สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ญ้อ ย้อ ญ่อ โย้,,การแต่งงาน,กาฬสินธุ์
Author อัจลา เทียมสระคู
Title ประเพณีการแต่งงานของชาวไทยญ้อ ศึกษาเฉพาะกรณีบ้านแซงบาดาล ตำบลแซงบาดาล อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ญ้อ ไทญ้อ, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน) Total Pages 91 Year 2536
Source หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม
Abstract

การเลือกคู่ครอง ชายและหญิงเลือกคู่ครองด้วยตนเอง พิธีการต่างๆมีการทาบทาม การสู่ขอ การหมั้น และการแต่งงานตามลำดับ ในแต่ละขั้นตอนมีการดูฤกษ์ยามก่อนเพื่อเป็นสิริมงคล แต่เมื่อหมั้นแล้วจะต้องแต่งงานภายในสามเดือน พิธีแต่งงานนิยมทำในเดือนคู่ที่บ้านเจ้าสาว ยกเว้นเดือนแปด เพราะอยู่ในช่วงเข้าพรรษา มีการสู่ขวัญน้อย ก่อนการสู่ขวัญใหญ่ในพีแต่งงาน การหย่าร้างมีน้อยมาก เพราะเป็นสังคมผัวเดียวเมียเดียว ถ้ามีปัญหาครอบครัวเกิดขึ้น พ่อล่ามจะให้คำปรึกษาและตัดสินให้ ในด้านคติความเชื่อเกี่ยวกับประเพณีการแต่งงาน ไทยญ้อบ้านแซงบาดาลยังยึดถือคติความเชื่อแบบโบราณทุกขั้นตอน คือการเลือกคู่ครอง การทาบทาม การสู่ขอ การหมั้น พิธีการแต่งงาน และการหย่าร้าง ทั้งนี้เพราะมีความเชื่อว่า ถ้าได้กระทำตามคำสั่งสอนของบรรพบุรุษจะทำให้ชีวิตการแต่งงานมีความสุข

Focus

ศึกษาประเพณีและคติความเชื่อเกี่ยวกับการแต่งงานของชาวไทยญ้อ

Theoretical Issues

ไม่มีข้อมูล

Ethnic Group in the Focus

ไทยญ้อ

Language and Linguistic Affiliations

ไทยญ้อมีภาษาพูดเป็นของตน เรียกว่า “ภาษาญ้อ” มีลักษณะเช่นเดียวกันกับคนพื้นเมืองชาวมณฑลร้อยเอ็ด มีสำเนียงแปร่งไปจากไทยลาวทั่วไป (หน้า 16,27)

Study Period (Data Collection)

ไม่มีข้อมูล

History of the Group and Community

เดิมญ้ออยู่ที่ไหนหรือมีเชื้อชาติใด ไม่ปรากฏ แต่เรื่องของญ้อเป็นที่รู้จักสืบเนื่องกับเรื่องของขุนบรม ซึ่งเล่ากันว่าเป็นชาวเมืองเวียงจันทน์ แต่ได้แยกตัวไปตั้งชุมชนที่เมืองคำเกิด ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของเวียงจันทน์ ครั้นเมื่อเวียงจันทน์เสียแก่กรุงเทพมหานคร ต่อมาในปีวอก จุลศักราช 1198 พระยามหาอำมาตย์ (ป้อม) กับพระมหาสงคราม เกณฑ์กำลังพลเมืองฝ่ายตะวันออกเฉียงเหนือ ยกกองทัพไปตั้งที่นครพนม จัดการราชการและปราบปรามบรรดาหัวเมืองด้านตะวันออกของแม่น้ำโขง มีเมืองมหาชัย เป็นต้น ขณะนั้นมีพระคำก้อน เจ้าเมืองคำเกิดซึ่งเป็นลูกหลานขุนบรม พร้อมด้วยอุปฮาด ราชวงศ์ ราชบุตร มาคิดเห็นว่าเมืองเวียงจันทน์เป็นใหญ่ ยังเสียแก่กรุงเทพมหานครและยอมสวามิภักดิ์แล้ว เมืองคำเกิดเป็นเมืองน้อยก็ควรจะสวามิภักดิ์ด้วย จึงได้ทำบัญชีท้าวเพีย ราษฎรชายหญิง ภิกษุสามเณร ได้ประมาณ 2,859 คน นำขึ้นสวามิภักดิ์ต่อกรุงเทพมหานคร พระยามหาอำมาตย์ จึงได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ราวปีกุน จุลศักราช 1201 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับไว้ให้อยู่ในร่มพระบรมโพธิสมภาร พระคำก้อนจึงได้พาท้าวเพีย ราษฎร อพยพจากเมืองคำเกิด ลงมาตั้งภูมิลำเนา ณ บ้านท่าขอนยาง ครั้นจุลศักราช 1206 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้บ้านท่าขอนยางเป็นเมืองท่าขอนยาง และ พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ ให้พระคำก้อนเป็นพระสุวรรณภักดี ปกครองเมืองท่าขอนยาง แต่คงให้ขึ้นกับ เมืองกาฬสินธุ์ ในปีมะโรง จุลศักราช 1266 (พ.ศ. 2448) โปรดเกล้าฯให้ยุบเมืองท่าขอนยางเป็นอำเภอท่าขอนยาง ต่อมาในปี พ.ศ. 2454 จึงได้ยุบอำเภอท่าขอนยางเป็นตำบล ขึ้นกับอำเภอกันทรวิชัย ตำบลโคกพระ ในปัจจุบัน นอกจากนี้ในหนังสือลัทธิธรรมเนียมต่างๆ ยังกล่าวว่านอกจากญ้อจะอยู่ในตำบลท่าขอนยางแล้ว เมื่อคราวอพยพจากเมืองคำเกิด ก็มีญ้อบางกลุ่มตั้งภูมิลำเนาเป็นระยะๆ เช่นที่บ้านนายุง อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี บ้านกุดนางแดง บ้านหนามแท่ง อำเภอบ้านหัน จังหวัดสกลนคร บ้านจำปา บ้านดอกนอ บ้านบุ่งเป้า และบ้านนาสีนวน อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร บ้านสิม บ้านหนองแวง บ้านสา ตำบลอีตื้อ อำเภอยางตลาด บ้านหนองไม้ตาย ตำบลโคกเครือ อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ (หน้า 14 - 16)

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

หมู่บ้านแซงบาดาล มีประชากรไทยญ้อเกือบทั้งหมด มีประชากรไทยลาวและผู้ไทย อาศัยอยู่ประมาณร้อยละ 15 ใน ปี พ.ศ. 2533 มีครัวเรือนทั้งสิ้น 110 ครัวเรือน มีราษฎรอาศัยจำนวน 669 คน จำแนกเป็นชาย 321 คน หญิง 348 คน (หน้า 22,28)

Economy

ภายในหมู่บ้านมีครัวเรือนที่ประกอบอาชีพรับจ้างเพียงอย่างเดียวจำนวน 10 ครัวเรือน มีรายได้ครัวเรือนละ 2,500 บาทต่อปี มีครัวเรือนที่ทำนา 100 ครัวเรือน ได้ผลผลิตข้าวเปลือกไร่ละ 400 กิโลกรัม เฉลี่ยขายได้กิโลกรัมละ 3 บาท 20 สตางค์ มีครัวเรือนที่ปลูกพืชไร่ ได้แก่ มันสำปะหลัง จำนวน 60 ครัวเรือน ใช้พื้นที่เพาะปลูกครัวเรือนละ 6 ไร่ ได้ผลผลิตไร่ละ 1,000 กิโลกรัม เฉลี่ยขายได้กิโลกรัมละ 70 สตางค์ มีครัวเรือนที่เลี้ยงสัตว์สำหรับบริโภคและใช้งานได้แก่ วัว 20 ครัวเรือน ควาย 30 ครัวเรือน หมู 20 ครัวเรือน และเป็ดไก่ 60 ครัวเรือน ในเรื่องสิทธิในที่ดินทำกินพบว่า ครัวเรือนที่มีที่ดินเป็นของตนเอง จำนวน 95 ครัวเรือน ส่วนครัวเรือนที่ไม่มีที่ดินเป็นของตน ต้องเช่าที่ดินทำกินทั้งหมด 6 ครัวเรือน (หน้า 24) นอกจากนี้พบว่ามีสมาชิกของครัวเรือน 8 ครัวเรือนที่ออกไปทำงานนอกตำบล เป็นชาย 3 คนและเป็นหญิง 5 คน ส่วนใหญ่ไปทำงานที่กรุงเทพฯ ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม โดยส่วนมากไปทำงานในช่วงที่ว่างจากการทำไร่นา (หน้า 26)

Social Organization

ไทยญ้อบ้านแซงบาดาล เป็นสังคมผัวเดียว เมียเดียว ผู้ชายเป็นหัวหน้าครอบครัว ไม่นิยมการหย่าร้าง แต่ในกรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิต ฝ่ายหญิงจะไม่แต่งงานใหม่ ส่วนฝ่ายชายสามารถแต่งงานใหม่ได้ ผู้ชายไม่นิยมแต่งงานกับหญิงหม้าย (หน้า 75) ประเพณีการแต่งงานของไทยญ้อบ้านแซงบาดาลพบว่าการเลือกคู่ครองจะคล้ายกับชาวไทยกลุ่มอื่นๆ ส่วนการทาบทาม การสู่ขอ และการหมั้นจะมีความแตกต่างจากชาวไทยกลุ่มอื่นๆ การเลือกคู่ครอง ปัจจุบันส่วนมากหนุ่มสาวเป็นผู้เลือกกันเอง โดยลักษณะของผู้ชาย ต้องประกอบไปด้วย “ รูปสมบัติ” คือรูปร่างสมประกอบ มีความรู้ความสามารถ มีศีลธรรม เป็นต้น ส่วนแม่บ้านแม่เรือน ต้องเป็นหญิงประเภท “เรือนสามน้ำสี่” “เรือนสาม” หมายถึง เรือนนอน เรือนครัวและเรือนกาย เรือนนอน หมายถึง ต้องรักษาบ้านเรือน เครื่องอุปโภคต่างๆ ให้สะอาดไม่ให้บกพร่อง เรือนครัว ต้องรักษาเครื่องอุปโภค บริโภคให้สะอาด ทำอาหารการกินอร่อย ถูกรสนิยมของสามีและครอบครัว เรือนกาย ต้องรู้จักรักษาเรือนร่างทรวดทรงให้สะอาดตั้งแต่เส้นผมจรดเท้าให้เหมะสมกับวัย ส่วน “น้ำสี่” หมายถึง น้ำกิน น้ำใช้ น้ำใจ และน้ำคำ น้ำกิน หมายถึง ต้องจัดหาน้ำสะอาดไว้ไม่ให้ขาดโอ่ง น้ำใช้ ต้องมีไว้ไม่ให้ขาดโอ่ง น้ำใจ คือ มีน้ำใจต่อคนและสัตว์ทั่วไป ส่วนน้ำคำ คือ ต้องพูดจาไพเราะอ่อนหวาน พูดดีและรู้จักกาลเทศะในการพูด เมื่อฝ่ายชายทราบแน่ว่าฝ่ายหญิงไม่รังเกียจ ฝ่ายชายต้องปรึกษาหารือกับพ่อแม่และญาติพี่น้อง โดยมีพ่อสื่อหรือแม่สื่อซึ่งเป็นผู้สูงอายุ หรือผู้คนนับหน้าถือตา เป็น “เถ้าแก่ทาบทาม” ก่อนที่ชายจะไปสู่ขอหญิง จะต้องมีการดูฤกษ์ยาม โดยฝ่ายชายต้องมีล่ามใหญ่ ล่ามน้อย ดอกไม้และเทียนอย่างละ 1 คู่ จาน 1 ใบ เหล้า 1 ขวด ไก่ต้ม 1 ตัวและเงินค่าไขปากเถ้าแก่ฝ่ายชาย ถ้าไม่มีสิ่งเหล่านี้เถ้าแก่ฝ่ายหญิงจะไม่เจรจาด้วย โดยฝ่ายชายต้องจัดขันหมาก อันประกอบไปด้วยหมาก พลู บุหรี่ สุรา 3 ขวด กับเงิน 2 บาท 4 บาทตามฐานานุรูปและมีผ้าขาวปิดปากขัน เมื่อฝ่ายหญิงตกลงก็เปิดเอาของในขันแล้วกำหนดสินสอดทองหมั้น และกำหนดอาหารที่จะเลี้ยงดูญาติ แล้วกำหนดวันส่งเจ้าบ่าว (หากสู่ขอแล้วยังไม่ต้องการแต่งงานเร็ว ก็จะขอหมั้นไว้ก่อนในวันสู่ขอ การหมั้นดังกล่าวจะหมั้นนานไม่เกิน 3 เดือน หากเกิน 3 เดือนถือว่า “ขะลำ” คือ “ต้องห้าม” เชื่อว่าจะมีมารทำให้ไม่ได้แต่งงานกัน นอกจากนี้การสู่ขอ ส่วนมากจะขอลูกสะใภ้มาเลี้ยงพ่อปู่ แม่ย่า และมีสิทธิ์ในการรับมรดกจากฝ่ายสามี แต่ต้องเพิ่มเหล้า 1 ขวด ไก่ต้ม 1 ตัว เพื่อลาออกจากผีบรรพบุรุษของฝ่ายหญิงให้ถูกต้องตามประเพณี เรียกว่า “ย้ายตีนนาง”) การกำหนดวันส่งตัวหรือก่อนจะแต่งงาน พ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ของหนุ่มสาวไทย ญ้อบ้านแซงบาดาลจะต้องตรวจดู “ยามประจำวัน” เพื่อต้องการให้พีการแต่งงานได้ฤกษ์ที่เป็นสิริมงคล เมื่อถึงวันฤกษ์ยามดีจะมีการจัดกระบวนแห่ส่งตัวเจ้าบ่าวไปยังเรือนเจ้าสาว ฝ่ายหญิงมีการจัดการรับรอง ก่อนที่เจ้าบ่าวขึ้นเรือน ฝ่ายหญิงต้องนำหินลับมีดวางไว้บนพื้นดินหน้าบันไดเรือน จากนั้นนำใบตอง 1 ก้านปูโดยมีผ้าขาวทับอีกชั้นหนึ่ง ระหว่างนี้พวกหมอแคน หมอรำในขบวนแห่มักจะเล่นสนุกครึกครื้นกันที่หน้าบันได ฝ่ายหญิงต้องนำข้องสำหรับใส่ปลาและขวานฟันฟืนให้เจ้าบ่าว เจ้าบ่าวต้องรับข้องแขวนเอว แล้วนำขวานไปฟันฟืน 3 – 4 ดุ้น พอเป็นพิธี เมื่อฟันฟืนเสร็จ เจ้าบ่าวต้องขึ้นไปยืนบนหินลับมีด ฝ่ายพวกหญิงก็นำล้างเท้าเจ้าบ่าว จากนั้นเจ้าบ่าวขึ้นบันไดตรงเข้าครัวก่อน นำฟืนที่หอบมาใส่ไฟหุงข้าว ต้มหรือแกงพอเป็นพิธีซึ่งฝ่ายหญิงจัดทำไว้ จากนั้นเจ้าบ่าวสาวจะเริ่มทำการสู่ขวัญน้อยก่อนที่จะมีพิธีเรียกขวัญในงานแต่งงาน โดยหมอสู่ขวัญหรือพราหมณ์เป็นผู้ประกอบพิธี เมื่อเรียกขวัญให้พรเสร็จ ญาติพี่น้องทั้งสองฝ่าย ทำพิธีผูกข้อมือให้เงินทองตามสมควร ฝ่ายผู้เรียกขวัญป้อนไข่แก่บ่าวสาว เป็นอันเสร็จพิธีการสมรส (หน้า 19,31 – 36,39 – 41,47 ) หากบุตรหลานภายในบ้านจะแต่งงาน จะต้องมีพิธีเลี้ยงผี การเลี้ยงผีของไทยญ้อบ้านแซงบาดาลลูกชายคนโตจะเป็นคนเซ่นไหว้เพื่อบอกกล่าวผีบรรพบุรุษเรื่องการแต่งงานของบุตรหลาน ถ้าบ้านนั้นไม่มีลูกชายก็จะให้พี่น้องที่เป็นผู้ชายของผู้ตายเป็นคนเซ่นไหว้(หน้า 52 - 54) พิธีการปูที่นอนของไทยญ้อบ้านแซงบาดาลจะหาคนปลอดทั้งสามีและภรรยา (คนปลอดคือผู้ที่ไม่เป็นหม้าย มีครอบครัวที่สมบูรณ์) ปูที่นอน โดยก่อนปูจะต้องดูฤกษ์ยามดีเพื่อเป็นสิริมงคล (หน้า 71)

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

ญ้อนับถือพระพุทธศาสนาและนับถือผี (หน้า 17) ผีดังกล่าว เช่น ผีเรือน ผีบรรพบุรุษ ผีปู่ตา และผีตาแฮก นอกจากนี้ไทยญ้อบ้านแซงบาดาลยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องขวัญ ทั้งขวัญคน สัตว์ และสิ่งของ เช่น ขวัญข้าว หรือทำขวัญควาย และมีการประกอบพิธีสะเดาะเคราะห์ในกรณีเจ็บป่วย เมื่อมีผู้เสียชีวิต ญ้อไม่นิยมแต่งกายไว้ทุกข์ จะสวมชุดสีอะไรก็ได้ (หน้า 28) หากชายหญิงยังไม่ได้เข้าพิธีแต่งงาน จะลักลอบมีเพศสัมพันธ์กันก่อนไม่ได้ เพราะถือว่าผิดผี เชื่อว่าบรรพบุรุษจะไม่คุ้มครอง (หน้า 40) วันที่ห้ามแต่งงานของไทยญ้อ ได้แก่ วันพุธ เพราะเป็นวันสุนัขนาม ไม่ดี ส่วนวันอังคาร วันเสาร์และวันพฤหัสบดี ไม่นิยมแต่งกัน เพราะถือว่าวันอังคารและวันเสาร์เป็นวันกล้าแข็งใช้เป็นวันเกี่ยวกับเรื่องปลุกเสกเครื่องราง ถ้าใช้เป็นวันแต่งงานอาจเกิดทะเลาะวิวาทกันได้ ส่วนวันพฤหัสบดี เป็นวันครู (หน้า 45 - 46) ไทยญ้อบ้านแซงบาดาลมีความเชื่อว่าหากแต่งงานวันดี เวลาดี จะทำให้เป็นสิริมงคลตลอดชีวิตสมรส (หน้า 47) ไทยญ้อมีความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับพิธีแต่งงาน คือ ถ้าได้ฤกษ์ดีในวันแต่งงาน ชีวิตสมรสจะเป็นสิริมงคล ก้อนหินเป็นคติเตือนใจว่า เจ้าบ่าวต้องมีจิตใจเยือกเย็นหนักแน่นประดุจก้อนหิน ใบคูณ เป็นคติเตือนใจว่า เจ้าบ่าวต้องมาค้ำคูณให้ครอบครัวของตนร่มเย็นเป็นสุข ใบยอ เป็นคติเตือนใจว่า เจ้าบ่าวต้องพูดจาสรรเสริญ เยินยอและให้เกียรติคู่ครอง เป็นต้น หากบ้านที่จะทำพิธีแต่งงานจะต้องเลื่อนวันออกไปจนกว่าผู้นั้นคลอดบุตร หากใครฝ่าฝืนเชื่อว่าจะมีการเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุถึงตาย (หน้า79- 80) การคลอดบุตร ตามธรรมเนียมแต่โบราณบรรดาญาติพี่น้องต้องมาแสดงการรื่นเริง ที่เรียกกันว่า “งันกัน” ที่เรือนผู้คลอดบุตร โดยมีการนำ หมาก พลู บุหรี่ ฯ นำไปร่วมกันสนุกเฮฮา เมื่อครบกำหนด 30 วัน จะต้องประกอบพีปกหม้อกรรม ลักษณะคล้ายการอยู่ไฟ โดยการขุดดินเป็นรางยาว 3 ศอกเศษ กว้าง 2 ศอก ลึก 1 ศอก หาไม้เป้า ไม้มะขามป้อม ไม้ชื่นชม ไม้สะแก และไม้แดงมาสุมไฟเป็นถ่าน เกลี่ยให้เสมอกันในรางที่ขุดไว้ ยกแคร่สูงจากพื้นดินประมาณ 1 ศอก นำใบของไม้ดังกล่าว เกลี่ยลงบนแคร่แล้วให้หญิงขึ้นไปนอน คลุมให้หญิงนั้นพลิกคว่ำพลิกหงาย เมื่อร้อนพอสมควรให้นำน้ำสาดลงที่กองถ่านไฟ ไอน้ำจะขึ้นอบตัวจนเหงื่อโซมพอตัว จึงนำลงจากแคร่ เวลาค่ำจะมีญาติพี่น้องนำบายศรีมาผูก เมื่อผูกขวัญ (บายศรีสู่ขวัญ) เรียบร้อยเป็นอันเสร็จพิธี การบวชนาค ก่อนบวชเป็นพระภิกษุ ต้องนำดอกไม้ธูปเทียนไปสมาญาติ เวลาเย็นทำพิธี มีพระสงฆ์สวดพุทธมนต์และมีการเลี้ยงญาติพี่น้อง เวลาค่ำมีการละเล่นต่างๆ เช่น หมอแคน หมอลำ รุ่งเช้ามีการเลี้ยงพระและญาติพี่น้อง เวลานาคไปวัดมีขบวนแห่อย่างครึกครื้น เมื่อถึงวัด ต้องเวียน 3 รอบและประกอบพิธีบวชอย่างพิธีของไทย วิธีจัดการศพ ถ้าผู้ตายมีบุตรเขย เวลาค่ำต้องมีการกระทบสาก คือมีสาก 7 คู่ จับกระทบกันแล้วลูกเขยทุกคนเต้นไปตามระหว่างสาก หากเต้นไม่เป็นต้องจ้างคนมาเต้นแทนทุกคืนจนกว่าจะนำศพออกจากบ้าน การนำศพไปเผาหรือฝัง ถ้าเป็นผู้มีตระกูลหรือมีทรัพย์สมบัติ นิยมนำพระสงฆ์นำหน้าศพและสวดพระอภิธรรมไปตามทาง โดยมีหมอรำ หมอแคนเล่นกันเฮฮาไปตามทาง (หน้า 18 – 20)

Education and Socialization

ภายในหมู่บ้านมีโรงเรียนระดับประถมศึกษา 1 แห่ง คือ โรงเรียนแซงบาดาลวิทยาคาร (หน้า 23)

Health and Medicine

ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา เด็กแรกเกิดถึงอายุ 5 ปี มีภาวะทางโภชนาการอยู่ในระดับปกติ และในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา ไม่พบโรคติดต่อร้ายแรงเกิดขึ้นในหมู่บ้าน แต่เมื่อมีการเจ็บป่วยเล็กน้อย ชาวบ้านส่วนมากเข้ารับบริการรักษาจากกองทุนยาและเวชภัณฑ์ประจำหมู่บ้าน (หน้า 25 - 26)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

เรือนไทยญ้อ ผู้ที่ฐานะไม่ค่อยดีจะปลูกกระท่อมโดยใช้ฝาแผงหรือฝาแถบตอง มุงด้วยหญ้าแฝก ส่วนผู้มีฐานะจะใช้ฝาไม้กระดานตามอัตภาพ รูปเรือนทรงมนิลา คือเป็นเรือนที่ทรงหลังคาตรงลงมา ไม่หักหน้าจั่วเหมือนเรือนปั้นหยา (หน้า 16) ญ้อรับประทานข้าวเหนียว ปลาร้าเป็นอาหารหลัก นอกจากนี้ก็รับประทานเช่นเดียวกันกับคนพื้นเมือง (หน้า 16) การแต่งกายของชาย ผู้ดีมีฐานะนิยมใช้เครื่องตกแต่งที่ส่งมาจากประเทศญวน ใช้ผ้าฝ้ายและผ้าไหมตัดเสื้อคล้ายเสื้อญวณ คือ เป็นเสื้อผ่าอกแขนยาวกว้าง นุ่งโจงกะเบน ผ้าที่ใช้นุ่งเป็นผ้าทอพื้นเมือง เรียกว่า ผ้าไหมควบ หรือที่เรียกกันว่า “ผ้าหางกระรอก” ส่วนราษฎรสามัญ สวมเสื้อทอด้วยผ้าสีดำ ญ้อเรียกว่า “เสื้อปีก” ลักษณะคล้ายเสื้อทำนาทรงรัดตัวและเอว ต่อจากเอวผายออกยาวปกหน้าขา มีสายทั้งสองข้าง ขลิบริมด้วยผ้าสีต่างๆ ส่วนผ้านุ่ง ภาษาญ้อเรียกว่า “ผ้าขี้งา” ทำด้วยฝ้ายยืนสีดำ พุ่งสีขาว นุ่งโจงกะเบน การแต่งกายของหญิง ผู้ดีมีตระกูล นิยมนุ่งซิ่นทิว ซิ่นน้ำเปียก หรือซิ่นหมี่ นิยมห่มสไบเฉียงที่ซื้อจากประเทศญวน เครื่องประดับมีการใส่กระจอนหู กำไรข้อมือ กำไลเท้า ซึ่งทำด้วยเงินและทอง ตลอดจนแหวนทองรูปพรรณต่างๆ ส่วนราษฎรสามัญ นุ่งซิ่นฝ้าย เรียกว่า “ซิ่นตามืด” ถ้าเป็นซิ่นไหมเรียกว่า “ซิ่นหมี่” ถ้าทำด้วยฝ้ายกับไหมเรียกว่า “ซิ่นขั้น” ซึ่งมีลวดลายแตกต่างกันไป นิยมห่มผ้าสไบเฉียง (หน้า 17)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ปัจจุบันผ้านุ่งของชายญ้อได้เปลี่ยนเหมือนคนไทย คือ มีผ้านุ่งโสร่ง กางเกงจีน และสวมเสื้อเหมือนคนไทยทั่วไป ส่วนพวกสาวรุ่นใหม่นิยมสวมเสื้ออย่างหญิงไทยทั่วไป (หน้า 17) การเลือกคู่ครองของไทยญ้อบ้านแซงบาดาลในอดีต พ่อแม่จะเป็นคนเลือกให้โดยจะเลือกคนดีมีฐานะ แต่ปัจจุบันมีเพียงบางคู่เท่านั้นที่พ่อแม่เลือกให้ (หน้า 31) การขอหมั้นไว้ก่อนในวันสู่ขอ ในอดีตต้องใช้ขันคายหมั้น ในขันคายมีเงิน 2 บาท ดอกไม้และเทียนอย่างละ 1 คู่ แต่ปัจจุบันนิยมใช้ทองคำรูปพรรณต่างๆแทน (หน้า 39)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มีข้อมูล

Map/Illustration

- ภาพการเชิญหมอสู่ขวัญ (หน้า 114) - ภาพหมอสู่ขวัญ (หน้า 115) - ภาพพาขวัญ (หน้า 116) - ภาพการสู่ขวัญน้อยก่อนทำพิธีแต่งงาน ฝ่ายหญิงนั่งสู่ขวัญน้อยร่วมกับเพื่อน (หน้า 117) - ภาพหมอสู่ขวัญพรมน้ำมนต์ (หน้า 119) - ภาพขบวนขันหมาก (หน้า 125) - ภาพเจ้าบ่าวถือยอดกล้วย ยอดอ้อย มัดรวมกับเทียน 1 คู่ โดยมีเพื่อนเจ้าบ่าวคอยกางร่มให้ (หน้า 126) - ภาพพ่อล่ามสะพายมีดและลันดักปลาไหล มีข้องมัดที่เอว มือถือขวานผ่าฟืน (หน้า 127) - ภาพเถ้าแก่ฝ่ายชายถือพาห่อหมากนำหน้าเจ้าบ่าว ยืนเจรจากับเถ้าแก่ฝ่ายหญิงที่บันไดบ้าน (หน้า 128) - ภาพเจ้าบ่าวเหยียบหิน ซึ่งวางบนใบตอง มีใบคูน ใบยอ วางบนก้อนหิน และหญิงปลอดล้างเท้าเจ้าบ่าวด้วยน้ำหอม (หน้า 129) - ภาพยอดกล้วย ยอดอ้อย ดอกพุดที่เจ้าบ่าวถือมา จะนำไปเหน็บไว้ที่ขื่อใต้หลังคาบ้าน (หน้า 132) - ภาพเจ้าบ่าวสาวจุดเทียนเพื่อทำพิธีสู่ขวัญแต่งงาน (หน้า 135) - ภาพหมอสู่ขวัญพรมน้ำมนต์ (หน้า 137) - ภาพพ่อล่ามป้อนไข่เจ้าบ่าวเจ้าสาว (หน้า 139) - ภาพพ่อล่ามจับศีรษะเจ้าบ่าวเจ้าสาวชนกัน และบอกกล่าวให้เป็นสามี – ภรรยา (หน้า 141) - ภาพญาติผู้ใหญ่ผูกข้อมือ และกล่าวคำอวยพรคู่บ่าวสาว (หน้า 142) - ภาพเจ้าบ่าวเจ้าสาวนำเทียนคณะมาขอขมาพ่อเจ้าสาว เพื่อขอฝากตัวเป็นลูกเขย และขออาศัยอยู่ร่วมบ้านเดียวกัน พ่อเจ้าสาวจะสอนเขยเกี่ยวกับการครองเรือน (หน้า 145) - ภาพหญิงปลอดปูที่นอนให้เจ้าบ่าวเจ้าสาว (หน้า 148) - ฯลฯ

Text Analyst สุวิทย์ เลิศวิมลศักดิ์ Date of Report 09 เม.ย 2556
TAG ญ้อ ย้อ ญ่อ โย้, , การแต่งงาน, กาฬสินธุ์, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง