สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject โส้ โซร ซี ,ผู้ไทย ภูไท ,วิถีชีวิต,ภาษา,ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Author E. Seidenfaden (แปล และให้ข้อคิดเห็น)
Title Regarding the Customs, Manners, Economics and Languages of the Kha (so) and Phuthai Living in Ampho Kutchinarai (กุฉินารายณ์), Changvat Kalasindhu, Monthon Roi Et
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity โส้ โทรฺ, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 21 Year 2486
Source Journal of the Siam Society Vol.34 part 2
Abstract

โส้เรียกตัวเองว่า "โส้" แต่คนอื่นเรียกพวกเขาว่า "ข่า" ส่วนภูไทยเรียกตัวเองว่า 'ภูไทย โส้และภูไทยมีภาษาของตนเอง หมู่บ้านของโส้สร้างอยู่ในป่า หมู่บ้านของภูไทยสร้างอยู่บนโคกและไม่มีแหล่งน้ำ ผู้หญิงโส้ย้ายไปอยู่กับสามีเมื่อแต่งงาน ผู้ชายเป็นหัวหน้าครอบครัว ครอบครัวของภูไทยจะเชื่อฟังผู้นำครอบครัวไม่ว่าจะเป็นพ่อ แม่ พี่ชายหรือพี่สาว โส้เป็นชาวพุทธแต่ไม่มีพระสงฆ์ในหมู่บ้าน ไม่มีการเซ่นไหว้บูชาผี แต่ชื่อเรื่องผีปอบ ภูไทยมีการบูชาพระพุทธรูปและบูชาผีบรรพบุรุษ เชื่อเรื่องการเกิดใหม่ มีวัดที่มีพระสงฆ์จำวัด โส้และภูไทยใช้รากไม้เป็นยา ไม่มีความรู้เรื่องการรักษาโรค ภูไทยมีพิธีการแต่งงานที่ยาวนาน ครอบครัวฝ่ายชายต้องเตรียมของเซ่นไหว้ผีของครอบครัวฝ่ายหญิง และฝ่ายหญิงจะต้องเปลี่ยนมานับถือผีบรรพบุรุษของฝ่ายชาย

Focus

ให้ข้อมูลเชิงชาติพันธุ์วรรณาของคนข่าหรือโส้ซึ่งเป็นกลุ่มออสโตรเอเชียติก และภูไทยที่เป็นคนไทย อาศัยอยู่ในอำเภอกุฉินารายน์ จังหวัดกาฬสินธุ์ (หน้า 145)

Theoretical Issues

ไม่ได้ระบุ

Ethnic Group in the Focus

ศึกษาคนข่าหรือโส้ที่อาศัยอยู่บนเขาภูพานเป็นกลุ่มคนออสโตรเอเชียติก ในกลุ่มมอญ-เขมร(หน้า 151) เรียกตัวเองว่า "โส้" แต่คนอื่นเรียกพวกเขาว่า "ข่า" ผู้ชายสักขาเหนือหัวเข่าและผู้หญิงสักท้องและข้อมือเป็นรูปข้าวหรือดอกไม้ (หน้า 146) และคนภูไทยที่อาศัยอยู่ทางเหนือของมณฑลอุดร ทางใต้ของอำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งเรียกตัวเองว่า 'ภูไทย' ผู้ชายสักจากเอวถึงขาและผู้หญิงสักที่ข้อมือรูปข้าว ดอกไม้หรือใบไม้ (หน้า 153)

Language and Linguistic Affiliations

โส้มีภาษาของตนเอง (หน้า 151) ภาษาโส้เป็นสาขามอญ-เขมรของกลุ่ม ออสโตรเอเชียติคหรือมาลาโยโพลีเนเซียน (หน้า 163) ภาษาโส้พูดในอำเภอกุฉินารายน์ จังหวัดสกลนคร นครพนม ซึ่งภาษาถิ่นได้ยืมศัพท์จากภาษาไทยและลาว (หน้า 164) ภาษาภูไทยเป็นภาษาตระกูลไท มีความแตกต่างจากภาษาไทยภาคกลางเล็กน้อยทั้งในแง่คำศัพท์และการออกเสียง (หน้า 145) และมีภาษาเขียนพู่กันและหมึกจีนเขียน (หน้า 164) มีตารางเปรียบเทียบภาษาอังกฤษ ไทย โส้และภูไทยท้ายบทความ

Study Period (Data Collection)

ไม่ได้ระบุ

History of the Group and Community

คนโส้มีถิ่นฐานเดิมในลาวจังหวัดท่าแขกอยู่ในพื้นที่ภูเขาปกคลุมด้วยป่า เมื่อมีสงครามระหว่างเวียดนาม (Annam) และไทยเมื่อร้อยกว่าปีมาแล้ว คนเหล่านี้จึงย้ายลงไปตามลุ่มแม่น้ำโขงและตั้งถิ่นฐานที่จังหวัดนครพนม สกลนคร และมุกดาหาร (หน้า 151) ภูไทยมาจากลาวเมื่อ 100 ปีมาแล้ว ปัจจุบันตั้งรกรากอยู่ริมแม่น้ำโขง ในอดีตมีเมืองมหาชัยเป็นเมืองหลวง ปกครองโดยเจ้าชีวิต (หน้า 161)

Settlement Pattern

หมู่บ้านของโส้สร้างอยู่ในป่า แต่ละบ้านมีรั้วไม้ บ้านสร้างอยู่บนเสา มีกำเเพงไม้และภายในบ้านแบ่งเป็นห้องนอนหลายห้อง มักเป็นบ้านชั้นเดียว (หน้า 146) หมู่บ้านของภูไทยสร้างอยู่บนโคกและไม่มีแหล่งน้ำ (หน้า 153) หมู่บ้านมีประมาณ 10 หลังคาเรือนขึ้นไปและมีรั้วไม้ล้อม บ้านสร้างบนเสาและมีชั้นเดียว ในบ้านแบ่งเป็นห้องนอน (หน้า 154)

Demography

เมื่อ 30 ปีกว่าก่อนคาดว่ามีคนโส้ประมาณ 7,000 คนในจังหวัดนครพนมและจังหวัดสกลนคร ปี ค.ศ. 1915 ในจังหวัดกาฬสินธุ์คนไทยที่พูดโส้มี 900 คน และมีโส้ที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำโขงอยู่ถึง 10,000 คน(หน้า 151) ปี ค.ศ. 1915 มีคนภูไทยประมาณ 100,000 คน อยู่ในจังหวัดอุบลราชธานีประมาณ 20,000 คน และในจังหวัดศรีสะเกษประมาณ 8,000 คน (หน้า 162)

Economy

อาหารของโส้ ได้แก่ ข้าว น้ำพริกไทและผัก พวกเขาไม่ดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบฝิ่น ทั้งหญิงและชาวเคี้ยวหมาก ผู้ชายล่าสัตว์ตกปลา สัตว์ที่ล่าคือ วัวป่า หมู่ป่า กวาง หมี นกต่างๆ และตกปลาเพื่อมาเป็นอาหาร มีการทำนาทำไร่ ใช้ควายไถพรวน นอกจากนี้มีการปลูกน้ำเต้า แตง ข้าวโพด ถั่ว งา พริกไทและมะเขือเทศ (หน้า 147) โส้ไม่มีร้านค้าหรือตลาดแต่ขายและซื้อกันตามทาง (หน้า 148) อาหารของภูไทยมีข้าว น้ำพริกไทและฟัก บางครั้งดื่มเหล้า ผู้ชายสูบยาสูบหรือฝิ่น ทั้งหญิงและชายเคี้ยวหมากพลู มีการล่าสัตว์และตกปลาโดยใช้ปืนหน้าไม้หรือกับดัก (หน้า 154) มีการปลูกข้าว น้ำเต้า แตง ข้าวโพด พริกไท มะเขือเทศ ถั่ว งา ฝ้าย เป็นต้น (หน้า 155)

Social Organization

ภูไทยมีพิธีการแต่งงาน 8 ขั้นตอน 1. ชายหนุ่มเป็นฝ่ายเกี้ยวหญิงสาว ถ้าผู้หญิงพอใจชายจะรับของขวัญที่ฝ่ายชายให้ ผู้หญิงเมื่อรับของขวัญจากชายใดแล้วจะรับของจากชายอื่นไม่ได้ มิฉะนั้นจะต้องคืนของขวัญ ภายในปีนั้นหลังผู้หญิงตกลงใจกับผู้ชาย คนในครอบครัวเจ็บป่วยเชื่อว่าเป็นพราะเชื่อว่ามีการผิดผี หมอผีจะได้รับเชิญมาที่บ้านคนป่วยและทำพิธีเต้นรำให้ผีและอ้างว่าการเจ็บป่วยเกิดจากผู้หญิงรับรักกับชายหนุ่ม (หน้า 156) เมื่อฝ่ายหญิงยอมรับเช่นนั้น ก็จะส่งสารไปยังครอบครัวฝ่ายชายเพื่อให้เซ่นไหว้ผีบรรพบุรษด้วยควายและเหล้าข้าว เมื่อผู้ชายยอมรับก็จะส่งควายและเหล้าขาวหรือเหรียญเงิน 3 บาทไปให้บ้านผู้หญิง ควายหมูหรือไก่ที่ถูกฆ่าเพื่อกินเนื้อ โดยผู้อาวุโสของครอบครัวจะแบ่งส่วนของอาหารเพื่อเซ่นไหว้ผีก่อนที่คนจะนำไปทาน ครอบครัวฝ่ายชายจะให้เทียนไขและดอกไม้แก่ครอบครัวฝ่ายหญิงและขอผู้หญิงมาเป็นลูกสะใภ้ ครอบครัวฝ่ายชายเป็นผู้หาฤกษ์ดีในการแต่งงานและจัดเตรียมตะกร้าและข้าวต้ม หมากพลู และบายศรี ผู้ชายจะนำสิ่งเหล่านี้ไปบ้านของผู้หญิง 2 ครั้งโดยมีเด็กผู้หญิง 2 คนถือตะกร้าตามมา เมื่อถึงบ้านของเจ้าสาวก็จะเสนอ "เครื่องโอม" และถามผู้หญิงให้ไปเป็นภรรยาผู้ชาย เมื่อครอบครัวฝ่ายหญิงยอมรับของขวัญและหาวันส่งตัวเจ้าสาว ทั้งนี้ขอได้ขอให้ครอบครัวผู้ชายเตรียมไม้สร้างบ้านให้ทั้งคู่ โดยจะสร้างบ้านใกล้กับบ้านผู้หญิง ภายในบ้านมีเครื่องเรือนพร้อมห้องครัว เมื่อสร้างเสร็จครอบครัวฝ่ายชายจะเตรียมตะกร้าเล็ก 24 ใบ ใน 4 ใบนี้ใส่ไข่ 4 ฟองในแต่ละตะกร้า ที่เหลือจะใส่หมากพลูและบายศรี ของเหล่านี้จำไปให้บ้านผู้หญิงโดยเด็กชาย ครอบครัวฝ่ายหญิงจะเตรียมเหล้า 4 เหยือก และอัญเชิญผีบรรพบุรษมาดื่ม ราวๆ หนึ่งทุ่มชายหนุ่มที่ยังไม่แต่งงานในหมู่บ้านก็จะตามเจ้าบ่าวไปยังบ้านใหม่ เช่นเดียวกับเจ้าสาวที่มีหญิงโสดช่วยถืออาหารหมากพลูและบุหรี่ตามไปบ้านใหม่ ทั้งเจ้าบ่าวเจ้าสาวจะอยู่ด้วยกัน 10-30 วัน ซึ่งต้องเซ่นไหว้ผี มีการ "แปลงออก" คือฝ่ายชายเซ่นไหว้ผีของครอบครัวฝ่ายหญิง ผู้หญิงต้องบูชาผีบรรพบุรุษของผู้ชาย (หน้า 156-157) 2. ขั้นตอนนี้เรียกว่า "ฟะชู" จัดขึ้นอีก 1 ปีต่อมา ครอบครัวของฝ่ายหญิงจะเเจ้งครอบครัวฝ่ายชายว่าผีบรรพบุรุษของตนต้องการ "ฮีดฟะชู" ซึ่งพวกเขาต้องเตรียมเหล้า 4 เหยือกและไก่ 4 ตัวเพื่อเซ่นผี (หน้า 157) 3. "กินดอง" จัดขึ้น 3 ปีถัดมาจากขั้นตอนที่ 2 ครอบครัวฝ่ายหญิงจะแจ้งให้ครอบครัวฝ่ายชายว่าผีบรรพบุรุษต้องการ "ฮีดกินดอง" และครอบครัวฝ่ายชายต้องเตรียมควาย เหล้า 8 เหยือก และไก่ 70-90 ตัวหรือเงิน 3 บาทให้กับผี สัตว์เหล่านี้ถูกฆ่าเพื่อใช้เซ่นผีและกินในงานพิธี (หน้า 158) 4. "กินกาว" จัดขึ้น 10 ถัดมา ครอบครัวฝ่ายหญิงแจ้งให้ครอบครัวฝ่ายชายทราบว่าผีบรรพบุรุษต้องการ "ฮีดกินกาว" ทั้งสองฝ่ายมีการเตรียมเครื่องเซ่นไหว้ผีและนำมาบริโภคเอง (หน้า 158) 5. "กินชอด" จัดขึ้น 10 ปีถัดมา ครอบครัวฝ่ายหญิงแจ้งให้ฝ่ายชายทราบว่าผีบรรพบุรุษต้องการ "ฮีดกินชอด" ครอบครัวฝ่ายชายจะเตรียม ควาย เหล้า และเงิน 3 บาท (หน้า 158) 6. "หมูถมรอย" จัดขึ้น 8 ปีถัดมา ครอบครัวฝ่ายหญิงแจ้งให้ครอบครัวฝ่ายชายทราบว่าผีบรรพบุรุษต้องการ "ฮีดหมูถมรอย" ฝ่ายชายจะเตรียมหมูและเหล้า(หน้า 158) 7. "ไก่ชาปกนกชาฮม" จัดขึ้น 6 ปีถัดมา ครอบครัวฝ่ายหญิงจะขอให้ครอบครัวฝ่ายชายเซ่นไก่และเหล้าแก่ผีบรรพบุรุษของฝ่ายหญิง (หน้า 158) 8. "ควายผูกถุน" จัดขึ้น 10 ปีถัดมา ครอบครัวฝ่ายภรรยาและแจ้งให้ครอบครัวฝ่ายสามีทราบว่าผีบรรพบุรุษของตนต้องการ "ฮีดควายผูกถุน" และขอให้ครอบครัวฝ่ายชายเตรียมควาย แม่วัว ไหล้า เงิน 3 บาท และเหล้า ควายจะถูกนำไปผูกใต้บ้านพ่อแม่ผู้หญิง และฆ่าแม่วัวเพื่อเซ่นผี ถ้าไม่มีควายก็จะใช้เงิน 16 บาทแทน (หน้า 159) อย่างไรก็ดีถ้าสามีไม่ต้องการทำ "ฮีด" หลายครั้งอาจทำเพียงครั้งเดียวได้ โดยเตรียมควาย เงินรางหนัก 30 บาท และเหล้ามาเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษของภรรยา และอีกพิธีคือเมื่อฝ่ายหญิงจะแยกออกมาจากผีของตนและเซ่นไหว้ครั้งใหญ่โดยมีควาย เงินรางหนัก 30 บาท ช้าง ทาส เป็นต้น ในการแต่งงานของภูไทยตามขั้น 1-8 หากมีคนในครอบครัวของฝ่ายใดเสียชีวิตก็จะต้องดำเนินตามประเพณีต่อไปโดยลูกหรือหลาน (หน้า 159) ผู้หญิงย้ายไปอยู่กับสามีเมื่อแต่งงาน ผู้ชายเป็นหัวหน้าครอบครัว มีการรับบุตรบุญธรรมในกรณีที่ แม่ของเด็กตาย หรือแม่ของเด็กป่วยและเลี้ยงดูไม่ได้ และพ่อแม่ของเด็กยากจนจึงยกบุตรให้คนอื่นเลี้ยงดู เมื่อฝ่ายชายชอบพอหญิงสาวก็จะให้เสื้อผ้าหรือของขวัญต่างๆ เรียกของขวัญเหล่านี้ว่า "ของฝาก" ถ้าฝ่ายหญิงมีใจให้ก็จะยอมรับของ และวันถัดมาจะนำ "ของฝาก" ไปให้พ่อแม่ตนและบอกว่าตนอยากเป็นภรรยาของชายคนนี้ ต่อมาพ่อแม่ของทั้งสองฝ่ายจึงตกลงกัน หากมีการปฏิเสธผู้หญิงจะต้องคืน "ของฝาก" หากเห็นด้วยจะหาวันแต่งงาน ผู้ชายจะส่งพ่อสื่อมาขอผู้หญิงที่บ้านโดยนำเทียนสองเล่มและเงิน 5 บาท ผู้หญิงจะรับของเหล่านี้จากพ่อสื่อและจะตามพ่อสื่อไปที่บ้านเจ้าบ่าว ผู้หญิงจะไปกินนอนที่บ้านผู้ชายเหมือนสามีภรรยา ไม่เกินหนึ่งเดือนผู้ชายจะส่งชุดหมากพลู กำไล สร้อยลูกปัด หัวหมู และเงิน 20 บาทไปให้พ่อแม่ผู้หญิง และเมื่อไปเยี่ยมพ่อแม่ผู้หญิงก็จะนำเทียนสองเล่ม ขณะที่ผู้หญิงก็จะทำกับครอบครัวฝ่ายชายเหมือนกัน อย่างไรก็ดีมีการหย่า ถ้าผู้หญิงหรือชายขอหย่าต้องจ่ายเงิน 20 บาท ช่วงเวลาที่หญิงชายแต่งงานกันเมื่ออายุ 18 ปี (หน้า 149-150) โครงสร้างครอบครัวของภูไทย คนในครอบครัวจะเชื่อฟังผู้นำครอบครัวไม่ว่าจะเป็นพ่อ แม่ พี่ชายหรือพี่สาว มีการรับบุตรบุญธรรมเช่นเดียวกับโส้ แต่ภูไทยมีพิธีกรรมเรียกว่า "กล่าวโอม" การแต่งงานมีขั้นตอนตั้งแต่การเริ่มเกี้ยวกันระหว่างหญิงกับชาย เมื่อผู้ชายมีใจให้ฝ่ายหญิงก็จะให้ของขวัญ ถ้าฝ่ายหญิงรับแล้วจะรับของชายอื่นๆ ไม่ได้อีก มิฉะนั้นจะต้องคืนของขวัญให้ผู้ชาย เมื่อครอบครัวทั้งสองทราบก็จะเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษของตน พ่อแม่ฝ่ายชายสู่ขอผู้หญิงให้และจัดการเรื่องการแต่งงาน (หน้า 156) การแต่งงานของภูไทยเป็นพิธีที่แพงและยาวนาน ในฤดูเก็บเกี่ยวหญิงสาวและชายหนุ่มมีความสัมพันธ์ทางเพศกันขณะที่ต้องอยู่เฝ้าพืชผลในไร่นา ทั้งชายและหญิงนอนร่วมกัน (หน้า 162)

Political Organization

โส้ไม่มีกฎหมาย และไม่มีอาชญากรรมที่รุนแรง เพราะพวกเขามีกฎเกณฑ์รู้ว่าอะไรถูกต้องอะไรไม่ถูกต้อง (หน้า 150)

Belief System

โส้นับถือศาสนาพุทธ (หน้า 148) ทุกๆ ปีช่วงเดือนมีนาคม-เมษายนมักเดินทางไปทำบุญที่วัดธาตุพนมใกล้ริมฝั่งโขง ไม่มีการเซ่นไหว้บูชาผี ไม่มีพระสงฆ์ในหมู่บ้าน แต่มีองค์พระพุทธรูปขนาดเล็กๆ ที่วางไว้ในผนังทิศใต้ของบ้าน ไม่มีพิธีเกี่ยวกับเด็ก หรือพิธีศพ ศพมักใช้วิธีฝังหรือเผาโดยไม่มีพระมาสวด สถานที่ฝังไม่มีการดูแล (หน้า 150) โส้เชื่อเรื่องผีปอบซึ่งผู้เขียนตั้งข้อสัเกตว่าคนที่ถูกกล่าวหาว่าผีปอบสิงมักเป็นคนฉลาดหรือสาวสวยในชุมชน (หน้า 151-152) คนภูไทยมีพิธี "กล่าวโอม" ในการรับบุตรบุญธรรมมาเลี้ยง ก่อนรับเด็กมาเลี้ยง พ่อแม่เลี้ยงจะเตรียมเงิน 3 บาท ควายหนึ่งตัวเพื่อใช้เปลี่ยนกับตัวเด็กและบอกผู้ปกครองของเด็กว่าจะปกป้องดูแลเด็กให้เมือนพ่อแม่แท้ๆ (หน้า 155) ภูไทยมีการบูชาพระพุทธรูปในเดือนมีนาคม-เดือนเมษายน และบูชาผีบรรพบุรุษ เชื่อเรื่องการเกิดใหม่ มีวัดที่มีพระสงฆ์จำวัด เมื่อมีคนตายจะปิดบ้านไว้ 3 วันก่อนที่ศพจะถูกจำไปเผาโดยมีพระมาสวดในบ้าน 3 คืนเริ่มตั้งแต่หนึ่งทุ่ม (หน้า 160-161) ภูไทยบูชาผีบรรพบุรุษเพราะช่วยปกป้องบ้าน และเชื่อว่าการเจ็บป่วยเกิดจากผีโกรธซึ่งต้องเซ่นด้วยควาย หมู เพื่อให้คนป่วยมีอาการดีขึ้น (หน้า 160)

Education and Socialization

ไม่ได้ระบุ

Health and Medicine

โส้ใช้รากไม้เป็นยา ไม่มีความรู้เรื่องการรักษาโรคนัก (หน้า 150) ภูไทยใช้รากไม้รักษาโรคและขาดความรู้เรื่องยา (หน้า 160) มีหมอมาเหยาหรือลำส่องเป็นหมอผีรักษาโรค (หน้า 160)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ผู้ชายโส้มักสวมชุดผ้าฝ้าย ท่อนบนเป็นเสื้อคลุมสีดำแขนยาว ใส่กางเกงขายาว ผู้หญิงสวมผ้าซิ่นและเสื้อคลุมสีดำแขนยาว ในงานเลี้ยงผู้หญิงนุ่งผ้าไหมและท่อนบนพันผ้าแถบ ผู้ชายมีผมสั้น ส่วยผู้หญิงผมยาวและรวบไว้ วันธรรมดาผู้หญิงมีผ้าโพกหัว ผู้ชายไม่สวมเครื่องประดับ ผู้หญิงสวมกำไลหรือต่างหูที่ทำจากเงิน ทองแดง คนข่าหรือโส้ใช้ปืนและหน้าไม้ในการล่าสัตว์ และใช้ตาข่ายตกปลา (หน้า 147) งานฝีมือภายในหมู่บ้านคือการช่างตีเหล็กและการสานตะกร้า ทำหม้อ งาานไม้ ทอผ้า เป็นต้น (หน้า 148) ผู้ชายภูไทยสวมเสื้อสีดำ ส่วนผู้หญิงนุ่งซิ่นและสวมเสื้อสีดำแขนยาว ถ้าอยู่บ้านอาจใส่เสื้อไม่มีแขน ในงานเลี้ยงฉลองผู้ชายสวมผ้านุ่งกับเสื้อและคาดผ้าขาวม้า ผู้หญิงสวมผ้าซิ่นและเสื้อคลุมแขนยาวสีดำตรงคอ หน้าอก และปลายแขนเป็นสีแดง ผู้หญิงสวมกำไลเงินต่างหูหรือสร้อยคอ ผู้ชายตัดผมสั้นผู้หญิงผมยาวแต่รวบไว้ (หน้า 154) มีการค้าผ้าฝ้ายและผ้าไหมแลกเงิน มีช่างตีเหล็ก ช่างไม้ ช่างปั้นหม้อ ช่างทอผ้า (หน้า 155)

Folklore

โส้มีเครื่องดนตรีคือแคนและปี่แก้ว ไม่รู้จักการเต้นและร้องเพลง บทกลอนหรือนิทาน (หน้า 150)ภูไทยมีเครื่องดนตรีประเภทแคน ปี่ ไวโอลิน มีการเต้น "ลำลาว" มีวรรณกรรม "Phra Wet" (เวสสันดร) "Phra Tam", "Karaket Singchai" เขียนเป็นภาษาลาว (หน้า 159-160)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่ได้ระบุ

Social Cultural and Identity Change

ไม่ได้ระบุ

Other Issues

การนับเวลา โส้มีการนับวันคืน เดือนและปี โดยแบ่งวันและคืนได้แก่ เวลาเช้าตรู่ถึงเที่ยง เวลาบ่าย เวลาหลังดวงอาทิตย์ตก เวลาเที่ยงคืน เวลาไก่ขัน วันแรกของสัปดาห์คือวันอาทิตย์ วันสุดท้ายของสัปดาห์คือวันเสาร์ เดือนที่ห้าเรียกว่าเดือนห้าเป็นเดือนแรกของโส้ ปีชวดเป็นปีเริ่มต้นตามจักรราศี (หน้า 150) ภูไทย มีการนับเวลาดังนี้ 9 โมงเช้าเรียกว่า "พองาย" 10 โมงเช้าเรียกว่า "พองายแก่" 11 โมงเช้าเรียกว่า "พอแกเคอเที่ยง" เวลาเที่ยงเรียก "พอตาเง็นเที่ยง" เวลาบ่ายโมงเรียก "ตาเง็นค่าย" เวลาบ่ายสองเรียก "ตาเง็นคายหลวง" เวลาบ่ายสามเรียก "เวลาตีกลองแลง" เวลาบ่ายสี่เรียก "พอหนึ้งข้าวแลงเฮือนหลวง" เวลาห้าโมงเย็นเรียก "เวลาควายตอมทุ่ง" เวลาหกโมงเย็นเรียก "เวลาหนูออกรู" เวลาหนึ่งทุ่มเรียก "เวลามืดสะลุ่ม" เวลาสองทุ่มเรียก "เวลากินข้าวแลง" เวาลาสามทุ่มเรียก "เวลาเด็กน้อยนอนตัก" เวลาสี่ทุ่มถึงเที่ยงคืนเรียก "เที่ยงคืน" เวลาตีสามเรียก "เวลาไก่หันพอเถื่อหนึ่ง" เวลาตีสี่เรียก "เวลาไก่หัน" เวลาตีห้าเรียก "เวลาไก่หัน 3 เถื่อ" มีการเรียกเดือนพฤศจิกายนและธันวาคมถ่าเดือนอ้าย เดือนยี่ มีเดือนสามถึงเดือนสิบสอง และปีชวดเป็นปีแรกตามจักรราศี (หน้า 160)

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst กฤษฎาภรณ์ อินทรวิเชียร Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG โส้ โซร ซี, ผู้ไทย ภูไท, วิถีชีวิต, ภาษา, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง