สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ขมุ,สังคม,วัฒนธรรม,การพัฒนา,ภาคเหนือ
Author นิพัทธเวช สืบแสง
Title สังคมและวัฒนธรรมชาวขมุกับการพัฒนา
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity กำมุ ตะมอย, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 44 Year 2539
Source สถาบันวิจัยชาวเขา, เชียงใหม่, 2539
Abstract

ผู้เขียนนำเสนอลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมของชาวเขาเผ่าขมุในประเทศไทยเท่าที่มีปรากฏอยู่ในปัจจุบัน เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับการพัฒนาซึ่งในปัจจุบันเน้นเกี่ยวกับมิติทางวัฒนธรรมมากขึ้น โดยผู้เขียนได้อธิบายเกี่ยวกับการแบ่งกลุ่มและการกระจายตัวของชาวขมุ โครงสร้างทางสังคมและเน้นเกี่ยวกับระบบความเชื่อเรื่องผีและอำนาจเหนือธรรมชาติที่มีอืทธิพลต่อวิถีชีวิตของขมุอย่างมาก ประกอบกับอธิบายลักษณะทางเศรษฐกิจของขมุและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างหลากหลาย นอกจากนั้น ยังได้วิเคราะห์เกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมและเศรษฐกิจของขมุ พร้อมทั้งแสดงกรณีตัวอย่างการพัฒนาชุมชนขมุแบบเน้นในมิติทางวัฒนธรรม

Focus

ลักษณะสังคมและวัฒนธรรมชาวเขาเผ่าขมุในภาพรวม และประสบการณ์การพัฒนาในการทำงานในชุมชนขมุ

Theoretical Issues

ผู้เขียนชี้ให้เห็นว่า การพัฒนาชาวเขาเกิดปัญหาในกระบวนการพัฒนาได้มากกว่าการพัฒนาสังคมชาวพื้นราบ นั่นคือ การที่คนในชุมชนชาวเขาไม่ยอมรับนวัตกรรม หรือสิ่งใหม่เข้าไปในชุมชน เพราะถือว่าเป็นสิ่งผิดจารีตประเพณี ซึ่งผู้เขียนเรียกว่า เป็นอุปสรรคทางสังคมและวัฒนธรรมของการพัฒนา อย่างไรก็ตาม ในการแก้ไขปัญหานี้ ผู้เขียนได้ยกตัวอย่างกรณีศึกษาจากการพัฒนาชุมชนขมุที่เกิดขึ้นจริงโดยใช้เทคนิค 3 ประการซึ่งประกอบด้วย การศึกษาชุมชน การตีความใหม่ทางวัฒนธรรม และการบูรณาการทางวัฒนธรรม ในการพัฒนาที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมและสังคมของชาวขมุ (หน้า 32-42) ทั้งนี้จะประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อนักพัฒนาจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในสังคมและวัฒนธรรมของชุมชนที่จะเข้าไปศึกษา และต้องมองว่าวัฒนธรรมชุมชนสามารถเปลี่ยนแปลงได้ มีความยืดหยุ่นและเป็นพลวัตร

Ethnic Group in the Focus

ขมุเป็นกลุ่มชาติพันธ์ในตระกูลมอญ-เขมร ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมในบริเวณผืนแผ่นดินใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็น 1 ใน 4 กลุ่มชนชาวเขาในประเทศไทยได้แก่ ขมุ ถิ่น ลัวะ และตองเหลือง ที่ใช้ภาษาในตระกูลมอญ- เขมรเช่นเดียวกัน (หน้า 3) ขมุมีการแบ่งกลุ่มย่อยไปอีกหลายกลุ่มโดยใช้คำต่อท้ายที่แสดงถึงลักษณะเฉพาะของขมุกลุ่มนั้นๆ ซึ่งหาข้อสรุปเป็นเกณฑ์ในการจำแนกไม่ได้ (หน้า 6)

Language and Linguistic Affiliations

เด็กชาวขมุเมื่อเกิดมาจะได้รับการฝึกหัดให้พูดภาษาขมุและภาษาไทยไปพร้อมกัน สังคมขมุจึงใช้ระบบ 2 ภาษา โดยจะพูดภาษาขมุและภาษาไทยปนกันไป (หน้า 31) กลุ่มชนชาวเขาในประเทศไทยมีทั้งหมด 4 กลุ่มด้วยกันที่พูดภาษาในสาขามอญ-เขมร รวมถึงภาษาขมุของชาวขมุ ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มภาษาย่อยของกลุ่มขมุในตระกูลภาษาออสโตรเอเชีย (หน้า 3)

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

ไม่ปรากฏหลักฐานว่าขมุในประเทศไทยได้อพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งครั้งแรกเมื่อใด แต่จากหลักฐานที่ปรากฏในสมัยรัชกาลที่ 5 สันนิษฐานว่าขมุที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยในจังหวัดอุทัยธานีและกาญจนบุรี เป็นหนึ่งในพวกผู้คนที่ถูกกวาดเข้ามาอยู่ในกรุงรัตนโกสินทร์เพื่อเป็นกำลังพล เมื่อครั้งมีการปราบกบฏ และกลุ่มที่ตั้งตนแข็งเมืองในสมัยรัชกาลที่ 1 ต่อมาได้เกิดการอพยพหลั่งไหลเข้ามายังประเทศไทยของขมุอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อเข้ามาทำงานเป็นแรงงานในอุตสาหกรรมป่าไม้ของอังกฤษที่ได้สัมปทานจากไทยอันเป็นผลมาจากสนธิสัญญาบาวริ่งในปี พ.ศ. 2398 จากนั้นยังคงตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ต่อมาแม้สัมปทานจะสิ้นสุดลง (หน้า 4-5)

Settlement Pattern

การกระจายตัวของขมุมักตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตะวันเฉียงเหนือตามแนวชายแดนในเขตเวียตนามติดประเทศลาว ได้แก่บริเวณแม่น้ำมาและเดียนเบียนฟู ในประเทศลาวมักตั้งหลักแหล่งอยู่บนที่ราบสูงและบริเวณภูเขาตามแขวงต่างๆ ของลาวตอนเหนือ ส่วนในจีน จะอยู่บริเวณที่ราบเชิงเขาในเขตปกครองตนเองสิบสองปันนา (หน้า 3-4) สำหรับขมุในประเทศไทยมีลักษณะการกระจายตัวไม่กว้างขวางนัก ส่วนใหญ่เป็นการกระจายตัวของหมู่บ้านขมุในจังหวัดน่าน และเชียงราย ส่วนที่อื่นๆ ปัจจุบันไม่มี (หน้า 6) หมู่บ้านขมุส่วนใหญ่เป็นหมู่บ้านที่มีการตั้งถิ่นฐานมานานตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษ ประกอบกับขมุแต่ครัวเรือนมีที่ดินที่ถือครองจำนวนหลายแปลงเพื่อการเกษตรแบบไร่หมุนเวียน ก็เป็นความสอดคล้องที่ต้องตั้งถิ่นฐานแบบถาวร (หน้า 7) ขนาดของชุมชนหมู่บ้านของขมุ มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ และพบว่ามีสายตระกูลในแต่ละชุมชนไม่เกิน 5 สายตระกูล (หน้า 9)

Demography

จากข้อมูลของสถาบันวิจัยชาวเขา เมื่อ พ.ศ. 2535 มีจำนวนชาวขมุในประเทศไทย จำนวน 31 หมู่บ้าน 1,530 ครัวเรือน มีประชากรทั้งสิ้นประมาณ 8,750 คน (หน้า 5) ครอบครัวส่วนใหญ่เป็นครอบครัวเดี่ยว ขนาดเล็ก มีสมาชิกเฉลี่ย 2 คน เนื่องจากส่วนใหญ่ประกอบการเกษตรแบบยังชีพ จึงมีความต้องการแรงงานในครัวเรือนน้อย มีการยอมรับการวางแผนครอบครัว (หน้า 8)

Economy

ระบบเศรษฐกิจของชาวขมุเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีทั้งภาคเกษตรและนอกภาคการเกษตรปรากฏอยู่ควบคู่กัน หรือที่เรียกว่าระบบเศรษฐกิจแบบทวิลักษณ์ โดยในส่วนภาคการเกษตร เน้นการปลูกพืชเพื่อบริโภคในครัวเรือนจึงมีจำนวนน้อย พืชที่ปลูกได้แก่ ข้าวเหนียว ข้าวโพด พริก ผักและสมุนไพรต่างๆ เป็นการทำเกษตรแบบยังชีพด้วยระบบเกษตรกรรมบนที่สูงแบบชาวเขาทั่วไปที่ต้องพึ่งพิงธรรมชาติอย่างมาก โดยเฉพาะสภาพอากาศที่เหมาะสม อีกทั้งไม่สามารถควบปัจจัยหลายอย่างได้ เช่น ปริมาณน้ำฝน ภัยธรรมชาติและศัตรูพิช (หน้า 16) การทำไร่ของขมุเป็นแบบไร่หมุนเวียน แต่ละครัวเรือนจะมีการถือครองที่ดินจำนวนหลายแปลง โดยจะหมุนเวียนทำการเพาะปลูกในที่ดินปลงที่มีความอุดมสมบูรณ์ และปล่อยให้ที่ดินฟักตัวในแปลงที่ความอุมดมสมบูรณ์ลดลง หรือดินเริ่มมีปัญหาหลังจากผ่านการใช้งานมาแล้ว ซึ่งป่าไม้นับเป็นแหล่งผลิตสำคัญที่ขมุใช้ประโยชน์จากป่าได้อย่างหลากหลายในวิถีชีวิต (หน้า 26-29) ส่วนอาชีพนอกภาคการเกษตร ขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกชุมชนซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา จากการศึกษาหลักเฐานเอกสาร ผู้เขียนแบ่งการเปลี่ยนแปลงในอาชีพยอกภาคเกษตรของขมุได้เป็น 3 ระยะ โดยระยะแรกเป็นยุคเริ่มต้นของอาชีพนอกภาคเกษตร เมื่อมารับจ้างเป็นแรงงานในการทำป่าไม้ให้กับชาวอังกฤษที่ได้รับสัมปทานในการทำป่าไม้ทางภาคเหนือ ตั้งแต่ พ.ศ. 2398-2439 ระยะที่สอง หลังจากสัมปทานการทำอุตสาหกรรมป่าไม้ของชาวอังกฤษสิ้นสุดลง ดัวยความที่ขมุเป็นกลุ่มคนที่มีความชำนาญในการทำไม้ จึงผลิตไม้แปรรูปในชุมชนกันอย่างกว้างขวาง เป็นแวลานานจนกระทั่งต้องหยุดไปเมื่อรัฐบาลได้ออกพระราชกำหนดยกเลิกการให้สัมปทานป่าไม้ในปี พ.ศ. 2532 ต่อมาในระยะที่ 3 เป็นช่วงที่มีการอพยพแรงงานในหมู่บ้านอย่างรวดเร็วและกว้างขวางเป็นจำนวนมาก เพื่อไปประกอบอาชีพเป็นแรงงานในงานภาคธุรกิจและบริการในเมือง ซึ่งต่อมาเป็นลักษณะการทำงานอย่างถาวรมากกว่าไปเพื่อทำงานชั่วคราวในช่วงว่างเว้นจากฤดูกาลเพาะปลูก (หน้า 24-26, 29-30)

Social Organization

โครงสร้างพื้นฐานของสังคมขมุ ประกอบด้วยกลุ่มตระกูลข้างฝ่ายหญิง ซึ่งประกอบด้วยครอบครัวซึ่งถือผีเดียวกัน โดยฝ่ายชายจะเปลี่ยนมานับถือผีบรรพบุรุษของภรรยาหลังจากการแต่งงานและลูกจะสืบผีของแม่ต่อไป คู่สมรสจะเข้าไปอยู่กับครอบครัวของฝ่ายหญิงชั่วคราวหลังจากการแต่งงาน แต่ไม่นานก็จะแยกครัวเรือนออกมา อย่างไรก็ตาม มีข้อยกเว้นหากเป็นลูกผู้หญิงคนสุดท้อง ก็ต้องอยู่ดูแลพ่อแม่ในครัวเรือนเดิมต่อไป หรือหากพ่อแม่ฝ่ายชายไม่มีลูกสาวเลย ฝ่ายหญิงก็ต้องเข้าไปอยู่กับพ่อแม่ฝายชาย อีกลักษณะหนึ่งของครอบครัวขมุ ส่วนใหญ่เป็นครอบครัวเดี่ยว และมีขนาดเล็ก (ประมาณ 2.08 คน ในปี พ.ศ 2535) สำหรับการสืบสายตระกูลมี 2 ลักษณะคือ "แบบยาว" หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นแบบกว้าง ซึ่งคนในสายตระกูล เชื่อว่าร่วมตระกูลเดียวกันซึ่งอาจเรียกชื่อเป็นพืช เช่น ผักกูด แม้ว่าไม่อาจจะสืบย้อนไปได้ว่าเป็นญาติร่วมตระกูลทางใด แต่ละกลุ่มตระกูลขมุเรียกว่า "ตมอยฮอก" การนับตระกูลอีกลักษณะหนึ่งเป็นการรับรู้ร่วมตระกูล โดยดูการสืบเชื้อสายจากทวดเดียวกัน การนับแบบนี้จะดูจากการสืบสายเลือด หรือเชื้อสายเป็นสำคัญ ไม่มีสัญลักษณ์แต่มีข้อห้ามการแต่งงานของผู้ที่สืบเชื้อสายจากทวดเดียวกัน ทั้งครอบครัวและกลุ่มสายตระกูลมีความสำคัญต่อชีวิตสังคมและเศรษฐกิจของขมุ (หน้า 7-9)

Political Organization

เนื่องจากสังคมขมุเป็นสังคมที่ยอมรับระบบอาวุโส โครงสร้างอำนาจในสังคมจึงประกอบไปด้วยตัวแทนของทุกสายตระกูล หรือคณะผู้อาวุโส ซึ่งเป็นผู้ที่เข้าถึงที่มาของอำนาจสำคัญในชุมชน และมีบทบาทในการตัดสินใจแทนคนในชุมชนได้ นอกจากกลุ่มผู้อาวุโสในระดับที่เป็นกลุ่ม ในสังคมขมุยังมีผู้นำในระดับปัจเจกบุคคล ได้แก่ ขะจ้ำ หมอผี หมอคาถา หมอเมื่อ และล่าม เป็นผู้ที่มีความสามารถเฉพาะบุคคลในด้านการประกอบพิธีกรรมสำคัญในชุมชน ซึ่งเป็นที่ยอมรับนับถือว่าเป็นบุคคลสำคัญ (หน้า 12-14) การตัดสินใจหรือมติของคณะผู้อาวุโสเป็นสิ่งที่ทุกคนในชุมชนจะต้องปฏิบัติตาม กระทั่งต่อมาเมื่อทางภาครัฐได้จัดระเบียบการปกครองในชุมชนชาวเขาใหม่ โดยให้เป็นไปตามกฎหมายปกครอง จึงเกิดองค์กรปกครองที่เป็นทางการขึ้น กล่าวคือ มีผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วย และคณะกรรมการหมู่บ้าน จึงมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจแบบใหม่ จากรูปแบบเดิมที่เคยประกอบด้วยตัวแทนของทุกสายตระกูลหรือคณะผู้อาวุโส เป็นบุคคลที่มีอำนาจในการตัดสินใจแทนคนในชุมชนได้ มาเป็นการปกครองอย่างเป็นทางการซึ่งมีโครงสร้างแบบลำดับชั้น ก่อให้เกิดความสับสนในอำนาจการตัดสินใจของชุมชน (หน้า 10-12) สังคมขมุยังมีลักษณะการจัดองค์กรเป็นแบบชั่วคราว (ad hoc) คือ เป็นกลุ่มความร่วมมือในแบบต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นและสลายตัวในระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของสมาชิกด้วยความสมัครใจโดยมีจุดประสงค์ เพื่อแสดงบทบาทหน้าที่เฉพาะ เช่น กลุ่มแลกเปลี่ยนแรงงาน กลุ่มล่าสัตว์ กลุ่มประกอบพิธีกรรมต่างๆ ซึ่งมีอยู่มากในชุมชนขมุ (หน้า 14-15)

Belief System

ในสังคมขมุระบบความเชื่อเรื่องผี และอำนาจเหนือธรรมชาติมีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของขมุอย่างแนบแน่น และสอดแทรกอยู่ในทุกสถาบันทางสังคมนับตั้งแต่ ครอบครัว การปกครอง การอบรมสั่งสอน การบำบัดโรคภัยใข้เจ็บ ตลอดจนการประกอบอาชีพ และยังคงมีอิทธิพลต่อวิธีคิดของขมุมาจนถึงปัจจุบัน (หน้า 19-20) ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับผีในความเชื่อของขมุมีลักษณะไม่เท่าเทียม ผีมีอำนาจดลบันดาลทั้งคุณและโทษให้แก่มนุษย์ ขึ้นอยู่กับการประพฤติปฏิบัติของมนุษย์ที่มีต่อผี (หน้า 18-19) ขมุยังมีความเชื่อเรื่องอำนาจเหนือธรรมชาติ 2 ชนิดคือ ขวัญ และคุณไสย ในฐานะที่เป็นสารัตถะของชีวิตและพลังอำนาจที่สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ (หน้า 19-20) นอกจากนั้น ขมุยังใช้การนับถือผีเป็นเกณฑ์ในการจำแนกกลุ่มทางสังคม ทำให้บุคคลมีกรอบของความสัมพันธ์ทางสังคมในขอบเขตและระดับต่างๆ กัน เช่น บุคคลภายนอกที่ไม่ได้นับถือผีเรือนเดียวกันจะมีข้อห้ามบางประการเมื่อขึ้นไปบนเรือน หรือการนับถือผีบรรพบุรุษร่วมกัน เพื่อใช้ควบคุมพฤติกรรมของคนที่อยู่ในสายตระกูลเดียวกัน ในระดับที่กว่างขึ้น คือการนับถือผีหมู่บ้าน ซึ่งจะเป็นความผูกพันของคนในหลายตระกูลในฐานะที่ตั้งถิ่นฐานในพื้นที่เดียวกัน มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน รู้สึกว่าเป็นกลุ่มพวกเดียวกัน นับเป็นกำหนดขอบเขตของคนในชุมชนกับบุคคลภายนอก ในขอบเขตที่กว้างกว่า เป็นการนับถือผีหลวง ที่มีหมู่บ้านมากกว่าหนึ่งหมู่บ้าน นับถือผีร่วมกัน ซึ่งมักอยู่ในรูปแบบการประกอบพิธีกรรมเซ่นไหว้ ผีหลวงร่วมกัน หรือทำกิจกรรมทางสังคมร่วมกัน (หน้า 22)

Education and Socialization

การอบรมสั่งสอนในสังคมขมุจะสอดแทรกไปด้วยระบบความเชื่อซึ่งเป็นตัวกำหนดทัศนะการมองโลก วิธีคิด จารีตประเพณี และรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างคนในสังคม นอกจากนั้น ในกระบวนการขัดเกลา-ระบบความเชื่อยังมีบทบาทสำค้ญในฐานะใช้ควบคุมพฤติกรรมของคนในสังคมโดยใช้ความคิดเรื่อง "การผิดผี" เป็นบทลงโทษทางสังคม (หน้า 23-24)

Health and Medicine

ด้วยเหตุที่ระบบความเชื่อเรื่องผี และอำนาจเหนือธรรมชาติมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของขมุอย่างลึกซึ้ง การเจ็บป่วยต่างๆ ที่เกิดขึ้นจึงเชื่อว่าเป็นการลงโทษของผีต่อมนุษย์ที่ล่วงละเมิดลบหลู่ เมื่อมีการเจ็บป่วยเกิดขึ้นจึงมีพิธีกรรมต่างๆ โดยการเซ่นไหว้ผี และใช้ถาคาอาคม หรือทำพิธีเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากอำนาจเหนือธรราชาติเพื่อบำบัดรักษาอาการจ็บป่วยที่เกิดขึ้น (หน้า 21)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

-ไม่มี-

Folklore

-ไม่มี-

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ขมุมีความใกล้ชิดกับกลุ่มชาวเขาในประเทศไทยอีก 3 กลุ่ม คือ ถิ่น (เรียกตัวเองว่า มัล หรือ ปรัย) ลัวะ และมลาบรี (ตองเหลือง) โดยกลุ่มภาษาที่ใช้สื่อสารจะแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ (หน้า 2) นั่นคือ ทั้ง 4 กลุ่มใช้ภาษาในตระกูลมอญ-เขมรเช่นเดียวกัน แต่ขมุจะมีความใกล้ชิดกับชาวถิ่นและมลาบรีมากกว่า เพราะภาษาพูดของทั้งขมุ ถิ่น และมลาบลีจัดอยู่ในกลุ่มขมุในขณะที่ภาษาของลัวะจัดอยู่ในกลุ่มบะหล่อง (หน้า 3)

Social Cultural and Identity Change

ปรากฏการณ์อพยพแรงงานที่เกิดขึ้นในสังคมของขมุเป็นปรากฏการณ์ความเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมที่เพิ่งเกิดขึ้น ซึ่งผู้เขียนได้สรุปถึงปัจจัยของการเปลี่ยนแปลงนั้นไว้ 4 ประการ ได้แก่ 1) ประเทศมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ เกิดการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมและพาณิชย์อย่างรวดเร็ว จึงทำให้มีความต้องการแรงงานชายขอบ(marginal labour) 2) ขมุขาดรายได้จากการผลิตไม้แปรรูป และการเกษตรส่วนใหญ่ของขมุเป็นแบบยังชีพซึ่งไม่สามารถสร้างรายได้ ดังนั้น เมื่อมีความต้องการแรงงานจึงอพยพไปทำงานนอกชุมชน 3) ความสามารถในการพึ่งตนเองได้ของขมุลดลง ประกอบกับความต้องการนอกเหนือจากปัจจัยสี่ที่เพิ่มขึ้นทำให้จำเป็นต้องออกไปประกอบอาชีพเพื่อหารายได้ 4) ชาวขมุมีความพร้อมที่จะไปใช้ชีวิตในสังคมภายนอก (หน้า 41-42)

Map/Illustration

ผู้เขียนใช้ แผนภูมิแสดงความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มภาษาต่างๆ ในสาขามอญ- เขมร ประกอบการอธิบายเกี่ยวกับการจำแนกและแบ่งกลุ่มชาติพันธุ์โดยใช้ภาษาเป็นเกณฑ์ (หน้า 3)

Text Analyst นพรัตน พาทีทิน Date of Report 09 เม.ย 2556
TAG ขมุ, สังคม, วัฒนธรรม, การพัฒนา, ภาคเหนือ, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง