สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject คะยาห์ กะเรนนี บเว, ไต คนไต ไตโหลง ไตหลวง ไตใหญ่, มอญ,กลุ่มชาติพันธุ์,ชนกลุ่มน้อย,การไล่ที่,พม่า
Author Lanjouw, Steven, Mortimer, Graham and Bamforth ,Vicky
Title Internal Displacement in Burma
Document Type บทความ Original Language of Text -
Ethnic Identity มอญ รมัน รามัญ, ไทใหญ่ ไต คนไต, กะแย กะยา บเว, Language and Linguistic Affiliations ไม่ระบุ
Location of
Documents
ห้องสมุด ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 12 Year 2543
Source (Disasters, 2000,24(3):228-239)
Abstract

จากแง่มุมทางด้านสิทธิมนุษยชน อาจกล่าวว่า “การไล่ที่ การบังคับให้ย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยของประชากรที่เกิดอยู่ในประเทศพม่า” นั้นส่งผลกระทบโดยตรงกับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในประเทศพม่า โดยเฉพาะมีผลกระทบต่อชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในรัฐที่ตั้งอยู่ตามแนวชายแดนของประเทศ รวมถึงกลุ่มผู้อพยพลี้ภัยต่างๆ ซึ่งถูกบีบบังคับอย่างรุนแรงจากกองทัพรัฐบาลพม่า

Focus

วิเคราะห์ ภาวะการไล่ที่ และการบังคับให้ย้ายที่อยู่อาศัยของประชากรในประเทศพม่า (หน้า 230) ในภาวะที่ขาดกฎหมายข้อบังคับหรือบทบัญญัติทางกฎหมายที่ชัดเจน ต่อการกระทำที่เป็นการบังคับ หรือขับไล่ ทำให้เกิดการย้ายที่อยู่อาศัยในประเทศพม่า (หน้า 237)

Theoretical Issues

การไล่ที่ การบังคับให้ย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยของประชากรในประเทศพม่า เป็นผลที่เกิดจากภาวะไร้ระเบียบทางสังคม ตลอดจนเป็นผลที่เกิดจากการริเริ่มโครงการพัฒนาการทางเศรษฐกิจของประเทศพม่าด้วย (หน้า 228)

Ethnic Group in the Focus

ชาติพันธุ์ ชนกลุ่มน้อยกลุ่มหลักๆ ที่อาศัยอยู่ในรัฐต่างๆ ของพม่า ได้แก่ กลุ่มผู้นับถือศาสนาอิสลาม Rohingyas ในรัฐ Arakan, กะเหรี่ยง (the Karen), ฉาน (the Shan), เคอะเรนนี (the Karenni), คะฉิ่น (the Kachin), มอญ (the Mon) และ ฉิ่น (the Chin) นอกจากนั้นยังมีชนกลุ่มน้อยกลุ่มย่อยๆ ที่อยู่ร่วมกันตามพื้นที่ต่างๆ อย่างเช่น ชนเผ่าอารากัน (the Arakan), ปะโอ (the Pa O), ปะหล่อง (the Palaung), ว้า (the Wa), ลหู่ (the Lahu) , อะข่า (the Akha), โกแก่ง ( the Kokang), และ อารากันนิส (the Arakanese) (หน้า.233-234)

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

ช่วงเวลาที่ได้ศึกษาตามรายงานนี้ ซึ่งเน้นปัญหาหลักเรื่องการไล่ที่ การบังคับให้ย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยของประชากรภายในประเทศพม่า คือปี ค.ศ.1949 เรื่อยมา ส่วนหนึ่งนั้นเป็นผลที่เกิดจากการสู้รบระหว่างกองกำลังกู้ชาติกะเหรี่ยง (KNU) กับรัฐบาลทหารพม่า แต่ในรายงานไม่ได้ระบุเวลาที่ทำการเก็บข้อมูล

History of the Group and Community

หากมองย้อนไปในระหว่างปี ค.ศ 1950 การไล่ที่ การบังคับให้ย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยของประชากรภายในประเทศพม่า อาจกล่าวได้ว่า เป็นผลพวงมาจากภาวะการทำสงคราม การสู้รบระหว่างกองกำลังชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ กับรัฐบาลทหารพม่า และการใช้กำลังบีบบังคับของรัฐ ให้ประชากรย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยของตนออกจากบริเวณพื้นที่เดิม (หน้า 231) อีกทั้งยังเป็นปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน ปัญหาการใช้ความรุนแรง และปัญหาความขัดแย้งต่างๆ อันเป็นผลสืบเนื่องจากความล้มเหลวของนโยบายของรัฐบาลทหารพม่า ซึ่งต้องการบังคับให้ประชาชนย้ายถิ่นฐาน ไปอยู่ในทำเลที่ตั้งแห่งใหม่โดยไม่สมัครใจ ทั้งในพื้นที่เขตเมือง และในชนบท (โดยเฉพาะในแนวชายแดนของประเทศ) (หน้า 229, 230)

Settlement Pattern

กล่าวได้ว่า หากยกเว้นพื้นที่เขตเมือง อย่างเช่นในร่างกุ้ง , มัณฑเลย์, บังโก้, และ ตองยี(Taunggyi) ของพม่าแล้ว ชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ ในพม่า จะกระจายตัวตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ในรัฐต่างๆ ดังปรากฎตามแผนที่ (หน้า 229) ซึ่งเป็นเขตรอยต่อ ชายแดนระหว่างประเทศพม่า กับประเทศจีน อินเดีย ตอนเหนือของบังคลาเทศ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และประเทศไทย ซึ่งประสบกับภาวะการบังคับไล่ที่ การบังคับให้ย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยของประชากรในประเทศพม่า ส่วนใหญ่เป็นการบังคับเพื่อให้ย้ายถิ่นฐานออกจากพื้นที่เดิมในเขตเมือง ออกไปสู่พื้นที่ตามแนวชนบท (หน้า 229, 230, 231)

Demography

ในปี ค.ศ.1990 มีรายงานตัวเลขจากหน่วยงานในสังกัดสหประชาชาติ (UNCHS/Habitat) ระบุว่าประชากรราว 1.5 ล้านคน หรือราว 4 % ของประชากรของพม่าทั้งหมดมีการย้ายถิ่นฐาน ในจำนวนนี้ ราว 16 % ต้องอพยพย้ายออกจากเขตพื้นที่ใน 4 เมืองหลักๆ คือ ร่างกุ้ง , มัณฑเลย์, บังโก้, และ ตองยี ไปตั้งถิ่นฐานใหม่ในเมืองที่มีขนาดรองๆ ลงไป รายงานยังกล่าวว่ามีอัตราการอพยพโยกย้ายถิ่น 22% หรือประมาณ 120,000 จากจำนวนประชากรรวม 754,520 คน เป็นการบังคับให้มีอพยพย้ายถิ่นใหม่โดยไม่สมัครใจ ไปอยู่ในพื้นที่ห่างไกลที่มีความทุรกันดานและขาดแคลนปัจจัยพื้นฐาน (หน้า 231) ตามรายงานระบุว่า ประชากรที่อาศัยอยู่ในรัฐห่างไกลต่างๆ เช่น พื้นที่อันเป็นที่อยู่ของชนกลุ่มน้อยกะเหรี่ยง มีประชากรระหว่าง 100,000 ถึง 200,000 คน ที่ถูกบังคับให้ย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยภายในประเทศพม่าแบบไม่เต็มใจ และหากรวมกับจำนวนของผู้อพยพลี้ภัยกะเหรี่ยงภายในค่ายผู้อพยพในประเทศไทยด้วยแล้ว ตัวเลขของกะเหรี่ยงพลัดถิ่นจะมีสูงถึง 30% หรือเท่ากับ 480,000 คนทีเดียว - ตามรายงาน ที่ปรากฏ ชุมชนชาวเคอะเรนนี (Karenni State) (รัฐตอนเหนือของกะเหรี่ยง), มีจำนวนผู้ต้องอพยพย้ายถิ่น จำนวน 25,206 คนในปี ค.ศ 1960. - ชุมชนชาวมอญ (Mon State), มีประชากรราว 18,000 คนถูกกองทัพพม่า ออกคำสั่งให้ย้ายออกจากพื้นที่เดิม และไม่ได้รับการชดเชยใดๆ จากการต้องย้ายถิ่นออกจากพื้นที่เดิมของตน - ในรัฐฉาน (Shan State) มีประมาณการว่าประชากรราว 300,000 คนต้องอพยพย้ายถิ่นที่อยู่อาศัย - กลุ่มอารากัน (Arakan State) ซึ่งเป็นมุสลิม (Muslim Rohingyas) ราว 250,000 คนถูกกดขี่บังคับโดยการใช้กำลัง และต้องอพยพลี้ภัยเข้าไปอาศัยในประเทศบังคลาเทศ - คะฉิ่น (Kachin State) ก็มีสภาพเช่นเดียวกับชนกลุ่มน้อยอื่นๆ โดยมีคนคะฉิ่น ราว 100,000 คน ถูกใช้กำลังบังคับให้อพยพย้ายถิ่นโดยไม่สมัครใจ หรือแม้แต่ในรัฐฉิ่น ที่ไม่เป็นที่รู้จักมากนัก แต่ก็มีรายงานจากกองกำลังกู้ชาติ (The Chin National Front (CNF) ที่ประมาณกันว่า คนจากรัฐฉิ่น 4 - 50,000 คน ถูกใช้กำลังบังคับให้อพยพย้ายถิ่นโดยไม่สมัครใจเช่นกัน (หน้า 230-235, 237)

Economy

สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศพม่านั้น เป็นที่ทราบกันดีว่าพม่ามีแหล่งอุตสาหกรรมไม้สักในพื้นที่ขนาดใหญ่ แหล่งกำเหนิดไฟฟ้า-พลังน้ำ เหมืองแร่ ประมง และเกษตรกรรม ตลอดจนภูมิทัศน์ด้านการท่องเที่ยว และที่ขาดไม่ได้ คือพม่ายังเป็นแหล่งที่มาของยาเสพติดที่สำคัญอีกด้วย (หน้า 232,236,237) นอกจากนี้แล้ว พม่ายังเป็นเขตเศรษฐกิจการค้าปลอดภาษี รวมถึงสิ่งผิดกฎหมาย ตามแนวชายแดน ยกตัวอย่าง ในปี ค.ศ.1989 รัฐบาลแห่งสหภาพพม่ามีรายได้ ราว 200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ที่ได้รับจากการเก็บค่าสัมปทานการทำป่าไม้ตามแนวชายแดนไทย (หน้า 236) การเข้ายึดครองที่ดินโดยปราศจากความเป็นธรรมและขาดการชดเชยที่เหมาะสมโดยรัฐบาลทหารพม่ามีเกิดขึ้นมากมาย รายงานในปี ค.ศ.1998 ระบุว่า ในประเทศพม่า การเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เพื่อถือครองที่ดินตามกฎหมายมีน้อย กฏหมายข้อบังคับเพื่อการใช้ที่ดินในการทำการเกษตรกรรมแห่งชาติ เมื่อปี ค.ศ.1954 ระบุว่า ที่ดินที่ใช้ทำประโยชน์ทางการเกษตรกรรมล้วนเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐ และรัฐมีอำนาจที่จะจัดสรรใหม่ได้ นอกจากนี้ กองทัพพม่ายังใช้กำลังเข้ายึดครองที่ดินของชาวไร่ ชาวนาในเขตของรัฐ เคอะเรนนี กะเหรี่ยง และรัฐฉาน โดยที่ดินที่ได้ยึดครองมาเหล่านี้ ต่อมาได้นำมาแจกจ่ายให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ และเหล่าทหารของกองทัพด้วย

Social Organization

จากมุมมองด้านสิทธิมนุษยชน สำหรับในประเทศพม่าแล้ว การละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศดูจะเป็นผลที่เกิดจากการสู้รบ และการทำสงครามระหว่างกัน โดยเฉพาะในรัฐต่างๆ ตามแนวชายแดนของประเทศ (หน้า 230) มีกองทัพพม่าเป็นผู้กุมอำนาจเบ็ดเสร็จ ซึ่งส่งผลให้แนวทางการพัฒนาด้านสังคม และเศรษฐกิจของประเทศ ไม่เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสมตามที่ควรจะเป็น ผู้แทนจากองค์การสหประชาชาติ Francis M. Deng ได้ชี้ให้เห็นถึงประเด็นการไล่ที่ การบังคับให้ย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยของประชากรในประเทศพม่าว่า ก่อให้เกิดความขัดแย้งต่างๆ รวมไปถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง โดยรัฐใช้อำนาจผูกขาด อีกทั้งยังเกิดความล้มเหลวในเชิงการดำเนินนโยบายทางด้านเศรษฐกิจอีกด้วย (หน้า 228) ความรุนแรงในการบังคับไล่ที่ การบังคับให้ย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยของประชากรกลุ่มต่างๆ อย่างกว้างขวางในประเทศพม่านี้ องค์กรระหว่างประเทศต่างๆ ก็ไม่สามารถเข้าไปมีบทบาทเด่นชัด ในการช่วยระงับบรรเทาความรุนแรงของปัญหานี้ได้ ความขัดแย้งอันนี้ หลายๆองค์กรอย่าง UNDP, NICEF, FAO, WHO หรือ UNDCP ก็มิได้มีบทบาทอย่างใดในทางตรงต่อรัฐบาลทหารพม่า ในการช่วยกันผลักดัน เพื่อช่วยเหลือสถานการณ์ปัญหาการไล่ที่ การบังคับให้ย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยของประชากร ตลอดแนวชายแดนประเทศพม่าได้ (หน้า 238)

Political Organization

ในประเทศพม่านั้น รัฐบาลทหารพม่า มีอิทธิพลอย่างสูงต่อกระบวนการไล่ที่ การบังคับให้ย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยของประชากรในพม่า โดยมีกฏหมายการใช้ที่ดิน ปี ค.ศ.1954 ที่ระบุการถือครองที่ดินที่เป็นของรัฐ ซึ่งแน่นอนว่ากฏหมายดังกล่าวนี้ ย่อมง่ายต่อการถูกแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง และจากกองทัพ (หน้า 236-237) กระบวนการไล่ที่ การบังคับให้ย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยของประชากรในพม่า เป็นประเด็นที่อยู่นอกเหนือจากขอบเขตทางด้านการเมือง และกระบวนการด้านสิทธิมนุษยชน การบังคับใช้แรงงาน และการปราบปรามที่รุนแรง และการสู้รบระหว่างกองทัพรัฐบาลทหารพม่า กับกองกำลังชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ ล้วนส่งผลให้เกิดการอพยพ และมีผู้ลี้ภัยเป็นจำนวนมากเข้าไปในประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงอย่าง ประเทศไทย และจีน (หน้า 231)

Belief System

ในประเทศพม่านั้นมี ชุมชนมุสลิม (Muslim Rohingyas) ที่อาศัยอยู่รัฐ อารากัน ติดกับชายแดนประเทศบังคลาเทศ ซึ่งคนกลุ่มนี้เองจะถูกผลักดันให้ต้องกลายเป็นผู้อพยพลี้ภัยเข้าไปในบังคลาเทศ ด้วยการใช้ความรุนแรง การถูกสังหาร ถูกบังคับการใช้แรงงานอโดยไม่สมัครใจ การข่มขืน และทำทารุณกรรมรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกลั่นแกล้งทางด้านศาสนาด้วยวิธีการต่างๆ จากกองกำลังทหารพม่า (หน้า 234) ลักษณะดังกล่าวข้างต้นนี้ ยังเกิดขึ้นในเขตเมืองใหญ่ๆ ที่มีโครงการจัดระเบียบพื้นที่อยู่อาศัยของกลุ่มคนยากไร้ ในมัณฑเลย์ และร่างกุ้ง ซึ่งรัฐบาลทหารพม่าได้ใช้ความรุนแรงขับไล่ประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ยากไร้ ให้ต้องอพยพออกจากพื้นที่เดิม โดยการเผาไล่ที่ หรือแม้แต่การขับไล่บังคับให้ย้ายถิ่นเข้าไปอาศัยในเขตทุรกันดาร เพราะต้องการที่จะบังคับใช้เป็นแรงงาน ในเขตการพัฒนาใหม่ๆ นั่นเอง (หน้า 231)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ชุมชนชาติพันธุ์ ที่เป็นชนกลุ่มน้อย และอาศัยอยู่ในประเทศพม่า เช่น Arakan, กะเหรี่ยง (the Karen), ฉาน (the Shan), เคอะเรนนี (the Karenni), คะฉิ่น (the Kachin), มอญ (the Mon) และ ฉิ่น (the Chin) ล้วนมีการจัดตั้งกองกำลังของตนเองเพื่อต่อสู้กับรัฐบาลทหารพม่า ยกตัวอย่าง เช่น - The Karen National Union’s (KNU) - The Karenni national Progressive Party (KNPP) - The New Mon State Party (NMSP) - The Kuomintang remnants and Chinese-backed Communist Party of Burma (CPB) - The Muslim Rohingyas in Arakan State - The Kachin Independence Organisation (KIO) and Kachin Democratic Army (KDA) (p. 231,233, 234)

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

องค์กรระหว่างประเทศ หลายองค์กร อาทิเช่น UNDP, UNICEF, FAO, WHO or UNDCP ต่างตระหนักถึงความสำคัญต่อประเด็นการไล่ที่ การบังคับให้ย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยภายในประเทศพม่า แต่ยังมีข้อจำกัด โดยยังขาดการพัฒนากลยุทธ์ที่จะนำไปใช้ในการช่วยปกป้อง เพื่อบรรเทาปัญหาดังกล่าวได้ (หน้า 237, 238) ทั้งนี้หน่วยงานต่างๆ ยังขาดนโยบายที่ชอบธรรม ตลอดจนยังไม่มีการดำเนินการใดๆ อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม ที่จะส่งผลต่อการบรรเทาปัญหาดังกล่วได้

Map/Illustration

แผนที่ประเทศพม่าแสดงที่ตั้งรัฐต่างๆ (states and divisions) (หน้า 229) และตารางแสดงตัวเลขอัตราการอพยพย้ายที่อยู่อาศัยของประชากรภายในประเทศพม่า (หน้า 237)

Text Analyst นพรัตน์ พาทีทิน Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG คะยาห์ กะเรนนี บเว, ไต คนไต ไตโหลง ไตหลวง ไตใหญ่, มอญ, กลุ่มชาติพันธุ์, ชนกลุ่มน้อย, การไล่ที่, พม่า, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง