สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject อูรักลาโว้ย,ชาวเล,สังคมวัฒนธรรม,ความเป็นอยู่,การพัฒนา
Author ไพโรจน์ พรพันธุ์อนุวงศ์
Title การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของชาวเล
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity อูรักลาโว้ย อูรักลาโวยจ, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเนเชี่ยน
Location of
Documents
เอกสารอัดสำเนาจากห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
(เอกสารฉบับเต็ม)
Total Pages 111 Year 2527
Source บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการของชาวเล ผู้เขียนพบว่า ผลการศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการด้านสุขอนามัย เศรษฐกิจ อาชีพ และการศึกษาของชาวเล สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาด้านคุณภาพชีวิตทั้ง 4 ด้าน ดังที่กล่าวไปข้างต้นของชาวเลที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำ และในการศึกษาพบว่า รัฐมีการให้ความสำคัญแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพชีวิตเพียง 2 ด้าน คือ ด้านสุขอนามัย และด้านการศึกษา ซึ่งที่ผ่านมาถึงแม้ว่ารัฐจะยืนมือเข้ามาช่วยเหลือพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวเลให้ดีขึ้น แต่ชาวเลเองก็ยังไม่ให้การยอมรับร่วมมือเข้ารับบริการจากรัฐเท่าที่ควร ผู้เขียนจึงเสนอแนวทางการแก้ไขว่า ควรนำข้อมูลผลการศึกษาให้ครั้งนี้เสนอต่อหน่วยงานภาครัฐในระดับจังหวัดที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวเลให้ดีขึ้นต่อไป (หน้า ฆ-ง)

Focus

ศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการของชาวเลเกาะสิเหร่ในประเด็นสังคมวัฒนธรรม สุขภาพอนามัย เศรษฐกิจ และการศึกษา (หน้า 7)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ชาวเล เกาะสิเหร่ ตำบลรัษฏา อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต (หน้า 7)

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาพูดของชาวเลจัดอยู่ในตระกูลภาษามลาโย-อินโดนีเซียน สำเนียงพูดมักเป็นเสียงเร็ว มีการสร้างคำเกี่ยวกับการประกอบอาชีพที่ใช้พูดกันในกลุ่มแคบๆ และมีการนำคำภาษาไทยเข้าไปใช้ร่วมด้วย แต่ไม่มีภาษาเขียน ปัจจุบันเด็กชาวเลสามารถพูดภาษาไทยได้เนื่องจากได้รับการศึกษาจากโรงเรียน (หน้า 28-29)

Study Period (Data Collection)

เดือนเมษายน พ.ศ. 2527 ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2527

History of the Group and Community

ชาวเลเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่งทางใต้ของไทย เป็นชาวน้ำ แต่คนส่วนใหญ่เรียกว่า "ชาวทะเล" หรือ "ชาวเล" บางแห่งก็เรียกว่า "ไทยใหม่" คนมลายูเรียกพวกเขาว่า "อุรังละอุต" (eranglaut) แปลว่า คนทะเล ชาวเลเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมของชาติมลายู เข้ามาอยู่ในแหลมมลายูก่อนชาวมลายู และเข้ามาสันนิษฐานว่า ประมาณ 4,000 ปีที่แล้ว ชนเผ่าอินโดนีเซีย ซึ่งอพยพจากฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของจีนแผ่นดินใหญ่เข้ามาตั้งถิ่นฐานตามเกาะเป็นพวกแรก การอพยพนี้แบ่งออกเป็น 2 พวก คือ พวกแรกกลายเป็นต้นตระกูลของพวกบาทัคส์ (Bataks) ในเกาะสุมาตรา และพวกที่สอง พวกดยัก (Dyaks) ในเกาะเบอร์เนียว ต่อมาเป็นต้นกำเนิดของชนชาติชวาบาหลี ปัจจุบันแบ่งเป็นกลุ่มย่อย ได้แก่ Land Dyaks และ Sea Dyaks หมายถึงชาวน้ำ หรือชาวเล อย่างไรก็ดี ยังมีกลุ่มชาติพันธุ์อีกกลุ่มหนึ่ง คือ พวก "อุรังบูกิต" แปลว่า "คนภูเขา" ได้อพยพเข้ามาอาศัยพร้อมๆ กับชาวเล สำหรับชาวเลที่อาศัยทางฝั่งตะวันตกของประเทศอินโดนีเซียมีการเรียกตัวเองว่า "มาซิง (สิงห์)" แปลว่า ชาวสิงห์หรือคนที่อาศัยอยู่ทางด้านตะวันตก หรือทางฝั่งตะวันออกตามอ่าวต่างๆ ของเกาะภูเก็ต (หน้า 20-21)

Settlement Pattern

สมัยก่อนชาวเลอาศัยอยู่ในเรือ บางครั้งก็สร้างเพิงบนชายหาดพักอาศัยชั่วคราว โยกย้ายตามฤดูกาล ลักษณะบ้านของชาวเลเป็นเรือนยกพื้นใต้ถุนสูง ไม่มีระเบียง มีนอกชานเฉพาะหน้าบันได เรือนแต่ละหลังปลูกเชื่อมเรียงต่อกัน ไม่มีรั้วกั้นแบ่งอาณาเขตบ้าน ส่วนลักษณะบ้านชั่วคราวของชาวเลมักสร้างติดพื้น มีประตูเดียว และหน้าต่างขนาดเล็ก ที่ตั้งบ้านจะยึดแนวดวงอาทิตย์ขึ้นเป็นหลัก ไม่สร้างขวางแนวพระอาทิตย์ การกำหนดของวัสดุสร้างบ้านปูพื้น และกั้นฝาบ้านด้วยไม้กระดานหรือไม้ไผ่ มุงหลังคาด้วยสังกะสีหรือจาก ซึ่งได้มาด้วยการหามาจากที่อื่น หรือซื้อมา (หน้า 22-23)

Demography

ชาวเลที่เกาะสิเหร่ หรือแหลมตุ๊กแก มีจำนวนประชากรมากที่สุดในจังหวัดภูเก็ต คือ 787 คน 217 ครัวเรือน ส่วนชาวเลบริเวณหาดราไวย์ ตำบลราไวย์ อำเภอเมือง ที่เรียกตัวเองว่า "สิงห์" มีจำนวนประชากร 90 คน 18 ครัวเรือน และที่เรียกตัวเองว่า "ไทยใหม่" มีจำนวนประชากร 421 คน 95 ครัวเรือน บริเวณแหลมหลา ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง มีจำนวนประชากร 275 คน 50 ครัวเรือน บริเวณหาดสะปา ตำบลเกาะแก้ว อำเภอเมือง มีจำนวนประชากร 120 คน 29 ครัวเรือน และบริเวณบ้านเหนือ ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง มีจำนวนประชากร 62 คน 15 ครัวเรือน (หน้า 21-22)

Economy

การประมงเป็นอาชีพทั่วไปของชาวเล ชาวเลที่ฐานะไม่ดีส่วนใหญ่เลี้ยงชีพแบบวันต่อวันด้วยการรับจ้างขายแรงงาน หรือเช่าเรือกับนายทุนคนนอกชุมชน ส่วนชาวเลฐานะดีซึ่งมีเป็นส่วนน้อย มีเรือ และอุปกรณ์หาปลาเป็นของตนเองเป็นกลุ่มชาวเลที่มีอาชีพมั่นคง ชนิดและปริมาณผลผลิตที่ได้จากการทำประมงของชาวเลแตกต่างกันออกไปแต่ละชุมชน ดังนี้ ชุมชนชาวเลเกาะสิเหร่จับปลา หอยแครง และแมงกะพรุนได้มาก ชุมชนชาวเลหาดสะปาจับหอยแครงได้มาก ชุมชนชาวเลหาดราไวย์จับปลา งมหอยมุก และหอยดิบได้มาก ผลผลิตของชาวเลที่ได้ขายให้กับเจ้าของที่ดิน พ่อค้าคนกลาง หรือเจ้าของเรือที่ตนเองเช่า (หน้า 32-33) จากการเก็บข้อมูลกลุ่มประชากรที่ศึกษา พบว่า รายได้หลักของครอบครัวชาวเลส่วนใหญ่มาจากอาชีพประมงเป็นหลัก รองลงมา คือ อาชีพรับจ้าง และค้าขาย ไม่มีอาชีพเสริม ครอบครัวชาวเลจึงมีสภาพทางการเงินไม่ดี ไม่มีเงินออม (หน้า 60-64) ปัญหาหลักในการประกอบอาชีพ คือ ขาดความรู้ ภูมิอากาศไม่อำนวย ตลาดในการรองรับสินค้า การเอาเปรียบจากนายทุน ทรัพยากรธรรมชาติลดลง เครื่องมือในการประกอบอาชีพประมงแบบเก่าส่งผลให้ผลผลิตต่ำ แม้ว่าจะพบกับปัญหาดังกล่าวชาวเลในชุมชนก็ไม่ต้องการที่จะเปลี่ยนอาชีพ เพราะเป็นอาชีพที่ปฏิบัติสืบทอดกันมานาน และมีวิถีชีวิตแบบรวมกลุ่ม (หน้า 66-68) แต่ก็ต้องการให้รัฐเข้ามาแนะแนวส่งเสริม หรือให้ทุนกู้ยืมเพื่อการประกอบอาชีพ (หน้า 70)

Social Organization

ครอบครัวชาวเลประกอบด้วยพ่อ แม่ ลูก และบุพการี เมื่อคนในครอบครัวแต่งงาน มักแยกครอบครัวออกไปสร้างบ้านอาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้คียง หรือในหมู่บ้านเดียวกัน ครอบครัวของชาวเลถือฝ่ายมารดา และภรรยาเป็นใหญ่ เพราะชาวเลถือว่าบุตรสาวมีค่าเหมือนได้ทอง ส่วนบุตรชายเมื่อมีครอบครัวต้องไปทำงานบ้านของฝ่ายหญิง ตั้งแต่วันตกลงกัน ไม่มีเวลามาช่วยพ่อแม่ของตน (หน้า 23) การแต่งงานของชาวเลครองคู่แบบผัวเดียวเมียเดียว ทั้งชายและหญิงนิยมแต่งงานอายุ 14-17 ปี โดยฝ่ายชายและครอบครัวเป็นผู้สู่ขอฝ่ายหญิง เมื่อฝ่ายหญิงตอบตกลงจึงทำพิธีหมั้นด้วยสินสอดไม่เกิน 500 บาท แต่ในอดีตไม่ใช้สินสอด แล้วจึงนัดหมายวันแต่งงาน ในวันแต่งงานเริ่มต้นจากฝ่ายเจ้าบ่าวจัดสิ่งของการประกอบพิธีตามฐานะ และแห่ไปบ้านเจ้าสาว ได้แก่ เครื่องมือทำมาหากิน เสื่อ หมอน ผ้าสีต่างๆ ผืนละ 2-3 หลา ขันหมาก 1 ขัน มีพิธีเลี้ยงหมากพลูแก่แขกผู้ร่วมพิธี โดยคู่บ่าวสาวนั่งกลางวง เมื่อใกล้สว่างจึงทำพิธีแห่ทั้งคู่ไปริมหาด เพื่อลงเรือท่องเที่ยวทะเลหรือเกาะอื่นพร้อมกับเสื่อและหมอน จากนั้นจึงอวยพรให้กับทั้งคู่ และพายเรือกลับเข้าฝั่งในเวลาเย็น การแต่งงานของชาวเลปัจจุบันมีการผสมผสานตามแบบคนเมือง แต่ยังคงนิยมกำหนดพิธีการแต่งงานในเวลากลางคืน (หน้า 27-28)

Political Organization

"ดะโต๊ะ" หรือ "โต๊ะ" (หมอ) มีบทบาทเป็นผู้นำทั้งทางสังคม และผู้ประกอบพิธีกรรม หรือหมอรักษาโรคให้กับคนในชุมชน ถ้าในชุมชนหนึ่งมีโต๊ะหลายคน โต๊ะแต่ละคนจะได้รับการยอมรับเท่าเทียมกัน ปัจจุบันบทบาทของโต๊ะเริ่มลดลง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และสารวัตรกำนัน ได้เข้ามามีบทบาทแทน (หน้า 26-27)

Belief System

ความเชื่อผี ชาวเลเชื่อว่า "ผี" ทำให้เกิดสิ่งต่างๆ เช่น การเจ็บป่วยเกิดจาก "ผีกิน" ฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า และอื่นๆ ที่เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติเป็นการลงโทษของผี เรียกว่า "ผีชิน" มีอยู่ 7 จำพวก บางพวกให้คุณ บางพวกให้โทษ (หน้า 26) พิธีศพเป็นพิธีที่ชาวเลทุกครอบครัวในชุมชนจะส่งตัวแทนไปให้ความช่วยเหลือด้านอาหาร หรือสิ่งของในงานศพของผู้ตาย (หน้า 28)

Education and Socialization

ทัศนคติของชาวเลต่อการศึกษาใหม่ จากการเก็บข้อมูลพบว่า หัวหน้าครอบครัว และผู้สูงอายุชาวเลในชุมชนส่วนใหญ่ไม่เห็นความสำคัญของระบบการศึกษาของรัฐ แต่ก็ให้ลูกหลานบางคนเข้าเรียนในโรงเรียน เพื่อให้ลูกหลานมีความรู้มากกว่าเหตุผลตามกฎหมายบังคับ และข้อจำกัดด้านรายได้ที่ไม่มากพอ เมื่อเปรียบเทียบระดับความรู้ของชาวเลพบว่า ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำโดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ ส่วนผู้ที่รู้หนังสืออ่านออกเขียนได้มักเป็นชาวเลที่อยู่ในวัยหนุ่มสาว (หน้า 74-85)

Health and Medicine

1. สุขภาพอนามัย จากการเก็บข้อมูลชาวเลเกาะสิเหร่ พบว่า ชาวเลมักป่วยเป็นโรคผิวหนัง โรคหวัด โรคขาดสารอาหาร และโรคทางเดินอาหาร (หน้า 46) ด้านการรักษาโรค พบว่า รัฐได้มีการจัดตั้งสถานีอนามัยบริการให้กับชุมชน แต่ชาวเลในชุมชนมักรักษาความเจ็บป่วยของตนเองกับหมอกลางบ้าน หรือการประกอบพิธีกรรมเพื่อการรักษาโรคตามประเพณีความเชื่อในกลุ่มของตนเองเป็นอันดับแรก เพราะเชื่อว่าได้ผลการรักษาที่ดีกว่า นอกจากนั้น คือ การซื้อยารับประทานเองจากร้านขายยา สถานีอนามัย ไปโรงพยาบาล หรือคลีนิค (หน้า 48, 50) ผลกระทบที่เกิดจากความเชื่อในการรักษาโรคแบบดั้งเดิม ความยากจน และขาดความรู้ดังกล่าวได้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาสุขภาพอนามัยของชาวเล เช่น การรับวัคซีน การวางแผนครอบครัว เป็นต้น (หน้า 48-58) 2. การรักษาแบบพื้นบ้านตามความเชื่อดั้งเดิม การเจ็บป่วยมีสาเหตุมาจาก "ผีกิน" การรักษาส่วนมาก หมอใช้การเป่าคาถาบนศีรษะผู้ป่วย และทำน้ำมนต์ให้ดื่ม ใช้เวลารักษา 3 วัน หยุด 1 วัน ถ้ายังรักษาไม่หายก็รักษาต่ออีก 3 วัน หยุด 1 วัน ทำเป็นระยะๆ เช่นนี้จนกว่าอาการป่วยจะหาย นอกจากเป่าแล้วก็ใช้การเสกหมาก เสกพลูให้ผู้ป่วยกินหรือทา หรือใช้รากไม้ฝนกับน้ำแล้วทาตามร่างกาย (หน้า 31)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ลักษณะการแต่งกายตามแบบเดิมผู้ชายนุ่งผ้าเตี่ยว ไม่สวมเสื้อ ผู้หญิงนุ่งผ้ากระโจมอกคลุมถึงหัวเข่า และไม่ค่อยสวมเสื้อเช่นกัน ปัจจุบันชาวเลแต่งกายแบบคนพื้นเมือง เมื่ออยู่ในย่านชุมชนผู้ชายจะนุ่งกางเกงรูปทรงแบบกางเกงจีน ซึ่งหาซื้อง่าย ราคาถูก แต่ไม่คอยสวมเสื้อ ส่วนผู้หญิงนุ่งผ้าถุง สวมเสื้อ สำหรับเครื่องประดับชาวเลใช้ทองคำทำเครื่องประดับเล็กๆ น้อยๆ ไม่นิยมใช้เบี้ยหอย หรือพวกมุกต่างๆ ทำเครื่องประดับ (หน้า 24)

Folklore

ไม่มี

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มี

Social Cultural and Identity Change

ไม่มี

Other Issues

1. อาหารการกิน ชาวเลรับประทานอาหารทุกอย่าง อาหารหลักคือ ข้าว และอาหารทะเลที่หาได้เอง มีการหาสิ่งของจากทะเล เช่น ปลา เปลือกหอย ปะการัง เป็นต้น และการผลิตเครื่องใช้ในครัวเรือน เช่น เสื่อ กะชุ เพื่อใช้แลกเปลี่ยนเครื่องอุปโภคบริโภคที่สำคัญจากคนนอกชุมชน แต่นิสัยชาวเลค่อนข้างกลัวคนภายนอกที่ไม่ใช่ชาวเลด้วยกัน จึงไม่กล้านำสิ่งของไปแลกเปลี่ยนด้วยตนเอง ชาวเลจึงนำสิ่งของที่ต้องการแลกเปลี่ยนไปใส่เรือไปกับตัวแทน 3-4 คน ประกอบด้วยผู้ทำหน้าที่ไปแลกของที่ต้องการตามบ้านของคนพื้นเมือง และผู้เฝ้าเรือเพื่อรอสมาชิกกลับมาเมื่อได้สิ่งของครบตามที่ต้องการ ปัจจุบันการขายแรงงานเป็นอีกวิธีหนึ่งในการแลกเปลี่ยนเครื่องอุปโภคบริโภคของชาวเล นอกจากนั้นชาวเลยังขาดความรู้ในการปลูกพืช และถนอมอาหาร (หน้า 24-26) 2. ปัญหาและความต้องการของชาวเลพบว่า มี 3 ด้าน หนึ่ง ด้านสุขภาพ ปัญหาที่พบ คือ นอกจากการสืบทอดและการรักษาโรคตามความเชื่อ ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณีในกลุ่มของตนเอง การเข้ารับบริการทางสุขภาพจากหมอกลางบ้านมากกว่าหน่วยงานรัฐแล้ว ความเจ็บป่วยด้วยโรคขาดสารอาหารที่เกิดจากการไม่รับประทานผัก โรคตาจากการทำประมง รวมทั้งการใช้ห้องน้ำไม่ถูกสุขลักษณะถือเป็นอุปสรรคต่อสุขภาพของชาวเล ซึ่งชาวเลเองก็ต้องการให้หน่วยงานรัฐเข้ามาให้ความรู้ และการบริการด้านสุขภาพอนามัย สอง ด้านเศรษฐกิจและอาชีพ ปัญหาของชาวเลที่พบในการศึกษา คือ รายได้น้อย และผลผลิตต่ำ เนื่องจากขาดความรู้ในการพัฒนา การตลาด การเผยแพร่ผลผลิต ถูกเอาเปรียบการจำหน่ายผลผลิต และปัญหาสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นปัญหาที่พบกับชาวเลกลุ่มอื่นด้วยเช่นกัน ชาวเลในการศึกษาครั้งนี้ต้องการให้หน่วยงานรัฐมุ่งพัฒนาด้านความรู้ และยกมาตรฐานการประกอบอาชีพให้ดีขึ้นเป็นสำคัญ และสาม ด้านการศึกษา ปัญหาที่พบ คือ การศึกษาในระบบโรงเรียนของชาวเลต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน เด็กนักเรียนชาวเลที่ไม่อยากมาเรียน และครูที่พูดภาษาชาวเลไม่ได้ เนื่องจากสังคมวัฒนธรรม และวิถีชีวิตชาวเลให้ความสำคัญกับสถาบันครอบครัว และกลุ่มสังคมของตนเอง กลุ่มชาวเลส่วนใหญ่จึงส่งให้ลูกหลานให้ได้เล่าเรียนหนังสือในระดับปานกลาง เพราะยังไม่เห็นความจำเป็นของการศึกษาใหม่จากหน่วยงานรัฐ (หน้า 88-91)

Map/Illustration

ผู้เขียนมีการใช้ตารางเข้ามาช่วยรายงานผลการศึกษา ดังนี้ จำนวนผู้ให้สัมภาษณ์ จำแนกตามเพศและอายุ (หน้า 42) ความคิดเห็นของชาวเลที่มีต่อขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม จำแนกตามเพศและอายุ (หน้า 43) การให้ความร่วมมือในการร่วมกิจกรรมในชุมชนของชาวเล จำแนกตามเพศและอายุ (หน้า 45) ชนิดของโรคที่ชาวเลเป็น จำแนกตามเพศและอายุ (หน้า 47) การปฏิบัติตนเมื่อมีโรคภัยไข้เจ็บของชาวเล จำแนกตามเพศและอายุ (หน้า 49) ความคิดเห็นในการรักษาผู้ป่วยด้วยวิธีโบราณกับวิธีสมัยใหม่ของชาวเล จำแนกตามเพศและอายุ (หน้า 51) การปลูกฝีหรือฉีดวัคซีนเมื่อมีโรคระบาดของชาวเล จำแนกตามเพศและอายุ (หน้า 53) ความคิดเห็นในการคุมกำเนิดของชาวเล จำแนกตามเพศและอายุ (หน้า 55) ความต้องการให้สถานีอนามัยช่วยเหลือด้านสุขภาพอนามัยของชาวเล จำแนกตามเพศและอายุ (หน้า 57) ลักษณะการให้ความช่วยเหลือด้านสุขภาพอนามัยของชาวเล จำแนกตามเพศและอายุ (หน้า 59) รายได้ต่อปี (โดยประมาณ) ของชาวเล จำแนกตามเพศและอายุ (หน้า 61) สภาพทางการเงินในครอบครัวของชาวเล จำแนกตามเพศและอายุ (หน้า 63) การประกอบอาชีพของชาวเล จำแนกตามเพศและอายุ (หน้า 65) ปัญหาในการประกอบอาชีพของชาวเล จำแนกตามเพศและอายุ (หน้า 67) ความต้องการในการเปลี่ยนอาชีพของชาวเล จำแนกตามเพศและอายุ (หน้า 69) ความต้องการการส่งเสริมจากหน่วยงานของรัฐบาลด้านอาชีพของชาวเล จำแนกตามเพศและอายุ (หน้า 71) ทัศนคติที่มีต่อการศึกษาของชาวเล จำแนกตามเพศและอายุ (หน้า 73) ความคิดเห็นของชาวเลเกี่ยวกับประโยชน์ที่เด็กจะได้รับ หากได้เรียนหนังสือ จำแนกตามเพศและอายุ (หน้า 75) ความคิดเห็นที่จะให้บุตรเรียนหนังสือของชาวเล จำแนกตามเพศและอายุ (หน้า 77) เหตุผลที่ให้บุตรเรียนหนังสือของชาวเล จำแนกตามเพศและอายุ (หน้า 79) ความคิดเห็นในการให้บุตรเรียนชั้นสูงของชาวเล จำแนกตามเพศและอายุ (หน้า 81) ระดับความรู้ของผู้ให้สัมภาษณ์ จำแนกตามเพศและอายุ (หน้า 83) และความต้องการในการเรียนหนังสือของชาวเล จำแนกตามเพศและอายุ (หน้า 85)

Text Analyst รัตนา หาญสวัสดิ์ Date of Report 30 มิ.ย 2560
TAG อูรักลาโว้ย, ชาวเล, สังคมวัฒนธรรม, ความเป็นอยู่, การพัฒนา, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง