สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject คะแมร์ลือ,เขมร,คนข้ามแดน,ขอทาน,สังคม,อาชญากรรม,การเมือง,ไทย,กัมพูชา
Author เสาวลักษณ์ วรายุ
Title คนข้ามแดน : ชีวิตและชุมชนของขอทานเขมรในกรุงเทพมหานคร
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ขแมร์ลือ คะแมร คนไทยเชื้อสายเขมร เขมรถิ่นไทย, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 183 Year 2548
Source หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภูมิภาคศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract

เนื้อหากล่าวถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเข้ามาของคนเขมรเพื่อมาขอทานในกรุงเทพฯ สภาพความเป็นอยู่และการประกอบอาชีพขอทานและปัญหาของขอทานที่ทำให้ประเทศไทยต้องเสียเงินออกนอกประเทศไม่น้อยกว่า 200 ล้านบาทต่อปี ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ขอทานเขมรเป็นคนขอทานที่มีมากที่สุดในจำนวนชาวต่างชาติที่เข้ามาขอทานในประเทศไทย ซึ่งขอทานเขมรส่วนใหญ่จะเข้ามาโดยสมัครใจโดยมีนายหน้าพาเข้ามา การอยู่ในกรุงเทพจะอยู่เป็นชุมชนหรืออยู่กับเพื่อนเพื่อช่วยเหลือกัน อย่างไรก็ดีในการช่วยเหลือระดับประเทศระหว่างประเทศไทยและกัมพูชานั้น ยังไม่เห็นผลเท่าที่ควรเนื่องจากขอทานเหล่านี้เมื่อถูกส่งกลับประเทศก็จะเดินทางเข้ามาอีกครั้งเพราะว่าอาชีพขอทานนั้นรายได้ดี ซึ่งชาวเขมรก็เห็นว่าการทำอาชีพขอทานเป็นงานสุจริตเป็นการหารายได้เพื่อช่วยเหลือครอบครัวให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

Focus

ศึกษาสถานการณ์และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเข้ามาของขอทานเขมรในไทยและการดำรงชีวิตของคนเขมรที่เข้ามาขอทานและเพื่อเสนอแนะแนวทางและวิเคราะห์ปัญหาการจัดการขอทานเขมรในกรุงเทพมหานครที่เหมาะสมของรัฐบาลไทย (หน้า 5)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ขอทานเขมรที่เข้ามาขอทานในกรุงเทพ

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มี

Study Period (Data Collection)

พ.ศ.2546 (หน้า 101)

History of the Group and Community

ไม่มี

Settlement Pattern

บ้านเช่าของขอทาน ขอทานเขมรอยู่บ้านเช่า ในหลายชุมชน เช่น ชุมชนย่านสะพานใหม่ ดอนเมือง ลักษณะบ้านเป็นตึกสองชั้น สภาพทรุดโทรมอยู่กันแบบหลายครอบครัว สร้างแบบไม่มั่นคงถาวร กั้นด้วยไม้เป็นห้องคับแคบค่อนข้างทึบแสงสว่างเข้าได้ไม่ทั่วถึง บ้านไม่มีรั้ว (หน้า 100) การใช้สอยพื้นที่ไม่ได้แยกอย่างเป็นกิจลักษณะคือ ส่วนที่ทำกับข้าวจะเป็นพื้นที่เดียวกับที่หลับนอน อุปกรณ์ที่ใช้ทำอาหารได้แก่ เตาเล็กๆ หม้อ กระทะไฟฟ้า ถ้วยชามจะวางไว้ที่พื้น หรือบนโต๊ะเล็กๆ (หน้า 101) บ้านของคนเขมรในประเทศกัมพูชา แบ่งบ้านตามฐานะเศรษฐกิจคือ บ้านคนจนเป็นบ้านไม้ไผ่ พื้นเป็นไม้ฟากหลังคาและฝาบ้านกั้นด้วยใบจาก บ้านที่มีใต้ถุนจะใช้พื้นที่บริเวณใต้ถุนเลี้ยงสัตว์เช่น วัว ควาย บริเวณข้างบ้านจะสร้างเล้าหมู เล้าไก่ เล้าเป็ด บ้านไม่มีรั้วกั้นเพื่อบอกเขตแดนแต่จะปลูกต้นไม้ไว้เพื่อเป็นเครื่องแสดงพื้นที่ความเป็นเจ้าขอเช่น ปลูกไผ่ มะพร้าว กล้วย มะม่วงและอื่นๆ สำหรับบ้านที่มีฐานะดีก็จะสร้างรั้วเป็นบ้านแบบครึ่งตึกครึ่งไม้ มุงหลังคาด้วยกระเบื้อง สำหรับบ้านคนที่มีฐานะปานกลาง จะสร้างบ้านแบบบ้านไม้ยกพื้นสูง บ้านมุงด้วยกระเบื้องหรือสังกะสี (หน้า 101)

Demography

ประชากรขอทานเขมร จากการสำรวจระหว่างวันที่ 1 ต.ค.2542- 30 ก.ย.2545 พบว่า ขอทานเขมรมีจำนวนทั้งหมด 7,702 คน หรือจำนวน 98.7 % มากเป็นที่หนึ่งของขอทานต่างชาติที่มีทั้งหมด 7,804 คน โดยมีพม่าอีก 94 คน (1.2 %) ลาว 7 คน(0.09 %) และบังคลาเทศ 1 คน (0.01 %) กลุ่มขอทานเขมรแบ่งเป็นผู้ใหญ่ 4,167 คน เป็นผู้หญิง 3,464 คน ผู้ชาย 703 คน เป็นเด็ก 3,562 คน เป็นผู้หญิง 1,699 คน และผู้ชาย 1,863 คน (ตารางหน้า 68)

Economy

อาชีพขอทาน เด็กเขมรที่เข้ามาขอทานในประเทศไทยมีทั้งมาด้วยความสมัครใจและถูกหลอกมา บางส่วนก็มาจากครอบครัวที่มีปัญหาพ่อแม่หย่าร้างกัน หรือเสียชีวิต คนที่เข้ามาขอทานครั้งแรกจะมีนายหน้าพาเข้ามาและจะมีหัวหน้ากลุ่มคอยควบคุมการทำงาน ซึ่งเด็กเหล่านี้จะมีฐานะยากจนส่วนมากครอบครัวจะทำนา ทำอาชีพรองคือค้าขายหรือรับจ้างการมาทำอาชีพขอทานเด็กเขมรถือว่าเป็นงานสุจริตเป็นการหารายได้ช่วยเหลือครอบครัว (หน้า 86,106) สำหรับคนที่ลักลอบเข้ามาขอทานในไทยส่วนใหญ่จะมาโดยความสมัครใจโดยจะเสียค่านายหน้าประมาณ 2,500 บาทต่อคน ส่วนคนที่เป็นเด็กอาจจะเสียน้อยกว่าผู้ใหญ่ เช่นเสีย 1,000 บาทต่อคน จากนั้นนายหน้าจะพาคนเขมรมาขอทานในกรุงเทพ (หน้า 108,109) ทั้งนี้การขอทานนั้นได้เงินมากบางทีอาจมากถึง 1,000 บาทต่อวัน หากเป็นเด็กมารับจ้างทำงานตามบ้านก็จะถูกเอาเปรียบเรื่องค่าจ้างจากนายจ้างซึ่งจะให้เงินเดือน 1,000-2,500 บาท ซึ่งคิดเป็นค่าแรงจะอยู่ที่ 50 ถึง 100 บาท แต่ถ้าหากเด็กมาขอทานก็อาจมีรายได้ตกเดือนละประมาณ 6,000 บาท (หน้า 88)

Social Organization

ความเป็นอยู่ของขอทานเขมรในประเทศไทย ได้แบ่งเป็นกลุ่มต่างๆ ดังนี้ 1) อยู่เป็นครอบครัวกับพ่อแม่พี่น้อง หากเป็นเด็กก็จะอยู่กับพ่อแม่ เมื่อพ่อแม่ไปทำงานเด็กเหล่านี้ก็จะถูกปล่อยให้อยู่ตามลำพัง ดังนั้นหากเป็นเด็กโตก็มักจะสร้างปัญหาเช่นลักเล็กขโมยน้อยสิ่งของของชาวบ้าน กระทั่งถูกหลอกให้มาเป็นขอทานและทำงานผิดกฎหมายในรูปแบบต่างๆ (หน้า 97) 2) อยู่กับญาติหรือคนรู้จัก กลุ่มนี้จะอยู่กับญาติพี่น้อง ที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยก่อน หากเด็กเข้ามาคนเดียวพ่อแม่ก็จะฝากฝังให้ญาติหรือคนรู้จักช่วยดูแลหรือหางานให้ทำ เป็นต้น (หน้า 97) 3) อยู่กับเพื่อน บางส่วนก็จะอยู่กับเพื่อนเพื่อความสะดวกในการช่วยเหลือหรือติดต่อสื่อสารกัน หากเป็นเด็กเร่ร่อนก็จะอยู่กับเพื่อนหรืออยู่ในกลุ่มที่มีผ็ใหญ่เป็นหัวหน้า (หน้า 97) 4) อยู่เป็นชุมชน คนต่างชาติที่หลบหนีเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายมักจะอยู่รวมกลุ่มกันจนเป็นชุมชนขนาดใหญ่ (หน้า 97)โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อความสบายใจที่ได้อยู่กับคนชาติเดียวกันได้ช่วยเหลือกันเพื่อไม่ให้ถูกจับรวมทั้งได้พูดภาษาของตนเอง (หน้า 98)

Political Organization

กระบวนการช่วยเหลือขอทานเขมร รัฐบาลไทยได้ทำการแก้ปัญหาเรื่องคนขอทาน โดยมอบหน้าที่ให้กรมประชาสงเคราะห์รับขอทานให้เข้ามาอยู่ที่สถานที่พึ่งนนทบุรี จากนั้นก็จะให้ความช่วยเหลือเพื่อฟื้นฟูสภาพจิตใจจึงจะส่งคนขอทานกลับประเทศกัมพูชาต่อไป อย่างไรก็ดีการให้ความช่วยเหลือได้พบปัญหาก็คือ ขอทานเขมรมักจะลักลอบกลับเข้ามาขอทานในประเทศไทยอีกครั้ง เช่นกรณีของเด็กขอทาน เหตุผลที่ไม่อยากกลับประเทศเนื่องจากไม่รู้จะไปอยู่กับใคร เนื่องจากเป็นเด็กกำพร้าไม่มีผู้ใหญ่คอยดูแลหรือเป็นผู้ปกครองเอาใจใส่ นอกจากนี้การที่ขอทานกลับเข้ามาในประเทศไทยอีกครั้งเรื่องจากว่าอาชีพขอทานได้สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ นอกจากนี้ยังมีหัวหน้ากลุ่มหรือนายหน้าทำให้ที่พาขอทานเข้ามาทำงานในประเทศไทยอีกครั้ง สำหรับการดำเนินการให้ความช่วยเหลือของทั้งสองประเทศระหว่างไทยและกัมพูชา นอกจากการจัดการประชุมเพื่อหาทางช่วยเหลือในทางกฎหมายแล้วทางการไทยยังได้เสนอให้ฝ่ายกัมพูชาสร้างอาชีพด้านการเกษตรเพื่อช่วยเหลือขอทานที่ถูกส่งกลับให้ฝึกอาชีพให้มีงานทำ โดยทั้งสองฝ่ายได้ลงนามร่วมกันเมื่อ พ.ศ.2546 ในเรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ในส่วนของประเทศกัมพูชาได้ตั้งศูนย์โฮมแลนด์ในกรุงพนมเปญ เพื่อรับเด็กเขมรที่ฝ่ายไทยส่งตัวกลับ โดยทางศูนย์จะดูแลเด็ก 1 ปีเพื่อฝึกอาชีพและให้การศึกษากับเด็กเหล่านี้ ซึ่งเชื่อว่าการช่วยเหลือจะเป็นการแก้ไขปัญหาคนขอทานได้ในระยะยาวและลดจำนวนขอทานเขมรที่เข้ามาขอทานในประเทศไทย (หน้า 114 -123)

Belief System

ไม่มี

Education and Socialization

ขอทานเขมรไม่ค่อยได้เรียนหนังสือหรือได้เรียนน้อยมาก ในกลุ่มขอทานที่มีอายุแรกเกิดกระทั่งถึง 10 ปีบางส่วนเคยเรียนหนังสือเป็นระยะเวลาไม่นานจึงทำให้ไม่สามารถอ่านเขียนหนังสือได้ (หน้า 84)

Health and Medicine

ไม่มี

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มี

Folklore

ไม่มี

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มี

Social Cultural and Identity Change

ไม่มี

Other Issues

เส้นทางการเข้ามาของขอทานเขมร เส้นทางที่คนเขมรข้ามเข้ามาขอทานในประเทศไทยประกอบด้วยจุดต่างๆดังนี้ อำเภอคลองใหญ่ เกาะกง จังหวัดตราด, อำเภอกาบเชิง อำเภอบ้านโคก อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์และอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ในกลุ่มคนขอทานเขมรจะมาจากเมืองปอยเปตมาเป็นอันดับหนึ่งรองลงมาจะเป็นพระตะบอง และกัมปงจาม และเมืองอื่นๆ (หน้า 108) เอกลักษณ์ของขอทานเขมร ขอทานเขมรจะไม่ประกอบอาชีพวณิพกเนื่องจากไม่รู้จักเพลงไทยและร้องไม่ได้ หากร้องก็อาจมีพิรุธเป็นที่สังเกตของเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ง่าย นอกจากนี้ขอทานเขมรกับขอทานไทยจะแตกต่างกันคือหากเป็นขอทานเขมรจะใช้ภาชนะเป็นแก้วน้ำของร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่นเพื่อใส่เงินตอนมีผู้บริจาค ขณะที่ขอทานไทยจะใช้ขันเงินเก่าคร่ำคร่าหรือแก้วน้ำพลาสติกขนาดเล็ก (หน้า 107) ซึ่งพฤติกรรมเช่นนี้สันนิษฐานว่าการใช้ภาชนะดังกล่าวน่าจะเป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มขอทานหรืออาจเป็นเพราะมีความสะดวกในการพกขณะเดินทางไปขอทาน (หน้า 108)

Map/Illustration

ตาราง จำนวนรอบคนขอทานที่เข้ารับการสงเคราะห์ในสถานสงเคราะห์, จำนวนคนขอทานที่ถูกควบคุมตัวเข้ารับการสงเคราะห์ในสถานแรกรับคนไร้ที่พึ่งนนทบุรี (หน้า 59,60)สถิติจำนวนทรัพย์สินของคนขอทานต่างด้าว ตั้งแต่ พ.ศ.2543-2545 (หน้า 54) จำนวนคนขอทานต่างด้าวที่ถูกควบคุมตัวเข้ารับการสงเคราะห์ในสถานที่พึ่งนนทบุรี (หน้า 65) แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของขอทานต่างด้าวที่ถูกส่งตัวเข้ารับบริการในสถานแรกรับคนไร้ที่พึ่งนนทบุรี (หน้า 65) จำนวนร้อยละของคนขอทานแยกตามสัญชาติ( 1 ต.ค. 2539-31 ก.ค.2540) (หน้า 67) จำนวนคนขอทานแยกตามสัญชาติ (1 ต.ค. 2542-30 ก.ย. 2545) (หน้า 68) จำนวนขอทานต่างด้าวแยกตามอายุในช่วงปี พ.ศ.2545 (หน้า 69) จำนวนหัวหน้าแก๊งและผู้ถูกบังคับให้ขอทานที่จับกุมระหว่าง เม.ย.2536-ก.พ.2540 (หน้า 70) จำนวนรอบคนขอทานต่างด้าวที่เข้ารับการสงเคราะห์ในสถานแรกรับคนไร้ที่พึ่งนนทบุรี ในแต่ละปีงบประมาณ (หน้า 71) แสงจำนวนนอบของคนขอทานต่างด้าวที่ถูกควบคุมตัวในปีงบประมาณ พ.ศ.2545 (หน้า 72) ภาพ ประเภทของเครื่องชี้วัดระดับคุณภาพชีวิต (หน้า 30) แสดงลำดับความต้องการของมาสโลว์ (Maslow’s Hierarchy of Needs) (หน้า 32) ความสัมพันธ์ระหว่าง Maslow’s Hierarchy of Needs และ Sharma’s Quality of Life (หน้า 34)

Text Analyst ภูมิชาย คชมิตร Date of Report 04 เม.ย 2556
TAG คะแมร์ลือ, เขมร, คนข้ามแดน, ขอทาน, สังคม, อาชญากรรม, การเมือง, ไทย, กัมพูชา, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง