สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject มันนิ,มะนิ,ซาไก,ซาแก,คนป่า,ชาวป่า,เงาะ,โอรังอัสสี,เซมัง,ชุมชน,ประชากร,การตั้งถิ่นฐาน,ระบบนิเวศ,สังคม,วัฒนธรรม,ตรัง
Author อาภรณ์ อุกฤษณ์
Title การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศกับสังคมและวัฒนธรรม : กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ซาไกกลุ่มเหนือคลองตง อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity มานิ มานิค โอรังอัสลี อัสลี จาไฮ, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 161 Year 2536
Source สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ
Abstract

ผู้เขียนได้ค้นพบว่า มีวิถีชีวิตเร่ร่อนเก็บของป่าล่าสัตว์ของซาไกเหนือคลองตง ได้เปลี่ยนไปเป็นการตั้งถิ่นฐานกึ่งถาวรสำหรับเพาะปลูกข้าวระยะหนึ่ง และก็หวนกลับไปใช้ชีวิตเร่ร่อนเหมือนเดิม ซึ่งการกระทำดังกล่าวได้ขัดแย้งกับทฤษฎีวิวัฒนาการสายเดียวของชาร์ลส์ ดาวิน ซึ่งบอกว่าสังคมมนุษย์จะเริ่มต้นจากสังคมที่เรียบง่าย แล้วค่อยๆ พัฒนาไปสู่สังคมที่มีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ และผู้เขียนได้มีความคิดเห็นว่าวิถีชีวิตของซาไกที่เกิดขึ้นนั้น สามารถอธิบายได้ด้วยแนวคิดเรื่องนิเวศวิทยาวัฒนธรรมของ Julian Steward ที่บอกว่าระบบนิเวศมีส่วนสำคัญในการเกิดขึ้นของวัฒนธรรม และจากกรณีของซาไกจะเห็นได้ว่าเมื่อมีการปรับตัวไปสู่วัฒนธรรมใหม่แล้ว เกิดปัญหาที่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของวัฒนธรรมใหม่ได้จึงทำให้ซาไกต้องกลับไปใช้ชีวิตในแบบเดิมที่เคยเป็นมา(หน้า 118-119)

Focus

การศึกษาสาเหตุและปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และการสืบเนื่องของระบบนิเวศกับสังคมและวัฒนธรรมของซาไก (หน้า 1-2)

Theoretical Issues

ผู้เขียนได้ใช้แนวคิดและทฤษฎีต่างๆ มาใช้ในการอธิบายเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมและระบบนิเวศของกลุ่มชาติพันธุ์ซาไก ปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมี 2 ปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่ 1. ปัจจัยภายนอก อันส่งผลมาจากการเข้าไปของมนุษย์ที่ต่างภาษาและวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นด้วยสาเหตุใดก็ตาม ซึ่งส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศและมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งทางสังคมและวัฒนธรรมของซาไก (หน้า 120-123) 2. ปัจจัยภายใน อันเกิดมาจากกลุ่มซาไกเอง ซึ่งได้รับผลกระทบมาจากปัจจัยภายนอก จนทำให้ซาไกปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต สังคม และวัฒนธรรมของตน เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตต่อไปได้ (หน้า 123)

Ethnic Group in the Focus

กลุ่มชาติพันธุ์ซาไก คำว่า “ซาไก” เป็นชื่อที่ผู้คนทั่วไปส่วนใหญ่รู้จักกัน แต่พวกเขาจะนิยมเรียกตนเองว่า “มันนิ” หรือ “มะนิ” ชาวบ้านแถบจังหวัดตรังเรียกว่า “คนป่า” หรือ “ชาวป่า” หรือ “พวกเงาะ” ชาวบ้านในสี่จังหวัดภาคใต้เรียก “ซาแก” คำว่า “ซาไก, ซาแก” เป็นคำที่หมายถึง ทาสหรือผู้อาศัย ส่วนในประเทศสหพันธรัฐมาเลเซียเรียก “โอรังอัสสี” หรือ “เซมัง” ซึ่งหมายถึง คนพื้นเมืองดั้งเดิม ซาไกเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีแบบแผนทางวัฒนธรรมของตนเอง ยังชีพด้วยการเร่ร่อนเก็บหาของป่าและล่าสัตว์เป็นอาหาร อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศไทยและทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย (หน้า 8,14) ตามการจัดประเภทของ John H. Brandt ซาไกที่บ้านเหนือคลองตงอยู่ในกลุ่ม Tonga แต่จากการจำแนกของไพบูลย์ ดวงจันทร์ ถูกจัดอยู่ในกลุ่มแต็นแอ็น (Teanean)(หน้า 36) รูปพรรณสัณฐานโดยทั่วไป จะมีผิวสีดำและผมหยิกขอด (หน้า 29)

Language and Linguistic Affiliations

ซาไกในกรณีศึกษา พูดภาษากันชิวเป็นภาษาหลัก ซึ่งเป็นกลุ่มตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก นอกจากนี้ยังพูดภาษาไทยท้องถิ่นปักษ์ใต้เป็นภาษาที่สอง (หน้า 37-44)

Study Period (Data Collection)

เก็บข้อมูลภาคสนาม ระหว่างเดือนมีนาคม ถึงเดือนพฤษภาคม 2534 และในช่วงปี พ.ศ. 2535-2536 (หน้า 4)

History of the Group and Community

กลุ่มชาติพันธุ์ซาไกได้อาศัยอยู่ในบริเวณแถบเทือกเขาบรรทัดมาเป็นระยะเวลานานแล้ว โดยใช้วิธีการเก็บของป่าล่าสัตว์ในการดำรงชีพ และใช้ชีวิตเร่ร่อนอยู่บนเทือกเขานั้น ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2504 รัฐบาลได้ให้สัมปทานป่าไม้แก่เอกชน ทำให้มีการทำลายป่าเพิ่มสูงขึ้นอีก ทั้งยังมีคนนอกเขาไปในป่าเพิ่มจำนวนสูงขึ้น จึงทำให้ซาไกอพยพย้ายถิ่นฐานเข้าไปอยู่ในป่าลึกมากขึ้น นอกจากนั้นก็เริ่มมีการติดต่อสัมพันธ์กับคนภายนอกบ้าง ในช่วงปี พ.ศ.2516-2518 ได้เกิดปัญหาทางการเมืองภายในประเทศ ทำให้มีกลุ่มนักศึกษาหรือพวก ผกค. จำนวนมากอพยพลี้ภัยเข้าไปอยู่ในป่า ปี พ.ศ. 2523 เมื่อเหตุการณ์สงบลงพวกนักศึกษาหรือ ผกค. ที่ลี้ภัยเข้าป่าก็ได้ทยอยกันออกมาจากป่า ปี พ.ศ. 2526 ซาไกก็ได้เริ่มรับจ้างใช้แรงงานให้กับคนบ้าน (หมายถึงผู้ที่อยู่ตามหมู่บ้าน) นอกจากนั้นก็ยังมีการตัดหวาย ตีผึ้ง หาสะตอ ลูกเหรียงไปส่งขายให้กับพ่อค้า ทำให้ซาไกเริ่มรู้จักการใช้เงินและพูดภาษาไทยได้ดีขึ้น ต่อมาปี พ.ศ.2529 ซาไกเริ่มเรียนรู้ที่จะปลูกข้าวกินเอง โดยมีลูกเขยซึ่งเป็นคนบ้านสอนวิธีให้ ปีพ.ศ.2534-2536 ได้มีนักโบราณคดีได้เข้าไปทำการขุดค้นทางโบราณคดีที่ “ลาคนแก่” และเมื่อเจ้าหน้าที่ได้สั่งห้ามตัดไม้และเผาป่าเพื่อทำไร่ซาไกก็กลับไปใช้ชีวิตเร่ร่อนอีก ในปี พ.ศ.2537 ซาไกได้กลับมาอาศัยบริเวณบ้านเหนือคลองตงอีกครั้ง แต่ชาวบ้านได้เข้าไปจับจองพื้นที่ตรงส่วนนั้นหมดแล้วและกลุ่มซาไกก็ได้ถูกชาวบ้านผลักดันให้อพยพไปอยู่ที่อื่น (หน้า 17-20)

Settlement Pattern

การตั้งถิ่นฐานของซาไกจะตั้งวนไปยังบริเวณที่เคยตั้งมาก่อน โดยอยู่ใกล้ๆ กับบริเวณที่มีแหล่งน้ำสำหรับดื่มและใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งแหล่งน้ำนั้นจะต้องไหลถ่ายเทตลอดเวลา เพราะเชื่อว่าแหล่งน้ำที่ขังหากดื่มเข้าไปอาจทำให้ไม่สบายได้ ไกลจากสายน้ำใหญ่ บริเวณใกล้เคียงจะต้องมีทุ่งหญ้าที่มีดินโป่งและมีแหล่งน้ำที่สัตว์จะลงไปกิน ซาไกจะสร้างทับใต้ร่มใหญ่ ที่ที่มีดินสีขาว พื้นดินเป็นที่ราบเรียบ บริเวณใกล้เคียงไม่มีพืชที่มีพิษหรือคัน ไม่เคยมีคนตายมาก่อน และจะต้องไม่อยู่ใกล้ชุมชนอื่นมากเกินไป การตั้งถิ่นฐานจะสร้างเป็นแบบเพิงพักชั่วคราวซึ่งเรียกว่า “ทับ” มีไฟสุ่มไว้ทั้งด้านซ้ายและขวา ทับหนึ่งๆ จะมีคู่สามีภรรยาและลูกเล็กๆ เมื่อลูกชายอายุได้ 4-5 ขวบ ก็จะแยกไปตั้งทับใกล้ๆ พ่อแม่ ถ้าเป็นหญิงจะอยู่กับพ่อแม่จนกว่าจะมีครอบครัว (หน้า 23,48)

Demography

กลุ่มชาติพันธุ์ซาไกมีจำนวนประชากรประมาณ 109 คน แบ่งกลุ่มตามที่อยู่อาศัยได้ 6 กลุ่มคือ 1. กลุ่มเหนือคลองตงจำนวน 22 คน ผู้ชาย11 คน ผู้หญิง 11 คน 2. กลุ่มคลองลิพังจำนวน 20 คน ผู้ชาย 11 คน ผู้หญิง 9 คน 3. กลุ่มเจ้าพะจำนวน 21 คน ผู้ชาย 9 คน ผู้หญิง 12 คน 4. กลุ่มเขาสอยดาวจำนวน 4 คน ผู้ชาย 2 คน ผู้หญิง 2 คน 5. กลุ่มบ้านในตระ จำนวน 3 คน ผู้ชาย 3 คน 6. กลุ่มบ้านมะนัง จำนวน 39 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเฒ่าเขียด 24 คน กลุ่มเฒ่าสะ 15 คน (หน้า 14-15) การอพยพโย้กย้าย ซาไกจะไม่มีการตั้งถิ่นฐานถาวร แต่จะเร่ร่อนย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยและทำมาหากินด้วยสาเหตุดังนี้ 1. 10-15 วัน หลังการสร้างเพิงพัก เพราะเพิงสร้างด้วยใบกล้วยหรือใบไม้ในป่า เมื่อใบไม้เหี่ยวก็จะไม่สามารถป้องกันแดดฝนได้ จึงต้องสร้างเพิงพักใหม่ ทำให้เกิดลักษณะนิสัยอึดอัดเมื่ออยู่ที่เดิมนานๆ 2. อาหารบริเวณใกล้เคียงหายาก ต้องเดินทางไปหาอาหารไกลๆ 3. ฝันร้ายหรือสมาชิกในกลุ่มไม่สบายหรือตาย ต้องย้ายหนีทันที 4. ถูกรบกวนจากคนเมืองหรือคนบ้าน 5. อพยพหนีซาไกกลุ่มอื่นที่เป็นโรคติดต่อหรือโรคผิวหนัง 6. เมื่อสมาชิกมีการคลอดลูก การย้ายถิ่นจะเดินทางตามหัวหน้ากลุ่ม ไม่มีการกำหนดทิศทางที่แน่นอน (หน้า 20-23)

Economy

แต่เดิมกลุ่มซาไกมีวิถีชีวิตแบบการอยู่รอดด้วยการใช้ปัจจัยพื้นฐานจากระบบนิเวศในป่าทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นด้านอาหาร ที่อยู่ ยารักษาโรค แม้แต่เครื่องนุ่งห่ม มีภูมิปัญญาในการเก็บหาวัสดุธรรมชาติมาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือเครื่องใช้และเครื่องมือสำหรับเก็บหาของป่า ล่าสัตว์เพื่อยังชีพ และใช้ในชีวิตประจำวัน พืชที่ใช้เป็นอาหารคือ พืชพวกมัน ผัก และผลไม้ การเก็บพืชจะเว้นโคนที่ติดกับรากเพื่อให้งอกขึ้นใหม่ สัตว์ที่ซาไกล่าเป็นอาหารนั้นมีทั้งสัตว์เล็กและสัตว์ใหญ่ อาวุธที่สำคัญในการล่าสัตว์คือ “บอเลา” ดังนั้นจึงทำให้ระบบเศรษฐกิจของซาไกเป็นแบบแบ่งปัน เมื่อสมาชิกล่าสัตว์มาได้หรือหาของป่ามาได้ก็จะมาแบ่งกับสมาชิกในกลุ่ม การใช้ของแลกของ แต่เมื่อคนภายนอกเข้ามาติดต่อสัมพันธ์ด้วยก็ได้นำเอาระบบแลกเปลี่ยนเงินตราเข้ามาเผยแพร่ให้กับซาไก ดังนั้นในปัจจุบันซาไกจึงหันมาใช้ระบบแลกเปลี่ยนแบบเงินตรามากขึ้น ถึงแม้ว่าจะไม่รู้ถึงค่าของเงินอย่างลึกซึ้งก็ตาม (หน้า 71-86)

Social Organization

โครงสร้างทางสังคมของซาไก ประกอบด้วย ครอบครัว กลุ่มชน และสายตระกูล สังคมของซาไกจะนับถือญาติทั้งสองฝ่าย ความแตกต่างทางสถานภาพของซาไกจะขึ้นอยู่กับอายุมากกว่าเพศ และจะมีคำที่ใช้เรียกญาตินับขึ้นไป 3 ชั่วอายุคน และลงมา 3 ชั่วอายุคน สังคมขั้นพื้นฐานของซาไกที่เริ่มจากครอบครัวมักจะเป็นครอบครัวเดี่ยว และแยกกันอยู่เป็นระยะ ครอบครัวหนึ่งๆ จะประกอบไปด้วยสามีภรรยาและลูก ส่วนในระดับกลุ่มชนนั้นจะประกอบไปด้วยกลุ่มครอบครัวที่อาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกัน ส่วนใหญ่แล้วซาไกที่อยู่ร่วมกันนั้นจะเป็นเครือญาติกันหรือเป็นสายตระกูลเดียวกันทั้งสิ้น ส่วนในระดับสายตระกูลนั้นเป็นกลุ่มสังคมที่ใหญ่ที่สุดของซาไก ซึ่งหมายถึง การที่สามารถลำดับความสัมพันธ์ทางเครือญาติกันได้ ไม่ว่าจะอยู่กลุ่มใดก็ตาม (หน้า 45-59)

Political Organization

ในด้านการปกครองนั้น จะมีการเลือกผู้ที่จะมาเป็นผู้นำกลุ่มชน หรือผู้นำกลุ่มสายตระกูล จะพิจารณาจากคุณสมบัติเป็นหลักในการตัดสินใจ แต่ส่วนใหญ่แล้วผู้อาวุโสมักจะได้รับเลือกเป็นผู้นำ เนื่องจากมีคุณสมบัติต่างๆ พร้อมกว่า (หน้า 58)

Belief System

ซาไกมีความเชื่ออย่างเหนียวแน่นในเรื่องผีบรรพบุรุษ มีความเชื่อว่าผีบรรพบุรุษเหล่านั้นยังคงวนเวียนและสิงสถิตอยู่ตามแหล่งธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ ท้องฟ้า แหล่งน้ำ ภูเขา ผืนดิน หรือในสัตว์บางชนิด นอกจากนี้ยังมีความเชื่อในความฝัน ความเชื่อเรื่องบาป ความเชื่อพิธีกรรมเกี่ยวกับการทำมาหากิน ความเชื่อเกี่ยวกับชีวิต (หน้า 60) 1. ความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษ ซาไกเชื่อว่า “ญาเงาะ” เป็นผู้ให้กำเนิดสิ่งมีชีวิตในโลกมนุษย์ เป็นเจ้าของต้นน้ำบนท้องฟ้าที่ไหลลงมาสู่โลกมนุษย์ ญาเงาะจะใช้ดวงจันทร์เป็นดวงตาคอยดูแลทุกข์สุขของลูกหลานในทุกคืน คืนไหนญาเงาะหันหน้าไปทางใดส่วนนั้นก็จะสว่างเป็น “ข้างขึ้น” แล้วมืดลงเป็น “ข้างแรม” เมื่อหันหน้าไปทางอื่น ญาเงาะได้มอบหมายให้ผีบรรพบุรุษเป็นผู้พิทักษ์สิ่งต่างๆ ในโลกมนุษย์ (หน้า 60) 1.1 ผีตายโหง เป็นผีร้ายที่เกิดจากการตายผิดปกติ เช่น โดนเสือกัด ตกต้นไม้ ตกภูเขา หรือไฟครอก ฯลฯ ผีตายโหงจะกลัวหัวไพล หากโดนผีตายโหงทำให้เกิดลมพิษ แผลผุพอง ตาลขโมย จะต้องใช้หัวไพลทา (หน้า 61) 1.2 ผีฟ้า (ตัวฮู่) สถิตอยู่ในรุ้งกินน้ำ มีภาพลักษณ์เป็นงูใหญ่ หลังเขียว ท้องแดง อยู่บนฟ้าทางทิศตะวันออก มักต้อนฝูงผึ้งลงมาหาน้ำตาลในป่า มากินน้ำในถ้ำมืดๆ หลังฝนตก ไม่มีใครเคยเห็นหน้า เห็นแต่ส่วนหาง ได้รับมอบหมายจากญาเงาะให้รักษาน้ำบนฟ้าและดูแลผึ้ง กลางวันกลางคืนเกิดจากผีฟ้า(ตัวฮู่) กลืนหางตัวเอง ฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า ฟ้าแลบ น้ำท่วมเกิดจากผีฟ้า(ตัวฮู่) หากใครเห็นต้องวิ่งหนีเพราะหากโดนผีฟ้า(ตัวฮู่)จะเจ็บไข้ไม่สบาย (หน้า 61) 1.3 ผีดิน (ตาแมดเดี๊ยะ) มีหน้าที่รักษาแผ่นดินและพันธุ์พืช ก่อนจะขุดมันหรือตัดต้นไม้ต้องขออนุญาตผีดินก่อน ดินที่สีดำจะมีอาศัยอยู่ ห้ามเดินผ่านหรือสร้างเพิงผักด้านบนจะทำให้ลูกหลานไม่สบาย (หน้า 61) 1.4 ผีน้ำ (ผีพราย, ตาแมดตาวาย) มีหน้าที่รักษาน้ำไม่ให้มนุษย์ทำสกปรก ห้ามเด็กๆ อาบน้ำในตอนกลางคืน ห้ามถ่ายอุจจาระลงในน้ำ ห้ามดื่มน้ำในแอ่งที่ไม่ไหลเวียน เพราะผีจะลงโทษ (หน้า 62) 1.5 ผีภูเขา (ตาแมดบาตุ) มีหน้าที่ดูแลภูเขา อาศัยอยู่บนภูเขาสูง เชื่อว่าคนที่ตกเขาตายเกิดจากทำผิดจึงถูกผีผลักลงมา (หน้า 62) 1.6 ผีปลวก สถิตในปลวกดินสีดำ จึงห้ามไม่ให้สร้างเพิงผักใกล้ๆ ห้ามขุด ห้ามปีนป่าย เพราะจะทำให้ไม่สบาย (หน้า 62) 1.7 ผีไม้ (ตาแมดยะฮุ) สถิตตามต้นไม้ ถ้าจะตัดต้นไม้ต้องขอผีไม้ก่อนและต้องตัดเฉพาะไม้เล็กๆ ห้ามเข้าใกล้ไม้ใหญ่ที่หักโค่นเพราะเชื่อว่าผีโค่นทิ้งไว้ ผีไม้ทำให้เกิดอาการคันหรือปวดเมื่อยตามร่างกาย (หน้า 62) 1.8 ผีป่า(ตาแมดกะเห่ย) สถิตในป่า มีภาพลักษณ์เป็นเสือ เป็นบรรพบุรษซาไกที่ออกไปล่าสัตว์แล้วหายไป ต่อมากลายร่างเป็นเสือเรียกว่า “ทวดเสือเล็ก” หนังเหนียว ยิงไม่เข้า เป็นเจ้าป่า ซาไกต้องขอทางหากเดินไปในป่าที่ไม่คุ้นเคย หากเดินไปแล้วมีอาการขนลุกต้องเปลี่ยนทางใหม่ เพราะเชื่อว่าผีทวดเสือเล็กหวงลูกอ่อน (หน้า 62-63) 2.ความเชื่อเกี่ยวกับความฝัน จะสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมและชีวิตประจำวันคือ ฝันเห็นปลา เชื่อว่ารุ่งขึ้นจะหาปลาได้มาก ฝันเห็นค่าง เชื่อว่ารุ่งขึ้นจะหาค่างได้มาก ฝันเห็นคนตายเชื่อว่าหากเล่าให้ใครฟังจะฟ้าผ่า ฝันเห็นเสือจะโดนเสือทำร้ายต้องย้ายที่อยู่ ฯลฯ (หน้า 63) 3. ค่านิยมทางวัฒนธรรม การล่าสัตว์ได้แล้วไม่แบ่งปันผู้อื่น ขับถ่ายอุจจาระลงในแหล่งน้ำ อาบน้ำเหนือแหล่งน้ำสำหรับดื่มกิน หลับนอนกับคนบ้าน ฆ่าสัตว์ไม่มีขน กินเนื้อหมู คนบ้านเข้าไปถ่ายรูปขณะกินข้าวหรือหุงเข้า ดูผู้อื่นกินข้าว ตัดไม้ใหญ่ กินสัตว์มีท้อง ข้ามของกิน ฯลฯ ซาไกถือว่าการกระทำเหล่านี้บาป (หน้า 63-64) 4. ค่านิยมทั่วไปในชีวิตประจำวัน ซาไกนิยมรักษาโรคด้วยสมุนไพร แต่งกายด้วยผ้าสีแดง ไม่ชอบอาบน้ำกลัวสัตว์ผิดกลิ่น ไม่ชอบคนแปลกหน้า เชื่อฟังหัวหน้ากลุ่ม แต่งงานในกลุ่มวัฒนธรรมเดียวกัน ฯลฯ (หน้า 64) 5. ความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับการทำมาหากิน คือ 5.1 พิธีปัดรังควานสัตว์ เมื่อล่าสัตว์ใหญ่มาได้จะใช้ใบไม้ปัดความร้อนออกจากตัวสัตว์และเป็นการไล่ภูตผีวิญญาณในตัวสัตว์ให้ออกไป (หน้า 64) 5.2 พิธีปักกำ เป็นพีธีแสดงความเป็นเจ้าของผลหมากรากไม้ในป่า โดยใช้ไม้รวกหรือไม้ไผ่ยาว 1-2 เมตร ผ่าปลาย นำใบไม่เสียบไว้หลายๆ ใบ แล้วนำไปปักไว้ที่โคนต้นไม้ที่จับจอง เชื่อว่าใครเข้าไปในเขตที่ปักกำจะทำให้ปวดท้อง ปวดเอว (หน้า 64) 5.3 โจ(แซมปา) ทำด้วยกระบอกไม้ไผ่หรือหนังควาย เสกคาถา แขวนไว้ตามต้นไม้ที่กำลังออกผล เพื่อป้องกับขโมย หากกินผลไม้ใส่โจ จะปวดท้อง ท้องร่วง ร่างกายผอม พุพองจนตาย (หน้า 64) 6. ความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับชีวิต 6.1 พิธีเกิด หมดตำแยเรียกว่า “บิดัด” ส่วนใหญ่เป็นเมียหัวหน้ากลุ่ม เป็นผู้แนะนำหญิงซาไกวัยเจริญพันธุ์ ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์จนคลอด หญิงมีครรภ์ต้องปฏิบัติตามข้อห้ามต่างๆ เช่น ห้ามกินค่าง ลิง ชะนี ปลาเค็ม เต่า ห้ามเดินป่า และอาบน้ำกลางคืน ฯลฯ เมื่อเริ่มปวดท้อง หมอตำแยและบรรดาผู้หญิงที่มีประสบการณ์จะช่วยกันลูบท้อง และทำคลอด จะนำต้น “ตำโตก” ผรากหิน) มาขยำกับน้ำให้แม่ดื่ม เมื่อคลอดแล้วจะนำไม้ไผ่เหลาบางๆ มาตัดสายสะดือ นำรกไปฝังดิน และนำทารกอาบน้ำ แล้วนำมานอนดื่มน้ำผึ้งโดยไม่ ผสมน้ำ ให้แม่ดื่มยาสมุนไพรต้ม จากนั้นแม่จะต้องอยู่ไฟโดยนำก้อนเส้าเผาไฟห่อด้วยผ้าวางบนหน้าท้อง ประมาณ 5 วัน หากเป็นลูกคนแรกจะห้ามทารกกินน้ำนมแม่ใน 3 วันแรก เพราะเชื่อว่าจะทำให้ทารกท้องเสียได้ (หน้า 66-67) 6.2 พิธีขึ้นเปล(ซีม่า) จัดเมื่อทารกอายุได้ 15 วัน ก่อนเริ่มพิธีสมาชิกผู้ชายจะออกล่าสัตว์ที่มีขนและกินเป็นอาหารได้ เช่น นกเค้าแมว ลิง ฯลฯ นำขนมาผสมยางจันหาน ใส่ภาชนะทำด้วยใบกระพ้อ เตรียมผ้าไว้สำหรับผูกเปล ภรรยาหัวหน้ากลุ่มจะเป็นผู้ประกอบพิธี เริ่มพิธีจะนำผ้ามาผูกกับต้นไม้เป็นเปล นำเด็กไปอาบน้ำแล้วนำมาวางไว้ในแปล นำขนสัตว์และยางจันหานมาวางไว้ใกล้เปล จุดไฟให้เกิดควัน นำมาวนรอบๆ หน้าแม่และเด็ก พร้อมท่องคาถา ตบมือ 3 ครั้ง พิธีนี้เป็นการยอมรับว่าทารกเกิดใหม่ได้เป็นสมาชิกของกลุ่มอย่างสมบูรณ์ (หน้า 67-68) 6.3 พิธีเปลี่ยนวัย(จันนังเลี้ยง) เป็นพิธีสำหรับเด็กผู้หญิงที่เข้าสู่วัยสาวคือ เริ่มมีประจำเดือน ก่อนเข้าพิธีเด็กผู้หญิงจะถูกห้ามกินเนื้อสัตว์ พิธีและอุปกรณ์คล้ายกับพิธีขึ้นแปล โดยผู้สูงอายุฝ่ายหญิงจะนำขนสัตว์ผสมยางจันหานในใบกระพ้อรมควันมาปัดรังควานที่ใบหน้าและร่างกาย ว่าคาถา และตบมือ 3 ครั้ง แล้วให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเมื่อมีประจำเดือน (หน้า 68) 6.4 พิธีแต่งงาน พ่อแม่ผู้หญิงจะเป็นฝ่ายไปขอต่อพ่อแม่ฝ่ายชาย แล้วปรึกษาว่าจะตั้งถิ่นฐานกับฝ่ายใด จากนั้นก็เตรียมพิธีแต่งงาน โดยสมาชิกในกลุ่มจะเดินทางไปบอกข่าวกับสมาชิกซาไกกลุ่มอื่นๆ ในสายตระกูลได้ทราบข่าวและมาร่วมพิธี สมาชิกฝ่ายชายจะออกล่าค่าง 4 ตัว และสัตว์อื่นๆ นำมาเลี้ยงญาติที่มาร่วมพิธี ในวันแต่งงานเจ้าสาวจะนุ่งผ้าปาเต๊ะลายสีแดง โพกหัวด้วยผ้าปาเต๊ะสีแดง สี่เหลี่ยมจัตุรัสพับเป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายผูกที่ท้ายทอย เจ้าบ่าวจะแต่งด้วยผ้าธรรมดา นุ่งผ้าปาเต๊ะลายแดง เริ่มพิธีคู่บ่าวสาวเข้าไปนั่งในที่พักที่ตกลงไว้ มีญาติมาเป็นสักขีพยาน ผู้นำกลุ่มท่องคาถา อบรมสั่งสอนการใช้ชีวิตคู่ สุดท้ายเป็นการเลี้ยงฉลอง (หน้า 68-69) 6.5 พิธีรักษาพยาบาล เมื่อซาไกไม่สบายจะมีความเชื่อว่า “ผีทำ” หากเป็นไข้ธรรมดาจะอพยพไปอยู่ที่อื่น หากอาการไข้สูงจะทำพิธี “ลงหาเห็ด” โดยให้สมาชิกช่วยกันโห่ไล่ผีร้ายออกจากร่างกายผู้ป่วย ผู้ประกอบพิธีจะใช้มือประกบกัน ดูดตามร่างกายผู้ป่วย หากผู้ป่วยอาการหนักอาจเสียชีวิตหรือเป็นโรคระบาด จะทิ้งผู้ป่วยไว้ตามเพิงผาพร้อมอาหารแล้วอพยพไปที่อื่น หากหายจะตามไปสมทบภายหลัง นอกจากนี้ซาไกรู้จักการนำสมุนไพรมาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างดี (หน้า 69) 6.6 พิธีศพ ซาไกไม่มีการฝังศพเพราะเชื่อว่าลูกหลานอาจเดินข้ามหลุมศพ อาจจะถูกวิญญาณผู้ตายทำให้ไม่สบายได้ จึงมักนำไปวางไว้ที่ชายป่าเพิงผาหรือริมน้ำเพื่อให้วิญญาณเดินทางอย่างอิสระ เมื่อสมาชิกเสียชีวิตหรือเจ็บป่วยหนัก จะถูกหามไปไว้ที่ชายป่า เพิงผา หรือริมน้ำ ทำรั้วล้อมรอบ นำร่างผู้ป่วยวางบนใบไม้ที่ได้ปูไว้ และบอกวิญญาณให้เดินทางขึ้นป่าลึกอย่ามารบกวนลูกหลาน ญาติในสายตระกูลเดียวกันจะมาร่วมพิธี และจำอพยพแยกย้ายเมื่อเสร็จพิธี (หน้า 70)

Education and Socialization

การสืบทอดความรู้ของซาไก จะเป็นการสืบทอดแบบรุ่นต่อรุ่นคือ พ่อสอนลูก ซาไกไม่มีการตกทอดมรดก วิธีการถ่ายทอดให้กันส่วนใหญ่จะเป็นในเรื่องของการดำรงชีวิต เช่น การทำเครื่องมือล่าสัตว์ วิธีการล่าสัตว์ การก่อกองไฟ การเดินป่า (หน้า 77-81, 86-88)

Health and Medicine

ซาไกได้ชื่อว่าเป็น “เจ้าแห่งสมุนไพร” เนื่องจากมีการเรียนรู้และสืบทอดความรู้ในการนำสมุนไพรมาใช้ในการรักษาโรคในชีวิตประจำวัน โรคที่พบมาก ได้แก่ ไข้ ปวดหัวตัวร้อน มาเลเรีย ปวดเมื่อยตามร่างกาย ไอกรน ปวดท้อง ปวดฟัน เป็นพยาธิ เป็นแผลพุพอง แผลจากพิษแมลงสัตว์กัดต่อย ตาลขโมยในเด็ก อาการอ่อนเพลีย และโรคเกี่ยวกับผู้หญิงเช่น ปวดท้องก่อนและหลังการมีประจำเดือน อาการผิกปกติก่อนและหลังคลอด ซาไกจึงใช้สมุนไพรและสัตว์ต่างๆ ที่มีสรรพคุณในการรักษาโรคต่างๆ (หน้า 90-94)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

การสร้างที่พัก ซาไกมีการสร้างที่อยู่อาศัยในลักษณะดั้งเดิม 2 รูปแบบคือ 1. เพิงพักหน้าถ้ำ ใช้อาศัยในฤดูฝน สร้างแคร่นอนเท่าจำนวนสมาชิก มีกองไฟขนาบทั้งสองข้าง แคร่ทำจากไม้ปุด มีขนาดความยาวและความกว้างกว่าเจ้าของแคร่เล็กน้อย โดยนำไม้มีง่าม 2 อันปักบริเวณหัวนอน ระยะห่างเท่าความกว้างที่ต้องการ นำไม้พาดระหว่างง่ามทั้งสอง นำไม้ปุดมาวางเรียงโดยให้ปลายไม้ลาดลงพื้นด้านปลายเท้า 2. ทับ(ฮะยะ) เป็นที่พักชั่วคราว ลักษณะเป็นเพิงหมาแหงน คือ นำไม้ที่มีง่ามยาว 1.5 เมตร ปักไว้หน้าทับ ห่างกัน 2 เมตร นำไม้มาพสดขวางระหว่างทั้งสองง่าม นำไม้ยาวประมาณ 2 เมตร จำนวน 4-5 อัน พาดขวางระยะห่างพอประมาณ ปลายทอดลงด้านหลังทับปักลงดิน ทำมุมประมาณ 45-50 ใช้เถาวัลย์ผูกรอยต่อให้แน่น นำใบไม้วางด้านบนเป็นหลังคา เมื่อสร้างเสร็จนำเสื่อหรือใบไม้ปูพื่นสำหรับนอน ก่อกองไฟไว้ด้านข้าง หากพื้นดินชื้นจะสร้างแคร่แทน ต่อมาซาไกได้รับวัฒนธรรมการสร้างที่พักแบบ “ซาโอ๊ะ” หรือ “ขนำ” แบบคนบ้าน มาใช้สร้างที่พักโดยมี 2 รูปแบบคือ 1) แบบยกพื้น จะสร้างบนพื้นที่ลุ่มๆ ดอนๆ หรือทางน้ำไหล โดยปักเสาสูงขึ้นจากระดับพื้นดิน 2-3 เมตร พื้นปูไม้ไผ่ และฝาบ้านเป็นไม้ไผ่ทุบให้แผ่กว้างผูกด้วยเถาวัลย์และหวาย หลังคามุงด้วยจากป่า หลังคาเป็นจั่วตรงกลางลาดลงด้านข้าง ภายในจะยกระดับแตกต่างกันเพื่อแบ่งสัดส่วนใช้สอย มีบันไดขึ้นลง 2) แบบติดพื้น ทำด้วยไม้กลม ไม้ไผ่ หลังคาทำด้วยจากป่า เช่นเดียวกับแบบยกพื้น แต่ใช้พื้นดินเป็นพื้นที่พัก ภายในมีแคร่ไม้ไผ่ยกพื้นสูง ด้านหน้าประตูเป็นกองไฟ มีการแบ่งเนื้อที่ในการใช้สอย “ซาโอ๊ะ” หรือ “ขนำ” ทุกแบบจะไม่มีบานประตู มีเพียงช่องให้เข้าออก (หน้า 88-89) การแต่งกาย แต่เดิมนั้นซาไกไม่รู้จักการนุ่งผ้า ต่อมาได้มีการพัฒนาโดยการใช้ใบชิงหรือใบมะพร้าวนกคุ้มมาห่อหุ้มปกปิดร่างกายไว้ ต่อมาจึงได้มีการนำเอาต้นโสนมานุ่งแทน ปัจจุบันซาไกส่วนใหญ่ใส่เสื้อผ้าและแต่งกายเหมือนคนบ้าน (หน้า 95, 105)

Folklore

ตำนานเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ซาไกจะเป็นในเรื่องการกำเนิดมนุษย์และกลุ่มชาติพันธุ์ซาไก โดยความเชื่อของซาไก เชื่อว่า ญาเงาะเป็นผู้ให้กำเนิดสิ่งมีชีวิตในโลกมนุษย์ ซึ่งแต่เดิมสิ่งมีชีวิตเป็นสัตว์ชนิดเดียวกันทั้งหมดและอาศัยอยู่ในป่า ต่อมาเกิดไฟไหม้ วิ่งหนีกันไปคนทิศละทางจนกลายเป็นสัตว์ป่าชนิดต่างๆ หรือคนบ้านไป ส่วนซาไกเป็นพวกที่วิ่งเข้าไปในป่าจนกลายเป็นคนป่าและที่ผิวดำ ผมหยิกขอดนั้นก็เกิดมาจากโดนไฟป่าขณะวิ่งหนี (หน้า 29, 60)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ความสัมพันธ์ของกลุ่มซาไกนั้น แต่เดิมไม่ค่อยสัมพันธ์กับกลุ่มอื่นๆ สักเท่าไหร่ ปัจจุบันได้มีการติดต่อกับคนภายนอกมาขึ้น โดยเฉพาะคนบ้าน ซึ่งจะเป็นการติดต่อสัมพันธ์กันในรูปแบบของการว่าจ้าง ซาไกมักจะเป็นผู้ถูกเอารัดเอาเปรียบจากคนบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการให้ค่าแรงที่ต่ำกว่าความเป็นจริง หรือการขายของในราคาที่แพงกว่าปกติ (หน้า 17-20)

Social Cultural and Identity Change

สังคมวัฒนธรรมของซาไกแต่เดิมนั้น เป็นแบบเร่ร่อนใช้ชีวิตอยู่ในป่า พึ่งพาระบบนิเวศ มีความเป็นอยู่แบบง่ายๆ มีความเชื่อในรูปแบบของพวกเขาเอง แต่เมื่อมีคนภายนอกเข้าไปบุกรุกป่ามากขึ้น การเริ่มปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มคนภายนอก ก็ได้ทำให้วิถีชีวิตของซาไกเปลี่ยนไป สังคมและวัฒนธรรมของพวกเขาก็ถูกทำให้เปลี่ยนไปเช่นกัน วัฒนธรรมจากภายนอก ทำให้ซาไกรู้จักที่จะใช้เทคนิค วิทยาใหม่ๆ เรียนรู้ในสิ่งที่ไม่เคยพบเคยเห็น และทำตัวตามแบบคนบ้านมากขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้กำลังครอบงำความเป็นซาไกทำให้วิถีชีวิตรูปแบบ สังคมวัฒนธรรมดั่งเดิมของซาไกกำลังสูญหายไป(หน้า 97-117)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มีข้อมูล

Map/Illustration

ตารางแสดงจำนวนประชากรของซาไกกลุ่มที่อยู่ในสายตระกูลเดียวกันกับกลุ่มเหนือคลองตง (หน้า 15) ตารางแสดงความแตกต่างของกลุ่มชาติพันธุ์บนคาบสมุทรมลายู (หน้า 33) ตารางแสดงคำศัพท์ภาษาซาไก(ภาษากันซิว)และคำแปล (หน้า 38) ตารางแสดงคำศัพท์ภาษาซาไก(ภาษากันซิว)ที่เป็นคำยืมมาจากภาษามาเลย์ (หน้า 43) ตารางแสดงคำเรียกญาติภาษาซาไกและคำแปล (หน้า 52) ตารางแสดงการเปลี่ยนชื่อหลังการแต่งงานของซาไกกลุ่มเหนือคลองตงและกลุ่มเครือญาติ(หน้า 55) ตารางแสดงรายการพืชผักที่ซาไกใช้เป็นอาหารและวิธีปรุง (หน้า 72) ตารางแสดงสินค้าที่ซาไกนำเข้าจากสังคมภายนอก (หน้า 85) ตารางแสดงกิจกรรมการผลิตทางเศรษฐกิจในรอบปี (หน้า 86) ตารางแสดงการแบ่งแรงงานของซาไก (หน้า 87) ตารางแสดงชนิดของพืชที่ทำใช้ยาและสรรพคุณ (หน้า 91) ตารางแสดงชนิดของตัวยาที่ได้จากสัตว์ป่า (หน้า 94) แผนที่ แสดงที่ตั้งจังหวัดตรัง พัทลุง สตูล และสงขลา (หน้า 10) แผนที่แสดงที่ตั้งอาณาเขตติดต่อของอำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง และตำแหน่งที่พักอาศัยของซาไก (หน้า 11) แผนที่แสดงอาณาบริเวณที่ซาไกกลุ่มเหนือคลองตงเร่ร่อนพักอาศัย (หน้า 24) แผนที่แสดงถิ่นที่อยู่ของกลุ่ม รวมไปถึงชนพื้นเมืองดั้งเดิมอื่นที่อาศัยอยู่ในมาเลเซียและมีการติดต่อกับกลุ่มซาไกในภาคใต้ของไทย (หน้า 34) แผนภูมิเช่น แสดงองค์ประกอบของความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มซาไกกับวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม (หน้า 96)

Text Analyst รัฐกานต์ ณ พัทลุง Date of Report 10 เม.ย 2556
TAG มันนิ, มะนิ, ซาไก, ซาแก, คนป่า, ชาวป่า, เงาะ, โอรังอัสสี, เซมัง, ชุมชน, ประชากร, การตั้งถิ่นฐาน, ระบบนิเวศ, สังคม, วัฒนธรรม, ตรัง, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง