สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject อูรักลาโว้ย,มอแกน, มอแกลน,ไทยใหม่,ชาวเล,วิถีชีวิต,สังคม,ภาษา,การศึกษา,สตูล,ภูเก็ต,ระนอง,พังงา,ภาคใต้
Author ประเทือง เครือหงส์
Title ชาวน้ำ(ชาวทะเล) ในเมืองไทย
Document Type หนังสือ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity อูรักลาโว้ย อูรักลาโวยจ, มอแกลน, มอแกน บะซิง มาซิง, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเนเชี่ยน
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 49 Year 2541
Source บริษัท ต้นอ้อ แกรมมี่ จำกัด
Abstract

กล่าวถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวน้ำหรือชาวทะเล ที่อยู่หมู่บ้านต่างๆ บนเกาะหลายแห่งในพื้นที่ภาคใต้ เช่น ใน หมู่เกาะอาดัง จังหวัดสตูล เกาะลันตา จังหวัดกระบี่ เกาะสิเหร่ จังหวัดภูเก็ต และ บ้านไทยใหม่ อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ซึ่งในอดีตชาวน้ำเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่ไม่เป็นหลักแหล่ง โดยอาศัยอยู่ในเรือ หากขึ้นฝั่งก็จะอยู่ที่ชายหาดริมทะเลสร้างบ้านแบบชั่วคราว และย้ายที่อยู่ไปเรื่อยๆ อย่างไม่เป็นหลักแหล่งเมื่อถิ่นที่อยู่ท้องทะเลขาดความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากสภาพความเป็นอยู่ไม่ดีขาดความใส่ใจในการใช้ชีวิต ไม่ดูแลสุขภาพ ขาดแคลนอาหาร ลูกหลานไม่ค่อยเข้าโรงเรียน ฐานะยากจน จึงทำให้ความเป็นอยู่ของชาวน้ำไม่ค่อยดีเท่าที่ควร แต่ปัจจุบันความเป็น อยู่ของชาวน้ำดีขึ้นกว่าในอดีต เพราะมีการตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นหลักแหล่งและใส่ใจสุขภาพความเป็นอยู่มากขึ้น

Focus

เพื่อทราบประวัติความเป็นมาของชาวน้ำ ความเป็นอยู่ ประเพณี ภาษา สังคม เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาอาชีพ ปรับปรุงความเป็นอยู่ การปกครอง ขจัดปัญหาข้อขัดแย้งที่อาจมีขึ้น การให้การศึกษา การให้ความช่วยเหลือจากหน่วยงานของทางราชการ องค์การต่างๆ (หน้าคำนำ)

Theoretical Issues

ไม่มีข้อมูล

Ethnic Group in the Focus

ชาวน้ำ(ชาวทะเล) คือ กลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่อาศัยในภาคใต้ของไทย โดยอยู่ในเกาะชายฝั่งมหาสมุทรอินเดีย อ่าวภูเก็ต และทะเลอันดามัน โดยกระจายกันอยู่ในหลายจังหวัด เช่น ระนอง พังงา กระบี่ สตูล ชาวน้ำจะมีชื่อเรียกหลายอย่างเช่น “ชาวทะเล” “ชาวเล” แต่ชาวน้ำชอบให้เรียกว่า “ไทยใหม่” มากกว่าชื่ออื่น ในกลุ่มชาวมลายู เรียกชาวน้ำ ว่า “โอรัง -ละอุต” ( Orang-Laut ) หมายถึง “คนทะเล” ซึ่งมาจากคำว่า “โอรัง” หมายถึง “คน” และ คำว่า “ละอุต” แปลว่า “ทะเล” (หน้า 2) ส่วนพม่าเรียกชาวน้ำว่า “ฉลาง” คนอังกฤษเรียกชาวน้ำว่า ” Sea Gypsy(Gipsy) “ หมายถึง ยิปซีทะเล บางครั้งก็เรียกว่า “Chaonam” ซึ่งคาดว่าการเรียกเช่นนี้มาจาก ในช่วงที่อังกฤษเดินทางล่าอาณานิคม ได้เห็นชาวน้ำอยู่ไม่ เป็นหลักแหล่งเหมือนกับพวกยิปซี (หน้า 3) บางส่วนก็เรียกชาวน้ำว่า “Sea Dyak” ซึ่งเชื่อว่าเป็นบรรพบุรุษของชาวมลายู ทุกวันนี้มีชาวน้ำประมาณ 243,000 คน ส่วนมาก จะตั้งรกรากอยู่ในซาราวัค ประเทศอินโดนีเซีย กลุ่มที่เป็นชาวน้ำพวกผสม จะเรียกตนเองว่า “โอรังละวุ้ย” หมายถึง “คนทะเล” ซึ่งมาจากคำว่า “โอรัง” หมายถึง “คน” และ “ละวุ้ย” หมายถึง “ทะเล” ส่วนชาวน้ำพวกผสมนั้นเรียกชาวน้ำพวกมาซิง(สิงห์) ว่า “โอรัง-บาซิก “ หรือ “ โอรังบาไร” หมายความว่า คนที่อยู่อาศัยทางด้านตะวันตก ซึ่งมาจากคำว่า “โอรัง” แปลว่า คน และ “บาไร” แปลว่า ด้านตะวันตก สำหรับที่มาของการเรียกแบบนี้เนื่องจาก ชาวน้ำพวกผสม จะอยู่ในอ่าวภูเก็ต ด้านทิศตะวันออก สำหรับชาวน้ำพวกมาซิง จะเรียกตนเองว่า “สิงห์” และเรียกชาวน้ำพวกผสมว่า มอเค็น “Moken” (หน้า 3) ลักษณะของชาวน้ำ ผู้ชายจะผิวคล้ำ รูปร่างสันทัด ส่วนผู้หญิงรูปร่างสูง (หน้า 6) สำหรับชาวน้ำในประเทศไทยประกอบด้วยกลุ่มต่างๆ ดังนี้ (หน้า 7) 1 ) กลุ่มมะละกา “Malacca” คาดว่าเมื่อก่อนนี้ตั้งรกรากอยู่บริเวณช่องแคบมะละกา 2 ) กลุ่มลิงคา “ Lingga” คาดว่าเมื่อก่อนอยู่หมู่เกาะลิงคา (หน้า 8) 3) กลุ่มมาซิงหรือ “สิงห์” ส่วนมากจะอยู่ในพื้นที่เมืองมะริด ทวาย และเกาะหลายแห่งในพม่า กลุ่มนี้ในประเทศไทยมีจำนวนไม่มาก จะอยู่ในเขตจังหวัดภูเก็ต พังงา ระนอง เป็นต้น (หน้า 8)

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาของชาวน้ำอยู่ในตระกูลภาษามลาโย-อินโดนีเซียน กลุ่มภาษาชาวมลายู สาขาภาษาอินโดนีเซีย มีแต่ภาษาพูดไม่มีภาษาเขียน สำเนียงการพูดใกล้เคียงกับภาษามลายูและภาษาอินโดนีเซีย คำพูดที่ใช้บางคำเป็นภาษาอินโดนีเซียและภาษามาเลเซีย และมีคำที่คิดขึ้นเองเช่นคำที่ใช้ในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ (หน้า69) ตัวอย่างภาษาชาวน้ำมีดังต่อไปนี้ ภาษาไทย ภาษาชาวน้ำ ภาษามลายู 3 จังหวัด ภาษามลายูกลาง ดวงจันทร์ บูลัต บูแล บูลัน ดาว บินตัก บิแต บินตัง ต้นไม้ บูโอดกายู ปอฮงกายู ปอโกะกายู ฝน ฮูยัต ฮูแฌ ฮูฌัน ทะเล ลาโว้ย ลาโอะ ลาโอต ชาวทะเล ออรังลาโว้ย ออเฆลาโอะ โอรังลาโอต ความสวย บายิ,กาจ๊ะ จอแม,มอและ จันเตะ สุนัข อาซู อาญิง อันญิง แมว เมียว กูจิง กูจิง ฯลฯ ( ดูตัวอย่างทั้งหมด หน้า 70 ) การนับ 1 ถึง10 จะนับดังต่อไปนี้ ซา - ดุวา - ติกา – ไป้ - ลิมา – นั้ม ตูโยะ – ลาปั๊ด – ซามีลัด – ซาปูโล๊ะ 20 “ ดูวาปูโละ (หน้า 70) 100 “ ซาตุ๊ย 1000 “ ซาลีบู ฯลฯ (หน้า 71) ภาษาไทย ภาษาชาวน้ำ อวัยวะ แขน ตางัน จมูก ดีฮั๊ก ปาก ซายะ ฟัน ยีกิ๊ ผม โบ๊ะ ฯลฯ (ดูตัวอย่าง หน้า 71) สัตว์ กระรอก ตูไป๊ (หน้า 71) กระบือ กิอเบา จั๊กจั่น อูแยะ (หน้า 72) คำกริยา กิน มากั๊ด วิ่ง บาลี่ รัก ซายัก ป่วย ซาเกะโป๊ย ฯลฯ (ดูตัวอย่างหน้า 72) ญาติ แม่ มะ น้อง อาดี้ (หน้า 72) ลูก นานะ (หน้า 73) หลาน จูจู้ ผู้ชาย กีลากี้ ผู้หญิง นีบินี้ ลูกสาว นานะนีบินี้ ลูกชาย นานะกีลากี้ เมีย บินี ฯลฯ (หน้า 73) เครื่องใช้ ขันน้ำ บาเต้น เข็ม ยารบ ชาม บาโกะ (หน้า 73) จอบ จากน (หน้า 74) ตะเกียง ปีตา อาหาร ข้าวเปลือก ปาดี้ (หน้า 74) กะปิ บาจัด ข้าวสุก นาซิ ขนม ตีอป๊ก ข้าวสาร ไบร้ เหล้า อาระ ฯลฯ (หน้า 74) เครื่องแต่งกาย กางเกง ซูไว้ (หน้า 74) เสื้อ บายู้ (หน้า 75) พืชผลไม้ มะนาว ลีเม้า มะม่วง มะปรั๊บ มะพร้าว กลาเม มะละกอ มอนกายู ฯลฯ (หน้า 75) เปรียบเทียบภาษาชาวน้ำทั่วไปกับชาวน้ำพวกสิงห์ ซึ่งมีตัวอย่างดังนี้ การนับ 1-10 ของชาวน้ำพวกสิงห์ ฉะ- ตุวะ – ตล่อย –ปาด – แล้ะมะ – น้ำ –ลุยุ –วาเล่ย –แซ่หว่าย –สะเปาะ (หน้า 76) คำทั่วไปที่ใช้ ภาษาไทย ภาษาชาวน้ำทั่วไป ภาษาชาวน้ำพวกสิงห์ กินข้าว มากั๊ดนาซิ หญ่ำจ้อน น้ำ อาเย เอาะแอน มือ ตางัน นางัน น้ำจืด อาเยตาเว่อ เอาะเก็น น้ำเค็ม อาเยมาเซ็ด มอเก็น นอน ติโน๊ะ แบะดู้น เรือ บราฮู กะบ้าง ปลา อีกัด อีก้าน พ่อ ปะ อะปุ้ง แม่ มะ อะน่อง ฯลฯ (หน้า 76-77) ตัวอย่างภาษาพูด ภาษาไทย ภาษาชาวน้ำ คุณ ชื่อ อะไร เกา ปานามา นามา ฉัน ชื่อ บุญมา กู ปานามา บุญมา ฉัน อายุ 40 ปี กู บาปา ไม้ปูโละ ตาโฮ่ย ฯลฯ (หน้า 77)

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุเวลาที่ชัดเจน

History of the Group and Community

ประวัติการอพยพของชาวน้ำ แต่เดิมชาวน้ำตั้งรกรากอยู่ที่บริเวณลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง ประเทศจีน ต่อมาได้อพยพที่ อยู่มาทางแม่น้ำโขงมาอยู่บริเวณแหลมอินโดจีน เมื่อมาอยู่ในทะเลก็ไปอยู่ตามบริเวณเกาะหลายแห่งที่อยู่ในพม่าและแหลมมลายู ซึ่งจากหลักฐาน เช่น เครื่องมือเครื่องใช้ที่พบ (หน้า 4) คาดว่าชาวน้ำเป็นบรรพบุรุษของชาวมลายู (หน้า 5) สำหรับชาวน้ำในประเทศไทยคาดว่าได้อพยพมาอยู่ตามเกาะต่างๆ นานหลายร้อยปี แต่ยังขาดหลักฐานเพราะไม่มีการจดบันทึก ซึ่งจากคำบอกเล่าของหมอชาวน้ำบอกว่า ชาวน้ำย้ายที่อยู่มาจาก “เมืองฮุหนุงหยาหร่ายกยางัน “(ชาวน้ำไม่ทราบว่าอยู่ในพื้นที่ประเทศใด) ซึ่งตั้งอยู่เลยจากปูเลาปีนัง หรือ”เกาะปีนัง” แล้วครั้งแรกอพยพมาอยู่ที่หมู่บ้านเจ๊ะหลี บนเกาะลันตาใหญ่ (หน้า 9) เมื่ออยู่ได้สักระยะหนึ่งจึงย้ายที่อยู่อีกครั้งมาที่หมู่บ้านบ่อแหนหรือที่ชาวน้ำเรียกว่า “ปาดังปูแน่น” ซึ่งเป็นที่ราบริมฝั่งทะเลของหมู่บ้านเดิม ที่หมู่บ้านบ่อแหนชาวน้ำอยู่มาหลายรุ่นและพบที่ฝั่งศพเก่าแก่หลายแห่ง (หน้า 10 ) ภายหลังเมื่อมีประชากรมากขึ้นพื้นที่ขาดความอุดมสมบูรณ์หากินลำบาก ชาวน้ำจึงย้ายไปอยู่ที่เกาะอื่นอีกหลายแห่งเช่น เกาะปอ เกาะไหง เกาะพีพี เกาะห้า เกาะจำ เกาะมุก เกาะภูเก็ต เกาะอาดัง บ้านหัวแหลมและที่อื่นๆ (หน้า 11)

Settlement Pattern

บ้านชาวน้ำ แต่เดิมชาวน้ำจะอยู่อาศัยในเรือ แต่ในบางครั้งก็จะสร้างบ้านอยู่ตามบริเวณชายหาด เป็นบ้านแบบไม่ถาวร อุปกรณ์เป็นใบปาล์ม ใบมะพร้าว ใบตาล ใบลาน บ้านจะสร้างเป็นกลุ่มอยู่บริเวณชายหาด ตัวเรือนเป็นแบบยกพื้น บ้านทำเป็นนอกชานอยู่ทางด้านหน้า บ้านในอดีตจะมีรูปร่างคล้ายกระท่อม ใช้วัสดุแบบเรียบง่ายเพื่อความคล่องตัวในการรื้อถอนขณะย้ายที่อยู่ ตัวบ้านมีขนาดประมาณกว้าง 4 เมตร ยาว 5 เมตร หลังคามุงจากหรือใบหวาย พื้นบ้านใช้วัสดุเช่น ไม้กลม ไม้ไผ่ ต้นหวาย แล้วผูกด้วยหวาย ไม่ตีตะปู ฝาบ้านกั้นด้วยใบจาก ใบมะพร้าว ทางไม้ระกำ (หน้า 23-24) ปัจจุบันการสร้างบ้านได้เปลี่ยนมาใช้วัสดุที่มีความถาวร ตีด้วยตะปู มุงสังกะสี รูปแบบบ้านยังเหมือนเช่นในอดีต บ้านมีขนาดกระทัดรัด พื้นที่ใช้สอยภายในประกอบด้วย ห้องครัว ห้องรับแขก ห้องนอน สร้างบ้านเป็นหลักแหล่งเนื่องจากไม่ต้องย้ายที่อยู่อาศัยเหมือนเช่นในอดีต (หน้า 25)

Demography

ประชากรชาวน้ำ มี 2,300 คน 400 ครอบครัว โดยอยู่ในหลายพื้นที่ดังนี้ 1 ) จังหวัดสตูล อยู่ในหมู่เกาะอาดัง ตำบลเกาะสาหร่าย โดยแยกกันอยู่ในเกาะต่างๆ 24 เกาะ ซึ่งจะอยู่เป็นจำนวนมากที่เกาะหลีเป๊ะ และเกาะอื่นๆ เช่น เกาะตง เกาะเหล็ก เกาะหินจาน เกาะบูโละนอก เกาะดาหลัง เกาะอูเส็น และเกาะสาหร่าย มีจำนวน 62 ครอบครัว 587 คน 2 ) จังหวัดกระบี่อยู่ที่อำเภอเกาะลันตา โดยอยู่ที่เกาะลันตาใหญ่ ที่หมู่บ้านหัวแหลมสุด (สังกะอู) และบ้านหัวแหลมกลางและที่บ้านศาลาด่าน (แหลมคอกวาง คลองดาว กับบ่อแหน) มี 110 ครอบครัว 500 คน อำเภอเมืองอยู่ที่เกาะพีพี ตำบลอ่าวนาง เกาะจำ(เกาะปู) ตำบลเกาะสีบอยา 36 ครอบครัว 170 คน 3 ) จังหวัดภูเก็ต อยู่ที่เกาะสิเหร่ หาดราไวย์ หาดสุรินทร์ จำนวน 134 ครอบครัว 700 คน 4 ) จังหวัดพังงา มีจำนวน 50 ครอบครัว 300 คน โดยอยู่ที่หาดบางคลี(ปาไตบาครี) หรือบ้านไทยใหม่ ตำบลบางคลี อำเภอท้ายเหมือง (หน้า 21-23)

Economy

เศรษฐกิจ ชาวน้ำทำอาชีพประมงทางทะเลเป็นหลัก เช่น ตกปลา หาปลา งมเปลือกหอยในทะเล เมื่อจับปลามาได้ส่วนใหญ่จะนำไปขายให้กับนายทุน บางส่วนก็นำปลาไปขายที่ตลาดแต่มีจำนวนน้อย ส่วนการรับจ้างอื่นๆ ที่ทำเช่น แบกของ หาบน้ำ ดายหญ้า ฯลฯ (หน้า 37-38) อาหาร ชาวน้ำกินข้าวเป็นหลัก แต่ส่วนใหญ่แล้วมีฐานะยากจนจึงต้องกินข้าวเพียง1-2 มื้อต่อวันเท่านั้น ข้าวที่นำมาบริโภคได้มาจากการแลกเปลี่ยน เช่น จับปลา นำเปลือกหอยและอื่นๆ ไปแลกข้าวกับคนพื้นเมือง บางส่วนก็นำของไปขายเพื่อซื้ออาหาร บางครั้งก็ได้ค่าแรงจากนายทุนเป็นข้าว ซึ่งจะได้รับครั้งละไม่มากครั้งละไม่เกิน 10 กิโลกรัม เพื่อเป็นค่ามัดจำจะได้กลับไปทำงานให้ในครั้งต่อไป ในเรื่องการบริโภคชาวน้ำค่อนข้างขาดแคลนอาหารเพราะไม่รู้จักประหยัด รู้จักถนอมอาหารเนื่องจากติดกับความสบายเพราะอยู่ใกล้ทะเล หามาได้ก็กินหมดแล้วไปหาใหม่ (หน้า 33-34)

Social Organization

สังคมชาวน้ำ ส่วนใหญ่จะอยู่เป็นกลุ่มไม่ชอบคบกับกลุ่มชนอื่น (หน้า 6) ลักษณะครอบครัวมีขนาดปานกลาง ประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูก และปู่ ย่า ตา ยาย ในครอบครัวชาวน้ำจะถือฝ่ายแม่ ในครอบครัวมีภรรยาเป็นผู้นำ อยู่ในบ้านสามีจะทำงานบ้านทุกอย่าง เมื่อกลับจากหาปลาแล้วต้องมาทำงานบ้านเช่น ตักน้ำ ดูแลลูก ทำกับข้าว และอื่นๆ (หน้า 28) การแต่งงาน เมื่อหนุ่มสาวชาวน้ำชอบพอกัน ถ้าจะแต่งงานฝ่ายชายจะให้ผู้ใหญ่ไปทาบทามเพื่อสู่ขอ การไปสู่ขอจะไป 3 ครั้งเมื่อครบแล้วหากฝ่ายหญิงตกลง ทางฝ่ายชายก็จะหมั้นด้วยเงินไว้ก่อนซึ่งส่วนใหญ่จะไม่เกิน 500 บาท เมื่อกำหนดวันแต่งงานและสถานที่จัดงาน เมื่อถึงวันจัดงาน ฝ่ายชายจะเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ได้แก่ เครื่องมือทำกิน เสื่อ หมอน ผ้าสีชนิดต่างๆ แห่ไปด้วย การจัดพิธีจะเริ่มงานเวลา 18.00 น. เมื่อไปถึงก็จะแห่รอบบ้านที่จัดงาน 3 รอบต่อมาก็จะขึ้นไปบนบ้าน ผู้ใหญ่ฝ่ายชายก็จะมอบขันหมากให้ผู้ใหญ่ฝ่ายหญิง และไถ่ถามเรื่องการทำมาหากินและแนะนำญาติพี่น้องแต่ละฝ่ายให้รู้จักกัน ในงานจะไม่เลี้ยงอาหารจะมีเฉพาะการดื่มเหล้าเท่านั้น พิธีจะเริ่มเมื่อใกล้ถึงเวลาเที่ยงคืน ฝ่ายชายจะมอบเสื่อ หมอน ผ้าให้กับฝ่ายเจ้าสาว (หน้า 79-82) เมื่อถึงตอนเช้าก็จะมาส่งเจ้าบ่าวเจ้าสาวที่หาดทรายเพื่อลงเรือไปกลางทะเล และการไปจะนำอาหารไปกินด้วย เพื่อไปชมทะเลคล้ายกับการพาไปฮันนีมูน และจะกลับมาในตอนเย็น ขณะกลับนั้นคนที่มารับที่ชายหาดจะสังเกตว่าเจ้าบ่าวหรือเจ้าสาวเป็นคนพายเรือ หากผู้หญิงเป็นคนพาย ผู้ชายเป็นคนนั่งก็แสดงว่าทั้งสองมีความสัมพันธ์กันฉันสามีภรรยากันแล้ว แต่หากผู้ชายพายเรือแล้วผู้หญิงเป็นคนนั่งแสดงว่าทั้งสองยังไม่มีอะไรกัน การสังเกตนี้ถือว่าเป็นความลับและถือว่าเป็นมารยาทจะไม่มีใครพูดถึงเรื่องนี้ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะไม่ค่อยมีผู้หญิงพายเรือกลับมายังฝั่ง อย่างไรก็ดีการแต่งงานของชาวน้ำทุกวันนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงต่างไปจากอดีตเพราะได้รับอิทธิพลจากชาวพื้นเมือง (หน้า 82-83)

Political Organization

ผู้นำของชาวน้ำเรียกว่า “โต๊ะ” คาดว่าคำเต็มน่าจะมาจากคำว่า “ดะโต๊ะ” ผู้นำทำหน้าที่ตัดสินหากคนในกลุ่มมีเรื่องทะเลาะกัน ตัดสินใจในการอพยพที่หาที่ทำกินใหม่ เป็นผู้นำในการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อ (หน้า 7)

Belief System

ชาวน้ำนับถือผี ผีที่เชื่อ ได้แก่ ผีชิน ซึ่งแบ่งออกเป็น 7 ชนิดมีทั้งผีที่ดีและผีร้าย ชาวน้ำเชื่อว่าผีชินบางอย่างจะช่วยบอกแหล่งที่อยู่เวลาหาปลาโดยจะเปล่งแสงไปตกในทะเลถ้าพายเรือไปบริเวณนั้นก็จะเห็นฝูงปลา ผีชินบางชนิดอยู่ในร่างกายที่ถูกผีหลอก ก็เพราะว่าผีชินที่อยู่ตามต้นไม้มีอาการตอบโต้กับผีชินที่อยู่ในร่างกาย เป็นต้น ผีนั้นอยู่ทุกหนทุกแห่งเช่นในน้ำเรียก ผีน้ำ ผีที่เกิดจากไม้เรียกผีไม้ และอื่นๆ (หน้า 65-66) นอกจากนี้ชาวน้ำยังนับถือบรรพบุรุษซึ่งเรียกว่า “ดะโต๊ะ” โดยจะตั้งศาลเพื่อเป็นที่เซ่นไหว้ เช่น “ดะโต๊ะบะหลิว” (บะหลิว - คือฟันปลาชนิดหนึ่งที่เหมือนฟันเลื่อย)มีศาลตั้งอยู่หมู่บ้านบ่อแหน เกาะลันตาใหญ่ ส่วนชาวน้ำที่เกาะอาดังจะนับถือ “ดะโต๊ะบุหรง” ซึ่งวิญญาณของผีบรรพบุรุษสิงสถิตอยู่ในร่างนก ที่ช่วยดูแลคุ้มครองชาวน้ำ ทั้งนี้ดะโต๊ะบุหรงเป็นน้องของดะโต๊ะบะหลิว ที่มาช่วยคุ้มครองชาวน้ำที่มีประชากรมากขึ้นกว่าในอดีต (หน้า 65-66) งานศพ หากมีคนในหมู่บ้านเสียชีวิต ชาวน้ำจะให้ตัวแทนไปที่บ้านงานศพ โดยจะเอาข้าวสาร น้ำตาลและสิ่งของอื่นๆ ไปช่วยเจ้าภาพคนละเล็กละน้อยแล้วแต่ฐานะ การฝังศพจะฝังในวันแรกที่เสียชีวิต หรือหากไม่พร้อมที่จะฝังในวันนั้นก็จะเก็บศพไว้ 1 คืน สำหรับขั้นตอนก่อนที่จะนำศพลงในโลงก็จะอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้าให้ศพ สำหรับคนที่อาบน้ำให้ศพต้องเป็นเพศเดียวกับคนที่เสียชีวิต หากเป็นเพศอื่นเชื่อว่าจะทำให้วิญญาณไม่ได้ไปเกิดใหม่และจะกลายเป็นวิญญาณร้ายมาหลอกหลอน เมื่ออาบน้ำเรียบร้อยแล้วหลังจากเปลี่ยนชุดให้ผู้เสียชีวิต บางครั้งก็จะห่อศพด้วยผ้าขาวก่อนยกศพลงในโลง (หน้า 85) ขณะจะหามโลงศพไปฝังผู้ที่หามโลงจะยกโลงเพื่อให้ญาติที่อายุน้อยกว่าคนที่เสียชีวิตลอดใต้โลง จึงจะแห่ศพไปทำพิธีที่ป่าช้า ส่วนญาติก็จะเอาหน่อมะพร้าวไป 1 หน่อ มะพร้าวปอกเรียบร้อยแล้ว 3 ลูก กับกะละมังใส่น้ำ เมื่อจะถึงหลุมก็จะวางกะละมังไว้ใกล้ทาง พอวางศพลงในหลุมหมอผีก็จะท่องคาถาทำพิธี คนที่มางานก็จะกำทรายมาโปรยลงหลุมซึ่งจะหันหัวผู้ตายไปทางทิศเหนือเพื่อให้อยู่ตรงข้ามกับคนที่ยังมีชีวิต ต่อมาหมอผีก็จะผ่ามะพร้าวแล้วเทน้ำมะพร้าวลงที่โลงแล้วคว่ำกะลาบนโลง จากนั้นจึงจะถมดิน ปลูกต้นมะพร้าว 1 ต้น ก็เป็นอันจบพิธี ตอนที่จะกลับบ้านญาติๆ ก็จะเดินมาล้างมือล้างเท้าที่กะละมัง เพื่อไม่ให้คนตายมาหลอก (หน้า 86) สำหรับการปลูกต้นมะพร้าวก็เพื่อก็เพื่อเป็นทำนายว่าเมื่อญาติได้เสียชีวิตไปแล้วนั้นคนที่ยังอยู่จะยังมีความสุขอยู่ไหม หากต้นมะพร้าวให้ลูกดก ก็เป็นเครื่องหมายว่า ลูกหลานจะมีความสุขเจริญก้าวหน้าในชีวิต แต่ส่วนใหญ่แล้วลูกหลานมักมีชีวิตที่มีความสุขเพราะต้นมะพร้าวโดยมากจะไม่ตาย สำหรับบ้านที่มีคนเสียชีวิตจะก่อไปไว้ที่หน้าบ้าน สำหรับการทำบุญอุทิศส่วนกุศลจะทำ 3 วันหรือ 7 วัน (วันคี่) ขั้นตอนจะนำอาหาร ขนม เหล้าและอื่นๆ ใส่ถุงไปวางที่หลุมของผู้ตาย (หน้า 87) พิธีการลอยเรือ ชาวน้ำจะทำพิธีลอยเรือ โดยจะจัดในวันเพ็ญ เดือน 6 กับเดือน 11 การจัดงานจะจัด 3 วัน 3 คืน ชาวน้ำทุกครอบครัวจะมาร่วมพิธีและนำอาหารมากิน รวมทั้งนำเครื่องดนตรีเช่น รำมะนา มาเล่นที่บริเวณหาดที่ทำพิธีลอยเรือ การจัดงานจะเริ่มขึ้นเมื่อหมอผีทำพิธี และคนที่มาร่วมงานบางส่วนจะทำเรือด้วยไม้ระกำ และทำเป็นรูปคนพายเรืออีก 12 คู่ ชาวน้ำทุกครอบครัว ก็จะตัดผมรวมทั้งนำเครื่องเซ่นไหว้ใส่ไปในลำเรือ ส่วนคนที่ร่วมพิธีก็จะเต้นรำ รอบลำเรือ กระทั่งใกล้รุ่งเช้าก็จะนำเรือออกไปลอยสะเดาะเคราะห์ และเพื่อเสี่ยงทาย ในการทำพิธีจะทำไม้ขวาง 5 อัน ปักไปในแต่ละทิศแล้วจะเสกเวทมนตร์เพื่อป้องกันอันตราย ตรงปลายไม้จะผูกใบกะพ้อ หากเปรียบแล้วไม้ก็คือแขน ส่วนใบกะพ้อคือนิ้วมือที่จะปัดเพื่อไม่ให้โชคร้ายมาหา สำหรับการทำนายนั้นจะดูที่เรือหากปีไหนเรือลอยหายลับตาไป ในปีนั้นก็จะหาปลาได้เยอะ แต่ถ้าเรือลายไปใกล้ๆ หรือกลับมายังฝั่ง ก็จะทำมาหากินอย่างลำบากยากแค้น (หน้า 88) เมื่อถึงคืนที่ 3 แต่ละบ้านจะนำน้ำมาบ้านละขัน เพื่อให้หมอทำน้ำมนต์ เมื่อทำพิธีเรียบร้อยแล้วก็จะนำน้ำมนต์กลับบ้าน เพื่อดื่มและอาบก็ถือว่าจบการทำพิธี สำหรับการทำพิธีการลอยเรือจะทำเฉพาะที่เกาะลันตา จังหวัดกระบี่ โดยจะมีการแห่ขบวนรอบเกาะ 3 รอบ เมื่อเสร็จพิธีก็จะปลูกต้นไม้ไว้เป็นอนุสรณ์ ทุกวันนี้ทำเฉพาะการลอยเรือแต่ไม่แห่เรือรอบเกาะเหมือนเดิมแล้วเนื่องจากใช้เวลามาก เพราะเกาะลันตามีความยาวกว่า 20 กิโลเมตร อย่างไรก็ดี พิธีการลอยเรือทุกวันนี้ได้มีการทำพิธีที่เกาะอื่นๆ ด้วยเช่นที่เกาะสิเหร่ เกาะอาดัง เป็นต้น (หน้า 89)

Education and Socialization

ชาวน้ำไม่ค่อยส่งลูกหลานไปเรียนหนังสือในโรงเรียน ประกอบกับเด็กขาดความใส่ใจในการเล่าเรียน ดังนั้นจึงมีเด็กนักเรียนออกโรงเรียนก่อนที่จะเรียนจบภาคบังคับ และเด็กไม่อยากไปโรงเรียนเพราะไม่ถูกกับเด็กพื้นเมือง ส่วนปัญหาอื่นเช่นขาดอุปกรณ์การเรียน ไม่มีชุดนักเรียน ทุกวันนี้เด็กชาวน้ำส่วนมากจะเรียนจบระดับชั้นประถมต้น บางครอบครัวก็ส่งลูกหลานให้เรียนถึงระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ส่วนการเรียนในระดับมัธยมศึกษาของนักเรียนชาวน้ำยังมีปัญหาเพราะครอบครัวไม่สนับสนุนและเด็กก็ไม่อยากไปเรียนไกลบ้าน (หน้า 57)

Health and Medicine

การรักษาพยาบาลและสุขภาพ ลักษณะที่อยู่อาศัยของชาวน้ำในทุกวันนี้ดีกว่าในอดีต ดูแลความสะอาดของบ้านเรือน แต่ยังมีปัญหาเรื่องการใช้ส้วมเพราะส่วนมาก จะขับถ่ายไม่เป็นที่เป็นทาง เช่น ถ่ายตามป่า หรือบนหาดทราย เพราะคิดว่าคลื่นทะเลจะพัดไปเอง นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเรื่องโรคผิวหนังเพราะไม่ค่อยอาบน้ำเพราะต้องอยู่บนเรือ และขาดแคลนน้ำจืด สำหรับความเจ็บป่วยชาวน้ำเชื่อว่าเป็นการกระทำของผี หากเจ็บป่วยก็จะให้หมอรักษา ทำพิธีไล่ผีด้วยเวทมนต์ให้ออกจากร่างกาย รดน้ำมนต์ ขั้นตอนการรักษา จะใช้เวลาสามวันแล้วจะหยุด 1 วันจากนั้นก็จะรักษาต่ออีกสามวันแล้วก็จะหยุดอีก1วันเช่นเดิมจนกว่าอาการป่วยจะดีขึ้น นอกจากนี้ยังหายาจากป่าเขาโดยจะขอจากเจ้าป่าเจ้าเขาเมื่อได้รากหรือใบไม้มาแล้วหมอก็จะมาทำเป็นยารักษาคนป่วย (หน้า 48- 50) สำหรับการรักษาแบบพื้นบ้านแบบอื่นๆ ที่ใช้ เช่น การถอนพิษจากสัตว์ทะเล ได้แก่ แมงกระพรุนไฟ ก็จะนำกล้วยน้ำว้าสุกมา บดให้ละเอียดพอกบริเวณที่ได้รับพิษก็จะสามารถช่วยถอนพิษเหล่านั้น อย่างไรก็ดีทุกวันนี้ชาวน้ำยังนิยมรักษาด้วยวิธีแบบพื้นบ้านแต่ถ้ารักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้น จึงจะใช้การรักษาด้วยวิธีสมัยใหม่คือไปซื้อมาที่ร้านขายยาหรือไปรักษาที่โรงพยาบาล (หน้า 51-52) การคลอดลูก หญิงที่จะคลอดลูกจะให้หมอตำแยทำคลอดให้ ซึ่งแต่ละหมู่บ้านจะมีหมอตำแยเพียง 1 คน และผู้ช่วยที่จะเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งต่อไปเพียง 1 คน บางคนที่คลอดลูกแล้วเกิดรกค้างอยู่หลายวัน คนในครอบครัวก็จะไปหาหมอตำแยที่เก่งๆ บางครั้งต้องเดินทางไกลไปถึงเกาะอื่นก็มี เมื่อเด็กคลอดออกมาแล้วก็จะให้กินน้ำผึ้งรวงเพื่อช่วยในการขับถ่ายของเสียในท้อง แล้วเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เมื่อเริ่มโตแล้วจึงจะป้อนด้วยข้าวสุก สำหรับการมีลูกชาวน้ำจะมีลูกมาก เฉลี่ยครอบครัวละ 4- 8 คน เนื่องจากไม่มีการคุมกำเนิด (หน้า 53-54)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

การแต่งกายของชาวน้ำ ในอดีต ผู้ชายจะสวมผ้าเตี่ยวแต่ไม่สวมเสื้อ ส่วนผู้หญิง จะสวมผ้ากระโจมอก ยาวคลุมจนถึงหัวเข่า ผ้าที่ใช้จะเป็นโสร่งกับผ้าถุง ไม่สวมเสื้อ (หน้า 46) ทุกวันนี้ ชาวน้ำแต่งตัวตามสมัยนิยมโดยทั่วไป ผู้ชายนิยมสวมกางเกงจีน เนื่องจากราคาย่อมเยาสามารถสวมได้ทั้งสองด้าน และไม่ชอบสวมเสื้อ ส่วนการแต่งตัวของผู้หญิงจะสวมเสื้อนุ่งผ้าถุง เสื้อผ้าส่วนมากนายทุนจะมอบให้ บางส่วนก็ได้จากการใช้แรงงาน บางครั้งก็เอาสิ่งของไปแลกเปลี่ยนกับคนพื้นเมือง รวมทั้งไปซื้อที่ตลาด (หน้า 46-47)

Folklore

ศิลปะการแสดงของชาวน้ำ มโนห์รากาบง ทุกวันนี้ไม่ได้รับความนิยมในกลุ่มคนหนุ่มสาว แต่คนที่มีอายุ 40-50 ปีขึ้นไปยังรำเหมือนเช่นอดีต สาเหตุที่มโนห์รากาบงไม่ได้รับความนิยมเพราะว่า การฝึกต้องมีขั้นตอนหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการบวงสรวง การยกครู คาดว่ามโนราห์กาบง มีมานานแล้วคาดว่าได้รับอิทธิพลจากคนพื้นเมือง และอินโดนีเซีย ขั้นตอนการรำจะมีนักแสดงหญิง 2 คนโดยจะรำอยู่กับที่ และซ้ายหน้าไปทางซ้ายและขวา ยักคิ้วและส่ายสะโพก เรื่องที่แสดงเป็นเรื่องตามตำนานและเรื่องที่ชอบ ตัวตลกจะเป็นนายพรานสวมหน้ากาก สำหรับเครื่องดนตรีประกอบด้วย ฆ้อง กลอง กรับ ฉิ่ง การแสดงบทพูดจะมีไม่มากบางครั้งก็ไม่มีบทร้อง (หน้า 58) ทุกวันนี้มโนราห์กาบงยังเป็นที่ชื่นชอบกันอยู่เฉพาะที่เกาะอาดัง ส่วนหมู่เกาะอื่นๆ นั้นไม่มีใครเล่นกันแล้ว เนื่องจากขาดผู้แสดงประกอบกับคนที่รำเก่งๆ ทุกวันนี้ก็มีน้อย (หน้า 59) รองเง็ง ทุกวันนี้รองเง็งยังเป็นที่นิยมในหลายพื้นที่ เช่น บริเวณเกาะเหร่ เกาะลันตา เกาะอาดัง เกาะจำ และอื่นๆ บางแห่งได้มีการประยุกต์นำวงเข้ามาในการแสดงรองเง็งจึงเป็นที่ชื่นชอบในกลุ่มคนหนุ่มสาว เครื่องดนตรีที่เล่นประกอบ ได้แก่ รำมะนา ไวโอลิน ซอ และอื่นๆ เพลงรองเง็งที่ร้อง จะมีหลายภาษาทั้งภาษาชาวน้ำ มาเลเซีย อินโดนีเซียและเพลงไทย (หน้า 59) เพลงกล่อมเด็ก เพลงที่ร้องบ่อยๆ ได้แก่ “ติมังลมายา” ซึ่งมีเนื้อหาว่าถ้าลูกไม่ได้รับการเลี้ยงดูจากพ่อแม่ก็ยากที่จะมีชีวิตรอดเติบโตเป็นผู้ใหญ่ บางครั้งก็จะบรรยายถึงความเหงา ไร้ที่พึง ด้วยเนื้อหาที่เศร้าชาวน้ำบางคนที่ได้ฟังถึงกับต้องร้องไห้ด้วยความซึ่งใจในเนื้อหาเพลงกล่อมเด็ก ฯลฯ (หน้า 60) บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ (บ่อคุรี – “คุรี” คือภาชนะที่มีรูปทรงเหมือนไหขนาดเล็ก, หน้า 61) ชาวน้ำมีความเชื่อเรื่องบ่อศักดิ์สิทธิ์ซึ่งมีชื่อว่า “บ่อคุรี” มีเรื่องเล่ากันต่อๆ มาว่า นานมาแล้วมีชาวน้ำที่อยู่เกาะสิเหร่ เกาะภูเก็ต ตั้งท้องใกล้จะคลอดได้ฝันถึงบ่อน้ำคุรีและ อยากจะดื่มน้ำในบ่อนี้ หากไม่ได้ดื่มก็จะตายเพราะคลอดลูก ดังนั้นจึงบอกผัวให้ ไปหาน้ำที่อยู่ในฝันนี้ ผัวจึงพาเพื่อนๆ ออกเดินทางไปตามเกาะหลายแห้งเพื่อหาบ่อน้ำ กระทั่งไปพบบ่อน้ำแห่งนี้ที่เชิงเขาหมู่บ้านศาลาด่าน เกาะลันตา เมื่อพบบ่อน้ำแล้วจึงตักกลับมาที่เกาะสิเหร่ เมื่อเมียดื่มแล้วจึงคลอดลูกด้วยความปลอดภัย (หน้า 61) ชาวน้ำเชื่อว่าบ่อแห่งนี้เป็นบ่อศักดิ์สิทธิ์ ทุกวันนี้บ่อนี้อยู่ที่หมู่บ้านศาลาด่านเป็นบ่อเล็กๆ มีน้ำซึมอยู่ตลอดเวลาทำให้ชาวน้ำไม่ขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้ ชาวน้ำเชื่อว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ดูแลบ่อน้ำนี้จึงหมั่นดูแลเรื่องความสะอาด หากมีใครทำให้บ่อเสียหายเ ช่น งัดก้อนหินก็จะมีเคราะห์เช่นป่วยหนัก ส่วนความเชื่ออื่นๆ นั้น ชาวน้ำจะกลัวเรื่องคำสาบานเ ช่น ปลาแทงหรือฟ้าผ่า ดังนั้นหากตกลงสิ่งใดถ้าสาบานชาวน้ำจะไม่ผิดคำพูดเพราะจะกลัวถูกลงโทษเหมือนที่ได้สาบานกันไว้ (หน้า 62) “ดะโต๊ะอาดั๊บ” บรรพบุรุษของชาวน้ำ จากเรื่องเล่าของชาวน้ำระบุว่าบรรพบุรุษของตนคือ “ดะโต๊ะอาดั๊บ” แต่ไม่ค่อยมีใครพูดถึงเนื่องจากอาจมาจากความรู้สึกไม่ค่อยภูมิใจ เพราะ”ดะโต๊ะอาดั๊บ”เป็นคนไม่เอาไหน ในขณะที่ประเทศต่างๆ ได้รับศาสนามานับถือนั้น แต่ดะโต๊ะอาดั๊บก็ไม่สนใจมีแต่เที่ยวเล่น ค่ำไหนนอนนั่น อยู่ไม่เป็นหลักแหล่ง พฤติกรรมเช่นนี้จึงสืบทอดมาถึงลูกหลาน (หน้า 9-10)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ความสัมพันธ์ระหว่างชาวน้ำกับคนพื้นเมืองไม่ค่อยดีนัก เช่น กรณีที่เด็กชาวพื้นเมืองรังเกียจชาวน้ำ เพราะเด็กชาวน้ำเป็นโรคผิวหนังและแต่งตัวไม่สะอาด จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ปกครองไม่อยากส่งลูกหลานไปเรียนหนังสือ (หน้า 56)

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มี

Other Issues

ไม่มีข้อมูล

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst ภูมิชาย คชมิตร Date of Report 24 ก.ย. 2555
TAG อูรักลาโว้ย, มอแกน, มอแกลน, ไทยใหม่, ชาวเล, วิถีชีวิต, สังคม, ภาษา, การศึกษา, สตูล, ภูเก็ต, ระนอง, พังงา, ภาคใต้, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง