สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject มุสลิม,มัสยิด,ภาคกลาง
Author เสาวนีย์ จิตต์หมวด
Title หน้าที่ของมัสยิดต่อสังคมมุสลิมในภาคกลาง
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity มลายู ออแฆนายู มลายูมุสลิม ไทยมุสลิม, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเนเชี่ยน
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 198 Year 2527
Source หลักสูตรปริญญาสังคมศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract

สำหรับสังคมมุสลิมกล่าวได้ว่าสถานบันศาสนามีส่วนสำคัญมากที่สุดต่อชีวิตของมุสลิม ทั้งนี้เพราะวิถีการดำเนินชีวิตของมุสลิมทุกคน ต้องอยู่บนครรลองของอิสลามโดยตลอดอย่างแยกไม่ออก เพราะในอิสลามไม่มีนักบวช องค์ประกอบสำคัญของศาสนาอิสลามคือ ศาสนสถานที่อิสลามเรียกว่า "มัสยิด" หรือ "สุเหร่า" ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากศาสนาในศาสนาอื่นๆ คือไม่ใช่เป็นที่อยู่ประจำของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม มัสยิดก็มีหน้าที่เช่นศาสนสถานอื่น ๆ อันจะมีผลต่อสังคมนั้น ๆ จะแตกต่างกันก็แต่รูปแบบและเนื้อหาสาระ ด้วยรูปแบบเฉพาะของมัสยิดที่มีมาแต่สมัยของท่านศาสดามุฮำมัด (ค็อลฯ) ที่มัสยิดเป็นศูนย์กลางของชุมชน ซึ่งมีหน้าที่ทั้งด้านศาสนา การศึกษา สังคม เศรษฐกิจและการเมือง โดยมีอิหม่ามผู้ซึ่งได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้นำในการประกอบกิจการ ต่าง ๆ จึงเป็นที่มาของงานวิจัย (หน้า 148)

Focus

ผู้เขียนให้ความสนใจศึกษาเปรียบเทียบมัสยิดในเมือง และมัสยิดชนบทในภาคกลางของไทย ที่มีความแตกต่างกันในด้านของศาสนา การศึกษา สังคม เศรษฐกิจและการเมือง และเน้นศึกษาเกี่ยวกับระดับความรู้ทางศาสนาทางสามัญ ฐานะเศรษฐกิจ และวัยของอิหม่ามมีความสัมพันธ์กับการทำหน้าที่ของมัสยิด และความคาดหวังของไทยมุสลิมในภาคกลาง ต่อหน้าที่ของมัสยิดในอนาคต (หน้า 8)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

เป็นการศึกษามุสลิมที่มีมัสยิดเป็นศูนย์กลางทั้งในกรุงเทพฯ และจังหวัดต่าง ๆ ในภาคกลาง คือ อยุธยา ฉะเชิงเทรา นครนายก ปทุมธานี และนนทบุรี เป็นกลุ่มที่ทำการศึกษา โดยเฉพาะ อิหม่ามและคอเต็บ หรือกรรมการมัสยิดและสัปปุรุษทั้งชาย และหญิง และมุสลิมที่ศึกษษาอาจจะมีภูมิหลังทางชาติพันธุ์ที่แตกต่างกัน (หน้า 23)

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

ผู้เขียนใช้เวลาศึกษาจากการเก็บข้อมูลจากการค้นคว้าเอกสารต่าง ๆ การทำแบบสอบถาม การเก็บข้อมูลภาคสนาม และการประมวลผลวิเคราะห์ข้อมูลและเขียนรายงานเสนอผลการวิจัย ระหว่าง เดือนพฤศจิกายน 2525 - กุมภาพันธ์ 2527 (หน้า 24-25)

History of the Group and Community

ในระยะที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชแผ่อำนาจลงมายังเมืองต่าง ๆ บนแหลมมลายู ศาสนาอิสลามได้เข้ามามีอิทธิพลอยู่บนแหลมมลายูอยู่ก่อนแล้ว เพราะพบหลักฐานว่ามีมุสลิมเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราชตั้งแต่สมัยสุโขทัย ครั้นถึงสมัยอยุธยาความสัมพันธ์ในลักษณะนี้ยังมีอยู่ ก่อนหน้าที่ศาสนานี้จะแผ่อำนาจเข้ามายังแหลมมลายู ได้แผ่เข้ามายังอินเดีย จีน และบริเวณประเทศที่เป็นหมู่เกาะของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (เริ่มที่เกาะสุมาตราเป็นแห่งแรก) และในที่สุดได้แผ่เข้าครอบคลุมแหลมมลายูด้วย ความจริงที่ปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัดคือ กรุงศรีอยุธยาเป็นสถานที่หยุดพักที่สำคัญของพ่อค้ามุสลิมที่เดินทางจากแคชเมียร์ไปเมืองจีนในศตวรรษที่ 15 ดั้งนั้นจึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พ่อค้ามุสลิมชาติต่าง ๆ ได้แวะพักหรือเข้ามาตั้งถิ่นฐานในกรุงศรีอยุธยา และเมื่ออิสลามเข้ามากับพ่อค้าเหล่านั้น ชาวไทยส่วนหนึ่งก็ได้รับเอาอิสลามมาเป็นระบอบในการดำเนินชีวิต ทั้งนี้เพราะอิสลามได้ให้กฏเกณฑ์หรือระบอบในการดำเนินชีวิตตั้งแต่เรื่องพื้นฐานในครอบครัวไปจนถึงหน้าที่ทางการเมือง ซึ่งเป็นเรื่องที่ง่ายๆ โดยปราศจากเรื่องที่ลี้ลับหรืออภินิหารอย่างใด ศาสนาอิสลามนอกจากจะเข้ามากับชาวอาหรับชาติต่าง ๆ แล้ว ยังเข้ามาพร้อมกับชนเชื้อสายอินเดีย มลายู กัมพูชา จีน อินโดนิเชีย ดังนั้นพื้นที่ของไทย 519,000 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองเป็นกรุงเทพฯ และจังหวัดต่างๆ 76 จังหวัด ในแต่ละท้องถิ่นของประเทศมีประชาชนนับถือศาสนาแตกต่างกันไปเป็นสัดส่วนตามพื้นฐานทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของถิ่นนั้นๆ (หน้า 29-30)

Settlement Pattern

แม้ว่าไทยมุสลิมจะตั้งถิ่นฐานอยู่ในทุกภาคของประเทศไทย แต่จากความแตกต่างในพื้นฐานความเป็นมาทางประวัติศาสตร์และสาเหตุอื่น ๆ จึงทำให้จำนวนไทยมุสลิมในภาคต่าง ๆ แตกต่างกัน กล่าวคือ ภาคใต้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณ 4 จังหวัด อันได้แก่ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล เป็นบริเวณที่มีไทยมุสลิมอยู่มากที่สุด ส่วนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีน้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม ในการตั้งถิ่นฐาน มุสลิมจะพยายามอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เป็นหมู่บ้าน ตำบล และเมื่อมีมุสลิมอยู่ที่ใด ในชุมชนนั้น ๆ จะมีมัสยิดตามมาเพื่อเป็นศูนย์กลางของหมู่บ้าน เป็นศูนย์รวมไทยมุสลิมในชุมชนนั้น ๆ (หน้า 31)

Demography

ในปัจจุบันประชากรโลกที่นับถืออิสลามมีประมาณ 900 ล้านคนเศษ ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในประเทศต่าง ๆ ไม่ต่ำกว่า 120 ประเทศ ในจำนวน 120 ประเทศนี้ ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีผู้นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งมีเป็นจำนวน 2,011,793 คน หรือเท่ากับ 4.05 % เป็นอันดับ 2 รองจากผู้นับถือพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ จากการสำรวจประชากรใน พ.ศ. 2522 ปรากฏว่าประเทศไทยมีประชากร 46 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นไทยมุสลิมประมาณ 2 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่ประมาณล้านกว่าคนอยู่ในสี่จังหวัดภาคใต้ คือ ปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล นอกจากนั้น จะกระจายอยู่ในภาคอื่น ๆ คืออยู่ในจังหวัดภาคต่าง ๆ เกือบทุกจังหวัด (หน้า 1-2)

Economy

เป็นการวิเคราะห์ระบบเศรษฐกิจของมัสยิดตั้งแต่ในสมัยท่านศาสดา (ค็อลฯ) ที่มัสยิดทำหน้าที่เป็นผู้รวบรวมซะกาตและพิจารณาในการใช้ซะกาตตามความเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประการแรกคือ เพื่อแจกจ่ายให้คนยากจน หรือมุสลิมใช้มัสยิดเป็นที่ปรึกษาหารือในเรื่องประกอบอาชีพ แต่ส่วนมากจะเป็นไปอย่างไม่เป็นทางการ กล่าวคือ เมื่อมาพบกันที่มัสยิดก็มีการพูดคุยปรึกษาหารือในเรื่องการประกอบอาชีพ สำหรับประเทศไทยแล้ว ลักษณะทั่วไปทั้ง 2 ประการพบได้โดยทั่วไปตามมัสยิดต่าง ๆ เพียงแต่ว่าจะทำกันเป็นครั้งคราวในโอกาสจัดงานในวาระต่าง ๆ ที่มัสยิด ซึ่งเงินที่ขายของได้ก็ดี ประมูลสินค้าได้ก็ดี มักจะนำไปดำเนินการตามวัตถุประสงค์ในการจัดงานแต่ละครั้ง เช่น ด้านการศึกษา สัวสดิการสังคม ฯลฯ (หน้า 150-151)

Social Organization

อาณาบริเวณของมัสยิดแต่ละแห่งในประเทศไทย เรียกได้ว่าเป็นชุมชนมุสลิม ทั้งนี้เพราะชายไทยมุสลิมมักจะตั้งบ้านเรือนอยู่ในบริเวณที่มีมัสยิด สิ่งที่น่าสังเกตของไทยมุสลิมประการหนึ่งคือ มักจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อน และมีศูนย์กลางของชุมชนซึ่งได้แก่มัสยิด และมัสยิดก็ได้กลายเป็นสิ่งดึงดูดให้มุสลิมเข้าไปอยู่ในบริเวณนั้นมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพราะความสะดวกในการประกอบศาสนกิจ ความอบอุ่นใจที่อยู่ในกลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเดียวกัน ซึ่งมุสลิมจะเกิดความรู้สึกที่เป็นพี่น้องกันโดยอัตโนมัติหรือตามคำสอนของอิสลามที่ว่า "มุสลิมทุกคนเป็นพี่น้องกัน" (หน้า 60) เอกลักษณ์อย่างหนึ่งของไทยมุสลิมไม่ว่าจะอยู่ส่วนใดของประเทศก็ตาม คือ ไทยมุสลิมจะอยู่เป็นกลุ่มก้อน คือเป็นหมู่บ้านหรือกำปง และในแต่ละหมู่บ้านนั้นก็จะมีมัสยิด หรือสุเหร่า เป็นสถานที่กลางที่ไทยมุสลิมจะไปประกอบศาสนกิจร่วมกัน เป็นที่เรียนหนังสือของเยาวชน ฯลฯ โดยมีอิหม่าม ซึ่งชาวบ้านเลือกขึ้นมาเป็นผู้นำในหมู่บ้านหรือชุมชนนั้น ซึ่งเป็นไปตามหลักของอิสลามที่ใช้อยู่ทั่วโลก (หน้า 1-2)

Political Organization

ในสมัยท่านศาสดา (ค็อลฯ) มัสยิดทำหน้าที่หรือมีบทบาททั้งทางด้านการเมือง การปกครองและการทูต เพรามัสยิดทำหน้าที่เป็นสาสนสถาน ที่ทำการรัฐบาล ที่บัญชาการกองทัพ ตลอดจนที่รับรองแขกต่างประเทศ หรือที่เจรจาทางการทูต แต่เนื่องจากในปัจจันมุสลิมส่วนใหญ่ได้แยกหน้าที่ดังกล่าวออกจากมัสยิดโดยมีสถาบันต่าง ๆ เข้ามาทำหน้าที่แทน เช่น สถาบันการเมือง การปกครอง ฯลฯ หน้าที่ของมัสยิดจึงลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยซึ่งไม่ใช่ประเทศมุสลิม หน้าที่ทางด้านต่าง ๆ ที่เคยมีมาแต่อดีตจึงแทบไม่ปรากฏในสังคมไทยมุสลิม (หน้า 100)

Belief System

มุสลิมเป็นคำที่เรียกผู้นับถือศาสนาอิสลาม มีความหมายว่า ผู้นอบน้อมตนอย่างสิ้นเชิงต่อพระเจ้าอัลลอฮฺ (ซุปห์ฯ) แต่พระองค์เดียวเพื่อความสันติสุข ส่วนอิสลามเป็นชื่อของศาสนาของโลกศาสนาหนึ่ง และเป็นชื่อของระบอบการดำเนินชีวิต ซึ่งออกมาในรูปของวัฒนธรรมอิสลาม ที่ครอบคลุมถึงกฎหมายอิสลาม รัฐอิสลาม ระบอบเศรษฐกิจอิสลาม ฉะนั้นแท้จริงอิสลามคือระบอบของการดำเนินชีวิตซึ่งอยู่ในทางสายกลาง กล่าวคือ ไม่ปฏิเสธวัตถุกับจิตใจ ไม่มีฆราวาสกับนักบวช และเมื่อใครอยู่ในระบบอิสลามแล้ว เขาย่อมเป็นอุมมะฮฺ คือ ประชาชนสายกลาง หรือมุสลิม องค์ประกอบสำคัญของศาสนาอิสลามมี 5 ประการ ได้แก่ (1) ศาสดาคือมุฮำมัด (ค็อลฯ) (2) คัมภีร์อัล-กุรฺอาน (3) ผู้สืบทอดศาสนาหรือสาวก คือมุสลิมทุกคน (4) ศาสนสถาน คือ มัสยิด (5) พิธีกรรม เช่น การละหมาด การประกอบพิธีฮัจญ์ ฯลฯ ส่วนโครงสร้างของศาสนาอิสลามประกอบด้วยโครงสร้างที่สำคัญ 2 ประการ คือ หลักความศรัทธาหรือรุก่นอีหม่ามน 6 ประการ และหลักการปฏิบัติหรือรุก่นอิสลาม 5 ประการ (หน้า 26)

Education and Socialization

ไม่ระบุชัดเจน

Health and Medicine

ไม่ข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่ข้อมูล

Folklore

ไม่ข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่ข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ไม่ข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Text Analyst วศิน เชี่ยวจินดากานต์ Date of Report 05 ม.ค. 2566
TAG มุสลิม, มัสยิด, ภาคกลาง, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง