สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ญัฮกุ้ร,ชาวบน,คนดง,ภาษา,ประวัติความเป็นมา,ความเชื่อ,ประเพณี,พิธีกรรม,ชัยภูมิ,นครราชสีมา,เพชรบูรณ์
Author อภิญญา บัวสรวง, สุวิไล เปรมศรีรัตน์
Title สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ ญัฮกุ้ร
Document Type หนังสือ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ญัฮกุร เนียะกุร, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) Total Pages 32 Year 2541
Source สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล
Abstract

ภาษา และวัฒนธรรมของญัฮกุ้ร นั้นกำลังจะสูญหาย เนื่องจากอิทธิพลจากเทคโนโลยี การสื่อสาร การศึกษา การคมนาคมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ญัฮกุ้รที่เหลือในปัจจุบันมีจำนวนไม่มากนัก แต่ญัฮกุ้รก็ยังคงมีความภูมิใจในเอกลักษณ์ทางภาษา และวัฒนธรรมของตนเอง และประสงค์ที่จะหาแนวทางในการอนุรักษ์ไว้

Focus

การประมวลเรื่องราวทางชาติพันธุ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ญัฮกุ้ร ด้านความหมาย ถิ่นที่อยู่อาศัย วัฒนธรรมการดำรงชีวิต และโครงสร้างทางสังคม (หน้า 5-31)

Theoretical Issues

ไม่มีข้อมูล

Ethnic Group in the Focus

ญัฮกุ้ร หรือชาวบน หรือคนดง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิมของจังหวัดชัยภูมิ นครราชสีมา และเพชรบูรณ์ ซึ่ง ญัฮกุ้ร แปลว่า คนภูเขา (หน้า 5) นักวิชาการทางภาษาศาสตร์สันนิษฐานว่า น่าจะมีความเป็นไปที่ญัฮกุ้รจะเป็นลูกหลานของมอญโบราณสมัยทวารวดี (หน้า 9)

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาญัฮกุ้ร เป็นภาษาที่อยู่ในตระกูลออสโตรเอเชียติค สาขาย่อยโมนิค ซึ่งมีลักษณะของกลุ่มมอญ-เขมรใต้ และ จากผลงานของนักภาษาศาสตร์ Gerard Diffloth (1984) พบว่าภาษาญัฮกุ้รมีความคล้ายคลึงกับภาษามอญโบราณ ที่ปรากฏอยู่ในจารึกสมัยทวารวดีที่ปรากฏอยู่ในประเทศไทย ดังนั้น จึงเชื่อว่าญัฮกุ้รจะเป็นลูกหลานของมอญโบราณสมัยทวารวดี (หน้า 9) ภาษาญัฮกุ้ร มีพยัญชนะ 26 เสียง และสระ 21 เสียง มีลักษณะน้ำเสียงใหญ่ ทุ้มต่ำ หรือ น้ำเสียงเล็กใส ค่อนข้างสูง ลักษณะทางไวยากรณ์ มีระบบการเติมหน่วยคำเช่นเดียวกับภาษากลุ่มมอญ-เขมรอื่นๆ ลักษณะประโยคมีการจัดเรียงลำดับ เป็นลักษณะ ประธาน-กริยา-กรรม มีเลขและจำนวนนับตั้งแต่ 1-10 ซึ่งต่างจากมอญ-เขมรทั่วไปซึ่งมีแค่ 1-3 หรือ 4 (หน้า 12)

Study Period (Data Collection)

พ.ศ.2541

History of the Group and Community

เขตที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน เดิมเป็นสภาพป่าเขาโดยมีญัฮกุ้รเข้ามาบุกเบิกอยู่อาศัยเป็น กลุ่มแรก ต่อมีการติดต่อกับชนกลุ่มอื่นที่เข้ามาตั้งถิ่นฐาน เช่น กลุ่มไทย - ลาว ที่ญัฮกุ้ร เรียกว่า คนทุ่ง โดยญัฮกุ้รได้เรียนรู้ภาษาไทย และวัฒนธรรมอื่นๆ จากกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าที่ติดต่อ ปัจจุบันมีคนภายนอกเข้ามาอยู่อาศัยมากขึ้นจนทำให้ญัฮกุ้รอยู่ปะปน กับกลุ่มที่เข้ามาทีหลังทำให้ถูกกลืนทั้งภาษาและวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก

Settlement Pattern

เดิมญัฮกุ้รเป็นชนเร่ร่อนถิ่นที่อยู่อาศัยคือพื้นที่แถบเทือกเขาพังเหย มีอาณาเขตคาบเกี่ยวต่อเนื่อง 3 จังหวัด คือ เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ และนครราชสีมาในปัจจุบัน ญัฮกุ้รมีสิทธิ์ในการถือครองที่ดินทำกิน แต่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 ต่อ มาที่ทำกินของญัฮกุ้รต้องถูกยึดไปปลูกป่ายูคาลิปตัส ตาม พ.ร.บ.สวนป่า และได้มีการประท้วงเรื่อยมาจนหยุดปลูกป่ายูคาลิปตัสเมื่อปี พ.ศ. 2533 และได้สิทธิที่ดินคืน เมื่อ พ.ศ. 2539

Demography

จากข้อสังเกตของผู้วิจัย มีเพียงไม่กี่หมู่บ้านในจังหวัดชัยภูมิ นครราชสีมา และเพชรบูรณ์ ที่มีพูดภาษาญัฮกุ้รชัดเจน คนรุ่นเด็กประมาณ 20 ปี จะเริ่มพูดไม่ได้ และเปลี่ยนแปลงเป็นภาษาไทย(โคราช) และภาษาลาว ดังนั้น การระบุจำนวนประชากรจึงทำได้ยาก แต่อาจประมาณได้ราว 4,000-6,000 คน (หน้า 5) ญัฮกุ้ร มีอาชีพทำไร่ พืชที่ปลูกได้แก่ พริก ข้าวโพด ลูกเดือย มันสำปะหลัง ปอ และยาสูบ พบว่า ในสมัยก่อน ญัฮกุ้ร มีการติดต่อกับคนภายนอกอื่นๆ คือ กลุ่มไทย ลาวหรือจีน ที่เรียกว่า คนทุ่ง และได้รับการเรียนรู้ การปลูกพืชอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น ข้าวหยอด ยาสูบ และต้นพลู เป็นต้น การรับจ้างต่างๆ ก็เป็นอีกอาชีพที่หนุ่มสาวรุ่นใหม่ทำ ได้แก่ ก่อสร้าง ทำไร่ ทำนา ตัดอ้อย รวมถึงการมาทำงานในกรุงเทพ ญัฮกุ้รมีความรู้เกี่ยวกับทำยาจากสัตว์ ซึ่งบอกเล่าความรู้สืบต่อกันมา นอกจากนี้ อาชีพการหัตถกรรมจักสานเป็นอาชีพเสริมของญัฮกุ้ร ส่วนใหญ่จะเป็นงานของผู้ชายทั้งหมด เช่น กระบุง ตะกร้า บุ้งกี่ เป็นต้น ส่วนผู้หญิงจะทำเสื่อหวาย เรียกว่าอึงฮ้าร(ทอเสื่อ) ซึ่งมีลักษณะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของหญิงญัฮกุ้ร (หน้า 16) การล่าสัตว์ก็เป็นอาชีพดั้งเดิมของญัฮกุ้ร

Economy

ไม่มีข้อมูล

Social Organization

ระบบเครือญาติให้ความสำคัญทั้งฝ่ายหญิงฝ่ายชายและมีลำดับชั้นตามภาษาเรียก ยก ตัวอย่างเช่น เปญ - ตาหรือปู่, ยอง – ยายหรือย่า, จวาย – ลุง, ชมอม – ป้า, พ่ะ-พ่อ, แม่ะ/โอง - แม่ เป็นต้น ญัฮกุ้รนั้นให้ความสำคัญกับผู้ใหญ่ ให้การเคารพนับถือ และรับฟังความคิดเห็น (หน้า13)

Political Organization

ส่วนการปกครองจะมีผู้ใหญ่บ้านคอยดูแลประสานงานกับทางราชการ และเป็นผู้ประชุมชาวบ้าน และกรรมการหมู่บ้านทั้งนี้ ผู้หญิงญัฮกุ้รจะเป็นผู้มีบทบาทเด่นในงานปกครองโดยเป็นกรรมการให้ความเห็นชอบในการดำเนินการต่างๆ ของหมู่บ้าน (หน้า 13)

Belief System

ญัฮกุ้รจะนับถือผีตีนเดียวเป็นบรรพบุรุษ และญัฮกุ้รจะนับถือผีฝ่ายหญิงเวลาแต่งงานฝ่ายชายจะย้ายเข้าบ้านฝ่ายหญิง หญิงญัฮกุ้รมีหน้าที่เป็นผู้ทำพีธีกรรมต่างๆ เช่น การผูกมือทำขวัญ ทำพิธีสะเดาะเคราะห์ เป็นหมอดู เป็นหมอเรียกขวัญ และเป็นคนทรง ส่วนผู้ชายจะทำในส่วนของพิธีไล่ผี หมอยา และพิธีทางพุทธศาสนา ปัจจุบันประเพณีส่วนใหญ่เป็นประเพณีตามพระพุทธศาสนา และยังคงยึดฮีต 12 คอง 14 ด้วยผู้วิจัยได้ทำการสอบถามถามเกี่ยวกับพิธีกรรมที่มีแต่ดั้งเดิมแต่ปัจจุบันเลือนหายไปแล้ว ได้แก่ พิธีเกิด งานศพ การเลี้ยงผีปู่ตา และพิธีเลือกพื้นที่เพาะปลูกพืชไร่ (หน้า 13,20)

Education and Socialization

ญัฮกุ้รนั้นมีการเรียนรู้หลายลักษณะ เช่น การติดต่อสื่อสารญัฮกุ้รได้เรียนรู้ภาษาไทย การปลูกพืช ศาสนา และวัฒนธรรมอื่นๆ จากกลุ่ม คนทุ่ง ที่ติดต่อเรียนรู้พิธีกรรม ยารักษาโรค ภาษาญัฮกุ้ร เครื่องแต่งกาย จากการสั่งสอนบอกเล่าปากต่อปาก เรียนรู้การป้องกันตัวจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากการที่เสือยีบุกปล้นหมู่บ้านถึงสามครั้งจึงให้เกิดการไม่ไว้ใจคนแปลกหน้า (หน้า 19)

Health and Medicine

ญัฮกุ้รมีความเชื่อในการรักษาพยาบาลโดยการใช้สมุนไพรจากป่า และใช้พิธีทางความเชื่อเข้ามารักษา เช่น วิธีเสี่ยงทายว่าหายหรือไม่ หรือวิธีการเสกเป่า นอกจากนี้ยังมีความเชื่อเรื่องดวงชะตาเมื่อไม่สบายก็จะไปหาหมอดูเพื่อตรวจดวงและทำพิธีสะเดาะเคราะห์ และเชื่อว่าผีเป็นสาเหตุของโรคร้ายต่างๆ

Art and Crafts (including Clothing Costume)

แต่เดิมญัฮกุ้รเป็นกลุ่มชนเร่ร่อน ที่อยู่อาศัยจึงมีลักษณะเป็นเพิงมากกว่าเป็นบ้าน มีเสาเรือนเล็กเท่ากับท่อนแขน มีหลังคาคลุมเท่ากับใต้ถุนเตี้ยๆ ในสมัยต่อมานั้นจึงพัฒนามาเป็นเรือนเครื่องผูก ซึ่งใต้ถุนสูง หลังคามุงด้วยตับหญ้าคา (หน้า 6) ญัฮกุ้รมีการแต่งกายเป็นเอกลักษณ์จะใส่เสื้อสีดำ น้ำเงินเข้ม แขนกุด เรียกว่า พ็อกเต็ย และมีเสื้อผ้าที่นำผ้าผืนจากตลาดมาตัดเองเรียกว่า เสื้อคราม ส่วนผู้ชายมีวิธีโจงกระเบนที่เป็นเอกลักษณ์ 3 แบบ คือ โจงกระเบนหางแย้ โจงกระเบนหางช้าง และโจงกระเบนลอยชาย (หน้า 24-25) ทางด้านอาหารการกินส่วนใหญ่จะมีรสจัด และใช้มือเปิบข้าว มีทั้งข้าวเจ้า และข้าวเหนียวที่เป็นอาหารหลัก หญิง ตั้งครรภ์ไม่มีข้อห้ามการกิน แต่หลังคลอดจะมีแนะวิธีการกินเพื่อให้เด็กมีพัฒนาการที่ดี เช่น กินขนุน หัวปลี จะทำให้ มีน้ำนมมาก นอกจากนี้ยังมีข้อห้ามในการกินเพื่อป้องกันโรค เช่น ผู้ป่วยทุกโรคห้ามกินของเปรี้ยว หวานทุกชนิด และกล้วยหอม หากเป็นตุ่มผดผื่นห้ามกินสัตว์บก ด้านการละเล่นพื้นบ้าน มีหลายอย่างได้แก่ สะบ้า ตีกลองน้ำ มีการรำ เช่น รำถวายพระ รำถวายมือ มีเครื่องดนตรี คือ ตะโพน หรือกลองโทน มีการขับเพลงที่เป็นเอกลักษณ์ เรียกว่า ป้ะ เร่ เร่ หรือภาษาไทยเรียกว่า กระแจ้ะ (หน้า 28)

Folklore

ญัฮกุ้รมีความเชื่อว่าผีตีนเดียวเป็นบรรพบุรุษและเชื่อเรื่องดวงชะตาว่าถ้ามีโรคร้ายก็คือมีต้นเหตุเกิดจากผี (หน้า 29)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ในสมัยก่อนญัฮกุ้รมีการติดต่อกับคนภายนอกอื่นๆ คือ กลุ่มไทย ลาวหรือจีน ที่พวกเขาเรียกว่า “คนทุ่ง” และได้รับการเรียนรู้ การปลูกพืช จากการติดต่อค้าขายกันต่อมา กลุ่มคนอื่นที่เข้ามาทำสัมปทานป่าไม้ ปี 2508 ทำให้เกิดถนนราดยาง ปี 2533 นำความเปลี่ยนแปลงมาสู่ญัฮกุ้ร นอกจากนี้ยังมีข้าราชการที่เข้ามาในฐานะนักปกครอง จากนี้เองที่ทำให้ญัฮกุ้รต้องเข้ามาอยู่ในระบบกฏหมายต่างๆ และก็ได้สิทธิในการครอบครองที่ดินทำกินด้วย (หน้า 19)

Social Cultural and Identity Change

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมของญัฮกุ้รจากเดิมซึ่งเป็นกลุ่มชนเร่ร่อนนั้น มีสาเหตุสำคัญดังนี้ 1. เกิดขึ้นจากการต้องติดต่อคนภายนอก ได้แก่ กลุ่มไทย ลาวหรือจีนที่เรียกว่า คนทุ่ง การติดต่อนี้ทำให้ญัฮกุ้ร ได้เรียนรู้การปลูกพืช ภาษาไทย รวมทั้งพระพุทธศาสนาด้วย 2. เกิดขึ้นจากการเข้ามาของข้าราชการในฐานะ ผู้ปกครองและผู้ทำสัมปทานป่าไม้ทำให้สภาพป่าเขาลดน้อยลง ญัฮกุ้รต้องเปลี่ยนวิถีชิวิตเพื่อความอยู่รอด หนุ่มสาวต้องออกมารับจ้างทำงาน ต้องพูดภาษาไทยมากขึ้น และก็ได้รับอิทธิพลจากโลกภายนอกมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ปัจจุบัน ภาษาและวัฒนธรรมของญัฮรกุ้รนั้นกำลังอยู่ในความเสี่ยงที่จะสูญหาย ดังนั้นจึงมีประเด็นที่ผู้วิจัยให้ข้อสังเกตในการอนุรักษ์ว่าเป็นเอกลักษณ์ของญัฮกุ้ร ได้แก่ 1. ภาษาญัฮกุ้ร 2. การทอเสื่อที่เป็นเอกลักษณ์ของญัฮกุ้ร ที่เรียกว่า อึงฮ้าร (หน้า 16-17) 3.การแต่งกายแบบญัฮกุ้ร (หน้า 24-25)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มีข้อมูล

Map/Illustration

แผนที่การกระจายตัวของญัฮกุ้ร (หน้า 5) รูปภาพ ลักษณะภูมิประเทศ และที่อยู่อาศัย (หน้า 6-8) อาชีพและการมาหากิน (หน้า 14-17) ความเชื่อประเพณีวัฒนธรรม (หน้า 20-23) การแต่งกาย (หน้า 24-25) อาหาร (หน้า 26-28) สุขภาพ การรักษาโรค (หน้า 29) การละเล่นพื้นบ้าน (หน้า 30-31)

Text Analyst ธิติพันธุ์ มกร์ดารา Date of Report 09 เม.ย 2556
TAG ญัฮกุ้ร, ชาวบน, คนดง, ภาษา, ประวัติความเป็นมา, ความเชื่อ, ประเพณี, พิธีกรรม, ชัยภูมิ, นครราชสีมา, เพชรบูรณ์, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง