สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject อูรักลาโว้ย,เศรษฐกิจ,วิถีชีวิต,ภูเก็ต
Author นฤมล อรุโณทัย,พลาเดช ณ ป้อมเพชร,จีระวรรณ์ บรรเทาทุกข์ และคณะ
Title อาชีพเสริมและอาชีพทางเลือกของชาวอูรักลาโว้ยในจังหวัดภูเก็ต
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text -
Ethnic Identity อูรักลาโว้ย อูรักลาโวยจ, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเนเชี่ยน
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) Total Pages 104 Year 2550
Source สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract

เนื้อหาของงานเขียนกล่าวถึงการสำรวจและบันทึกเกี่ยวกับการส่งเสริมอาชีพเสริมและอาชีพทางเลือกในกลุ่มประชากรศึกษา 94 คน ที่อยู่ในหมู่บ้านต่างๆ ได้แก่ หมู่บ้านสะปำ ตำบลเกาะแก้ว,หมู่บ้านแหลมตุ๊กแก ตำบลรัษฎาหมู่บ้านราไวย์ ตำบลราไวย์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ตซึ่งจากการศึกษาระบุว่าส่วนใหญ่อูรักลาโว้ยยังอยากทำการประมงต่อไป ส่วนอาชีพเสริมนั้นส่วนหนึ่งได้พบปัญหาได้แก่ ปัญหาด้านการศึกษาเพราะอูรักลาโว้ยอ่านเขียนหนังสือไม่ได้จึงขาดความมั่นใจ ขาดการติดต่อด้านการประสานงาน ความไว้เนื้อเชื่อใจต่อกัน ซึ่งที่ผ่านมาในชุมชนมีการทุจริตกันมาก นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องอคติที่คนภายนอกมีต่ออูรักลาโว้ย

Focus

เพื่อสำรวจและบันทึกข้อมูลโครงการหรือกิจกรรมส่งเสริมอาชีพเสริมและอาชีพทางเลือกของอูรักลาโว้ย ซึ่งดำเนินงานโดยหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในจังหวัดภูเก็ต และวิเคราะห์บทเรียนที่เกี่ยวเนื่องกับโครงการหรือกิจกรรมสนับสนุนอาชีพ ทัศนคติเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนอาชีพและนำเสนอถึงแนวทางในการส่งเสริมโครงการหรือกิจกรรมเกี่ยวกับอาชีพเสริมและอาชีพทางเลือกของอูรักลาโว้ยในอนาคต (หน้า 2)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

อูรักลาโว้ย (ชาวเล) อูรักลาโว้ยซึ่งถูกคนในท้องถิ่นเรียกว่า “ชาวเล” อาศัยอยู่ในบริเวณชายฝั่งทะเลทางทิศตะวันตกในภาคใต้ของไทยมาเป็นเวลาหลายร้อยปี “อูรักลาโว้ย” เป็นชื่อที่พวกเขาเรียกตนเอง มีคำแปลว่า “ชาวทะเล” แต่คำว่า “ชาวเล” ในภาษาไทยในกลุ่มคนใต้เป็นคำที่มีความหมายไม่ดี เช่น ไม่ดูแลสุขภาพ ไม่สนใจการเรียน ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย (หน้า 5,50)

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มี

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุอย่างชัดเจน (ประมาณปี พ.ศ.2549 -หน้า 5)

History of the Group and Community

ไม่มี

Settlement Pattern

หมู่บ้านสะปำ ตำบลเกาะแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต บ้านเรือนส่วนมากเป็นบ้านเสาสูงสร้างอยู่บนหาดเลน (หน้า 9) หมู่บ้านแหลมตุ๊กแก ตำบลรัษฎา อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต บ้านสร้างด้วยไม้เป็นแบบชั้นเดียวและสองชั้น ภายหลังเกิดเหตุการณ์สึนามิ ได้มีหลายหน่วยงานเข้ามาช่วยเหลือชาวบ้าน ดังนั้นจึงมีบ้านที่สร้างด้วยวัสดุชนิดอื่นเช่น บ้านที่สร้างด้วยสังกะสี บ้านปูน รวมทั้งบ้านที่ใช้ไม้สังเคราะห์ (หน้า 11) หมู่บ้านราไวย์ ตำบลราไวย์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต บ้านมีหลายแบบเช่นบ้านชั้นเดียว บ้านสองชั้นอาคาร พาณิชย์และเพิงสังกะสี (หน้า 12) การสร้างบ้านเรือนในชุมชนค่อนข้างแออัด ส่วนมากบ้านเรือนไม่นิยมสร้างส้วม ดังนั้นเมื่อจะขับถ่ายจึงใช้บริเวณหาดทราย สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากอูรักลาโว้ยไม่มั่นใจเรื่องที่อยู่อาศัยว่าจะถูกรื้อถอนในวันใด (หน้า 13)

Demography

ประชากรศึกษา อูรักลาโว้ยใน 3 หมู่บ้านประกอบด้วย บ้านสะปำ 17 คน ชาย 10 คนและหญิง 7 คน บ้านแหลมตุ๊กแก ทั้งหมด 49 คน แบ่งเป็นชาย 24 คนและหญิง 25 คน หมู่บ้านราไวย์ ทั้งหมด 28 คน แบ่งเป็นชาย 13 คนและหญิง 15 คน (ตารางหน้า 4) ส่วนจำนวนประชากรจริงในหมู่บ้านต่างๆ มีด้วยกันดังนี้ หมู่บ้านสะปำ มีประชากรทั้งหมด 226 คน จำนวนครัวเรือน 48 ครัวเรือน (หน้า 9) หมู่บ้านแหลมตุ๊กแก มีประชากร 1,316 คน 190 หลังคาเรือน จำนวนครัวเรือน 298 ครัวเรือน แบ่งเป็นชาย 666 คนและหญิง 650 คน (หน้า 10) หมู่บ้านราไวย์ ประชากรทั้งหมด 1,200 คน แบ่งเป็นชาย 595 คน หญิง 605 คน มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 201 ครัวเรือน (หน้า 12)

Economy

อาชีพประมงและการส่งเสริมอาชีพ จากการศึกษาพบว่า อูรักลาโว้ยที่ยังคงต้องการจะทำอาชีพประมงต่อไปคิดเป็น 69 % ส่วนผู้ที่อยากเปลี่ยนอาชีพมีจำนวน 31 % (หน้า 33) สำหรับสาเหตุที่ทำให้ อูรักลาโว้ยไม่ต้องการเปลี่ยนอาชีพเพราะว่าการทำประมงมีความเป็นอิสระ มีรายได้ดี (หน้า 19) เป็นอาชีพที่ถนัดไม่ต้องสอบคัดเลือก สามารถทำงานได้ทั้งปี (หน้า 20) แต่การทำประมงนั้นได้มีข้อจำกัดหลายอย่าง มีพื้นที่หวงห้ามในการทำการประมงมากขึ้น ใช้เงินทุนในการซื้ออุปกรณ์เป็นจำนวนมาก (หน้า 21-23) รวมทั้งปัญหาหนี้สิน และสัตว์น้ำลดลงเป็นจำนวนมากและอื่นๆ (หน้า 24,15-32) ส่วนอาชีพเสริมที่อูรักลาโว้ยทำ ได้แก่ รับจ้างรายวัน รับจ้างซักผ้า เก็บขวดขาย เลี้ยงกุ้งมังกร ค้าขายและอื่นๆ (หน้า 34-35) แต่เท่าที่ผ่านมาพบว่าการส่งเสริมการทำอาชีพเสริมจากหน่วยงานต่างๆ นั้น ส่วนมากไม่ได้รับความสนใจและนำไปประกอบอาชีพหารายได้เท่าที่ควร (หน้า 45 ,33-45) สำหรับอุปสรรคในการส่งเสริมอาชีพที่พบคือ โครงการหรือกิจกรรมมีระยะสั้น ขาดการประสานงาน (หน้า 48-50) ขาดการวางแผนในระยะยาวขาดความไว้เนื้อเชื่อใจต่อกัน เพราะที่ผ่านมาในหมู่บ้านเกิดเหตุการณ์ทุจริตหลายครั้ง (หน้า 52-54,47-58) อย่างไรก็ดีในการฝึกอาชีพนั้นไม่ได้รับความสนใจส่วนหนึ่งเนื่องมาจากอูรักลาโว้ยอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ จึงขาดความมั่นใจในการฝึกอบรม (หน้า 64)ในการศึกษาระบุว่าแนวทางในการส่งเสริมอาชีพเสริมและอาชีพทางเลือกในอนาคตนั้นควรส่งเสริมงานหัตถกรรมและงานฝีมือ อาชีพที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น กุ้งมังกรและอื่นๆ (หน้า 67-76) นอกจากนี้ยังต้องส่งเสริมในด้านอื่นๆ เช่น การเก็บออม การสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ การส่งเสริมด้านการศึกษา ส่งเสริมความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย เป็นต้น (หน้า 76-82) หมู่บ้านสะปำ ตำบลเกาะแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ส่วนมากทำอาชีพประมงและคราดหอยแครงและหอยชนิดอื่นที่หาดเลน (หน้า 9) หมู่บ้านแหลมตุ๊กแก ตำบลรัษฎา อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต อาชีพหลักคือทำการประมง นอกจากนี้ก็ทำงานรับจ้าง ได้แก่ งานก่อสร้าง รับจ้างคัดปลา เป็นต้น (หน้า 11) หมู่บ้านราไวย์ ตำบลราไวย์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ทำอาชีพประมงเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ยังทำงานรับจ้าง ขับเรือท่องเที่ยว ทำงานในโรงแรมและรีสอร์ท เป็นต้น (หน้า 12)

Social Organization

ผู้ชายอูรักลาโว้ยทำอาชีพประมงชายฝั่งและไม่ต้องออกทะเลไปพักค้างแรมในสถานที่ต่างๆ ทั้งครอบครัวที่เรียกว่า “บากัด” เหมือนเช่นอดีต ในครอบครัวอูรักลาโว้ยผู้ชายจะมีหน้าที่ทำการประมงเลี้ยงครอบครัวการทำงานบ้าน เช่น ทำกับข้าว เลี้ยงลูกเป็นหน้าที่ของผู้หญิง (หน้า 7,8)

Political Organization

หมู่บ้านสะปำ ตำบลเกาะแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต -ไม่มี หมู่บ้านแหลมตุ๊กแก ตำบลรัษฎา อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต -ไม่มี หมู่บ้านราไวย์ ตำบลราไวย์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ประชาชนบางคนยังไม่ได้รับสัญชาติและไม่มีบัตรประชาชน (หน้า 13)

Belief System

ไม่มี

Education and Socialization

อูรักลาโว้ยนิยมทำอาชีพประมงเพราะไม่ต้องใช้วุฒิการศึกษาและอิสระไม่ต้องไปทำงานเป็นลูกจ้าง (หน้าบทสรุป,20) สำหรับการสอนภาษาอังกฤษให้กับอูรักลาโว้ย ก่อนหน้าที่จะเกิดเหตุการณ์สึนามิ ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนหรือ “กศน.”ได้จัดเจ้าหน้าที่มาสอนภาษาอังกฤษให้กับชาวบ้าน แต่กิจกรรมให้ความรู้ได้ยุติลงเพราะวิทยากรประสบอุบัติเหตุ ส่วนการสอนโดยครูสอนภาษาอังกฤษที่เป็นอูรักลาโว้ยในชุมชนยังพบปัญหา เพราะเด็กที่มาเรียนไม่ค่อยสนใจเท่าที่ควร (หน้า 45)

Health and Medicine

ชายอูรักลาโว้ยหลายคนต้องพิการเพราะโรค “น้ำหนีบ” หรือ “น้ำบีบ”ซึ่งมีสาเหตุมาจากความดันน้ำ “caisson” หรือ “decompression sickness” อันเนื่องมาจากการใช้เครื่องอัดอากาศหรือเครื่องปั๊มลมโดยต่อท่อที่มีความยาวแล้วต่อกับหน้ากากดำน้ำเพื่อให้ดำน้ำได้เป็นเวลายาวนาน (หน้า 8,27,28)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ศิลปะการแสดงพื้นบ้าน งานเขียนกล่าวถึงศิลปะการแสดงพื้นบ้านเพื่อหารายได้ เช่นที่แหลมตุ๊กแกมีวงรองแง็งที่มีชื่อเสียงและได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลรัษฎา (หน้า 36) สำหรับการแสดงอื่นเช่นที่หมู่บ้านราไวย์ได้ทำการรื้อฟื้นการรำมวยกาหยงซึ่งจะมีการรำประกอบดนตรีก่อนที่จะแข่งขัน แต่ทุกวันนี้ยังไม่มีการสนับสนุนให้การรำมวยกาหยง เป็นการสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน (หน้า 36)

Folklore

ที่มาของชื่อแหลมตุ๊กแก มีเรื่องเล่าว่าบริเวณแหลมตุ๊กแกในอดีตมีต้นมะขามขนาดใหญ่ประมาณ 7 ถึง 8 คนโอบ นอกจากนี้ก็มีตุ๊กแกเป็นจำนวนมาก อูรักลาโว้ยตั้งที่อยู่ที่นี่และที่อื่นๆได้แก่ เกาะตะเภา เกาะยาว เมื่อมีคนเสียชีวิตเพราะอหิวาตกโรคเป็นจำนวนมาก อูรักลาโว้ยจึงย้ายที่อยู่ไปอยู่ที่แหลมร้างหรือแหลมกลาง ภายหลังเมื่อมีคนอ้างเป็นเจ้าของที่ดิน อูรักลาโว้ยจึงกลับมาอยู่ที่แหลมตุ๊กแกเหมือนเดิม (หน้า 10)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มี

Social Cultural and Identity Change

ไม่มี

Critic Issues

ไม่มี

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

แผนที่ จังหวัดภูเก็ต ที่ตั้งบ้านสะปำ,บ้านแหลมตุ๊กตา,บ้านราไวย์ (หน้า 3) หมู่บ้านเก่าของอูรักลาโว้ย (หน้า 7) ภาพ การเก็บข้อมูล (หน้า 4) ชุมชนอูรักลาโว้ยที่สะปำ (หน้า 10) หมู่บ้านแหลมตุ๊กแก (หน้า 11) หมู่บ้านอูรักลาโว้ยและมอแกนที่ราไวย์ (หน้า 13) ลอบดักปลา (หน้า 15,18) การตอกหอยติบ (หน้า 18,104) เรือหัวโทง,แม่ค้าขายปลาที่หาดราไวย์ (หน้า 19) ปลาตากแห้ง (20) ป้ายประกาศกรมประมง (หน้า 22) ชายอูรักลาโว้ยเตรียมออกทะเล (หน้า 24) ปลาที่เตรียมไปขาย (หน้า 25) ป้ายให้ความรู้ (หน้า 28) ฟาร์มหอยแมลงภู่ (หน้า 30) อูรักลาโว้ยเตรียมขวดเบียร์ชั่งขาย (หน้า 34) กุ้งมังกร,ตู้เลี้ยงลูกกุ้ง (หน้า 35) ร้านขายของชำในชุมชนแหลมตุ๊กแก ,การแสดงร็องแง็ง (หน้า 36,91) ตัวอย่างเรือปราฮู(หน้า 40) อาจารย์สอนตัดเย็บเสื้อผ้า (หน้า 42) ภาพในชุมชน (หน้า 61) วัยรุ่นในชุมชน (หน้า 66) เจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชน (หน้า 67) ผลิตภัณฑ์ที่ทำด้วยใบเตยหนามจากชุมชนมอแกน (หน้า 68)เรือจำลอง แผงขายของหน้าหมู่บ้านแหลมตุ๊กแก (หน้า 69) การท่องเที่ยวทางทะเล (หน้า 71) รถทัวร์นักท่องเที่ยว ,เรือหัวโทงที่พานักท่องเที่ยวไปตกปลา (หน้า 73) เด็กในชุมชน (หน้า 77) การขายถนนเป็นอุปสรรคให้หลายครัวเรือนต้องไร้ที่อยู่ (หน้า 81) เรือปราฮูจำลอง, แม่บ้านอูรักลาโว้ยทำห่อหมกขายในหมู่บ้าน ,แผงขายของหน้าหมู่บ้านหากราไวย์ (หน้า 85) เรือหัวโทง (หน้า 87) น้ำมันมะพร้าว (หน้า 89) ภูเก็ต (หน้า 93) บ้านที่สร้างหลังเกิดเหตุการณ์สึนามิ (หน้า 96) รถจักรยานยนต์พ่วงข้างขายขนม (หน้า 98) ตาราง ชาวอูรักลาโว้ยแยกตามเพศและชุมชน (หน้า 4) งานประมงของอูรักลาโว้ย (หน้า 16) อุปสรรคการส่งเสริมอาชีพ (หน้า 48)

Text Analyst ภูมิชาย คชมิตร Date of Report 18 พ.ค. 2559
TAG อูรักลาโว้ย, เศรษฐกิจ, วิถีชีวิต, ภูเก็ต, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง