สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ขมุ,ภาษา,การแพทย์,พิธีกรรม,การรักษาโรค,สาธารณสุข,เชียงราย,น่าน
Author สุวิไล เปรมศรีรัตน์
Title วิธีป้องกัน รักษาโรคแบบพื้นบ้านชาวขมุ และสนทนาสาธารณสุขการแพทย์ไทย - ขมุ
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity กำมุ ตะมอย, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน) Total Pages 234 Year 2533
Source สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล
Abstract

ขมุ หรือที่รัฐบาลลาวเรียกว่า “ลาวเทิง” เป็นชนกลุ่มน้อยกลุ่มใหญ่ที่สุดในประเทศลาว โดยมากตั้งถิ่นฐานในเขตหลวงพระบาง เชียงขวาง พงสาลี น้ำทา ปากแบง และห้วยทราย ขมุในประเทศไทยพบมากทางภาคเหนือโดยเฉพาะบริเวณชายแดนจังหวัดเชียงราย และน่าน ส่วนที่ติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว นอกจากนี้ยังพบว่ามีการตั้งถิ่นฐานกระจัดกระจายอยู่ในจังหวัดต่างๆในภาคอีสาน และภาคกลาง เช่น จังหวัดหนองคาย จังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดอุทัยธานี เป็นต้น ขมุส่วนใหญ่นับถือผีโร้ย ศาสนาพุทธ และศาสนาคริสต์ ตามลำดับ โดยผีที่เกี่ยวข้องในชีวิตของขมุ ได้แก่ ผีป่า ผีบ้าน ผีน้ำ ผีหมู่บ้าน และเชื่อว่าทุกบ้านจะต้องมีผีบ้านโร้ยก้างซึ่งสถิตย์ในบริเวณเตาหุงข้าวภายในเรือน วิธีการป้องกันและรักษาโรคแบบพื้นบ้านของขมุ มี 2 วิธีการสำคัญได้แก่ การใช้พืชสมุนไพรพื้นบ้าน และการประกอบพิธีกรรมเพื่อรักษาการเจ็บป่วย พืชสมุนไพรพื้นบ้านที่ขมุนิยมนำมาป้องกัน และรักษาอาการเจ็บป่วยต่างๆ อาทิ “ตู้ด ลเมิน” หรือชุมเห็ดเทศ ใช้ใบตำหรือซอยต้มดื่มเพื่อให้ระบบหมุนเวียนโลหิตดี ผิวพรรณดี และทาแก้โรคผิวหนัง เช่น หิด กลาก เกลื้อน ใช้รากต้มดื่มแก้ปวดศีรษะ ส่วนการประกอบพิธีกรรมเพื่อรักษาโรคของขมุ มีลักษณะของการรักษาโรคที่เน้นเรื่องของจิตใจ อันเกี่ยวพันกับสิ่งเหนือธรรมชาติ เพื่อสร้างความรู้สึกสบายใจ สร้างกำลังใจ และการเน้นในเรื่องของสัญลักษณ์ โดยการประกอบพิธีกรรมจะมีการใช้อุปกรณ์ กิริยาท่าทาง และถ้อยคำอันแสดงลักษณะของสัญลักษณ์ เช่น การปัก “เฉลว” หรือ “ตแล้” เพื่อเป็นเขตหวงห้ามสำหรับภูตผีหรือสัตว์มาเบียดเบียน การกล่าวคาถาก็ถือเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่แสดงถึงความรู้สึกและความตั้งใจอันแน่วแน่ที่จะจัดทำสิ่งต่างๆ ให้ถูกต้องเพื่อสื่อกับสิ่งเหนือธรรมชาติ อันถือเป็นการทำให้เกิดการผลักดันทางอารมณ์ เกิดพลังจิตที่จะต่อสู้อาการเจ็บป่วยนอกจากนี้ยังรวมถึงการสร้างพลังจิตเพื่อแก้ไขเรื่องร้ายให้กลายเป็นดีอันเป็นการคลายอารมณ์ได้อีกทางหนึ่ง การประกอบพิธีกรรมเพื่อรักษาความเจ็บป่วย มีสิ่งสำคัญที่ใช้ในพิธี คือ การใช้สัตว์เพื่อเซ่นไหว้ผี ส่วนการวินิจฉัยสาเหตุของการเจ็บป่วยและกำหนดวิธีการรักษา เป็นหน้าที่ของหมอดู(ม้อ กแน้ะ) ซึ่งจะเป็นผู้ติดต่อกับผี และทำนายสาเหตุของอาการเจ็บป่วย

Focus

ความเชื่อ พิธีกรรมในการป้องกัน และรักษาผู้ป่วยแบบพื้นบ้านชาวขมุ ตลอดจนการสนทนาเกี่ยวกับด้านสาธารณสุข

Theoretical Issues

ไม่มีข้อมูล

Ethnic Group in the Focus

ขมุ เป็นชื่อเรียกตัวเอง รัฐบาลลาวเรียกขมุว่า “ลาวเทิง” พื้นที่ศึกษาอยู่ที่ บ้านห้วยเย็น ตำบลเวียง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย บ้านห้วยมอย และบ้านน้ำปาน ตำบลชนแดน อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน (หน้า คำนำ)

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาขมุ หรือภาษาลาวเทิง จัดอยู่ในตระกูลออสโตรเอเชียติก สาขามอญ – เขมร ในกลุ่มย่อยที่เรียกว่า “คมุคอิ” ภาษาขมุที่พูดในท้องถิ่นต่างๆจะมีสำเนียงที่แตกต่างกันเล็กน้อย ภาษาขมุ ประกอบด้วยพยัญชนะ 21 เสียง สระ 22 เสียง และมีน้ำเสียง 2 ลักษณะคือ พยัญชนะต้น 21 เสียง และพยัญชนะท้าย 15 เสียง ลักษณะพยางค์ของภาษาขมุส่วนมากเป็นคำพยางค์เดียว สองพยางค์ และสามพยางค์ ตามลำดับ น้ำเสียงในภาษาขมุสามารถแยกได้เป็น 2 ประเภทหลักคือ 1)เสียงทุ้ม ใหญ่ นุ่ม ช้า ต่ำ 2)เสียงแรง เร็ว ชัด เล็กและสูง รูปแบบทำนองเสียงภาษาขมุจะเป็นเสียงตก โดยเริ่มที่เสียงกลางระดับ และยกสูงขึ้นในตอนท้ายแล้วจึงตกลง เป็นประโยคที่มีเสียงสูง – ตก หรือตกที่พยางค์ท้ายของประโยค ลักษณะการเรียงลำดับคำในประโยค เป็นลักษณะ ประธาน กิริยา กรรม เช่น “อิ เปอะ มัฮ” เรากินข้าวแล้ว “นอ ตัร ตา ยุ้” เขาวิ่งไปในป่า เป็นต้น แต่ทั้งนี้ก็ไม่เคร่งครัดเสมอไป (หน้า 11,75 - 81) ตัวอย่างการสนทนาสาธารณสุขและการแพทย์ ภาษาไทย ขมุ เช่น “จือ เมิ้ฮ” ชื่ออะไร “กาง กุ้ง ยัด ตา เมอะ” บ้าน/หมู่บ้านอยู่ที่ไหน “จุ้ นัก กเมอะ“ เจ็บที่ไหน “เอื้อก ย้า เป้” สูบยาไหม “กัก มุฮ อัฮ จึรงาย ตา ตโร้ง” คัดจมูก มีเสมหะในลำคอ “คดิ้ โฮ้จ เปอะ ย้า เมิ้ฮ เป้ ต้า” ตอนนี้กินยาอะไรอยู่หรือเปล่า “แยะ เปอะ ย้า โฮ้จ รุน เอ้ด เป้” กินยาแล้ว รู้สึกค่อยยังชั่วไหม “อัม เอื๊อก กตึง อ้วน วาร” น้ำดื่มต้องต้มให้เดือดก่อน “ย็อฮ ตา โรง ม้อ” ไปโรงพยาบาล “นัม ปา เจ เปอะ มัฮ ปา รา ติ้ เป้” ก่อนกินอาหาร ล้างมือให้สะอาดก่อนหรือไม่ “อ้วน ก้อน ปุ เมิ้ฮ” ให้ลูกกินนมอะไร “ปุ ปุ มะ เต แซ้ด” กินนมแม่อย่างเดียว เป็นต้น

Study Period (Data Collection)

พ.ศ. 2531 – 2533

History of the Group and Community

“ขมุ” หรือ “คมุ้” เป็นชนกลุ่มน้อยกลุ่มใหญ่ที่สุดในประเทศลาว โดยมากตั้งถิ่นฐานในเขตหลวงพระบาง เชียงขวาง พงสาลี น้ำทา ปากแบง และห้วยทราย ขมุในประเทศไทยพบมากทางภาคเหนือโดยเฉพาะบริเวณชายแดนจังหวัดเชียงราย และน่าน ส่วนที่ติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว นอกจากนี้ยังพบว่ามีการตั้งถิ่นฐานกระจัดกระจายอยู่ในจังหวัดต่างๆในภาคอีสาน และภาคกลาง เช่น จังหวัดหนองคาย จังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดอุทัยธานี เป็นต้น (หน้า 11)

Settlement Pattern

เรือนขมุเป็นเรือนยกพื้นสูง มีใต้ถุนสำหรับเก็บฟืนและเลี้ยงสัตว์ โครงสร้างหลักของเรือนเป็นไม้เนื้อแข็ง ผนังเรือนมุงด้วยไม้ไผ่สับ(แฝก) หลังคามุงด้วยแฝกหรือใบจาก กลางเรือนมีเตาไฟสำหรับประกอบอาหารและผิงไฟ (หน้า 13)

Demography

ขมุในประเทศลาวมีมากกว่าหนึ่งแสนคน ส่วนขมุในประเทศไทยมีประมาณ 6,000 คน (หน้า 11)

Economy

ขมุมีอาชีพทำการเกษตรเป็นหลัก พืชส่วนใหญ่ที่ปลูก ได้แก่ ข้าว เผือก มัน และพืชผักสวนครัว การปลูกข้าวนิยมปลูกแบบไร่เลื่อนลอยและไร่หมุนเวียน โดยทั้งนี้ส่วนใหญ่ปลูกเพื่อบริโภคเป็นหลัก ส่วนการปลูกพืชไร่และพืชสวนมีเพียงเล็กน้อย อาทิ ข้าวโพด ถั่ว กล้วย ขนุน มะขาม มะม่วง นอกจากนี้ยังมีการเลี้ยงสัตว์ เช่น หมู ไก่ แพะ วัว และควาย ซึ่งส่วนใหญ่จะเลี้ยงไว้ใช้ในการประกอบพิธีกรรมเป็นหลัก ขมุมีระบบเศรษฐกิจที่ขึ้นอยู่กับความสมดุลระหว่างที่ดิน สัตว์ป่า และป่าไม้ เนื่องจากที่ดินเป็นแหล่งสำหรับเพาะปลูกพืชสำหรับบริโภค สัตว์ป่าเป็นแหล่งอาหารโปรตีน ส่วน ป่าไม้ ถือเป็นแหล่งรายได้ เนื่องจากการขายของป่า เช่น ลูกหวาย และตาว รวมถึงการขายไม้ในบางชุมชน (หน้า 16 - 17)

Social Organization

ขมุมีสังคมที่จำกัดอยู่ในระดับหมู่บ้านโดยแต่ละหมู่บ้านมักจะแยกออกเป็นอิสระ มีการติดต่อสัมพันธ์กันระหว่างชุมชนที่อยู่ใกล้เคียง การแบ่งหน้าที่ในครัวเรือนนั้น ผู้หญิงทำหน้าที่เป็นแม่บ้าน มีหน้าที่หลัก เช่น ตำข้าว ตักน้ำ ตัดฟืน หาพืชผักสำหรับประกอบอาหาร ทำสวน ปลูกผักสวนครัว เลี้ยงสัตว์ และทำไร่ ส่วนผู้ชาย มีหน้าที่ เข้าป่าล่าสัตว์ ทำกับข้าว ทำจักสาน ฟันไร่ ปลูกข้าวไร่ และประกอบพิธีกรรมต่างๆ ร่วมกับผู้สูงอายุ ส่วนเด็กๆ จะเล่นอยู่บ้าน ช่วยพ่อแม่ดูแลน้อง เลี้ยงสัตว์ ตักน้ำ และตำข้าว (หน้า 17)

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

ขมุนับถือผีโร้ย โดยผีที่เกี่ยวข้องในชีวิตของขมุ ได้แก่ ผีป่า ผีบ้าน ผีน้ำ ผีหมู่บ้าน โดยเชื่อว่าทุกบ้านจะต้องมีผีบ้านโร้ยก้างซึ่งสถิตย์ในบริเวณเตาหุงข้าวภายในเรือน พิธีต่างๆเกี่ยวกับการเลี้ยงผีของขมุได้แก่ การเลี้ยงผีข้าว พิธีรักษาผู้ป่วย พิธีเลี้ยงผีหมู่บ้าน พิธีเลี้ยงผีบรรพบุรุษ พิธีเลี้ยงผีแก้ความผิดต่างๆเพื่อป้องกันเหตุร้าย ในพิธีเลี้ยงผีและขึ้นบ้านใหม่ จะต้องทำ “ตแล้” ไว้ในทิศทั้งสี่ของหมู่บ้าน โดยแต่ละทิศจะมี “ตแล้” อยู่สองข้างทาง ถ้าเป็นหมู่บ้านที่นับถือศาสนาคริสต์จะไม่มีพิธี (หน้า 13,26) ขมุเชื่อว่าเหตุที่เกิดการเจ็บป่วยเกิดจากสาเหตุสำคัญ 2 ประการคือ สาเหตุจากธรรมชาติ และสาเหตุจากสิ่งที่มีอำนาจเหนือธรรมชาติ (หน้า 27) ขมุมีพันธุ์พืชบางชนิดที่ใช้ในพิธีกรรมเลี้ยงผีและกันผี เช่น “ตู้ด ซึมฮ้ด” หรือสาระแหน่ “ตู้ด ปึรซั้ม” หรือ ผักไผ่ สำหรับใส่ลาบเลือดในพิธีซู้ แก้ป่วย ส่วน “ตู้ด จึงเกี้ยร ซังซ้าย” เป็นขมิ้นชนิดหนึ่งสีแดงปนม่วง ใช้หัวกินเปล่า แก้ถูกคุณไสย เป็นต้น (หน้า 30)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

วิธีการป้องกันและรักษาโรคแบบพื้นบ้านของขมุ มี 2 วิธีการสำคัญได้แก่ การใช้พืชสมุนไพรพื้นบ้าน และการประกอบพิธีกรรมเพื่อรักษาการเจ็บป่วย พืชสมุนไพรพื้นบ้านที่ขมุนิยมนำมาป้องกัน และรักษาอาการเจ็บป่วยต่างๆ อาทิ “ตู้ด ลเมิน” หรือชุมเห็ดเทศ ใช้ใบตำหรือซอยต้มดื่มเพื่อให้ระบบหมุนเวียนโลหิตดี ผิวพรรณดี และทาแก้โรคผิวหนัง เช่น หิด กลาก เกลื้อน ใช้รากต้มดื่มแก้ปวดศีรษะ “ฮอม เตียม” หรือกระเทียม กินหัว แก้ไอ และใช้ทาแก้กลากเกลื้อน “ตู้ด ตร้ะ” หรือต้นย่านาง ใช้รากแห้งต้มดื่ม แก้ไข้ “ตู้ด กัม ลัวะ” ใช้หัวต้มน้ำอาบ แก้ผดผื่นคันตามร่างกาย “ตู้ด ซึมนาร” ใช้รากหรือเปลือก หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ต้มดื่มแก้โรคมะเร็ง “ตู้ด จึงเกี้ยร เอ้ก” หรือขมิ้นดำ ใช้เหง้าเคี้ยวกินแก้ปวด ท้องบิด และแก้เจ็บหน้าอก “ตู้ด รางจ้าก” ใช้ลำต้นถากเปลือกออกต้มจนเข้มข้น ดื่มแก้ปวดท้อง และเจ็บหลัง เป็นต้นส่วนการประกอบพิธีกรรมเพื่อรักษาโรคของขมุ มีลักษณะของการรักษาโรคที่เน้นเรื่องของจิตใจ อันเกี่ยวพันกับสิ่งเหนือธรรมชาติ เพื่อสร้างความรู้สึกสบายใจ สร้างกำลังใจ และการเน้นในเรื่องของสัญลักษณ์ โดยการประกอบพิธีกรรมจะมีการใช้อุปกรณ์ กิริยาท่าทาง และถ้อยคำอันแสดงลักษณะของสัญลักษณ์ เช่น การปัก “เฉลว” หรือ “ตแล้” เพื่อเป็นเขตหวงห้ามสำหรับภูตผีหรือสัตว์มาเบียดเบียน การกล่าวคาถาก็ถือเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่แสดงถึงความรู้สึกและความตั้งใจอันแน่วแน่ที่จะจัดทำสิ่งต่างๆให้ถูกต้องเพื่อสื่อได้กับสิ่งเหนือธรรมชาติ อันถือเป็นการทำให้เกิดการผลักดันทางอารมณ์ และการคลายอารมณ์ เกิดพลังจิตที่จะต่อสู้อาการเจ็บป่วยนอกจากนี้ยังรวมถึงการสร้างพลังจิตเพื่อแก้ไขเรื่องร้ายให้กลายเป็นดีอันเป็นการคลายอารมณ์ได้อีกทางหนึ่ง วิธีป้องกันความเจ็บป่วยของขมุใช้หลักปฏิบัติ อันมีพื้นฐานจากความเชื่อของกลุ่มชน เช่น ไม่ประพฤติผิดธรรมเนียม ถ้ามีโรคระบาดในหมู่บ้านอื่น ห้ามคนที่เป็นโรคเข้ามาในหมู่บ้าน เป็นต้น การประกอบพิธีกรรมเพื่อรักษาความเจ็บป่วยนี้ มีสิ่งสำคัญที่ใช้ในพิธี คือ การใช้สัตว์เพื่อเซ่นไหว้ผี หมอดูจะเป็นผู้เลือกชนิดและเพศของสัตว์ การเซ่นไหว้ด้วยสัตว์ขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่นั้น จะเซ่นไหว้ตามความสำคัญและความรุนแรงของอาการเจ็บป่วย และถือเป็นการแสดงถึงความแน่วแน่ที่ต้องการอ้อนวอนร้องขอจากผี นอกจากนี้ยังมีสัตว์บางชนิดที่ใช้เป็นยา เช่น ใช้ มะต็องเอาะต็องเลิก หรือ แมลงใบ้ นำมาบดเพื่อทาแก้ปวดสีข้าง ปิ้งอึนตาก หรือตัวทากให้สุกกินแก้ม้ามโต นำวากหรือไส้เดือนแช่น้ำดื่ม แก้โรคผดผื่น เป็นต้น ส่วนการวินิจฉัยสาเหตุของการเจ็บป่วยและกำหนดวิธีการรักษา เป็นหน้าที่ของหมอดู(ม้อ กแน้ะ) ซึ่งจะเป็นผู้ติดต่อกับผี และทำนายสาเหตุของอาการเจ็บป่วย ปัจจุบันการประกอบพิธีกรรมของขมุเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยมีหลายพิธี เช่น พิธีผูกข้อมือ (ตุ้กติ้) และพิธีเรียกขวัญ (ซู้รมาล) ถ้ามีอาการเจ็บป่วย ที่เกิดมาจากขวัญหนี (ตามคำทำนายของหมอดู)จะต้องประกอบพิธีพิธีเรียกขวัญ และรับขวัญเพื่อความเป็นสิริมงคลโดยการผูกข้อมือด้วยสายสิญจน์และการแต้มสีตามใบหน้าของผู้ป่วยและญาติสนิท พิธีเลี้ยงผีด้วยไก่และหมู (ซู้ฮเอี้ยร ซู้เซื้อง) เป็นพิธีกรรมเพื่อการบำบัดความเจ็บป่วยที่มีอาการค่อนข้างหนัก ในพิธีมีการฆ่าหมูและไก่เซ่นไหว้ผีเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วย พิธีฆ่าควาย (ซังพ้าน ตร้าก) หรือพิธีเลี้ยงผีด้วยควาย ถือเป็นพิธีขั้นสูงสุดในบรรดาพิธีรักษาอาการเจ็บป่วยของขมุ มีวัตถุประสงค์สำคัญ 2 ประการคือ เพื่อรักษาผู้ป่วยที่มีอาการหนักหรือเรื้อรังเป็นเวลานาน รักษาด้วยวิธีใดก็ไม่หาย เพื่อแก้การผิดผี (กลิฮ กาง) เพื่อป้องกันโรคภัยไม่ให้ลุกราม ใช้ในกรณีที่เกิดความไม่สงบสุขขึ้นในหมู่บ้านและในกรณีที่ผู้คนในบ้านเจ็บป่วยต่อเนื่องจากคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่ง หรือเจ็บพร้อมกันหลายราย โดยพิธีทั้งสองมีความต่างกันเล็กน้อยคือ เวลาทำขวัญจะท่องบ่นคาถาต่างกัน มีการสร้างบ้านในป่าละเมาะใกล้หมู่บ้าน สำหรับประกอบพิธีกรรมและเพื่อให้ผู้ป่วยนอนในบ้านที่สร้างขึ้น (หน้า 27 – 58,70)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ขมุนิยมสวมเสื้อผ้าสีดำหรือสีคล้ำเข้ม การแต่งกายของสตรีบ้านห้วยเย็น และบ้านกห้วยเอียน อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย นิยมนุ่งซิ่นลายลงแบบลาว สีคล้ำ เสื้อสีดำ และโพกผ้าสีแดง ส่วนขมุบ้านน้ำปาน ห้วยมอย น้ำหลุ ห้วยสะแตง อำเภอทุ่งช้าง และอำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน นิยมนุ่งซิ่นลายขวางแบบไทยลื้อ สวมเสื้อผ้าหนาสีน้ำเงินเข้ม ตัวสั้น ตกแต่งด้วยผ้า ด้ายสีและเหรียญเงิน ใส่กำไลเงินที่คอ กำไลข้อมือ และโพกผ้าสีขาว เด็กรุ่นใหม่นิยมแต่งกายแบบคนเมือง สำหรับเครื่องแต่งกายบุรุษปัจจุบันไม่ต่างจากคนเมือง แต่ในอดีต นุ่งผ้าเตี่ยว เรียกว่า “เมือร” ขมุทั้งบุรุษและสตรีนิยมสักตามแขนและขา สตรีนิยมเจาะหูเป็นรูกว้าง สำหรับเสียบดอกไม้ประดับ และนิยมฟันสีดำอันเนื่องมาจากการเคี้ยวหมาก (หน้า 13 - 16) เครื่องดนตรีของขมุ ในบางเขตมีการเล่นแคน เล่น “โร้ง” ซึ่งทำจากเหรียญทองแดง ใช้ปากเป่าและมือดีด เป่าปี่ ที่ทำด้วยไม้ซางหรือทองเหลือง ใช้ปากเป่าพร้อมทั้งมือดีด มีเสียงต่ำสูง เสียงดังคล้ายแมลงหวี่แมลงวัน เป่าขลุ่ย เรียกว่า ซู้ล และตรึเวิล ตีฆ้องทองเหลือง มีไม้หุ้มผ้า ตีกลอง ที่มีลักษณะคล้ายม้านั่งกลม ขึงด้วยหนังวัวหรือควาย แคนและปี่ใช้เป่าเวลาไปเที่ยวสาวยามค่ำคืน มีการร้องคลอไปด้วย สำหรับฆ้องและกลองใช้ในงานแต่งงานหรือขึ้นบ้านใหม่ ส่วน “โท้ร” ทำจากไม้ไผ่ เป็นเครื่องดนตรีที่สตรีใช้เล่นในยามว่าง (หน้า 16) ขมุรับประทานข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก อาหารส่วนใหญ่เป็นพืชผักและสัตว์ป่า เช่นเขียด งู หนู กิ้งก่า ส่วนหมู ไก่และสุนัข จะใช้เฉพาะในพิธีกรรม สำหรับวิธีการประกอบอาหาร โดยมากจะเป็นการต้มหรือทำแกงผักต่างๆ อาหารจานโปรดของขมุคือ “ปลาหมก” ซึ่งเป็นการนำปลาตัวเล็กไปย่างให้สุกแล้วตำจนละเอียด เติม มะพร้าว น้ำปลา นอกจากนี้ยังมีการประกอบอาหารด้วยวิธี“หลาม” คือการนำผักชนิดต่างๆไปต้มในกระบอกไม้ไผ่ใส่เกลือและพริกแห้ง คนพอสุก ขมุเป็นกลุ่มชนที่ชอบการดื่มเหล้า(ปูจ) เวลารับประทานอาหารจะมีเหล้าเคียงเสมอ นอกจากนี้เหล้ายังมีบทบาทสำคัญนอกจากจะสำหรับต้อนรับแขกผู้มาเยือนแล้ว ยังใช้ในการไหว้ผีไร่ ผีนา และผีเรือนหรือผีที่ทำให้ชาวบ้านหายจากอาการเจ็บป่วยอีกด้วย (หน้า 17 - 22)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ความสัมพันธ์กับกลุ่มอื่นของขมุจะเกี่ยวกับการแก้ปัญหาความขาดแคลนอาหารและความยากจน ขมุจะนำของไปแลกเปลี่ยนกับคนนอกเผ่า รับจ้างตัดไม้ และออกหางานนอกหมู่บ้าน เช่น ทำงานในโรงงาน ไร่ชา โรงสี โรงเลื่อย และโรงงานทอผ้า เป็นต้น (หน้า 21)

Social Cultural and Identity Change

เรือนของขมุที่มีฐานะดีจะเปลี่ยนฝาเรือนจากไม้ไผ่สับ (แฝก)เป็นไม้แผ่น (หน้า 13) ในอดีตขมุจะตำข้าวในครัวเรือน ปัจจุบันหากครอบครัวใดมีเงิน จะนำข้าวไปสีที่โรงสี (หน้า 17) การแต่งกายประจำวันและการสร้างเรือนของขมุปัจจุบันเริ่มมีลักษณะแบบสมัยใหม่เช่นเดียวกับชาวไทยพื้นเมือง สิ่งของตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้สมัยใหม่เริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น ในอดีตเมื่อมีอาการเจ็บป่วย จะมีการประกอบพิธีกรรมเพื่อป้องกันและรักษาอาการป่วย แต่ปัจจุบันขมุบางรายหันไปใช้บริการโรงพยาบาลเนื่องจากมีความศรัทธาในการแพทย์สมัยใหม่มากขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่รักษาด้วยการประกอบพิธีกรรมควบคู่กันไป(หน้า 71,75) ปัจจุบันมีการนำภาษาไทยเข้ามาใช้ปะปนในภาษาขมุ บ้างก็เป็นคำขอยืมผ่านภาษาไทยถิ่นเหนือ โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่อายุน้อยและมีโอกาสได้ติดต่อกับสังคมภายนอก(หน้า 82)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มีข้อมูล

Map/Illustration

- ตึมระ รุง มัฮ บอน ยัด โร้ย ก้าง (เตาหลังบ้าน เป็นเตาหุงข้าว เป็นที่ประดิษฐานผีบ้าน) (หน้า 14) - ตึมระ ลาซ เก้าะ ปั้ว ลูย (เตาหน้าบ้านสำหรับทำอาหาร) (หน้า 14) - ส้วมชาวบ้าน (หน้า 15) - ไปตักน้ำจากลำห้วย (หน้า 15) - มะ ปูม มัฮ ก้อน(แม่ลูกอ่อนป้อนข้าวย้ำ) (หน้า 19) - อุ้ร ตปัง (แกงหน่อไม้) (หน้า 20) - ปโตะ วึล ปูจ (เชื้อผสมเหล้า) (หน้า 23) - รุง ปูจ (ต้มเหล้าไห) (หน้า 23) - กน เท้า เอื้อก ปูจ (คนเฒ่าคนแก่ดื่มเหล้า) (หน้า 25) - เพื้อน ซัง เปอะ (ตั้งสำรับเหล้าและอาหารหลังเสร็จพิธี) (หน้า 25) - ผูกมือญาติพี่น้องที่ไปทำงานนอกหมู่บ้านและกลับมาเยี่ยมบ้าน (หน้า 35) - ผูกมือแขกที่นับถือกัน ที่มาเยือนถึงหมู่บ้านเพื่อเป็นศิริมงคล (หน้า 36) - กระดูกลิ้นไก่ (อึนต้าก ฮเอี้ยร) ที่ดูว่าคนจะสบายดีหรือไม่ จะหายป่วยหรือไม่ ถ้าไม่หายกระดูกตรง กลางจะคด หรือเอียงข้างใดข้างหนึ่ง ถ้าจะดีหรือหาย กระดูกจะตรง (หน้า 37) - กึนตเรือง รมาล (เครื่องประกอบพิธีเรียกขวัญ) (หน้า 39) - เซ้ฮ ซัง ฮ้อล (เอาสีแดงป้ายหน้า) คนที่เข้าร่วมพิธีเรียกขวัญ (หน้า 39) - ซู้ ปูจ กต๊อง (เซ่นเลือดไก่ที่ไหเหล้า) (หน้า 42) - กน เท้า กัม เนิง รเลาะ โนม กึมป้ง กน จุ้ อ้วน เลอะ (ผู้ใหญ่ที่มีคาถาอาคม บีบหัวคนป่วยให้อาการดีขึ้น) (หน้า 53) - โบสถ์ศาสนาคริสต์ที่บ้านห้วยจ้อ กิ่งอำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ซึ่งมีชาวบ้านครึ่งหนึ่งถือผี อีกครึ่งหนึ่งถือคริสต์ (หน้า 72) - แพทย์จากโรงพยาบาลอำเภอเชียงกลาง ออกหน่วยที่บ้านขมุ ตำบลชนแดน จังหวัดน่าน ใช้คำเมือง ภาษาท่าทางในการสื่อสารและล่าม คุณหมอบ่นอึดอัด อยากสื่อด้วยภาษาของคนไข้ (หน้า 73)

Text Analyst สุวิทย์ เลิศวิมลศักดิ์ Date of Report 09 เม.ย 2556
TAG ขมุ, ภาษา, การแพทย์, พิธีกรรม, การรักษาโรค, สาธารณสุข, เชียงราย, น่าน, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง