สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject โส้ โซร ซี,ผู้ไท ภูไท,การเลี้ยงไก่พื้นเมือง,สกลนคร,นครพนม,มุกดาหาร
Author ประยูร อุดมเสียง เชิดชัย รัตนเศรษฐากุล บัญญัติ เหล่าไพบูลย์ สุวัฒน์ จิตต์ปราณีชัย
Title การสำรวจการเลี้ยงไก่พื้นเมืองในชนชาติกลุ่มน้อย : โส้ ผู้ไท และข่า ในภาคอีสาน
Document Type อื่นๆ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ผู้ไท ภูไท, โส้ โทรฺ, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) Total Pages 24 Year 2528
Source คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Abstract

งานเขียนเกี่ยวกับการศึกษาการเลี้ยงไก่พื้นเมืองของโส้ ผู้ไท ข่า ที่อยู่ในจังหวัดสกลนคร นครพนม มุกดาหาร ซึ่งจากการศึกษาระบุว่าการเลี้ยงไก่ของกลุ่มประชากรที่ศึกษายังเป็นการเลี้ยงแบบธรรมชาติ ปล่อยให้หากินเอง การเลี้ยงจะเลี้ยงกันตามอัตภาพ เช่น เลี้ยงด้วยข้าวเปลือก เล้าที่เลี้ยงไม่เป็นสัดส่วนที่ชัดเจน เช่น จะเลี้ยงตามใต้ถุนบ้านและท้องนา ประชากรศึกษาจะบริโภคไก่เป็นอาหารในครอบครัวและใช้ในพิธีกรรมสำคัญ ส่วนการรักษาโรคให้ไก่นั้นบางส่วนจะใช้สมุนไพร แต่การรักษาด้วยวิธีการสมัยใหม่เช่นการฉีดวัคซีนยังไม่มีหรือมีน้อย นอกจากนี้ยังพบว่ามีไก่ตายเป็นจำนวนมากเมื่อเกิดโรคระบาดที่จะอยู่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคมของทุกปี

Focus

ศึกษาสภาพการเลี้ยงไก้ในชนกลุ่มน้อย, วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพ, ผลของการพัฒนาที่มีต่อราษฎร (หน้า 1)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

โส้ มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น โซ่, กะโซ้, ไซร่ และโส้ อาศัยอยู่เป็นจำนวนมากในพื้นที่อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร แต่เดิมโส้มีถิ่นที่อยู่ที่เมืองมหาชัยกองแก้ว ประเทศลาว โส้เป็นข่าอีกกลุ่มหนึ่งในหลายกลุ่ม โส้ที่อยู่ในประเทศลาวจะอยู่ตั้งแต่แขวงหลวงพระบาง กระทั่งลงไปติดบริเวณพรมแดนติดต่อกับประเทศกัมพูชา (หน้า 5) ผู้ไท ประชากรที่ศึกษา เป็นผู้ไทที่อยู่ในจังหวัดนครพนม ผู้ไท มีชื่อเรียกหลายชื่อเช่น ภูไท,ภูไทย, ผู้ไท,ผู้ไทย ถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ในแคว้นสิบสองจุไทย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ ผู้ไทยดำกับผู้ไทยขาว (หน้า 11) ผู้ไทยอยู่ตามเมืองต่างๆ 12 เมือง จึงมีชื่อว่า” เมืองสิบสองผู้ไทย” ในภายหลังมีชื่อเรียกว่า “สิบสองจุไทย” (หน้า 12) ลักษณะรูปร่าง ผู้ชายร่างสันทัด ผู้หญิงผิวขาวชอบไว้ผมยาว (หน้า 13) ข่า (บรู) อยู่ในกลุ่มตระกูลมอญ-เขมร มีชื่อเรียกหลายอย่าง เช่น คนไทยภาคกลางเรียกว่า “ข้า” ส่วนลาวใต้กับลาวกลาง เรียกว่า “ข่า” ในลาวเหนือเรียกว่า “ค้า” กลุ่มไท-ไต-ลาว เรียกว่า “ข่า” ส่วนในกลุ่มไทยอีสานเรียกว่า ส่วย (ไพร่ส่วย) ส่วนเขมรเรียกว่า “สำแร” ซึ่งหมายถึง ไพร่นา ในเวียดนามใต้ เรียกว่า “ม้อย” หมายถึง ผี หรือ คนป่า สำหรับข่าที่อยู่ในอำเภอดงหลวงจะเรียกตัวเองว่า “บรู” เพราะไม่ชอบให้คนอื่นเรียกว่า “ข่า”ซึ่งแปลว่า ข้า,ทาส (หน้า 17)

Language and Linguistic Affiliations

ในงานเขียนได้ยกตัวอย่างภาษาเอาไว้โดยทำเป็นตารางเปรียบเทียบว่าคำแต่อย่างนั้นแต่ละชาติพันธุ์นั้นเรียกว่าอย่างไรดังตัวอย่างต่อไปนี้ ภาษากลาง โส้ (โซ่) ข่า (บรู) ภูไท (ผู้ไท) ไก่ อันดรวย อันดรวย ไก้ ไข่ไก่ ซอสะบัด เดรนดรวย ไข่ไก้ กิน เจีย เจี๊ยะ กิ๋น กินข้าว เจียวะ เจี๊ยะดอย กิ๋นเคา ข้าว อะวะ ดอย เคา บ้าน ดุง ด้ง บ้าน (ดูตัวอย่างทั้งหมดตารางหน้า 2 )

Study Period (Data Collection)

27 มีนาคม 2528-31 มีนาคม 2528 (หน้า 1)

History of the Group and Community

จังหวัดสกลนคร แต่เดิมชื่อว่าเมืองหนองหาน เมืองสกลทะวาปี กระทั่ง พ.ศ.2381 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นเมืองสกลนคร บริเวณรอบหนองหานพบร่องรอยทางประวัติศาสตร์ว่าบริเวณนี้ขอม
เคยมีอำนาจเจริญรุ่งเรืองมาก่อน สำหรับโบราณสถานที่สำคัญประจำจังหวัดได้แก่ พระธาตุนารายณ์เจงเวง กับพระธาตุเชิงชุม (หน้า 3) จังหวัดนครพนม ในอดีตมีชื่อว่า “มรุกนคร” “ มนุนคร “ “มฤคนคร” ซึ่งเป็นเมืองที่สร้างขึ้นมาต่อจากอาณาจักรโคตรบูรณ์ ที่อยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง เขตประเทศลาว ซึ่งในภายหลัง ได้อพยพมาอยู่ฝั่งขวาแม่น้ำโขง ในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี กระทั่งใน พ.ศ.2437 จึงเปลี่ยนชื่อเมืองเป็นนครพนม โบราณสถานคู่เมืองคือพระธาตุพนม ซึ่งมีอายุ 1,500 ปี ซึ่งคาดว่าได้สร้างในสมัยทวารวดี ระหว่าง พ.ศ.1200-1400 (หน้า 10) จังหวัดมุกดาหาร เมืองนี้เจ้ากินรี เจ้าเมืองโพนสิน ที่อยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง โดยเจ้ากินรีได้นำประชาชนอพยพข้ามแม่น้ำโขง เพื่อมาตั้งเมืองที่ปากห้วยมุกฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ชื่อเมือง “มุกดาหาร” ขณะนั้นเมืองมุกดาหารขึ้นกับมณฑลอุดร กระทั่งถูกลดฐานะลงเป็นอำเภอ ขึ้นกับจังหวัด นครพนม เมื่อ พ.ศ.2450 ภายหลังได้รับการยกขึ้นเป็นจังหวัด เมื่อ พ.ศ.2525 (หน้า 15)

Settlement Pattern

ไม่มี

Demography

จังหวัดสกลนคร มีประชากร 864,980 คน สมาชิกต่อครัวเรือนเฉลี่ย 6.5 คน (หน้า 4) ประชากรโส้ ใน 2 หมู่บ้าน คือบ้านเมืองเก่ากับบ้านโคกสว่าง อำเภอกุสุมาลย์ พบว่า บ้านเมืองเก่ามี 23 ครัวเรือน ประชากร 117 คน ส่วนบ้านโคกสว่างมี 142 ครัวเรือน มีประชากร 745 คน (ตารางหน้า 8) จังหวัดนครพนม มีประชากร 562,925 คน ครอบครัวที่ทำอาชีพเกษตรกรรม 78,465 ครอบครัว (ข้อมูล พ.ศ.2526 หน้า 10) ผู้ไท บ้านโนนสังข์ ตำบลเรณู อำเภอเรณูนคร มีประชากร 1,000 คน 110 ครัวเรือน (หน้า 14) จังหวัดมุกดาหาร มีประชากร 258,603 คน แบ่งเป็นเพศชาย 127,383 คน เพศหญิง 131,220 คน (ข้อมูล พ.ศ.2527 หน้า 16) ข่า บ้านนาหลัก มีประชากร 117 คน 23 ครัวเรือน (หน้า 20)

Economy

จังหวัดสกลนคร ประชาชนทำอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก โส้ ทำการเกษตรเป็นอาชีพหลัก ได้แก่ ทำนา เลี้ยงสัตว์ หาของป่า ทอผ้า รับจ้าง เป็นต้น การเลี้ยงไก่ จะเลี้ยงไว้ทำอาหารและการประกอบพิธีกรรม ซึ่งจากการสำรวจในหมู่บ้านกรณีศึกษาในอำเภอกุสุมาลย์ พบว่า บ้านเมืองมีไก่จำนวน 50 ตัว ส่วนบ้านโคกสว่าง มีไก่จำนวน 1,000 ตัว (หน้า 8) การเลี้ยงไก่จะเลี้ยงตามธรรมชาติคือให้หากินเอง โดยจะให้ไก่คุ้ยเขี่ยหาอาหารตามใต้ถุน และป่าใกล้บ้าน จำนวนไก่จะมีจำนวนมากในช่วงหน้าฝนเพราะมีอาหารอุดมสมบูรณ์และจำนวนลดน้อยลงในหน้าแล้งเพราะขาดแคลนอาหาร และมีโรคระบาด สำหรับการบริโภคไก่ในแต่ละครอบครัวจะรับประทานไก่เฉลี่ยครอบครัวละ 30-40 ตัวต่อปี (หน้า 9) สำหรับราคาเนื้อไก่จะขายในราคากิโลกรัมละ 27-28บาท (หน้า 10) จังหวัดนครพนม ประชากรส่วนใหญ่ (94.2%) ทำอาชีพเกษตรกรรม สำหรับที่ดินทำการเกษตรมีจำนวน 1 ล้านไร่ พืชที่ปลูกได้แก่ ข้าวจำนวน 959,486 ไร่ มันสำปะหลัง 38,867 ไร่ ยาสูบ 17,580 ไร่ และอื่นๆ ส่วนสัตว์เลี้ยง ได้แก่ โคจำนวน 100,110 ตัว กระบือ 192,890 ตัว หมู 52,818 ตัว (หน้า 11) ผู้ไท ส่วนใหญ่จะทำนา ปลูกยาสูบ เลี้ยงสัตว์ และทอผ้า การเลี้ยงไก่ จะเลี้ยงแบบธรรมชาติให้หากินเอง เฉลี่ยแล้วจะเลี้ยงที่ใต้ถุนบ้านประมาณ 10 ตัว และเลี้ยงที่นาประมาณ 20 ตัว (หน้า 14) การขายจะขายเป็นตัวและชั่งน้ำหนักเป็นกิโลกรัม สำหรับการบริโภคไก่จะใช้ทำอาหารในครัวเรือนและใช้เมื่อประกอบพิธีกรรมที่สำคัญ เป็นต้น (หน้า 15) จังหวัดมุกดาหาร ประชากรส่วนใหญ่ (92 %) ทำอาชีพเกษตรกรรม มีพื้นที่ทำการเกษตรประมาณ 874,048 ไร่ (ข้อมูล พ.ศ.2527) พืชที่ปลูกได้แก่ ข้าว 326,406 ไร่ มันสำปะหลัง 63,962 ไร่ อ้อย 36,241 ไร่ จำนวน สัตว์เลี้ยงได้แก่ โค 39,349 ตัว (หน้า 16) กระบือ 79,077 ตัว ไก่ 238,187 ตัว เป็นต้น (หน้า 17) ข่า อาชีพหลักคือเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ทอผ้า รับจ้าง (หน้า 19) การเลี้ยงไก่จะเลี้ยงแบบปล่อยให้หากินเองตามธรรมชาติ จำนวนไก่ในหมู่บ้านนาหลัก มีจำนวน 50 ตัว (หน้า 20)การบริโภคเนื้อไก่จะทำกับข้าวในครัวเรือนรวมทั้งใช้ในการประกอบพิธีกรรมที่สำคัญ การซื้อขายแบบเป็นตัว ไม่ชั่งกิโลขาย (หน้า 21)

Social Organization

โส้ การแต่งงาน เมื่อแต่งงานเรียบร้อยแล้วผู้หญิงจะไปอยู่บ้านฝ่ายชาย ในบางครั้งผู้ชายอาจไปอยู่บ้านฝ่ายหญิง ขึ้นอยู่กับข้อตกลงของทั้งสองฝ่าย สำหรับการเลี้ยงต้อนรับแขกเหรื่อ จะแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ได้แก่ 1)เจียขะนอบ บ้านเจ้าสาวจะทำอาหารเลี้ยงแขกเหรื่อ การเลี้ยงเรียกว่า “เจียอะริ๊ก” หรือ “กินหมู” อุปกรณ์ที่ใช้ เช่น เงิน 3 บาท ถ้วย 2 ใบ ไก่ตัวผู้ ไก่ตัวเมีย อย่างละ 1 ตัว หมู (อะริ๊ก) 1 ตัว (หน้า 7) 2)เจียตะนาน คือบ้านเจ้าบ่าวจะทำอาหารเลี้ยงแขกเหรื่อกรณี มีญาติ หรือผู้ที่เป็นเจ้าสาวเป็นไข้ไม่สบาย การเลี้ยงจะทำการเสี่ยงทาย เมื่อรู้สาเหตุของการเจ็บป่วยก็จะทำพิธีเลี้ยงเนื่องจากรู้ว่าผีบรรพบุรุษอยากจะกินฮีต พิธีจะเหมือนพิธีเจียขะนอบ จะต่างกันก็คือจะเลี้ยงมากกว่าคือจะเพิ่มหมู 4 ตัว ไก่ 16 ตัว (หน้า 7) 3) เจียดอง จะจัดกรณีมีผู้ถามกิน (พ่อและแม่ฝ่ายหญิงตายไปแล้ว) เจ้าภาพที่จัดคือลูกเขย การทำพิธีก็จะทำบุญหาญาติพ่อแม่ที่ล่วงลับไปด้วยแต่ไม่ทำพิธีทางศาสนา (หน้า 7) สำหรับการทำพิธีเจียดองและได้ทำบุญหาพ่อ แม่ที่ล่วงลับไปแล้วนั้นเรียกว่า เจียสะลา” จุดมุ่งหมายก็เพื่อทำบุญอุทิศส่วนกุศลและต้องการให้พ่อแม่ที่เสียชีวิตไปแล้วนั้นให้รับรู้ถึงการแต่งงานของลูก (หน้า 8) ผู้ไท การแต่งงาน หากชายหญิงตกลงใจที่จะแต่งงานใช้ชีวิตร่วมกัน ฝ่ายชายก็จะให้เฒ่าแก่หรือ “ล่าม” ไปสู่ขอผู้หญิง สิ่งที่จะจัดไปด้วยได้แก่ ขันดอกไม้ ธูปเทียน 1 คู่ เงิน 10 บาท เหล้า 1 ขวด โดยมอบให้ลุงตาซึ่งเป็นผู้ใหญ่ของทางฝ่ายหญิง ต่อมาก็จะจัดพิธีเฆี่ยนเขย เพื่ออบรมลูกเขย เรื่องประเพณีคือฮีตสิบสองคองสิบสี่ จากนั้นก็จะบายศรีสู่ขวัญ เมื่อแต่งงานจากนั้นก็จะกินเลี้ยงซึ่งมีชื่อเรียกคือ ลุหนึ่งกินดอง ลุสองกินก่าว ลุสามลุสี่ไก่ซะบกนกซะหุ้ม คือการจัดสำรับข้าวหรือ “พาฮีตดอง” เซ่นไหว้ผี อีกยังจัดพาเขยคือลูกเขยในตระกูลจะมารับประทานอาหารอย่างพร้อมหน้าพร้อมตากัน (หน้า 13) ข่า การแต่งงาน ในอดีตชายข่าและเพื่อนจะไปฉุดหญิงสาวต่างหมู่บ้าน หากผู้หญิงรักกับฝ่ายชายอยู่แล้วก็จะหนีตามมาพอเป็นพิธีเท่านั้น เมื่อมาถึงบ้านฝ่ายชาย พ่อกับแม่ ของฝ่ายชายก็จะเสียค่าปรับไหมเป็นค่าสินสอด เช่น ควาย บางครั้งก็เป็นเหล้า กรณีหากฝ่ายหญิงไม่เต็มใจญาติฝ่ายหญิงก็จะตามมาขัดขวาง แต่การแต่งงานทุกวันนี้ได้เปลี่ยนแปลง คือสินสอดจะเป็นเงินหรือทอง เป็นต้น (หน้า 19)

Political Organization

จังหวัดสกลนคร มี 12 อำเภอ 3 กิ่งอำเภอ 107 ตำบล 1,082 หมู่บ้าน (หน้า 4) จังหวัดนครพนม แบ่งเป็น 9 อำเภอ 81 ตำบล 820 หมู่บ้าน (หน้า 10) จังหวัดมุกดาหาร มี 5 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ 50 ตำบล 427 หมู่บ้าน (หน้า 16)

Belief System

โส้ งานศพ หากมีใครเสียชีวิตก็จะประกอบพิธีแต่งกาย ทำโลงศพ ต่อมาก็จะให้ผู้ประกอบพิธีบอกกับญาติฝ่ายแม่ของคนที่เสียชีวิต แล้วทำพิธีสางผี เลี้ยงอาหารแขกเหรื่อที่มาร่วมงาน เมื่อถึงวันที่จะนำศพไปประกอบพิธีที่ป่าช้าก็จะนิมนต์พระมาสวดมาติกาบังสุกุล ขณะที่เคลื่อนย้ายศพไปยังป่าช้าก็จะโปรยข้าวตอกระหว่างทาง เอาไก่ ไปด้วย 1 ตัว เพื่อให้ช่วยจิกพยาธิและโรคร้ายต่างๆ คนที่เสียชีวิตหากเกิดชาติหน้าก็จะมีสุขภาพแข็งแรง โรคภัยไม่มี เมื่อประกอบพิธีเรียบร้อยแล้วอีก 7 วันต่อมาก็จะทำพิธีเรียกวิญญาณคนที่ล่วงลับกลับมาอยู่ที่บ้านและเลี้ยงอาหารแขกเหรื่อที่มาร่วมพิธี (หน้า 7) ผู้ไท ไม่มีข้อมูล ข่า ไม่มีข้อมูล

Education and Socialization

ไม่มี

Health and Medicine

โส้ การเกิด จะทำพิธีหากมีหญิงตั้งครรภ์ได้ 8 เดือน ก็จะเชิญหมอผีซึ่งไม่เป็นพ่อหม้ายหรือแม่หม้าย มาประกอบพิธีตัดกำเนิด ขั้นตอนก็คือจะประดิษฐ์กระทงสามเหลี่ยมเก้าห้องนำมาประกอบพิธี เมื่อตัดด้ายแล้ว หมอผีก็จะบอกทิศให้นำกระทงไปทิ้ง ขากลับก็จะหักกิ่งไม้มาปัดสิ่งอัปมงคลทั้งหลายให้หมดไปจากบ้านเรือนที่อยู่อาศัย สำหรับการทำคลอด หากเด็กคลอดแล้วก็จะใช้ริ้วไม้ไผ่ตัดรก อุ้มเด็กมาอาบน้ำห่อผ้าแล้ววางลงในกระด้ง จากนั้นก็จะใช้รังหมาล่าเผาบางครั้งก็จะเป็นเสื้อผ้าผืนเก่าโรยที่สะดือทารก ต่อมาก็จะให้ผู้สูงอายุที่ไม่ได้เป็นหม้ายมานั่งข้างกระด้ง (หน้า 6) กล่าวขอให้เด็กสุขภาพแข็งแรง ทั้งนี้ผู้หญิงหลังคลอดลูกมักจะอยู่ไฟ 2 สัปดาห์ ถึง 1 เดือน (หน้า 7) การป้องกันและรักษาโรคไก่ ยังไม่มีการป้องกันและรักษาที่ชัดเจน การรักษาจะใช้การรักษาแบบพื้นบ้าน เช่น หากไก่เหงา ก็จะรักษาโดยใช้ใบอะติซิโมก ซึ่งเป็นต้นไม้ทรงพุ่มขนาดเล็ก ดอกมีสีเหลือง ใบขนาดเล็ก กลิ่นค่อนข้างฉุน นำมาตำแล้วนำมาประคบที่หัวไก่ กรณีไก่ตายก็จะรื้อคอกไก่ กรณีเกิดโรคระบาดก็จะแยกไก่ที่สุขภาพแข็งแรงออกจากไก่ที่ป่วย โดยนำขึ้นมาเลี้ยงบนบ้าน เป็นต้น (หน้า 9) ผู้ไท การเกิด เมื่อเกิด ผู้ไทจะนำรกไปฝังซึ่งตามความเชื่อนั้นหากเด็กเป็นผู้หญิง ก็จะฝังรกไว้ใต้ถุนหรือใต้บันไดบ้าน เพราะเชื่อว่าหากเด็กโตจะทำให้เด็กเรียบร้อยไม่เกเร ขยันช่วยงานบ้าน หากเป็นเด็กผู้ชายก็มักจะฝังรกไว้บริเวณสี่แยกของหมู่บ้านเพราะเชื่อว่าถ้าเด็กโตขึ้นจะทำให้ผู้คนยกย่องชื่นชมเป็นที่รักใคร่ของทุกๆ คน (หน้า 13) การป้องกันและรักษาโรคไก่ การระบาดของโรค เกิดจากเมื่อมีไก่ตาย ชาวบ้านได้นำไก่ไปโยนทิ้งในป่า เมื่อหมาคาบเข้ามาภายในหมู่บ้าน จึงเป็นสาเหตุ ที่ทำให้โรคระบาดแพร่กระจาย สำหรับการป้องกันด้วยวัคซีนยังไม่ส่งผลในด้านดีเพราะยังมีไก่ตาย (หน้า 14) สำหรับช่วงระบาดของโรคจะอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม (หน้า 15) ข่า การป้องกันและรักษาโรคไก่ ยังไม่มีการป้องกันโรคระบาดของไก่ที่แน่นอน หากไก่ตายก็จะนำไปฝังดิน ส่วนตัวที่แข็งแรงก็จะเลี้ยงต่อไป ในหมู่บ้านยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค ซึ่งที่ผ่านมาการระบาดของโรคทำให้ไก่ตายเป็นจำนวนมากเช่น พ.ศ.2528 มีไก่กว่า 90 % เป็นโรคระบาดตาย (หน้า 20) สำหรับการระบาดของโรคในสัตว์ปีกเชื่อว่าเกิดจากไก่ย่างที่แม่ค้าภายนอกหมู่บ้านนำมาขาย ในเรื่องการป้องกันโรคนั้นเชื่อว่าควรจะฉีดวัคซีนให้ไก่ 1 เดือน ก่อนการแพร่ระบาดของโรค (หน้า 21)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

โส้ ผู้ชาย สวมเสื้อคอกลมสีดำผ่าเสื้อบริเวณหน้าอกกับด้านข้างของเสื้อ นุ่งกางเกงขาก๊วย สวมรองเท้าหนังควาย (หน้า 6) ผู้หญิง สวมเสื้อแขนกระบอกสีดำผ่าอกเสื้อขลิบด้วยสีแดง กระดุมเสื้อทำด้วยเงินบางครั้งก็เป็นเหรียญ บริเวณชายเสื้อประดับด้วยด้ายสีแดงข้างละ 2-3 เส้น สวมผ้าถุงมัดหมี่ ทรงผมจะไว้ยาวแล้วเกล้าเป็นมวยผม หากมีงานเทศกาล จะสวมกำไลข้อมือ ข้อเท้า สร้อยเงิน ต่างหูเงิน ไม่สวมรองเท้า (หน้า 6) ผู้ไท ผู้ชาย แต่เดิมจะนุ่งผ้าด้ายตาเมล็ดงาวีดำ บางครั้งก็นุ่งผ้าขาวม้าสีขาว สวมเสื้อพื้นเมืองสีดำ เมื่อมีงานสำคัญจะแต่งตัวด้วยผ้าไหม บางครั้งก็จะประดับด้วยสร้อยและสร้อยข้อมือที่ร้อยด้วยลูกปัดแก้วหรือเหรียญ ผู้หญิง สวมซิ่น และเสื้อพื้นเมืองสีดำ คนที่ร่ำรวยจะสวมกำไขเงินข้อมือ ต่างหูเงินหรือทองเหลือง (หน้า 13) ข่า ไม่มีข้อมูล

Folklore

การเล่น ”สะลา” ของโส้ คนที่เล่นเป็นผู้ชาย ชุดที่เล่นจะสวมผ้าขัดเตี่ยวไม่สวมเสื้อ การเล่นจะวางหม้ออุไว้ตรงกลางหนึ่งหม้อ คนเล่นมีทั้งหมด 8 คนประกอบด้วย ขับร้องหนึ่งคน สะพายหน้าไม้หนึ่งคน อีกคนจะตีฆ้องซึ่งเรียกว่า “พเนาะ” อีกสองคนจะถือไม้ไผ่กระทุ้งดิน รำ 3 คน และถือชามเทียน ถือตะแกรง ถือมีดเคาะกับสิ่ว อย่างละหนึ่งคน ผู้เล่นทั้งหมดจะรำร้องรอบวง (หน้า 5 )

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มี

Other Issues

ไม่มีข้อมูล

Map/Illustration

แผนที่ จังหวัดสกลนคร,จังหวัดนครพนม,จังหวัดมุกดาหาร (หน้าบทคัดย่อ) รูปภาพ ผู้หญิงโส้, ผู้หญิงผู้ไท,ผู้ชายข่า(บรู) บ้านข่า,คอกไก่ภูไท (หน้าบทคัดย่อ) ตาราง เปรียบเทียบภาษากลาง ภาษาโส้ (โซ่) ภาษาข่า (บรู) ภาษาภูไท (ผู้ไท) (หน้า 2) จำนวนสัตว์เลี้ยงของโซ่ 2 หมู่บ้าน (หน้า 8)

Text Analyst ภูมิชาย คชมิตร Date of Report 25 ก.ค. 2559
TAG โส้ โซร ซี, ผู้ไท ภูไท, การเลี้ยงไก่พื้นเมือง, สกลนคร, นครพนม, มุกดาหาร, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง