สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject เวียต(ญวน),ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์,สถาบันครอบครัว,กรุงเทพมหานคร
Author งามพิศ สัตย์สงวน
Title สถาบันครอบครัวของกลุ่มชาติพันธุ์ในกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษาครอบครัวญวน
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity เวียด เหวียตเกี่ยว ไทยใหม่, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ห้องสมุดมานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 300 Year 2545
Source คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract

ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลจากประชากรในชุมชนญวนสามเสน จำนวน 80 ครอบครัว แต่ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์จำนวน 55 ครัวเรือน การวิจัยสถาบันครอบครัวของกลุ่มชาติพันธุ์ญวนมีสมมุติฐานทั้งหมด 27 ข้อ ผลของการทดสอบสมมุติฐานพบว่า ยอมรับสมมุติฐานทั้งหมด 9 ข้อ ได้แก่ 1. ครอบครัวรุ่นเก่ามีคู่ครองคนเดียว 2. ครอบครัวในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อมีคู่ครองคนเดียว 3. ครอบครัวรุ่นใหม่มีคู่ครองคนเดียว 4. ครอบครัวรุ่นใหม่เลือกคู่ครองเอง 5. ครอบครัวรุ่นใหม่ให้มรดกบุตรชายและบุตรสาวเท่ากัน 6. ครอบครัวรุ่นเก่าแต่งงานกับคนนับถือคริสต์ศาสนา 7. ครอบครัวรุ่นใหม่แต่งงานกับคนนอกศาสนาคริสต์ 8. ครอบครัวรุ่นใหม่แต่งงานกับคนนอกชุมชน 9. ครอบครัวรุ่นใหม่มีบุตรน้อย สำหรับปัจจัยที่ทำให้ครอบครัวญวนประสบความสำเร็จ อาจสรุปได้ว่า เพราะมีทุนทางสังคมมากกว่าครอบครัวอื่น เช่น ฐานะดี รายได้ดี การศึกษาดี มีสถานภาพทางสังคมสูงในรุ่นบิดา มารดา ปู่ย่าตายาย รวมทั้งมีบุตรน้อย และได้ถ่ายทอดค่านิยมสำคัญที่จะช่วยให้รุ่นลูกหลานประสบความสำเร็จในการเรียน มีอาชีพดี มีรายได้ดี และมีสถานภาพทางสังคมสูง มีครอบครัวที่เข้มแข็งมั่นคง

Focus

ปัจจัยที่ทำให้กลุ่มชาติพันธุ์ญวนสำเร็จหรือไม่สำเร็จในการเลี้ยงดูบุตร การรักษาอัตลักษณ์ และการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อครอบครัวญวนและชุมชนญวนสามเสนในปัจจุบัน

Theoretical Issues

ไม่มีข้อมูล

Ethnic Group in the Focus

ญวน ชุมชนญวนสามเสน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

ไม่มีข้อมูล

History of the Group and Community

ชนชาวญวนเดินทางเข้าสู่ประเทศไทยและกระจายอยู่ตามจังหวัดต่างๆ เกือบทั่วประเทศ ตั้งแต่ก่อนรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา จนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ การเข้าสู่ประเทศไทยดังกล่าวเกิดจากสาเหตุสำคัญ 2 ประการคือ การอพยพลี้ภัยทางการเมืองและศาสนา และการถูกกวาดต้อนเข้ามาในฐานะเชลยศึก (หน้า 125) หมู่บ้านสามเสน เริ่มปรากฏหลักฐานในสมัยอยุธยา รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อมีทหารอาสาชาวโปรตุเกสเข้ามาตั้งถิ่นฐานและอาศัยสืบเนื่องกันมาตลอด ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ชาวเขมรที่อพยพเข้ามาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารเมื่อ พ.ศ. 2325 อาศัยอยู่รวมกับผู้มีเชื้อสายโปรตุเกสที่หมู่บ้านสามเสน เพราะนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเหมือนกัน ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คริสตังญวนที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในประเทศญวน ประมาณ 1,350 คน ที่เข้ามาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารอันเนื่องมาจากการถูกปราบปรามด้วยเหตุทางศาสนา ตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณวัดส้มเกลี้ยงเหนือบ้านเขมรซึ่งมีคริสตชนจำนวนหนึ่งอาศัยอยู่ก่อนแล้ว และทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างโบสถ์หลังแรก ซึ่งเป็นโบสถ์ชั่วคราว ทำด้วยไม้ไผ่ นามว่า “วัดแซงต์ฟรังซัวซาเวียร์” ส่วนชาวญวนที่มิได้เป็นคริสตัง ราว 1,500 คน ทรงพระราชทานที่ดินให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่วัดแคนางเลิ้งและบริเวณวัดโพธิการาม ทางทิศใต้ของสะพานพระรามหกปัจจุบัน ต่อมาในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2482 - 2488) สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลมี นโยบาย “รัฐนิยม” เพื่อเป็นการสนองนโยบายของรัฐ ทั้งบ้านเขมรและบ้านญวนได้เจรจาปรองดองเพื่อยุติข้อขัดแย้งระหว่างกัน จึงพร้อมใจรวมหมู่บ้านทั้งสองเป็นหมู่บ้านเดียวกันนามว่า “หมู่บ้านมิตตคาม” ซึ่งเป็นชื่อหมู่บ้านสามเสนในอดีต (หน้า 83 – 87,91 - 92)

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

จากการสำรวจโรงเรียนในพื้นที่โดยรอบชุมชนญวนสามเสน เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2527 พบว่ามีจำนวนนักเรียนรวม 14,501 คน จำแนกได้ดังนี้ โรงเรียนโยนออฟอาร์ค (อนุบาลถึง ม. 3) มีนักเรียนจำนวน 3,134 คน โรงเรียนโยนออฟอาร์คพณิชยการ มีนักเรียนจำนวน 2,877 คน โรงเรียนเซนคาเบรียล มีนักเรียน 4,724 คน โรงเรียนฟรังซีสเซเวียร์คอนแวนต์ มีนักเรียน 2,408 คน โรงเรียนพันธะศึกษา มีนักเรียน 1,246 คน และโรงเรียนอนุบาลธรรมภิรักษ์ มีนักเรียน 112 คน จากฝ่ายข้อมูลและแผนงาน กองการสนเทศ กรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2543 พบว่า ชุมชนญวนสามเสนมีจำนวน 140 หลังคาเรือน มีประชากรทั้งสิ้น 380 คน (หน้า 90,98) ประชากรตัวอย่างทีใช้ในการศึกษา มีจำนวนทั้งสิ้น 55 ครัวเรือน 55 คน จำแนกเป็นเป็นเพศชาย 25 คน เพศหญิง 30 คน ประชากรตัวอย่างถูกแบ่งเป็น 3 รุ่น โดยใช้อายุเป็นเกณฑ์ กล่าวคือ ครอบครัวรุ่นเก่าจำนวน 21 ครัวเรือน มีอายุระหว่าง 60 – 80 ปี จำนวน 19 ครัวเรือนและอายุ 81 ปีขึ้นไปอีก 2 ครัวเรือน รุ่นหัวเลี้ยวหัวต่อ อายุระหว่าง 41 – 60 ปี มีจำนวน 23 ครอบครัว และครอบครัวรุ่นใหม่ อายุ 21 – 40 ปี มีจำนวน 11 ครัวเรือน (หน้า 173)

Economy

ประชากรในชุมชนญวนสามเสนมีความหลากหลายทั้งในด้านฐานะทางเศรษฐกิจและการประกอบอาชีพ ในอดีตมีการทำนาและการประมงเป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีการเข้ารับราชการทหาร รับจ้างต่อเรือ ปลูกบ้านและอาชีพช่างไม้ ปัจจุบันคนในชุมชนนิยมประกอบอาชีพค้าขาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาหารและสินค้าสำหรับอุปโภคบริโภค เนื่องจากบริเวณชุมชนใกล้กับสถานศึกษาจึงมีอาหารขายเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีการประกอบอาชีพข้าราชการ นักธุรกิจ ค้าขาย รับจ้างทั่วไป พยาบาล พนักงานของรัฐและเอกชน (หน้า 101 -102,138) ด้านการประกอบอาชีพของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 55 ครัวเรือน พบว่า 3.66% รับราชการ 12.72% ทำงานในองค์กรเอกชนหรือ รัฐวิสาหกิจ 14.54% ประกอบธุรกิจส่วนตัว 20% รับจ้าง 34.54% เป็นแม่บ้าน และ 14.54% เกษียณไม่ได้ทำงาน (หน้า 175)

Social Organization

ชุมชนญวนสามเสน เป็นชุมชนที่เกิดขึ้นในลักษณะของการรวมกลุ่มของคนที่นับถือศาสนาเดียวกันคือ คริสต์ศาสนา ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในชุมชนขึ้นอยู่กับกฎระเบียบข้อบังคับและระเบียบประเพณีของคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก มีกฎเกณฑ์ของศาสนาควบคุมความประพฤติและการประกอบอาชีพ บาทหลวงมีบทบาทเหมือนผู้ปกครองดูแลหมู่บ้าน คอยดูแลและรับฟังปัญหาต่างๆ ของคนในชุมชน เป็นผู้นำการประกอบพิธีกรรม เก็บดอกเบี้ยที่ดินเพื่อจ่ายให้รัฐบาล และดูแลคนชรา หรือคนป่วยที่ถูกทอดทิ้ง (หน้า 108) สถานภาพสมรสของประชากรตัวอย่างจำนวน 55 ครัวเรือน พบว่า 80 % มีสถานภาพแต่งงาน 1 ครัวเรือน หย่า 1 ครัวเรือนแยกกันอยู่ และ9 ครอบครัว หรือ 16.36 % เป็นหม้าย ในเรื่องประเภทของครอบครัวของประชากรตัวอย่างจำนวน 55 ครัวเรือน พบว่า 25 ครัวเรือน หรือ 45.45% เป็นครอบครัวเดี่ยว และ 29 ครับครัว หรือ 52.70% เป็นครอบครัวแบบอื่น สำหรับโครงสร้างครอบครัวที่เกี่ยวกับการสืบเชื้อสายหรือการนับญาติ พบว่าทุกครัวเรือน มีความสัมพันธ์กับเครือญาติทั้งฝ่ายพ่อและฝ่ายแม่ แต่อาจจะสนิทกับญาติฝ่ายพ่อหรือฝ่ายแม่ต่างกัน เกี่ยวกับโครงสร้างครอบครัวที่เป็นที่อยู่หลังการสมรสนั้น พบว่าครัวเรือนที่มีที่อยู่หลังการสมรสแบบไปอยู่กับญาติฝ่ายชาย มี 32.72% ไปอยู่กับญาติฝ่ายหญิง 30.92% และครอบครัวเลือกที่อยู่เอง (36.36%) ในเรื่องคู่ครองนั้นพบว่า 52 ครัวเรือน หรือ 94.54% เป็นแบบผัวเดียวเมียเดียว ในเรื่องเกี่ยวกับอำนาจในครอบครัว พบว่า 22 ครัวเรือน หรือ 40% สามีเป็นใหญ่ 8 ครัวเรือน หรือ 14.52% ภรรยาเป็นใหญ่ และครอบครัวที่สามีและภรรยามีอำนาจเท่ากัน มี 25 ครัวเรือนหรือ 45.54% ด้านการเลือกคู่ครองพบว่าครัวเรือนเลือกคู่เอง 94.54% เรื่องการแต่งงานภายในชุมชนหรือนอกชุมชนของประชากรตัวอย่างจำนวน 55 ครัวเรือน พบว่า 23 ครัวเรือน หรือ 41.82% แต่งงานภายในชุมชนเดียวกัน 32 ครัวเรือนหรือ 58.18% แต่งงานกับคนนอกชุมชน ในเรื่องการแต่งงานกับคนในหรือนอกศาสนาคริสต์นั้น พบว่า 40 ครัวเรือนหรือ 72.72% แต่งงานกับคนนับถือศาสนาด้วยกัน ส่วนในเรื่องความผูกพันในครอบครัวนั้น พบว่า 73.36 % ผูกพันทางการสมรสมากกว่า ขณะที่ 23.64% ผูกพันทางการสมรสและสายเลือดเท่าๆกัน (หน้า 178 - 181) ปัจจัยที่ทำให้ครอบครัวญวนประสบความสำเร็จในการเลี้ยงดูบุตร ได้แก่ 1) ภูมิหลังครอบครัวรุ่นบิดามารดาปู่ย่าตายาย ทางด้านระดับการศึกษา ฐานะของครอบครัว อาชีพที่มีรายได้สูง ชนชั้นสูง การวางแผนด้านการศึกษาของบิดามารดาและการดูแลอบรมสั่งสอนค่านิยมที่มีผลต่อสัมฤทธิผลทางการเรียนของบุตร 2) ระดับการศึกษา ซึ่งส่วนใหญ่มีการศึกษาในระดับสูงในสมัยนั้น 3) อาชีพและรายได้ เนื่องจากครอบครัวจำนวนหนึ่งเป็นครู จึงสนใจการศึกษาของบุตรเป็นพิเศษ กอปรกับการประกอบอาชีพของภรรยาหรือสามีที่มีรายได้ดีและมั่นคง 4) จำนวนบุตร ครอบครัวที่มีบุตรน้อย แต่มีทุนทางสังคมมากสามารถส่งเสียบุตรได้อย่างเต็มที่ (หน้า 228- 229) ปัจจัยที่ทำให้ครอบครัวญวนไม่ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงดูบุตร ได้แก่ 1) มีภูมิหลังครอบครัวรุ่นบิดามารดาปู่ย่าตายายไม่ดี อาทิ ได้รับการศึกษาน้อย ฐานะของครอบครัวไม่ดี ไม่มีการวางแผนในการให้การศึกษาของบิดามารดา 2) ระดับการศึกษาของบิดารมารดาค่อนข้างต่ำ จึงไม่เห็นความสำคัญของการศึกษาของบุตรเท่าที่ควร 3) อาชีพและรายได้ อาทิ การมีอาชีพใช้แรงงานเป็นหลัก มีรายได้ไม่ดีและไม่แน่นอน 4) จำนวนบุตร ส่วนมากมีบุตรมาก มีรายได้ไม่เพียงพอที่จะส่งเสียบุตรให้เรียนในระดับสูง บ้างก็ไม่ต้องการให้บุตรเรียนสูง ด้วยเพราะอยากรีบออกมาทำงานเพื่อสร้างรายได้ให้เร็วที่สุด 5) มีความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยาที่ไม่ดี กล่าวคือ บางครอบครัวมีปัญหาครอบครัว อาทิ ภรรยากล่าวหาว่าสามีไม่สนใจครอบครัว กลับมาบ้านก็ทานเหล้าเมาแล้วนอน ไม่ส่งเสียเลี้ยงดู ทำให้บิดามารดาต้องทำงานหารายได้มาใช้จ่ายในครัวเรือน จึงไม่มีเวลาวางแผนด้านการศึกษาแก่บุตร เป็นต้น (หน้า 231-254)

Political Organization

วัดฟรังซีสเซเวียร์มีการแบ่งตำแหน่งดังนี้ เจ้าอาวาส มีวาระตามตำแหน่ง 5 ปี ทำหน้าที่ปกครอง ดูแลสัตบุรุษและคริสต์ชนในชุมชน รองหรือผู้ช่วยเจ้าอาวาส มีวาระ 1 – 2 ปีหรือแล้วแต่ความเหมาะสม ด้านศีลศักดิ์สิทธิ์ พระสงฆ์ (คุณพ่อ) ทุกท่านต้องช่วยกันประกอบพิธีมิซซา ส่วนด้านการเทศน์สอน คุณพ่อประจำทุกท่านมีหน้าที่สอนที่โรงเรียน สอนบทสวด บทอ่านในวันอาทิตย์แก่คริสต์ชนที่สนใจ (หน้า 109 -110) การปกครองภายในหมู่บ้านของญวนคริสต์สามเสนในอดีต ปกครองกันเองตามรูปแบบเดิมเมื่อครั้งอยู่ในประเทศญวน ใช้วิธีเลือกหัวหน้าหมู่บ้านทำหน้าที่ปกครอง เรียกว่า “นายบ้าน” มีตำแหน่งนายกอง ปลัดกรม นายหมวด นายหมู่ ปกครองลดหลั่นกันมา โดยอยู่ในความดูแลของพระยาวิเศษสงครามราชภักดี ต่อมาเมื่อมีชาวญวนอพยพเข้ามามากขึ้น จึงทรงแต่งตั้งหัวหน้าญวนปกครองรับผิดชอบโดยตรงในตำแหน่ง พระยาบันลือสิงหนาท (แยกมาจากความรับผิดชอบของพระยาวิเศษสงครามราชภักดี) ซึ่งถือเป็นตำแหน่งสืบตระกูล ส่วนการตัดสินคดีความในหมู่บ้าน มีคณะกรรมการอาวุโสและครูสอนคำสอน เป็นผู้พิจารณาตัดสินความ ถ้าคำตัดสินไม่เป็นที่ยอมรับก็จะเชิญบาทหลวงผู้ดูแลมาร่วมพิจารณาคดีใหม่ หากยังตกลงกันไม่ได้ จะส่งเรื่องให้มุขนายกมิซซังตัดสิน อันถือว่าสิ้นสุดคดี (หน้า 136 - 137)

Belief System

สมาชิกภายในชุมชนญวนสามเสน นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก มีศูนย์กลางของชุมชน คือ โบสถ์หรือวัดนักบุญฟรังซีสเซเวียร์ ในส่วนของความเชื่อการนับถือบูชาของคริสตชนคาทอลิกนั้น จะแสดงออกในพิธีกรรม โดยพิธีหลักของชุมชน ซึ่ง คริสตชนต้องปฏิบัติเหมือนกันตั้งแต่แรกเกิดคือ ศีลล้างบาป เพราะมีความเชื่อว่าทุกคนมีบาปติดตัวมาแต่แรกเกิด หากไม่ปฏิบัติ ก็ไม่สามารถปฏิบัติศีลอื่นได้ เมื่อโตขึ้นก็เริ่มทำศีลอภัยบาป ศีลแก้บาป และศีลมหาสนิท ในพิธีมิซซาอย่างสม่ำเสมอทุกสัปดาห์ “ศีลอภัยบาป ศีลแก้บาป” เป็นศีลที่รับเมื่อคริสต์ชนได้ทำผิดต่อบัญญัติที่พระเยซูทรงสอน โดยการสำนึกถึงความผิดและสารภาพความผิดนั้นต่อพระสงฆ์ในที่แก้บาป ส่วน “ศีลมหาสนิท” เป็นการระลึกถึงการเลี้ยงอาหารค่ำมื้อสุดท้ายของพระเยซูคริสต์ และเป็นการระลึกถึงความรัก ความเสียสละของพระเยซูคริสต์ที่ทรงมีต่อมนุษย์ เมื่อคริสตชนมีอายุมากขึ้นจะต้องมีการรับ “ศีลกำลัง” อันแสดงความหมายว่าบุคคลผู้รับศีลเป็นคริสต์ชนที่บรรลุวุฒิภาวะแล้ว หากมีการสมรสจะต้องรับ “ศีลสมรส” เพื่อเป็นการยืนยันถึงความรักของพระเจ้าที่ทรงมีต่อมนุษย์ คู่สมรสจะปฏิญานว่าจะซื่อสัตย์ต่อกันและกันจนสิ้นชีวิต ส่วนศีลสุดท้ายเมื่อจะเสียชีวิตคือ ศีลเจิมคนป่วย ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เสียชีวิตพ้นจากบาปในวาระสุดท้ายของชีวิตเพื่อจะได้อยู่กับพระเจ้า ประเพณีที่ที่เกี่ยวเนื่องกับชีวิตจะนิยมประกอบพิธีในโบสถ์หรือวัดทางคริสต์ศาสนา นอกจากประเพณีเกี่ยวกับชีวิตแล้ว ยังมีพิธีกรรมในรอบชีของชุมชนสามเสน ซึ่งล้วนแต่เกี่ยวข้องกับศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก อาทิ วันสมโภชพระคริสต์แสดงองค์ พิธีสมโภชนักบุญยอเซฟภัสดา พระนางพรมหาจารีมารีย์ พิธีเสกน้ำเสกไฟ วันฉัตรมงคล วันสมโภชพระเยซูเจ้าเสด็จขึ้นสวรรค์ เป็นต้น (หน้า 108 ,111 - 123) การนับถือศาสนาของประชากรตัวอย่างจำนวน 55 ครัวเรือน พบว่า 40 ครัวเรือน หรือ 72.72% นับถือศาสนาคริสต์ 15 ครอบครัว หรือ 27.28 % นับถือศาสนาพุทธ (หน้า 174)

Education and Socialization

ชุมชนญวนสามเสนแวดล้อมไปด้วยโรงเรียนคริสต์ที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก โดยสามารถจำแนกเป็นโรงเรียนของวัดหรือของสังฆมณฑล โรงเรียนของคณะนักบวช และโรงเรียนของเอกชนฆราวาส โรงเรียนของวัดหรือของสังฆมณฑล ได้แก่ โรงเรียนโยนออฟอาร์ค ซึ่งเปิดสอนระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 และโรงเรียนโยนออฟอาร์คพณิชยการ โรงเรียนของคณะนักบวช ได้แก่ โรงเรียนเซนต์คาเบรียล และโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสเซเวียร์คอนแวนต์ ส่วนโรงเรียนของเอกชนฆราวาส ได้แก่ โรงเรียนพันธะศึกษา และโรงเรียนอนุบาลธรรมภิรักษ์ โรงเรียนอนุบาลยุววิทย์ โรงเรียนอนุบาลธนสมบูรณ์และโรงเรียนรัตนามาลี (หน้า 90,102) ด้านการศึกษาของประชากรตัวอย่างจำนวน 55 ครัวเรือนพบว่า 9.09% ไม่ได้เรียน 34.54% มีการศึกษาต่ำกว่า ป.6 12.72% จบระดับมัธยมต้น 12.72% จบระดับมัธยมปลาย 16.36% จบปวส./ปวช. และอนุปริญญา 12.72% จบปริญญาตรี 12.72%จบปริญญาโท และ 1.85% จบปริญญาโทขึ้นไป (หน้า 175)

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

การแต่งกายของพระนักบวช หรือคุณพ่อ ในวันประกอบพิธีทางศาสนา จะสวมชุดพิธีกรรมที่เรียกว่า “กาซูรา” มีลักษณะเป็นชุดสำหรับใส่คลุม สีขาว ตัวยาว ที่เรียกว่า “อัลบาร์” “กาซูรา” จะมีสีที่แตกต่างออกไปตามพิธีที่ฉลอง เช่น มิซซาที่เกี่ยวกับพระเยซูและพระแม่มาเรียจะเป็นสีขาว เพื่อแทนความสง่างาม มีเกียรติ หากเป็นพิธีฉลองนักบุญจะสวมสีแดง เป็นต้น (หน้า 112 -113) ชุดแต่งกายประจำชาติของสตรีชาวเวียดนามคือชุด “อ๊าวหย่าย” (ao - dai) สตรีเวียดนามนิยมสวมชุดดังกล่าวสำหรับออกงาน (หน้า 286) อาหารตามประเพณีดั้งเดิมของชาวญวน เช่น จ๋าหย่อ (ปอเปี๊ยทอด) บุ๊นบ่อ (ขนมจีนเนื้อวัว) แบ๊นห์หอย (เส้นหมี่นึ่งทานกับหมูสามชั้น ผักสดและน้ำจิ้ม) แหนมเนือง (ลูกชิ้นย่างห่อด้วยผัก ใบเมี่ยง ทานกับน้ำจิ้ม) แบ๊นห์แส่ว (ขนมเบื้องญวน) และแบ๊นห์ก๊วน (ขนมปากหม้อญวน) (หน้า 287)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

คนในชุมชนญวนสามเสน มีความรู้สึกว่าตนเป็นคนไทยมากกว่าเป็นคนญวน ยอมรับว่าตนมีเชื้อสายญวนอยู่ แต่นานหลายรุ่นแล้ว ดังนั้นจึงไม่รู้สึกว่าตนแตกต่างไปจากคนอื่นๆ ภายนอกชุมชนมากนัก (หน้า 263)

Social Cultural and Identity Change

ในอดีตชุมชนญวนสามเสนมีอาชีพทำนาและการประมงเป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีการเข้ารับราชการทหาร รับจ้างต่อเรือ ปลูกบ้านและอาชีพช่างไม้ ปัจจุบันคนในชุมชนนิยมประกอบอาชีพค้าขายอาหารและสินค้าสำหรับอุปโภคบริโภค เนื่องจากบริเวณชุมชนใกล้กับสถานศึกษาจึงมีอาหารขายเป็นจำนวนมาก (หน้า 101 -102,138) อดีตเมื่อ 40 – 50 ที่ผ่านมา การแต่งงานในชุมชนญวนสามเสน มักจะเกิดเกิดจากการเห็นชอบของผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายมากกว่า แต่ปัจจุบันผู้ใหญ่จะให้อิสระแก่หนุ่มสาวในการเลือกคู่ครอง (หน้า 257) ในอดีตฝ่ายชายจะเป็นใหญ่และมีบทบาทมากกว่า ฝ่ายหญิงมีบทบาทในบ้านคือ ดูแลบ้าน ทำงานบ้าน บริหารค่าใช้จ่ายและอบรมสั่งสอนลูก แต่ปัจจุบันฝ่ายชายยกย่องให้เกียรติภรรยามากขึ้น สามีภรรยามีความเสมอภาคกัน คือสามีจะรับฟังความคิดเห็นของภรรยา และทั้งสามีภรรยาช่วยกันตัดสินใจในทุกเรื่อง การใช้อำนาจของหัวหน้าครอบครัวเป็นไปในลักษณะประนีประนอม (หน้า 260 - 261) โครงสร้างของครอบครัวญวนสามเสนในอดีตเป็นครอบครัวขยาย แต่ปัจจุบันโครงสร้างครอบครัวมีลักษณะครอบครัวเดี่ยว เนื่องจากคนรุ่นใหม่ที่แต่งงานจะเริ่มแยกตัวออกไปตั้งครอบครัวใหม่ ในอดีตพ่อแม่เข้มงวดเอาใจใส่ลูก แต่ด้วยภาวะปัจจุบันพ่อและแม่ต้องต้องทำงานหากินเพื่อต่อสู้กับค่าครองชีพที่สูงในขณะที่เศรษฐกิจตกต่ำ พ่อแม่จึงตามใจลูกและไม่มีเวลาดูแลลูกเท่า ที่ควร ด้านพิธีกรรมทางศาสนาต่างๆ ก็ลดบทบาทความสำคัญลง ดังเช่นในอดีตต้องสวดมนต์พร้อมกันตอนตี 5 แต่ปัจจุบันต่างคนต่างทำงาน การสวดมนต์จึงไม่เคร่งครัดอย่างอดีต ใครจะสวดเมื่อใดก็ได้ การสวดมนต์ก่อนนอนก็น้อยลง เนื่องจากครอบครัวต้องประกอบอาชีพและในบางครั้งต้องทำงานเลิกดึก การนับถือศาสนาของเด็กรุ่นใหม่เคร่งครัดน้อยลงเนื่องจากมีการแข่งขันด้านการศึกษามากขึ้น ผู้ปกครองจึงสนับสนุนการศึกษาแก่บุตรโดยการให้บุตรได้เรียนพิเศษในวันเสาร์อาทิตย์จึงไม่มีโอกาสได้ประกอบศาสนากิจ นอกจากนี้ในครอบครัวที่ไม่ประสบผลสำเร็จจะเข้าโบสถ์น้อยลงเพราะส่วนมากประกอบอาชีพค้าขาย แต่จะส่งบุตรหลานไปเรียนคำสอนทางศาสนา เนื่องจากอยากให้เด็กได้มีกิจกรรมและเป็นการปลูกฝังทางศาสนาไปในตัว เรื่องความสัมพันธ์ของผู้คนในชุมชน มีความสนิทสนมกันน้อยลง เพราะต่างคนต่างทำงานเพื่อยังชีพ คนที่สนิทกันในชุมชนจะมีเป็นผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุหรือสนิทสนมกันเพราะเป็นเครือญาติกันเท่านั้น นอกจากนี้คนในชุมชนจะเป็นคนดั้งเดิมน้อยลง เพราะมีคนนอกเข้ามาเช่าบ้านของชาวคริสเตียนที่มีสิทธิในการถือครองที่ดิน ซึ่งย้ายออกไปอยู่นอกชุมชนและปล่อยบ้านให้เช่ามากขึ้น และคนที่เข้ามาส่วนใหญ่เป็นคนไทยพุทธมากกว่าคริสต์ (หน้า 267 - 271)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ความเป็นมาของประเทศและพัฒนาการของวัฒนธรรมเวียดนาม เวียดนามเป็นประเทศที่ตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีน เยื้องไปทางทิศตะวันออกของไทย คนไทยส่วนใหญ่รู้จักเวียดนามในนาม “อนัม” และ “ญวน” คำว่า “เวียดนาม” เริ่มเป็นที่รู้จักเมื่อครั้งเกิด “สงครามเวียดนาม” ในปี พ.ศ. 2504 นักวิจัยชาวเวียดนามและชาวต่างชาติ ต่างมีความเห็นในเรื่องต้นกำเนิดของชนชาติเวียดนามแตกต่างกันไป บางท่านให้ความเห็นว่าต้นกำเนิดของชาวเวียดนามเป็นชาวพื้นเมืองหรือมีพื้นเพมาจากเมืองจีน บ้างว่ามีการสืบสายตระกูลมาจากชนเผ่าหลากเวียด ซึ่งอพยพมาจากฝั่งทะเลมณฑลฟุกเกี้ยนของจีน วัฒนธรรมพื้นเมืองของเวียดนามอาจแบ่งออกเป็น 2 ยุคคือ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และยุคของอาณาจักรวันลางและเอิวหลาก (Van Lang va Au Lac) วัฒนธรรมยุคก่อนประวัติศาสตร์ ฟาน ฮวี เล นักประวัติศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยฮานอย ยืนยันว่า คนเวียดนามโบราณ อาศัยอยู่ตามถ้ำ หาเลี้ยงชีพด้วยการล่าสัตว์ แต่โดยส่วนใหญ่หาของป่าเป็นหลัก ส่วนวัฒนธรรมเวียดนามยุควันลางและเอิวหลาก เป็นยุคที่เวียดนามเริ่มเป็นรัฐประชาชาติ อาณาจักรวันลาง เป็นอาณาจักรแรกของเวียดนามที่เริ่มก่อตัวขึ้นในยุคต้นของสมัยทองสำริด (สหัสวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราช) เป็นยุคที่ประชากรเชื้อชาติ ออสโตรเอเชียติกส์ พวกป่ายเยว่หรือพวกแบ๊จเหวียด เริ่มก่อกำเนิดขึ้นในเอเชียอาคเนย์ ด้วยวัฒนธรรมเวียดนามเกิดขึ้นท่ามกลางสิ่งแวดล้อมของเอเชียอาคเนย์ เพราะฉะนั้นจึงมีลักษณาการทางวัฒนธรรมที่จัดอยู่ในประเภทวัฒนธรรมการเกษตรแบบสถิตย์ (Static agricultural culture) หลังจากที่ได้ติดต่อกับวัฒนธรรมจีน และวัฒนธรรมตะวันตกมาแล้ว อัตลักษณ์ของวัฒนธรรมเวียดนามส่วนใหญ่ยังคงเหมือนเดิม เพราะการรับเอาวัฒนธรรมใหม่เข้ามา ย่อมผ่านการกลั่นกรองตามจิตภาพ (Mentality) ของคนเวียดนาม ซึ่งเป็นจินตภาพของคนในชุมชนชนบทที่เน้นความเสมอภาค ความอิสระเป็นเรื่องสำคัญที่สุด รองลงมาคือเรื่องสายสัมพันธ์ในหมู่เครือญาติ ที่เห็นเด่นชัดที่สุดคือ จิตสำนึกในความเป็นชาติ การบูชาบรรพบุรุษ และความใฝ่รู้เชิดชูผู้รู้ (หน้า 147 – 151, 155-156, 162-172 )

Map/Illustration

- แผนผังหมู่บ้านมิตตคาม สามเสน (หน้า 82) - แผนที่เขตกรุงเทพฯ ในรัชกาลที่ 4 (หน้า 94) - แผนที่แสดงสถานที่สำคัญย่านต่างๆในกรุงเทพฯ (หน้า 96) - แผนที่เขตกรุงเทพฯ ในรัชกาลที่ 5 (หน้า 97) - แผนผังที่ตั้งชุมชนบ้านญวนและบริเวณใกล้เคียง (หน้า 99) - แผนผังที่ตั้งชุมชนบ้านญวนในปัจจุบัน (หน้า 100) - พระสงฆ์กำลังทำพิธีบูชามิสซา (หน้า 124) - รับศีลมหาสนิท (หน้า 125) - ถนนหน้าโบสถ์นักบุญฟรังซิสเซเวียร์ ชุมชนญวนสามเสน (หน้า 146) - โรงเรียนเซนต์คาเบรียลแห่งชุมชนบ้านญวนสามเสน (หน้า 171) - ย่านการศึกษาในชุมชนบ้านญวนสามเสน (หน้า 172) - ป้ายชื่อบนหลุมฝังศพคนญวนในสุสานวัดญวนสามเสน (หน้า 297) - วัดคอนเซ็ปชัญ แห่งพระแม่เจ้า(วัดเขมร) ซึ่งติดอยู่กับชุมชนญวนสามเสน (หน้า 298) - หลุมฝังศพแบบชั้นเดียว (หน้า 299) - หลุมฝังศพแบบสองชั้น (หน้า 299) - ที่เก็บศพแบบ “คอนโดสามชั้น” (หน้า 300) - หลุมฝังศพแบบใต้ดิน (หน้า 300)

Text Analyst สุวิทย์ เลิศวิมลศักดิ์ Date of Report 15 ต.ค. 2555
TAG เวียติ(ญวน), ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์, สถาบันครอบครัว, กรุงเทพมหานคร, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง