สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ‘Mao Shan’,ฉาน,เงี้ยว,ประวัติศาสตร์,การขยายอำนาจ,ยูนนาน,พม่า,อินเดีย
Author Padmeswar Gogoi
Title The Political Expansion of the Mao Shan
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity ไทใหญ่ ไต คนไต, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 13 Year 2499
Source Journal of the Siam Society Vol. XLIV part 2
Abstract

‘Mao Shan’ อพยพสู่พม่าเมื่อศตวรรษที่ 13 สร้างอาณาจักรอยู่ในเขตยูนนานและทางตอนเหนือของพม่า มีศูนย์กลางขยายออกไปทางหุบเขา ‘Shweli’ จนถึงด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้และทิศตะวันตกของหุบเขา ‘Brahmaputra’ หรือแคว้นอัสสัม คนไทยอพยพลงมายังดินเเดนพม่าเมื่อราว 2,000 ปีมาแล้วในช่วงคริสตวรรษที่ 6 มีการอพยพครั้งใหญ่ของไทยจากภูเขาทางใต้ของยูนนานสู่หุบเขา ‘น้ำเมา’ (Shweli) และพื้นที่ใกล้เคียง ช่วงศตวรรษที่ 13 ‘Mao Shan’ มีอำนาจในเขตยูนนานและทางเหนือของพม่า หุบเขา‘Shweli’ เป็นศูนย์กลางอำนาจของไทยทางการเมืองเป็นครั้งแรก มีชุมชนขยายออกมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งคือรัฐฉานในปัจจุบัน จนกระทั่งศตวรรษที่ 13 ได้อพยพสู่ทางทิศตะวันตกและเข้าปกครองเมือง ‘Wehsali Lông’ หรืออัสสัม อาณาจักรฉานแห่งน่านเจ้าได้แตกสลายลงเมื่อมองโกลได้ชัยชนะในปี ค.ศ. 1253 เหตุนี้เองทำให้เกิดการอพยพของคนซึ่งส่วนใหญ่เป็นไทยออกจากยูนนานไปยังทางทิศตะวันตกและทางใต้ ก่อนกุบไลข่านนำทัพบุกรุกนั้น คนไทยได้อพยพลงใต้ตามลำน้ำแม่โขงและแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งถิ่นฐานคือสยามแตกออกเป็นรัฐเล็กมากมาย จากรัฐไทยเล็กๆ กลายมาเป็นอาณาจักรไทย ได้แก่อาณาจักรสุโขทัย และอาณาจักรอยุธยา

Focus

ศึกษาประวัติศาสตร์ของ ‘Mao Shan’ ที่แผ่ขยายอำนาจทางการเมืองสู่พม่าและแคว้นอัสสัม (หน้า 125)

Theoretical Issues

ไม่ได้ระบุ

Ethnic Group in the Focus

ศึกษา ‘Mao Shan’ กลุ่มคนไทยที่อพยพเข้าไปอยู่ในพม่าเมื่อศตวรรษที่ 13 (หน้า 125)

Language and Linguistic Affiliations

ในปี ค.ศ. 1283 มีการใช้ตัวอักษร ‘Kanji’ บาลี และขอมใช้ในสยาม (หน้า 136)

Study Period (Data Collection)

ไม่ได้ระบุ

History of the Group and Community

เชื่อกันว่า ‘Mao Shan’ เป็นกลุ่มคนไทยที่อพยพไปยังพม่าเมื่อราว 2,000 ปีมาแล้ว ด้วยเหตุผลของสงครามหรือความกดดันจากอิทธิพลจีน ในช่วงคริสตวรรษที่ 6 มีการอพยพครั้งใหญ่ของไทยจากภูเขาทางใต้ของยูนนานสู่หุบเขา ‘Nam Mao’(Shweli) และพื้นที่ใกล้เคียง (หน้า 125) ช่วงศตวรรษที่ 13 ‘Mao Shan’ มีอำนาจในเขตยูนนานและทางเหนือของพม่า เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ทางการเมืองและสังคมของคนในพื้นที่และคนภายนอก (หน้า 125) หุบเขา ‘Shweli’ เป็นศูนย์กลางอำนาจของไทยทางการเมืองเป็นครั้งแรกในศตวรรษที่ 6 และมีชุมชนขยายออกมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งคือรัฐฉานในปัจจุบัน ทางทิศเหนือและทิศตะวันตก จนกระทั่งศตวรรษที่ 13 ได้อพยพสู่ทางทิศตะวันตกและเข้าปกครองเมือง ‘Wehsali Lông’ หรืออัสสัม (หน้า 126) ในศตวรรษที่ 7 มีอาณาจักรฉานที่เรืองอำนาจชื่อ ‘Mong-Mao-Long’ ใกล้กับแม่น้ำ ‘Shweli’ อาณาจักรนี้สถาปนาโดย ‘Mao Shan’ ซึ่งตั้งถิ่นฐานตามแม่น้ำ ‘Shweli’ และได้เรียกแม่น้ำนี้ว่า “น้ำเมา” (Nam Mao) และในบางครั้งได้เมือง “Cheila” (ปัจจุบันคือ Se Lan ซึ่งอยู่ห่างจาก “น้ำคำ” ประมาณ 13 ไมล์) เป็นศูนย์กลางการปกครอง ส่วนเมืองเมาปัจจุบันอยู่ในอาณาเขตของยูนนาน ตรงข้ามกัน Se Lan และอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำ ‘Shweli’ หรือน้ำเมา นอกจาก “Cheila” แล้ว เมืองหลวงของรัฐเมาในอดีตอีกแห่งหนึ่งคือ ปางคำ (หน้า 126) อาณาจักรฉานแห่งน่านเจ้าได้แตกสลายลงเมื่อมองโกลได้ชัยชนะใน ‘Ta-li’ เมื่อปี ค.ศ. 1253 ทำให้เกิดการอพยพของคนซึ่งส่วนใหญ่เป็นไทยออกจากยูนนานไปยังทางทิศตะวันตกและทางใต้ 30 ปีต่อมาหลังจากกองทัพจีนมองโกลได้ชัยชนะ กองทัพก็ย้ายไปถึงชายแดนพม่าเพื่อรุกราน กุบไลข่านได้ขอทำสนธิสัญญาถาวรกับกษัตริย์ Narathihapateแห่งอาณาจักรพุกาม แต่กลับถูกปฏิเสธจึงได้เกิดสงครามซึ่งสร้างความเสียหายอย่างมาก ฉานได้แตกออกเป็นรัฐมากมายและมีผู้ปกครองรัฐเอง การเดินทัพของกุบไลข่านในค.ศ. 1284 คราวนั้นได้นำทัพผ่านทางดินแดนของ ‘Mao’ ก่อนกุบไลข่านนำทัพบุกรุก ‘Ta-li’ คนไทยได้อพยพลงใต้ตามลำน้ำแม่โขงและแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งถิ่นฐานคือสยามซึ่งในครานั้นเป็นส่วนหนึ่งของจักวรรดิเขมร มีรัฐต่างๆ เช่น เมืองฝาง (Muang Fang) เมืองซาว (Muang Sao) เมืองพะเยา กษัตริย์ Anawarahta ได้โจมตีและทำให้จักวรรดิเขมรอ่อนกำลังลง และได้นำพุทธศาสนาเผยแผ่สู่สยามและพม่า แต่เมื่ออำนาจของพม่าที่เข้าควบคุมสยามได้ถูกขจัดไป ก็ได้มีรัฐไทยอีกหลายรัฐได้อิสระ และคนไทยได้สู้เพื่อต่อต้านการปกครองของเขมรจนได้รับชัยชนะ จากรัฐไทยเล็กๆ กลายมาเป็นอาณาจักรไทย ได้แก่อาณาจักรสุโขทัย และอาณาจักรอยุธยา(หน้า 128) การอพยพของไทยสู่ประเทศพม่ามีเมื่อศตวรรษที่ 6 ในช่วงที่ทางเหนือของพม่ามีราชวงศ์ศากยะแห่งอินเดียปกครอง (หน้า 129) ซึ่งมีราชวงศ์ Anawrahta ปกครองอยู่ในระหว่างนั้น แต่ช่วงล่มสลายของอาณาจักรพุกาม และการเพิ่มของการอพยพจากน่านเจ้าและ Möng-Mao คนไทยได้ยืนหยัดความเป็นเอกเทศ ไม่ว่าเจ้า Anawrahta จะลดฐานะของเมืองเมาลงหรือไม่ก็ตาม กษัตริย์องค์ต่อๆ มาก็ประสพความสำเร็จในการปกครองเรื่อยมาจนกระทั่งใน Pam Yao Pöng สิ้นพระชนม์ในค.ศ. 1210 (หน้า 130) ประวัติศาสตร์เมื่อสมัยศตวรรษที่ 13 ผู้ปกครองเมือเมาได้ขยายอาณาเขตไปไกลรวมถึงบางส่วนของสยาม ในช่วงต้น ค.ศ. 568 เมือง ‘Kaing’ เมือง ‘Nyaung’ เมือง ‘Ri’ และเมือง ‘Ram’ ล้วนเป็นเมืองหลวงของอาณาเขตปกครองของเมืองเมา ‘Mao Shan’ ได้ครอบครองทางตะวันออกของอัสสัมเมื่อปี ค.ศ. 1220 ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในพม่าและประเทศใกล้เคียงในช่วงศตวรรษที่ 13 นี้เอง ‘Mau’ ทำให้จักวรรดิพม่าแตกลงโดยอาจได้รับความช่วยเหลือจากจีนมองโกล ในปี ค.ศ. 1293 ได้ผนวก ‘Zimmé’ (ของฉาน) เข้ามาด้วย อย่างไรก็ตามจักรวรรดิ ‘Mau’ หมดอำนาจลงในปี ค.ศ. 1350 เมื่อสยามเข้ามาตีจนถึง ‘Zimmé’ (หน้า 135-136)

Settlement Pattern

ไม่ได้ระบุ

Demography

ไม่ได้ระบุ

Economy

ไม่ได้ระบุ

Social Organization

ไม่ได้ระบุ

Political Organization

ไม่ได้ระบุ

Belief System

ไม่ได้ระบุ

Education and Socialization

ไม่ได้ระบุ

Health and Medicine

ไม่ได้ระบุ

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่ได้ระบุ

Folklore

มีเรื่องราวของกษัตริย์ Anawrahta แห่งเมืองพุกาม (ค.ศ. 1044-1077) ว่าได้เสด็จเยือนน่านเจ้าและอภิเษกกับเจ้าหญิง Sao-Môn-La ธิดาของกษัตริย์ ‘mao Shan’ ตามเอกสารของ ‘Hsen Wi’ เจ้าหญิง Sao-Môn-La เป็นธิดาของ Sao-Hôm-Möng ในปี ค.ศ. 1047 กษัตริย์ Anawrahta Mangsaw ได้เสด็จไปยัง ‘Möng Wong’ เพื่อหาพระบรมสารีริกธาตุทั้ง 5 ของพระพุทธเจ้า และขากลับได้ประทับที่ ‘Möng-Mao’ และ ‘Möng Nam’ อันเป็นที่ซึ่งพระองค์ได้พบกับเจ้าหญิง (หน้า 126-127) ได้กล่าวถึงราชวงศ์ศากยะแห่งอินเดียที่เข้ามาปกครองตอนเหนือของพม่าในราวศตวรรษที่ 6 ว่าเกิดสงครามระหว่าง ‘Kapilavastu’ กับรัฐใกล้เคียง เจ้าชาย Abbi Rajah กษัตริย์ศากยะองค์แรกได้เข้ามาพม่าพร้อมกองทหารเมื่อ 923 ปีก่อนคริสตศักราช โดยเข้ามาทาง ‘Arakan’ หรือ ‘Sangassarattha’ เมืองหลวงตั้งอยุ่ในพื้นที่เมืองเก่าในพุกามเรียกว่า ‘Chindue’ ทางฝั่งแม่น้ำอิรวดีด้านซ้าย พระองค์ได้นำประเพณีก่อนพุทธศาสนาที่ได้รับจากคนทางแคว้นหิมาลายันทางตอนเหนือของอินเดีย ทายาทผู้สืบบัลลังก์ต่อมามี Bhinnakarajah ผู้ซึ่งครองราชย์ในสมัยพุทธกาล ระหว่างนี้กองทัพจีนได้เข้ามาบุกรุกและทำลายพุกาม การรุกรานนี้ทำให้กษัตริย์แห่งศากยะ Dhaja Rajah ต้องลี้ภัยไปยังพม่า ทรงสร้างอาณาจักรใหม่และสร้างเมืองหลวงขึ้นมาใหม่เบื้องหลังกำแพงเมืองเก่าทางเหนือของพุกาม หลังการถอนกำลังของกองทัพจีนราชวงศ์ของ Dhaja Rajah ได้ปกครอง ‘Tagaung’ (หน้า 129-130) จากเรื่องของพระพม่า ‘Tagaung Yazawin’ พบว่า ‘Pam Yao Pöng’ เป็นบุตรของเจ้า Taiplung ผู้ครอง ‘Möng Mao-Long’ อาณาจักรแบ่งอออกให้บุตรทั้ง 3 บุตรคนโต Tailung ได้ครอง ‘Möng Mao’ และบุตรคนกลาง Lengsham Phuchāng Khāng ได้ครอง ‘Möng-Mit’ และ ‘Kupklingdao’ ในหุบเขา ‘Shweli’ตามเอกสารอื่น ‘Burrua Pameoplung’ เป็นบุตรคนโตของเจ้า Tai plung บุตรคนที่สองคือ Phuchāng Khāng ได้บุตรของตนคนที่สามคือ Sukapha ช่วยให้สำเร็จในการครองบัลลังก์ เพราะค้นพบอาณาจักร ‘Ahom’ในอัสสัม 5 ปีต่อมาหลังการรุกรานของ ‘Sam-Lông-Hpa’ ในอัสสัม บุตรคนโตคือ Sujitpha ได้เข้าปกครองเมือง ‘Taip’ และ ‘Sukhranpha’ ส่วนบุตรคนที่สองได้ครอง ‘Tai-Pông’ อันมีเมือง ‘Mong Kawang’ และ ‘Mogaung’ เป็นเมืองหลวง (หน้า 130-131) เจ้าชาย ‘Tyao-Aim-Kham-Neng’ ได้ครองบัลลังก์เมืองเมาเพียง 7 ปีจึงฆ่าตัวตาย เจ้า Changeu ได้สืบบัลลังก์ต่อมาเพียง 10 ปีก็สิ้นพระชนม์ทิ้งบุตร 2 พระองค์ไว้คือ Sao Hkan Hpã ซึ่งได้ครองบัลลังก์ต่อจากพระบิดาและผนวกเมืองต่างๆ ของ ‘Chindwin’ ซึ่งมีผู้ปกครองที่มีอำนาจมากในแคว้น ‘Mao Shan’ รวมทั้งเอาชนะ ‘Manipur’ และอัสสัม ส่วน Sam Lông Hpã ผู้น้องได้ก่อตั้ง ‘Sawbwa’ แห่ง‘Mong Kawang’และ ‘Mogaung’ ใน ค.ศ. 1215 และสร้างเมืองริมน้ำ ‘Nam Kawng’ (หน้า 131-134)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่ได้ระบุ

Social Cultural and Identity Change

ผู้เขียนเชื่อว่าความสัมพันธ์ทางการเมืองในอดีตของรัฐฉานและพื้นที่ใกล้เคียงยังคงปรากฏอยู่ในปัจจุบันเช่นความคล้ายคลึงกันทางภาษา การแต่งกาย ดนตรี ขนบธรรมเนียม และวิถีชีวิต (หน้า 137)

Critic Issues

ไม่ได้ระบุ

Other Issues

ไม่ได้ระบุ

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst กฤษฎาภรณ์ อินทรวิเชียร Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG ‘Mao Shan’, ฉาน, เงี้ยว, ประวัติศาสตร์, การขยายอำนาจ, ยูนนาน, พม่า, อินเดีย, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง