สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ถิ่น,ขมุ,จารีตประเพณี,สังคม,พฤติกรรมทางเพศ,โรคเอดส์,น่าน
Author นิพัทธเวช สืบแสง
Title วัฒนธรรมกับพฤติกรรมทางเพศและสถานการณ์การเผยแพร่ระบาดของโรคเอดส์ ในชุมชนชาวเขาเผ่าถิ่นและเผ่าขมุ
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ลัวะ (มัล ปรัย) ลัวะมัล ไปร ลัวะปรัย, กำมุ ตะมอย, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 68 Year 2541
Source สถาบันวิจัยชาวเขา กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
Abstract

เนื้อหาของงานศึกษาการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ในชุมชนถิ่นและขมุในพื้นที่จังหวัดน่าน นอกจากนี้ยังศึกษาวัฒนธรรมที่มีส่วนกำหนดพฤติกรรมทางเพศของขมุและถิ่น ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความเคร่งครัดในเรื่องเพศ โดยจะไม่ยอมให้หนุ่มสาวมีเพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงาน นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงการป้องกันและการแก้ปัญหาเรื่องพฤติกรรมทางเพศที่เกิดขึ้นในชุมชน เช่น การให้ความช่วยเหลือแม่หม้ายซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่เคยมีสามีมาก่อน เพราะการช่วยเหลือนั้นก็เพื่อป้องกันไม่ให้แม่หม้ายกับคนหนุ่มมีความสัมพันธ์ทางเพศต่อกันอันจะทำให้สังคมถิ่นและขมุเกิดความวุ่นวาย รวมทั้งจารีตประเพณีต่างๆ ในชุมชนก็มีส่วนในการป้องกันการมีพฤติกรรมทางเพศในทางที่ผิดอันจะส่งผลทำให้เกิดการระบาดของโรคเอดส์ในชุมชน

Focus

เพื่อให้เข้าใจถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคเอดส์ในชุมชนชาติพันธุ์ถิ่นและขมุ ที่เชื่อมโยงถึงการแพร่ระบาดของโรคในสังคมไทย และเข้าใจถึงองค์ประกอบทางวัฒนธรรม พฤติกรรมทางเพศ และการใช้ภูมิปัญญาหรือวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ในการปรับตัวเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ในชุมชนถิ่นและขมุ (หน้า 3)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ถิ่นและขมุในจังหวัดน่าน

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาของถิ่นและขมุ เป็นตระกูลภาษาในกลุ่มภาษาออสโตรเอเชียติค เป็นภาษาไม่มีระบบเสียงวรรณยุกต์ ทั้งถิ่นและขมุจะใช้ภาษาควบคู่กันคือภาษาของตนเองกับภาษาไทยเหนือ (คำเมือง) ผู้ใหญ่ในกลุ่มชาติพันธุ์ถิ่นและจะขมุจะสอนเด็กๆ ให้พูดภาษาของตนเองและภาษาไทย ดังนั้นจึงไม่มีอุปสรรคด้านภาษาเมื่อสนทนากับคนนอกชุมชน (หน้า 34)

Study Period (Data Collection)

ระยะเวลาทำการวิจัยมี 2 ปี ดังนี้ ปีที่ 1 ตุลาคม 2538 - กันยายน 2539 ทำวิจัยทางมานุษยวิทยา ปีที่ 2 ตุลาคม 2539 - กันยายน 2539 ทำวิจัยเชิงปฏิบัติการ (หน้า 4)

History of the Group and Community

ประวัติศาสตร์ของขมุ ในพงศาวดารล้านช้างระบุว่า ขมุเคยมีอาณาจักรของตนเองในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 16 โดยมีที่ตั้งอยู่ ในแขวงหลวงพระบาง ประเทศลาว (หน้า 30) ประวัติศาสตร์ของถิ่น ถิ่นเป็นชาวพื้นเมืองของจังหวัดน่าน ตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นจำนวนมากในเขตอำเภอบ่อเกลือ (หน้า 30)

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

จากการศึกษาของโครงการโรคเอดส์ สภากาชาดไทย และมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอบกิ้นส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2537 ศึกษาในกลุ่มชาติพันธุ์ 9 กลุ่มได้แก่ แม้ว อีก้อ ลีซอ ลัวะ ชาติพันธุ์ละ 160 คน เย้า 80 คน ถิ่น 80 คน ปะหล่อง 40 คน ช่วงอายุ 15-45 ปี ที่อยู่อาศัยในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน จาก 27 หมู่บ้าน ในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พะเยา ลำพูน แม่ฮ่องสอน น่าน สำหรับประชากรที่ศึกษามีจำนวน 1,080 คน แบ่งเป็นเพศชายและเพศหญิงกลุ่มละ 540 คน พบว่ามีผู้ติดเชื้อเอดส์จำนวน 33 คน ( 2.13%) (หน้า 7) ส่วนการสำรวจการติดเชื้อเอดส์ในกลุ่มชาวเขา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534-มีนาคม 2538 พบว่า มีผู้ป่วยจำนวน 3,920 คน โดยแบ่งออกเป็น มูเซอ 1,720 คน อีก้อ 992 คน เย้า 432 คน กะเหรี่ยง 384 คน ลีซอ 320 คน แม้ว 72 คน จากจำนวนประชากรชาวเขาทั้ง 6 เผ่า 670,008 คน หรือคิดเป็นจำนวน 0.58 % ของจำนวนประชากร (หน้า 7)

Economy

ในระหว่าง พ.ศ.2510-2523 กองกำลังฝ่ายรัฐบาลได้สู้รบกับกองกำลังพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ในพื้นที่จังหวัดน่าน ชุมชนของถิ่นและขมุที่อยู่ทางตอนเหนือของจังหวัดเป็นพื้นที่ที่เป็นฐานที่ตั้งของพรรคคอมมิวนิสต์ฯ จึงมีการสู้รบกันอย่างหนัก ดังนั้นทางการจึงเร่งพัฒนาพื้นที่ชนบทที่อยู่พื้นที่ที่มีการต่อสู้และตัดถนนไปยังหมู่บ้านดังกล่าว แต่หมู่บ้านในกรณีศึกษาทั้งสองไม่อยู่ในพื้นที่ยุทธศาสตร์จึงไม่มีการตัดถนนผ่าน แต่ผลของการพัฒนาของทางการก็ทำให้คนในหมู่บ้านทั้งสองแห่งปลูกข้าวโพดและฝ้ายขายให้ตลาด ดังนั้นจึงทำให้ต้องใช้เงินลงทุนเป็นจำนวนมากทั้งค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าสารเคมี และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในการลงทุนเป็นจำนวนมาก (หน้า 35)

Social Organization

สังคมถิ่น เป็นสังคมที่สืบเชื้อสายทางฝ่ายหญิง เมื่อหนุ่มสาวแต่งงานกันฝ่ายชายจะต้องเปลี่ยนมานับถือผีของตระกูลฝ่ายภรรยา และลูกที่เกิดมาต้องนับถือผีฝ่ายภรรยาด้วยเช่นกัน ในสังคมของถิ่นคนที่อยู่ในตระกูลเดียวกันจะแต่งงานกันไม่ได้เพราะถือว่าเป็นพี่น้องกัน ทั้งนี้ในหมู่บ้านกรณีศึกษากลุ่มถิ่นประกอบด้วย 4 สายตระกูลที่สำคัญ (หน้า 34) สังคมขมุ ลักษณะสังคมใกล้เคียงกับสังคมถิ่นคือ มีการสืบเชื้อสายทางฝ่ายผู้หญิง เมื่อแต่งงานผู้ชายจะต้องเข้ามาถือผีฝ่ายภรรยาและลูกที่เกิดมาจะต้องถือผีฝ่ายแม่ การอยู่ร่วมกันในสังคมจะอยู่รวมกลุ่มกันแบบเครือญาติ ซึ่งในหมู่บ้านที่เป็นกรณีศึกษาประกอบด้วย 6 กลุ่มเครือญาติ (หน้า 34) พฤติกรรมทางเพศในสังคมชาวเขา ในงานเขียนได้แบ่งพฤติกรรมทางเพศในสังคมชาวเขาในประเทศไทยออกเป็น 2 ประเภท ดังต่อไปนี้ 1 ) สังคมที่อนุญาตให้หนุ่มสาวมีความสัมพันธ์ทางเพศก่อนการแต่งงาน เช่นในกลุ่มชาติพันธุ์ แม้ว เย้า มูเซอ ลีซอ อีก้อ สำหรับสังคมชาวเขาแบบนี้จะเป็นสังคมที่เป็นแบบกลุ่มที่ตั้งถิ่นที่อยู่ไม่ถาวร หรือเคยเป็นกลุ่มที่ตั้งที่อยู่ไม่ถาวรมาก่อน และเคยทำการเพาะปลูกแบบทำไร่เลื่อนลอย มีลักษณะแบบครอบครัวพหุภรรยา (polygamy) หรือผัวมีเมียได้มากกว่าหนึ่งคน (หน้า 8,29) 2 ) สังคมที่ไม่อนุญาตให้หนุ่มสาวมีความสัมพันธุ์ทางเพศก่อนการแต่งงาน เช่น ในกลุ่มชาติพันธุ์ กะเหรี่ยง ลัวะ ถิ่น ขมุ ส่วนใหญ่สังคมแบบนี้ จะเป็นสังคมที่ตั้งที่อยู่อาศัยแบบถาวร ทำการเพาะปลุกแบบทำไร่หมุนเวียน ส่วนครอบครัวจะเป็นแบบผัวเดียวเมียเดียว (monogamy) (หน้า 8,29) การมีสัมพันธ์ทางเพศจะมีเพื่อสืบทอดเผ่าพันธุ์และผู้ใหญ่จะไม่อบรมสั่งสอนลูกหลานในเรื่องเพศแต่จะให้เรียนรู้เองเมื่อแต่งงานมีครอบครัว (41,43) การเลือกคู่ครองของถิ่นและขมุ ถิ่นและขมุจะมีวิธีป้องกันการล่วงเกินทางเพศในระหว่างช่วงการเลือกคู่ครองของคนหนุ่มสาวคือ หนุ่มจะไปคุยกับสาวที่บ้านของสาวที่ชอบพอในตอนหัวค่ำ ตอนที่ไปพูดคุยด้วยนั้นเริ่มแรกพ่อ แม่ ของผู้หญิงจะมาคุยด้วยหากถูกใจหนุ่มคนดังกล่าวว่าจะมาเป็นลูกเขยที่ดีต่อไปในวันหน้า ก็จะให้โอกาสโดยจะเลี่ยงไปนอนและแอบฟังเสียงดูเงียบๆ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายผิดจารีตประเพณี แต่ถ้าพ่อแม่ฝ่ายหญิงไม่ชอบก็จะนั่งคุยอยู่ด้วยโดยไม่เปิดโอกาสให้พูดคุยกันตามลำพัง (หน้า 44)

Political Organization

หมู่บ้านกรณีศึกษาทั้งสองหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้านทำหน้าที่ปกครองเพียงหนึ่งคน แม้ว่าจะมีความแตกต่างทางวัฒนธรรมภาษาและเชื้อชาติก็ตาม (หน้า 33)

Belief System

ความเชื่อของถิ่นและขมุ ถิ่นและขมุมีความเชื่อเรื่องผีและเรื่องขวัญ ผี ถิ่นจะเรียกผีว่า “ปรอง” และขมุ เรียกผีว่า “โฮร่ย” โดยเชื่อว่าทั้งคนผีและทุกสิ่งอย่างในธรรมชาติอยู่บนโลกด้วยกัน ผีจะมีอำนาจมากกว่าคนและสามารถให้ทั้งคุณและโทษกับคน สำหรับผีมีหลายชนิดด้วยกันอาทิเช่น ผีเรือน หรือผีบรรพบุรุษ ผีหมู่บ้าน ผีเจ้าที่ ผีหลวง ผีที่อยู่ในป่าซึ่งเป็นผีที่ร้ายกาจชอบทำร้ายคน (หน้า 37) ขวัญ เชื่อว่าขวัญมีความสำคัญต่อการมีชีวิต แต่ยังมีความคิดเห็นที่ไม่แน่นอนว่าขวัญมีจำนวนเท่าใดในร่างกาย โดยเชื่อว่าขวัญจะอยู่ในร่างกายคนตั้งแต่ 5 -32 ขวัญ เมื่อเจ็บไข้ไม่สบายก็เชื่อว่าเป็นเพราะขวัญออกจากร่างกาย ถ้าขวัญออกจากตัวมากก็ยิ่งป่วยมากบางครั้งอาจรุนแรงถึงตาย สำหรับสาเหตุที่ทำให้ขวัญออกจากร่างกายคนก็มาจากสาเหตุต่างๆ ดังนี้ เช่นเมื่อตกใจมากๆ ลื่นล้ม ฝันร้าย ได้รับอุบัติเหตุ เป็นต้น เมื่อขวัญออกจากร่างกายก็จะทำให้ไม่สบาย สำหรับการรักษาเมื่อเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากขวัญออกจากร่างกายก็คือ การทำพิธีมัดขวัญ เรียกขวัญให้กลับเข้าร่าง (หน้า 37) ทั้งนี้ความเชื่อเรื่องผีและขวัญ มีข้อดีสำหรับสังคมถิ่นและขมุก็คือ ทำให้คนที่อยู่ในสังคมปฏิบัติตามจารีตประเพณี และให้คนเคารพต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น (หน้า 38) ทัศนคติเรื่องเพศของถิ่นและขมุ ถิ่นและขมุต่างเห็นว่าอวัยวะเพศเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ สกปรกและเป็นอัปมงคล ตัวอย่างเช่นกรณีการทะเลาะกันในสังคมถิ่นระหว่างชายหญิงคู่หนึ่ง เมื่อฝ่ายหญิงด่าทอสู้ผู้ชายไม่ได้ จึงเปิดอวัยวะเพศให้ผู้ชายดูเพื่อประชด จนทำให้ผู้ชายแค้นเคืองใช้ปืนยิงจนกระทั่งผู้หญิงได้รับบาดเจ็บ และผู้ชายคนนั้นต้องได้รับโทษติดคุก (หน้า 39) ความเชื่อเกี่ยวกับแม่หม้าย ในสังคมถิ่นและขมุเชื่อว่าแม่หม้ายมีความศักดิ์สิทธิ์ ตัวอย่างเช่น หากแม่หม้ายโกรธหรือแช่งด่าผู้ใด คำแช่งด่านั้นมักจะเป็นความจริง ในสังคมขมุถ้าเด็กเกิดใหม่ตาเข ก็จะรักษาโดยให้แม่หม้ายเอาฝาปิดไหนึ่งข้าวมาโบกที่ตาที่พิการนั้น ตาก็จะหายเข (หน้า 45)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ปัญหาโรคเอดส์ จากการสำรวจยอดจำนวนผู้ป่วยเป็นโรคเอดส์ในกลุ่มชาวเขายังไม่มีความชัดเจน เพราะยังมีการสำรวจที่ค่อนข้างจำกัดและไม่แยกว่าเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ใด สำหรับการสำรวจของกองโรคเอดส์ กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าจากการสำรวจผู้ติดเชื้อเอดส์ในกลุ่มชาวเขาในภาคเหนือตอนบน (ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2534) ระบุว่ามีชาวเขาติดเชื้อเอดส์ 175 คน ในจังหวัดต่างๆ ดังนี้ เชียงใหม่ 78 คน เชียงราย 67 คน จำนวนของผู้ติดเชื้อเอดส์ของทั้งสองจังหวัดคิดเป็น 85 % ของผู้ติดเชื้อชาวเขาที่อยู่ภาคเหนือตอนบน (หน้า 6-7)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ตะแหลวแม่หม้าย คือเครื่องรางทำจากไม้ไผ่สานเป็นรูปตารางแปดเหลี่ยม ส่วนมากจะปักเอาไว้ที่ไร่เมื่อทำพิธีเซ่นไหว้ผีไร่ การทำเช่นนี้ก็เพื่อคุ้มกันผีร้ายจะมารังคราญขวัญข้าวกระทั่งทำให้ปลูกข้าวให้ผลิตน้อย สำหรับที่มาของการปักตะแหลวไว้ที่ไร่ก็มาจากที่ชาวบ้านสังเกตว่าไร่แม่หม้ายไม่เคยมีผีป่าหรือสัตว์ป่ามากวนในไร่ จึงไปแอบดูจึงรู้ว่าแม่หม้ายปักตะแหลวไว้ในไร่ จึงให้แม่หม้ายทำตะแหลวมาปักที่ไร่ ดังนั้นจึงเป็นที่มาของชื่อ ”ตะแหลวแม่หม้าย” (หน้า 45)

Folklore

นิทานการให้ความช่วยเหลือแม่หม้ายของถิ่นและขมุ นิทานเรื่องนี้มีที่มาคือการให้ความช่วยเหลือแม่หม้ายเพื่อป้องกันการปฏิบัติที่ผิดจารีตประเพณีในสังคมเนื่องจากแม่หม้ายเป็นผู้ที่เคยมีเพศสัมพันธ์กับสามีมาก่อน มีเรื่องเล่าว่า “นานมาแล้วที่อยู่ในสมัยที่น้ำท่วมโลกครั้งใหญ่ เวลานั้นเทวดาได้บอกให้คนเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวไว้ในยุ้ง แต่ไม่มีผู้ใดเชื่อฟังคำเตือนของเทวดา แต่มีแม่หม้ายผู้หนึ่ง ได้สร้างยุ้งเก็บข้าวไว้ในที่สูง และทำตามที่เทวดาได้เตือนมา ครั้นน้ำท่วมโลกจนหมด ข้าวของคนอื่นได้หายไปจนหมด คงเหลือแต่ข้าวของแม่หม้ายเท่านั้น เธอจึงได้แบ่งข้าวให้คนอื่นๆ เอาไปเป็นเมล็ดพันธุ์ คนอื่นๆ จึงรอดชีวิต สำหรับการให้ความช่วยเหลือแม่หม้ายก็เพื่อเป็นการทดแทนคุณความดีที่แม่หม้ายได้เคยช่วยเหลือคนที่เคยลำบากตอนน้ำท่วมโลกนั่นเอง” (หน้า 44-45)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มี

Social Cultural and Identity Change

ในงานเขียนได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางเพศที่มีความสัมพันธ์ต่อสถานการณ์การเป็นโรคเอดส์ในชุมชนถิ่นและขมุดังนี้ 1 ) การผิดจารีตประเพณีทางเพศในชุมชน เช่น กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐกับสาวในหมู่บ้าน การมีชู้ การนอกใจคู่สมรส 2 ) วิถีชีวิตของหนุ่มสาว คือ เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางเพศของกลุ่มวัยหนุ่มสาว เนื่องจากมีหนุ่มสาวบางส่วนที่เข้าไปทำงานในเมืองซึ่งมีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกับการดำรงชีวิตภายในหมู่บ้านที่มีผู้หลักผู้ใหญ่คอยดูแล ส่วนคนหนุ่มเมื่อเข้าไปทำงานในเมืองก็จะใช้จ่ายเงินอย่างฟุ่มเฟือยและมีพฤติกรรมทางเพศที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์ เช่น การไปเที่ยงซ่องโสเภณี และการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัย (หน้า 48-54)

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ตาราง ผู้ติดเชื้อเอดส์กับจำนวนประชากรแยกตามเผ่า (หน้า 7) ผู้ป่วยและเสียชีวิตในประเทศไทย (หน้า 10)

Text Analyst ภูมิชาย คชมิตร Date of Report 06 ม.ค. 2566
TAG ถิ่น, ขมุ, จารีตประเพณี, สังคม, พฤติกรรมทางเพศ, โรคเอดส์, น่าน, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง