สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject คะยัน กะจ๊าง กะเหรี่ยงคอยาว ปาดอง ,ธุรกิจการท่องเที่ยว,การปรับตัว,ความเปลี่ยนแปลง,บ้านเสือเฒ่า,แม่ฮ่องสอน
Author วิวัฒน์ พันธวุฒิยานนท์
Title ปาดอง : มายา-อานุภาพในห่วงทองเหลือง
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity กะยัน แลเคอ, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 30 Year 2544
Source คนนอก กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สารคดี
Abstract

บทความชิ้นนี้ได้ชี้ให้เห็นถึง ชีวิตความเป็นอยู่ของชนเผ่าปาดอง ของบ้านห้วยเสือเฒ่า อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งนอกจากการปรับตัวให้เข้ากับการใช้ชีวิตในเชิงธุรกิจการท่องเที่ยวแล้ว ยังแสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตท่ามกลางการกลายเป็นสินค้าทางวัฒนธรรม (ซึ่งสิ่งที่ผลักดันไม่ใช่เพียงแค่การชักจูงจากนายหน้า แต่ยังรวมถึงความต้องการหลบลี้จากภัยสงคราม และเพื่อแสวงหาความเป็นอยู่ที่ดีกว่า )

Focus

บทความชิ้นนี้ได้ชี้ให้เห็นถึง ชีวิตความเป็นอยู่ของชนเผ่าปาดอง ของบ้านเสือเฒ่า จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งนอกจากการปรับตัวให้เข้ากับการใช้ชีวิตในเชิงธุรกิจการท่องเที่ยวแล้ว ยังแสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตท่ามกลางการกลายเป็นสินค้าทางวัฒนธรรม (ซึ่งสิ่งที่ผลักดันไม่ใช่เพียงแค่การชักจูงจากนายหน้า แต่ยังรวมถึงความต้องการหลบลี้จากภัยสงคราม และเพื่อแสวงหาความเป็นอยู่ที่ดีกว่า )

Theoretical Issues

ไม่ปรากฎ

Ethnic Group in the Focus

ปาดอง (Padaung) เป็นคำภาษากะเหรี่ยง แปลได้ว่า ผู้สวมห่วงทองเหลือง แต่ปาดองส่วนใหญ่ต้องการให้เรียกเขาว่า กะยัน (Kayan) นอกจากนี้ยังพบชื่อเรียกอื่นๆ เช่น กะเหรี่ยงคอยาว, แลเคอ, กะยัน, และกะจ้าง (หน้า 120-121)

ปาดองถือเป็นกลุ่มย่อยของกะเหรี่ยงถ้าพิจารณาด้านสรีระ โครงสร้างทางร่างกาย กลุ่มชาติพันธุ์ปาดองจัดเป็นพวกมองโกลอยด์ใต้ (Southern Mongoloids) (หน้า 117)

Language and Linguistic Affiliations

ไม่ปรากฎ

Study Period (Data Collection)

ไม่ปรากฎ

History of the Group and Community

ผู้เขียนได้อ้างถึงรายงานของ นิภา ลาชโรจน์ (พ.ศ. 2536) แห่งสถาบันวิจัยชาวเขา บอกถึงการนำ ผู้หญิงคอยาวเข้ามาเป็นสินค้าทางการท่องเที่ยวว่า ประมาณปี พ.ศ. 2528-2529 บริษัทนำเที่ยวได้ติดต่อกับกะเหรี่ยงในเขตพม่าชื่อ ตูยีมู ขอนำปาดองเข้ามาอยู่ในเขตไทยที่บ้านน้ำเพียงดิน เพื่อให้นักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชม โดยมีเงินค่าตอบแนวให้ปาดองใช้จ่ายส่วนตัวรวมถึงซื้อเสบียงอาวุธ เพื่อต่อสู้กับทหารพม่า ปัจจุบัน( พ.ศ. 2536) ปาดองได้ย้ายไปอยู่ที่บ้านในสอยห่างจากตัวเมืองประมาณ 30 กม. เพราะบ้านน้ำเพียงดินคมนาคมไม่สะดวก และถูกทหารพม่ารบกวน บริษัทนำเที่ยวเกรงจะไม่ปลอดภัยจึงต้องย้าย หมู่บ้านในสอยเป็นบ้านไทยใหญ่ มี 32 หลังคาเรือน ส่วนบ้านปาดองมีประมาณ 17 หลังคาเรือน อยู่เลยจากหมู่บ้านไทยใหญ่ไปประมาณ 3 ก.ม. ปัจจุบัน (ประมาณ 2540) ยังมีปาดองเหลืออยู่ที่น้ำเพียงดิน ขณะเดียวกันมีปาดองบางส่วนจากบ้านใหม่ ในสอย อพยพมาอยู่ที่บ้านห้วยเสือเฒ่าเมื่อสี่ปีที่แล้ว (ขยับเข้ามาใกล้เมืองเพื่อให้การเดินทางสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้นไปอีก--บ้านเสือเฒ่าห่างจากตัวเมืองเพียง 10 กม. ) บ้านใหม่-ในสอยก็ยังมีปาดองเป็นทางเลือกสำหรับนักเดินทางผู้รักการผจญภัย การโยกย้ายจึงดูเป็นการขยายสาขามากกว่า (หน้า 118) ในตอนท้ายของบทความผู้เขียนได้สัมภาษณ์ นางจันทร์เพ็ญซึ่งเป็นผู้ดูแลกะเหรี่ยงคอยาวทั้งสามหมู่บ้าน (บ้านน้ำเพียงดิน บ้านใหม่-ในสอย และบ้านห้วยเสือเฒ่า) โดยนางเล่าว่า ในปี 2528 หรือ 2529 นางได้พบเห็นปาดองที่ผาห่มน้ำในเขตพม่า ห่างจากชายแดนไทย 6 กม. ขณะนั้นปาดองอาศัยอยู่กับทหารกะเหรี่ยง นางจึงได้ติดต่อขอนำปาดองเข้ามาเขตไทย นางเล่าต่อว่า ปาดองในตอนแรกมีสามครอบครัวคือ อู่คำ, หม่องถ่า และหม่องเป่ง ตอนนี้สามครอบครัวนี้อยู่ที่บ้านน้ำเพียงดิน

Settlement Pattern

ไม่ปรากฎ

Demography

ไม่ปรากฎ

Economy

รายได้ของปาดองในชุมชนบ้านห้วยเสือเฒ่าแห่งนี้ แต่ละคนจะได้รับจากผู้ดูแลหมู่บ้านคือ ป้าเป็ง โดยจะได้รับเงินเดือนๆ ละ1,500 บาท (สำหรับคนที่สวมห่วง) อาจมีเพิ่มจากการไปโชว์ตัวที่จังหวัด หรือร้องเพลงดีดตะยู่ให้นักท่องเที่ยวฟัง รวมไปถึง ข้าวสาร (หน้า 125 ) นอกจากนี้ปาดองยังหารายได้จากการขายของที่ระลึก อาทิเช่น ห่วงทองเหลือง เสื้อผ้าของกะเหรี่ยง, ย่าม, มีด, กำไล, ตุ้มหู ภาพลายเส้นหญิงปาดอง, ตุ๊กตาปาดอง, โปสการ์ด ของบางอย่างที่ไปซื้อมาจากตัวเมืองแม่ฮ่องสอน หรือ ของที่ไปซื้อหามาจากเมืองลอยก่อและตองยีฝั่งพม่า (หน้า 119)

Social Organization

ไม่ปรากฎ

Political Organization

สำหรับชุมชนปาดองบ้านห้วยเสือเฒ่าแห่งนี้ การปกครองอยู่ภายใต้การดูแลของ ป้าเป็งหรือ นางจันทร์เพ็ญ สันติสุข และผู้ใหญ่บ้าน (หน้า 125-126) ที่รับผิดชอบทุกอย่างตั้งแต่การตั้งกฎซึ่งถือเป็นสิ่งที่ชาวปาดองในชุมชนแห่งนี้ต้องปฏิบัติตาม 7 ข้อ อาทิเช่น ปาดองและกะยอจะเดินทางออกจากหมู่บ้านไปไหน ไม่ว่าจะไปซื้อของในตัวเมืองหรือไปบ้านห้วยกูแกง ต้องขออนุญาตจากแม่เป็งทุกครั้ง เมื่อได้รับอนุญาตจึงจะไปได้, ปาดองและกะยอผู้หญิงต้องแต่งกายชุดประจำเผ่าของตนไว้รับแขกที่มาเที่ยว ตั้งแต่ 8.00 น. ถึง 17.00 น. ห้ามเดินเล่นเวลาแขกมาเที่ยว ให้อยู่ภายในบ้านเท่านั้น ฯ นอกจากนี้ป้าเป็งยังเป็นผู้ดูแลในการ การจ่ายเงินเดือน รวมไปถึงความปกติสุขเรียบร้อยของคนในชุมชนทั้งหมด

Belief System

ประเพณีการสวมห่วงทองเหลือง จำกัดอยู่เฉพาะกลุ่มที่ไม่ได้นับถือศาสนาคริสต์ วัฒนธรรมการสวมห่วงทองเหลืองเกี่ยวพันกับความงาม ความโดดเด่นของร่างกายและเผ่าพันธ์ โดยห่วงห้าชั้นแรกจะใส่ตอนอายุ 10 ขวบ (แต่ปัจจุบันพบว่ามีอายุ 5 ขวบ) พร้อมกับพิธีเฉลิมฉลอง และจะเดิมมากขึ้นๆ จนโตเป็นสาว หญิงปาดองจะมีห่วงคอถึง 20 ชั้น น้ำหนักที่ร่างกายต้องแบกรับเพิ่มขึ้น 8-10 กิโลกรัม จากปกติ หญิงสูงอายุบางคนต้องแบกรับถึง 20-35 กก. อย่างไรก็ตามปาดองยุคใหม่ไม่นิยมในปริมาณและน้ำหนักที่มากมายอีกแล้ว ปกติน้ำหนักจะประมาณ 7 กิโลกรัม ทั้งนี้ประเพณีการสวมใส่ห่วงคอยังพบในกะเหรี่ยงพวกที่เรียกตนเองว่า ละมุง (Lamung Karen) และเชื่อว่าน่าจะมีชาวเผ่ามากกว่าสองเผ่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สวมห่วงคอโลหะหลายชั้นซ้อนกัน (หน้า 117,118)

Education and Socialization

ไม่ปรากฎ

Health and Medicine

ไม่ปรากฎ

Art and Crafts (including Clothing Costume)

การแต่งกายของปาดองในสมัยก่อนแตกต่างกับปัจจุบัน โดยคนรุ่นเก่าผมจะตัดผมข้างหน้าสั้นหรือรวบเกล้ามวยทั้งหมด ไม่ปล่อยเป็นผมม้าเช่นปัจจุบัน ผ้าโพกหัวเป็นผ้าธรรมดา โพกไว้ง่ายๆ ไม่เน้นสีสัน ไม่คาดผมแล้วปล่อยชายผ้าห้อยระบ่าแบบปะดองรุ่นใหม่ คนรุ่นก่อนมวยผมด้านหลังบางครั้งจะเปิดให้เห็นที่ติดผมและปักปิ่นเงินอันใหญ่ที่มีลักษณะเป็นหลอดเล็กยาวสองหลอดเสียบในห่วงเงินหลายห่วงซ้อนกัน ตรงลำคอที่พันด้วยทองเหลืองจะถูกเน้นด้วยสร้อยเงินและเหรียญโลหะ รับกับตุ้มเงิน นิยมสวมเสื้อแขนยาวสีดำทับเสื้อกระสอบสีขาว ส่วนน่องจะพันทองเหลืองเกือบตลอดทั้งแต่ใต้เข่าจรดเท้า และรัดร้อยลูกปัดขาวบางช่วง

Folklore

ปะดองเป็นชนเผ่าที่มีลักษณะเด่นทางการแต่งกายคือการสวมห่วงทองเหลือง พร้อมกับห่วงทองเหลืองบนคอหญิงปาดอง มี เรื่องเล่าตำนานหรือนิทาน (myth) อย่างมากมาย ผู้เขียนได้เสนอไว้ 3 เรื่อง ดังนี้

1. ในอดีตไกลโพ้น ปาดองหรือแลเคอเป็นนักรบผู้กล้าหาญ มีความกตัญญู รักษาสัจวาจาเท่าชีวิต และเคยมีอำนาจเหนือพม่ามาก่อน ต่อมาพม่ารวมกับชนเผ่าบังการี บรรพชนของบังกลาเทศทำสงครามขับไล่แลเคอ จนเผ่านักรบผู้กล้าต้องอพยพหนีไป และได้นำราชธิดาของผู้นำเผ่าซึ่งอายุเพียงเก้าขวบหลบหนีมาด้วย ราชธิดาได้นำเอาต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ประจำเผ่าชื่อว่า ต้นปาดอง ติดตัวมาด้วย ปาดองนี้มีสีเหลืองอร่ามดุจดั่งทองคำเมื่อมาถึงชัยภูมิที่เหมาะสมจึงสั่งหยุดไพร่พล ราชธิดาได้นำเอาต้นปาดองนั้นพันคอและประกาศว่า จะเอาต้นปาดองออกจากคอก็ต่อเมื่อแลเคอกลับไปมีอำนาจปกครองดินแดนอีกครั้ง นับแต่นั้นมา และเคอผู้รักษาสัตย์ก็จะนำห่วงทองเหลืองมาพันรอบคอให้เด็กหญิงทุกคนเมื่ออายุครบเก้าขวบ โดยหมอผีประจำเผ่าเป็นผู้ประกอบพิธี ระหว่างนั้นหมอผีจะท่องคาถากล่าวเตือนใจให้พยายามกลับไปกู้แผ่นดินคืน

2. เป็นตำนานที่เล่าขานกันมากที่สุดของปาดอง กล่าวไว้ว่า ภูติผีไม่พอใจพวกเขา จึงส่งเสือมากัดกินผู้หญิงของเผ่า บรรพบุรุษปาดอง เกรงว่าถ้าผู้หญิงตายหมด เผ่าพันธุ์ตนจะตายหมดไปจากโลกนี้ จึงให้หญิงของเผ่าสวมปลอกคอทองเหลืองเพื่อป้องกันระหว่างเดินทาง

3. อีกเรื่องหนึ่งคือ พวกปาดองมีแม่เป็นมังกรและหงส์ จึงต้องสวมห่วงคอเพื่อให้คอยาวส่ายระหง ไปมาดูสง่างามเหมือนคอหงส์และมังกร นอกจากนี้ยังมีบางตำราคาดเดาด้วยหลักการว่า เครื่องแต่กายที่ผิดปกติ (ธรรมชาติ)อย่างร้ายแรงนี้ อาจจะมาจากวันในประวัติศาสตร์อันยาวนาน เมื่อครั้งปาดองตกเป็นทาสของชนที่มีอำนาจเหนือกว่า การใส่ห่วงคอทำให้แยกแยะทาสได้ รวมทั้งยังสามารถจับส่งคืนเจ้านายได้ยามหลบหนี ในตอนท้ายผู้เขียนได้เสนอถึงข้อวิเคราะห์ของตนเกี่ยวกับเรื่องเล่าต่างๆ ซึ่งเขาสนใจเรื่องเล่าที่กล่าวถึงหน้าที่ของ ห่วงทองเหลือง ถือเป็นเครื่องป้องกันไม่ให้เสือทำร้าย โดยผู้เขียน ให้ความเห็นว่าหากแทนเสือด้วย เพศชายของเผ่าอื่น เครื่องแต่งกายผู้หญิงเป็นสัญลักษณ์สำคัญในการบอกความแตกต่างระหว่างกลุ่มเหล่านี้ โดยเฉพาะกลุ่มที่อยู่โดดเดี่ยวกลางหุบเขา ความแตกต่างเช่นว่าช่วยป้องกันไม่ให้มีการแต่งงานข้ามเผ่าพันธุ์ เพราะหากเสือ (ชาย) ต่างเผ่าได้ครอบครองหญิงปาดองและพากันออกไปจากชุมชน จะทำให้เผ่าอ่อนแอและสูญสลายไปในที่สุด --วันเวลาแห่งความยิ่งใหญ่ในอดีตก็ไม่มีทางหวนคืนมา (หน้า 110)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

จากการสัมภาษณ์เด็กหญิงปาดองคนหนึ่งอ้างว่าเธออพยพมาจากปางแป้ประเทศพม่า ซึ่งขึ้นกับเมืองบอยบก่อ (Loikaw) รัฐคะยา ทางตะวันออกของประเทศพม่า เป็นรอยต่อระหว่างกะเหรี่ยงคะยาทางทิศเหนือกับปฺกาเกอะญอทางทิศใต้ ใกล้ๆ กันมีหมู่บ้านหัวโต๊ะข่งและดิโม้วโช่ว สองหมู่บ้านก็เป็นเผ่าปาดอง กลุ่มปาดองในพม่ามีหลายกลุ่ม ภาษาพูดคล้ายกันเพี้ยนกันเล็กน้อยพอจับสำเนียงได้

Social Cultural and Identity Change

ในยุคที่รัฐ-ชาติไทย ส่งเสริมการท่องเที่ยว ผ่านโครงการต่างๆ นานา อาทิ Amazing Thailand หน้าที่ของห่วงทองเหลืองที่เพื่อป้องกันเสือทำร้าย เฉกเช่นเรื่องเล่าแต่กาลก่อนได้เปลี่ยนไป ห่วงทองเหลืองกลับกลายเป็นจุดขายต่อนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชม และนั่นย่อมหมายถึงรายได้ที่ตามมา ด้วยเหตุนี้จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมจึงมีปาดองดิ้นรนข้ามพรมแดนมาทางฝั่งแม่ฮ่องสอน และลงหลักปักฐานที่ห้วยเสือเฒ่าแห่งนี้ ในเวลาเดียวกันสิ่งนี้ได้เรียกร้องให้ปาดองปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต การที่ต้องต้อนรับนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ สิ่งแรกที่จำเป็นสำหรับปาดอง คือ ต้องสื่อสารด้วยภาษาต่างๆ ได้ ผู้เขียนได้ยกกรณีเด็กหญิงปาดองวัย 15 ที่พูดญี่ปุ่น ไทย ได้ซึ่งทำให้สินค้าของเธอขายดียิ่งขึ้น (หน้า 119) ภายใต้ธุรกิจการท่องเที่ยวแม้ว่า หนุ่มปาดองนิยมสวมเสื้อยืดกางเกงขายาวมากกว่าชุดประจำเผ่า แต่สิ่งที่พวกเขาต้องทำคือต้องอยู่ในเสื้อผ้ากะเหรี่ยงอันเป็นชุดประจำเผ่าในเวลาทำการ เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยว เพราะมันเป็นเรื่องของธุรกิจที่ต้องขายความเป็นชนกลุ่มน้อย เช่นเดียวกับการใส่ห่วงทองเหลืองที่ผลตอบแทนคือเงินเดือนหาใช่การใส่ตามประเพณีอย่างแต่ก่อน (หน้า 126-127)

Other Issues

สิ่งที่เห็นได้ชัดจากปาดองชุมชนบ้านเสือเฒ่าคือ การกลายเป็นสินค้า ปาดองในชุมชนแห่งนี้ (รวมถึงอีกสองแห่ง) ได้กลายเป็นสินค้าที่ใช้ขายแก่นักท่องเที่ยว เห็นได้ชัดเจนจากกฎที่ตั้งไว้ 7 ข้อ อาทิเช่น ต้องแต่งกายชุดประจำเผ่า,ห้ามเดินเพ่นพ่านขณะนักท่องเที่ยวมาเยือน ฯ เป็นการบังคับเพื่อผลประโยชน์ทางด้านธุรกิจมากกว่าด้านอื่นๆ ทั้งนี้ไม่เพียงแต่ปาดองในชุมชนแห่งนี้เท่านั้น ภายใต้ธุรกิจการท่องเที่ยวปัจจุบัน ชนกลุ่มน้อยอื่นๆ ก็มีแนวโน้มที่จะกลายเป็นสินค้าเช่นเดียวกัน แต่นั่นหมายถึงพวกเขาเหล่านั้นจะต้องมีจุดขายที่ทำให้นักท่องเที่ยวประทับใจ

Map/Illustration

ในหน้า 113 แสดงถิ่นที่อยู่ของชนปาดองส่วนใหญ่ในพม่า บริเวณดังกล่าวเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านปางแป้ ดิโม้วโซ่ว และ หัวโต๊ะข่ง แห่งเมืองอยก่อ รัฐคะยา (มาจาก The Illustrated Encyclopedia of Mankind)

Text Analyst ปฤณ เทพนรินทร์ Date of Report 10 ก.ย. 2561
TAG คะยัน กะจ๊าง กะเหรี่ยงคอยาว ปาดอง, ธุรกิจการท่องเที่ยว, การปรับตัว, ความเปลี่ยนแปลง, บ้านเสือเฒ่า, แม่ฮ่องสอน, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง