้าที่จากรัฐบาลกลาง ที่ขึ้นตรงกับนายทหารจากกองกำลังภาคตะวันออก Village tract Peace and Develop Council สภาระดับตำบลคนที่จะมาเป็นหัวหน้าคัดเลือกมาจากประชาชนในหมู่บ้าน Village Peace and Develop Council สภาระดับหมู่บ้าน คนที่มาเป็นหัวหน้าจะเลือกมาจากประชาชนที่อยู่ในหมู่บ้าน (หน้า 87)

Belief System

ศาสนาและความเชื่อของอินตา อินตาส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ อินตาชอบเข้าวัดฟังธรรม โดยเฉพาะในวันสำคัญทางศาสนาพุทธ ในแต่ละหมู่บ้านจะมีวัดประจำหมู่บ้านในหมู่บ้านใหญ่ก็จะมีหลายวัด นอกจากนี้ยังมีอินตาที่นับถือ "นัต" หรือเทพผู้ปกครอง (ในความเชื่อของพม่ามีทั้งหมด 37 องค์) สำหรับความเชื่อเรื่องนัตของอินตาแบ่งเป็นประเภทต่างๆ คือ นัตคุ้มครองหมู่บ้าน นัตรักษาผืนดิน นัตรักษาน้ำ นัตคุ้มครองศาสนา สำหรับศาลของนัตอินตาจะสร้างไว้ตรงทางเข้าหมู่บ้าน แต่ทุกวันนี้ไม่มีการเซ่นไหว้ ทำเพียงถวายน้ำชาและดอกไม้ (หน้า 62-63) ศาสนาและความเชื่อของปะโอ นับถือศาสนาพุทธ ซึ่งตลอดทั้งปีนั้นปะโอได้กอบพิธีกรรมและทำการเพาะปลูก ดูแล เก็บเกี่ยวผลผลิตในไร่นา โดยแบ่งออกเป็นช่วงต่างๆ ดังนี้ เกษร (Kason) เมษายน-พฤษภาคม เป็นเทศกาลสงกรานต์อันเป็นวันปีใหม่ ปะโอจะรดน้ำดำหัวและทำบุญ นายน (Nayon) พฤษภาคม-มิถุนายน จะจัดเทศกาลชินปโย โดยจะพาลูกชายไปอยู่ที่วัดเพื่อศึกษาธรรมะก่อนเข้าพรรษา วาโซ (Waso) มิถุนายน-กรกฎาคม เป็นช่วงที่เด็กชายจะบวชเณร วากอง (Waquang) กรกฎาคม-สิงหาคม กำจัดวัชพืชที่อยู่ในไร่นา ทอเทลิน (Tawthelin) สิงหาคม-กันยายน เก็บเกี่ยวผลผลิตในไร่นา ตะดินวุท (Thadingvut) กันยายน-ตุลาคม ใกล้หมดช่วงเข้าพรรษา ช่วงนี้จะดูแลพืชที่ปลูก ตะซอนมุน (Tazaungmon) ตุลาคม-พฤศจิกายน ทำบุญมอบเครื่องสังฑภัณฑ์ต่างๆ เช่น สบง จีวร บาตร ฯลฯให้กับพระสงฆ์ นาดอ (Nadaw) พฤศจิกายน-ธันวาคม เก็บเกี่ยวผลผลิตจากนั้นปะโอก็จะเดินทางมาทำบุญกราบไหว้เจดีย์กั๊กกู ซึ่งอยู่ไกลจากเมืองตองยีเมืองหลวงของรัฐฉาน 28 ไมล์ เจดีย์กั๊กกูเป็นกลุ่มเจดีย์เล็กๆ ที่มีจำนวน 2,048 องค์ (หน้า 150 ภาพหน้า 158) พยาโต (Pyayho) ธันวาคม-มกราคม เป็นช่วงสิ้นสุดการเก็บเกี่ยวผลผลิต ปะโอจะพักผ่อนและเดินทางไปทำบุญกราบไหว้วัดและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย โดยจะทำติดต่อกันไป 4 ช่วงต่อไปนี้ (หน้า 81) ตะบดวา (Tabodwa) มกราคม-กุมภาพันธุ์ ทำบุญที่วัด ตาบอก (Tabaung) กุมภาพันธ์-มีนาคม ทำบุญ,ตัดหญ้าแฝกมามุงหลังคาบ้าน (หน้า 81) ตะกู (Tagoo) มีนาคม-เมษายน ทำบุญ,เตรียมดินเพื่อปลูกหอม กระเทียม (หน้า 81,82) ประเพณีในรอบปีของเมืองยองห้วย งานพิธีในเทศกาลสำคัญของเมืองยองห้วยมีความเกี่ยวพันกับศาสนาพุทธ ซึ่งในรอบปีมีการทำบุญในเวลาต่างๆ ดังนี้ เดือนเมษายนเป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์ ระหว่างวันที่ 11-14 พฤษภาคม คนในเมืองจะไปรดน้ำต้นโพธิ์ถวายเครื่องสังฆทานต่างๆ ให้กับพระ เดือนมิถุนายนจัดสอบเพื่อเลื่อนตำแหน่งทางสงฆ์ จะมีพระสงฆ์ในรัฐฉานมาสอบที่เมืองยองห้วยโดยจะจัดเป็นระยะเวลาทั้งหมด 9 วัน กรกฎาคมเข้าพรรษา ประชาชนจะไปทำบุญที่วัด เดือนกันยายนเป็นเวลาจัดแข่งเรือ ตุลาคมเป็นเทศกาลผ่องต่องอูโดยจะแห่พระพุทธรูปคู่เมืองยองห้วย 4 องค์ทางเรือในทะเลสาบอินเล ธันวาคมเป็นเวลาแข่งขันแต่งกลอนของนักเรียนและประชาชน มีนาคม ตรงกับช่วงปิดเทอมก็จะทำพิธีบวชลูกแก้ว ฯลฯ (หน้า 91) ประเพณีเกี่ยวกับความตายของอินตา การทำพิธีศพของอินตา เมื่อมีคนเสียชีวิต อินตาก็จะทำความสะอาดห้องนอนของผู้ที่เสียชีวิต ต่อมาก็จะเปลี่ยนเสื้อผ้าชุดใหม่ให้ผู้ตายและก็จะพายเรือ นำศพไปสุสาน ในความเชื่อของอินตาเชื่อว่า การพายเรือที่เป็นการพายตอนที่ยืนพายก็จะทำให้ผู้ที่ล่วงลับนั้นไปถึงนิพพาน พอถึงสุสานก็จะนำน้ำมาล้างหน้าศพ และทำพิธีอาบน้ำศพ ในบ้านที่มีฐานะร่ำรวยก็จะต่อโลงให้ญาติที่เสียชีวิต แต่ถ้ายากจนก็จะใช้เสื่อพันรอบร่างผู้เสียชีวิตแล้วนำไม้ไผ่ 3 ท่อนมาวางขนาบ แล้วมัดด้วยเชือก (หน้า 67) พิธีฝังศพแบ่งออกเป็น สุสานบนบกกับสุสานในน้ำ ในส่วนของการฝังศพในน้ำ จะฝังศพใต้เกาะลอยน้ำขั้นตอนการทำพิธีเมื่อจะฝังก็จะเปิดฝาโลงให้พระสวดทำพิธี นำสิ่งของเครื่องใช้ของผู้ตายใส่ในโลงจากนั้นก็จะขุดเกาะลอยน้ำ แล้วบรรจุศพลงหลุมแล้วตัดไม้ไผ่มาทำเสาไว้ด้านบน เพื่อป้องกันโลงเขยื้อน เมื่อทำพิธีแล้วก็จะทำบุญตักบาตรอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้เสียชีวิต สำหรับการจัดพิธีนั้นหากเป็นการตายตามปกติ จะตั้งศพไว้ที่บ้าน 3 วัน แต่ถ้าตายในวันพิธีต่างๆ เช่น วันสงกรานต์ ก็จะทำพิธีให้เสร็จภายในวันนั้น (หน้า 67)

Education and Socialization

ระบบการศึกษาของเมืองยองห้วย ในเมืองยองห้วยมีโรงเรียนในระดับต่างๆ ดังต่อไปนี้ โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 3 แห่ง ได้แก่ ที่ตัวเมืองยองห้วย หมู่บ้านหยั่วมะ หมู่บ้านอินป่อโข่ง และโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 7 แห่ง ตั้งอยู๋ในที่ต่างๆ เช่น ตัวเมืองยองห้วย น้ำปั่น ต้าเล มีนเซา เจซาโกง ไม้เต๊า และยาใจ ส่วนโรงเรียนระดับประถมศึกษาในเมืองยองห้วยมีทั้งหมด 70 แห่ง สำหรับการเรียนในระดับมหาวิทยาลัยจะไปเรียนที่เมืองตองยี เมืองหลวงของรัฐฉาน (หน้า 102)

Health and Medicine

การคลอดบุตร การทำคลอดของอินตาในเมืองห้วยยอง ส่วนมากยังนิยมทำคลอดกับหมอตำแย เพราะการเดินทางไปทำคลอดที่โรงพยาบาลยังไม่สะดวกสบายเท่าที่ควร สำหรับความเชื่อเรื่องการคลอดลูกนั้น อินตาเชื่อว่า หากคลอดลูกเป็นแฝด ชาย หญิง ถือว่าอัปโชค แต่ถ้าหากคลอดลูกได้แฝดชาย หรือลูกชายหนึ่งคนถือว่ามีโชคที่สุด ภายหลังการคลอดแม่เด็กจะต้องอยู่ไฟ 3 วัน ในระหว่างนี้บริเวณใต้ถุนบ้าน ก็จะจุดไฟให้ความสว่าง เนื่องจากเชื่อว่าเป็นการป้องกันสิ่งอัปมงคลทั้งหลายไม่ให้เข้าบ้าน (หน้า 65) ส่วนคนที่เป็นสามีก็จะชวนเพื่อนบ้านมาอยู่เป็นเพื่อนเพื่อดูแลความปลอดภัย จัดกิจกรรมต่างๆ เช่น เล่านิทาน เล่าเรื่องธรรมะและอื่นๆ กระทั่งถึงวันที่ 4 หลังการอยู่ไฟ แม่เด็กจำเอาน้ำส้มป่อยใส่ขันเงิน ไปเชิญหมอตำแยและเพื่อนบ้านที่มาคอยดูแลระหว่างทำคลอด มาเลี้ยงขอบคุณที่บ้าน การทำพิธีขอบคุณเรียกว่า "กิ่นโปนติ๊ด" แม่เด็กจะมอบเงินรวมทั้งของขวัญเพื่อตอบแทนน้ำใจคนที่มีดูแลช่วยเหลือขณะทำคลอด (หน้า 66)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

การแต่งกายของอินตา สำหรับการแต่งกายของอินตานั้นได้เปลี่ยนแปลงต่างไปจากในอดีต ซึ่งถ่ายทอดผ่านคำพูดของอินตาที่กล่าวว่า "เยาที่หู่" แปลว่า "ไว้ผมยาวแล้วยกมวยผม" กับ "เยาเจ่งฉีน" แปลว่า "โพกหัวด้วยผ้าโพกหัว" แต่เดิม ผู้ชาย สวมเสื้อแบบป้ายทับอก นุ่งกางเกง "เฉ่เอ้กเท่ห์" สีดำ ผู้หญิง สวมเสื้อ "ชีนอีน" ที่เย็บด้วยมือ ให้ตะเข็บอยู่ด้านนอก นุ่งผ้าถุง "เช๊ะกวยโลงชีน" ในงานพิธีสำคัญผู้หญิงอินตาชอบสวมผ้าถุงสีชมพู ทุกวันนี้ทั้งชายหญิงอินตานิยมแต่งตัวเหมือนกับชาวพม่า และไม่นิยมไว้ผมยาวและมวยผมไว้เช่นเดิม (หน้า 62 ภาพหน้า 83) การแต่งกายของปะโอ ผู้ชาย สวมกางเกงตัวใหญ่สีดำ "Baggy Trouser" สวมเสื้อสีอ่อนๆ แล้วสวมเสื้อสีเข้มๆ ทับอีกชั้น โพกศรีษะด้วยผ้าหลากสีได้แก่ สีส้ม เหลือง ทุกวันนี้ผู้ชายจะคาดเข็มขัดซึ่งหนา 4 นิ้ว เอาไว้เก็บสิ่งต่างๆ เช่น กระเป๋าสตางค์ (หน้า 70,77) ผู้หญิง แต่งกายชุดสีดำ สวมเสื้อและนุ่งผ้าถุงที่เรียกว่า "นิ" โพกหัวด้วยผ้าสีสดใสสะดุดตา เช่นสีแดง ส้ม เขียว คอเสื้อเป็นรูปตัววีทั้งด้านหน้าและหลัง การแต่งกายของหญิงปะโอเชื่อว่าเป็นการเลียนแบบร่างกายส่วนต่างๆ ของมังกรที่ปะโอนับถือ (หน้า 78 ภาพหน้า 83,84,154) ผ้าทอใยบัว ผ้าชนิดนี้ ดอ จา อู หญิงชาวพม่า ที่อยู่เมืองเชียงทอง ทางตอนใต้ของทะเลสาบอินเล เป็นผู้ริเริ่มทำเป็นคนแรก เมื่อ 100 ปีที่ผ่านมา ผ้าทอใยบัวถือว่าเป็นสัญลักษณ์ด้านการบูชานับถือศาสนาพุทธ การทอค่อนข้างละเอียด ดังนั้นจึงทอใช้เฉพาะในพุทธศาสนา ผ้าชนิดนี้จะนำมาทอสบางกับจีวรถวายพระ ขั้นตอนการทำก่อนเก็บก้านบัว จะต้องเซ่นไหว้เจ้าที่เจ้าทาง โดยจะถวายกล้วย 9 หวี ถ้วยใส่ขนมสีขาวกับสีแดง 9 ถ้วย เทียน 9 เล่ม และธงแดง นำของทั้งหมดใส่ถาด จากนั้นก็จะไปเก็บก้านบัวซึ่งจะใช้เฉพาะบัวสีชมพู เพราะให้เส้นใยจำนวนมากและเส้นใยมีความทนทาน ส่วนใหญ่การเก็บก้านบัวอยู่อยู่ระหว่าง เดือนมิถุนายน-พฤศจิกายน เนื่องจากอยู่ในช่วงหน้าฝนจึงจะทำให้เก็บก้านบัวที่มีคุณภาพ (หน้า 182) สำหรับก้านบัวที่ตัดบางครั้งอาจใช้ขนาดความยาวถึง 180 เซนติเมตร หลังจากที่เก็บก้านบัวมาแล้วก็จะนำมารวมกัน 5 ถึง 6 ก้านแล้วใช้มีดกรีด หักเป็นท่อนยาวประมาณ 3-4 นิ้ว ดึงออกจากกันให้ใยบัวออกมาจากก้านเป็นเส้นๆ ต่อมาก็จะนำไปแช่น้ำข้าวให้เหนียวทนทาน ต่อมาก็จะนำมาผึ่งแดดให้แห้งแล้วนำมาปั่นเป็นเส้นด้าย การทอผ้าจะใช้หูก หลังจาดทอเป็นผ้าก็จะย้อมสีฝาดสำหรับทำจีวรและสบง โยจะย้อมด้วยสีที่นำมาจากเปลือกต้นขนุน กับต้น ซอร์ ทรี สำหรับการทอผ้าเพื่อถวายพระจะมีทั้งหมด 3 ชิ้นก้านบัวที่ใช้ทั้งหมดจะใช้กว่า 120,000 ก้าน (หน้า 183) ปัจจุบันชาวบ้านได้ทอผ้าใบบัว จำหน่ายกับนักท่องเที่ยว เช่น ผ้าคลุมไหล่ ผาปูโต๊ะ ซึ่งได้รับความนิยมจากกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นจำนวนมาก (หน้า 183 ภาพการทอผ้าจากใยบัว หน้า 184,185) ที่เป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจเหนือดินแดนของตน ที่ทำจากวัสดุต่างๆ เช่น เหล็ก สแดนเลส สตีล ทองเหลือง ทองแดง สำหรับขั้นตอนการทำจะต้องขึ้นโครงของที่ก่อน แล้วจะนำวัสดุมาเคลือบด้วยครั่งจำนวน 2 ชั้น ปล่อยไว้แล้วรอประมาณ 10 วัน ต่อมาก็จะฉาบด้วย สังกะสี สแตนเลส ทอง คำ จากนั้นก็จะประดับด้วยระฆังรวมทั้งของมีค่าต่างๆ บริเวณส่วนล่างของที่เป็นวงแหวน ซึ่งเรียกว่า "เซท ตวา ผู่" วงแหวนนี้จะมีหลายชั้นเริ่มจาก 3 ชั้น 5 ชั้น 7 ชั้น 9 ชั้น 11 ชั้น สำหรับ “ที่”ในเมืองยองห้วยมีทั้งแบบพม่าและแบบไต (หน้า 163 -165 ภาพที่ หน้า 166 ,170,171) โบราณสถานในเมืองยองห้วย ในงานเขียนกล่าวถึงโบราณสถานต่างๆ ในเมืองยองห้วย เช่น พิพิธภัณฑ์หัวหน้าฉานหรือหอคำเมืองห้วยยอง เป็นที่อยู่ของเจ้าฟ้าชาวไตซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการเมืองการปกครองของเมืองห้วยยองในอดีต (หน้า 123) เจดีย์ชเวอินเต่ง ตั้งอยู่ทิศใต้ของเมืองยองห้วย ซึ่งอยู่อีกด้านของทะเลสาบ(หน้า 168) วัดบอริตั๊ท (หน้า 164 ภาพหน้า 167) วัดธิริมินกะลาเอามินกะลาพะยา คือวัดโบราณของชาวไตอยู่ภายในพื้นที่ทะเลสาบ ที่วัดมีเจดีย์เก่าแก่คาดว่าสร้างในคริสต์ศตวรรษที่ 13 (หน้า 172) วัดอะโหล่วด่อเป้า เป็นวัดโบราณตั้งอยู่หมู่บ้านน้ำปัน(หมู๋บ้านอินตา) คาดกันว่าเจดีย์อะโหล่วต่อเป้าเป็นหนึ่งในสถูปที่พระเจ้าธิริธรรมาด๊อก้า แห่งอินเดีย ทรงสร้าง (มีอายุระหว่าง 272-232 ก่อคริสตศักราช) (หน้า 175)

Folklore

ตำนานความฝันของเจ้าสีแสงฟ้า ผู้สร้างเมืองยองห้วย เมืองยองห้วยสร้างมาจากความฝันของเจ้าสีแสงฟ้า ซึ่งก่อนที่จะมาอยู่ที่เมืองนี้นั้นเจ้าฟ้าเมืองยองห้วยนั้น ได้สืบสายเลือดมาจากกษัตริย์แห่งเมืองตะกองหรือท่ากอง ต่อมาถูกฆ่าศึกรุกรานเมื่อจึงแตกประชาชนแยกออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกไปตั้งอาณาจักรใหม่ชื่อ "โกสัมพี" ที่ตั้งในทุกวันนี้เรียกว่าวัดบอริตั๊ท ซึ่งอยู่ทางเหนือห่างจากเมืองยองห้วย 5 ไมล์ เมืองนี้มีกษัตริย์ชาวไตปกครองมาเป็นเวลาเนิ่นนาน กระทั่งกองทัพจีนได้ตีเมืองแตกเมื่อ ค.ศ.800 ประชาชนจึงย้ายมาตั้งเมืองใหม่อยู่เมืองศอก (ทุกวันนี้ชื่อเมืองไม้เต้า) อาณาจักรใหม่มีชื่อว่า "รามาวดี" ภายหลังเมืองนี้ได้เกิดน้ำท่วม ประชาชนจึงย้ายที่อยู่มาบริเวณที่เป็นที่สูงกว่าเมืองเก่า ซึ่งทุกวันนี้ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกของเมืองมะจีสิ่น กับเมืองปั้นเผ่ (หน้า 29) กระทั่งถึงสมัยของเจ้าสีแสงฟ้า พระองค์ได้ฝันว่าพบต้นไทรทองคำขนาดใหญ่ซึ่งมีความงดงามน่าประทับใจ ซึ่งในความฝันนั้นได้บอกว่า หากหาต้นไทรทองคำจนพบ แล้วสร้างเมืองตรงพื้นที่นั้น ก็จะทำให้เกิดความสงบสุขเจริญก้าวหน้าในทุกๆ ด้าน หลังจากนั้นเจ้าสีแสงฟ้าก็ออกเดินทางค้นหาต้นไทรทองคำ กระทั่งมาพบที่บริเวณเนินอิสรยะ ที่อยู่ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอาณาจักรรามาวดี ดั้งนั้นเจ้าสีแสงฟ้า จึงนำประชาชนจึงย้ายไปอยู่บริเวณที่พบแล้วตั้งเป็นเมืองยองห้วย ซึ่งหมายความว่า "เมืองที่ตั้งอยู่บนที่ราบระหว่างเทือกเขา" เมื่อ ค.ศ.1359 ซึ่งนับจากนั้นเป็นต้นมาเมืองนี้ก็มี เจ้าฟ้าปกครองมาทั้งหมด 33 พระองค์ (หน้า 29) ตำนานการทอผ้าใยบัว การทอผ้าใยบัวครั้งแรกนั้นตำนานกล่าวว่ามีที่มาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ขณะนั้นพระพุทธเจ้าได้เสด็จไปเทศน์ถวายพระมารดาที่อยู่บนสวรรค์ เมื่อถึงกำหนดระยะเวลากลับคืนมายังโลก พระมารดาจึงทอผ้าที่ทอจากเส้นในก้านดอกบัวโนใช้ระยะเวลา 1 คืน เพื่อมอบให้กับพระพุทธเจ้านำกลับมาใช้ที่โลก (หน้า 182) ตำนานเจดีย์วัดบิริตั๊ท เจดีย์บริยั๊ท สร้างโดยเจ้านางองค์หนึ่งแห่งเมืองยองห้วย ตามตำนานระบุว่าครั้งนั้นเจ้าฟ้าผู้ครองเมืองยองห้วยได้กล่าวกับพี่น้องชายหญิงคู่หนึ่งอันมีเชื้อสายกษัตริย์ที่ครองเมืองยองห้วยว่า จะให้พี่น้องทั้งสองแข่งกันสร้างเจดีย์โดยเดิมพันว่าถ้าใครสร้างเสร็จก่อนก็จะได้เป็นเจ้าฟ้าครองเมืองต่อไป ขณะแข่งขันผู้เป็นพี่ชายก็สร้างเจดีย์ตามแบบโบราณที่เคยสร้างมา ส่วนน้องสาวได้ใช้กลอุบายสร้างเจดีย์โดยนำเสื่อหญ้ามาสานแล้วสานโครงด้วยไม้ไผ่เป็นรูปทรงเจดีย์ ทาด้วยน้ำปูนขาว จึงสร้างเจดีย์เสร็จก่อนผู้เป็นพี่ชายและได้เป็นเจ้าฟ้าครองเมืองยองห้วย ในเวลาต่อมาเจดีย์แห่งนี้ก็ได้มีการสร้างใหม่เพื่อให้เสร็จอย่างแท้จริง ส่วนที่มาของชื่อ "บอริตั๊ท" มาจากคำว่า "มอริสัด" แปลว่า "เสื่อไม้ไผ่สาน" ตามตำนานการก่อสร้างเจดีย์ในครั้งแรก (หน้า 164ภาพวัดหน้า 167)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

การคมนาคมและการสื่อสารของเมืองยองห้วย เมืองยองห้วย มีการคมนาคมเพียงทางรถและก็ทางเรือ สำหรับถนนสายสำคัญแต่ละสายมีระยะทางดังนี้ เส้นทางจากยองห้วย-ชเวนอง มีระยะทาง 7 ไมล์ เส้นทาง ยองห้วย-ไม้เต้า มีระยะทาง 7 ไมล์ เส้นทางไม้เต้า-น้ำปั่น มีระยะทาง 11 ไมล์ ถนนสายหลักระหว่างเมืองเฮโฮกับตองยี-เมืองกะลอ มีระนะทาง 9 ไมล์ ถนนสาย ยองห้วย-น้ำปัน มี ระยะทาง 18 ไมล์ การคมนาคมทางน้ำเป็นเส้นทางโดยทั่วไปในพื้นที่ทะเลสาบ การเดินทางไปเมืองลอยก่อ รัฐคะยา จะมีระยะทาง 90 ไมล์ ส่วนการสื่อสาร เมื่อก่อนเมืองยองห้วยจะมีชุมสายโทรศัพท์ อยู่ที่เมืองไม้เต้า แฮยาหยั่วมะกับอินป่อโข่ง แต่การติดต่อทางโทรศัพท์ใช้โทรติดต่อได้แค่พื้นที่เมืองยองห้วยกับเมืองตองยี แต่ทุกวันนี้การโทรมีความสะดวกกว่าในอดีตเพราะนับจากเปิดการท่องเที่ยวเมืองยองห้วย ค.ศ. 2000 รัฐบาลพม่าได้อนุมัติสายโทรศัพท์ทางไกล ทุกวันนี้สามารถโทรได้ทั่วพม่า และต่างประเทศก็โทรได้ทุกประเทศทั่วโลกเช่นกัน (หน้า 102)

Map/Illustration

แผนที่ ประเทศพม่า (หน้า 23) แสดงการแบ่งพื้นที่ในประเทศพม่า (หน้า 24) เมืองยองห้วย (หน้า 26) ทะเลสาบอินเล (หน้า 27) รูปภาพ เจ้าส่วยไต เจ้าฟ้าเมืองยองห้วย, เจ้านางเฮือนดำ มหาเดวีแห่งเมืองยองห้วย (หน้า 53) ชาวอินตา (หน้า 83) ชาวปะโอ (หน้า 84) การเก็บสาหร่ายเพื่อนำมาสร้างเกาะลอยน้ำ, เกาะลอยน้ำ (หน้า 94) การคัดเลือกมะเขือเทศ, การขนส่งผลผลิตทางการเกษตรจากทะเลสาบ,ขบวนรถบรรทุกสินค้า (หน้า 95,96) อุปกรณ์จับปลาของชาวอินตา (หน้า 98) ประตูเข้าเมืองยองห้วย, ร้านอาหารในรูปแบบตะวันตก (หน้า 106) สัญลักษณ์ปีการท่องเที่ยวพม่า (หน้า 107) ร้านอินเทอร์เนท, ร้านขายของที่ระลึก (หน้า 108) ตุ๊กตาโพวาโด่วะ, ปกหนังสือ (หน้า 113) ที่ทำการของ MTT, โรงแรมอินเลอิน (หน้า 118) ร้านอาหารหูปิน,โรงแรมหูปิน (หน้า 119) โรงแรม โกลเด้น ไอแลนด์ คอทเทจ, โรงแรมชเวอินตา (หน้า 120) ร้านขายของที่ระลึก, โรงแรมอินเล ปริ๊นทร์เซส (หน้า 121) บริษัท อินเล กลอรี่, ท่าเทียบเรือเมืองยองห้วย (หน้า 122) หอคำเมืองยองห้วย,ป้ายทางเข้า (หน้า 130) ห้องแสดงภาพภายในหอคำ (หน้า 131) เจ้าหม่อง เจ้าฟ้าแห่งเมืองยองห้วย (หน้า 132) ห้องแสดงภาพเจ้าฟ้าจากพื้นที่ต่างๆ ในรัฐฉาน, หลุมศพเจ้าส่วนไต (หน้า 133) หอคำแห่งเก่าของเมืองยองห้วย, พื้นที่ว่าง เดิมเป็นที่ตั้งของหอคำ (หน้า 134) วัดผ่องต่องอู, พระ (หน้า 143) ขบวนแห่เรือผ่องต่องอู, หมู่บ้านน้ำฮู (หน้า 144) กลุ่มหญิงสาวปะโอ , บริษัท Ruby Dragon Trading (หน้า 154) สมาคมภาษาและวัฒนธรรมปะโอ, ห้องสมุด (หน้า 155,157) พิพิธภัณฑ์ปะโอ, วัตถุโบราณ (หน้า 156) เจดีย์กั๊กกู, ทรงเจดีย์แบบปะโอ (หน้า 158) ที่ในแบบไต, พม่า (หน้า 160,161) วัดบอริตั๊ท (หน้า 166,167) เจดีย์ชเวอินเต่ง (หน้า 170) วัดธิริมินกะลาเอามินกะลาพะยา (หน้า 173) เจดีย์ที่วัดอะโหล่วด่อเป้า, จารึกภาษาจีน (หน้า 178,179) พระสิงคโปร์, วัด(หน้า 180) หมู่บ้านเชียงตำ (หน้า 184) การทอผ้าใยบัว และผลิตภัณฑ์จากผ้าใยบัว (หน้า 185,186)

Text Analyst ภูมิชาย คชมิตร Date of Report 18 ก.พ. 2565
TAG อินตา, ปะโอ, ไต, การเมือง, สังคม, เศรษฐกิจ, ความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์, เมืองยองห้วย, รัฐฉาน, พม่า, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง