สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject โพล่ง โผล่ง โพล่ว ซู (กะเหรี่ยง),พิธีกรรม,ความเชื่อ,งานปีใหม่,ราชบุรี
Author สุรินทร์ เหลือลมัย
Title ความเชื่อทางศาสนาของชาวกะเหรี่ยง : กรณีศึกษาวันปีใหม่กะเหรี่ยงที่วัดแจ้งเจริญ อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity โพล่ง โผล่ง โผล่ว ซู กะเหรี่ยง, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 166 Year 2540
Source สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ
Abstract

กะเหรี่ยงเดิมมีการนับถือผี ด้วยความกลัวในสิ่งเหนือธรรมชาติที่มองไม่เห็น แต่ผีมองเห็นการกระทำทุกอย่างของพวกเขา และจะลงโทษให้เกิดการเจ็บป่วย หรือทำให้เกิดความเสียหายแก่ผลผลิตหรือสัตว์เลี้ยงได้ จึงเกิดข้อห้ามเป็นกลวิธีในการควบคุมสังคม ทำให้กะเหรี่ยงไม่กล้ากระทำผิด ปัจจัยที่ทำให้กะเหรี่ยงในเขตวัฒนธรรมราชบุรีและเพชรบุรีหันมานับถือพุทธศาสนา เกิดจากเจ้าอธิการนวม อดีตเจ้าอาวาสวัดแจ้งเจริญ อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี ได้ถือธุดงค์เข้าไปจนถึงหมู่บ้านกะเหรี่ยง และเกิดการลองของใช้คาถาอาคมทางไสยศาสตร์ ระหว่างเจ้าอธิการนวมกับหัวหน้าผู้นำกะเหรี่ยงโปว์ หัวหน้ากะเหรี่ยงยอมแพ้และรับนับถือพุทธศาสนา แต่ยังคงสืบทอดการถือผี ความเป็นพุทธมีการยอมรับตั้งแต่ระดับครอบครัว เครือญาติ จนถึงกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งจังหวัดราชบุรีและเพชรบุรี โดยมีศูนย์รวมจิตใจที่วัดแจ้งเจริญ ปัจจุบันกะเหรี่ยงมาวัดแจ้งเจริญเพื่อทำบุญแห่รูปหล่อเหมือนหลวงพ่อนวม มาบวชแก้บนเป็นสามเณรหรือชีพราหมณ์ และมาสรงน้ำเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน ซึ่งเป็นตัวแทนของหลวงพ่อกะเหรี่ยง ตราบใดที่กะเหรี่ยงรุ่นใหม่ยังเห็นว่า การบนกับหลวงพ่อกะเหรี่ยงยังสามารถตอบสนองความต้องการ ระบบความเชื่อและพิธีกรรมดังกล่าว จึงมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการส่งเสริมวันชุมนุมปีใหม่กะเหรี่ยงให้คงอยู่ต่อไปได้อย่างมั่นคง

Focus

ศึกษาความเชื่อทางศาสนาของกะเหรี่ยงในราชบุรีทั้งในอดีตและปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเพณีวันชุมนุมปีใหม่เดือน 5 ของกะเหรี่ยงที่รวมกลุ่มบุคคลที่มีความเชื่อ ความศรัทธาในเรื่องเดียวกัน (หน้า 20-21)

Theoretical Issues

ผู้วิจัยใช้แนววิเคราะห์ของ แดน เบ็น - เอโมส และเคนเน็จ โกลสไตน์ (Dan Ban - Amos and Kenneth Gold Stein) ที่มองพิธีกรรมว่าเป็นการแสดง ซึ่งสื่อความหมายบางประการจากผู้แสดงหรือผู้ส่งสารไปยังผู้ชมหรือผู้รับสาร ในการวิเคราะห์งานปีใหม่ของกะเหรี่ยงโปว์ที่วัดแจ้งเจริญ ซึ่งมีการแห่บูชารูปหล่อหลวงพ่อและสรงน้ำเจ้าอาวาสที่เป็นพระกะเหรี่ยง ผู้วิจัยมองว่ากะเหรี่ยงที่มางานคือผู้แสดง คณะกรรมการวัดที่เตรียมงานเป็นผู้ช่วยแสดง ผู้ศรัทธาและประชาชนทั่วไปเป็นผู้ชม กิจกรรมและพิธีกรรมที่กะเหรี่ยงแสดงเป็นการสื่อความหมายทางศาสนาและศีลธรรมของกะเหรี่ยง เพราะในระหว่างทำพิธีกรรมจะต้องเลิกอบายมุขทุกชนิด (หน้า 144-145)

Ethnic Group in the Focus

กะเหรี่ยงโปว์

Language and Linguistic Affiliations

ในอดีตกะเหรี่ยงได้แอบศึกษาอักษรเขียนของมอญ จนได้มีการดัดแปลงภาษาหนังสือมอญมาใช้กับภาษาของกะเหรี่ยง ภาษากะเหรี่ยงจัดอยู่ในภาษาตระกูลทิเบต ต่อมาเมื่อพม่าเข้ามามีอิทธิพลเหนือมอญ กะเหรี่ยงจึงกลับมาใช้ภาษาหนังสือตามแบบพม่า ซึ่งในปัจจุบันอักษรดังกล่าวยังมีผู้ใช้อยู่ในแถบพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี สำหรับกะเหรี่ยงโปว์ในเขตจังหวัดราชบุรีและเพชรบุรี เป็นกลุ่มกะเหรี่ยงที่อยู่บนพื้นราบ และผลจากการขยายโอกาสทางการศึกษา ทำให้กะเหรี่ยงโปว์ใช้ภาษาไทยในการสื่อสารกัน โดยเฉพาะหมู่บ้านที่ต้องมีการติดต่อกับคนพื้นราบ การพูดภาษากะเหรี่ยงจึงมีแต่ในบ้านเท่านั้น (หน้า 62)

Study Period (Data Collection)

เริ่มทำการศึกษาวิจัยตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2538 - เดือนกันยายน พ.ศ. 2539 (หน้า 21)

History of the Group and Community

ในอดีตกะเหรี่ยงโปว์ในเขตจังหวัดราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ อาศัยอยู่ในบริเวณที่ลำน้ำแควน้อยกับลำน้ำแควใหญ่ไหลมาบรรจบกันตามที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระมหากษัตริย์ไทย ต่อมาได้ย้ายออกไปอยู่ตามป่าเขาเหมือนดังก่อน เนื่องจากไม่คุ้นเคยกับการทำนาในที่ลุ่ม และได้มีการเคลื่อนย้ายออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งแยกไปทางใต้ ตั้งบ้านเรือนอยู่ตามเชิงเขาต้นแม่น้ำเพชรบุรี อีกกลุ่มแยกไปทางทิศตะวันตก ต้นน้ำลำภาชี กระจายกันตั้งบ้านเรือนในที่ราบเชิงเขา และที่ราบฝั่งลำภาชี และอยู่มาจนถึงปัจจุบัน (หน้า 11-13) วัดแจ้งเจริญ ตั้งอยู่เลขที่ 67 หมู่ที่ 3 ตำบลจอมประทัด อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี ถือเป็นวัดเก่าแก่มีอายุการสร้างวัดประมาณ 257 ปี และเคยถูกไฟไหม้เมื่อประมาณ 60 กว่าปีมาแล้ว และได้รับการปฏิสังขรณ์เรื่อยมา วัดแจ้งเจริญเป็นวัดที่มีเอกลักษณ์ต่างจากวัดอื่นโดยทั่วไปคือ เป็นวัดที่กะเหรี่ยงในเขตจังหวัดราชบุรี เคารพนับถืออดีตเจ้าอาวาสพระอธิการนวมเป็นพิเศษ แม้ท่านจะมรณภาพไปแล้ว แต่ก็มีกะเหรี่ยงจำนวนหลายพันคนเดินทางมานมัสการปิดทองรูปหล่อเหมือนหลวงพอนวม จนกลายเป็นงานประจำปีของวัดแจ้งเจริญ (หน้า 97, 99)

Settlement Pattern

โดยทั่วไปสภาพแวดล้อมของวัดแจ้งเจริญยังมีลักษณะเป็นชนบทคือ มีเรือกสวนโดยรอบโดยเฉพาะสวนมะพร้าว แต่ในบริเวณที่มีถนนตัดผ่านจะเกิดบ้านเรือนทรงสมัยใหม่ บริเวณด้านหน้าของวัดติดถนนสายธนบุรี - ปากท่อ จะเป็นพื้นที่กว้างสำหรับจัดงานมหรสพ ลักษณะแผนผังวัดก็คล้ายลักษณะวัดโดยทั่วไปคือ โบสถ์หรืออุโบสถจะอยู่ในพื้นที่ที่เป็นตอนกลาง ส่วนซีกหนึ่งเป็นพื้นที่ที่ใช้ในเรื่องที่เกี่ยวกับศาสนา เช่น เป็นกุฏิพระ และศาลาการเปรียญ ส่วนอีกซีกหนึ่งเป็นพื้นที่ที่ใช้ทางการศึกษา เช่น อาคารเรียน เป็นส่วนใหญ่

Demography

ไม่ระบุข้อมูลประชากรของกะเหรี่ยงในเขต 3 จังหวัด แต่มีการระบุข้อมูลประชากรของอำเภอวัดเพลง มีประชากรทั้งหมด 11,839 คน เป็นชาย 5,707 คน เป็นหญิง 6,132 คน ความหนาแน่นของประชากรต่อพื้นที่ 316 คน / ตารางกิโลเมตร (หน้า 94)

Economy

ผู้วิจัยได้อธิบายลักษณะเศรษฐกิจในอดีตของกะเหรี่ยงโปว์ในที่ต่าง ๆ ว่า ชำนาญในการล่าสัตว์ป่ามาก เลี้ยงชีวิตและครอบครัวด้วยการล่าเขากวาง งาช้าง เขากระทิง และเขาวัวแดง มาเสนอให้แก่คนเมืองโดยเฉพาะข้าราชการ เพื่อนำกลับไปเป็นของฝากแก่เจ้านาย แต่ปัจจุบันทุกหมู่บ้านถูกเชื่อมโยงกับตัวเมืองด้วยทางหลวง ทำให้อาชีพพรานไพรของกะเหรี่ยงโปว์ต้องหมดไป นอกจากนี้ กะเหรี่ยงยังมีการทำไร่ข้าว แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตที่ผูกพันกับธรรมชาติตลอดมา แต่ในปัจจุบันกะเหรี่ยงไม่ได้ดำเนินชีวิตแบบการผลิตเพื่อยังชีพเหมือนเดิม การทำไร่ข้าวจึงเหลือทำกันน้อยแห่ง ด้วยข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ทำไร่หมุนเวียนน้อยลง เด็กรุ่นใหม่ออกไปทำงานอื่นนอกหมู่บ้าน แต่ยังมีบางพื้นที่ที่ยังทำไร่ข้าวตามไหล่เขาและที่ราบเชิงเขาอยู่ (หน้า 43, 75-76) ผู้วิจัยไม่ได้อธิบายเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจของชุมชนวัดแจ้งเจริญ

Social Organization

ผู้วิจัยได้อธิบายว่าเดิมหนุ่มสาวกะเหรี่ยงจะแต่งงานกับคนกะเหรี่ยงด้วยกัน และฝ่ายชายจะอยู่รวมกับครอบครัวฝ่ายหญิงหลังการแต่งงาน บ้านเรือนกะเหรี่ยงจึงเป็นครอบครัวขยายมากขึ้น แต่ในปัจจุบันหมู่บ้านกะเหรี่ยงเป็นสังคมเปิด ผู้คนหลายเชื้อชาติแทรกตัวเข้าไปอยู่ปนกับกะเหรี่ยง จึงมีการแต่งงานข้ามเชื้อชาติ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการแต่งงานกับคนไทย (หน้า 68-69) แต่ผู้วิจัยไม่ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดระเบียบสังคมของชุมชนวัดแจ้งเจริญ

Political Organization

ผู้วิจัยอธิบายว่าในสมัยรัชกาลที่ 5 หมู่บ้านกะเหรี่ยงในเขตจังหวัดราชบุรี และเพชรบุรีได้มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านและกำนันซึ่งไม่เคยทำมาก่อน และมีส่วนร่วมและสิทธิหน้าที่เช่นเดียวกับคนไทยตามรูปแบบการปกครองแบบเทศาภิบาล ในปัจจุบันกะเหรี่ยงเป็นชาวไทยภูเขาที่อยู่ติดที่มานาน ทุกครอบครัวจึงมีบัตรประชาชน เลขที่ทะเบียนบ้าน (หน้า 86-87)

Belief System

ปัจจุบันแม้กะเหรี่ยงโปว์แถบจังหวัดราชบุรีและเพชรบุรีจะมีการรับนับถือพุทธศาสนาแล้ว แต่ยังคงเหลือความเชื่อทางศาสนาที่แสดงให้เห็นถึงความผูกพันกับธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นป่าไม้ ภูเขา สายน้ำและแผ่นดิน กะเหรี่ยงดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการพึ่งพาธรรมชาติ จึงเข้าใจและให้คุณค่าต่อธรรมชาติ โดยเชื่อว่าถ้าปฏิบัติต่อธรรมชาติถูกต้องจะได้รับพร กะเหรี่ยงจะมีความเคารพความเชื่อในเจ้าแห่งแผ่นดิน (ซงทะรี่) หรือแม่ธรณี เจ้าแห่งแม่น้ำ (นาทิ้ง) หรือแม่คงคา และผี้บือโย (แม่โพสพ) ความเชื่อเกี่ยวกับการถือผีจึงมีผลดีต่อความเป็นอยู่โดยรวมของสังคมกะเหรี่ยง เพราะกะเหรี่ยงเชื่อว่าทำอะไรผีย่อมเห็นเสมอจึงไม่กล้ากระทำผิด หลวงพ่อกะเหรี่ยง หรือ พระอธิการนวม อดีตเจ้าอาวาสวัดแจ้งเจริญ นับเป็นพระภิกษุที่มีบทบาทสำคัญในการนับถือพุทธศาสนาของกะเหรี่ยงจังหวัดราชบุรี และเพชรบุรี เป็นศูนย์รวมจิตใจให้กะเหรี่ยงมากราบไหว้และแก้บนเป็นประจำ จนเกิดเป็นประเพณีวันชุมนุมปีใหม่ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี ซึ่งถือเป็นพิธีกรรมทางความเชื่อของกะเหรี่ยงเผ่าโปว์ที่ถือปฏิบัติสืบต่อกันมา พิธีกรรมที่สำคัญในวันชุมนุมปีใหม่ ได้แก่ พิธีแห่รูปหล่อเหมือนหลวงพ่อนวม ซึ่งถือเป็นศูนย์รวมจิตวิญญาณให้กะเหรี่ยงมากราบไหว้ พิธีบูชาหลวงพ่อใหญ่หรือองค์ประธานในพระอุโบสถเป็นพิธีก่อนถึงเวลาบวชเพื่อแก้บนตามที่บนบานไว้กับหลวงพ่อนวม พิธีบวชสามเณรและชีพราหมณ์เพื่อแก้บน ถือเป็นปรากฏการณ์ที่กะเหรี่ยงมาชุมนุมทำพิธีกันทุกปี สะท้อนให้เห็นถึงความศรัทธาเลื่อมใสต่อวัดแจ้งเจริญอย่างไม่เสื่อมคลาย พิธีสรงน้ำเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความศรัทธายึดมั่นต่อหลวงพ่อกะเหรี่ยง พร้อมกันนั้นก็ได้ให้ความนับถือเจ้าอาวาสทุกรูปต่อ ๆ มา ว่าเป็นหลวงพ่อของกะเหรี่ยงเหมือนกัน พิธีปลุกเสกวัตถุมงคลของเจ้าอาวาส เป็นการนำสัญลักษณ์แทนตัวหลวงพ่อนวม คือ พระน้ำมนต์ และ พระน้ำมัน มาให้เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันได้ทำพิธีปลุกเสก และนำกลับไปบูชาบนหิ้งที่บ้าน บ้านไหนที่ตั้งหิ้งบูชาจะมีข้อห้ามไม่ให้ดื่มสุราบนบ้าน (หน้า 35-36, 102, 112, 126, 130, 132-133, 138, 141)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ในอดีตกะเหรี่ยงเวลาจะคลอดลูกจะมีหมอตำแยมาช่วยทำคลอด หลังจากอยู่ไฟแล้วผู้เป็นแม่จะต้องนำน้ำขมิ้นใบส้มป่อย พร้อมธูปเทียน ดอกไม้ อย่างละ 5 ไปขอขมาหมอตำแยที่ช่วยทำคลอดให้ อาจจะให้เงินด้วยหนึ่งสลึง สองสลึงหรือหนึ่งบาท แต่ในปัจจุบันมีสถานีอนามัยและสำนักงานผดุงครรภ์ทุกหมู่บ้าน การทำคลอดกับหมอตำแยจึงน้อยลงและเกือบไม่มีเลย นอกจากการรักษาทางการแพทย์แผนปัจจุบันแล้ว กะเหรี่ยงยังมีการบนบานศาลกล่าวต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนนับถือ ดังเช่น การบนหลวงพ่อนวม เพราะถือเป็นการรักษาทางด้านจิตใจ มีกำลังใจที่จะทำให้สุขภาพดีขึ้น (หน้า 67, 113)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

จากการสำรวจหมู่บ้านกะเหรี่ยงผู้เขียนได้พบเสาไม้แก่นสลักปลายในหลายพื้นที่ของจังหวัดราชบุรี และเพชรบุรี ซึ่งรูปร่างของเสาหลักบ้านดั้งเดิมเป็นอย่างไรไม่ปรากฏแน่ชัด แต่ได้เปลี่ยนสัญลักษณ์และสถานะมาเป็นเจดีย์ทางพุทธศาสนาแล้ว และนิยมสร้างเสาหงส์ไว้หน้าเจดีย์เลียนแบบวัดมอญด้วย เช่น ที่วัดเก่ากะเหรี่ยง หน้าวัดสวนผึ้ง ตำบลตะนาวศรี การแต่งกายของกะเหรี่ยงเผ่าโปว์ในอดีต ผู้ชายจะสวมกางเกงขาก๊วยสีดำ หรือนุ่งผ้าโจงกระเบนสีคล้ำคาดเข็มขัด สวมเสื้อผ่าอกสีน้ำเงินคล้ำแขนยาว เครื่องประดับสำหรับผู้หญิงจะนิยมเจาะรูหูสอดด้วยไม้มะเกลือ และตุ้มหูทำด้วยเงินสำหรับผู้ชาย สวมสร้อยลูกปัดหลายสาย และสวมกำไลมือทำด้วยเงิน การแต่งกายของผู้หญิงอายุประมาณ 14 - 15 ปี จะสวมเสื้อสีขาวตัวเดียวยาวคลุมเลยเข่า ปักริมขอบคอเสื้อ แขน และชายเสื้อด้วยด้ายสีแดง เด็กหญิงที่อายุ 15 ปีแล้วจะยังไม่นุ่งผ้าถุง สวมเสื้อสีดำหรือน้ำเงินปักลาย จะสวมเฉพาะวันที่มีประจำเดือนเท่านั้น เสื้อของหญิงสาวจนมีครอบครัวจะใช้สีดำหรือสีน้ำเงินเป็นพื้น ปักตรงกึ่งกลางรอบอกเป็นช่องสี่เหลี่ยมบรรจุลายดอกดวง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ทางเผ่าพันธุ์ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบและลวดลายเลย หญิงที่แต่งงานแล้วจะสวมเสื้อแค่เอวเพื่อสะดวกในการให้นมลูก แต่ในปัจจุบันการแต่งชุดกะเหรี่ยง จะแต่งเฉพาะงานสำคัญๆ ผู้ชายและเด็กหันมาใส่กางเกงขายาว สวมเสื้อตามสมัย จะไม่นิยมใส่ชุดประจำเผ่าอีกต่อไป (หน้า 50, 52, 53, 54, 63, 66)

Folklore

ตำนานเกี่ยวกับหลวงพ่อกะเหรี่ยง หรือพระอธิการนวม อดีตเจ้าอาวาสวัดแจ้งเจริญ ที่ยังคงเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาต่อกะเหรี่ยงเมื่อครั้งที่ท่านได้ออกธุดงค์ไปตามป่าชายแดนไทย - พม่า และเข้าไปถึงถิ่นที่อยู่ของกะเหรี่ยงโปว์ ซึ่งขณะนั้นยังคงนับถือผีและสิ่งนอกเหนือธรรมชาติ มีความชำนาญเรื่องไสยศาสตร์ หัวหน้ากะเหรี่ยงได้ลองวิชาอาคม แต่พระอธิการนวมสามารถแก้ได้ทุกครั้ง จึงเห็นว่าท่านเป็นพระสงฆ์ทีน่าเลื่อมใส ทรงอำนาจบุญบารมีอย่างที่ไม่เคยพบมาก่อน การสืบทอดเรื่องราวของท่านจากปากต่อปาก ทำให้ชื่อเสียงของท่านแพร่หลายในหมู่กะเหรี่ยง เมื่อได้รับความเดือดร้อนก็จะบนบานถึงพระอธิการนวมแทนการบนบานกับผี กะเหรี่ยงจึงวนเวียนมากราบไหว้และแก้บนเป็นประจำ จนเกิดประเพณีวันชุมนุมกะเหรี่ยงขึ้นที่วัดแจ้งเจริญ (หน้า 102 - 107 )

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ประเพณีวันชุมนุมปีใหม่กะเหรี่ยงที่วัดแจ้งเจริญ เป็นการแสดงถึงการเคลื่อนไหวที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของวิถีชีวิตกะเหรี่ยงอย่างเหนียวแน่น ถือเป็นโอกาสดีที่กะเหรี่ยงจะได้พบปะสังสรรค์ก่อนถึงฤดูกาลทำไร่ต่อไป เป็นการรวมญาติพี่น้องภายในหมู่บ้านหรือผู้คนที่ไปหางานทำที่อื่น ให้ได้กลับมาร่วมงานบุญในวันปีใหม่กะเหรี่ยงที่วัดแจ้งเจริญ (หน้า 145)

Social Cultural and Identity Change

จากความเจริญตามวัฒนธรรมที่องค์กรการพัฒนานำเข้าไปให้กับชุมชนกะเหรี่ยง เป็นผลให้กะเหรี่ยงต้องการความเจริญตามกรอบของคนเมือง จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ ด้าน เช่น จากการขยายโอกาสทางการศึกษาทำให้เด็กกะเหรี่ยงในหมู่บ้านได้มีโอกาสเรียนสูงขึ้น และช่วยให้การพูดภาษาไทยง่ายขึ้น เด็กรุ่นใหม่จึงอายที่จะพูดภาษากะเหรี่ยง การคมนาคมที่สะดวก เป็นผลให้การขนส่งพืชไร่ตามนโยบายส่งเสริมการปลูกพืชไร่เศรษฐกิจได้สะดวก ทำให้คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ถูกฟอกย้อมให้กลายเป็นคนไทยมากขึ้น บ้านเรือนแบบกะเหรี่ยงได้กลายเป็นบ้านเรือนทรงทันสมัย บริเวณหน้าวัดถูกปรับกว้างสำหรับจัดมหรสพบันเทิง ภายใต้อิทธิพลของความต้องการสมัยใหม่ แสดงถึงแนวโน้มของกะเหรี่ยงหนุ่มสาวที่เน้นความบันเทิงมากกว่าความเชื่อ การออกไปทำงานในเมืองและต่างจังหวัดของกะเหรี่ยงรุ่นใหม่ ทำให้ได้สัมผัสแบบอย่างชีวิตในเมือง รับความเจริญตามวัฒนธรรมภายนอก จึงไม่เห็นความสำคัญของการนอนค้างคืนที่วัดแจ้งเจริญในวันปีใหม่อีกต่อไป ซึ่งถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้โครงสร้างและรูปแบบของวันชุมนุมปีใหม่กะเหรี่ยงกำลังจะปลี่ยนแปลงไป (หน้า 62, 88, 146)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ภาพแผนที่แสดงเส้นทางอพยพตามตำนานของกะเหรี่ยงโปว์ (หน้า 6) ตารางองค์ประกอบของพิธีกรรมวันชุมนุมปีใหม่กะเหรี่ยง (หน้า 115 - 125)

Text Analyst ปนัดดา ปิ่นแก้ว Date of Report 14 ก.ย. 2555
TAG โพล่ง โผล่ง โพล่ว ซู (กะเหรี่ยง), พิธีกรรม, ความเชื่อ, งานปีใหม่, ราชบุรี, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง