สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject โส้ โซร ซี,การสืบทอดความเชื่อ,ผีปู่ตา,เยาวชน,จังหวัดกาฬสินธุ์
Author อรุณรัตน์ จันทะลือ
Title การสืบทอดความเชื่อเรื่องผีปู่ตาของเยาวชน ชาติพันธุ์โส้ บ้านกอก ตำบลผาเสวย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity โส้ โทรฺ, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
(เอกสารฉบับเต็ม)
Total Pages 113 Year 2549
Source หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทยคดีศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Abstract

ผู้เขียนได้กล่าวถึงโครงสร้างทางสังคมของชาวบ้านกอกที่ยึดถือเอาความเชื่อผีปู่ตาเป็นแบบแผนในการดำเนินชีวิต ซึ่งผีปู่ตาจะคอยปกป้องคุ้มครองและช่วยเหลือคนในชุมชน คอยควบคุมขัดเกลาคนในชุมชนให้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ การสืบทอดความเชื่อของเยาวชนนั้นทุกคนได้รับการกล่อมเกลาแนวปฏิบัติจากสถาบันต่างๆในสังคมและเข้าร่วมในพิธีกรรมด้วย ทั้งนี้เยาวชนต่างสำนึกและมีจิตวิญญาณที่ได้รับการอบรมสั่งสอนให้เข้าร่วมพิธีกรรมต่อหน้าศาลปู่ตาในแต่ละปี การมีสำนึกร่วมในการสืบทอดความเชื่อเรื่องผีปู่ตาจะนำไปสู่การรักษาโครงสร้างทางสังคมและความหวงแหนประเพณี วัฒนธรรมของตน ที่สำคัญการอนุรักษ์และการสืบทอดความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรมดังกล่าวจะเป็นประโยชน์เพื่อเป็นกุศโลบายในการควบคุมพฤติกรรมทางสังคม (หน้าบทคัดย่อ)

Focus

การสืบทอดความเชื่อเรื่องผีปู่ตาของเยาวชนชาติพันธุ์โส้บ้านกอก

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

กลุ่มชาติพันธุ์โส้

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

เริ่มดำเนินการตั้งแต่ เดือน กันยายน พ.ศ.2546 ถึงเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2549

History of the Group and Community

จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ถึงประวัติการตั้งถิ่นฐานของชาวบ้านกอก มีอยู่ว่าบริเวณนี้เดิมเป็นที่อยู่ของพวกขอมซึ่งมีกำแพงล้อมเมืองไว้ ชาวบ้านเรียกว่าเมืองกำแพ่ง(เมืองกำแพง) ต่อมาเกิดโรคห่าชาวบ้านล้มตายจนหมด ส่วนชาวบ้านกอกเป็นกลุ่มที่อพยพมาจากเมืองน้ำย้อย อ้อยหนู เมืองวัง เมืองทอง มาพร้อมกับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆโดยถูกกวาดต้อนมาพร้อมกัน ได้แก่ ลาวพุงดำ ลาวพุงขาว ลาวโซ้ง ผู้ไท กะเลิง ญ้อ ข่าและโส้ ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อข้ามแม่น้ำโขงมาถึงฝั่งไทยก็ปล่อยให้ตั้งบ้านเรือนตามเส้นทางเดินทัพตั้งแต่ คำผักแพว แปวป่องฟ้า ภูอานม้า นาเดโช ขัวไม้แก่น บ้านแก้วกะแสน ภูเต่าเก่า เหล่าแม่นาง ยางสามต้น อ้นสามขุย ขัวคำถ้ำมือสบ ห้วยแข้ แง้ห้วยมะมน บ้านช้างน้ำท่วม กลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นชาวผู้ไท (หน้า 26-27) ชาวโส้บางกลุ่มไปสมทบกับกลุ่มอำเภอดงหลวงบ้าง กลุ่มเมืองกุสุมาลย์บ้าง ส่วนกลุ่มโส้บ้านกอก ได้อพยพข้ามเทือกเขาภูพานมาสมทบกับกลุ่มชาวญ้อที่อพยพมาจากเมืองคำม่วนคำเกิด ซึ่งเป็นสายเจ้าเมืองเวียงจันทร์ โดยมีพระคำก้อนเป็นผู้นำมาตั้งบ้านเรือนอยู่ใต้เทือกเขาภูพานบริเวณลุ่มลำน้ำห้วยสังเคียบ เมื่อบรรพบุรุษกลุ่มนี้ได้ลงหลักปักฐานในบริเวณแถบนี้อย่างมั่นคง จึงตั้งชื่อหมู่บ้านตามลักษณะของภูมิประเทศว่า “บ้านแซงบึงบาดาล” ซึ่งต่อมาบ้านนี้ถูกยกฐานะขึ้นเป็นเมืองแซงบาดาล (หน้า 27) หลังจากตั้งบ้านแซงบาดาลประมาณสองปี หัวหน้ากลุ่มโส้และคนสำคัญได้ออกตระเวน หาที่อยู่ใหม่ แต่เนื่องจากบางที่มีสภาพภูมิประเทศไม่เหมาะที่จะตั้งบ้านเรือน ป่าแซงทึบ มีสัตว์ร้าย ชุกชม และเกิดโรคระบาด ทำให้ชาวบ้านต้องอพยพเพื่อหาที่อยู่ใหม่รวมทั้งสิ้นประมาณ 4-5 ครั้งด้วยกัน จนในที่สุดชาวบ้านได้แบ่งกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม ซึ่งกลุ่มหนึ่งได้ข้ามลำห้วยอีด่างและลำห้วยพริกไปทางทิศเหนือจนถึงบริเวณหนองน้ำชื่อว่า “หนองคำอีเล” จึงตั้งถิ่นฐานที่นี้และเรียกชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านคำหม่วย” ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งเดินทางไปทางทิศตะวันออกจนถึงบริเวณใกล้หนองน้ำชื่อว่า “คำหังงัว” จึงตั้งบ้านเรือนและเรียกชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านกอก” (หน้า 29)

Settlement Pattern

บ้านกอกเป็นหมู่บ้านที่อยู่ใกล้ชุมชนเมือง มีการคมนาคมที่สะดวกสบาย ถนนภายในหมู่บ้านเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กเป็นส่วนมาก (หน้า 26) ลักษณะพิเศษของการตั้งบ้านเรือนจะเป็นบ้านหลังเล็กๆและปลูกติดๆกันทั้งหมู่บ้าน ไม่มีรั้วกั้นอาณาเขตบ้าน (หน้า 32) และเนื่องจากบ้านกอกตั้งอยู่ใกล้เทือกภูพาน จึงมีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรน้ำ คือ ห้วยพริกและห้วยอีด่าง ส่วนทรัพยากรป่าไม้ คือ มีอาณาเขตติดต่อกับป่าสงวนแห่งชาติภูแกลบ ป่าสงวนภูปูน โคกสาธารณะโคกป่าม่วง (หน้า 43)

Demography

ภาคอีสานมีประชากรประมาณ 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมดในประเทศ ประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์หลายกลุ่ม เช่น ลาว ผู้ไท ข่า กะโส้(โส้) กะเลิง ญ้อ พวน แสก กุลา ส่วย กูย เป็นต้น โดยเฉพาะบริเวณเทือกเขาภูพานมีกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่อย่างน้อย 7 กลุ่มชาติพันธุ์ ได้แก่ ผู้ไท แสก กะเลิง ญ้อ โย้ย โส้และกะตาก (หน้า2) สำหรับข้อมูลด้านประชากรในพื้นที่ศึกษานั้น คือ บ้านกอก หมู่ 2 จำนวน 215 หลังคาเรือน มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 1,036 คน และหมู่ 11 จำนวน 67 หลังคาเรือน มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 352 คน(หน้า 12)

Economy

โดยทั่วไปแล้วชาวโส้บ้านกอกจะประกอบอาชีพหลักก็คือ การทำนา ซึ่งพันธุ์ข้าวที่นิยมปลูกจะเป็นข้าวเหนียวและข้าวหอมมะลิ และอาชีพเสริม ไม่ว่าจะเป็น การหาอาหารจากป่าตามฤดูกาล ได้แก่ หน่อไม้ เห็ด ผัก ฯลฯมาจำหน่าย การปลูกอ้อย มันสำปะหลัง เลี้ยงสัตว์เพื่อการค้าขาย หรือหากฤดูเว้นช่วงในการทำนา ชาวโส้บ้านกอกจะมีการเคลื่อนย้ายแรงงานเพื่อไปประกอบอาชีพยังต่างถิ่น โดยเฉพาะการไปขายแรงงานยังภาคตะวันออกแถบจังหวัดชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทราและกาญจนบุรี นอกจากนี้ยังปรากฏในรูปแบบของกลุ่มอาชีพ เช่น กลุ่มสตรีทำไม้กวาด กลุ่มประกอบอาหาร กลุ่มหัตถกรรมเย็บปลอกผ้าห่ม เป็นต้น (หน้า 44- 46) ในอดีตจะเห็นได้ว่าระบบการผลิตของชาวโส้บ้านกอกเป็นการผลิตเพื่อบริโภคและการแลกเปลี่ยนกัน แต่เนื่องจากระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ได้เข้ามามีบทบาทโดยการครอบงำของระบบทุนนิยม ทำให้ปัจจุบันชาวบ้านมีแหล่งเงินทุนทางด้านการเกษตรจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่เป็นแหล่งเงินทุนขนาดใหญ่ของชุมชน (หน้า45)

Social Organization

โครงสร้างทางสังคมของชาวโส้บ้านกอก มีการรักษาโครงสร้างแบบยึดถือเอาความเชื่อ ผีปู่ตาเป็นแบบแผนในการดำเนินชีวิต โดยอาศัยความสัมพันธ์แบบเครือญาติที่พึ่งพาซึ่งกันและกัน (หน้า 52) กลุ่มเครือญาติและกลุ่มเพื่อนบ้านจะมีความสำคัญในระบบทางสังคม เพราะเป็นกลุ่มที่มีการพึ่งพาช่วยเหลือและมีอำนาจในการตัดสินใจ การเจรจาไกลเกลี่ยในกรณีที่มีเรื่องทะเลาะวิวาท (หน้า 32) สถาบันของชุมชนชาวโส้บ้านกอกประกอบด้วย สถาบันครอบครัวและเครือญาติ สถาบันการปกครอง สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนาและความเชื่อและสถาบันทางเศรษฐกิจ ซึ่งสถาบันครอบครัวและเครือญาติจะเป็นในลักษณะครอบครัวเดี่ยว ที่แต่เดิมชาวโส้บ้านกอกจะสมรสกันเฉพาะกับชาวโส้บ้านกอกด้วยกันและเป็นเครือญาติกันด้วย ส่วนความสัมพันธ์ของระบบสังคมจะมีความสัมพันธ์กันในทางปฏิบัติ เนื่องจากการสร้างระบบโครงสร้างขึ้นมาโดยอาศัยความเชื่อ เช่น โรงสีข้าวจะไม่สีข้าวในวันพระ เป็นต้น (หน้า 108) นอกจากนี้ชาวโส้บ้านกอกยังได้จัดระเบียบสังคมของหมู่บ้านโดยยึดถือเอาโครงสร้างทางสังคมของชาวโส้บ้านกอก นั่นคือ การใช้จารีต ประเพณีปฏิบัติในการดำเนินชีวิตประจำวันหรือ ความเชื่อเป็นตัวกำหนด (หน้า 78, หน้า 81,หน้า 108)

Political Organization

ชุมชนชาวโส้บ้านกอกมีการปกครองด้วยผู้นำทางวัฒนธรรมที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ ที่เรียกว่า “กวนบ้าน” หรือ “กวนจ้ำ” เพราะเป็นผู้นำในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ เมื่อประมาณ 90 ปีที่ผ่านมา ได้ปรากฏชื่อผู้นำคนแรกคือ เสมียนขี้ปลา จากนั้นการเลือกผู้นำชุมชนจึงเป็นการคัดเลือกจากชาวบ้านให้เป็นผู้ใหญ่บ้านหรือในรูปแบบตามระเบียบทางราชการของรัฐ (หน้า 29-30) ทั้งนี้ในปี พ.ศ. 2542 การปกครองตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องถิ่น ตำบลผาเสวยได้เปลี่ยนจากสภาตำบลมาเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งปัจจุบันการบริการงานจัดอยู่ในรูปขององค์กรสภาตำบล (หน้า 42)

Belief System

เนื่องจากชาวโส้บ้านกอกนับถือศาสนาพุทธ วัดจึงเป็นศูนย์กลางของชุมชนในการทำบุญและการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ซึ่งในการทำบุญตามประเพณีของชาวโส้บ้านกอกจะยึดถือตามประเพณีฮีตสิบสองของชาวอีสาน เช่น เดือนอ้ายเป็นประเพณีบุญเข้าปริวาส เดือนยี่เป็นประเพณีบุญกุ้มข้าว(กองข้าว) เดือนสามบุญข้าวจี่ เป็นต้น (หน้า 34) สำหรับความเชื่อนั้นจะเชื่อในเรื่องของสิ่งเหนือธรรมชาติที่บรรพบุรุษได้สืบทอดมาโดยเฉพาะความเชื่อเรื่อง ผีปู่ตา ที่เชื่อว่าเป็นผีบรรพบุรุษของชุมชน โดยชาวบ้านจะสร้างศาลให้ เรียกว่า “หอคำ” เพื่อให้คนในชุมชนได้บอกกล่าวผีปู่ตาทราบถึงการกระทำต่างๆ เรียกว่า บ๋า (หน้า 35) เช่น จะไปทำงานต่างถิ่น ประกอบธุรกิจ จะคัดเลือกทหาร เจ็บป่วย เป็นต้น (หน้า65)เมื่อสำเร็จก็ต้องลงไปบอกผีปู่ตาอีกครั้งหนึ่ง เรียกว่า เลี้ยงในการบ๋าหรือเลี้ยงจะไม่กำหนดวัน ใครมีความต้องการจะบ๋าหรือเลี้ยงก็ทำได้ทุกวัน โดยบอกตาจ้ำให้พาไปประกอบพิธี และกลุ่มชาวโส้บ้านกอกจะมีความเชื่อเรื่องผีฟ้าหรือผีไท้ หรือ เทพประจำตัว โดยเชื่อว่าถ้าใครทำผิดจะถูกลงโทษทำให้ตนเจ็บป่วย และถ้าเกิดการเจ็บป่วยจะต้องให้หมอเหยามาเสี่ยงทายดูว่าเกิดจากการกระทำของเทพองค์ใด (หน้า 35) ในด้านพิธีกรรมที่สำคัญจะเป็นพิธีที่เกี่ยวกับการเลี้ยงผีปู่ตา คือ 1. พิธีเลี้ยงวัน ประกอบไปด้วย พิธีบ๋าหรือ บนบานและพิธีเลี้ยงแก้บน “เลี้ยงผีปู่ตา” ดังนี้ 1.1 พิธีบ๋าหรือ บนบาน เป็นพิธีที่ชาวบ้านต้องการให้ผีปู่ตาช่วยเหลือ โดย “ตาจ้ำ”หรือผู้ประกอบพิธี จะเป็นผู้ประกอบพิธีเลี้ยงผีปู่ตาให้ผู้มาร่วมพิธีกรรมในแต่ละครั้ง (หน้า65-66) 1.2 พิธีเลี้ยงแก้บน “เลี้ยงผีปู่ตา” เป็นการไหว้ผีปู่ตาหรือเลี้ยงผีปู่ตาของชาวบ้านกอกที่มีเกือบทุกวัน โดยมีขั้นตอนของพิธีกรรมเหมือนกับพิธีบนบานทุกอย่าง สิ่งสำคัญคือ ใช้ไก่ต้มในพิธีเลี้ยงผีปู่ตา ซึ่งการไหว้จะทำในตอนเช้าและพิธีไหว้ต้องแล้วเสร็จก่อนเที่ยงวัน (หน้า 66) 2. พิธีเลี้ยงประจำปี จะเป็นการเลี้ยงเพื่อจะเสี่ยงทายดูเหตุการณ์ของบ้านกอกในปีนั้นๆ เช่น การทำนา ทำไร่ ทำสวนจะได้ผลหรือไม่ ชาวบ้านในปีนั้นๆมีเหตุเดือดร้อนหรือไม่ เป็นต้น ซึ่งจะมีในวันขึ้น 4 ค่ำ เดือน 3 ในวันเลี้ยงประจำปีผู้ช่วยจ้ำจะมีความสำคัญมากเพราะเป็นผู้ตั้งคำถามและเป็นผู้สื่อความหมายให้กับชาวบ้านหรือผู้ที่เข้ามาร่วมพิธี (หน้า66-67) ส่วนพิธีกรรมอื่นๆที่ไม่เกี่ยวกับการเลี้ยงผีปู่ตา ได้แก่ 1. พิธีเหยา เป็นพิธีที่ชาวบ้านทำเมื่อเกิดการเจ็บป่วย เพราะเชื่อว่าเกิดจากการกระทำของเทพ โดยหมอเหยาจะเสี่ยงทาย แล้วรักษาโดยการเชิญเทพองค์นั้นทำการรักษาคนให้หายเจ็บป่วย ซึ่งการรักษาจะสลับด้วยการลำ มีทั้งการนั่งอยู่กับพื้นหรือลุกขึ้นลำและมีการฟ้อนประกอบไปด้วยโดยที่ผู้ป่วยเองไม่สามารถควบคุมตนเองได้ เพราะเชื่อว่าเทพเป็นผู้พาฟ้อน (หน้า71) 2. พิธีลงข่วง เป็นพิธีที่ผู้เข้าร่วมพิธีทุกคนจะมารวมกัน โดยการลงข่วงจะมีการเชิญเทพที่เคยทำการรักษาของแต่ละคนรับเครื่องบูชา ในการประกอบพิธีกรรมจะมีการร้องลำ การฟ้อนรำประกอบเสียงแคนและการดื่มกินอย่างสนุกสนาน (หน้า 74) 3. พิธีไหว้ผีประจำตระกูล เป็นพิธีไหว้ผีบรรพบุรุษของฝ่ายสามีของสะใภ้ (หน้า 37) หลังพิธีแต่งงานจะต้องมีการไหว้ผีประจำตระกูล โดยเฉพาะคนที่เป็นสะใภ้จะต้องนำเครื่องไหว้ไปไหว้ผีประจำตระกูลคือบ้านตายายของฝ่ายสามี ถ้าเป็นคนที่ไม่ใช่ชาวบ้านกอกจะต้องนำลงไปไหว้ผีปู่ตาเพื่อแจ้งให้รู้ว่าเป็นสมาชิกใหม่ของครอบครัวนั้นๆแล้ว (หน้า32-33) เพราะเชื่อว่าผู้น้อยต้องมีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ชีวิตจึงจะมีความเจริญรุ่งเรือง (หน้า 37) 4.พิธีสู่ขวัญ โดยทั่วไปชาวอีสานจะมีความเชื่อเรื่องขวัญ รวมทั้งชาวบ้านกอกที่มีความเชื่อว่าขวัญของคนจะอยู่กับตัวตลอดเวลา เพราะเชื่อว่าเมื่อเจ้าของเดินทางไปต่างถิ่นขวัญอาจจะไม่กลับมา หรือ คนที่ป่วยไข้เป็นเวลานานๆ เหล่านี้ต้องกลับมาทำพิธีบายศรีสู่ขวัญ พิธีสู่ขวัญจึงเป็นการเรียกขวัญให้กลับมาอยู่กับตัว “หมอสูตร”จะเป็นผู้ประกอบพิธีโดยการผูกข้อแขนให้คนป่วยที่หายป่วยแล้ว และคนอื่นในครอบครัวทุกคน เพื่อความอยู่เย็นเป็นสุขตามความเชื่อของชาวบ้าน (หน้า 75) นอกจากนั้นผู้เขียนได้กล่าวถึงประเพณีพิธีกรรมในช่วงชีวิต ได้แก่ ความเชื่อและประเพณีเกี่ยวกับการเกิด ความเชื่อและพิธีกรรมการแต่งงาน และพิธีกรรมเกี่ยวกับการตายของชาวโส้ (หน้า 46-51)

Education and Socialization

การศึกษาของชาวโส้บ้านกอกเริ่มจากการอบรมจากครอบครัว เด็กเยาวชนจะเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กซึ่งอยู่ในความดูแลของกรมพัฒนาชุมชนกับองค์การบริการส่วนตำบล (หน้า 38) จากนั้นจะต้องเข้าเรียนในระดับการศึกษาภาคบังคับตามพระราชบัญญัติการศึกษา เนื่องจากชุมชนบ้านกอกจะให้ความสำคัญกับกระบวนการขัดเกลาเพื่อสืบทอดความเชื่อเรื่องผีปู่ตา ทำให้เยาวชนทุกคนผ่านการบ่มเพาะ ขัดเกลาพฤติกรรมจากครอบครัวและชุมชนเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวัน ขณะเดียวกันเยาวชนต้องมีบทบาท มีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชนทุกด้าน เช่น งานประเพณี พิธีกรรม การเมือง การปกครอง เป็นต้น (หน้า 83) รวมทั้งสถาบันการศึกษาได้ให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมในพิธีวันสำคัญทางศาสนาและประเพณีต่างๆ เช่น การเข้าร่วมพิธีกรรมเกี่ยวกับผีปู่ตา ในวันขึ้น 4 ค่ำ เดือน 3 ทุกปี (หน้า 63)

Health and Medicine

“หมอเหยา” จะเป็นผู้ที่ทำการรักษาเมื่อชาวบ้านเกิดการเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการลงโทษของเทพ หมอเหยาจะทำหน้าที่เสี่ยงทายว่าเกิดจากการกระทำของเทพองค์ใดและจะเชิญให้เทพองค์นั้นทำการรักษาจนหายเจ็บป่วย ซึ่งการรักษาในรูปแบบนี้จะต้องมีการแต่งเครื่องบูชา ประกอบด้วย เทียนขาว ดอกไม้ขาว เหล้าขาว ไข่ไก่ดิบ ดาบหรือง้าว เงินค่ายกครู ผ้าถุง ผ้าขาวม้า เป็นต้น ที่สำคัญการทำการรักษาต้องมีแคนและกลองประกอบการรำและในเดือนสามของทุกปี หมอเหยาจะจัดพิธีไหว้ครูหรือพิธีลงข่วง การรักษาที่กล่าวมาข้างต้นชาวโส้บ้านกอกจะเรียกว่า “การรักษาด้วยผีฟ้า” ซึ่งเป็นการรักษาในกรณีที่ป่วยโดยไม่ทราบสาเหตุ (หน้า 35) นอกจากนี้ผู้เขียนได้กล่าวถึงการใช้ยาสมุนไพรในการรักษาเบื้องต้นตามอาการของการเจ็บป่วย เช่น การใช้สมุนไพรประเภท ขิง ตระไคร้ ในการรักษาโรคท้องอืด เป็นต้น และการรักษาด้วยหมอเป่า (หน้า 49)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ผู้เขียนได้กล่าวว่าในขณะที่เยาวชนบ้านกอกเดินทางไปทำงานอยู่ต่างถิ่น ได้มีค่านิยมที่เปลี่ยนไปจากเดิมนั่นคือ การหันไปชื่นชมกับความเจริญของวัตถุ เทคโนโลยีจนเกิดความฟุ้งเฟ้อ การรับเอาวัฒนธรรมจากภายนอกนาปรับใช้กับคนในครอบครัวและชุมชน จึงอาจทำให้มีการปฏิบัติตามแบบอย่างของวัฒนธรรมภายนอกทำให้วัฒนธรรมดั้งเดิมเปลี่ยนไป รวมถึงการสืบสานวิถีปฏิบัติดั้งเดิมอาจลดลงและสูญไปในที่สุด เนื่องจากความเจริญของเทคโนโลยี ทำให้การควบคุมพฤติกรรมของคนในชุมชนชาวโส้บ้านกอกอาจทำได้ยาก(หน้า 111-112)

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ผู้เขียนได้ใช้แผนที่ ภาพประกอบ แผนผัง รวมทั้งกราฟ ตาราง ในการอธิบายข้อมูลงานศึกษาวิจัย ดังนี้ 1) การสืบทอดความเชื่อของเยาวชน 2) แผนผังชุมชนบ้านกอก 3) บ้านกอก หมู่ 2 หมู่ 11 4) สภาพชุมชนบ้านกอก 5) การเตรียมอุปกรณ์การลงข่วง 6) อุปกรณ์ไหว้ผีประจำตระกูล 7) การไหว้ผีประจำตระกูล 8) โรงเรียนบ้านกอกวิทยาคม 9) สาธารณูปโภคในบ้านกอก 10) สถานีอนามัยบ้านกอก 11) ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลผาเสวย 12) โรงสีข้าว 13) พิธีแต่งงานชาวโส้บ้านกอก พิธีบายศรีสู่ขวัญ โดยสวมมงคลแฝด 14) การไหว้ญาติผู้ใหญ่ ด้วยของสมมา (ของไหว้) 15) ญาติผู้ใหญ่ฝ่ายสามีจะผูกแขนรับสะใภ้ในวันไหว้ผีบ้าน 16) วัดโพธิ์ศรีแสงสว่าง 17) หลวงพ่อ อุททา อุตตโม เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ศรีแสงสว่าง 18) การฆ่าไก่ในวันเลี้ยงผีปู่ตาประจำปี 19) เยาวชนชาย หญิง ช่วยกันฆ่าไก่ในพิธีไหว้ประจำปี 20) การต้มไก่ในพิธีไหว้ประจำปี 21) พิธีเลี้ยงวัน “หลายพา” 22) พิธีเลี้ยงวัน “พาเดียว” 23) พิธีเลี้ยงวัน “ตาจ้ำและผู้ช่วยจ้ำ” 24) การพาสมาชิกเกิดใหม่ลงไปไหว้ผีปู่ตา 25) ผู้ป่วยไหว้ครูก่อนจะรับการรักษา 26) แม่หมอเริ่มไหว้ครู และเชิญเทพลงมาประทับทรงก่อนทำการเหยา 27) เครื่องประกอบในพิธีเหยา 28) ผู้ป่วยที่จะทำการรักษาจะต้องเข้าไปไหว้ครูด้วย 29) หมอแคน คนตีกลองและผู้ป่วยในการสร้างจังหวะประกอบการรำ 30) หลังจากการรักษาก็จะมีการผูกข้อมือเรียกขวัญและเพื่อความเป็นสิริมงคล 31) แผนผังการจัดระเบียบสังคมของชาวโส้บ้านกอก 32) จำนวนกลุ่มตระกูลที่อพยพเข้ามาอยู่บ้านกอก 33) เกณฑ์อายุของเยาวชนหญิงที่มีการสมรส 34) เกณฑ์อายุของเยาวชนชายที่มีการสมรส 35) จำนวนนักเรียนบ้านกอก อายุ 13-15 ปี ปีการศึกษา 2536-2547 36) กลุ่มเยาวชนชายที่เป็นกลุ่มกีฬา 37) กลุ่มเยาวชนหญิงที่เป็นกลุ่มกีฬา

Text Analyst นางสาวกวิสรา กันทะวรรณ์ Date of Report 28 มิ.ย 2560
TAG โส้, โซร, ซี, การสืบทอดความเชื่อ, ผีปู่ตา, เยาวชน, จังหวัดกาฬสินธุ์, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง