สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject อูรักลาโว้ย,ชาวเล,วิถีชีวิต,การจัดสวัสดิการ,ภูเก็ต,พังงา,ภาคใต้
Author ธนา วสวานนท์
Title แนวทางในการจัดสวัสดิการให้แก่ชนกลุ่มน้อยในจังหวัดภาคใต้ : จากกรณีศึกษาเรื่องของชาวเลในเขตจังหวัดภูเก็ตและพังงา
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity อูรักลาโว้ย อูรักลาโวยจ, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเนเชี่ยน
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 178 Year 2523
Source หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Abstract

ผู้เขียนได้ศึกษาสภาพความเป็นอยู่ทั่วไป ของชาวเลในเขตจังหวัดภูเก็ตและพังงา โดยศึกษาเกี่ยวกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ เศรษฐกิจ การศึกษา สุขอนามัย และบริการด้านต่างๆ ที่ได้รับในปัจจุบัน และได้การสำรวจความต้องการด้านสวัสดิการต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการและแก้ปัญหาได้ นอกจากนี้ ยังศึกษาปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับชนกลุ่มน้อยชาวเลในเขตพื้นที่ศึกษา ซึ่งผู้เขียนได้เน้นถึงสาเหตุสำคัญของปัญหาว่ามาจากความยากจน และการที่คนในพื้นที่ปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อยชาวเลอย่างมีเงื่อนไข ประกอบกับภาครัฐยังไม่มีนโยบายด้านสวัสดิการ หรือส่งเสริมการพัฒนาชนกลุ่มน้อยชาวเลที่ชัดเจน จากประเด็นศึกษาทั้งหมดข้างต้น ผู้เขียนได้สรุปผลการศึกษาเป็นแนวทางในการจัดสวัสดิการให้แก่ชนกลุ่มน้อยชาวเลในจังหวัดภาคใต้ เพื่อนำข้อมูลเสนอหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป (หน้า 146-157)

Focus

แนวทางการจัดสวัสดิการเพื่อพัฒนา ศึกษาสภาพความเป็นอยู่ และสำรวจความต้องการด้านสวัสดิการของชาวเลในจังหวัดภูเก็ตและพังงา

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล หรือชาวน้ำ ที่อพยพร่อนเร่ทำมาหากินบริเวณจังหวัดภาคใต้ของไทย (ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และสตูล) กลุ่มที่สืบเชื้อสายมาจากชนพื้นเมืองในประเทศมาเลเซีย หรืออินโดนีเซียตอนเหนือ ผู้เขียนได้อ้างผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องด้านชาติพันธุ์ของชาวเลเพื่อบอกถึงลักษณะทางชาติพันธุ์ว่าเป็นกลุ่มชนที่มักตั้งบ้านเรือนอยู่ตามเกาะน้อยใหญ่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้เรียกชาวเลว่า "ไทยใหม่" (หน้า 40)

Language and Linguistic Affiliations

ชาวเลมีภาษาพูดเป็นของตนเองคล้ายภาษามาเลย์ ซึ่งมีรากเหง้าของภาษามาจากถิ่นเดียวกัน (หน้า 30-32) ส่วนชาวเลในพื้นที่ศึกษาจังหวัดพังงามีภาษาพูดเป็นของตนเองแตกต่างจากชาวเลในจังหวัดภูเก็ต (หน้า 44,49) โดยทั่วไปจะใช้ภาษาไทยกลางในลักษณะผสม แต่ส่วนใหญ่อ่านและเขียนภาษาไทยยังไม่ได้ (หน้า 91-92)

Study Period (Data Collection)

รวมระยะเวลาในการศึกษา 10 เดือน (เตรียมแบบสอบถามและทำการทดสอบ 3 เดือนเก็บข้อมูลภาคสนาม 3 เดือน, วิเคราะห์และสรุปผล 4 เดือน - ไม่ระบุช่วงเวลา)

History of the Group and Community

ไม่ปรากฏหลักฐานว่าชาวเลในพื้นที่ศึกษาเริ่มอพยพมาตั้งถิ่นฐานเมื่อใด แต่ปรากฏในเอกสารว่าในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ แหลมมลายู หรือชื่อเดิมเรียก แหลมสการามาเซ็ม ตั้งแต่บริเวณคอคอดกระของไทยลงไปเป็นถิ่นเดิมที่ชาวเลอาศัยอยู่ก่อนจะอพยพมาไทย ซึ่งในอดีตมีคน 4 จำพวกอาศัยอยู่ คือ กาฮาซี ซาไก เซียมัง และ โอรังลาโอด หรือไทยเรียกว่า "ชาวน้ำ" ที่มักอาศัยอยู่ตามเกาะและชายชายฝั่งทะเลตะวันตก มีเรือเป็นพาหนะเร่ร่อนไม่เป็นที่ ต่อมามีพวกเม๊ง (มอญ) จากแคว้นสุวรรณภูมิเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ประปรายตามบริเวณนี้ และมีการติดต่อทางเรือระหว่างชาวอินเดียจากชมพูทวีปมากขึ้น จึงทำให้คนพวกนี้เป็นคนเถื่อนไปโดยธรรมชาติ (หน้า 29-31)

Settlement Pattern

เมื่ออพยพมาสู่ประเทศไทยแล้ว ต่อมามีการอพยพเคลื่อนย้ายไปมาระหว่างชาวเลกลุ่มเล็กๆ เพื่อแสวงหาแหล่งทำมาหากินที่ดีกว่าไปเรื่อยๆ กระจัดกระจายตามชายฝั่งทะเล และหมู่เกาะต่าง ๆ ตั้งแต่จังหวัดระนองลงไปถึงจังหวัดสตูล (หน้า 30-31) เนื่องจากเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้ชาวเลไม่สร้างบ้านเรือนที่ถาวร ดังนั้นชาวเลส่วนใหญ่จึงไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง ความถนัดในอาชีพประมงเพียงอย่างเดียวทำให้ชาวเลต้องการอยู่อาศัยบริเวณติดชายฝั่งทะเละเท่านั้น ซึ่งทางราชการไม่สามารถจัดสรรที่ดินที่ติดชายทะเลดังกล่าวให้ได้ ชาวเลจึงอาศัยอยู่ในที่ดินที่มีเจ้าของโดยเฉพาะในพื้นที่ศึกษาบริเวณเกาะสิเหร่ และท่าฉัตรไชย จังหวัดภูเก็ตมีเป็นปัญหาชาวเลอพยพ และส่วนใหญ่ไม่ต้องการย้ายไปอยู่ในสถานที่ทางราชการจัดให้ใหม่ซึ่งอยู่ห่างไกลจากทะเลและแหล่งทำมาหากิน (หน้า 4,64-66,118-120) ปัจจุบันชาวเลในบางหมู่บ้านเริ่มสร้างบ้านแบบอยู่อย่างถาวร (หน้า 31)

Demography

ชุมชนชาวเลในจังหวัดภูเก็ต 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่บ้านสะบำ มีจำนวนประชากรประมาณ 90-100 คน หมู่บ้านหาดราไวย์ มีประชากรประมาณ 750-800 คน และหมู่บ้านแหลมตุ๊กแก มีจำนวน 80 ครัวเรือน ส่วนชุมชนชาวเลในจังหวัดพังงา 2 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่บ้านไทยใหม่ มีจำนวน 53 ครัวเรือน และหมู่บ้านขนิม มีจำนวน 19 หลังคาเรือน (หน้า 41-45) ชาวเลส่วนใหญ่มีบุตรระหว่าง 3-4 คน (หน้า 21, 62) ในพื้นที่ศึกษามีปัญหาการเสียชีวิตของบุตรชาวเลในอัตราสูงสาเหตุมาจากการที่ไม่พาบุตรหลานไปฉีดวัคซีนที่จำเป็นให้ครบทุกชนิดตามที่ทางสาธารณสุขกำหนดซึ่งมีผลทำให้เด็กเจ็บป่วยและเสียชีวิตได้ง่าย ประกอบกับชาวเลส่วนใหญ่ก็ไม่นิยมคุมกำเนิดจึงมีผลกระทบถึงการดำรงชีวิตและปัญหาสุขภาพอนามัย (หน้า 105-109)

Economy

ชาวเลมีอาชีพทำประมงเป็นหลัก และเนื่องจากไม่มีความถนัดอย่างอื่น งานที่ทำได้นอกจากนั้นคืออาชีพรับจ้าง ซึ่งชาวเลเองยอมรับสภาพการจ้างงานและสภาพงานนั้น เช่น การจ้างงานที่ไม่ต่อเนื่อง การจ่ายค่าจ้างในเป็นอัตราที่ถูกกว่าค่าจ้างชาวพื้นเมือง (หน้า 55-61, 73,67,74) ชาวเลมีรายได้ต่ำ ประกอบกับค่าครองชีพที่สูงในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตและพังงา ทำให้มีสภาพที่ยากจน และขาดแคลนในการดำรงชีวิต (หน้า 70-71,81,126) แม้ชาวเลจะมีฐานะยากจน แต่ก็ไม่นิยมการกู้ยืม เพราะอัตราดอกเบี้ยที่สูงประกอบกับยังไม่มีหลักแหล่งประกอบอาชีพที่มั่นคง หรืออยู่ในฐานะที่ดีพอจะรับผิดชอบหนี้สินได้ (หน้า 68-69, 84-85) อย่างไรก็ดี ในฤดูที่ชาวเลสามารถออกเรือทำการประมงได้ ก็จะมีรายรับจากการทำงานมากพอเก็บออมได้บ้าง (หน้า 72) สินค้าที่ได้จากการทำประมงชาวเลส่วนใหญ่จะขายผ่านคนกลางที่มารับซื้อถึงบริเวณหมู่บ้านที่อาศัยอยู่ ซึ่งราคารับซื้อสินจากทะเลที่คนกลางรับซื้อจากชาวเลและชาวประมงพื้นเมืองแตกต่างกัน (หน้า 72-79) และแม้จะมีอาชีพหลักคือการทำประมงแต่มีชาวเลจำนวนน้อยมากที่มีเรือหาปลาเป็นของตนเอง เนื่องจากขาดเงินลงทุนในการประกอบอาชีพ (หน้า 83-87) ชาวเลส่วนใหญ่จึงออกเรือประมงในฐานะลูกเรือ ที่ได้ค่าแรงจากเจ้าของเรือ (หน้า 57) ในพื้นที่ศึกษาไม่มีชาวเลครอบครัวใดมีอาชีพเพาะปลูก (หน้า 55-56)

Social Organization

ไม่ค่อยมีการหย่าร้างในสังคมชาวเล (หน้า 54) ในครอบครัวชาวเลส่วนใหญ่จะมีสมาชิกที่ประกอบอาชีพเพียง 1 คนเท่านั้น (หน้า 57-58) และสืบเนื่องจากตามประเพณีทำบุญเดือนสิบของภาคใต้ จะมีการจ้างให้คนมาแสดงบทบาทเป็นเปรตเพื่อรับส่วนบุญ จึงทำให้มีชาวเลจำนวนมากที่ยังอยู่ในวัยทำงานมักมีการกระทำคล้ายขอทานซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่ทางจังหวัดควบคุมดูแลอยู่ (หน้า 46-47,124) นอกจากนั้น เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐยังมีไม่เพียงพอต่อชาวเลที่ต้องการรับบริการ ไม่ว่าจะเป็นงานประชาสงค์เคราะห์ หรืองานพัฒนาชุมชน ยกเว้นงานอนามัย (หน้า 126-127,132 ) ในชุมชนชาวเลที่ศึกษายังขาดแคลนแม้ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน เช่น แหล่งกักเก็บน้ำ ไฟฟ้า (หน้า 128-131)

Political Organization

ชาวเลเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีจำนวนน้อยจึงไม่มีปัญหาทางด้านการปกครอง (หน้า 2) เจ้าหน้าที่ปกครองท้องถิ่น เช่น ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน สารวัตรกำนัน ฯลฯ มีบทบาทในการปกครอง และประสานงานระหว่างหน่วยราชการกับชุมชนชาวเล (หน้า 40,93) ชาวเลในพื้นที่ศึกษา มีความสนใจและแสดงความคิดเห็นถึงสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของกลุ่มตนเองว่าแร้นแค้นขาดแคลน และบุคคลภายนอกมักปฏิบัติต่อกลุ่มของตนด้วยความเอารัดเอาเปรียบ จากการที่ต้องทำตามเงื่อนไขของเจ้าของที่ดินที่ตนอาศัย (หน้า 5,42-44,55) ทางราชการจึงแก้ปัญหานี้ด้วยการจัดทำโครงการจัดสรรที่ดินเพื่ออยู่อาศัยให้ แต่ไม่สำเร็จ เพราะที่ดินอยู่ไกลจากทะเล ทำให้เกิดความไม่สะดวกในการทำอาชีพประมง(หน้า 64,65)

Belief System

ชาวเลจะนับถือศาสนาตามประชากรส่วนใหญ่ที่ชาวเลอพยพมาอยู่อาศัย แต่เป็นแบบไม่เคร่งครัด เช่น นับถือศาสนาพุทธและยังคงรักษาขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรม ความเชื่อดั้งเดิมเหนียวแน่น เช่น พิธีการเกิด จะนิยมให้หมอตำแยที่เป็นชาวเลด้วยกันประกอบพิธีทำคลอด พิธีการแต่งงาน เป็นแบบเรียบง่าย ไม่มีงานเลี้ยงใดๆ ส่วนพิธีการตาย จะนำศพที่ห่อด้วยฟากไม้ไผ่หามไปสู่ป่าช้า ใช้วิธีฝังเป็นหลัก บางครั้งนำไปฝังในถ้ำบนเกาะต่าง ๆ ชาวเลยังนับถือผีบรรพบุรุษ โดยชาวเลแต่ละเกาะจะนับถือบรรพบุรุษต่างองค์กัน มีชื่อเรียกต่างกันไป ซึ่งจะสร้างศาลเจ้าไว้เพื่อบูชาในแต่ละเกาะ (หน้า 32-35,38,53) ชาวเลมีประเพณีที่สำคัญคือ พิธีลอยเรือพระเคราะห์ในเดือน 10 เป็นการเสี่ยงทายเกี่ยวกับโชคลาภในการทำมาหากิน และลอยเคราะห์กรรมออกไป นอกจากนั้นยังมีความเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์ โดยเฉพาะการรักษาโรคด้วยเวทย์มนต์คาถา (หน้า 103-104) อย่างไรก็ดี ความเชื่อถือดั้งเดิมเริ่มเสื่อมคลายลง เมื่อรับเอาวัฒนธรรมอย่างใหม่เข้าใช้ปะปน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีหมอศาสนาคริสต์เดินทางเข้าไปเผยแพร่ศาสนาในชุมชนพร้อมกับให้ความช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆ (หน้า 32-42,53)

Education and Socialization

เพราะปัญหาทางเศรษฐกิจ ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการให้เด็กมาเป็นแรงงานในครอบครัวมากกว่าให้เรียนหนังสือ ดังนั้นเด็กๆ ชาวเลจำนวนมากจึงเรียนไม่จบการศึกษาภาคบังคับ จากการศึกษาพบว่ามีชาวเลที่อ่านภาษาไทยไม่ได้จำนวนมากที่สุด คณะมิชชั่นนารีที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนา มีการจัดกิจกรรมสันทนาการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็กๆ ในชุมชนเป็นสวัสดิการ (หน้า 89-90,94) นอกจากปัญหาความขาดแคลน ชาวเลมักมีทัศนคติต่อตนเองว่าไม่ฉลาด และไม่ได้รับการยอมรับจากคนพื้นเมืองเท่าที่ควรซึ่งเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ผู้ปกครองไม่ค่อยสนับสนุนให้เด็กเข้าเรียนอย่างจริงจัง (หน้า 96-99)

Health and Medicine

ชาวเลมีรายได้ต่ำ ทำให้ส่งผลกระทบถึงการดำรงชีวิต ไม่ค่อยสนใจเรื่องอนามัยของตนเองและความสะอาดของหมู่บ้าน จึงทำให้มีปัญหาด้านสุขอนามัย และสุขาภิบาลที่ไม่ดีในหมู่บ้าน (หน้า 42-44, 62-63) เกือบทุกหมู่บ้านในพื้นที่ศึกษา ส่วนใหญ่ไม่มีส้วมใช้ ไม่มีที่ทิ้งขยะในหมู่บ้าน ไม่มีที่กักเก็บน้ำไว้ใช้ยามขาดแคลน ประกอบกับชาวเลไม่ค่อยเชื่อฟังคำแนะนำของเจ้าน้าที่ด้านสุขอนามัย จึงทำให้แก้ปัญหาได้เพียงบางส่วน (หน้า 42-44,110-111) อย่างไรก็ดี สถานีอนามัยในชุมชนมีบริการรักษาพยาบาลเพียงพอ ต่อชาวเล ความเชื่อถือในการรักษาของแพทย์แผนปัจจุบันมีมากขึ้นกว่าในอดีตที่เชื่อถือในเรื่องการรักษาแบบไสยศาสตร์ (หน้า 102-103) การปฏิเสธการคุมกำเนิดทุกรูปแบบ ในท่ามกลางสภาพความยากจนขัดสน ส่งผลให้เป็นความยากลำบากของชาวเลในการเลี้ยงดูบุตรต่อมา (105-107) ชาวเลจะคุ้นเคยกับการดื่มสุราเป็นประจำ โดยเฉพาะในการจัดงานพิธีกรรมต่างๆ จึงเป็นโอกาสให้เกิดอาการของโรคพิษสุราเรื้อรังสูง (หน้า 114-117) ในเด็กๆ ชาวเลไม่พบว่าเป็นโรคขาดสารอาหาร เพราะได้กินอาหารทะเลซึ่งมีโปรตีนสูง และอาศัยอยู่ใกล้ทะเลซึ่งมีอากาศบริสุทธิ์ (หน้า 62-63)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

มีร้องรำทำเพลงของชาวเลในงานบุญตลอดช่วงที่มีการทำบุญพิธีซึ่งเป็นประเพณีทางศาสนา เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงในงานพิธีที่สำคัญ คือ กลองรำมะนา คล้ายกลองของชาวมลายู ภายหลังนำกลองแขก และไวโอลินมาใช้ด้วย เนื้อเพลงและภาษที่ร้องเป็นภาษามาลายู แบบโบราณ คล้ายมะโย่ง หรือเป็นแบบรองเง็ง (หน้า 37-38)

Folklore

ในงานที่ศึกษาปรากฏเพียงว่า เรื่องราวความเป็นมาของบรรพบุรุษชาวเล ความรักใคร่สรรเสริญถึงสิ่งต่าง ๆ ถูกเล่าผ่านเนื้อร้องเพลง ภาษามลายูที่ร้องเป็นบทๆ ในงานบุญพิธีเท่านั้น (หน้า 37)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

เชื้อชาติของชาวเลเป็นชนชาติย่อยของพวกมองโกลลอยด์ (Mongoloid) (หน้า 2-5) การติดต่ออย่างใกล้ชิดกับคนท้องถิ่นที่ชาวเลเคลื่อนย้ายไปเพื่อทำมาหากินทำให้ชาวเลรับวัฒนธรรมและรูปแบบการใช้ชีวิตจากคนพื้นเมืองถิ่นนั้นมาด้วย เข่น คนไทย คนจีน และคนมลายู (หน้า 2-4) อย่างไรก็ดี ชาวเลมีทัศนคติต่อตนเองว่าไม่ฉลาด และไม่ได้รับการยอมรับจากคนพื้นเมืองเท่าที่ควร ซึ่งความสัมพันธ์ปัจจุบันเป็นไปเพื่อการประโยชน์ในการประกอบอาชีพเท่านั้น (หน้า 98-99)

Social Cultural and Identity Change

ผู้เขียนกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของชาวเล โดยบรรยายสภาพความเปลี่ยนแปลงทั่วไปตามกาลเวลา กล่าวคือ ในหมู่บ้านสะบำ และบ้านหาดราไวย์ในอดีตการปลูกบ้านเรือนของชาวเลเป็นแบบไม่ถาวรมักทำด้วยไม้ และหญ้าหรือใบไม้แห้ง บ้างก็อาศัยอยู่ในเรือ เมื่อเวลาผ่านไป ชาวเลเริ่มมีวิถีชีวิตแบบคนท้องถิ่น (ที่เรียกว่าแบบคนบก) มากขึ้น ส่วนชาวเลในหมู่บ้านแหลมตุ๊กแก หลังจากพบปัญหาเงื่อนไขในการเช่าที่ดินเพื่ออยู่อาศัย ทางราชการจึงมีโครงการจัดสรรที่อยู่ใหม่ให้ ที่หมู่บ้านไทยใหม่ ได้รับทุนจากพ่อค้าประชาชน และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดสร้างโรงเรียนไทยใหม่ เพื่อให้เด็กๆ ชาวเลมาเข้าเรียนในโรงเรียนมากขึ้น อุปกรณ์หาปลาโบราณบางอย่างของชาวเลเอง เมื่อกาลเวลาผ่านไปก็เลิกใช้ไป และพวกเขากลับมีอาชีพเป็นลูกเรือรับจ้างหาปลาให้กับเจ้าของเรือมากขึ้น ภายในหมู่บ้านของชาวเลได้จัดการปกครองแบบเป็นทางการมากขึ้น คือมีผู้ใหญ่บ้าน และชาวเลเองเป็นพวกชอบเปิดรับวัฒนธรรมใหม่ๆ เข้ามาใช้ปะปน โดยเฉพาะเมื่อมีหมอสอนศาสนาคริสต์เข้ามาเผยแพร่ศาสนาในหมู่บ้าน ทำให้ลัทธิความเชื้อเดิม เช่น การรักษาแบบไสยศาสตร์ เริ่มเสื่อมคลายลง (หน้า 40-41) ชุมชนมีความเจริญขึ้น การทำมาหากินให้มีรายได้พอใช้จ่ายในครัวเรือนเป็นเรื่องสำคัญกว่า (หน้า 103-104)

Other Issues

แนวทางการจัดสวัสดิการ เพื่อสมารถตอบสนองความต้องการและแก้ไขปัญหาให้กับชาวเลในจังหวัดภาคใต้ โดยเน้นการประสานงานร่วมกับของเจ้าหน้าที่จากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ โดยเฉพาะด้านงบประมาณและการลงพื้นที่เพื่อปฏิบัติหน้าที่ ในการให้ความช่วยเหลือ อย่างพอเพียง และโอกาสในการแสวงหาความร่วมมือช่วยเหลือชาวเลจากหน่วยงานภาคเอกชนในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการให้เงินช่วยเหลือกรณีฉุกเฉิน ช่วยเหลือด้านอุปกรณ์การศึกษา พัฒนาอาชีพในสาขาที่ชาวเลสนใจ เป็นต้น นอกจากนั้น ผู้เขียนยังได้เสนอให้มีการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับชาวเล โดยจัดตั้งศูนย์วิจัยชาวเลขึ้น เพื่อสามาถนำผลวิจัยและข้อเสนอแนะไปใช้เป็นแนวทางดำเนินนโยบายที่เหมาะสม และเป็นประโยชน์ต่อชนกลุ่มน้อยชาวเล (หน้า 145,153-156)

Map/Illustration

ผู้เขียนได้ใช้แผนที่จังหวัดแสดงที่อยู่ของชาวเลในปัจจุบัน และแสดงอาณาเขตเมื่อครั้งชาวเลอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ประกอบกับแผนที่แสดงบริเวณที่ดินในเขตจังหวัดภูเก็ตซึ่งทางราชการจะจัดให้ชาวเลได้เข้ามาอยู่อาศัยใหม่ (หน้า 158-161)

Text Analyst นพรัตน์ พาทีทิน Date of Report 15 พ.ค. 2556
TAG อูรักลาโว้ย, ชาวเล, วิถีชีวิต, การจัดสวัสดิการ, ภูเก็ต, พังงา, ภาคใต้, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง