สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject คนเมือง,อาข่า,ลาหู่,ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ (กะเหรี่ยง),เมี่ยน,การดูแลสุขภาพ,การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ,ภาคเหนือ
Author ยิ่งยง เทาประเสริฐ (บรรณาธิการ)
Title ชาติพันธุ์ : ศักยภาพในการดูแลสุขภาพและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติบริเวณลุ่มน้ำขนาดเล็กในภาคเหนือ
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity อ่าข่า, ลาหู่ ลาหู่ ละหู่ ลาฮู, ไทยวน ยวน ยวนสีคิ้ว คนเมือง, อิ้วเมี่ยน เมี่ยน, ปกาเกอะญอ, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 147 Year 2535
Source คณะอนุกรรมการวิจัยวัฒนธรรมภาคเหนือ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
Abstract

ในรายงานวิจัยนี้ได้ศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในภาคเหนือของประเทศไทย และนำเสนอให้เห็นว่ากลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ต่างก็มีวิถีทางของตนเองและมีศักยภาพในการดูแลสุขภาพ อย่างเช่น คนเมืองหรือไทยยวนที่อำเภอพญาเม็งรายมีภูมิปัญญาในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม เพราะสอดคล้องกับความรู้ ความเชื่อ และวิถีชีวิตของประชาชนในท้องถิ่น จึงควรพัฒนาศักยภาพในการดูแลสุขภาพในท้องถิ่นขึ้นมาเป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพของประชาชน (หน้า 29-30) อาข่าและลาหู่ที่ดอยตุงต่างก็มีการดูแลรักษาสุขภาพตนเองอย่างมีระบบ เรียกว่า ระบบการแพทย์พื้นบ้าน ภูมิปัญญาการดูแลรักษาสุขภาพนี้อาจถูกสืบสาน ปรุงแต่ง และคิดค้นขึ้นใหม่ตามการผันแปรของสภาพแวดล้อมปัจจุบันซึ่งการปรับตัวนี้ทำให้ระบบการแพทย์พื้นบ้านเป็นทางเลือกหนึ่งของการดูแลสุขภาพของชุมชนและยังคงดำรงบทบาทอยู่ เนื่องจากการแพทย์แผนปัจจุบันไม่สามารถอุดช่องว่างทางวัฒนธรรมของชนเผ่าได้จึงควรสนับสนุนให้ระบบแพทย์พื้นบ้านมีขีดความสามารถในการรับใช้ชุมชนโดยไม่เสี่ยง และเป็นตัวช่วยส่งเสริมระบบการแพทย์ปัจจุบัน ในการดูแลสุขภาพพื้นฐานของชาวบ้าน (หน้า 65-66) ในชุมชนปกาเกอญอที่ตำบลหัวเมืองเดิมชุมชนเคยใช้ภูมิปัญญาของตนเองจัดสรรและจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างชาญฉลาด แต่เมื่อมาตรการการอนุรักษ์ป่าของรัฐบาลและกระแสของวัตถุนิยมและบริโภคนิยม ซึ่งมีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่และวัฒนธรรมจากภายนอกเข้าไปทดแทนภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น ส่งผลต่อชุมชนที่เคยเป็นอิสระและอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ เคยมีศักยภาพในการอนุรักษ์ทรัพยากรต่างๆ แฝงอยู่ในระบบความเชื่อและวิถีชีวิตต้องมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และนิเวศวิทยาในท้องถิ่น เกิดการปรับเปลี่ยนวิถีการดำรงชีวิตของชุมชน ทำให้ชุมชนลดการพึ่งพาตนเองลงและต้องเพิ่มภาวะการพึ่งพาภายนอกมากขึ้น ส่งผลต่อศักยภาพในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนลดลง ชุมชนเมี่ยนเลาสิบเองก็ประสบชะตากรรมแบบเดียวกันเพราะแต่เดิมระบบการผลิตของเมี่ยนเป็นการผลิตเพื่อบริโภคภายในครัวเรือน ปลูกพืช ผักหลายชนิดปะปนในไร่เดียวทำให้มีอาหารบริโภคตลอดฤดูกาล การใช้ประโยชน์จากที่ดินที่สามารถขยายไปได้มาก แต่เมื่อนโยบายของรัฐในปี 2510 ให้อพยพชาวเขาจากภูเขา ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในให้เข้ากับสถานการณ์ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม นำความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เข้ามาสู่สังคมเมี่ยน (หน้า 146-147)

Focus

ศึกษาศักยภาพและภูมิปัญญาในการดูแลสุขภาพตนเอง และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ได้แก่ ไทยล้านนา อาข่า ลาหู่ เย้า(เมี่ยน) และกะเหรี่ยง(ปกาเกอญอ) ที่อาศัยในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำขนาดเล็กของภาคเหนือตอนบน 4 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย พะเยา เชียงใหม่ และลำปาง (หน้า 4-5)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ในรายงานการวิจัยนี้ครอบคลุมการศึกษากลุ่มชาติพันธุ์หลายกลุ่ม คือ ไทยยวน ไทยลื้อ ม้ง เมี่ยน ลาหู่ (หน้า 11) อาข่า ลาหู่ โดยแบ่งลาหู่เป็น ลาหู่ญิ(มูเซอแดง) และลาหู่นะ(มูเซอดำหรือมูเซอคริสต์) (หน้า 40) ปกาเกอญอ(กะเหรี่ยง) (หน้า 67) และ เมี่ยน(เย้า) (หน้า 98)

Language and Linguistic Affiliations

ไม่ระบุ

Study Period (Data Collection)

ระบุเพียงว่าศึกษาหมู่บ้านในบริเวณดอยตุงในช่วงเดือนมกราคมถึงตุลาคม พ.ศ. 2536 (หน้า 42)

History of the Group and Community

ไทยยวนและไทยลื้อ อพยพมาจากจังหวัดน่าน แพร่ บางส่วนอพยพมาจากภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ (หน้า 11) อาข่าและลาหู่ที่อาศัยอยู่บริเวณดอยตุง เดิมอยู่ในแคว้นหยุนนานของประเทศจีน ได้อพยพสู่ภาคตะวันออกของพม่าและทางเหนือของลาว แล้วย้ายจากพม่าและลาวมาภาคเหนือของไทย ไม่ต่ำกว่า 70 ปี (หน้า 35) - หมู่บ้านเลาสิบตั้งขึ้นเมื่อประมาณปี 2488 โดยการนำของนายเล่าหลู่ฟิน แซ่พ่าน หรือนายเลาสิบซึ่งเป็นเมี่ยน อพยพมาจากประเทศลาว ระยะแรกมีประมาณ 15-16 ครอบครัว นายเลาสิบมีน้องอีก 2 คน ได้ตั้งบ้านเล่าฉี่ก๋วย และบ้านผาเดื่อขึ้น ในปัจจุบันทั้ง 3 หมู่บ้านเป็นเครือญาติกัน (หน้า 102)

Settlement Pattern

ระบุเพียงว่าชุมชน 4 ชุมชนในตำบลหัวเมือง อำเภอเมืองน่าน จ.ลำปาง (หน้า 72)

Demography

มีข้อมูลเฉพาะที่ชุมชนปกาเกอญอที่ตำบลหัวเมือง จังหวัดลำปางและชุมชนของเมี่ยนตำบลแม่สะลองนอก จังหวัดเชียงราย คือ - ชุมชนปกาเกอญอ บ้านแม่หมีนอก 27 หลังคาเรือน 30 ครอบครัว ประชากรทั้งหมด 129 คน ชาย 44 คน หญิง 35 คน เด็กชาย 29 คน เด็กหญิง 21 คน บ้านแม่หมีใน 21 หลังคาเรือน 22 ครอบครัว ประชากรทั้งหมด 115 คน ชาย 39 คน หญิง 40 คน เด็กชาย 16 คน เด็กหญิง 20 คน บ้านแม่ต๋อมใน 21 หลังคาเรือน 23 ครอบครัว จำนวนประชากร 149 คน ชาย 63 คน หญิง 54 คน เด็กชาย 19 คน เด็กหญิง 13 คน บ้านแม่ต๋อมนอก 12 หลังคาเรือน 12 ครอบครัว ประชากรทั้งหมด 61 คน ชาย 21 คน หญิง 22 คน เด็กชาย 10 คน หญิง 8 คน (หน้า 70) -ชุมชนเมี่ยน(เย้า) ตำบลแม่สะลองนอก จังหวัดเชียงราย ประกอบด้วย 21 หลังคาเรือน 29 ครอบครัว มีประชากรรวม 144 คน เป็นชาย 74 คน หญิง 70 คน (หน้า 102)

Economy

มีข้อมูลเฉพาะที่ชุมชนปกาเกอญอที่ตำบลหัวเมือง จังหวัดลำปาง และชุมชนของเมี่ยนตำบลแม่สะลองนอก จังหวัดเชียงราย คือ คนในหมู่บ้านปกาเกอญอทั้ง 4 หมู่บ้านมีรายได้มาจากการขายสัตว์เลี้ยง เช่น หมู ไก่ บางครอบครัวปลูกถั่วแดง ข้าวโพด ขิง และหัตถกรรม เช่น การทอผ้า จักรสาน (หน้า 71) สำหรับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของปกาเกอญอนั้นให้คุณค่ากับธรรมชาติทั้งดิน น้ำ และป่าไม้ มีความผูกพันและความเชื่อที่สะท้อนแนวคิด ปรัชญา เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างความอยู่รอดของคนและป่าที่แฝงไว้ในวิถีชีวิต (หน้า 78) มีการจำแนกป่าและต้นไม้ในเชิงอนุรักษ์ที่ใครเข้าไปแตะต้องไม่ได้ คือ ป่าสันกิ่วหลวง เชื่อว่าเป็นทางเดินของผี ป่าซับน้ำ เชื่อว่ามีผีแรงกว่าป่าอื่น ป่าช้าซึ่งแยกเป็นส่วนที่ฝังศพกับส่วนที่เอาสิ่งของผู้ตายไปไว้ ป่าโป่งเป็นป่าที่ผีน้ำอาศัยอยู่ ป่าต้นน้ำ ป่าน้ำซับน้ำซึม และป่าน้ำผุด และยังมีข้อห้ามในการใช้ไม้หลายชนิด เช่น ไม้สองนาง ไม้ที่ออกเป็นแฝดคู่กันถ้าตัดจะทำให้มีอันเป็นไป (หน้า 80-81) ชาวบ้านจะมีความเชื่อและพิธีกรรมต่างๆ เพื่อเลือกดินที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก เช่น การปักดูกไก่ การทำไร่ ในอดีตการทำไร่เป็นแบบหมุนเวียน แต่ละครัวเรือนมีไร่ข้าวตั้งแต่ 4 แปลงขึ้นไป โดยผู้นำจะเป็นผู้กำหนดการเพาะปลูกในทิศทางไหนของหมู่บ้าน โดยจะหมุนเวียนกันไปแปลงหนึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1 ปีแล้วปล่อยทิ้งไว้ 3,5,7 ปีจึงกลับมาทำใหม่ ทำให้สภาพดินมีการฟื้นตัว (หน้า 83-85, 88, 91) ทั้ง 4 หมู่บ้านจำเป็นต้องทำไร่ข้าวควบคู่กับการทำนา มีการแบ่งประเภทน้ำตามลักษณะและสถานที่เกิดและแบ่งตามลักษณะการใช้ประโยชน์ การจัดการเรื่องน้ำจะยึดตามความเชื่อที่มีการสืบทอดกันมานาน โดยเชื่อว่าแม่น้ำลำคลองทุกสายมีเจ้าของ คือ "นที" ถ้าไม่เคารพน้ำจะถูกลงโทษ (หน้า 94-96) แนวโน้มการใช้ทรัพยากรของชาวบ้าน มีการพึ่งสังคมภายนอกมากขึ้น มุ่งหวังผลทางเศรษฐกิจ เช่น ปลูกกาแฟ มีการอพยพแรงงานเข้าเมือง ระบบการผลิตแบบไร่หมุนเวียนถูกจำกัดพื้นที่ มีการทำซ้ำในพื้นที่เดิมมากขึ้น ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรลดลง ระบบผู้นำที่ควบคุมดูแลการดำเนินชีวิตถูกลดบทบาทลง (หน้า 96-97) ส่วนในหมู่ 3 ซึ่งเป็นชุมชนของเมี่ยนอาชีพหลักของหมู่บ้าน คือ การทำไร่ข้าว รองมาคือ การปลูกข้าวโพด แต่ผลผลิตไม่เพียงพอสำหรับบริโภคโดยเฉพาะข้าวต้องมีการซื้อข้าวจากภายนอกมารับประทานประมาณครอบครัวละ 1–2 กระสอบต่อปี (หน้า 105) ในการผลิตและการจัดการดิน เมี่ยนให้ความสำคัญต่อการจำแนกดินเพื่อใช้เพาะปลูก โดยดูจาก 1.ลักษณะของดิน ซึ่ง แบ่งออกเป็น 4 ระดับ โดยนิยมใช้ระดับยอดเขา เป็นที่เพาะปลูกมากที่สุด 2.ลักษณะส่วนประกอบของดิน 3.การชิม ดินดีจะขม 4.สีดิน ถ้าสีดำมากๆ ถือว่าอุดมสมบูรณ์ 5.ดูจากพรรณไม้ที่ขึ้นอยู่ 6. ทิศรับแสงดินที่หันไปทางทิศตะวันออกจะเหมาะใช้เพาะปลูก 7. สังเกตจากพฤติกรรมสัตว์ (หน้า 107-110) การทำไร่ข้าว เป็นพืชหลัก จะปลูกในพื้นดินเดิมได้เพียง 2 ปีเท่านั้น ส่วนใหญ่ปลูกข้าวเจ้า มีการปลูกพืชเสริมในไร่ด้วย (หน้า 110-112) ส่วนใหญ่เป็นพืชสวนครัว นอกจากนั้นมีการทำไร่ข้าวโพดและไร่ฝิ่น (หน้า 112-114) การจัดการทรัพยากรป่า จำแนกประเภทของป่าเป็น 1. ป่าชุมชนหรือป่าพิธีกรรม อยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 1 - 32 ก.ม. 2. ป่าที่เกิดจากไร่เก่า 3. ป่าบริเวณหัวไร่ 4. ป่าที่เกิดจากการฝังศพ 5. เขตป่าธรรมชาติ (หน้า 116-118) การจัดการทรัพยากรน้ำ จำแนกประเภทน้ำเป็น 9 ชนิด เมื่อเกิดความขัดแย้งในการใช้ทรัพยากร จะแก้ปัญหาโดย 1. ว่ากล่าวตักเตือน 2. การตกลงกันก่อน 3. ให้ผู้อาวุโสเป็นผู้ตัดสิน (หน้า 122) ในปัจจุบันการจัดการทรัพยากรมีความเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต เช่น มีการลดขั้นตอนวิธีการเลือกพื้นที่เพาะปลูกลง การถือครองที่ดินลดลง (หน้า 133-138)

Social Organization

ไม่ระบุ

Political Organization

ไม่ระบุ

Belief System

ไทยล้านนา/ยวนและลื้อ ในอำเภอพญาเม็งรายส่วนมากนับถือศาสนาพุทธ มีบ้างที่นับถือศาสนาคริสต์ อิสลาม และผีบรรพบุรุษ (หน้า 11) ส่วนอาข่าที่ดอยตุง นับถือ "บัญญัติอาข่า" ซึ่งครอบคลุมถึงขนบธรรมเนียมประเพณี และพิธีกรรมทุกอย่างในการดำเนินชีวิต(หน้า 36) และลาหู่ ในบริเวณใกล้เคียงนับถือทั้งอี่และเทพ ได้แก่ 1.ผี(เน) 2.พระผู้เป็นเจ้า (เทพเจ้ากุยซา) เชื่อว่ากุยซาเป็นผู้สร้างมนุษย์นอกจากนี้ยังเชื่อเรื่อง วิญญาณหรือขวัญ(อ่อฮา) ว่าเป็นภาคจิตของร่างกาย (หน้า 40) แต่ที่ตำบลหัวเมืองมีความหลากหลายในเรื่องความเชื่อ คือ บ้านแม่หมีใน นับถือผี 17 หลังคา คริสต์ 4 หลังคา บ้านแม่หมีนอก นับถือผี 21 หลังคา คริสต์ 10 หลังคา บ้านแม่ต๋อมใน นับถือผี 21 หลังคา คริสต์ 2 หลังคา บ้านแม่ต๋อมนอก นับถือผี 3 หลังคา คริสต์ 9 หลังคา (หน้า 71) มีพิธีกรรมและระบบความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติซึ่งเกี่ยวพันกับการดำเนินชีวิต เช่น เมื่อมีเด็กเกิดใหม่จะเอาสายสะดือใส่กระบอกไผ่ไปติดกับต้นไม้ใหญ่ที่มีผลกินได้ซึ่งและห้ามตัดโดยเด็ดขาดเพราะเชื่อว่าขวัญของเด็กอยู่กับต้นไม้นั้น (หน้า 78-79) สำหรับหมู่บ้านเมี่ยนเลาสิบ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่นับถือศาสนาคริสต์ และกลุ่มที่นับถือบรรพบุรุษ (หน้า 104) มีพิธีกรรมและระบบความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติซึ่งเกี่ยวพันกับการดำเนินชีวต ได้แก่ 1. ความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับพื้นที่ เช่น การถางไร่ซึ่งต้องดูฤกษ์ยาม 2. พิธีกรรมเกี่ยวกับระบบการผลิต เช่น การทำขวัญข้าว 3. ความเชื่อหรือพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับน้ำ เช่น ถ้ามีการตัดต้นไม้ล้มทับลงน้ำต้องมีการขอขมา 4. พิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับป่าและต้นไม้ เช่น ก่อนตัดต้นไม้ต้องมีการทำพิธีก่อน 5. พิธีกรรมที่เกี่ยวกับดิน 6. ความเชื่อที่เกี่ยวกับการสร้างบ้าน 7. พิธีกรรมที่เกี่ยวกับการล่าสัตว์ (หน้า 123-133)

Education and Socialization

ไม่ได้ระบุข้อมูลในเรื่องนี้ในการศึกษาชุมชนไทยล้านนา/ยวนและลื้อที่อำเภอพญาเม็งราย และการศึกษาอาข่าและลาหู่ที่ดอยตุงแต่มีข้อมูลเกี่ยวกับชุมชนปกาเกอญอที่ตำบลหัวเมือง จังหวัดลำปาง และบ้านเมี่ยนเลาสิบว่า มีหน่วยงานของกรมประชาสงเคราะห์และกรมการศึกษานอกโรงเรียน ในชุมชนของบ้านหัวเมืองโดยเน้นการอ่านออกเขียนได้ แต่มีแนวโน้มว่ามีเด็กออกไปเรียนที่ ต่างอำเภอมากขึ้น (หน้า 69-70) ส่วนประชากรบ้านเลาสิบส่วนใหญ่เรียนจบชั้นประถมศึกษา และมีการเรียนการสอนด้านวัฒนธรรมของเผ่าโดยวิทยากรในหมู่บ้านเพื่อเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมของเผ่าเย้าไว้ (หน้า 104-105)

Health and Medicine

ในชุมชนไทยล้านนาผู้วิจัยได้ศึกษาระบบวิธีคิด ความรู้ความเชื่อเกี่ยวกับปัญหาด้านสุขภาพ การคงอยู่ การปรับตัวและการสืบทอดความรู้ของหมอเมือง โดยเลือกหมอเมืองจำนวน 5 คน ศึกษาประวัติ วิธีการวินิจฉัยโรค โรคที่รักษาบ่อย เช่น โป่ง ผีเข้า ค่ายกครู ตัวอย่างคนไข้ และการสืบทอดวิชา (หน้า 12-21) ผู้วิจัยจำแนกประเภทของหมอเมืองออกเป็น 1. หมอเมื่อ มีหน้าที่ทำนายโชคชะตาและหาสาเหตุของการเจ็บป่วยมีชื่อเรียกต่างกันตามลักษณะพิธีกรรม ได้แก่ หมอส่อง หมอถ้วยแก้ว ผีหม้อนึ่ง 2. หมอผี ใช้เวทย์มนต์คาถาลาผี ในรายที่ผีเข้า 3. หมอสู่ขวัญ มีหน้าที่ในงานพิธีกรรมต่างๆ เช่น แต่งงาน 4. หมอขวากซุย หมอเป่า ใช้คาถาเป่าให้กระดูกติดกัน หรือดับพิษ 5. หมอยา ใช้สมุนไพรในรูปแบบของยาต้ม หรือบดเป็นผง ต้องมีการขึ้นครูก่อนให้ยาคนไข้ไปรักษา เช่น โรค ดีซ่าน นิ่ว (หน้า 22) หมอเมืองมักใช้วิธีการรักษาหลายๆอย่างร่วมกัน เช่น เป่าพ่น-คาถา-น้ำมนต์ ใช้รักษา มะเฮ็ง ตุ่มปิ๊ด ตาแดง ไฟไหม้น้ำร้อนลวก โรคที่หมอเมืองรักษามีทั้งโรคแผนปัจจุบัน และโรคที่มีชื่อเรียกตามชื่อพื้นบ้าน ซึ่งผู้วิจัยได้อธิบายความหมายเฉพาะของโรคพื้นบ้าน เช่น มะเฮ็งเป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง (หน้า24-25) ซึ่งโรคพื้นบ้านต่างๆ เกี่ยวข้องกับความเชื่อพื้นบ้าน เช่น นิ่วเกิดจากธาตุไฟน้อยกว่าปกติ (หน้า 26) ส่วนวิธีการแก้ปัญหาสุขภาพที่หมอเมืองใช้จะมีหลากหลายและครอบคลุมทั้งทางกาย จิตใจ และสังคม เช่น การแก้คุณไสย เวทย์มนต์มีผลทางด้านจิตใจ (หน้า 27-28) การแก้ปัญหาพื้นบ้านจึงปรากฏเป็นพิธีกรรมต่างๆ อันมีความหมายในตัวและสามารถสื่อสารให้คนในวัฒนธรรมเดียวกันเข้าใจได้ง่ายและได้สืบทอดกันมาเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวล้านนา การสื่อสารระหว่างคนไข้กับหมอเมืองจึงเข้าใจกันดีกว่าการแพทย์ที่มีพื้นฐานมาจากวัฒนธรรมตะวันตก ช่องว่างระหว่างหมอกับคนไข้จึงมีน้อยกว่า แต่เมื่อสภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไปการสาธารณสุขและอนามัยมีมากขึ้น หมอเมืองบางคนมีการปรับเปลี่ยนบทบาทมาใช้ยาแผนปัจจุบันร่วมไปด้วย(หน้า 29) ส่วนในชุมชนที่ดอยตุงผู้วิจัยศึกษาถึงศักยภาพของภูมิปัญญาในการดูแลสุขาพของอาข่าและลาหู่โดยศึกษาจากหมอพื้นบ้านจำนวน 5 คน เกี่ยวกับการรักษาโรคต่างๆ ซึ่งสามารถจำแนกประเภทของหมอพื้นบ้านได้เป็น 6 ประเภทด้วยกัน(หน้า 57-69) แต่ผู้ป่วยมักจะเลือกแนวทางผสมผสานในการแก้ไขปัญหาสุขภาพ กล่าวคือ ผู้ป่วยอาจเลือกรักษากับหมอพื้นบ้านก่อนแล้วไม่พอใจอาจจะหันไปเลือกรักษาแบบแผนใหม่ หรืออาจกลับกัน หรืออาจเลือกใช้ทั้งสองระบบพร้อมกัน ไม่มีหลักเกณฑ์ตายตัว ชาวบ้านจะใช้การรักษาสุขภาพแบบ “การแพทย์พหุลักษณ์” ไม่ผูกขาดทางเลือกใดทางเลือกเดียว (หน้า 60) แนวคิดในการแก้ปัญหาทางสุขภาพของอาข่าและลาหู่ มี 2 แนว คือ การผิดผี ผิดบัญญัติ หรือถูกคุณไสย การที่คนไม่สบายอาจเกิดจากการกระทำของผี หรือการทำผิดบัญญัติ รวมทั้งถูกผีร้ายเข้าสิง จะใช้วิธีขับไล่ผี หรือขอขมาลาโทษผี เซ่นไหว้หรือเลี้ยงผี ถ้าขวัญหายก็จะทำพีเรียกขวัญโดยหมอสู่ขวัญ แต่ถ้าเป็นความผิดปกติของร่างกายที่สามารถระบุเหตุปัจจัยเป็นรูปธรรรม จะใช้วิธีการแก้ปัญหาสุขภาพตามประสบการณ์ เช่น กระดูกหัก อัมพาต ซึ่งการรักษาจะใช้หลักการประสานการรักษาทั้งทางร่างกายและจิตใจ เช่น เมื่อกระดูกหักจะดามด้วยเฝือก และเป่าคาถาไม่ให้เจ็บปวดและให้กระดูกติดกัน (หน้า 61-63) อาข่าลาหู่มีความเชื่อที่กำหนดแนวทางการดำเนินวิถีชีวิตที่เชื่อมโยงกับสุขภาพ การเจ็บป่วยทุกอย่างมาจากการละเมิดสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จะเห็นได้ว่าจารีตและขนบธรรมเนียมประเพณีตลอดจนพิธีกรรมต่างๆ และภูมิปัญญาในการดูแลรักษาสุขภาพเป็นกุศโลบายที่จะนำไปสู่ภาวะที่สุขสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจและสังคม ซึ่งภูมิปัญญาในการดูแลรักษาสุขภาพดังกล่าวอาจผันแปรไปตามสภาพแวดล้อมและสังคมจึงควรพัฒนาระบบการดูแลรักษาสุขภาพแบบพื้นบ้านให้ร่วมสมัยเพื่อเป็นทางเลือกในการพึ่งพาตนเองทางสุขภาพในระดับพื้นฐานให้เคียงคู่ไปกับแพทย์แผนปัจจุบัน (หน้า 64-65) สำหรับชุมชนที่หมู่บ้านแม่หมีนอก มีสถานีสาธารณสุขรับผิดชอบทั้ง 4 หมู่บ้าน เด็กทั้ง 4 หมู่บ้านมีอัตราการขาดสารอาหารสูง โรคที่ชาวบ้านส่วนใหญ่เจ็บป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ และโรคผิวหนัง (หน้า71) แต่ที่ชุมชนเมี่ยนเสาสิบภายในหมู่บ้านยังไม่มีแหล่งบริการสาธารณสุขประจำ ชาวบ้านต้องใช้วิธีไปรักษาในตัวอำเภอหรือตัวจังหวัด และยังมีการใช้บริการด้านสมุนไพรอยู่ โรคที่พบบ่อย คือ ระบบทางเดินหายใจ(หวัด) และระบบทางเดินอาหาร (หน้า 105)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่ระบุ

Folklore

ไม่ระบุ

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่ระบุ

Social Cultural and Identity Change

ไม่ระบุ

Map/Illustration

บทที่ 2 ไม่ระบุ บทที่ 3 ไม่ระบุ บทที่ 4 การจำแนกและใช้ประโยชน์จากป่า (หน้า 76-78) บทที่ 5 ตารางที่ 1 แสดงโครงสร้างของประชากรจำแนกตามอายุและเพศ (หน้า 102) ตารางการจัดจำแนกประเภทของดิน (หน้า 133) ตารางเปรียบเทียบระบบการผลิตในอดีตกับปัจจุบัน(กรณีบ้านเลาสิบ) (หน้า 135-137)

Text Analyst รุ่งทิวา กลางทัพ Date of Report 18 ส.ค. 2557
TAG คนเมือง, อาข่า, ลาหู่, ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ (กะเหรี่ยง), เมี่ยน, การดูแลสุขภาพ, การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ, ภาคเหนือ, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง