สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  แนวนโยบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล

ลำดับเหตุการณ์การดำเนินงานตามแนวนโยบายฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล ของคณะกรรมการอำนวยการบูรณาการเพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล และคณะอนุกรรมการอำนวยการเพื่อติดตามงานฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล ตามมติคณะรัฐมนตรี 2 มิถุนายน 2553
บทความโดย : โดยทีมงาน | โพสเมื่อวันที่ 25 เม.ย 2555 09:58 น.
 



ลำดับเหตุการณ์การดำเนินงานตามแนวนโยบายฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล
ของคณะกรรมการอำนวยการบูรณาการเพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล และคณะอนุกรรมการอำนวยการเพื่อติดตามงานฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล
ตามมติคณะรัฐมนตรี 2 มิถุนายน 2553

 

3 กุมภาพันธ์ 2552      
นายธีระ สลักเพชร รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการบูรณาการเพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลขึ้น ตามคำสั่งกระทรวงวัฒนธรรมที่ 33/2552 ลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2552  ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธาน และผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยคณะกรรมการฯ มีอำนาจหน้าที่วางแผนและกำหนดนโยบายในการดำเนินงาน รวมทั้งให้การสนับสนุน ให้คำปรึกษา แนะนำ แก้ไขปัญหาอุปสรรคและอำนวยการให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์  และให้มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการฝ่ายต่าง ๆ เพื่อช่วยในการปฏิบัติงานได้ตามที่เห็นสมควร
 
20 กุมภาพันธ์ 2552    
ประชุมครั้งที่ 1/2552 (นายธีระ สลักเพชร รมว.วัฒนธรรม เป็นประธาน) มีการนำเสนองานการวิจัยเกี่ยวกับชาวเลโดย ดร.นฤมล อรุโณทัย จากสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ที่ประชุมได้พิจารณาปัญหาที่มีผลกระทบต่อการดำเนินวิถีชีวิตชาวเล ประกอบด้วย 5 ปัญหาหลักคือ  1.ปัญหาเรื่องที่ทำกินและที่อยู่อาศัย  2.ปัญหาการศึกษาและการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น  3. ปัญหาการฟื้นฟูวิถีชีวิตวัฒนธรรมดั้งเดิมและพัฒนาท้องถิ่นให้ดำรงอยู่ได้ด้วยตนเอง 4. ปัญหาการส่งเสริมสุขภาพและบริการสาธารณสุข 5. ปัญหาการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่นในชุมชน   และมีมติให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิบัติงานระดับจังหวัด 5 จังหวัดที่มีชาวเลอาศัยอยู่ มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานและมีวัฒนธรรมจังหวัดเป็นฝ่ายเลขานุการ
 
7 กันยายน 2552        
ประชุมครั้งที่ 2/2552  (นายธีระ สลักเพชร รมว.วัฒนธรรม เป็นประธาน)  มีการประชุมเพื่อรายงานการปฏิบัติงานของแต่ละจังหวัดเพื่อแก้ไขปัญหาชาวเล รายงานการสัมมนาและแสดงนิทรรศการเรื่องชาวเล พลวัตชาติพันธุ์กับการฟื้นฟูชีวิตท้องถิ่น โดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ซึ่งจัดสัมมนาทางวิชาการเมื่อวันที่  26 มิถุนายน 2552  และที่ประชุมมีมติมอบหมายให้ ดร.ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล  ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรฯ และ ดร.นฤมล  อรุโณทัย สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  จัดทำสรุปประเด็นปัญหาและข้อเสนอของชาวเลในการนำเสนอเป็นแนวนโยบายฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล และเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบต่อไป ทั้งนี้ให้มีการรับฟังความเห็นในระดับจังหวัดและบูรณาการกับหน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

2 มิถุนายน 2553 
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบตามโนบายการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล ใน 2 มาตรการคือ
1) มาตรการระยะสั้น ระยะเวลา  6 - 12 เดือน  มีเรื่องการสร้างความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย  การประกอบอาชีพ การช่วยเหลือด้านสาธารณสุข  การแก้ปัญหาสัญชาติ การส่งเสริมการศึกษา การแก้ปัญหาอคติทางชาติพันธุ์ การส่งเสริมภาษาวัฒนธรรมท้องถิ่น การสนับสนุนและส่งเสริมสื่อพื้นบ้านของชาวเล การจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนกิจกรรมเครือข่ายชาวเลอย่างเป็นรูปธรรม  

2) มาตรการพื้นฟูระยะยาว ระยะเวลา 1-3 ปี  เน้นเรื่องการกำหนดเขตพื้นที่วัฒนธรรมพิเศษที่เอื้อต่อกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีลักษณะจำเพาะ  ทั้งนี้หน่วยงานที่รับผิดชอบได้แก่กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
 
4 มิถุนายน 2553
นายธีระ สลักเพชร พ้นจากตำแหน่ง รมว.วัฒนธรรม
 
7 มิถุนายน 2553
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ เข้ารับตำแหน่ง รมว.วัฒนธรรม
 
11 ตุลาคม 2553        
ประชุมคณะกรรมการอำนวยการบูรณาการเพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล  ครั้งที่ 3/2553  (นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รมว.วัฒนธรรมเป็นประธาน) ซึ่งสืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรี ให้ความเห็นชอบตามแนวโนบายการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล เมื่อ 2 มิถุนายน 2553  จึงได้จัดประชุมเพื่อให้หน่วยงานที่รับผิดชอบได้รายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามมติ ครม. และหารือเรื่องกลไกและมาตรการในการติดตาม ที่ประชุมมีมติ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรายงานผลการดำเนินงานภายใน 3 เดือน โดยให้ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ในฐานะเลขานุการ ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลผลการดำเนินการจากทุกหน่วยงาน และนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อรับทราบและดำเนินการต่อไป
 
10-11 กุมภาพันธ์ 2554
ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (นายสมชาย เสียงหลาย) และคณะ ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานตามมติ ครม. ฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล จังหวัดภูเก็ต  ได้มอบนโยบายการแก้ปัญหาเป็น 3 ระดับคือ การแก้ไขในระดับชุมชน ระดับจังหวัดและระดับชาติ  โดยเน้นว่าชุมชนต้องมีการพัฒนาตนเอง มีความสามัคคี ตั้งคณะกรรมการชุมชนที่มีความเข้มแข็งและให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมเพื่อจัดการปัญหาของตนเองก่อน  หากไม่สามารถแก้ไขได้ก็ให้นำเสนอปัญหาสู่ระดับจังหวัดและระดับชาติต่อไป 

21 มีนาคม 2554        
ประชุมคณะกรรมการอำนวยการบูรณาการเพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลครั้งที่ 1/2554  (นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รมว.วัฒนธรรมเป็นประธาน) ที่ประชุมมีมติเห็นควรให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการอำนวยการเพื่อติดตามการดำเนินงานตามนโยบายการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล ในการทำหน้าที่กำกับติดตามและรวบรวมผลการดำเนินการของหน่วยงานที่รับผิดชอบ ให้ฝ่ายเลขานุการฯ ทำสรุปภาพรวมผลการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป และให้ยกระดับกลไกและมาตรการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลเป็นคำสั่งของนายกรัฐมนตรี
 
2 พฤษภาคม 2554      
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ) มีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการอำนวยการเพื่อติดตามงานฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล ตามคำสั่งกระทรวงวัฒนธรรมที่ 85/2554 
 
13 กรกฎาคม 2554     
ประชุมคณะอนุกรรมการอำนวยการเพื่อติดตามงานฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล ครั้งที่ 1/2554  (นายสมชาย เสียงหลาย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธาน) ในวันที่ 13 กรกฎาคม  2554 ที่ประชุมมีมติให้เร่งจัดทำรายงานผลการดำเนินการตามแนวนโยบายฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลในรอบ 1 ปี โดยรวบรวมข้อมูลผลการดำเนินการในระดับพื้นที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมจัดทำข้อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาต่อคณะรัฐมนตรี และเผยแพร่รายงานสู่สาธารณะ พร้อมกับผลักดันให้ชุมชนชาวเลที่มีวัฒนธรรมเข้มแข็งเป็นพื้นที่นำร่องเขตวัฒนธรรมพิเศษต่อไป 

(9 สิงหาคม 2554 นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ พ้นจากตำแหน่ง รมว.วัฒนธรรม
9 สิงหาคม 2554 นางสุกุมล คุณปลื้ม เข้ารับตำแหน่ง รมว.วัฒนธรรม)
 
23 ธันวาคม 2554
ผู้แทนคณะอนุกรรมการอำนวยการเพื่อติดตามการดำเนินงานตามนโยบายการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง และคณะอนุกรรมการอำนวยการเพื่อติดตามงานฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล   (ผู้ร่วมหารือ 16 คน) เข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เพื่อขอความเห็นและนโยบายในการดำเนินการขับเคลื่อนงานฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง และชาวเล ณ ห้องประชุมชั้น 22 กระทรวงวัฒนธรรม รัฐมนตรีมอบนโยบายดังนี้
 
• ดำเนินการหารือกับผู้บริหารของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในประเด็นข้อกฎหมายและการอยู่อาศัยของกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่ป่า รวมถึงกระทรวงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ กระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น
• เห็นควรให้มีการจัดเวทีเสวนาสะท้อนสถานการณ์ปัญหาและสร้างความเข้าใจในวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์
• ควรดำเนินการส่งเสริมประเพณีและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ เพื่อให้สังคมมีความเข้าใจในวิถีชีวิตคนกลุ่มนี้มากยิ่งขึ้น
 
23 กุมภาพันธ์ 2555  
ผู้แทนคณะกรรมการกะเหรี่ยงและคณะกรรมการชาวเล ร่วมหารือกับปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และกลุ่มส่งเสริมเครือข่ายฯ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 21 กระทรวงวัฒนธรรม (ผู้เข้าร่วมประชุม 11คน)  มีวาระการหารือในเรื่องการเสนอของบประมาณเพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงและชาวเล ปี 2555 และ       ปี2556 ทั้งนี้ปลัดกระทรวงวัฒนธรรมเห็นชอบในหลักการตามข้อเสนอของคณะกรรมการ พร้อมกับเสนอให้มีคณะกรรมการพิจารณาเกณฑ์การดำเนินการตามนโยบายเพื่อให้เกิดผลดำเนินการที่มีประสิทธิภาพ พร้อมกันนี้ ได้หารือในเรื่องการทำงานด้านการฟื้นฟูวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ภายหลังมติ ครม. 3 ปี โดยคณะกรรมการเสนอให้ มีการพิจารณาจัดสรรงบประมาณให้ครอบคลุมกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ โดยควรเตรียมการจัดตั้งกลุ่มงานชาติพันธุ์ หรือสำนักพหุวัฒนธรรม ภายใต้สังกัดของสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เพื่อให้เกิดกลไกการบริหารจัดการและทำงานเป็นระบบอย่างชัดเจน

24-25 พฤษภาคม 2555
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ร่วมกับสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนนโยบายการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2553 ระหว่างวันที่ 24-25 พฤษภาคม 2554 ณ จ.ภูเก็ต โดยมี ผศ.สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์ ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เป็นผู้กล่าวเปิดการประชุม และมอบนโยบายการขับเคลื่อนมติ ครม.ในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล แทนนายสมชาย เสียงหลาย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม  วัตถุประสงค์ของการจัดประชุมเป็นไปเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และถอดบทเรียนการทำงานในช่วงที่ผ่านมาให้แก่คณะกรรมการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลระดับจังหวัดและผู้แทนชาวเล เพื่อให้เจ้าหน้าที่และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องสามารถปรับตัวทันกับสถานการณ์ และร่วมกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวเลไปพร้อมกัน มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 63 คน  การประชุมนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างการมีส่วนร่วม การยอมรับและรับฟังปัญหาของกลุ่มคนจากภาคส่วนต่างๆ ได้อย่างน่าสนใจ  โดยแผนกิจกรรมและโครงการที่ร่วมกันระดมจากพลังความคิดและประสบการณ์ในการทำงานในครั้งนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นของการทำงานอย่างมีส่วนร่วมทั้งจากชาวเล องค์กรชุมชน หน่วยงานภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน และสถาบันการศึกษาได้เป็นอย่างดี
 
9 กรกฎาคม2554
มีแผนประชุมคณะกรรมการอำนวยการบูรณาการเพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลครั้งที่ 1/2555    (นางสุกุมล คุณปลื้ม รมว.วัฒนธรรมเป็นประธาน) มีวาระสืบเนื่องและพิจารณาในเรื่องการรายงานผลการดำเนินการ ปัญหาอุปสรรค ข้อติดขัดที่ไม่สามารถปฏิบัติงานสนองมติครม. ได้ในระดับจังหวัด กรม และกระทรวงเพื่อเสนอให้มีการเร่งแก้ไขในระดับนโยบาย  การพิจารณาแนวคิดเขตวัฒนธรรมพิเศษที่เอื้อต่อกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีลักษณะสังคมวัฒนธรรมจำเพาะ และการแก้ไขปัญหาความมั่นคงในที่ดินที่อยู่อาศัย และที่ทำมาหากินของชุมชนชาวเล กรณีชุมชนหาดราไวย์ จ.ภูเก็ต และแนวทางการขยายผลการแก้ปัญหาสู่ชุมชนอื่นๆ
 
19 กรกฎาคม 2555 
ประชุมหารือกรณีการแก้ไขปัญหาความมั่นคงในที่อยู่อาศัยและที่ทำกินของชุมชนชาวเล (วาระพิเศษ) วันที่ 19กรกฎาคม 2555 มีมติที่ประชุมให้ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาที่ดินซึ่งจะมาจากคณะกรรมการอำนวยการบูรณาการนโยบายเพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล และให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องส่งข้อมูลมาให้ฝ่ายเลขานุการเพื่อประสานบูรณาการชุดข้อมูลให้ตรงกัน เพื่อจัดทำรายงานการดำเนินการในปีที่สองเสนอคณะรัฐมนตรี
 
28 กันยายน 2555    
ประชุมคณะกรรมการอำนวยการบูรณาการเพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล ครั้งที่ 2/2555  (นางสุกุมล คุณปลื้ม รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธาน) ในวันที่ 28 กันยายน  2555 เพื่อติดตามผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบตามแนวนโยบายฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล ที่ประชุมมีมติเห็นควรให้มีการตั้งคณะกรรมการอำนวยการบูรณาการนโยบายเพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิตและแก้ไขปัญหากลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล เพื่อกำหนดนโยบายและอำนวยการให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2553 เรื่องแนวนโยบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล  และตั้งคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาความมั่นคงในที่อยู่อาศัย พื้นที่ทำกิน และพื้นที่ทางจิตวิญญาณของชุมชนชาวเล เพื่อรวบรวมข้อเท็จจริง สรุปปัญหาความมั่นคงในที่อยู่อาศัย พื้นที่ทำกินและพื้นที่ทางจิตวิญญาณและตรวจสอบสิทธิในที่ดินเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
 
(28 ตุลาคม2555 นางสุกุมล คุณปลื้ม พ้นจากตำแหน่ง รมว.วัฒนธรรม
28 ตุลาคม2555 นายสนธยา คุณปลื้ม เข้ารับตำแหน่ง รมว.วัฒนธรรม)

 



Downloads PDF

  ย้อนกลับ   

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง