สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ยวน คนเมือง ไทยวน,ความหลากหลายทางชีวภาพ,ภูมิปัญญา,การปรับตัว,น่าน
Author กฤษฎา บุญชัย
Title พลวัตรชุมชนล้านนาในการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ไทยวน ยวน ยวนสีคิ้ว คนเมือง, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ห้องสมุดกลาง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Total Pages 211 Year 2540
Source หลักสูตรปริญญาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต สาขามานุษยวิทยา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Abstract

ชุมชนบ้านน้ำจำมีการจัดการทรัพยากรชีวภาพอย่างหลากหลาย การพัฒนาระบบการผลิต องค์ความรู้การคัดเลือกพันธุ์พืชเขตร้อน แลกเปลี่ยนกระจาย ความรู้เรื่องบริโภคอาหารพื้นบ้าน การใช้ประโยชน์บนฐานของความเชื่อเรื่อง "ผี" ครอบคลุมมิติจิตวิญญาณ ตั้งแต่ พ.ศ.2500 เป็นต้นมา ชุมชนได้ผลกระทบ 3 ประการ ประการแรก นโยบายสัมปทานไม้ของรัฐ ที่จูงใจให้ชาวบ้านละเมิดกฎเกณฑ์ชุมชน ประการที่ 2 การส่งเสริมพืชพาณิชย์ซึ่งเป็นแบบแผนการผลิตใหม่ ประการสุดท้าย การกำหนดสิทธิของรัฐในลักษณะกรรมสิทธิ์รัฐและกรรมสิทธิ์ปัจเจกได้มาลดทอนสิทธิการใช้ประโยชน์ "หน้าหมู่" (common property) สร้างความไม่มั่นใจแก่ชาวบ้านในการทำมาหากิน อำนาจในการรักษาและกีดกันคนภายนอกของชุมชนลดลง เงื่อนไขเหล่านี้เป็นแรงกดดันให้ชาวบ้านต้องปรับตัวไปในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ทำสวน ปลูกพืชผัก รับจ้างทั้งนอกและในชุมชน ลดรอบไร่หมุนเวียนและการปลูกพาณิชย์ รูปแบบหลังพบว่ามีความเสี่ยงสูงที่สุด เพราะในขณะที่กลไกราคาทำงานเต็มที่ ชาวบ้านไม่ได้เป็นเจ้าของผลผลิตตนเอง กลับเข้าสู่วัฎจักรหนี้ อย่างไรก็ดี โครงสร้างทางสังคมของชุมชนเองก็ยังสามารถเกาะตัวเพื่อปรึกษา หารือสรุปบทเรียนในระดับชุมชน และยกระดับสู่เครือข่ายเพื่อหาทางเลือกในการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน และชุมชนมีความมั่นคงในชีวิต ซึ่ง "กลุ่มฮักเมืองน่าน" ได้เข้ามามีบทบาทหนุนช่วยชุมชน (หน้า 113, 124-125, 134-140) อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยยังได้ใช้กรอบประชากร ซึ่งไม่ได้เป็นเหตุและผลต่อกันเพียงประการเดียว พบว่าแรงกดดันภายนอกเรื่องนโยบายรัฐ การประกาศเขตป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งเป็นสาเหตุที่มาก่อนปัจจัยประชากรเพิ่มขึ้น และเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ชาวบ้านเกิดความมั่นใจเรื่องสิทธิ นอกจากนี้ ไม่ได้มีหลักฐานมารองรับหรืออ้างอิงปรากฎในงานวิจัย เช่น ประชากรในพื้นที่ศึกษาเพิ่มจริง แต่ไม่มีตัวเลขยืนยันการเบิกที่มากกว่า 5 ไร่จากการถือครองเดิมของแต่ละครัวเรือน (หน้า 136-137, 192 )

Focus

เป็นการศึกษา 1.มุ่งเจาะระบบคิด ภูมิปัญญาของชุมชนท้องถิ่น ว่าชุมชนมีความรู้อย่างไร ระบบคิดดังกล่าวส่งผลต่อแบบแผน วิถีปฏิบัติ ประเพณี ความเชื่อ การจัดการความสัมพันธ์ทางสังคม และการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพอย่างไร 2.การปรับตัวของระบบคิดหรือภูมิปัญญาของชุมชนท้องถิ่น กระบวนการเรียนรู้ของชุมชนต่อความหลากหลายทางชีวภาพ จากแรงกดดันภายในและภายนอกชุมชน กระบวนการตอบโต้ และการปะทะประสานระหว่างภูมิปัญญาชุมชน กับการพัฒนากระแสหลักอย่างไร ที่ชุมชนจะใช้ประโยชน์จากฐานทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน (หน้า 32)

Theoretical Issues

ไม่มีข้อค้นพบในประเด็นเชิงทฤษฎีที่ชัดเจน

Ethnic Group in the Focus

คนไทยยวน หรือคนเมืองพื้นราบ

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

1. เชิงศึกษาพื้นที่ประมาณ พ.ศ.2537-2540 2. เชิงข้อมูลนั้นได้สืบสาวเชิงประวัติศาสตร์ชุมชนโดยแบ่งเป็น 2 ยุค 2.1 ยุคก่อนการพัฒนา พ.ศ.2500ลงมา 2.2 ยุคหลังการพัฒนา พ.ศ.2500 เป็นต้นมา

History of the Group and Community

จากคำบอกเล่าคนเฒ่าคนแก่ในยุคตั้งรกรากถิ่นฐานพบว่า ชุมชนน้ำจำไม่ใช่ชนกลุ่มแรกที่มาบุกเบิกพื้นที่ โดยจากหลักฐานวัดมอญ ได้บ่งชี้ว่าเป็นมอญอยู่มาก่อน หลังจากนั้นชุมชนน้ำจำก็อพยพเข้ามา มีการสร้างวัดน้ำจำตามแบบล้านนาร่วมกันประมาณ พ.ศ. 2319 ซึ่งช่วงแรกมีประชากรไม่ถึง 100 หลังคาเรือนผู้คนเกี่ยวพันเป็นเครือญาติ สกุล ผัดผลเป็นสกุลดั้งเดิมของชุมชน จากระบบนิเวศน์ที่มีความแตกต่างหลากหลาย การพึ่งพาทรัพยากรจึงมีระดับที่แตกต่างกันตามความสามารถของชุมชนในวิถีชุมชนบ้านป่า การก่อตั้งบ้านเรือนจะเกาะกลุ่มเรียงรายตามแม่น้ำ ประวัติศาสตร์ชุมชนเป็นเรื่อง ความรู้ชาวบ้านในการจัดการทรัพยากร และการปรับตัวต่อผลกระทบจากนโยบายการพัฒนาของรัฐที่ขยายเข้ามาในชุมชน และความเปลี่ยนแปลงภายในชุมชนเอง (หน้า 59-61)

Settlement Pattern

เดิมคนไทยยวนกลุ่มนี้อาศัยอยู่ในเขตเมืองน่าน ด้วยต้องการหาแหล่งทำมาหากินใหม่ ซึ่งป่าติดน้ำน่านฝั่งตะวันออกตอนใต้แห่งนี้มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การทำเกษตร จึงได้อพยพเข้ามาทำกินในพื้นที่ปัจจุบันไม่ต่ำกว่า 180 ปี (ราวต้นกรุงรัตนโกสินทร์) และมี "ลำห้วยน้ำจำ" เป็นแหล่งน้ำหลักที่หล่อเลี้ยงชุมชน (หน้า 59-60)

Demography

มี 169 หลังคาเรือน ประชากรทั้งหมด 683 คน แบ่งเป็นผู้ชาย 333 คน ผู้หญิง 350 คน (หน้า 169)

Economy

พื้นฐานจากชุมชนเกษตรกรรม ครัวเรือนเป็นหน่วยการผลิตและบริโภคขนาดเล็ก มีระดับการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศน์ที่แตกต่างกัน ได้แก่ ทำนาในที่ราบลุ่มริมน้ำ ที่ต้องอาศัยกลุ่มเหมืองฝายในการจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ และทำไร่หมุนเวียนในพื้นที่ป่า "หน้าหมู่" ซึ่งได้เปิดมิติวิธีคิดที่มองว่าระบบการผลิตแบบไร่หมุนเวียน (หรือ "ไร่เลื่อนลอย" ตามความเข้าใจของเจ้าหน้าที่ป่าไม้และคนส่วนใหญ่ในสังคมไทย) เป็นระบบการผลิตของกะเหรี่ยง เมี่ยนและลีซออย่างผูกติดตรึงอยู่กับชาติพันธุ์ แต่ในกรณีนี้คนพื้นเมืองน้ำจำก็ยึดระบบไร่หมุนเวียนเช่นเดียวกัน รวมทั้งการเลี้ยงสัตว์ เก็บของป่า สมุนไพรและล่าสัตว์ การค้าวัวต่างกับกลุ่มชาติพันธ์และคนเมือง ปัจจุบันมีการทำเกษตรพาณิชย์ ในรูปแบบทำสวน ปลูกผัก การลงทุนในการผลิตพืชเงินสดสูงขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีการเกษตรแผนใหม่ และแม้ว่าชุมชนจะมีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรเป็นฐานในการสร้างรายได้หรือความมั่งคงทางเศรษฐกิจ แต่ความมั่นคงในชีวิตเรื่องปัญหาหนี้สินได้เข้ามาบีบคั้น เปลี่ยนแปลงทัศนคติ รวมทั้งการผลักให้ระดับการพึ่งพาระบบการผลิตเพื่อการพึ่งตนเองของชุมชนลดลง (หน้า 64-66,111)

Social Organization

การตั้งถิ่นฐานเป็นระบบมาตาลัย (matrilocal) ถือสายแม่เป็นหลัก โดยนับถือผีปูย่าทางฝ่ายหญิง หากสืบสายตระกูลพบนามสกุลหลักๆ ผัดผล หาดพรหม และขัตติยะ นิยมมีลูกมากด้วยเงื่อนไขความต้องการแรงงาน จึงมักเป็นครอบครัวขยาย (extened family) นอกจากนั้นยังมีกลุ่มเหมืองฝาย เพื่อจัดการดูแลบริหารน้ำ ผู้อาวุโสจะเป็นผู้มีบทบาทมากในฐานะผู้นำความคิด ปัญญา วัฒนธรรม ศาสนาพิธีกรรมแก่ครอบครัวและชุมชน ตลอดจนผู้สั่งสมภูมิปัญญา "หมอเมือง" สามารถรักษาพยาบาลและเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ชุมชนและธรรมชาติกับ "ผี" ตามโลกทัศน์ของคนพื้นเมือง ส่วนกลุ่มตุ๊เจ้า (พระสงฆ์) มีบทบาทสูงในสังคม เป็นครูสอนความรู้ทางธรรม ซึ่งเป็นคุณค่าที่ได้รับการยกย่องและเคารพนับถือ (หน้า 49-50, 71-72, 120-124)

Political Organization

หลังจากความพยายามผนวกล้านนาให้เป็นส่วนหนึ่งของรัฐไทย ทางราชการเชียงใหม่ได้มาจัดตั้งเป็นหมู่บ้านทางการ (ไม่ได้ระบุ พ.ศ.) จนปัจจุบันมีผู้ใหญ่บ้านทั้งสิ้น 11 คน เดิมที่ชุมชนน้ำจำและเมืองจังเป็นชุมชนที่ใหญ่ ต่อมาได้มีการแบ่งแยกแตกแขนงออกเป็น 9 หมู่บ้าน รวมทั้งชุมชนน้ำจำ น้ำวะและน้ำซาวก็เคยเป็นชุมชนเดียวกันมาก่อน (หน้า 63-64)

Belief System

ความเชื่อที่เป็นรากเหง้าของชุมชนคือ "ผี" ตามตระกูลสายแม่ที่เป็นสัญญะของความเคารพเชื่อฟังกติกาในการอยู่ร่วมของชุมชนอย่างสงบสุข เพราะกิจกรรมของมนุษย์ทุกอย่าง รวมทั้งความสัมพันธ์ในครอบครัวและชุมชนล้วนนับถือผีปู่ย่าร่วมกัน ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างคนธรรมชาติ การนับถือผี เช่น ผีไร่ ผีนา แสดงถึงความเกรงกลัว เคารพในคุณค่าธรรมชาติ ระบบนิเวศน์อันหลากหลาย อันแสดงออกในรูปแบบการประกอบพิธีกรรมขอขมาลาโทษ การสวดอ้อนวอน ระบบคุณค่าเรื่อง "ผี" ได้ผ่านกระบวนการขัดเกลาทางสังคม (socialization) ความเชื่อเหล่านี้เป็นวิธีคิดที่มีพลังเบื้องหลังของการพยายามรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ อนุรักษ์และพัฒนาระบบเกษตร รักษาและปรับปรุงพันธุกรรมพืชเขตร้อนชื้นของชุมชน (หน้า 67-69)

Education and Socialization

โรงเรียนได้เข้ามาแทนที่วัดห่างและหอผีของหมู่บ้านเมื่อปี พ.ศ. 2490 ครูจากภายนอกได้เชื่อมโยงความรู้จากส่วนกลางเข้ามาแทนที่ความรู้ของผู้อาวุโส หนาน และความรู้ทางธรรมของ คัมภีร์ใบลาน ตัวหนังสือล้านนา พิธีกรรมและพระธรรมคำศีล ซึ่งพระสงฆ์ที่ได้ทำหน้าที่ครูสอนเด็กในชุมชนมาแต่เดิม และพบว่าตั้งแต่ปี 2530 ลงมา ชาวบ้านมีทัศนคติให้บุตรหลานได้รับการศึกษาเพิ่มขึ้นและสูงขึ้น ด้วยเป้าหมายการเลื่อนสถานภาพทางสังคม การศึกษาในโรงเรียนไม่ได้สร้างกลไกให้เด็กได้เรียนรู้ธรรมชาติและชุมชนตนเองนัก จึงเกิดช่องว่างระหว่างคนรุ่นใหม่กับชุมชน การขาดช่วงของกระบวนการขัดเกลา การอบรมสั่งสอนสมาชิกใหม่ ๆ ในสังคม และการถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาระบบคุณค่าเกิดการหยุดชะงัก (หน้า 160-166)

Health and Medicine

การเข้ามาของแพทย์แผนใหม่เมื่อปี 2500 ด้วยการอธิบายโรคแบบวิทยาศาสตร์ เหตุ-ผล ทดสอบด้วยเครื่องมือเครื่องใช้ทันสมัยได้ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ผู้ป่วยอย่างกว้างขวาง และแก้ปัญหาโรคระบาดของชุมชนได้อย่างมาก แต่ในขณะเดียวกันได้เกิดผลกระทบต่อองค์ความรู้ต่อหมอเมืองโดยตรง อย่างเป็นลูกโซ่ ความนิยมต่อตัวหมอพื้นบ้านลดลง การคิดค้น ปรับปรุง และถ่ายทอดความรู้รักษาพยาบาลด้วยสมุนไพรจากคัมภีร์ใบลานก็ไม่ได้รับพัฒนาสานต่อ พืชสมุนไพรไม่ได้ถูกจดจำ จึงกลายเป็นสิ่งไร้ประโยชน์ ถูกแผ้วถางสูญหายไปเสียมาก ส่งผลต่อการลดลงของทรัพยากรชีวภาพสมุนไพร (หน้า 162-164)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ความศรัทธาต่อ "ผี" ซึ่งเป็นศาสนาดั้งเดิม ซ้อนทับกันพุทธ-ผี และผียังเป็นระบบสัญลักษณ์ในการอธิบายความสัมพันธ์ มนุษย์ ชุมชนกับธรรมชาติอย่างเป็นองค์รวม นอกจากนี้ ชาวบ้านมีความเชื่อถือเรื่องป่าศักดิ์สิทธิ์ 3 ชั้น ป่ากิ่วเย็น ป่าโองโป่ง ป่าช้า ซึ่งสามารถควบคุมการใช้ประโยชน์จากป่าได้อย่างดี โดยป่าทั้ง 3 แบ่งตามระบบนิเวศน์ของป่าจากการเรียนรู้ของชุมชนเอง และกติกาภายในชุมชนใช้ประโยชน์อย่างพอเพียง (หน้า 116-117)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

แผนภาพ พลวัตรชุมชนกับการจัดการทรัพยกรชีวภาพ (หน้า 33) แผนที่แสดงลุ่มน้ำน่าน (หน้า 38) แผนที่จังหวัดน่าน (หน้า 39) แผนที่บ้านน้ำจำ (หน้า 58 ) โครงสร้างลำดับขั้นการแยกหมู่บ้าน ต.เมืองจัง (หน้า 64)

Text Analyst สุมนมาลย์ สิงหะ Date of Report 05 พ.ย. 2555
TAG ยวน คนเมือง ไทยวน, ความหลากหลายทางชีวภาพ, ภูมิปัญญา, การปรับตัว, น่าน, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง